ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

สารบัญ

บทที่สี่

สั่งสมกุศล

 

คัมภีร์ :  เป็นธรรมให้เดินหน้า ไม่ใช่ธรรมให้ถอย


อธิบาย : จะทำเรื่องสักอย่างหนึ่ง ต้องคิดแล้วคิดอีกก่อนจะลงมือทำว่าเรื่องที่จะทำมีหลักธรรมหรือไม่ ถ้าถูกหลักธรรมก่อนเดินหน้าทำต่อไป  ถ้าไม่ถูกหลักธรรมก็ ให้ถอยเลิกทำเสีย

ข้อความตอนนี้คือ เริ่มจากคำนี้จนถึง ทำความดีสามร้อยกุศลเป็นหลักการสำคัญที่ท่านไท่ซั่งเหลาจวิน ให้กระทำความดีเพื่อสั่งสมบุญกุศล เป็นการสอนให้คนน้อมนำไปปฏิบัติ  ถ้าปฏิบัติได้ก็เป็นการกวักบุญวาสนามาเป็นผลตอบสนอง ธรรมก็เหมือนถนนใหญ่ เป็นไปตามหลักธรรมฟ้า เข้ากับใจคน ต้องเป็นทางเรียบและตรงจึงเป็นทางธรรม หากเป็นการฝืนหลักธรรมฟ้า  ขัดใจคน  ทิ่มแทงติดขัดนั่นไม่ใช่ธรรม

ในคัมภีร์ตั้งแต่คำว่า “ไม่ใช่เดินทางชั่ว.....จนถึง...ให้เขาไม่นึกเสียใจ”  ล้วนเป็นทางธรรมทั้งสิ้น และก็เป็นการสร้างกุศลซึ่งเป็นบทที่สี่ทั้งบท  และตั้งแต่ “หากทำสิ่งไม่ถูกต้อง..จนถึง.ฆ่าเฒ่าฆ่างูไร้เหตุ ซึ่งเป็นทางชั่วบาป จัดเอาไว้ในบทที่หกคือชั่วบาป

เป็นธรรมให้เดินหน้า ไม่ใช่ธรรมให้ถอย คำ “ให้” นี้แสดงถึงความหนักแน่นมีกำลัง เพราะว่าความผิดความถูกอยู่ที่ความคิดที่รู้จักแยกแยะ จะเดินหน้าหรือถอยก็ให้ตัดสินทันที จึงเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ ต้องตัดสินใจให้แน่วแน่ลงไปเลย ห้ามมีใจที่ลังเลไม่แน่ใจเพียงแค่ความคิดที่เปลี่ยนเท่านั้นก็จะตกอยู่ในกำมือมาร จึงจำเป็นต้องตรวจตราอยู่เสมอ ทุกเรื่องต้องระมัดระวัง สมมุติคนในบ้านไม่เห็นตามความคิดของตนเอง จะเกิดความกังวลไหม จะมีชีวิตที่สุขสบายหรือไม่ เกิดความโลภหรือไม่ ถ้ารายได้เข้าบ้านไม่มาก รู้จักหาวิธีไปหาเงินหรือไม่ ถ้าเพื่อนที่ปฏิบัติธรรมอยู่ด้วยกันจากไป เราจะเกิดเบื่อหน่ายท้อถอยหรือไม่ เหล่านี้เป็นต้น ล้วนทำให้สูญเสียธรรมทางใจไปแล้วก็เข้าสู่ทางไม่ใช่ธรรม เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรปล่อยปละดูแคลน

คำว่า “ธรรม” ในคัมภีร์ทางสายกลาง (จงหยง) ของท่านขงจื่อที่กล่าวไว้ว่า “โองการฟ้าคือจิต คล้อยตามจิตเรียกว่าธรรม” “ธรรม” นี้ก็อยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการพูด หรือนิ่งเฉย หรือเคลื่อนไหว หรือเงียบ ล้วนเป็นธรรมทั้งสิ้น เพียงต้องเข้าใจถึงหลักธรรมของมันให้ถูกต้อง พอนำไปปฏิบัติก็มีความก้าวหน้าชาญชัยคุณธรรมโบราณก็กล่าวไว้ “มหาธรรมอยู่ตรงหน้า มองไปเห็นยาก อยากเห็นองค์แท้ของมหาธรรม ไม่ห่างจากรูปเสียงวาจา” ในคัมภีร์เต๋า (เต้าเต๋อจิง) กล่าวว่า “คนในระดับสูงได้ฟังเต๋า ก็มานะปฏิบัติตาม (บทที่ 41)” คัมภีร์มองภายใน (เน้ยกวงจิง) กล่าวว่า “รู้ธรรมง่ายเชื่อธรรมยาก เชื่อธรรมง่าย ปฏิบัติธรรมยาก” อวตสกสูตร (ฮั่วเอวียนจิง) กล่าวว่า “ศรัทธาเพื่อธรรม คือ แม่บุญ เจริญเลี้ยงรากกุศลทั้งปวง ขจัดตัดสงสัย หลุดพ้นตะข่ายนทีรัก แนะนำนิพพานธรรมสูงสุด” เพราะว่าองค์ธรรมของทุกๆ คน บริบูรณ์พออยู่แล้วถึงแม้จะจมปรักอยู่ในกามคุณนานาชนิด ถ้าหากยอมเอาใจย้อนแสงส่องตน เช่นนั้นแล้วภายในจะเป็นจริงหรือปลอม จะปกปิดสักนิดก็ไม่อยู่ นี่แหละที่เรียกว่า “หลักธรรมฟ้าองค์ธรรมไม่หยุด” ถ้าหากสามารถขยายทำให้มันเต็มเปี่ยม ถึงแม้จะผ่านไปเป็นหมื่นกัป หรือเกิดสักพันครั้ง มันก็จะไม่ร่วงตกอีก เพราะฉะนั้น หากมนุษย์สามารถรู้จักปฏิบัติเข้าเป็นหนึ่งได้ ก็จะหลุดพ้นปุถุชนสู่อริยชน  ก็คงไม่ยากใช่ไหม ! นี่เป็นสัจจริงนะ !

นิทาน ๑ :  สมัยก่อนมีชาวนาคนหนึ่ง ถูกเสือกัดเอาจนบาดเจ็บสาหัสพอมีคนพูดถึงเสือกัดคน ทุกคนฟังแล้วก็พากันหวาดกลัว แต่ชาวนาคนนี้ถึงกับมีสีหน้าถอดสี  ซึ่งไม่เหมือนกับคนทั่วไป การที่เสือกัดคนทุกคนก็พอที่จะข้าใจถึงอันตรายของมัน  แต่สำหรับคนที่เคยผ่านประสบการณ์มาจะเข้าใจลึกซึ้งกว่า  ดังนั้นเมื่อมีผู้พูดถึงเสือกัดคนคนทั่วไปก็พากันหวาดกลัวเท่านั้น  แต่สำหรับชาวนาผู้นี้แล้ว เขาจะรู้สึกถึงความเจ็บปวดจากการกัดของเสือเป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นหน้าตาก็จะถอดสีเมื่อได้ยินคนพูดถึงเสือ


นิทาน ๒ : ในสมัยฮั่น มีมหาบัณฑิตนามว่า กวนหนิง และฮั่วอินทั้งสองทำไร่อยู่ด้วยกัน  กวนหนิงขุดดินพบก้อนทองอยู่หลายครั้งเขาก็ไม่สนใจแม้จะมองดูแต่ฮั่วอินเก็บมันขึ้นจากดินแล้วโยนออกไปข้างทาง  ต่อมาเกิดสงคราม กวนหนิงจึงย้ายหนีสงครามไปอยู่ที่เหลียวตงท่านกงซุนตู้แห่งเหลียวตง  ให้ความนับถือต่อกวนหนิงมาก กวนหนิงก็คงวางตนเฉย  ท่านกวนหนิงอาศัยอยู่ที่บนเขา  และก็มีหลายคนติดตามขึ้นไปอยู่บนเขาด้วย  มีอยู่ครั้งหนึ่ง วัวของคนใกล้เคียงเข้าไปย่ำเหยียบนาของกวนหนิงเสียหาย กวนหนิงจึงจูงวัวออกไปเลี้ยงตามทุ่งหญ้า ทางเจ้าของวัวรู้เข้ารู้สึกขายหน้า ก็มาขอโทษกวนหนิง บริเวณที่กวนหนิงอาศัยอยู่ชักจะมีผู้คนพากันมาอยู่มากขึ้น  กวนหนิงจึงเปิดการอบรม อบรมให้คนแถวนั้นรู้จักจริยธรรม รู้จักรักษาตนให้ซื่อสัตย์สุจริต และมีความละอาย หากผู้ที่มาขอพบไม่ได้มาเพื่อเข้าอบรม เขาก็จะไม่ให้พบหน้า จากการอบรมของกวนหนิง ไม่นานนักก็แพร่กระจายไปทั่วเหลียวตง  ชาวบ้านที่ได้รับการอบรมก็มีคุณธรรมสูง  จนมีอิทธิพลเปลี่ยนแปลงนิสัยอันไม่ดีของชาวบ้านได้  แต่ละครั้งที่กวนหนิงได้พบหน้ากับกงซุนตู้ก็จะพูดคุยกันแต่เรื่องคุณธรรม เรื่องของทางโลกเขาจะไม่พูดถึงกันเลย  กงซุนตู้เห็นความเป็นนักปราชญ์ของกวนหนิงเป็นเวลายาวนานถึง 37 ปี ต่อมากิตติศัพท์ได้ยินไปถึงราชสำนักทางราชสำนักจึงมีราชโองการให้กลับมาที่เมืองหลวง  โดยทางเรือเดินสมุทร พอดีเกิดลมพายุ เรือใกล้จะจมลง ชาวเรือต่างร้องขอให้ฟ้าช่วย ส่วนกวนหนิงก็ได้แต่นั่งนิ่งเฉยกล่าวว่า “ข้ากวนหนิงตลอดชีวิตเคยทำผิดครั้งหนึ่งคือไม่ได้สวมหมวกในตอนเช้า เข้านอนดึกมี 3 ครั้ง ครั้งหนึ่งเข้าห้องส้วมไม่ได้สวมหมวกในตอนเช้า เข้านอนดึกมี 3 ครั้งครั้งหนึ่งเข้าห้องส้วมไม่ได้สวมหมวก ที่ทำผิดมาตลอดก็มีเพียงเท่านี้ ! (คงเป็นกฎระเบียบของลัทธิขงจื่อ)  เรือลำอื่นๆ ที่แล่นมาด้วยกันล่มจมหมด มีแต่เรือของกวนหนิงที่นั่งมาเพียงลำเดียวที่ไม่จม เมื่อมาถึงราชสำนัก ทางราชสำนัก จะแต่งตั้งให้เป็นขุนนางผู้ใหญ่ เขาไม่ยอมรับแม้แต่ท่านฮั่วอิน จะยกตำแหน่งของตนให้ เขาก็ปฏิเสธไม่ยอมรับ

กวนหนิงมีชีวิตถึง 84 ปี ม้านั่งไม้กับบริเวณที่คุกเข่าล้วนทะลุเป็นรูแล้ว  เพราะกวนหนิงไม่ได้ใช้นานถึง 50 ปีเลยทีเดียว  ญาติหรือเพื่อนบ้านที่ยากจนไม่มีข้าว  กวนหนิงก็จะแบ่งปันให้เพื่อจุนเจือพวกเขาถ้ากวนหนิงได้พบลูกหลานของชาวบ้าน ก็จะพูดหลักกตัญญูแก่พวกเขา ถ้าพบคนที่เป็นน้องเขา ก็จะพูดหลักของความรักในสายเลือด หากพบกับผู้ทำราชการก็พูดถึงเรื่องจงรักภักดีให้ฟัง  หน้าตาของกวนหนิงไม่เพียงน่านับถือ แม้แต่วาจาก็นิ่มนวล  ถ้าหากสามารถชักจูงคนมุ่งสู่ความดี  ก็จะสามารถกล่อมเกลาคนได้มากทีเดียวนะ




คัมภีร์ :  ไม่ดำเนินทางชั่ว  ไม่แอบรังแกข่มเหง

อธิบาย : สถานที่ที่ไม่ดี อาทิเช่น บ่อนการพนัน โรงอาบอบนวด ซ่องโสเภณี ดิสโก้เทค ร้านคาราโอเกะ  เป็นต้น สถานที่เหล่านี้ต้องถือว่าเป็นทางชั่ว จะต้องหลบเลี่ยงไม่ไป  ในสถานที่มืดสลัว คนอื่นมองไม่เห็นฟังไม่ได้ยิน หรือในที่ลับตาซึ่งง่ายต่อการทำชั่ว สถานที่เหล่านี้คือเขตแบ่งระหว่างความดีความชั่ว ต้องรู้จักหักห้ามใจไม่ก้าวล่วงเข้าไปและก็จะไม่ยอมข่มเหงรังแกใครเป็นอันขาด  คัมภีร์สองคำนี้ บอกให้รู้จักหลบเลี่ยงแล้ว ที่สำคัญก็คือ ตักเตือนคน ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของการเป็นคนดี “ไม่ดำเนินทางชั่ว” เป็นความสง่าผ่าเผยของจิตใจถึงแม้จะเป็นทางชั่วเล็กๆ เช่น ร้านคาราโอเกะ มีความผิดเล็กน้อยก็ตามถ้าตัดขาดได้ไม่ไปเสีย ทางชั่วใหญ่ เช่น บ่อนการพนัน โรงอาบอบนวดโสเภณี เราก็รู้ว่าเป็นเรื่องไม่ดี แน่นอนยิ่งต้องละเว้น ในที่ลับตาไม่มีคนเห็นก็เป็นที่ทำชั่วได้ง่าย ถ้าในใจเราสามารถปัดกวาดให้สะอาดโปร่งใส ถึงเห็นจะอยู่ในห้องที่ผู้อื่นไม่เห็น นอกจากตนเอง เราก็จะไม่ยอมทำเรื่องชั่วร้ายเป็นอันขาดได้แล้ว  ยิ่งในที่แจ้งก็ไม่ต้องพูดถึงถ้าทำได้เช่นนี้แล้วมาทำบุญสร้างกุศล มาทำเรื่องดีงามต่างๆ ได้ ก็จะทำได้ตลอดไม่ติดขัด

เราต้องรู้ว่าบุญวาสนามาจากการให้ทดแทนคุณ หากใจเราคิดแสวงหาบุญวาสนา แม้เพียงเล็กน้อยก็ถือว่าเป็นทางชั่วแล้วนะ ! เพราะฉะนั้น การจะสร้างบุญวาสนาให้กับลูกหลาน จึงไม่ควรที่จะอธิษฐานขอให้ลูกหลานมีบุญวาสนา เช่น สะสมที่ดินสร้างบ้านใหญ่โต ผูกพันจับแต่งงาน ดิ้นรนยื้อแย่ง ซื้อเกียรติยศ เหล่านี้เป็นการทำแทนลูกหลาน ช่วยหาบุญวาสนาให้ ต้องรู้ว่ารูปลักษณ์การสร้างบุญวาสนา หากมองภายนอกแล้ว ถึงแม้จะดูเงียบๆ เฉยๆ แต่ก็สามารถทำให้ลูกหลานยืนยาวและเจริญนาน ถ้ารูปแบบการสร้างบุญวาสนาดูภายนอกเห็นเป็นเอิกเกริกฟู่ฟ่า การตอบสนองบุญวาสนาของลูกหลานก็จะสั้นลง

การมีชื่อเสียงเกียรติยศ  ถ้ามีชื่อแท้จริงสมลักษณะก็ไม่เป็นไรคือดีจริงมีคุณสมบัติจริง หากใจอยากให้ดังทั่วเมือง ให้คนตีร้องป่าวประกาศ อย่างนี้เป็นทางชั่ว เพราะฉะนั้น ควรรู้จักถนอมชื่อ ไม่ใช่เป็นการสร้างชื่อสร้างภาพ หากรู้จักเรียนวรรณกรรม มีสมบัติผู้ดีเตือนให้ระมัดระวังการรับการให้  พึงใส่ใจความสง่าผ่าเผย เช่นนี้ถือเป็นการถนอมชื่อ ถ้าวิ่งเต้นให้มีชื่อในบอร์ด เบ่งอำนาจอิทธิพลแสดงความหยิ่งยโส ออกกิริยาไพร่สามัญ อย่างนี้เป็นการสร้างชื่อเพราะฉะนั้น ผู้ที่ถนอมชื่อจะปรากฎความนิ่งเงียบสงบและดูเป็นมงคลส่วนคนที่สร้างชื่อก็เห็นอึกทึกครึกโครม ดูกะเร่อกะร่า !


นิทาน ๑ : ในสมัยหมิง มีคนชื่อ หยางจื่อ เป็นชาวอำเภออู๋ เมืองเจียงซู เป็นข้าราชการตำแหน่ง ซ่างซู คืนหนึ่งเขาก็ฝันว่า เขาไปเที่ยวสวนแห่งหนี่ง แล้วก็เด็ดผลลี้ติดมือมา 2 ผล กินเข้าไป พอตื่นขึ้นมาก็ให้รู้สึกเจ็บใจตัวเองแล้วพูดว่า “นี่แสดงว่ายามปกติฉันขาดความซื่อสัตย์ เห็นแก่ได้ รู้สึกไม่ลึกซึ้งดี จึงเป็นเหตุให้ฉันต้องขโมยผลลี้ของคนอื่นกิน” ด้วยเหตุนี้เขาจึงลงโทษตนเอง โดยไม่กินข้าวอยู่หลายวัน


นิทาน ๒ : เมื่อก่อนโน้น มีสามเณรรูปหนึ่งอายุ 8 ปี นามว่าเหมี่ยวหยวน เขามีอภิญญาได้มรรคผลแล้ว ครั้งหนึ่งเขาลอยเข้าไปในราชวัง  ฮองเฮาต้องการอุ้มเขา สามเณรเหมี่ยวหยวนไม่ยอม จึงทูลฮองเฮาว่า “อุ้มหม่อมฉันไม่ได้ ฮองเฮาไม่ควรเข้ามาใกล้หม่อมฉัน  หม่อมฉันออกบวชแล้ว” ฮองเฮาก็ตรัสว่า “เจ้ากับลูกชายข้าเล็กเท่านั้นให้ข้าอุ้มเจ้าหน่อยจะเป็นไรไป”  เหมี่ยวหยวนทูลว่า “เราเอาเรื่องมิตรไมตรีมาเปรียบเทียบ ก็อย่างที่ท่านฮองเฮาตรัสเมื่อครู่นี้ แต่มิตรไมตรีเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ก็เหมือนเชื้อไฟเล็กๆ ขนาดดาวก็สามารถเผาผลาญป่าได้กว้างใหญ่โตได้ อะไรที่เป็นเรื่องอารมณ์ ก็เริ่มจากทีละน้อยจากเล็กก็กลายเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น คนที่มีปัญญาก็จะหลบหลีกการติเตียนสงสัย นี่ก็เป็นสิ่งที่เรียกว่า ป้องกันเรื่องเล็กไว้ก่อน

นิทาน ๓ :  ในสมัยฮั่น นายหยางจิ้น เป็นผู้ว่าราชการเมืองตงไหลมีครั้งหนึ่งผ่านมาที่อำเภอที่ตนปกครอง นายอำเภอหวังมี้ก็เป็นบุคคลที่เขาคัดเลือก ตกกลางคืน นายอำเภอหวังมี่ก็นำเอาทองคำเข้ามาหานายหยางจิ้น หวังมี่พูดว่า “ค่ำมืดอย่างนี้ไม่มีใครรู้เรื่องนี้” หยางจิ้นว่า “ฟ้ารู้ดินรู้  เจ้ารู้ข้ารู้ ทำไมจึงพูดว่าไม่มีใครรู้”  หวังมี่ได้ยินแล้วรู้สึกอับอายมาก ต่อมาหยางจิ้นได้เลื่อนขั้นเป็นถึงซันกง


นิทาน ๔ :  แพทย์เหอเติ้ง เป็นหมอที่มีวิชาสูง เขามีผู้ป่วยแซ่ซุนคนหนึ่ง ป่วยมานานแล้ว ภายหลังที่แพทย์เหอเติ้งไปดูไข้ที่บ้านหลายครั้งแล้ว ภรรยาผู้ป่วยจึงพูดกับเหอเติ้งว่า “สามีฉันป่วยมานานเงินทองก็ใช้จวนหมดแล้ว ฉันยอมอุทิศกายเป็นค่าหมอค่ายา”  เหอเติ้งฟังแล้วก็พูดกับเธอย่างจริงจังว่า “คุณนายซุนทำไมจึงพูดเช่นนี้ แต่ขอให้สบายใจอย่าได้กังวล ฉันจะรักษาคุณซุนอย่างเต็มที่ ถ้าหากฉันถือโอกาสลวนลามเธอ อย่างนี้ทำให้ข้านี้ต้องเป็นคนต่ำทรามไปตลอด คุณนายก็จะสูญเสียความเป็นกุลสตรี ถึงแม้เราจะหลบพ้นการด่าทอของคนอื่นได้ แต่ต้องรู้ว่า หลบสายฟ้าได้ยากนัก !”  ต่อมาเหอเติ้งก็มีความฝัน ฝันว่าตนเองได้รับราชการตำแหน่งใหญ่ มีเทพเจ้าองค์หนึ่งพูดกับเขาว่า “เหอเติ้ง เจ้ารักษาคนช่วยเหลือคนมีบุญกุศลโดยเฉพาะภายใต้การตกอับของผู้อื่น ไม่ลวนลามหญิงชาวบ้าน ดังนั้นพระเจ้าจึงประทานตำแหน่งแก่เจ้ากับเงินอีก 5 หมื่นพวง” ภายหลังการฝันไม่นาน โอรสของฮ่องเต้เจ็บป่วย สืบหาแพทย์หลายคนมาแล้ว ต่อมาก็หามาถึงเหอเติ้ง เหอเติ้งให้ยาเพียงห่อเดียวก็หาย ดังนั้นพระโอรสถึงประทานตำแหน่งให้เหอเติ้งกับเงินอีก 5 หมื่นพวง เหมือนกับในฝันไม่พิดเพี้ยน !




คัมภีร์ :  สั่งสมบุญกุศล


อธิบาย : สั่งสมบุญก็เหมือนสะสมเงินทอง ค่อยๆ เก็บก็จะเพิ่มมากขึ้น สั่งสมกุศลก็เหมือนการก่อกำแพง  ก่ออิฐขึ้นทีละก้อน กำแพงก็จะค่อยๆ สูงขึ้น

บุญไม่รู้สั่งสม บุญก็จะไม่เพิ่มขึ้น กุศลไม่ไปทำ บารมีก็ไม่มากขึ้น ก็เหมือนชาวนาที่ขยันไถหว่านก็จะเก็บเกี่ยวได้ในฤดูสารทเหมือนพ่อค้าที่ขยันค้าขายหวังเก็บเงินไว้มาก วันเก็บได้หนึ่งบุญ พรุ่งนี้ก็เก็บอีกหนึ่งบุญ  วันนี้สั่งสมได้หนึ่งกุศล พรุ่งนี้ก็เพิ่มได้อีกหนึ่งกุศลอยากคิดจะเป็นเทพเซียนก็ไม่ใช่เป็นเรื่องลำบาก หากจะเป็นเซียนฟ้าต้องทำเรื่องบุญกุศลหนึ่งพันาสามร้อยเรื่อง ทำไปทุกวัน แค่ 4 ปี ก็สำเร็จแล้ว ถ้าจะเป็นเซียนดินก็ทำกุศลแค่สามร้อยเรื่อง วันละหนึ่งเรื่องเพียงปีดึยวก็ได้แล้ว  กลัวแต่คนไม่กล้าเปิดใจไปทำหรือทำไปครึ่งๆ กลางๆ ก็เลิกแล้ว เพราะฉะนั้น เมื่อตั้งปณิธานก็ต้องมีความตั้งใจศรัทธา มีใจกล้าหาญ ใจวิริยะ ใจแน่วแน่ ไม่ใช่ตระหนี่เงินแล้วหยุดไปเลย หรือถูกคนอื่นเขาหัวเราะก็เกิดคลางแคลงสงสัย อย่าได้เอาแต่ความสบายจนเคยตัว  จนไม่สามารถบังเกิดความกระตือรือร้นอย่าให้ความอยากส่วนตัวเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้ง  จนกระทบกับมรรคผลอย่าเห็นว่างานใหญ่กลัวลำบาก อย่าเห็นว่าบุญเล็กจึงดูแคลน อย่าให้เรื่องงานไม่ว่างเป็นเหตุผลในการบอกปัด  อย่าให้รักชื่อเสียงจึงไม่ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ สรุปคือ อย่าหลีกเลี่ยงการถูกตำหนิติเตียน อย่าหลีกเลี่ยงการถูกกล่าวหา  อย่าเพราะเลยตามเลย  อย่างขาดตอนอย่าตระหนี่ อย่าหวังตอบแทน อย่าหวังชื่อเสียง อะไรเป็นเรื่องกุศลก็ให้ไปทำอย่างยินดี ความสำเร็จที่ได้จากอุปสรรค จึงจะเป็นการสั่งสมบุญกุศลที่แท้จริง


นิทาน ๑ : พระเจ้าจือซวีหยวนจวิน  กล่าวว่า “เมื่อก่อนมีคุณหนูชอบเรียนธรรมตั้งแต่เด็ก  เขาเข้าไปอยู่ในห้องศิลาบนเขาเจียวซันเวลาผ่านไป 3 ปี  ทันใดก็ได้พบท่านอริยเจ้าไท่จี๋ ให้สว่านไม้แก่เขาอั่นหนึ่ง ต้องการให้เขาไปเจาะก้อนหินก้อนใหญ่ให้ทะลุ  ทั้งยังบอกเขาว่า “ถ้าหากเจ้าใช้สว่านไม้เจาะทะลุหินก้อนใหญ่ใ ห้ทะลุ  ทั้งยังบอกเขาว่า “ถ้าหากเจ้าใช้สว่านไม้เจาะทะลุหินก้อนใหญ่นี้ได้  ฉันก็จะมาฉุดช่วยเจ้า”  คุณหูก็เจาะหินก้อนนั้นนานถึง 47 ปี  ทันใดนั้นก้อนหินก็ทะลุ  แล้วอริยเจ้าไท่จี๋ก็มาฉุดช่วยเขาจริงๆ ด้วย  ต้องรู้ว่าการสั่งสมบุญกุศล ไม่ได้อยู่ที่เจาะก้อนหิน  เพียงแต่อาศัยเป็นกรณีอธิบาย คือคนก็กลัวที่จะไม่ทำ หรือทำไปแค่ครึ่งเดียวก็หยุด เพราะฉะนั้น ผู้ที่ตั้งใจงานก็สำเร็จ การเจาะก้อนหินของคุณหนู ก็คือ ประจักษ์พยานที่แจ่มชัด

นิทาน ๒ : สมัยซ้ง ที่เจิ้งเจียงมีผู้ว่าราชการคนหนึ่งชื่อ  เก๋อซี้แต่ละปีก็จะทำความดีไว้หลายเรื่อง ติดต่อกันมาไม่มีหยุดนานถึง 40 ปี มีคนไปขอคำชี้แนะ เก๋อซี่พูดว่า “ฉันไม่มีอะไรพิสดาร ทุกวันจะทำเรื่องที่ให้ประโยชน์แก่ผู้อื่นสักหนึ่งสองเรื่องเท่านั้น”  แล้วเขาก็ชี้ให้ดูที่แผ่นกระดานที่วางไว้ให้เหยียบขึ้นทึ่นั่งว่า “ถ้ากระดานที่เหยียบวางไม่ตรง  ก็อาจกระแทกจนเท้าบาดเจ็บได้  เพราะฉะนั้น  ฉันก็เอามันวางให้ตรงเสีย  คนที่คอแห้งฉันก็เรียกเขามาดื่มน้ำ เหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์กับผู้อื่น  นับตั้งแต่มหาอำมาตย์จนถึงขอทาน  ก็สามารถทำเรื่องเหล่านี้ได้  แต่ ต้องมีความพอใจ  ทำไปนานๆ  ก็จะได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง”


นิทาน ๓ :  นายเจียวกง  เป็นชาวตงจิง  เพราะบ้านตระกูลสามชั่วคนมาแล้วที่ภรรยาคนแรกไม่มีบุตรชายสืบสกุล  เขาจึงเที่ยวสืบถามผู้รู้ไปทั่ว  เพราะเขาเป็นพ่อค้าที่เดินทางค้าขาย  ต่อมาเขาได้พบกับพระภิกษุเฒ่าบอกกับเขาว่า “สาเหตุของการไม่มีบุตรชาย  มี 3 อย่าง  1.  บรรพชนไม่ได้สั่งสมบุญกุศล  2  ชะตาอายุของสามีภรรยา  อาจละเมิดข้อห้ามบางอย่างไว้  3.  ตนเองไม่รักษาสุขภาพ  ภรรยามีโรคเลือดเย็น”  เจียวกงตอบว่า เรื่องสั่งสมบุญกุศลกับชะตาอายุของสามีภรรยา  ล้วนสามาถปฎิบัติได้  แต่เรื่องโรคเลือดเย็นนี่มีวิธีรักษาอย่างไร”  ภิกษุผู้เฒ่าตอบว่า “อันนี้ไม่ยาก แต่เธอต้องไปสั่งสมบุญกุศลก่อน  ภายหลังก็เสริมสร้างสุขภาพให้ดีสามปีให้หลัง  ก็มาถึงอู่ไถซัน  ข้าจะห้าตำหรับยาแก่เจ้า”  จากนั้นเจียวกงก็เริ่มสร้างบุญสร้างกุศลสร้างบุญลับต่างๆ  เขาสั่งสมบุญกุศลอยู่ 3 ปีแล้ว  เขาก็มุ่งหน้าไปสู่อู่ไถซัน  เพื่อหาพระภิกษุเฒ่า ก็เห็นแต่ลูกศิษย์วัด  ในมือถือม้วนกระดาษ  เขาพูดกับเจียวกงว่า “หลวงพ่อบอกให้ฉันมาบอกท่าน  ท่านได้สั่งสมบุญกุศลมาครบ 3 ปี  แล้ว ก็ให้ไปหายาตามใบยา   แล้วก็กินอย่างนอบน้อม  จะได้ลูกหลานที่ดีร่ำรวยตามแต่ใจท่านคิด”  ต่อมาเจียวกงได้ลูกชาย  คือเศรษฐีเจียง แต่ลูกของเศรษฐีเจียงไม่ดี  เศรษฐีเจียงถึงกับเสียใจว่า บุญกุศลของตนจึงเสียหายถึงขนาดนี้ จึงไปที่อู่ไถซัน  พบแต่ลูกศิษย์  ลูกศิษย์ว่า “หลวงพ่อให้ฉันมาบอกท่านว่า  จะมาถามทำไม  แต่ทำไมไม่เจริญรอยตามพ่อของทาน  สร้างบุญกุศลยังจริงใจซิ  แล้วบุตรที่โง่เขลาก็จะเปลี่ยนแปลงเป็นผู้ฉลาด  มีความสามารถ ที่ยากจนก็จะร่ำรวยขึ้น เศรษฐีเจียงพูดว่า “ยากจนแล้วเปลี่ยนเป็นคนรวยนี่เป็นชะตาชีวิตของเขาเองแต่ที่โง่เขลามันเป็นธรรมชาติจากสมองของเขาอันนี้ไม่มีทางช่วยเหลือ!”  ลูกศิษย์ว่า “ท่านพูดอะไรโง่ๆ อย่างนั้น เขาเปลี่ยนแปลงได้ซิ”  ยังพูดต่อว่า “สมัยก่อนตู้อวี่เกิง มีบุตรชาย 5 คน  เกิดแรกๆ สุขภาพไม่ค่อยดี รูปร่างก็ไม่ครบถ้วน  ต่อมาตู้อวี่เกิงจึงไปที่โจวเอี้ยนซันตั้งใจสร้างบุญสร้างกุศลบุตรชายทั้งห้ากลับกลายเป็นคนดีและยังสอบได้ตำแหน่ง เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงร้อยเปอร์เซ็นต์!” เศรษฐีเจียงฟังแล้วก็ขอบคุณลูกศิษย์แล้วกลับไปบ้าน  ตั้งใจทำดีสร้างกุศลโดยไม่ลังเลสงสัย 20 ปีต่อมา  ลูกชายก็ดีขึ้นหลายคนและทุกๆ คน ก็ได้บุตรดีด้วย

คนในปัจจุบันก็รู้เรื่องนี้ดีว่า ตู้อวี่เกิง แห่งเอี้ยนซัน มีบุตรชาย 5 คน ล้วนมีความร่ำรวยติดต่อกันเป็นที่กล่าวขาน และต่างก็รู้ว่าบุตรของเขาเกิดมาแรกๆ สุขภาพก็ไม่ดี บ้างก็ไม่สมประกอบ ด้วยความมุ่งมานะทำความดี สั่งสมบุญกุศลของนายตู้อวี่เกิงเรื่อยมา จนบุตรของเขาหายจากสุขภาพไม่ดี ทุกคนสุขภาพดี ว่องไว เป็นคนดี ! จะเห็นได้ว่า ฟ้ากับมนุษย์ผสานกันได้ง่ายเช่นนี้ เพียงขอให้มนุษย์มีใจทำงานแน่วแน่และศรัทธา สร้างบุญกุศล อย่าได้เกียจคร้านเลย !



คัมภีร์ :  ใจเมตตาต่อสัตว์

อธิบาย :  คนดีที่สั่งสมบุญกุศล ไม่เพียงแต่เมตตาให้ความสนิทแก่ประชาชนทั่วไปแล้ว โดยเฉพาะใจเมตตาของเขายังเผื่อแผ่ไปถึงสัตว์อีกด้วย

เมตตาก็คือ ใจกรุณา เป็นพื้นฐานของความดีทั่วไป ความเมตตามีความหมายสองประการ 1. ช่วยเหลือสงเคราะห์คนจนปัดเป่าความทุกข์  2. ละเว้นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ทั้งยังต้องปล่อยสัตว์เป็นหลักในการสั่งสมบุญกุศล และก็เป็นพื้นฐานของการเป็นคนดี

ในพระไตรปิฎกว่า “หากมนุษย์ไม่ฆ่าชีวิต รักและดูแลชีวิตสัตว์กับปล่อยสัตว์ ให้อาหารเป็นทาน ก็จะได้มีอายุยืนยาวเป็นผลตอบสนอง”  ปัจจุบัน พวกเด็กๆ ที่ชอบเล่น มักจะทำร้ายสัตว์ เช่น แมลงปอ นกกระจอก นกเล็กๆ และสัตว์เล็กๆ อื่นๆ เป็นต้น เหล่านี้ผู้ปกครองต้องรู้สึกเจ็บปวดและห้ามปราม อย่าให้เด็กๆ ต้องทำร้ายสัตว์เล็กๆ อย่างนี้ไม่เพียงทำร้ายชีวิตสัตว์แล้วก็ไม่ทำลายบุญวาสนาของเด็กด้วยมิฉะนั้นแล้ว ถ้าสนับสนุนให้เด็กฆ่าสัตว์ พอเด็กโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ เขาก็จะไม่รู้จักเมตตากรุณาให้อภัยเลย ! ตลอดจนคนรับใช้ในบ้านยังชอบเอาน้ำร้อนมาราดพื้น หรือเวลาเผาฟืน กวาดบ้านก็มักจะทำร้ายพวกมด แมลง หนอนเล็กๆ นี่ก็เป็นสิ่งต้องละเว้นนะ ! ไม่ว่าจะเห็นสัตว์อะไรที่ตกลงมาตาย เช่น แมลงเม่าบินเข้าหาตะเกียง หนอนติดตาข่ายใยแมงมุม นกเล็กๆ ถูกทำลาย มดถูกเหยียบ ปลาปูกุ้งหอยถูกติดแหก็ควรเข้าไปช่วยปลดปล่อยมันไป  ให้มันมีชีวิตรอด เหล่านี้ล้วนเป็นมีผลตอบสนองให้ชีวิตยืนยาว  เป็นเรื่องของการทำความดี

ปณิธานของพระโพธิสัตว์สมันตราภัทร  กล่าวว่า “หากสามารถทำให้เวไนยสัตว์ยนิดีแล้ว ตถาคตทั้งหลายก็ยินดีด้วย  นี่เป็นเหตุอะไรเหตุก็คือตถาคตทั้งหลายมีมหาเมตตาจิตเป็นพื้นฐานเป็นปัจจัย เพราะสรรพสัตว์เป็นปัจจัย จึงเกิดมหาเมตตา เพราะมหาเมตตา เป็นปัจจัยจึงบังเกิดโพธิจิต เพราะมีโพธิจิตเป็นปัจจัย จึงสามารถสำเร็จมรรคผลอันเวไนยสัตว์ทั้งหลาย สิ่งที่รักที่สุดคือชีวิตของตน กับเหล่าพุทธเจ้าทั้งหลาย เวไนยสัตว์เป็นสิ่งที่เหล่าพุทธเจ้ารักที่สุด  เพราะฉะนั้นถ้า สามารถช่วยชีวิตสรรพสัตว์ได้ ก็ทำให้ปณิธานของเหล่าพุทธองค์สำเร็จลุล่วง” บทธรรมตอนนี้ จะเห็นได้ว่าวาจาที่พร่ำสอนของบรรดาพุทธเจ้าโพธิสัตว์ มิใช่หรือที่สอนคนให้ช่วยถอดถอนความเจ็บปวดของเวไนยสัตว์ พวกนอกรีตที่พร่ำพูดสอนคนให้กินเนื้อของเวไนยสัตว์ใช่ไหมล่ะ ! เพราะฉะนั้น เรารู้จักตักเตือนคนให ปล่อยชีวิต ก็คือการฟื้นฟูใจเมตตาของคน  นี่ก็คือการสร้างเหตุกุศล เพื่อความสุขเป็นนิจทุกๆ กัป การสอนคนฆ่าชีวิตก็เป็นการปลูกฝังใจโหดเหี้ยมก็เป็นรากวิบากกรรมที่ต้องพบกับการแก้แค้นทุกๆ กัปไป เพราะฉะนั่น เพียงแค่วจีเดียวกัน สามารถสร้างบุญได้ก็สามารถสร้างภัยได้  เพราะฉะนั้นเวลาเราพูดจะไม่ระมัดระวังหรือ !

นิทาน 1 :  สมัยฮั่น หยางเป่า อายุเพียง 9 ขวบ ได้เห็นนกกระจาบเหลืองตัวหนึ่งถูกนกใหญ่จิกบาดเจ็บตกลงที่พื้นดิน บรรดามดก็เข้ามารุมกัด หยางเป่าจึงเข้าไปช่วยเหลือ เอามันใส่ลังไว้ ดูแลมันเอาดอกไม้เหลืองป้อนมัน

จนกระทั่งนกกระจาบหายแล้วก็ปล่อยมันไปค่ำของคืนวันหนึ่ง ก็มีเด็กคนหนึ่งสวมเสื้อสีเหลืองเข้ามาขอบคุณไหว้หยางเป่า เด็กเสื้อเหลืองพูดว่า “ฉันเป็นทูตของพระแม่ซีหวังหมู่ระหว่างทางที่ไปยังพ้งไล้  พอผ่านมาแถวนี้ก็พบกับภัยลำบาก โชคดีที่ท่านช่วยเหลือ เพื่อเป็นการตอบแทนพระคุณ ฉันเอากำไลหยกให้ท่าน 4 อัน มันสามารถทำให้ลูกหลานของท่านได้รับราชการ ได้ตำแหน่งถึงซัมกงอันเป็นตำแหน่งสูงสุด ถ้าความประพฤติของเขาเรียบร้อยดีก็จะเหมือนกำไลหยกขาวที่สะอาด” หลังจากเด็กเสื้อเหลืองพูดจบก็ไม่เห็นเสียแล้ว ต่อมาหยางเป่ามีบุตรคือ หยางจิ้ง บุตรของหยางจิ้ง คือหยางปิ่น บุตรของหยางปิ่น คือ หยางสู้ บุตรของหยางสู้ คือ หยางปิงสืบรุ่นกันมาถึง 4 รุ่น ล้วนได้รับราชการเป็นถึงตำแหน่งซัมกง แต่ละคนก็มีคุณสมบัติดีเยี่ยม สมัยนั้นไม่มีใครสามารถเทียบเคียงได้เลย !

นิทาน 2 :  นายเซิ้นวั้นซัน เป็นคนสมัยหมิง  ครั้งหนึ่งเขาเห็นคนจับกบจำนวนหลายร้อยตัวเตรียมนำไปฆ่า เซิ้นวั้นซันเห็นแล้วก็ทนเห็นพวกกบเหล่านี้ถูกฆ่าไม่ได้ จึงซื้อกบขึ้นมาหมด แล้วนำมันไปปล่อยไว้ที่สระน้ำ ให้พวกมันมีชีวิตอิสระสบาย  อยู่มาวันหนึ่ง เซินวั้นซันเดินผ่านสระน้ำนั้น เห็นกบขี่กันเป็นกองใหญ่ ล้อมกันเป็นวงกลมพวกมันอยู่บนอ่างกระเบื้องใบหนึ่ง พวกมันร้องอ๊อบๆ เหมือนกับพูดว่า “เซินวั้นซันๆ เอาอ่างกระเบื้องไปด้วย!” เซินวั้นซันจึง่นำเอาอ่างกระเบื้องกลับบ้านไป และใช้เป็นอ่างล้าง มีอยู่ครั้งหนึ่งเขาล้างมือในอ่างใบนี้แหวนบนนิ้วก็บังเอิญหลุดลงในอ่างโดยไม่รู้ตัว พอถึงรุ่งเช้าเขาจึงรู้ตัวจึงไปหาที่อ่าง ตอนนี้เขาเห็นแหวนเต็มอ่างไปหมด !  ที่แท้อ่างนี้จึงเป็นของวิเศษ ! เซินวั้นซันจึงกลายเป็นมหาเศรษฐีหาคนเปรียบไม่ได้

นิทาน 3 :  พระธรรมาจารย์เซ็นเอี๋ยงโซ่ว อยู่ในสมัยซ่ง เดิมทีแซ่หวังเป็นชาวเมืองตันหยาง เริ่มแรกรับราชการแผนกภาษีของอำเภออวี่เถาเพราะว่าเขามักซื้อปลาปล่อยเป็นประจำ  เงินเดื่อนใช้จนหมดจึงไปเอาในส่วนกองคลังมาใช้ ในที่สุดเจ้านายตรวจพบ จึงรู้ว่าเขาได้ใช้เงินของกองคลังไปถึงสิบหมื่น ตามกฎหมายสมัยนั้น เขาต้องโทษประหารชีวิต ขณะที่จะถูกตัดหัว  สีหน้าของนายหวังไม่เปลี่ยนเลย  ทั้งยังพูดกับเพื่อนของเขา ซึ่งจะเป็นผู้ประหารเขา ชื่อสี่จื้อซินว่า “ฉันได้ปล่อยชีวิตนับร้อยล้านชีวิตแล้ว วันนี้ฉันตายก็ไม่เสียใจ  เพราะใจฉันตั้งใจไปเกิดแดนสุขาวดี นี่จะไม่สุขสบายกว่าหรือ”  พูดจบเขาก็พนมมือท่องนามพระพุทธ ไม่กลัวตายแม้แต่น้อย เพชฌฆาตก็แกว่งดาบฟันลงที่คอของนายหวัง ได้ยินแต่เสียงแชะ ดาบก็ขาดเป็น 3 ท่อน เพชฌฆาตลี่จื้อซินรีบทำรายงานเหตุการณ์ทูลพระเฉียนเหลียวอ๋อง ท่านพระเฉียนเหลียวอ๋อง ก็เป็นคนนับถือพุทธศาสนา และมีความเมตตา เมื่ออ่านรายงานจบก็สั่งให้ปล่อยตัวนายหวัง แล้วคืนตำแหน่งให้ แต่นายหวังปล่อยวางทางโลก ออกบวชศึกษาพระธรรม มีความวิริยะบำเพ็ญศีลสมาธิปัญญา มีครั้งหนึ่งเขาฝันว่าพระโพธิสัตว์กวนอิมเอาน้ำมนต์กรอกใส่ปากเขา  ดังนั้น ปัญญาเขาก็สว่างขึ้น ได้แต่งคัมภีร์หมื่นกุศลไว้ 6 เล่ม  และประจำอยู่วัดหย่งหมิง  ภายหลังได้เป็นสังฆปริณายกสายสุขาวดี อันดับที่ 6  อายุได้ 72 ปี  ก็นั่งสมาธิมรณภาพไป  ต่อมามีพระสงฆ์รูปหนึ่ง จะเดินรอบเจดีย์ที่เก็บกระดูกของธรรมาจารย์เอี้ยงโซ่วทุกวัน  มีผู้ถามถึงสาเหตุ พระสงฆ์ตอบว่า “ฉันเป็นคนบู๋โจว เพราะว่าเคยป่วยหนักมาแล้ว ถูกยมพูตจับตัวไปยังยมโลก เห็นที่ยมโลกมีรูปภาพรูปหนึ่งแขวนไว้  ฉันเห็นยมบาลยังไหว้รูปภาพนั้นอย่างนอบน้อม  ฉันรู สึกแปลกใจจึงถามยมทูตที่อยู่ข้างๆ ว่า “ภาพในรูปเป็นใคร” ยมทูตตอบว่า “ภาพในรูปคือ อาจารย์เอี้ยงโซ่วแห่งวัดหย่งหมิง คนที่ตายแล้วก็ต้องมาที่ตรงนี้ มีแต่ท่านธรรมาจารย์เอี้ยงโซ่ว ไปปฏิสนธิแดนสุขาวดีโดยตรง  ทั้งยังได้อยู่ขั้นหนึ่ง เกรดหนึ่ง ดังนั้น ท่านยมบาลจึงนับถืออาจารย์นี้มาก เพราะฉะนั้นจึงไหว้รูปนี้” จะเห็นได้ว่า เมตตาปล่อยชีวิต ตั้งใจไปเกิดแดนสุขาวดี แม้ยมบาลในยมโลกก็นับถือกราบไหว้เลย +


คำคม :  อาจารย์เหลียนฉือไต้ซือ  ในสมัยหมิง ได้นิพนธ์บทละเว้นฆ่าชีวิต เพื่อใช้ตักเตือนชาวโลก ท่านพูดว่า “แต่ละคนก็รักชีวิต สัตว์ก็เหมือนกันต่างอยากมีชีวิต กลัวตาย แล้วจะไปฆ่าพวกเขาได้อย่างไรเพื่อบำเรอปากท้องของเรา ตอนจะฆ่าก็ต้องเอามีดคมเฉือนเปิดพุงของมัน  เอามีดแหลมทิ่มแทงคออวัยวะของมัน  บ้างก็ลอกเอาหนังบ้างก็ถอดเกล็ด  เชือดเฉือนออกเป็นชิ้น  หรือเอาหอยปูปลาโยนลงในหม้อน้ำเดือด หรือใช้เกลือบ้าง เหล้าบ้าง ดองหอยปูและกุ้ง น่าสงสารมาก ! พวกมันต้องพบกับความเจ็บปวดทรมาน หมดหนทางที่จะแก้แค้นความเจ็บปวดสุดยอดเช่นนี้  อดทนได้ยากยิ่ง  มนุษย์สร้างบาปกรรมฆ่าตัดวิญญาณอันเป็นวิบากกรรมท่วมฟ้าเช่นนี้ กับเหล่าวิญญาณที่ถูกทำลาย จึงเป็นเหตุที่ได้ผูกเวรที่ต้องจองล้างจองผลาญกันไปเป็นหมื่นๆ ชาติ เมื่อไรที่อนิจจังมาถึงก็ต้องตกสู่ขุมนรก ต้องรับโทษในนรก ไม่ว่าจะน้ำทองแดงเดือด เตาไฟ เนินมีด ต้นงิ้วฯ รับโทษที่เจ็บปวดจนกว่าโทษในนรกจะหมดลง  หลังจากกนั้นให้ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เพื่อชดใช้หนี้ให้เขากินเนื้อ เป็นผลตอบสนอง ชดใช้หนี้ชีวิตจนหมดจึงกลับเกิดเป็นคนใหม่ ก็มักเจ็บป่วยบ่อยๆ หรือไม่ก็ตายแต่เยาว์วัยด้วยเหตุนี้  ฉันโอดโอยบอกเล่าชาวโลก  เพื่อให้ชาวโลกละเว้นฆ่าชีวิตทั้งยังต้องอาศัยตามแรงของตนไปปล่อยสัตว์ เพิ่มการสวดพุทธะเช่นนี้มีเพียงเพิ่มพูนบุญวาสนาของตนเอง  ก็ยังสามารถตั้งปณิธานไปเกิดแดนสุขาวดีได้  จะได้พ้นจากวัฎสงสาร การฉุดช่วยเวไนยสัตว์บุญกุศล เหลือคณานับ”


 


 

คัมภีร์ :   จงรักภักดี  กตัญญู


อธิบาย : คนที่เป็นข้าราชการ ก็ต้องมีความจงรักภักดีให้ถึงที่สุด  ผู้ที่เกิดมาเป็นบุตรก็ต้องมีความกตัญญูถึงที่สุดเช่นกัน

บ่าวสุดภักดี บุตรสุดกตัญญู  เป็นกฎของหลักธรรมฟ้า และก็เป็นพื้นฐานของมนุษย์สัมพันธ์ ถ้าหากขุนนางข้าราชการไม่จงรักภักดีแล้ว การเป็นเจ้ากับขุนนางจะมีความหมายอะไร  คนที่เป็นบุตรแล้วไม่มีความกตัญญู พ่อแม่ก็จะมีความหวังอะไร  ต้องรู้ว่า การไม่จงรักภักดีไม่กตัญญู เทียบสัตว์เดรัจฉานก็ไม่ปาน  แล้วจะเรียกว่าเป็นคนได้อย่างไร

แม้คนที่สามารถบำเพ็ญสำเร็จเป็นเซียนได้  แต่ก็ต้องผ่านการบำเพ็ญสั่งสมบุญกุศลมาเป็นเวลายาวนาน

คนที่มีมหากตัญญู ถ้าวันนี้ตายพรุ่งนี้ก็ไปเกิดบนสวรรค์ คนทั่วไปล้วนรู้ว่า ความจงรักภักดีกตัญญูเป็นงานมหกรรมของข้าราชการ รู้หรือไม่ว่าความจงรักภักดี ยิ่งเป็นเหตุปัจจัยในการเลื่อนสู่ภพภูมิสวรรค์ด้วยนะ !

บุตรกตัญญูต้องทำให้ประเทศมีความสงบก่อน เพราะเมื่อประเทศชาติสงบได้แล้ว ครอบครัวถึงจะมีความสงบ เมื่อครอบครัวสงบแล้ว บุตรกตัญญูจึงสามารถดำเนินการกตัญญูได้ดี เพราะฉะนั้นคนสมัยก่อนแสวงหาขุนนางจงรักภักดี ก็ต้องไปแสวงหาเอาจากบุตรกตัญญู ถ้ามีความสมบูรณ์ ทั้งจงรักภักดีและกตัญญูได้ ก็ถือเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมสูงสุด อย่างไรก็ตาม บางทีทั้งจงรักภักดีกับกตัญญูไม่อาจทำได้พร้อมกัน เพราะฉะนั้น จึงควรแยกกันวิจารณ์ จึงจะทำให้เราได้รับรู้ตามแต่เหตุการณ์ที่ไม่เหมือนกัน เพื่อให้ถึงที่สุดของใจตนเอง

อันการจงรักภักดี ก็คือ ความจริงใจที่ไม่คิดข่มเหง เป็นหลักมนุษยสัมพันธ์ ตัวอย่างเช่น ผู้อยู่ใต้บังคับ

บัญชาที่ทำงานให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้น้อยทำงานให้ผู้ใหญ่ หรือเป็นเพื่อนเสมอกัน การคบค้าสมาคมติดต่อปฏิบัติ ต้องมีความจริงใจที่ไม่คิดข่มเหง  ไม่คิดทรยศหักหลักหลักธรรมจงรักภักดี มีไว้สำหรับผู้เป็นขุนนางข้าราชการ หรือผู้ใต้บังคับบัญชา  แม้แต่ความสัมพันธ์ของบิดา บุตร พี่น้อง สามี ภรรยา ทุกๆ คนก็รู้เองว่าควรที่จะนับถือรักใคร่ซึ่งกันและกัน แม้แต่ความสัมพันธ์ระหว่างราชากับขุนนาง ความหมายของหลักธรรมก็ผูกพันเข้าไว้ด้วยกันได้ คนทั่วไป ในจุดนี้อาจเกิดความคิดเห็นที่ไม่มีวิสัยทัศน์คนที่เป็นขุนนางข้าราชการ ก็จะมีเหตุปันใจไม่จงรักภักดีถึงที่สุดสาเหตุก็มาจากตนเองกับครอบครัว  ตำแหน่งการงาน อำนาจอิทธิพลบุญคุณความแค้น เกียรติยศ อยู่ในทั้ง 5 อย่างนี้  ถ้าคิดถึงตนเองกับครอบครัว  ตำแหน่ง ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องธรรมดาของคนทั่วไป แต่จะกระทบกระเทือนเสียหายไม่มากนัก แต่ถ้าเป็นอำนาจอิทธิพล ส่วนใหญ่ก็เป็นพวกกังฉิน คือพวกทรราช อย่างนี้จะกระทบกระเทือนเสียหายมากกับประเทศชาติ พวกขุนนางกังฉินเหล่านี้ ในที่สุดแล้วภัยพิบัติก็ย้อนเข้าตัว  ตัวอย่างเช่น หลี่หลินปู หยางกั๊วตง ฉินไกว  เหล่านี้เป็นต้นกับเรื่องบุญคุณ ความแค้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของราชาเจ้านาย  ซึ่งก็หลีกเลี่ยงได้ยาก  ตั้งแต่ราชวงศ์ถัง  ซ่ง เป็นต้นมา  มีสาเหตุมาจากการแตกแยกเป็นก๊กเป็นเหล่า จนเกิดภัยพิบัติ


คำคม : ท่านอวี่เถี่ยเจียว พูดว่า “การที่ประชาชนอยู่ได้อย่างสงบสุขก็พึ่งอาศัยทหารตำรวจคอยคุ้มครอง ถ้าหากไม่มีทหารตำรวจคุ้มครองขโมย โจร อันธพาล ฆ่าชิงวิ่งราว ชีวิตทรัพย์สินประชาชนก็ตกอยู่ในอันตรายทั้งเช้า-ค่ำ เมื่อคิดถึงตรงนี้ ไม่ว่าเศรษฐีหรือยาจก ล้วนได้รับการดูแลจากชาติทั้งนั้น  เหตุฉะนี้ แต่ละคนต้องทำหน้าที่ของตน คือจงรักภักดีต่อชาติให้ถึงที่นุด นับประสาอะไรกับพวกมีการศึกษา หรือข้าราชการที่รับเงินเดือนของชาติ  โดยเฉพาะผู้อาสาเข้ามารับใช้ชาติหากไม่รู้ตจักคำว่าจงรักภักดี เป็นคนที่น่าละอายอย่างยิ่ง !


นิทาน ๑ :  สมัยถัง  ขุนนางเหว่ยเติ้ง มีความกล้าหาญ มีแผนการณ์ชอบที่จะเหนี่ยวรั้งฮ่องเต้ที่ทำสิ่งไม่ควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใหญ่เรืองเล็ก ถ้าหากฮ่องเต้ทำไม่ถูก เหว่ยเติ้งก็จะไม่ตามพระทัย จะทัดทานตักเตือนอย่างยากลำบากก็ยอม ถึงแม้จะทำให้ฮ่องเต้โกรธมาก เหว่ยเติ้งก็ไม่ยอมตามพระทัย มีอยู่ครั้งหนึ่ง ถังไถ่จงได้รับเหยี่ยวรุ้งมาตัวหนึ่งชอบมาก มักจะให้เจ้าเหยี่ยวรุ้งเกาะอยู่บนไหล่  ครั้งหนึ่งพอเห็นเหว่ยเติ้งเข้ามา กลัวเขาเห็นเข้า ก็รีบยัดเจ้าเหยี่ยวรุ้งเข้าไปในอกเสื้อเหว่ยเติ้งมีแผนการณ์ ก็จะถ่วงเวลากราบทูลเรื่องราวต่างๆ ให้ช้าลงดังนั้นเจ้าเหยี่ยวรุ้งเลยถูกอบตายในอกเสื้อ (ทั้งนี้เหว่ยเติ้งรู้ว่าฮ่องเต้ไม่สนใจทำงาน เอาแต่สำราญกับนกเหยี่ยวรุ้ง ถึงใช้วิธีการเช่นนี้ตักเตือนพระองค์)  ต่อมาฮองเฮาเหวินเต๋อสวรรคต ถังไถ่จงทรงคิดถึงฮองเฮาไม่หยุด และสร้างหอขึ้นในอุทยาน เพื่อขึ้นไป ส่องดูสุสานฮองเฮาพระองค์เชิญเหว่ยเติ้งขึ้นไปบนหอด้วย แล้วเรียกเหว่ยเติ้งมองดูสุสานฮองเฮา เหว่ยเติ้งส่องดูอยู่เป็นนานเท่านานแล้วทูลว่า “ฝ่าบาท ! หม่อมฉันอายุมากแล้ว ตาก็ลายแล้ว มองไม่เห็นหรอก !”  ถังไถ่จงจึงชี้นิ้วยังสุสานให้เขาดู เหว่ยเติ้งทูลว่า “หม่อมฉันหวังให้ฝ่าบาทมองเห็นสุสานของบรรพชน เหมือนมองสุสานของฮองเฮาแล้ว  หม่อมฉันก็จะมองเห็นสุสานของฮองเฮาได้ !” ถังไถ่จงฟังแล้วรู้สึกซาบซึ้งจนน้ำตาไหล จึงสั่งให้ทุบหอทิ้ง เลิกส่องสุสานฮองเฮาแล้ว  เหว่ยเติ้งแนะนำให้ถังไถ่จงหันมาสนใจเรื่องการศึกษา  หยุดขยายการทหารเพิ่มความรู้ให้ประชาชน ประเทศชาติก็จะมั่นคง ศัตรูรอบข้างก็จะสวามิภักดิ์ ไม่ต้องเอาอาวุธไปปราบพวกเขา ถังไถ่จงรับฟังข้อเสนอของเหว่ยเติ้งในที่สุดก็บังเกิดผลเกินคาด นี่คือรอยประวัติความจงรักภักดีของเหว่ยเติ้งแล้วลูกหลาน

ของเหว่ยเติ้ง รุ่นที่ 5 ชื่อ เหว่ยหมอเป็นผู้มีความชาญฉลาด เก่งกาจได้เป็นถึงมหาอำมาตย์


นิทาน ๒ :  มหาอำมาตย์ซือหม่าอุน เป็นผู้มีความขยันทำงานและรักประชาชน พลีกายให้กับชาติ เพราะตรากตรำทำงานเกินไป ร่างกายจึงเจ็บป่วย ขณะนั้นขุนนางหวังอันสือ ได้แต่งตั้ง ชิงเหมียว เหมี่ยนเจอะทหารเลวซึ่งยังไม่ทันได้กำจัดไป  ยังมีเมืองเซี่ยทางตะวันตก  ที่ยังไม่สวามิภักดิ์แก่ซ่ง ซือหม่าอุนถึงกับรำพึงว่า “สี่อันตรายนี้ยังไม่ถูกกำจัดข้าตายก็นอนตาไม่หลับ”  คนที่มาเยี่ยมไข้ เห็นร่างกายเขาผ่ายผอมลงทุกวัน  จึงใช้คำของขงเบ้งที่ว่า “กินน้อยงานหนัก อายุไม่ยืน”  มาเตือนซือหม่าอุน เพื่อจะได้หักห้าม ซือหม่าอุนตอบว่า “เกิดตายเป็นดวงชะตา ไม่ต้องห่วงใย”  เขากลับยิ่งทำงานมากขึ้น  อาการป่วยของเขาก็ยิ่งหนักลง แม้สมองก็ฝ้าฟาง แล้วก็ยังครุ่นคิดถึงราชสำนักแม้แต่ในความฝัน ก็ยังเป็นเรื่องของราชสำนัก


นิทาน ๓ :  ฮ่องเต้เหวยเกาจง  ตรัสกับบรรดาขุนนางว่า “การปฏิบัติต่อราชาควรเหมือนการเคารพบิดาของตนเอง ถ้าบิดาทำผิด ผู้เป็นบุตรมิใช่จะเขียนบอกให้ชาวบ้านมาตักเตือนบิดาหรอกนะ หากแต่อยู่ในที่ส่วนตัวไม่มีใครเห็น แล้วเตือนบิดาจึงถูก จุดมุ่งหมายก็คือไม่ต้องเปิดเผยความผิดของบิดาออกไปภายนอก ตัวอย่างเกงชง ที่เมื่อข้าได้ทำผิดเขาก็จะเข้ามาพูดกับข้าจำเพาะหน้า ตลอดจนบางครั้งก็ทำให้ข้ายอมรับไม่ได้ แต่การเตือนของเกาชง ก็ทำให้ข้าได้รู้ความผิดของตนเอง แต่คนอื่นจะไม่รู้ความผิดของข้าเลย เพราะฉะนั้น เกาชงนับว่าจงรักภักดีต่อข้าจริงๆ การจงรักภักดีต่อข้าอย่างจริงใจนี้ ไม่แค่เพียงเอาวิธีที่กดดันมาตักเตือนคน ถ้ายังมีที่ยังทำไม่ได้ ก็จะใช้วิธีเปรียบเทียบเสียดสี มาตักเตือนทักท้วงคน นับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งเลยทีเดียว”


นิทาน ๔ :  ซูเป็นขุนนางผู้ใหญ่สมัยซ่ง เขียนบทความถวายราชสำนักวิจารณ์เรื่องประเทศชาติ ไม่ได้รับการยอมรับจากราชสำนัก แต่ยังถูกลดขั้นให้ไปทำงานที่เยี่ยวโจว ระหว่างทางไปเมืองเยี่ยวโจว ผ่านเมืองลั้วหยาง ก็พักอยู่ที่บ้านเพื่อนชื่อ อี่ตุ้น จึงระบายทุกข์ให้อี่ตุ้นฟังว่าตนเองจงรักภักดีต่อราชสำนัก กลับตกต่ำลงถึงเพียงนี้ ถูกขับไปอยู่เยี่ยวโจว อี่ตุ้นฟังแล้วก็พูดกับเขาว่า “ตอนที่ท่านถวายรายงานแก่ราชสำนักนั้น  จุดมุ่งหมายของท่านเพื่อชาติบ้านเมือง หรือเพื่อชื่อตนเองและตำแหน่ง หากทำเพื่อชาติบ้านเมืองแล้ว ท่านก็ควรไปรับหน้าที่ที่เยี่ยวโจวอย่างยินดี ถ้าหากเป็นการทำเพื่อตนเอง การทำโทษของราชสำนักครั้งนี้นัว่าเป็นโทษเบา” ซู ฟังแล้วรู้สึกประทับใจ ก็ไม่กล้าที่จะกล่าวหาอะไรกับราชสำนักอีก


คำคม :  ท่านจางเค่ออัน  กล่าวว่า “บัณฑิตผู้รับราชการ หากในใจคิดแต่จะสร้างชื่อเสียงเพื่อตนเอง มีใจหาความดีความชอบแล้วละก็จะไม่สามารถทำอะไรให้ประโยชน์แก่ประชาช่นได้” นี่เป็นเรื่องจริง


นิทาน ๕ :  ขุนพลกั๊วจืออี่ ในสมัยถัง  ตอนเกิดกบฎอันซื่อ เขาได้ตีกลับได้เมือง 2 เมือง ทั้งตะวันออกและตะวันตก ความดีความชอบของเขามากกว่าผู้อื่น ตอนนั้นฮ่องเต้ไต้จง อำนาจของมหาอำมาตย์ใหญ่มากขนพลกั๊วจืออี่ ถูกให้อยู่เฉยๆ นานถึง 2 ปี  เมื่อเกิดกบฎพวกกูรุฟานทางซินเกียง กูรุฟานยกทัพเข้าตีเมืองหลวง ทุกคนตกใจกลัว ฮ่องเต้พาพวกขุนนางหลบภัยไปที่สาโจว  ขุนพลใหญ่อย่างหลี่กวงเปียะ กลับไม่พอใจต่อมหาอำมาตย์ ก็ยกกองทัพแยกไป  ไม่ยอมยกไปช่วยฮ่องเต้ที่สาโจว มีแต่กั๊วจืออี่คนเดียวกับพรรคพวกอีกราว 20 คน  ยกไปที่สาโจวเพื่อช่วยฮ่องเต้  ระหว่างทางก็รวบรวมนักรบได้อีกจำนวนหนึ่งช่วยกันตีกลองโบกธงรบ  และปล่อยไฟหลายๆ จุด ทำให้พวกกูรุฟานสงสัยและกลัวเกรง จึงยกทัพหลบหนีกลับไป ต่อมาภายหลังกูรูฟานได้ร่วมกับฮุยชี มีกองทัพสิบหมื่น มุ่งมาตีเมืองถัง พวกขุนพลก็มาไม่ทันปกป้องเมืองหลวง มีแต่กั๊วจืออี่คนเดียว ขี่ม้าออกไปเจรจาจนพวกฮุ้ยชีถอยทัพ  แล้วยังช่วยตีกองทัพกูรุฟานจนแตกยับไป กั๊วจื่ออี่แม้จะเป็นขุนพลมีกองกำลังมาก  แม้มหาอำมาตย์เช่นเฉินหยวนจิ้นอวี่เฉาเอินจะช่วยกันเพ็ดทูลฮ่องเต้ใส่ร้ายเขาอย่างไร แต่ฮ่องเต้ก็มีราชโองการเรียกเขาเข้าเมืองมาเข้าเผ้า กั๊วจื่ออี่พบได้รับราชโองการก็รีบเข้าเมืองหลวงเข้าเฝ้าฮ่องเต้  ดังนั้นจึงได้รับความเชื่อถือจากฮ่องเต้มาก ฮ่องเต้ไม่เชื่อคำเพ็ดทูลเหล่านั้น ต่อมากั๊วจื่ออี่ ได้ถูกสถาปนาเป็นอ๋องเฟินหยาง เขามีบุตรชาย 8 คน กับบุตรเขย 7 คน ล้วนเป็นขุนนางผู้ใหญ่  ลูกหลานของกั๊วจื่ออี่ ต่างก็โด่งดังมาก หาผู้เทียบไม่ได้ !


สรุป :  ตั้งแต่ยุคโบราณมาจนถึงปัจจุบัน  ขุนนางข้าราชการที่จงรักภักดีถึงที่สุด ล้วนได้รับผลดีตอบสนอง ยังมีขุนนางที่ได้รับปูนความดีความชอบแต่ไม่รับ  เมื่อมีอันตรายก็ยอมรับชะตากรรม ตลอดจนยอมฆ่าตัวตาย มองดูแล้วพวกเขาเหมือนกอดความแค้นไปตลอด เหมือนกับว่าฟ้าตอบแทนเขาไม่เหมือนกัน ควรรุ้เอาไว้ว่า ข้าราชการที่ตายเพื่อชาติ ตอนที่เขายังไม่ตายก็ได้ชื่อในตอนนั้น เมื่อตายแล้วยังได้รับการกราบไหว้จากประชาชน เพราะฉะนั้น การตอบสนองของฟ้าอันที่จริงยังดีกว่าพวกคนร่ำรวยเป็นร้อยๆ เท่า สำหรับคนที่ไม่จงรักภักดี  และทำลายล้างประชาชน ฟ้าจะตอบสนองพวกเขาอย่างสาสมจึงไม่ต้องพูดว่ามีการตอบแทนหรือไม่กับคนที่ภักดีกับไม่ภักดี ดูคนทั่วๆ ไป ข้าราชการที่ใจไม่สนใจประชาชน ก็มักจะได้รับผลที่ไม่ดีเพราะฉะนั้น ท่านผู้เป็นข้าราชการทั้งหลาย จงอย่าได้ละเมิดต่อความจงรักภักดีเลย !

พูดถึงความกตัญญู คุณหยวนกวนชง เขียนวิจารณ์ไว้ว่า “ในโลกนี้มีคนที่ไม่กตัญญู ถึงแม้เขาจะเป็นลูกไม่กตัญญู ถ้ามีใครว่าเขาเป็นลูกกตัญญู เขาจะพอใจมาก หากมีใครว่าเขาเป็นลูกไม่กตัญญูเขาก็จะโกรธและอับอาย โดยเฉพาะเวลาอยู่ต่อหน้าคนอื่น ก็จะแสร้งทำเพื่อรักษาหน้าของตนเอง ไม่กล้าที่จะทำตามอำเภอใจ นี่ก็เป็นเพราะจิตสำนึกดีของเขายังไม่มืดบอด  เพราะฉะนั้น จึงเพียงแ ค่การให้รู้จักขยายจิตสำนึกดีนี้กว้างขึ้น ซึ่งจะเป็นต้นกล้าของความกตัญญู ถ้าหากยังไม่มีความจริงใจกลับใจตรวจสอบแก้ไขนิสัยเลวออกไป ยังไม่กตัญญูเหมือนเดิม ก็คือคนไม่กตัญญู ตรงจุดนี้ควรอธิบายให้ชัดเจน เข้าใจให้ถูกต้อง ถ้าเช่นนั้นคนที่เป็นพ่อ ก็จะรู้จักอบรมสั่งสอนลูก สำหรับผู้เป็นลูกก็ต้องเข้าใจรู้จักจะกดข่มตนเอง ก็เหมือนการจับขโมยต้องรู้ว่าขโมยอยู่ที่ไหน  แล้วตั้งสติจับขโมย วันข้างหน้าก็หวังเอาได้ ! ทั้งยังอธิบายอีกว่า สาเหตุของอกตัญญู มีการปลูกฝังมาถึง 4 แบบ

แบบที่ 1 ตามใจ  คนที่เป็นพ่อแม่รักลูกสงสารลูกมากเกินไปจนลูกเคยตัว มีอะไรที่ขัดใจลูกเพียงเล็กน้อยก็ทนไม่ได้ คือยอมลูกไปทุกอย่าง จะเอาอะไรเป็นต้องได้ หากสอนลูกให้ยอมเหน็ดเหนื่อยเลี้ยงดูพ่อแม่ เขาก็จะไม่เคยชิน  ต่อหน้าคนื่นถ้าลูกทำผิด  พ่อแม่ก็ไม่กล้าว่ากล่าวตักเตือน กลัวลูกอับอายทนไม่ได้  อย่างนี้ลูกก็กล้าที่จะลำเลิกดุว่าพ่อแม่ การที่พ่อชมเชยความรู้ความสามารถของลูก โดยกลัวว่าลูกจะไม่เก่งกว่าตน อย่างนี้ก็ทำให้ลูกคิดว่า ความรู้ความสามารถของพ่อต้องด้อยกว่าตน  เป็นการสั่งสมนิสัยความหยิ่งทะนง เวลาอยู่ต่อน้าคนอื่นก็แสดงไม่ออก แต่พออยู่หน้าพ่อแม่ก็คุยโอ้อวด ทำให้เข้าใจว่าเป็นจริง โดยที่ผู้ใหญ่ก็ไม่รู้เรื่อง

แบบที่ 2 นิสัย เด็กที่พูดจาหยาบคายจนเป็นนิสัย ก็กล้าที่จะพูดใส่พ่อแม่ กิริยามารยาทที่ต่ำทรามทำจนชิน ก็จะเป็นคนที่ไม่รู้จักรักษามารยาท ทำตามอำเภอใจ พ่อแม่สู้อุตส่าห์เก็บของดีของชอบที่ลูกชอบกินไว้ให้จนลูกเคยชิน  เด็กจะลืมพระคุณที่พ่อแม้สู้เก็บถนอมไว้ให้ไป บางทีพ่อแม่มีอาการเจ็บป่วยทนทุกข์ทนเจ็บ ไม่ปริปากบ่นให้ลูกฟัง  ลูกก็จะไม่ถามไถ่ดูแลการเจ็บป่วยของพ่อแม่ไป

แบบที่ 3 รักสบาย  ลูกพอได้พบกับคนรุ่นราวคราวเดียวกันก็ให้รู้สึกสนิทสนมพอใจ แต่กับพ่อแม่ก็ไม่มีความหมาย พอเข้าไปในห้องภรรยาให้มีอาการพอใจ  แต่พออยู่นอกห้องมีผู้ใหญ่อยู่ด้วยก็ดูเบื่อหน่าย บางครั้งก็กล้าพูดออกมาตรงๆ พ่อแม่พี่น้องกลายเป็นสิ่งน่าเบื่อไม่อยากพูดคุย ในใจเขาจะมีความคิดเรื่องกตัญญู หรือความรักในสายเลือดอย่างไร

แบบที่ 4 ลืมบุญคุณจำความแค้น มักพูดกันว่า “บุญคุณยิ่งนานยิ่งลืม ความแค้นยิ่งนานยิ่งสะสม”  เป็นปกติวิสัยของคน เพราะฉะนั้น ถ้าเลี้ยงข้าวคนอื่นมื้อหนึ่ง เขาจะจดจำได้ แต่ถ้าเลี้ยงข้าวจนเคยแล้ว การติเตียนโทษแค้นก็เกิดขึ้นได้  เช่นกัน  ถ้าบริจาคให้ครั้งหนึ่งคนอื่นรู้สึกขอบคุณ ถ้าหากสงเคราะห์จนเป็นประจำ ก็จะเกิดการแยกแยะว่ามากว่าน้อย ถ้าการพบหน้ากันครั้งเดียวก็ทำให้เขารู้สึกยกย่อง ถ้าพบติดต่อกันการคาดเดาสงสัยก็จะเกิดขึ้น นับประสาอะไรกับพ่อแม่พี่น้องที่คุ้นเคย เคยชิน ก็จะเห็นความรักของพ่อแม่พี่น้องคงจะเป็นของที่ไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น พระคุณอันยิ่งใหญ่จำเพาะหน้าของพ่อแม่ก็เลยไม่รู้จัก มีหรือที่จะนึกถึงความทุกข์ของแม่ที่ตั้งครรภ์เลี้ยงดู เวลาลูกเจ็บป่วยพ่อแม่ก็ตกใจเป็นทุกข์กังวล เพราะฉะนั้นบางครั้งอารมณ์ความรักขอบคนจึงสับสนกลับตาลปัตร ลูกจึงไม่รู้สึกตัวสำนึกคุณ ทั้งยังเคียดแค้นพ่อแม่อีกด้วย

ที่กล่าวมาแล้วหลายรูปแบบ ล้วนเกิดจากนิสัยที่เคยชินจนเคยตัว ทั้งยังไม่เคยรับรสของความขมขื่นอันแท้จริง เมื่อสั่งสมนิสัยนี้ไปนานๆ ก็เลยไม่รู้จักความผิดพลาดว่าอยู่ตรงไหน เพราะฉะนั้นจึงสมควรที่จะรีบๆ ปลุกให้ตื่น รีบๆ รักษาโดยเร็ว ให้ตรึกคิดเป็นนิจอย่าเห็นว่าอย่างไรเสียพ่อแม่ก็เมตตายอมอภัยให้ฉัน อย่าเห็นว่าสังคมข้างนอกเลวร้ายอย่างนี้ ฉันยังดีกว่าคนอื่น ต้องรู้ว่าการไม่รู้จักกตัญญู เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็จะกลายเป็นไม่รู้จักกตัญญูมากๆ ไปเลย

ท่านยังกล่าวต่อไปอีกว่า สาเหตุของการไม่รู้จักกตัญญูมากๆ ก็มี 4 อย่าง

  1. เห็นแก่ทรัพย์ พอเงินทองตกถึงมือฉันก็เป็นของฉัน แม้แต่เงินทองของพ่อแม่ก็เข้าใจว่าเป็นเงินของฉัน เมื่อตนเองมีเงินมากพอก็เลยลืมพ่อแม่ แต่ตอนที่ตนเองเงินทองไม่พอก็กล้าที่จะไปเอาเงินทองของพ่อแม่ ยามที่พ่อแม่เลี้ยงดูตนเองไม่ได้ ต้องไปพึ่งพาให้ลูกเลี้ยงดูก็จะเคียดแค้นพ่อแม่ แม้แต่ครอบครัวที่มีลูกคนเดียว ก็ยังเกิดปัญหาเรื่องเงินทองถึงกับจะฆ่าแกงกัน นับประสาอะไรกับครอบครัวที่พี่น้องต่างเกี่ยงกันเลี้ยงดูพ่อแม่ ! พวกเขาคงลืมไปกระมังว่า กายสังขารนี้มาจากไหน เงินทองของเรามาจากไหน ตอนเราเกิดมามีเงินทองติดตัวมาหรือไร ตั้งแต่เป็นทารกจนถึงปัจจุบันก็ไม่เคยขัดสน ใครช่วยเหลือเธอ แต่ตอนนี้ตนเองไม่อยากสิ้นเปลือง จึงคิดถือสากับพ่อแม่ !
  2. หลงเมีย  หลงลูกเมียมากจนะเป็นเหตุไม่กตัญญู พอมีเงินทองอาหารดี ๆ ก็จะเอาไปปรนเปรอลูกเมีย เวลามีวันหยุดวันนักขัตฤกษ์ที่เคยคิดจะพาลูกเมียไปให้พ่อแม่เชยชม ก็ยิ่งนับวันลดน้อยถอยห่างลงไป  ไม่คิดว่าลูกเป็นลูกของฉัน  แล้วฉันละเป็นลูกของใคร  พ่อแม่เลี้ยงดูฉันแล้วฉันไม่ดูแลพ่อแม่ แล้วูกที่ฉันเลี้ยงจะมีประโยชน์อันใด สามีภรรยารักใคร่กันเป็นเรื่องดีแต่ตอนที่ฉันยังอุแว้กินนมขี้เยี่ยวปนเปเมียเราตอนนั้นเลี้ยงดูเราหรือ  ทีตอนนี้ก็รู้จักรักลูกหลงเมีย พ่อแม่เลี้ยงลูกจนเติบใหญ่ แต่งเมียได้ก็ดีใจเป็นที่สุด  แต่ทำไมพอมีเมียแล้วก็ทำให้พ่อแม่ต้องเสียลูกไปปานนั้น
  3. สำมะเลเทเมา ไฟสุมอกร้อนแรง บวกกับถูกฝ่ายตรงข้ามเป่าหูอย่างรุนแรง ตอนนั้นคนในบ้านก็ทำร้ายจิตใจเขาก็รับไม่ได้จึงออกจากบ้าน ไปสำมะเลเทเมาหมดเงินหมดทอง ระหว่างแม่กับเมียจึงเกิดปากเสียงกัน เพราะเรื่องนี้ ต่างฝ่ายต่างกล่าวหาซึ่งกันและกันเขาก็แก้ไขไม่ได้ เมียก็กอดลูกหนอนไม่หลับ เพราะเป็นห่วงสามีที่สำมะเลเทเมาอยู่ข้างนอก แม้แต่ลมฝนนอกบ้านก็ทำให้เธอเสียใจร้องไห้ พ่อแม่ที่แก่ผมหงอกก็ไม่มีคนดูแล กินไม่ได้นอนไม่หลับ  เพราะเป็นห่วงลูกชายที่สำมะเลเทเมาอยู่นอกบ้าน จะได้รับอันตราย จิตใจที่บ้าคลั่งเช่นนี้จะหยุดลงได้เมื่อไร ทนได้หรือที่ห้คนที่ตนรักที่สุดต้องเสียใจ !
  4. แก่งแย่งอิจฉา ด้วยฟ้าดินไม่มีเห็นแก่ตัว แต่คนกลับมีความรู้สึกเสียใจ ความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกๆ จะมีเหตุผลที่ไม่ลำเอียงหรือบรรดาลูกกๆ พากันแย่งชิงให้พ่อแม่รัก หรือพี่น้องมีเรื่องขัดใจกันต่างถือสาหาความ พูดจาใส่ร้ายกัน บ้านใครเป็นเช่นนี้ก็จะสั่งสมแต่ความโกรธแค้น ใจที่กตัญญูก็พลอยจืดจางลง

ทั้ง 4 อย่างเป็นสภาพธรรมดาของมนุษย์ ที่น่ากลัวคือลูกที่กตัญญูก็หลบเลี่ยงได้ยาก จนกลายเป็นคนไม่กตัญญูไป

ในสมัยซ่ง หันเหว่ยกง กล่าวว่า “พ่อเมตตาลูกก็กตัญญู” เป็นเรื่องปกติ ถ้าพ่อแม่เมตตาต่อลูก มีหรือลูกจะไม่กตัญญูเป็นสมัยกษัตริย์ต้าซุ่น แต่โบราณมา” หากในสภาวะที่พ่อแม่ไม่พอใจต่อลูก ในใจของลูกจะต้องไม่มีความโกรธแม้แต่น้อย จะต้องเพิ่มความระมัดระวังปรนนิบัติพ่อแม่ ถึงแม้จะเกลี้ยกล่อมท่านไม่ได้ ก็ไม่ให้ล่วงเกินท่าน มีแต่บุตรต้องทำหน้าที่กตัญญูให้ถึงที่สุด อย่าต้องล่วงละเมิดจนกลายเป็นลูกอกตัญญูไป ถ้าหากยังมองพ่อแม่ว่าไม่ถูกต้อง  ในใจก็มีแต่อารมณ์โกรธแค้น จนไม่สลายหมด หรือละวางไม่ลง ก็จะส่งให้เกิดการระงับชั่งใจไม่อยู่ คือไม่สามารถตัดรากถอนโคนความแค้นได้  อันเป็นเหตุให้ละเมิดจนกลายเป็นพิษภัย ถ้าหากเป็นเช่นนั้นละก็โทษบาปที่ดุด่าว่าพ่อแม่ไม่เมตตาจะหนักมาก  เป็นโทษมหันต์ที่อกตัญญู ก็คงหมดทางหลบหลีกจากโทษบาปที่ก่อไว้

คำคม : ท่านหลอ เคยกล่าวไว้ว่า “บุตรกตัญญูที่ปรนนิบัติบิดามารดาจะทำให้บิดามารดามีใจเย็นชาไม่ได้ มีกังวลใจไม่ได้ มีใจหวาดกลัวไม่ได้ มีความกลุ้มใจไม่ได้  ทำให้บิดามารดาไม่อยากพูดไม่ได้ ทำให้บิดามารดามีใจละอายแค้นไม่ได้”


ท่านถัง ได้เขียนบทเพลงพระคุณบิดามารดาว่า :-

ฉันยังไม่ทันเอ่ยน้ำตาก็ร่วงริน                                     ไม่อาจตอบแทนพระคุณเลี้ยงอบรม

ตื้นตันจนพูดไม่ออก                                        ตื้นตันพูดให้พวกท่านฟัง

ทนทุกข์ทรมานยามตั้งท้อง                             ดุจผจญมารเอาชนะยาก

การให้กำเนิดนั้นมีอันตราย                              ระหว่างความเป็นความตาย

เจ็บปวดท้องสุดจะทนได้                                ดุจให้เขาถอดกายสังขาร

จะตายจะเกิดนับครั้งไม่ได้                              อาศัยเทพเทวาเป็นที่พึ่ง

ลูกคลอดออกมาเลือดกระจาย                                     กัดฟันหลับตาดุจเกิดใหม่

จวบจนตัดสายใส่เสื้อแล้ว                               ผ่านไปสามวันค่อยเป็นคน

ขี้เยี่ยวรดเปื้อนเต็มตัว                                      เหม็นคาวสกปรกกลิ่นไม่ไหว

ใจไม่เคยนึกติโกรธเคือง                                  จะอาบล้างเปลี่ยนแสนลำบาก

ได้ยินเสียงลูกน้อยร้องแว้                                พลิกตัวเอามือมาช้อนอุ้ม

คิดว่าเธออายุได้ครึ่งขวบ                                 สะดุ้งตื่นไม่เป็นอันหลับ

ยามหิมะตกฟ้าปลายปี                                     พันหัวพันเท้าอุ้มลูกนอน

เพราะลูกน้อยยังกินนม                                                ยามดึกเปิดอกออกข้างนอก

พอลูกออกหัดอีสุกใส                                      ใจแม่อกสั่นขวัญแขวน

ภายหลังอาการบรรเทาแล้ว                             คอยจะดื่มกินอาหารได้

จุดธูปเทียนกราบเจ้าเตาไฟ                              พร่ำเรียกเจ้าแม่อีสุกใส

ถ้าหากเกิดมีเสียงเจ้าแม่                                   คงอกสั่นจนขนหัวลุก

โชคดีเลี้ยงลูกได้ถึงสองขวบ                           อาศัยปีนป่ายเดินเตาะแตะ

ห่วงก็เพียงจะชนหัวหน้าแตก                          อย่างไรเสียก็ไม่ปล่อยวางใจ

มีลูกก็มักปล่อยตามใจ                                     เสียนิสัยบ่มอนาคต

ทำไมพ่อแม่รักลำเอียง                                     ปากก็ว่าลูกดีเด็กดีๆ

ลูกโตผมยาวปะไหล่                                        ชั่วพริบตาเติบโตผู้ใหญ่

เจ็บปวดยามปู่ย่าจากไป                                   ไม่อาจเผ้าดูแลอยู่ข้างกาย

แบ่งได้ไร่นาเพียงเล็กน้อย                               ก็หนักใจทำกินลำบาก

ไม่ใช่เพราะเป็นแก่ลูกหรือไร                          ตนเองกินได้สักกี่อีแปะ

แม่ดูพ่อๆ ส่องมองดูแม่                                   ทำไมหน้าตาซีดเซียว

เป็นเพราะลูกต้องแต่งงาน                               คิ้วขมวดเติมห้องหนึ่งห้อง

แต่ละนิ้วคืบล้วนบุญคุณ                                 ใครสามารถพรรณนาได้สักครึ่ง

เก่งแค่ไหนที่พรรณนาออกมา                          ก็แค่หกเจ็ดส่วนเท่านั้นเอง


คุณจินเซ้าเกากล่าวว่า “ความเสื่อมในประเพณีงานศพ” ปัจจุบันถึงจุดเสื่อมแล้ว  คนปัจจุบันมักเข้าใจว่า คนสมัยก่อนทำงานศพไม่ถูกต้อง ปัจจุบันไว้ทุกข์กันภายในแค่เจ็ดเจ็ดสี่สิบเก้าวันเท่านั้น เพื่อให้จบสิ้นแล้วไปจัดงานแต่งงาน อย่างนี้ถือเป็นการไม่มีอารยธรรมในสมัยโบราณผู้บัณฑิตจะไว้ทุกข์เพื่อแสดงความกตัญญูเป็นระยะเวลา 3 ปี ขนาดรับประทานอาหารประณีตก็ไม่รู้สึกรสอร่อย ฟังดนตรีก็ให้ไม่รู้สึกสบาย ชีวิตประจำวันก็ยังมีความรู้สึกอาลัยอาดูรการจากไปของพ่อแม่ เป็นเวลาเช่นนี้นานถึง 3 ปี ปัจจุบันจิตสำนึกของคนไม่สนใจหลักธรรมฟ้า บางที่ก็ยังแต่งงานภายใน 49 วันก็ยังมี  แม้แต่งานศพพ่อแม่ก็ยังไม่สนใจ กลับแต่จะหาความสุขระหว่างสามีภรรยากันการเป็นลูกของคน หากเป็นเช่นนี้ ลวกๆ ง่ายๆ  เช่นนี้ถือว่าไม่กตัญญูอย่างยิ่ง หากพ่อแม่สอนลูกให้ทำเช่นนี้ก็คือ การสอนลูกให้ทำเช่นนี้ก็คือ  การสอนลูกให้ไม่กตัญญูโดยเฉพาะอยู่ในช่วงอุบาทว์แต่ไปทำงานมงคล มันจะไม่ดีกับสามีภรรยาทั้ง 2 ฝ่าย ประเพณีที่ไม่ดีอย่างนี้ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้เริ่มต้น พอมาถึงปัจจุบันกลายเป็นเรื่องถูกต้องไป แม้แต่ในครอบครัวที่มีการศึกษาก็ยังเป็นเช่นนี้ ควรรีบแก้ไขเสียโดยรีบด่วน!


คุณเสิ่นหลงเจียง กล่าวว่า “การปรนนิบัติพ่อแม่ยังเทียบไม่ได้เท่ากับงานวาระสุดท้ายของพ่อแม่ งานวาระสิ้นบุญพ่อแม่ถือเป็นงานใหญ่ ถ้าปฏิบัติไม่ได้แล้ว  งานอื่นๆ ก็ถือว่าไม่จริงใจแล้วในครอบครัวที่มีพี่น้องมาก พี่น้องมักจะเกี่ยงกันไปมา เหตุนี้จึงจัดงานศพลวกๆ เพื่อให้เสร็จสิ้น ก่อให้เกิดนึกเสียใจในภายหลัง  สำหรับฉันแล้วการเป็นลูกคนโต  ถ้ามีกำลังทำได้ก็ควรทำเสียคนเดียว ม่าจำเป็นต้องผลักให้น้องๆ ไปทำ  ถ้าเป็นน้องเขามีกำลังทำได้ตามลำพัง  ก็ควรรับเป็นหน้าที่ของตนเอง  ก็ไม่ต้องให้พี่ต้องแบกรับจนเกินกำลัง  แต่ละคนทำสุดกำลัง ให้แบ่งกันทำ อย่างนี้จึงสมเหตุผลที่เกิดเป็นลูก !  หากคิดอยากพึ่งคนอื่นสักส่วนหนึ่ง  มันก็เกิดขึ้นอยู่ในใจเราส่วนหนึ่ง ก็จะกลายเป็นไม่ทำสุดกำลังไปส่วนหนึ่ง !


นิทาน ๑ :  หยางปู่เป็นชาวเมืองไห่เหอ ร่ำลาแม่เฒ่าที่บ้านแล้วเดินทางไปเสฉวน เพื่อไปกราบอาจารย์อู๋จี้ไต้ซือ ระหว่างทางได้พบภิกษุเฒ่ารูปหนึ่งพูดกับเขาว่า “จะไปไหน”  หยางปู่ ตอบว่า “ไปกราบอาจารย์อู๋จี้ที่เสฉวน”  ภิกษุเฒ่าพูดว่า “เจ้าไปกราบอาจารย์อู๋จี้ ยังสู้ไปหาพระพุทธะไม่ได้”  หยางปู่จึงถามว่า “อย่างนั้นพระพุทธะอยู่ที่ไหน” ภิกษุเฒ่าตอบว่า “เพียงเจ้ากลับบ้านก็จะเห็นคนหนึ่งที่พาดเสื้อสีเหลืองไว้บนบ่า เท้าก็ใส่รองเท้ากลับข้าง คนๆ นั้น คือ พระพุทธะ !” หยางปู่ฟังแล้วก็รีบกลับบ้าน ตอนที่กลับมาถึงบ้านก็เป็นเวลาดึกดื่นค่อนคืนปิดประตูนอนกันหมดแล้ว  หยางปู่เคาะประตูบ้านรออยู่ข้างนอก  ขณะนั้นแม่เฒ่าได้ยินเสียงลูกชายร้องเรียกอยู่ข้างนอก  ด้วยอารมณ์ดีใจที่จะไปเปิดประตู  จึงฉุกละหุกคว้าเสื้อได้ตัวหนึ่งสีเหลืองพาดไว้บนไหล่  ด้วยอาการรีบร้อนที่จะเห็นหน้าลูก จึงใส่รองเท้าสลับข้างวิ่งไปที่ประตูบ้านพอเปิดประตู  หยางปู่เห็นสภาพมารดาตรงกับที่พระภิกษุเฒ่าบอกทุกอย่าง ด้วยเหตุนี้จึงตื่นบรรลุฉับพลัน  จากนั้นมาเขาก็จะอยู่ที่บ้านคอยดูแลปรนนิบัติมารดาสุดกำลัง ทั้งยังได้เขียนคำอธิบายในคัมภีร์กตัญญูไว้เป็นหมื่นๆ ตัวอักษร ขณะที่หยางปู่เขียนคำอธิบายคัมภีร์กตัญญูอยู่นั้น พอน้ำในที่ฝนหมึกใกล้จะแห้ง ทันใดนั้นน้ำก็เต็มขึ้นมาเองคนอื่นต่างยอมรับว่า เพราะความกตัญญูของหยางปู่ เป็นเหตุซาบซึ้งถึงฟ้าดิน  เทพจึงมาเติมน้ำให้ตลอดกาล


คำคม : พระโพธิสัตว์เมตตรัย  กล่าวไว้ว่า “ในบ้านมีพุทธะ 2 องค์เจ็บใจที่ชาวโลกไม่รู้จัก ไม่ต้องใช้โลหะหล่อ ไม่ต้องใช้ไม้กฤษณามาแกะนั่นคือพ่อแม่ทั้งสอง  ก็คือศากยะเมตตรัย หากสามารถตั้งใจเคารพปรนนิบัติ ไม่ต้องไปหาบุญกุศลที่ไหน”


นิทาน 2 :  นายไอ้เหมียน  มีนิสัยกตัญญูมาก   แม่ตาบอดทั้งสองข้างเขายอมขายทรัพย์สมบัติเพื่อรักษาตาของแม่  เขาปรนนิบัติแม่เขานานถึง 30 ปี เขาระมัดระวังเคารพมาก  แม้ตกกลางคืนเขาก็จะไม่ถอดหมวกและเสื้อคลุมออกเลย เมื่อถึงเทศกาลตรุษสารท เขาก็จะพาแม่ออกไปรับประทานอาหารข้างนอก  เพื่อได้สนุกสนานกับผู้คนข้างนอก เพื่อให้คุณแม่ลืมความทุกข์  ต่อมาเมื่อแม่ถึงแก่กรรม นายไอ๋เหมี่ยน เสียใจจนกระอักเลือด แล้วตั้งปณิธานทานเจตลอดชีวิต เขาจะรักพี่ชาย  พี่สาว  เหมือนรักแม่  เขาดีต่อหลานยิ่งกว่าลูกของตนเงินที่เขาหาได้ก็จะแบ่งปันให้กับญาติพี่น้อง  ทั้งพูดว่า “ถึงแม่คุณแม่จะจากไปแล้ว ข้าก็มิอาจไม่แสดงความกตัญญูไม่ได้  คิดถึงเมื่อครั้งคุณแม่ยังอยู่  คุณแม่ห่วงใยพี่ชาย พี่สาว และหลานๆ มากที่สุด 4-5 คนนี้เพราะฉะนั่น ฉันจึงต้องดูแลเขาอย่างดี การทำแบบนี้ จึงจะปลอบประโลมวิญญาณของแม่บนสวรรค์ได้”  ต่อมาไอ๋เหมี่ยน ก็ได้เลื่อนขั้นเป็นถึงราชเลขา บุตรชายของเขานายอิ้งปู่ มีความสามารถมากเป็นถึงมหาอำมาตย์ โอ้ ! คนเช่นไอ๋เหมี่ยน นี้จึงนับเป็นบุตรกตัญญูที่แท้จริง ขณะแม่มีชีวิตอยู่ก็ทำให้แม่ดีใจ ภายหลังแม่สิ่นบุญไปแล้ว  ก็ยังสามารถทำตามความหวังของแม่ได้  เมื่อมาย้อนดูชาวโลกที่ร่ำรวยมีอำนาจกลับปฏิบัติต่อพ่อแม่พี่น้องเหมือนคนเดินถนนทั่วไป  จืดชืดกับพ่อแม่ตนเอง พ่อตาแม่ยายทำเหมือนกับคนทั่วไป  เมื่อมองดูใจกตัญญูของนายไอ๋เหมี่ยน แล้วจะรู้สึกละอายใจบ้างไหม ?


นิทาน ๓ :  หลี่เซิน  สูญเสียแม่ตั้งแต่เด็ก  จึงปรนนิบัติพ่ออย่างดีเพราะว่าพ่อมีอายุมากแล้ว  กลางคืนก็จะลุกขึ้นปัสสาวะบ่อย หลี่เซินจึงนอนกับพ่อเพื่อคอยดูแล ทุกคืนหลี่เซินต้องลุกขึ้น 4-5 ครั้ง เพื่อพาพ่อไปปัสสาวะ อยู่มาปีหนึ่งเกิดสงคราม ขโมยโจรปล้นจี้เต็มบ้านเมืองหลี่เซินแบกพ่อขึ้นหลังหนีเข้าป่า ระหว่างทางพบกับพวกโจร พวกโจรเห็นหลี่เซินมีความกตัญญูจนเป็นที่ประทับใจจึงไม่ทำร้ายทั้งสองคนยามปกติพ่อของเขาชอบผลไม้ลูกเห็งมาก นายหลี่เซินจึงปลูกต้นเห็งไว้ในที่ดินใกล้ๆ บ้านไว้หลายต้น  แต่ก็ถูกเพื่อนบ้านยึดครองเอาไป หลี่เซินหมดท่า จึงเขียนใบฎีการายงานเทพเจ้าให้ช่วยเหลือ เทพเจ้าก็ลงโทษเพื่อนบ้านที่ยึดครองโดยทำโทษให้เกิดหลังโกงขึ้น ทั้งยังพูดกับพวกเขาว่า “เธอต้องคืนที่ดินกับต้นเห็งให้แก่หลี่เซินให้หมดโดยเร็ว”  เพื่อนบ้านที่ใช้อำนาจยึดครองที่ดินของหลี่เซินไป ต่างพากันไปคืนที่ดินและต้นเห็งแก่หลี่เซินจนหมด เทพเจ้าจึงเลิกลงโทษ


นิทาน ๔ :  หลี่หุยซิ้ว เป็นคนในสมัยถัง มีนิสัยกตัญญู มารดาของเขายากจนมาก่อน พอภรรยาเขาด่าว่าคนใช้ แม่ของหลี่หุยซิ้วได้ยินแล้วรู้สึกไม่สบายใจ ด้วยสาเหตุนี้หลี่หุยซิ้วจึงเลิกกับภรรยา มีคนถามเขา “มีสาเหตุอะไรกันแน่ จึงเลิกกับภรรยา”  เขาตอบว่า  “จุดมุ่งหมายของการแต่งภรรยา ก็เพื่อให้ภรรยาปรนนิบัติมารดา ถ้าหากภรรยาไม่สามารถยิ้มแย้มปรนนิบัติอย่างจริงใจได้ สะใภ้แบบนี่จะเอาไว้ได้อย่างไร”  ความกตัญญูของหลี่หุยซิ้ว ซาบซึ้งสวรรค์ ดังนั้นที่หน้าบ้านของเขาจึงมีต้นหญ้าจืองอกขึ้น ฮ่องเต้ถึงกับมีราชสาสน์ประกาศความกตัญญูของเขาส่งมาถึงบ้าน


นิทาน ๕ :  ในสมัยฮั่น เมืองเจอะเจียง บ้านซ่างอู้ มีเด็กหญิงคนหนึ่งชื่อ เฉาง้อ พ่อของเธอชื่อเฉาอวี่ เป็นอาจารย์ทำพิธีกรรม ในวันเทศกาลขนมจ้าง วันที่ 5 เดือน 5 วันนั้นเขาโดยสารเรือไปที่กลางแม่น้ำเพื่ออัญเชิญเทพเจ้า ไม่ทันระมัดระวังจึงพลาดตกน้ำตาย เฉาง้ออายุเพียง 14 ปี เธอเดินเลาะตามตลิ่งเพื่อหาศพของพ่อ แต่ก็หาไม่พบ เฉาง้อร้องไห้ที่ริมแม่น้ำถึง 7 วัน 7 คืน ในที่สุดเธอก็กระโดยลงแม่น้ำผ่านไป 5 วัน  เฉาง้อก็แบกศ พพ่อลอยขึ่นมาบนผิวน้ำ คนในละแวกนั้นพากันตกตะลึง นายอำเภอซ่างอู้จึงจัดทำศพให้แล้วรายงานสู่ราชสำนักฮ่องเต้เห็นความกตัญญูของเฉาง้อจึงมีประกาศเกียรติคุณและสร้างศาลเจ้าเฉาง้อไว้ข้างแม่น้ำนั้น  ที่ศาลเจ้ามีคนไปไหว้ไม่ขาดสายมาจนถึงทุกวันนี้


นิทาน ๖ : ในสมัยซ่งมีสะใภ้อู๋  สามีก็เสียไปแล้วและก็ไม่มีบุตร  แต่เธอก็ยังปรนนิบัติแม่ย่ามาด้วยดีตลอด  แม่ย่าอายุมากตาไม่ค่อยดีเห็นสะใภ้โดดเดี่ยว  ก็คิดจะหาบุตรบุญธรรมคนหนึ่งเพื่อให้แต่งงานกับลูกสะใภ้ สะใภ้อู๋ร้องไห้แล้วพูดกับแม่ย่าว่า “ตั้งแต่โบราณมา กุลสตรีจะไม่มีสามี 2 คน ฉันจะกตัญญูต่อแม่ย่าถึงที่สุด  แม่ย่าโปรดวางใจ” สะใภ้อู่จึงไปรับจ้างทำ งานหยาบที่ใกล้บ้านเพื่อยังชีพ  เอาเงินมาเลี้ยงแม่ย่า  ถ้ามีคนให้ของบกินมาเธอก็จะนำมาให้แม่ย่า  มีอยู่ครั้งหนึ่งเธอหุงข้าวยังไม่ทันสุก  เพื่อนบ้านตะโกนให้เธอรีบไปช่วยงานด่วน  แม่ย่าห่วงว่าข้าวจะไหม้  ก็จะไปยกลงเทลงในลังไม้  แต่ สายตรไม่ดีกลับเอาข้าวเทลงในถังขยะ พอสะใภ้กลับมาเห็นเข้าก็ไม่ถามไถ่ รีบไปยืมข้าวจากข้างบ้านมาให้แม่ย่าทานก่อน  ภายหลังจึงเอาข้าวในถังขยะไปล้างจนสะอาดแล้วเอาไว้ทานเอง  อยู่มา วันหนึ่งก็ฝันเห็นเทพกุมาร 2 ตน ใส่เสื้อสีฟ้า ลอยบนเมฆมาถึงหน้าเธอ  ในมือมีสาสน์พูดกับเธอว่า “เราอัญเชิญพระราชสาส์นของพระเจ้าเง็กเซียนฮ่องเต้  ให้พานางอู๋เข้าเฝ้า”  พอสะใภ้อู๋ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าแล้ว พระเจ้าก็ตรัสกับนางว่า “เธอเป็นเพียงหญิงชาวบ้านคนหนึ่ง สามารถที่จะปรนนิบัติแม่ย่าด้วยความลำบากถึงเพียงนี้ นับว่าเป็นคนที่มีค่าควรแก่การนับถือ ! ด้วยเหตุดังกล่าวจึงประทานเงินให้เธอหนึ่งพันอีแปะนำกลับไปเลี้ยงดูแม่ย่าจากวันนี้ไปเธอก็ไม่ต้องไปทำงานหาเงินมาเลี้ยงชีวิตอีกแล้ว”  พูดจบก็สั่งให้กุมารเทพทั้งสองพานางกลับ พอสะใภ้อู๋ตื่นขึ้นมาก็พบว่าที่หัวเตียงก็มีเงินวางอยู่หนึ่งพันอีแปะ  พอใช้หมดแล้ว  บนหัวเตียงก็มีเงินวางไว้อีกหนึ่งพันอีแปะ  เป็นเช่นนี้เรื่อยๆ ไป ไม่มีวันหมด !


นิทาน ๗ : ทุกเช้าจางอี้จะไหว้พระ เขาจะภาวนาต่อเบื้องบนด้วยความศรัทธา เขาจะสำนึกผิดที่เขาได้กระทำมาโดยตลอด มีอยู่วันหนึ่งวิญญาณของจางอี้ก็ถูกยมทูตพาลงยมโลก  ยมบาลผู้ตัดสินก็แสดงบัญชีที่เขากระทำผิดตลอดชีวิตให้เขาดู  ในสมุดดำมีบันทึกโทษบาปที่เขาเคยทำ  แต่เพราะเขาได้สำนึกผิดอย่างศรัทธาจริงใจ บาปต่างๆ จึงถูกชำระหมด ยกเว้นโทษอย่างหนึ่งที่ไม่อาจละเว้นได้  จางอี้จึงถามยมทูตว่า “ที่ลบล้างไม่ได้เป็นโทษอะไร” ยมทูตตอบว่า “นี่เพราะตอนเจ้ายังเป็นเด็ก เพราะบิดาดุว่าเจ้า แต่เจ้าไม่ได้ทำผิด จึงโกรธแล้วถมึงตาหันกลับจ้องพ่อเจ้าทีหนึ่ง”  จางอี้ฟังแล้วจึงรู้ว่า โทษบาปที่ไม่กตัญญู เป็นเรื่องที่ผ่านการสำนึกผิดไม่ได้ !


นิทาน ๘ :  นายหลอเก๋อ ตอนเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย  เพื่ออนาคตจึงภาวนากับเทพเจ้าให้ตนเองมีอนาคตราบรื่นดุจสายไหม  คืนหนึ่งเขาฝันว่า มีเทพเจ้าพูดกับเขาว่า “หลอเก๋อ เจ้ามีโทษต่อยมบาลรีบๆ กลับบ้านเสีย อย่าได้ถามถึงอนาคตเลย !” หลอเก๋อไม่เข้าใจความหมายจึงถามเทพเจ้าว่า “ท่านเทพ ! ผมไม่เข้าใจว่าทำไมท่านให้ฉันรีบกลับบ้าน อย่าได้ถามถึงอนาคต”  เทพเจ้าตอบว่า “พ่อแม่เจ้าเสียไปนานแล้ว เจ้ายังเหลวไหลไม่กลับไปฝังศพพวกเขา  นี่ถือว่าเป็นเรื่องไม่กตัญญูอย่างยิ่ง ยมบาลได้บันทึกโทษลงในสมุดแล้ว อีกไม่นานท่านก็จะลงโทษแล้ว!” หลอเก๋อตอบว่า “ฉันมีพี่ชาย เขาควรรับผิดชอบฝังศพพ่อแม่นะ! ทำไมยมบาลจึงจะเอาโทษแต่ฉันคนเดียว” เทพตอบว่า “พี่ชายเจ้าเป็นคนธรรมดา ไม่ได้เรียนหนังสือ เพราะฉะนั้นจึงไม่โทษเขา หากเจ้าเป็นนักศึกษามีความรู้  รู้หลักธรรมอริยเจ้าดี เพราะฉะนั้นยมบาลจึงจะลงโทษเจ้า !” พูดแล้วก็แปลก หลอเก๋อก็ตายลงในปีนั้น!



คัมภีร์ :  ให้รักญาติมิตร

อธิบาย :  เมื่อเป็นพี่ชายเขาก็ต้องรักน้อง  หากเป็นน้องชายเขาก็ต้องรักพี่ พี่น้องเปรียบเหมือนแขนขา จึงเหมือนคนๆ เดียวกัน ในสายตาของพ่อแม่ พี่น้องก็เป็นคนเดียวกัน  เพราะฉะนั้น ในระหว่างพี่น้องมีเรื่องทำให้ไม่รักใคร่กัน ใจของพ่อแม่ก็จะอยู่ไม่เป็นสุข  ถ้าพ่อแม่เห็นพี่น้องรักใคร่กลมเกลียวกันเหมือนแขนขา  ใจจะมีความรู้สึกสบายปานไหน !  ดังนั้นจึงมักยกย่องให้พี่น้องเป็นแขนขา  ในพี่น้องถ้ามีความเจ็บไข้หรือลำบากเพราะเกี่ยวพันกัน  ควรที่จะช่วยเหลือดูแลกันจึงไม่มีเหตุผลใดที่แขนขาจะมาชกต่อยแย่งชิงกัน เพราะฉะนั้นจึงต้องคิดอยู่เสมอว่า พี่น้องคลานตามกันมา  จึงเหมือนเป็นร่างเดียวกันเหมือนเนื้อติดกับกระดูกที่แยกกันได้ยาก  หากเข้าใจเหตุผลเวลามีเรื่องเข้าใจผิดจนทะเลาะกัน ก็จะต้องอดทน มีขันติธรรมหยุดทะเลาะกันกับเงินทองก็จะเห็นเป็นไม่สำคัญ อาจารย์เซ็นฝาเจียง ได้เขียนกลอนไว้บทหนึ่งว่า “ร่วมต้นแตกกิ่งต่างเจริญ วาจาอย่าล่วงเกินทำร้ายน้ำใจพบครั้งหนึ่งก็แก่ลงทุกครั้งไป  มีโอกาสใดจะได้เป็นพี่น้องกัน  พี่น้องร่วมชายคาอดทนไว้ อย่าเพราะไร้สาระทะเลาะกัน ลูกที่เกิดมาก็พี่น้องกัน สมานฉันท์เป็นตัวอย่างลูกหลานดู”

โอวาท สี่ของเหลี่ยวฝาน ว่า “พ่อรักลูก พี่รักน้อง เป็นส่วนของพ่อพี่ อย่าไปตำหนิลูก และน้องว่าต้องคล้อยตาม ถ้าอย่างนั้น ผู้เป็นลูกหรือเป็นน้อง ที่จริงควรรักพ่อและพี่ของตน ก็ไม่ควรไปตำหนิพ่อหรือพี่ที่ไม่เมตตารักตน เพียงแต่ละฝ่ายต้องทำส่วนของตนให้ดีที่สุด ถ้าอย่างนั้นนิสัยที่ชอบกล่าวหาเขาก็จะไม่มีเอง  แต่ต้องเคร่งครัดต่อคนในบ้านหรือบ่าวในบ้าน ที่ถ่ายทอดคำพูด เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิดคำพูดของลูกเมียมักจะมีใจเห็นด้วย ถึงแม้จะฟังก็เหมือนไม่ฟัง เช่นนี้แล้วคำพูดที่เห็นด้วยระหว่างพ่อลูกพี่น้องก็จะไม่มี ถึงแม้จะมี ก็ไม่ทำให้เป็นเรื่องได้ !”

ท่านหวังหยางหมิงเคยพูดว่า “กษัตริย์ซุ่นสมัยโบราณ ที่สามารถอบรมเรียกช้างมาช่วยไถนา เคล็ดลับก็คือ ไม่มองจุดด้อยของช้างเพราะฉะนั้นระหว่างสายเลือด ควรพูดโดยมีน้ำใจเยื่อใย ไม่ควรใช้เหตุผลมาพูด ถ้าไปยึดเหตุผลก็จะทำร้ายน้ำใจ ถ้าเน้นการทำร้ายน้ำใจก็หาใช่เหตุผลไม่ !

ท่านเฉินจื่อในสมัยซ่ง มีคนถามเขาว่า “ฉันมีเรื่องเรียนพี่ชายฉันก็ได้ใช้เหตุผลของน้องจนถึงที่สุดแล้ว  แต่ก็ไม่ได้รับความยินดีจากพี่ชาย อย่างนี้ฉันควรทำอย่างไรดี”  เฉินจื่อตอบเขาว่า “เจ้ามีเรื่องเรียนพี่ชาย ควรมีใจเคารพนับถือ โดยเฉพาะต้องมีความจริงใจถึงจะใช้ได้ไม่ใช่มีใจที่จะกดข่ม  แล้วไประบายทุกข์กับคนอื่น”  คนนั้นก็ถามต่อไปว่า “ถ้าอย่างนั้นพี่ชายควรปฏิบัติต่อน้องอย่างไรบ้าง” เฉินจื่อตอบว่า “ผู้เป็นพี่ชาย ควรรักใคร่ต่อน้องชาย จึงจะเป็นหลักธรรมของพี่ชาย”


นิทาน ๑ : ในสมัยฮั่น มีคนชื่อเถียนจิน มีพี่น้อง 3 คน พ่อแม่ก็ตายจากกันแล้ว พี่น้อง 3 คนก็ปรึกษากัน แบ่งมรดกเป็น 3 ส่วนเท่าๆ กันแต่ละคนได้หนึ่งส่วน แม้แต่ต้นไม้จื่อที่อยู่หน้าบ้านก็จะผ่าเป็น 3 ส่วน พูดแล้วก็แปลกภายหลังที่พี่น้องตกลงกันแล้ว ต้นไม้ต้นนี้ก็เหี่ยวเฉาลง  เถียนจินเห็นเข้ารู้สึกตกใจกลัว  จึงพูดกับน้องทั้งสองว่า  “แม้แต่ต้นไม้พอได้ยินว่าตนจะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน  เพราะฉะนั้นมันก็ตรอมใจเหี่ยวเฉา หรือว่าเรา 3 คนยังสู้ต้นไม้ไม่ได้”  เถียนจินพูดแล้วพูดอีกอดไม่ได้จนร้องไห้ขึ้นมา  ด้วยเหตุนี้พี่น้อง 3 คน  จึงตกลงใจไม่แบ่งต้นไม้จื่อแล้ว พูดแล้วก็แปลก ต้นไม้นี้พอได้ยินว่าพี่น้องเถียนจินจะไม่แยกมันแล้ว ก็ฟื้นขึ้นมาโดยเร็ว  ด้วยเหตุนี้พี่น้องทั้งสามคนจึงเข้าใจไม่คิดแบ่งมรดก พี่น้องอยู่รวมกันอย่างมีความสุข คนละแวกบ้านยกย่องว่า “พี่น้องเถียนจินเป็นบ้านกตัญญู”  ควรรู้ว่าพี่น้องเป็นหนึ่งในสัมพันธ์สวรรค์ นับพ่อลูกกับสามีภรรยา จัดไว้เป็นวินัยสาม เพราะฉะนั้นคนโบราษจึงยกพี่น้องเหมือนแขนขา  หมายความว่าแขนขานั้นอยู่แยกกันไม่ได้  ถ้าแยกกันก็แยกสลาย  แยกสลายก็จะโดดเดี่ยวอับเฉา อับเฉาแล้วก็ใกล้จะดับสิ้นลง


นิทาน ๒ : ซือหม่ากวง เป็นมหาอำมาตย์สมัยซ่ง มีพี่ชายชื่อซือหม่าคังอายุแปดสิบแล้ว ซือหม่ากวงปฏิบัติต่อพี่ชายเหมือนปฏิบัติต่อบิดา และก็จะดูแลพี่ชายเหมือนเด็กทารก  ทุกครั้งที่รับประทานอาหาร พอทานไปได้สักครู่ ซือหม่ากวงก็จะถามว่า “พี่ชาย ! พี่ต้องทานให้อิ่มนะไม่งั้นเดี๋ยวก็จะหิวนะ !”  ถ้าอากาศเริ่มเย็น  เขาก็จะลูบหลังพี่ชายพูดว่า “พี่ชาย ใส่เสื้อผ้าหนาพอไหม !  ระวังหน่อยนะอากาศหนาวแล้วนะ !”


นิทาน ๓ : โจวเหวินซ้ง มีนิสัยรักญาติมิตร พี่ชายเขาชอบดื่มสุราและก็อาศัยอยู่กับโจวเหวินซ้งด้วย  มีอยู่ครั้งหนึ่ง พี่ชายดื่มสุราจนมึนเมา แล้วก็จะไปทุบตีโจวเหวินซ้ง บ้านข้างเคียงได้ยิน พวกเขารู้สึกไม่พอใจถึงความไม่ชอบธรรมของพี่ชาย  จึงด่าว่าพี่ชายโจวเหวินซ้งว่า “น้องของคุณดีกับคุณเช่นนี้ คุณกินของเขา ดื่มของเขา อยู่ของเขาพอดื่มสุราเมาแล้วยังจะตีเขาอีก  คนนี่เป็นพี่ชายอะไร มีสำนึกจิตอันดีงามหรือไม่ !” แต่ทว่าโจวเหวินซ้งกลับไม่พอใจคนข้างบ้าน  รู้สึกโกรธมากจึงพูดกับคนข้างบ้านว่า “พี่ชายไม่ได้ตีฉันเลย ! ทำไมพวกท่านจึงต้องมากีดกันความรักระหว่างพี่น้องของเราด้วยละ”


นิทาน ๔ : ในสมัยซ่ง  มีพี่น้อง 2 คน เจิ้นเต๋อกุ่ย กับ เจิ้นเต๋อจางทั้งสองรักใคร่กันมาก  ทั้งสองเรียนหนังสือด้วยกัน  กลางคืนก็นอนด้วยกัน  เต๋อจางมีนิสัยตรงแข็ง  เป็นคนไม่ค่อยประนีประนอม มักทำให้คนอื่นแค้น พวกแค้นก็วางแผนทำลายเต๋อเจียง ดังนั้นจึงถูกทางอำเภอตัดสินลงโทษประหาร ทางอำเภอก็จะส่งเจ้าหน้าที่มาจับตัวที่บ้านเต๋อจาง  เต๋อกุ่ยรู้ว่าน้องชายถูกใส่ร้าย จึงรู้สึกทุกข์เวทนา  จึงแกล้วพูดกับน้องชายว่า “ที่จริงพวกเขาต้องการใส่ร้ายกัน ไม่เกี่ยวอะไรกับน้อ ฉันจะไปที่อำเภอไปรับโทษเอง พูดแล้วก็ไปที่อำเภอ เต๋อจางรีบตามไป พี่น้องพบกันระหว่างทางกอดกันร้องไห้ ต่างแย่งกันไปรับโทษประหาร เต๋อกุ่ยก็เตรียมแผนถ่วงน้องชายไว้ หลบไปที่อำเภอตอนค่ำมืด วันรุ่งขึ้น ไม่เห็นพี่ชายจึงตามไป ไปถึงที่ประหาร เต๋อกุ่ยตายอยู่ในคุกแล้ว เต๋อจางเห็นศีรษะพี่ชาย เสียใจร้องไห้จนเป็นลมไปถึง 4 ครั้ง เต๋อจางจัดการเผาศพที่ชายแล้ว  ก็เก็บกระดูกพี่ชายกลับบ้านจัดการฝัง  ทั้งยังเฝ้าสุสานพี่ชายอยู่หลายปี  แต่ละครั้งที่เต๋อจางร้องไห้ นกอีกาและนกอื่นๆ พากันบินมาที่ข้าง ๆ ตัวเต๋อจางมาฟัง

เต๋อจางร้องไห้  และก็ไม่กินอะไร  ลูกของเต๋อกุ่ยยังเล็กมากเต๋อจางเลี้ยงลูกของพี่ชายเหมือนลูกของตน


นิทาน ๕ : ในสมัยเหว่ยจิ้ง ที่เมืองไป่ยฉี ที่เมืองไป่ยฉี มีคนชื่อ พู่หมิง ระหว่างพี่น้อง เพียงแย่งมรดกจึงมีคดีความมาหลายปี ต่างฝ่ายก็มีพยานในที่สุดคดีก็มาถึงศาลเมืองซิงเหอ ผู้ว่าราชการซูค่วน  ผู้ว่าซูเรียกพู่หมิ งสองคนพี่น้องขึ้นศาล  แล้วก็ตักเตือนพวกเขาว่า “ในโลกนี้ที่หาได้ยากก็คือความเป็นพี่น้อง  ที่หาได้ง่ายก็ที่ดินไร่นา  ถ้าหากได้ที่ดินไร่นามาแล้วสูญเสียพี่น้อง  พวกเธอใจจะรู้สึกอย่างไร” ผู้ว่าพูดแล้วพูดอีก พูดจนน้ำตาไหล คนที่มาฟังที่จะเป็นพยานก็ถูกความจริงใจของผู้ว่าประทับใจจนน้ำตาร่วง  พี่น้องพู่หมิง 2 คน ก้มลงกราบยอมรับผิดจากนี้ไปทั้งสองจะผ่อนปรนเคารพกัน ไม่แย่งชิงมรดกกันอีกแล้ว


นิทาน ๖ :  คุณอูเถี่ยเจียว กล่าวว่า “ที่เหวยอิน มีข้าราชการคนหนึ่งเขามีลูกชายสองคน ทั้งสองคนไม่ค่อยลงรอยกันตั้งแต่เล็กแล้ว แต่ละปีพบหน้ากันน้อยมาก ต่อมาพี่ชายป่วยหนักจึงเรียกคนไปตามน้องชายมาที่ข้างเตียง เขาจับมือน้องชายแล้วพูดว่า “ฉันแต่งงานอายุ 19 ปี ตอนเป็นหนุ่มก็ไม่ได้รับความรักจากลูกเมีย พออายุ 38 พ่อแม่ก็จากไป เพราะฉะนั้นในบั้นปลายก็ไม่ได้รับความรักจากพ่อแม่ ตลอดชีวิตอยู่ด้วยนานที่สุดคือเราพี่น้อง 2 คน  แต่เรา 2 คนก็เข้ากันไม่ค่อยได้ วันนี้จะเริ่มรู้สึกสำนึกผิดและเข้าใจ อย่างไรก็ตาม ชีวิตนี้ของฉันก็ใกล้จบลงแล้ว”  เมื่อได้ฟังวาทะของพี่ชายที่ใกล้จะตาย  พี่พูดกับน้องชายของเขาแล้ว  คนที่ได้ฟังก็ควรมีความรู้สึกประทับใจบ้าง”


นิทาน ๗ :  จางสือซ่วน  ในสมัยอู่ไต้  พ่อแม่เขาตายไปตั้งแต่เขายังเป็นเด็ก พอเขาโตขึ้นที่เป็นผู้ใหญ่ก็มีเพียงคุณอาของเขาคนเดียว คุณอาเขามีลูกชาย 7 คน  มีอยู่วันหนึ่งคุณอาก็พูดกับจางสือซ่วนว่า “เธอก็เติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว  ฉันควรแบ่งสมบัติให้เธอ  สมบัติแบ่งเป็น 2 ส่วน ฉันหนึ่งส่วนเธอก็หนึ่งส่วน  เธอรู้สึกว่าเป็นธรรมไหม”  จางสือซ่วนกล่าวว่า “ท่านอา ฉันยอมไม่ได้  ท่านมีลูก 7 คน ๆ ได้รับเพียงหนึ่งส่วน  ผมคนเดียวได้รับหนึ่งส่วน  ท่านอาขอให้ท่านแบ่งสมบัติเป็น 8 ส่วนเถอะ”  ผู้เป็นอาก็ไม่ยินยอมแบ่งตามนั้น  จางสือซ่วนก็ไม่ยอมรับสมบัติ พอดีปีนั้นจางสือซ่วนอายุ 17 ปี  ก็ต้องเข้าไปสอบที่เมืองหลวง ขณะนั้นคนที่ถูกคัดเลือกให้เข้าสอบมีประมาณ 20 คน ตอนนั้นก็มีโหราจารย์ที่สามารถชี้ไปที่จางสือซ่วนแล้วพูดว่า “ตำแหน่งจอหงวนปีนี้เป็นของเขาแน่”  พวกเข้าสอบต่างพากันหัวเราะ  ทั้งยังหันมาถามถึงวิธีดูของโหราจารย์ว่าอย่างไร โหราจารย์ตอบว่า “การทำข้อสอบข้าไม่สามารถรู้ได้  แต่เจ้าเด็กหนุ่มคนนี้  หน้าเขาเต็มไปด้วยบุญกุศลลับมาก  เขาต้องทำเรื่องดีไว้มากแน่ๆ  ข้าจึงกล้าพยากรณ์ว่าปีนี้ตำแหน่งจอหงวนต้องเป็นของเขาแน่ๆ !”  ในที่สุดจางสือซ่วนก็สอบได้ตำแหน่งจอหงวน


อธิบายเพิ่ม :  ปัจจุบันการแย่งชิงมรดกจนไม่นึกถึงความสัมพันธ์ของแขนขามีมากมายนัก !  พี่น้องคลานตามกันมายังเป็นแบบนี้นับประสาอะไรกับน้องต่างแม่ยิ่งรุนแรงขึ้น  ถ้าพี่น้องร่วมท้องยังแย่งมรดกกัน  พี่น้องที่ห่างกันออกไปยิ่งมิร้ายแรงยิ่งขึ้นหรอกหรือ  จะมีใครเหมือนจางสือซ่วนบ้างไหม คนโบราณว่า “เย็นชากับพี่น้องก็เหมือนเย็นชากับพ่อแม่ เย็นชากับลูกพี่ลูกน้องก็เหมือนเย็นชากับบรรพชนนะ !”  ถ้าหากต้นไม้มีการสูญ เสียของลำต้นและรากแล้ว กิ่งใบก็สูญเสียไปด้วย  นี่คือหลักธรรมของการลืมต้นสายธาร  พวกเราควรตรึกตรองให้มาก !


สรุป : ใครก็ตามถ้าเคารพนับถือ  หรือข่มเหงรังแกพี่น้องตนเองเมื่อเทียบกับการเคารพนับถือหรือาข่มเหงรังแกคนแล้ว จะมีบุญหรือเคราะห์ตอบสนองเพิ่มมากถึงสิบเท่าเชียวนะ !  ถ้าหากเคารพนับถือพ่อแม่ตนเอง หรือขัดขื่นข่มเหงพ่อแม่ตนเอง สิ่งที่ได้รับผลตอบสนองจะเพิ่มเป็นร้อยเท่า หลักธรรมเช่นนี้พวกเราต้องจดจำให้ดี ค่อยตักเตือนระมัดระวังตนเอง !



คัมภีร์ :  ให้ตนตรงอบรมผู้อื่น


อธิบาย : ต้องให้ตนเองซื่อตรงก่อน แล้วค่อยไปตักเตือนอบรมผู้อื่นร่วมกันมีใจที่ดีงาม ร่วมกันไปทำเรื่องที่ดีงาม

ที่กล่าวกันว่า “จะทำให้คนอื่นซื่อตรง ต้องให้ตนเองซื่อตรงก่อน” “กายตนตรงไม่สั่งก็ทำ” หากคนสามารถทำให้ตนตรงได้แล้ว ไม่มีไม่สามารถทำให้คนอื่นตรงหรอก ! เพราะว่าเมื่อคนๆ หนึ่งสามารถทำให้ตนประพฤติตรงได้ ทุกคนก็รู้จักเคารพเขา แล้วหากคนรู้จักหลักธรรมของการเคารพนับถือแล้ว  ก็หมายความว่าในใจเขาก็สามารถรับการอบรมได้นะ ! ในใจคนที่สามารถอบรมได้ ใช้ความตั้งใจจริง  ค่อยๆ ไปประทับใจเขา เพียงแค่ผลักก็สามารถเคลื่อนหมุน เพียงแค่หนึ่งขยับก็สามารถเผยปรากฎ ไม่มีหรอกที่เขาจะไม่คล้อยตาม แต่ถ้าเอาความซื่อตรงของเราไปกระแทกเปิดเผยความไม่ซื่อตรงของผู้อื่น จะกลายเป็นการตำหนิที่หยาบกระด้าง เขาก็ไม่ยินยอมที่จะรับการสอน กลับจะโต้ตอบรุนแรงกับเธอมากขึ่น  การหักหาญแย่งชิงความถูกผิด  จะกลับกลายเป็นการทำลายล้างใจที่ดีงามไป ! ซึ่งเป็นนิสัยป่วยของคนรักดีในปัจจุบัน แต่ละครั้งที่อบรมเขามักออกตัวรุนแรงไป  และก็ยึดติดว่ตนถูกไม่ยอมเปลี่ยนแปลง  ไม่รู้จักใช้วิธีที่ดีที่ง่ายๆ  อย่างนี้ต้องหักห้ามนิสัยป่วยอย่างขมขื่นทรมาน ! เพราะฉะนั้น การตนตรงก็ต้องใจตรงก่อน เพราะใจเป็นนายของกาย และเป็นรากฐานการกระทำทั้งหมด  ถ้าใจไม่บรรลุรู้  ใจที่คิดเหลวไหล  และอารมณ์ก็จะเกิดขึ้น  เมื่อใจคิดเหลวไหลและอารมณ์ที่เกิดขั้นมาแล้ว  หลักธรรมที่เห็นก็ไม่สามาถเข้าใจชัดแจ้งได้  ความถูกผิดก็จะสับสนฟั่นเฟือนไป  เพราะฉะนั้นการรักษาใจ  ต้องให้ได้บรรลุรู้  เมื่อบรรลุรู้แล้ว  ความคิดเหลวไหลอารมณ์ตรึกคิดก็จะละลายเป็นจริงใจไป ! นี่คือวิถีทางของใจตรง !


นิทาน ๑ : ในสมัยซ่ง ซือหม่ากวง เป็นคนซื่อตรงและจริงใจต่อคนตอนที่เขาอยู่ที่เมืองลั่วหยาง ประเพณีนิสัยของชาวลั่วหยาง  ถูกเขาอบรมจนเปลี่ยนแปลงไป  ไม่มีใครที่ไม่เคารพชื่นชมเขา  ชาวเมืองต่างรู้สึกละอายที่พูดถึงเรื่องเงินทองผลประโยชน์ ทุกๆ คนมีทัศนะคติของความซื่อสัตย์สุจริต มีความละอายที่จะทำชั่ว  และรู้จักระวังตักเตือนตนไม่กล้าทำความชั่ว เมื่อคนหนุ่มคิดจะทำงานสักชิ้นหนึ่ง  ก็จะช่วยกันตักเตือนซึ่งกันและกัน  จนพูดกันติดปากว่า “ยังไงๆ ก็อย่าทำเรื่องชั่วนะ  กลัวว่าถ้าซือหม่ากงรู้เข้าก็จะแย่เลย !


นิทาน ๒ : ในสมัยฮั่น มีคนชื่อเฉินสือ เป็นคนตรง มีอัธยาศัยดีกับทุกคน ทำงานก็ซื่อตรง ในหมู่บ้าน ถ้าเกิดเรื่องทะเลาะกันก็จะเชิญเฉินสือมาช่วยตัดสินที่สุดว่าใครถูกใครผิด เฉินสือก็จะตัดสินได้ถูกต้องทั้งยังอธิบายเหตุผลของการทำผิดจนทำให้ทุกคนจำนน ไม่มีคำโต้แย้ง พอนานๆ ไปก็เลยมีคำคมว่า “ให้ทางอำเภอลงโทษตีก้นดีกว่าอย่างไรเสีย ก็อย่าให้เฉินสือขึ้นบัญชีพูดจุดเสียเลย !” มีอยู่คืนหนึ่งมีขโมยคนหนึ่งเข้าบ้านซ่อนตัวอยู่บนขื่อเฉินสือรู้แล้วก็ลุกขึ้นจุดเทียนเรียกลูกหลานในบ้านมาอบรม เฉินสือพูดว่า “เป็นคนต้องพากเพียรคนที่ไม่ดีก็อย่ากล่าวหาว่าเขาไม่ดี  เป็นเพราะเขาทำเรื่องเลยบ่อยๆ จนเคยตัวเป็นนิสัย ถ้าแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้  ก็จะเหมือนเจ้าขโมยบนขื่อ !” เจ้าขโมยได้ยินเช่นนั้นก็ตกใจ  จึงกระโดดลง่มาจากขื่อ ยอมรับโทษจากเฉินสือ เฉินสือก็พูดจาดียิ้มแย้มกับเขา แล้วอบรมตักเตือนเขา ให้เขาแก้ไขให้ดี อย่าได้ทำเช่นนี้อีก ทั้งยังให้ผ้าต่วนกับเขา 2 ชิ้น แล้วส่งเสริมให้เขาแก้ไขความผิด รู้เจ็บที่ทำผิด การกระทำของเฉินสือมีอิทธิพลต่อคนทั้งอำเภอ จากนั้นมาก็ไม่มีขโมยอีกเลย

นิทาน ๓ :  ในสมัยอู่ไต้ ฝังอิ่งป๋อ เป็นผู้ว่าราชการเมืองชิงเหอ มารดาของอิ่งป๋อเป็นคนมีความรู้ ทั้งเป็นคนที่เห็นอกเห็นใจรู้หลักธรรมที่เมืองเป่ยคิว มีแม่บ้านคนหนึ่ง ยกตัวอย่างที่ลูกไม่กตัญญู มีคดีมาถึงผู้ว่าราชการ มารดาของอิ่งป๋อพูดกับอิ่งป๋อว่า “ประชาชนยังไม่เข้าใจหลักธรรม ไม่รู้จริยธรรม อย่าลงโทษพวกเขาให้เกินเลย”  แล้วมารดาของอิ่งป๋อก็พูดกับแม่บ้านที่บอกว่าลูกไม่กตัญญูให้พาลูกมาที่จวนผู้ว่าให้นางมาทานข้าวด้วยกัน เรียกลูกนางมายืนดูข้างๆ  เพื่อดูท่านอิ่งป๋อดูแลมารดาขณะทานข้าว เวลาผ่านไป 10 วัน  ลูกที่ไม่กตัญญูก็พูดกับแม่ว่า “คุณแม่ ! ฉันผิดไปแล้ว ฉันจะแก้ไขกตัญญูต่อท่านแน่นอนเรากลับบ้านกันเถอะ !”  มารดาของอิ่งป๋อก็พูดขึ้นว่า “เด็กคนนี้ภายนอกดูเหมือนมีความละอายใจ  แต่ภายในใจยังไม่รู้สึกละอายจริงๆ ! ดังนั้นจึงให้สองคนแม่ลูกอยู่ต่อไปอีก 20 วัน ตอนนี้ลูกของนางก็ลงไปคุกเข่าก้มกราบสำนึกผิด เขาโขกจนหน้าผากเลือดไหล

แม่ของเด็กก็พลอยน้ำตาไหล จึงยอมขอท่านผู้ว่าราชการ อนุญาตให้สองคนแม่ลูกกลับบ้าน ต่อมาลูกของนางเป่ยคิว  ก็กลายเป็นลูกกตัญญูที่  ขึ่นชื่อ



คัมภีร์ :  สงสารผู้หม้ายกำพร้ายากไร้

เคารพอาวุโสห่วงใยผู้เยาว์

อธิบาย :  การสงสารคนกำพร้าโดยเฉพาะเด็กกำพร้า ต้องเลี้ยงดูแลเขาอย่างเต็มที่ และให้เขามีอาชีพมีความสำเร็จในชีวิต การเวทนาแม่หม้ายก็ต้องปกป้องคุ้มครองเธอให้ถึงที่สุด  ให้เธอได้ชื่อว่าเป็นหญิงหม้ายที่บริสุทธิ์ การเคารพผู้มีอายุมากกว่า หรือผู้เฒ่า ให้พวกเขาได้รับการเลี้ยงดูและมีความสงบสุข การรักใคร่ห่วงใยผู้เยาว์ ต้องให้การศึกษาและคุ้มครอง

ชีวิตคนที่อับโชคที่สุด ก็คือลูกกำพร้าและหญิงหม้ายโดยเฉพาะถ้ายากจนด้วยก็ยิ่งน่าสงสาร เกรงว่าชีวิตจะดำรงอยู่ได้ยาก เพราะฉะนั้นการบริจารเพื่อให้พวกเขาอยู่ได้ในสังคมแล้ว ต้องช่วยเหลือเด็กกำพร้าและแม่หม้ายเป็นอันดับแรก พ่อแม่ของเด็กกำพร้าก็ดีสามีของแม่หม้ายก็ดี เชื่อว่าวิญญาณพวกเขาในปรโลกคงรู้สึกขอบพระ

คุณเป็นแน่แท้

ผู้เฒ่าและผู้เยาว์ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หากยากจนและเจ็บป่วยก็ยิ่งเป็นทุกข์ จะให้ชีวิตเขาดำรงอยู่ได้ก็ใช่ว่าจะง่ายนักเพราะฉะนั้น ในอดีตโบราณอริยราชา เช่น โจวเหลินอ๋อง การปกครองของพระองค์จึงให้ความสำ

คัญที่จุดนี้ แม้แต่อุดมการณ์ของท่านขงจื่อยังเคยกล่าวไว้ว่า “ให้ผู้เฒ่าสุขผู้เยาว์ดูแล” อันนี้เพราะเหตุอันใดหรือจุดมุ่งหมายก็เพื่อให้จิตดีงามได้เผยออกมาได้ง่าย  เมื่อมีจิตดีงามแล้วเรื่องดีๆ ที่จะทำก็มีมาก ซึ่งปกติก็ยากที่จะทำได้สมบูรณ์ สำหรับคนที่ไม่มีแรงทรัพย์ก็ต้องใช้แรงกายไปทำจนถึงที่สุด  แต่สำหรับผู้มีแรงทรัพย์ก็ควรทำสุดความเวทนาสงสาร การเคารพผู้อาวุโสและห่วงใยผู้เยาว์ก็เช่นเดียวกัน อย่าเพียงแต่พูดว่า “ฉันสงสารอยู่ในใจก็พอแล้ว”  อันนี้ถือว่าไม่รับผิดชอบและเป็นการผลักภาระ


นิทาน ๑ :  ในสมัยโจว ขณะที่เมืองฉีเข้าตีเมืองหลู  ที่นอกเมืองก็มีหญิงชาวหลูคนหนึ่ง ในมืออุ้มเด็กคนหนึ่ง และจูงเด็กอีกมือหนึ่ง ขณะหนีเอาชีวิตรอด นางจึงวางเด็กที่อุ้มลง และไปอุ้มเด็กที่จูงอยู่แทนนายทหารเมืองฉีเห็นเข้าก็สงสัย จึงเข้าไปถามนางๆ ตอบว่า “เด็กที่อุ้มเป็นบุตรของพี่ชาย แต่เด็กที่วางลงเป็นลูกแท้ๆ ของฉัน” ทหารเมืองฉีก็ถามต่อไปอีกว่า “ทำไมจึงทิ้งลูกของตัวแล้วไปอุ้มลูกของพี่ชายเล่า” นางตอบว่า “ลูกกับแม่เป็นความรักส่วนตัว  แต่หลานกับอาถือเป็นสัจจะส่วนรวม หากฉันละเมิดสัจจะส่วนรวมและลำเอียงเห็นแก่ความรักส่วนตัวแล้ว ลูกกำพร้าของพี่ชายก็จะจบลง จึงเป็นสิ่งที่ฉันไม่ยอมทำ” เมื่อนายทหารเมืองฉีได้ฟังวาจาเช่นนั้น จึงพูดว่า “พวกเมืองหลูยังมีหญิงที่ถือสัจจะเช่นนี้ แล้วเจ้าเมืองหลูเล่าจะเป็นเช่นใด”  พูดจบจึงถอยทหารกลับไป ไม่ตีเมืองหลูอีก เมื่อเจ้าเมืองหลูได้ยินเรื่องนี้ จึงปูนบำเหน็จรางวัลแก่หญิงผู้นั้น พร้อมกับยกย่องให้เธอ “คุณอาสัจจะแห่งหลู”

การที่หญิงเมืองหลู ยอมสละความรักส่วนตัวเพื่อช่วยชีวิตลูกชายของพี่ชายที่เป็นลูกกำพร้า เพียงคำพูดของนางที่สามารถรักษาเมืองหลูให้ปลอดภัยได้  หยุดการสงครามได้ครั้งหนึ่ง แล้วพวกหนุ่มชายฉกรรจ์ละ ถ้าหากประเทศชาติตกอยู่ในอันตราย ไม่เพียงละเมิดสัจจะแล้วยังกลัวตายหนีเอาชีวิต เมื่อมาเห็นคุณอาสัจจะแห่งหลูจะรู้สึกละอายใจบ้างไหม ?


นิทาน ๒ : หยางต้าเหนียน อายุ 20 ปี ก็สอบได้ตำแหน่งจอหงวนได้ร่วมงานกับ โจวอู๋ และ จูเอี๋ยน ซึ่งทั้งสองก็มีอายุมากแล้ว อยู่ในวัยชรา หยางต้าเหนียนมักจะดูแคลนและชอบทำอัปยศพวกเขาโจวอู๋คิดจะตักเตือนหยางต้าเหนียนว่า “เธออย่าได้ข่มเหงคนแก่เลยสักวันหนึ่งเธอก็ต้องแก่เหมือนกัน !” จูเอี๋ยนแกว่งศีรษะพูดกับโจวอู๋ว่า “อย่าพูดกับเขาเลย  อย่าพูดกับเขาเลย  เดี๋ยวจะถูกเขาเย้ยหยันเอาอีก”  ปรากฎว่าหยางต้าเหนียนก็ตายในขณะที่ยังหนุ่มอยู่

มีคำกล่าวว่า “เคารพแก่ก็ได้แก่” ควรรู้ว่าคนแก่ผ่านประสบการณ์มามาก มีชีวิตอยู่จนแก่ชราได้ ถือว่าเป็นหนึ่งในห้าบุญวาสนา จึงมีคุณค่าที่คนหนุ่มสาวต้องเอาอย่างมาเคารพผู้อาวุโส จะไปดูแคลนคนแก่ได้อย่างไร แต่ชาวโลกมักเห็นว่าคนแก่ตาลาย เดินเหินไม่คล่อง ถ้าไม่เบื่อหน่ายก็จะข่มเหง จะมีใครยอมเคารพปรนนิบัติคนแก่เล่าเมื่อมาเห็นหยางต้าเหนียนที่ข่มเหงคนแก่แล้วตายเร็วเป็นตัวอย่างก็หวังว่าพวกหนุ่มสาวจะกลับใจแก้ไขสำนึกผิด มีน้ำใจ เมื่อพบคนแก่ต้องมีความเป็นธรรม ไม่ว่าคนแก่ผู้นั้นจะร่ำรวยหรือยากจน ก็ต้องเคารพด้วยความเป็นธรรม ถ้าเช่นนี้ตนเองก็จะมีอายุยืน อย่าได้ข่มเหงคนแก่เป็นอันขาด เพราะจะถูกตัดทอนอายุขัยและบุญวาสนาของตนเองนะ !


นิทาน ๓ : นายหวังปิง ตอนยังเป็นเด็กหนุ่ม  ร่างกายเจ็บป่วยบ่อยและอาการป่วยก็หนักด้วย ตัวเองคิดว่า “ร่างกายฉันแย่อย่างนี้ คงมีชีวิตอยู่ไม่นาน” จากนั้นมา เมื่อเขาเห็นคนแก่เขาจะเคารพมาก และก็ชื่นชมพวกเขา คนแก่ที่เดินผ่านหน้าบ้านหวังปิง  แม้ว่าจะยากจนหวังเปิงก็จะลุกขึ้นแสดงความเคารพ ขณะหวังปิงเดินอยู่ในถนนเมื่อพบคนแก่ก็จะหลีกทางให้คนแก่ไปก่อน ต่อมาการเจ็บป่วยของหวังปิงก็ค่อยๆ ดีขึ้น เรี่ยวแรงนับวันก็เพิ่มขึ้น ในที่สุดเขาก็มีอายุอยู่ถึง 93 ปี


นิทาน ๔ : ในสมัยสุ้ย  มีภิกษุรูปหนึ่งมีอายุร้อยกว่าปี เขาเข้าใจหลักธรรมของอวตังสกะสูตรอย่างลึกซึ้ง เขาเคยพูดกับมวลชนว่า “อาตมาเคารพผู้เฒ่าก็เหมือนเคารพบิดามารดาของตนเอง ปรนนิบัติพวกเขาก็เหมือนปรนนิบัติพระโพธิสัตว์ อะไรที่อาตมาทำได้ก็จะไปทำจนสุดความสามารถสุดแรง  อาตมาสามารถเข้าใจพุทธธรรมได้และมีอายุยืนถึงขนาดนี้ ก็เพราะเคารพผู้เฒ่าเป็นสาเหตุ เพราะฉะนั้นจึงหวังพวกท่านจะไม่ดูแคลนและข่มเหงคนแก่ เพราะมันจะบั่นทอนบุญวาสนาและอายุได้ จะต้องรู้ว่าเกียรติยศในโลกนี้ เหมือนความฝันเป็นมายา เหมือนฟองน้ำเหมือนเงา ชั่วลัดนิ้วก็ผ่านไปแล้ว จะต้องเข้าใจอย่าให้เกียรติยศและผลประโยชน์ล่ามติดเลย ต้องฝึกที่จิตใจของเรามิฉะนั้น ก็เท่ากับมาโลกนี้เสียเที่ยวเปล่า ผ่านชีวิตที่มีค่าของความเป็นคนไป  ตามที่บรรดาพุทธเจ้ามีโอวาทแนะนำสั่งสอนว่า “หวังมีชีวิตยืนยาว พึงกระทำความดีทั้งปวง หวังให้บุญวาสนาเจริญ ให้ช่วยสงเคราะห์คนกว้างขวาง” น่าเสียดายที่พวกเราได้ทำผิดพลาดไปแล้ว หากคนหนุ่มสาวคิดว่าตนมีความรู้ ฉลาดจึงหยิ่งยโส ดูแคลนอัปยศคนแก่ กลับไม่รู้ว่าความมีอายุยืนเป็นบุญวาสนาที่เบื้องบนประทานให้ผู้เฒ่าเป็นผู้ที่อริยกษัตริย์ให้ความเคารพ คนหนุ่มที่สามารถก็ไม่แน่ว่าจะได้อยู่จนแก่เหมือนพวกเขานะ”

นิทาน ๕ : ในสมัยถัง  หยวนเต๋อซิ้ว ในครอบครัวยากจนมาก พี่ชายก็ตายแต่หนุ่ม ทิ้งลูกน้อยยังไม่ถึงเดือน พี่สะใภ้เสียใจมากจนตายตามพี่ชายไป เด็กทารกจึงไม่มีนมกิน เกรงว่าจะหิวตาย หยวนเต๋อซิวร้องไห้ทั้งวันคื่น อุ้มลูของพี่ชายไว้ ก็เลยเอานมของตัวให้เด็กอมโดยไม่ได้คิดอะไร  เวลาก็ผ่านไปถึง 10 วัน นมของหยวนเต๋อซิวก็ให้มีน้ำนมไหล เด็กน้อยได้กินนมของหยวนเต๋อซิ้ว ในที่สุดก็มีชีวิตอยู่จนโตเรื่องนี้ถึงแม้เป็นเรื่องบังเอิญ แต่ก็ให้คติว่า “ห่วงใยเด็ก”  เป็นการร่วมเข้ากับใจฟ้าอย่างลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น จึงมีผลตอบสนองเช่นนี้ท่านขงจื่อกล่าวว่า “ผู้เยาว์ให้ห่วงใย”  ท่านเมิ่งจื่อก็กล่าวว่า “ให้ฉันเยาว์ก็ให้ความเยาว์แก่ผู้อื่น”  เหล่านี้ล้วนเป็นโอวาทของปราชญ์ที่ให้ไว้เป็นผู้อาวุโสเขาก็ควรเข้าใจให้ดีด้วย !


คัมภีร์ :  ไม่ทำร้ายหนอนหญ้าต้นไม้


อธิบาย :  ถึงแม้จะหนอนตัวเล็กๆ  หรือต้นหญ้าต้นไม้ที่ไม่มีอารมณ์ก็ไม่ควรทำร้าย คนในปัจจุบันชอบทำร้ายชีวิตและสิ่งต่างๆ ตามชอบใจ เพราะไม่รู้ว่าสิ่งที่เคลื่อนไหวได้  มีวิญญาณมีอารมณ์มีชีวิตสิ่งเหล่านี้ล้วนมีพุทธจิต ชาวหยูก็มีกล่าวไว้  “ต้นไม้ที่กำลังเติบโตไปตัดมันไม่ได้”  เป็นโอวาท นับอะไรกับหนอนซึ่งเป็นสัตว์ตัวเล็กๆ ที่มีความรู้สึก ต้นไม้ไม่มีความรู้สึก เราก็ไปทำร้ายตามอำเภอใจไม่ได้

ในพระสูตรบรรลุสมบูรณ์ พูดไว้ว่า “อะไรที่มีเลือดลม ต้องมีความรู้สึก สิ่งที่มีความรู้สึก ต้องเหมือนเป็นร่างเดียวกัน”  ในศูรางคมสูตรก็ว่าไว้ “ตถาคตเจ้าตรัสเป็นประจำว่า “สรรพสิ่งที่สำเร็จเป็นรูปในจักรวาล ล้วนเปลี่ยนแปลงออกมาจากใจของเราเอง  เหตุและผลทั้งปวงที่เกิดในโลกนี้ ตลอดจนถึงฝุ่นเล็ก ๆ ล้วนเป็นผลที่ใจนี้สร้างขึ้น ตลอดจนหญ้า 1 ต้น ใบไม้ 1 ใบ  ใยหนึ่งเส้น  ปมหนึ่งปมติดตามถึงต้นมูลแล้ว  ล้วนมีองค์จิตทั้งนั้น”

ตัวอย่างพี่น้องเถียนจินที่คิดจะแบ่งต้นไม้หน้าบ้าน  ต้นไม้ได้ยินก็เหี่ยวเฉาทันที  จึงสะเทือนใจพี่น้องเถียนจิน เลยเลิกคิดแบ่งแยกต้นจือได้ยินก็ฟื้นชีวิตทันที  แล้วจะพูดว่าต้นไม้ไม่รู้ได้หรือ

จุดมุ่งหมายที่ท่านไท่ซั่งห้ามปรามก็ต้องการให้คนกระทำต่อสิ่งที่มีอารมณ์ทั้งหลายก็ดี  กับสิ่งที่ไม่มีอารมณ์ทั้งหลายก็ดี  ต้องบ่มเลี้ยงใจให้มีเมตตานั่นเอง


นิทาน ๑ :  ในสมัยพุทธองค์ :  ขณะที่พุทธองค์กำลังบรรยายธรรมอยู่ที่บ่อน้ำมีคางคกตัวหนึ่ง ชอบกระโดดขึ้นมาอยู่ข้างบ่อน้ำ  ตั้งใจฟังธรรมก็ให้บังเอิญเจ้าคางคกก็ถูกไม้เท้าของคนที่มาฟังธรรมกระแทกตายเนื่องจากตั้งใจฟังธรรมจึงมีอานิสงค์มาก  เพราะฉะนั้น  เมื่อคาง่คกตายแล้วก็ไปปฏิสนธิบนดาวดึงษ์  ได้เป็นถึงท้าวสักกะเทวราช เมื่อพุทธองค์บรรยายธรรมก็ลงมาฟังธรรมอีก  ภายหลังฟังธรรมแล้วก็บรรลุธรรมขั้นโสดาบัน  อันเป็นอริยบุคคลอันดับแรกของสาวกยานคางคกเป็นสัตว์เล็กๆ  ก็ยังสามารถไปถึงขั้นอริยบุคคลได้  จะเห็นได้ว่าสัตว์เล็กๆ เช่น หนอน ก็จะไปทำร้ายไม่ได้


นิทาน ๒ : สมัยก่อนมีผู้ออกบวชคนหนึ่ง บำเพ็ญยังไม่ได้มรรคผลดังนั่น การได้รับการอุปัฎฐากจารกสองคนพ่อลูก  จิงเต๋อ ก็ว่างเปล่าภายหลังตายแล้ว  เขาก็กลายเป็นจำพวกเห็ดชนิดหนึ่ง ในสวนดอกไม้ของบ้านจิงเต๋อ ไปเป็นผักหญ้าให้ครอบครัวจิงเต๋อรับประทาน พอคนอื่นคิดจะไปเด็ด ทำเท่าไรก็เอาไม่ได้  ซึ่งเห็ดหญ้าชนิดนี้เป็นต้นเล็กมาก  เป็นเพราะมีเหตุปัจจัยเป็นพิเศษเช่นนี้ ตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่า ถึงแม้จะเป็นต่นหญ้าที่ไม่มีอารมณ์ ก็ไม่ควรไปทำลายนะ


นิทาน ๓ : ที่เมืองหันโจว มีหญิงนางหนึ่ง นางมีนิสัยโหดร้ายทุกครั้งที่เห็นมดเดินข้างเตาไฟ ก็จะเอาไฟไปเผา ไม่รู้เผามดไปมากมายจำนวนเท่าใด  และมักชอบเอาขี้เถ้าไปยัดรูของไส้เดือน นางเพิ่งคลอดลูกชายคนหนึ่งยังกินนมอยู่  มีวันหนึ่งนางมีธุระออกไปข้างนอกพอกลับมาถึงบ้าน  เห็นบนเตียงมีกระจุกสีดำใหญ่  นางตกใจมากพอมองดูอีกที่  ที่แท้ก็เป็นลูกชายของนาง  ลูกชายถูกฝูงมดกัดตายแล้ว  นางเสียใจมาก  ไม่นานก็ตายตามกันไป


นิทาน ๔ : ที่เมืองไท่อั่งโจว  มีคนหนึ่งชื่อ อู๋อี่ คืนหนึ่งเขาก็ฝันเห็นชายฉกรรจ์ 2 คน  ใส่เสื้อสีเขียวมาขอร้องเขาให้ช่วยเหลือ พออู๋อี่ตื่นขึ้นก็พูดว่า “ต้องมีอะไรถูกฆ่าแน่ !”  ฟ้าสางแล้ว  เขาก็ออกไปเดินรอบๆ เห็นมีคนหลายคนถือขวานและเลื่อย เตรียมจะโค่นต้นเทิงเงิน 2 ต้นที่พึ่งซื้อมา  อู๋อี่จึงเข้าใจรู้ทันทีถึงความฝันเมื่อคืน  จึงรียเอาเงินออกมาซื้อต้นไม้เทิงเงิน 2 ต้น  ต้นเทิงเงินจึงรอดพ้นจากการถูกโค่นไป



คัมภีร์ :  ต้องสงสารผู้เคราะห์ร้าย  ยินดีกับผู้ทำดี

อธิบาย :  คนที่เคราะห์ร้าย  มักเป็นผู้ที่ทำชั่วจึงเป็นผู้กวักภัยเคราะห์มาหา  ควรให้ความสงสารบุคคลพวกนี้  ตักเตือนชักนำเขา  อบรมเขาเพื่อให้เขาสามารถแก้ไขความชั่วมุ่งสู่ความดี  เปลี่ยนเคราะห์ร้ายเป็นบุญวาสนา

สำหรับคนดี  ก็มักเป็นผู้ที่ทำความดีเสมอๆ  จึงเป็นกวักบุญวาสนามาหา  เราก็ควรยินดีกับเขา  ส่งเสริมเขา ผลักดันเขา  เพื่อให้เขายิ่งทำดีมากขึ้น

คุณเหอหลงกู กล่าวว่า “คนที่เริ่มทำชั่วแรกๆ  นั้นเป็นเพราะความคิดของเขาคลาดเคลื่อนไปแล้วก็ไม่สามารถยับยั้บได้  แม้หลังจากทำชั่วไปแล้วก็ตาม ก็ยังมีจิตสำนึกดีที่ยังไม่มอดดับ ซึ่งก็ยังพอแก้ไขฉุดช่วยได้ ชาวโลกที่กีดกันคนที่ทำชั่ว  ก็เหมือนการปิดกั้นศัตรูอย่างนั้นถึงแม้พวกเขาขอแก้ตัวกลับใจใหม่เป็นคนใหม่ ก็มักไม่ได้รับการตอบรับจากผู้อื่น จึงหมดกำลังใจไปแก้ไขเปลี่ยนแปลง”  การทำความดีสร้างกุศล ทุกคนก็สามารถคิดได้ แต่คนก็มัวยังถือสาแบ่งแยกชนชั้น อย่างคนที่มีความรู้ความสามารถ ก็หวังว่างานดีๆ ต้องเป็นตนเท่านั้นที่ทำคนที่ด้อยกว่าก็ไม่คาดหวังว่าจะได้  งานดีๆ  คือต้องให้ผู้อื่นทำเช่นนี้ทำให้เกิดการสร้างสถานการณ์เพื่อทำลายงานดีๆ ของคนอื่น อย่างนี้เป็นความชั่วของตนเอง เป็นการทำร้ายจิตใจตนเองด้วย  กับคนอื่นแล้วไม่มีการสูญเสียอะไร โดยไม่รู้ว่า ถ้าคนอื่นมีความคิดดีมีเรื่องดีแล้วเขาสามารถผลักดันส่งเสริมเขา  ชมเชยเขา จนทำให้เขาได้สำเร็จสวยงาม  เช่นนี้แล้วความดีของผู้อื่นก็เป็นความดีของตนด้วยอย่างนี้ซิจึงเป็นบุญกุศลที่เหลือคณานับ

จากปุถุชนสู่อริยชน เป็นวิถีแห่งกุศลทั้งมวล  การบังเกิดใจโพธิเป็นสิ่งเยี่ยมยอดที่สุด  ใจโพธิก็เป็นเหมือนเมล็ด  เพราะสามารถให้กำเนิดกุศลธรรม  ใจกุศลจึงเป็นเนื้อนาบุญ เพราะทำให้เวไนยสัตว์เจริญกุศลธรรม ใจโพธิเหมือนน้ำที่สะอาด เพราะสามารถชำระล้างความกังวลในใจของเวไนยสัตว์  ใจโพธิเหมือนไฟดวงใหญ่ที่สามารถเผาไหม้ความเห็นผิดได้  ในนิพพานสูตรกล่าวว่า “พุทธองค์ตรัสว่าการบำเพ็ญใจที่ดี (ใจกุศล)  เพราะสามารถขจัดวิบากกรรมนับร้อยชนิดได้ก็เหมือนสะเก็ดไฟเล็กๆ  ที่สามารถเผาผลาญสิ่งต่างๆ ได้  ต้องรู้ว่าเรื่องดีทั้งหลายเกิดจากหนึ่งความคิดที่ชอบความสบายของพวกเราแต่เมื่อใจที่ดีทั้งหลายเผยปรากฎออกมาหมด  ก็คือผลแห่งโพธิที่สมบูรณ์ของพวกเราที่สำเร็จ

นิทาน ๑ :  นางอูหลิงอี๊ จับขโมยที่เข้ามาในบ้านได้  ที่แท้เจ้าขโมยก็เป็นเด็กข้างบ้าน  อูหลิงอี๊พูดกับเขาว่า “เจ้าถูกความจนบีบบังคับจึงมาเป็นขโมย ฉันจะให้เธอหนึ่งหมื่นเป็นต้นทุนไปดำรงชีวิต  แล้วก็อย่าได้ทำชั่วอีกเลย !”  พอเจ้าขโมยได้เงินก็จะออกไป  อูหลิงอี๊เรียกเขากลับมาพูดว่า “เจ้าเป็นคนจน แบกเงินมากมายกลับบ้าน ก็กลัวว่าจะถูกเจ้าหน้าที่สอบถาม เจ้าอยู่ที่บ้านจนกว่าจะเช้าก่อนค่อยไป”  เรื่องนี้อูหลิงอี๊ไม่เคยพูดให้ใครฟัง  จนกระทั่งลูกหลานเขาสอบได้จินสือติดต่อกัน  คนอื่นว่าเขาเป็นคนชอบสงสาร ตักเตือนแนะนำ อบรมคนชั่ว จึงได้รับผลตอบสนอง !


นิทาน ๒ :  ในสมัยฮั่น มีคนชื่อ หลงท่ง  ชอบยกย่องคนอื่น ทำความดีซึ่งล้วนพูดเกินความจริง คนอื่นให้รู้สึกแปลกใจ จึงถามหาสาเหตุหลงท่งตอบว่า “ปัจจุบันคนดีมีน้อย  คนชั่วมีมาก  อยากคิดแก้ไขวัฒนธรรมที่ไม่ดีได้ ต้องเพิ่มงานธรรมตนเอง  หากไม่ไปทำเต็มที่ไปยกย่องคนอื่นไปยกย่องงานธรรมของคนอื่น ยกย่องว่าเขาทำดีแล้ว คนที่คิดจะทำความดีก็จะลดน้อยลง  ถ้าการยกย่องชมเชยคนสัก 10 คน ถ้ามีผิดพลาดไป 5 คน ก็ยังมีอีก 5 คนไม่ผิด ก็ยังทำให้ได้ใจของคนทำดี  เขาจะได้เพิ่มความพากเพียรทำดียิ่งขึ้น  อย่างนี้ก็ใช้ได้แล้วละ”  โอวาทของท่านกอบฟูจื่อก็เคยกล่าวว่า “ขอให้ฟ้ากำเนิดคนดี ขอให้คนทำดีเสมอ ขอให้ปากพูดดีเสมอ”  คุณหลงท่งอาจพูดได้ว่า เข้าใจโอวาทนี้เป็นอย่างดี และก็ขยันไปทำ  มีประโยชน์ต่อใจธรรมของคนมากเลย !



คัมภีร์ : ช่วยเหลือผู้คับขัน  ฉุดช่วยผู้อยู่ในอันตราย


อธิบาย :  เมื่อพบคนที่อยู่ในภาวะคับขัน  เช่น เจ็บป่วยต้องการยารักษา หรือคนที่หิวโหย หนาวสั่น  ต้องการอาหาร เสื้อผ้า  ก็ควรที่จะใจกว้างช่วยเหลือทันที  หรือกรณีตกอยู่ในอันตราย เช่นเกิดภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัย อัคคีภัย  หรืออุบัติเหตุ  เราก็ควรเข้าไปช่วยเหลือตามความสามารถ ไปดูแลขจัดภไยให้เขาพ้นอันตราย

หากพบคนตกอยู่ในอาการหวาดวิตก  คับขัน  แม้ใช้เพียงคำพูดที่ดีก็อาจฉุดช่วยเขาได้  บุญกุศลเช่นนี้ส่งผลถึงบรรพชนและคุ้มครองถึงลูกหลานได้  ควรรู้ไว้ว่า  ผลักเขาทีหนึ่งกับพยุงเขาทีหนึ่งก็คือมือคู่นี้  การให้ร้ายกับการสรรเสริญผู้อื่น ก็คือปากอันนี้ เพราะฉะนั้น พยุงคนด้วยมือดีกว่า อย่าใช้ปากทำร้ายคน ถ้าหากทำได้ก็อย่าได้ถามถึงกาลข้างหน้า กาลข้างหน้าย่อมดีแน่นอน

การช่วยชีวิตคน  ตนเองสิ้นเปลืองไม่มากเท่าไร แต่เป็นเพราะเขาเป็นคนมีกินมีใช้สมบูรณ์ จึงไม่รู้จักความหิวและความหนาวทุกข์ทรมารเป็นอย่างไร  เข้าใจว่าไม่มีอะไรจึงไม่ให้ความสนใจ  เมื่อมีอาหารก็ไม่ใส่ใจที่จะไปช่วยเหลือคนจน รอจนกระทั่งพวกเขาหิวโหยจนล้มป่วยจึงยอมรับว่าเป็นเวลาที่ต้องเข้าไปช่วยแล้ว  แบบนี้ก็หมดหวัง ได้แต่ลืมตาปริบๆ ดูพวกเขาตาย แม้แต่คนที่มีกระใจเดินผ่านมาเห็นเข้าก็ได้แต่เวทนาถอนหายใจเท่านั้น กับคนทั่วไป  มองแล้วก็มองไป  ไม่ใช่เรื่องของตน เดินหลีกไปไกลๆ

จะต้องรู้ว่า คนที่กำลังหิวเจ็บป่วยง่าย เมื่อเจ็บป่วยก็ไม่มีแรงไปหากิน อย่างนี้ยิ่งหิวก็ยิ่งอาการหนัก เพราะฉะนั้น การช่วยเหลือผู้หิวโหยต้องยิ่งเร็วยิ่งดี  แรกๆ ก็หมดข้าวคนไม่กี่ขีด  ก็สามารถทำให้เขาฟื้นคืนกำลัง ถ้าเป็นคนรวยการใช้จ่ายคืนหนึ่งก็ช่วยชีวิตได้ถึง 10 ชีวิต ถ้ารวมพลังกันมาก การช่วยเหลือก็จะง่ายๆ หากหาบ้านว่างๆ สักหลังหนึ่ง มีอาหารเสื้อผ้า เก็บเอาไว้ก็จะช่วยให้คนหิว และไม่มีที่นอน ต้องทนทุกข์หนาวสั่นอยู่ข้างนอก การเลี้ยงเขาแบบนี้ทำให้สุขภาพเขาฟื้นขึ้นมาได้ง่าย  โดยเฉพาะในหน้าหนาวยิ่งจำเป็นมาก  แบบนี้จะช่วยให้พ้นจากการตายจากการอดอยากและหนาวได้มากทีเดียว


นิทาน ๑ :  นายหวังหุ้ย ในสมัยซ่ง  ระหว่างทางไปสอบที่เมืองหลวงได้ยินเสียงร้องไห้ 2 คนแม่ลูก  เสียงร้องไห้ฟังแล้วน่าเวทนายิ่งนัก หวังหุ้ยจึงไปถามคนใกล้เคียง คนใกล้เคียงบอกว่า “แม่ลูกคู่นี้ยากจนมาก เป็นหนี้เงินหลวง ทางการก็เร่งรัด  จึงคิดพาลูกสาวไปขายเพื่อใช้หนี้  จึงร้องไห้อย่างนี้ “  หวังหุ้ยจึงไปที่บ้านนาง  ก็เห็นว่าเป็นจริงหวังหุ้ยก็พูดกับผู้เป็นแม่ว่า “เธอเอาลูกสาวขายให้ฉัน  เพราะฉันเป็นข้าราชการ ต้องผ่านมาแถวนี้อยู่แล้ว  อย่างนี้เธอกับลูกก็ได้เห็นหน้ากันประจำ”  แล้วก็ให้เงินแก่นางไปไถ่หนี้จากทางการ แล้วก็นัดว่าอีก 3 วัน  จะมาพาลูกสาวไป ผ่านไป 3 วัน  หวังหุ้ยก็ไม่ได้พาลูกสาวนางไป  ผู้เป็นแม่ก็แปลกใจ  จึงไปหาที่หวังหุ้ย  ตอนนี้หวังหุ้ยก็ไม่อยู่แต่ทิ้งจดหมายไว้  บอกกับคุณแม่ว่า ให้หาลูกเขยที่พึ่งพาได้และแต่งงานลูกสาวเสีย เมื่อหวังหุ้ยไปสอบที่เมืองหลวง เขาสอบติดประกาศอันดับหนี่งถึง 3 ครั้ง  ได้รับตำแหน่งสูงมาก และฮ่องเต้ก็สถาปนาเป็นจินกั๊วกง


นิทาน ๒ :  ที่ซินเจี้ยน มีช่วงข้าวยากหมากแพง มีครอบครัวหนึ่งจนถึงที่สุด ทั้งบ้านเหลือข้าวแค่ขีดเดียว จึงหุงข้าวแล้วใส่ยาพิษลงไป  หวังว่าสามีภรรยากินอิ่มสักมื้อแล้วค่อยตาย กำลังจะกินข้าวอยู่พอดี ผู้ใหญ่บ้านก็เข้ามาเพื่อทวงเงินหลวงที่ยืมไป  เห็นข้าวสุกพอดีคิดจะลงไปกินข้าว  คนจนผู้นี้จึงเข้าห้ามผู้ใหญ่บ้านแล้วว่า “ข้าวนี้ไม่ใช่ข้าวที่ท่านควรกิน”  ว่าแล้วร้องไห้เล่าสาเหตุให้ฟัง  ผู้ใหญ่บ้านฟังแล้วก็ให้สงสาร จึงพูดกับเขาว่า “ทำไมเจ้าจึงจนถึงขนาดนี้ เจ้าตามไปที่บ้านข้าจะขาดแคลนแต่ก็ยังมีข้าวอยู่ 5 ถัง  เอาอย่างนี้  เจ้าตามไปที่บ้านข้าแบ่งข้าวมากิน  พออยู่ได้อีกหลายวัน”  คนจนผู้นั้นแบกข้าวกลับมาบ้าน  พบว่าในถุงข้าวมีทองอยู่ถึง 50 ตำลึง  คนจนคิดว่านี่คงเป็นเงินหลวง  จึงรีบนำกลับไปคืนที่บ้านผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่พูดว่า “นี่ไม่ใช่เงินหลวง เบื้องบนคงประทานให้เจ้า”  เขาจึงแบ่งทองให้ผู้ใหญ่ไปครึ่งหนึ่ง  ทั้งสองบ้านเลยสามารถผ่านช่วงข้าวยากหมากแพงมาได้


นิทาน ๓ :  นายต่วนเอ้อปา มียุ้งเก็บข้าวนับ 10 ห้อง  พอถึงช่วงข้าวยากหมากแพง  ก็คิดฉวยโอกาสทำกำไร  ขึ้นราคาข้าวเสียสูงลิ่ว  ทางการส่งคนมาขอยืมข้าวเพื่อช่วยเหลือประชาชน ต่วนเอ้อปาตอบรับคำแล้ว  พอรุ่งขึ้นเช้า เห็นคนหิวโหยมาเข้าแถวรออยู่ที่หน้าบ้านเพื่อรอรับข้าว  ต่วนเอ้อปารู้สึกเสียดาย  จึงไม่ยอมจ่ายข้าวให้ประชาชน ประชาชนก็ชุลมุนร้องโวยวาย  ต่วนเอ้อปาสั่งลูกน้องให้ปิดประตูบ้าน ไม่ให้คนเข้ามา  ในทันใดนั้นฟ้าก็เปลี่ยนปรวนแปรเกิดลมพายุฝน  สายฟ้าคำราม  พูดแล้วก็แปลก  ข้าวในยุ้งของต่วนเอ้อปาไม่รู้ทำอีท่าไหน  หลุดออกมากองอยู่บนถนนเป็นกองๆ  ประชาชนต่างกรูเข้าไปแย่งเอา  แค่พริบตาก็หมดเกลี้ยง ต่วนเอ้อปาก็ถูกฟ้าผ่าตายไป


นิทาน ๔ :  ที่เมืองเกาอิว  มีคนชื่อ จางไป่ยฟู่ ครั้งหนึ่งเขานั่งเรือไปมองเห็นที่แม่น้ำไกลๆ  มีเรือคว่ำ มีคนๆ หนึ่งคลานขึ้นบนเรือที่คว่ำ เรือจมๆ ลอยๆ  อันตรายมาก กำลังส่งเสียงขอความช่วยเหลือจางไป่ยฟู่เรียกพวกประมงให้ไปช่วยก็ไม่มีใครยอมไป  จางไป่ยฟู่จึงนำเงินขึ้นมา 10 ตำลึง  ให้ชาวประมง  ชาวประมงจึงยอมไปช่วยเหลือภายหลังการช่วยเหลือ  คนที่เกือบจมน้ำตายกลับกลายเป็นลูกชายจางไป่ยฟู่



คัมภีร์ :  เห็นเขาได้ดีเหมือนตนได้ดี

เห็นเขาสูญเสียเหมือนตนสูญเสีย


อธิบาย :  เมื่อเห็นคนอื่นดวงดีกำลังได้ดี  ก็เหมือนตนกำลังได้ดีทั้งยังต้องไปช่วยผดุงให้เขาดีขึ้นไป ถ้าเห็นคนดวงตกก็ให้เหมือนตนดวงตก  จึงต้องฉุดช่วยคุ้มครอง

แต่คนปัจจุบันเห็นผู้อื่นตกอับก็ไม่รู้สึกเหมือนตนตกอับ  สาเหตุเพราะความเห็นแก่ตัว  หวังเอาแต่ได้กลัวการสูญเสีย ทั้งยังกลัวว่าผู้อื่นจะได้ ทั้งยังสบายใจถ้าทำให้ผู้อื่นสูญเสีย เริ่มแรกก็เพียงเพื่อผลประโยชน์ของตนเท่านั้น ต่อมาก็ค่อยๆ ระวังทำร้ายเขา ด้วยความอิจฉาความสำเร็จของคนอื่น มีความสุขกับการสูญเสียของผู้อื่น อันที่จริงคนกับงานจะสำเร็จหรือล้มเหลวก็ไม่เกี่ยวกัน ที่เป็นเช่นนี้ตนเองเป็นผู้ทำลายจิตใจของตนเอง  เป็นการปลูกเหตุแห่งความชั่ว  ที่สุดกลายเป็นทำลายตนเอง  เขาไม่รู้ถึงการบำเพ็ญของปราชญ์อริยะ ก็คือการขจัดทำลายความเป็นตัวตน  เพื่อให้เข้าถึงผู้อื่น จึงจำเป็นต้องตัดอารมณ์ปุถุชน  หากสามารถเข้าถึงว่าผู้อื่นกับตนเองเป็นกายเดียวกันการได้เสียล้วนเป็นเรื่องของชะตาฟ้า  เช่นนี้แล้วเมือเห็นการได้ของเขาก็จะไม่อิจฉา  แล้วยังจะไปผดุงเขาช่วยเหลือเขา  อย่างนี้จึงเป็นประโยชน์ที่แท้จริง

นิทาน :   แซว่เวี่ยน  เป็นมหาอำมาตย์ของเมืองเอี้ยน  ไม่สามารถปฏิบัติต่อผู้คนอย่างเสมอภาคกันได้  หากยังเกิดอิจฉา ชอบใจที่คนอื่นสูญเสีย  ไม่ยอมส่งเสริมนักปราชญ์ที่สามารถ ทั้งยังอิจฉาเคลือบแคลงพวกเขา  เพื่อกีดกันไม่ให้ฮ่องเต้เรียกหามาใช้งาน  ในที่สุดบุตรชายคนหนึ่งของเขาก็ตายในคุก  ลูกที่เหลือก็กลายเป็นคนไม่สมประกอบ  ท่านกงหมิงจื่อจึงเอาคัมภีร์ศีลให้เขาอ่าน ภายหลังการอ่านคัมภีร์แล้วแซว่เวี่ยนรู้สึกเสียใจต่อการกระทำของตนเอง จึงสาบานจะปฏิบัติตามคัมภีร์ศีลสั่งสอน ในที่สุดก็สามารถรักษาลูกไว้ได้คนหนึ่ง


คำคม :   ธรรมาจารย์เหลียนฉือ  ในสมัยหมิง  กล่าวว่า “มนุษย์ถูกรูปสมบัติ  เกียรติ  ลวงหลอกเอา แต่ละคนมีพลังสติที่จะเผชิญหน้าต่อการลวงหลอกนี้ไม่เท่ากัน  อาตมาจะเปรียบเทียบอธิบายให้ฟังสมมุติว่าที่นี่มีกองไฟ ข้างกองไฟวางสิ่งของไว้ 5 ชนิดไม่เหมือนกันมีฟางแห้ง  พอเจอไฟก็ไหม้ทันที  มีท่อนไม้  ต้องมีลมช่วยกระพือก็จะติดไฟ มีท่อนเหล็กเผาไม่ไหม้ แต่พอเผาไปนานๆ ก็จะหลอมละลายได้มีน้ำแม้ยังไม่ติดไฟแต่ไฟก็ทำให้น้ำแห้งได้ แม้เอาใส่หม้อก็ยังถูกไฟเผาจนแห้ง  มีอากาศในอากาศไม่มีสิ่งของ  ไฟจะเผาเท่าไรมันก็ไม่กระทบอะไร  แม้ไฟจะเผานานแค่ไหนก็ตาม  ในที่สุดไฟก็มอดไปเอง”  เพราะการทำให้ใจสงบ  ก็ต้องมองให้เห็นเช่นนี้



คัมภีร์ :  ไม่โพทนาความชั่วเขา  ไม่โอ้อวดความดีตน


อธิบาย :  จงอย่าได้เปิดเผยโพนทะนาความชั่วหรือจุดด้อยของผู้อื่นสมควรอย่างยิ่งที่จะเก็บงำความไม่ดีของผู้อื่นให้ดีที่สุด  ขณะเดียวกันก็ไม่ควรโอ้อวดหรือคุยถึงความดีของตน  ยิ่งต้องเก็บซ่อนความเด่นบ่มเลี้ยงความซื่อ เป็นการอบรมจิตธรรมของตนเอง

เมื่อได้ยินความไม่ดีงามของผู้อื่น ก็ให้เหมือนพวกเราได้ยินชื่อของพ่อแม่ คือหูได้แต่ฟังเท่านั้น  แต่ปากพูดออกมาไม่ได้  เมื่อปากพูดไม่ได้แล้ว  ถ้าหูไม่ไปฟังเสียได้ก็จะยิ่งดี  เราต้องรู้ว่ามีใครบ้างที่ไม่มีข้อบกพร่อง ถ้าไปโพนทะนาข้อบกพร่องของผู้อื่นก็หลีกไม่ได้ที่จะถูกถ่ายทอดออกไป  เป็นการเสียหายชื่อเสียงของผู้อื่น  อาจทำให้เขาต้องตกต่ำ  บาปรรมอันนี้ใครกันต้องรับผิดชอบ  ถ้าไม่เป็นคนใจแคบชั่วช้าแล้วก็จะไม่ทำเรื่องแบบนี้แน่ !

สิ่งที่เนปมเด่นความดี  ก็ควรให้เหมือนนักธุรกิจที่มีปัญญาคือจะเก็บซ่อนทรัพย์สินไม่เปิดเผย  ถ้าหากเปิดเผยเงินทองให้คนรู้ก็จะมีอันตราย คนเราทุกคนก็ต้องมีจุดดีของเขา ที่สำคัญต้องรู้จักเก็บซ่อนความเด่น  บ่มเลี้ยงจิตธรรมเช่นนี้ทุกวันไปก็จะสำเร็จในจริยวัตรของตนได้  ท่านเหลาจื่อว่า “ผู้มีบุญอิ่ม  หน้าของเขาดูแล้วเหมือนคนเซ่อๆ”  ท่านจื่อซือก็กล่าวว่า “ธรรมเพื่อผู้อื่น บัณฑิตจะไม่เผย  เก็บความงามอยู่ภายใน  นานๆ ไป  สักวันหนึ่งฟ้าก็แจ้งชัด”  โอวาทของปราชญ์ชัดเจนออกอย่างนี้  เราควรนำมาพิจารณาให้ละเอียด !


นิทาน ๑ :   ในสมัยชุนชิว  ฮ่องเต้ฉู่จวงอ๋อง ประทานเลี้ยงอาหารค่ำแก่ขุนนาง งานเลี้ยงผ่านไปได้ครึ่งหนึ่ง เทียนไขก็ดับลงฉับพลัน มีขุนนางคนหนึ่งดื่มสุราจนเมา  ถือโอวาทที่มืด ดึงเสื้อของนางสนมถือโอกาสลวนลาม นางสนมของฉู่จวงอ๋อง รีบดึงสายรัดหมวกของขุนนางเอาไว้เป็นหลักฐาน  แล้วกราบทูลให้ท่านอ๋องทราบ  หลังจากท่านอ๋องทราบแล้วก็พูดกับสนมว่า “ข้าประทานเลี้ยงแก่ขุนนาง  ก็มุ่งหมายให้ขุนนางดื่มกินอย่างพอใจ  ตอนนี้มีคนดื่มจนเมา  ล่วงละเมิดความผิดขึ้น  ถ้าข้าเปิดเผยเรื่องลวนลามนางสนม  ก็จะเป็นการเปิดเผยความผิดของขุนนาง เรื่องเช่นนี้ ข้าก็จะไม่ทำเป็นอันขาด !”  ว่าแล้วท่านอ๋องก็สั่งให้จุดเทียนขึ้น พร้อมตรัสว่า “งานเลี้ยงคืนนี้ ถ้าไม่ดึงสายหมวกให้ขาดก็แสดงว่าคืนนี้พวกท่านไม่ปิติยินดี”  เมื่อทุกคนได้ยินแล้วต่างก็ดึงสายรัดหมวกขาดแล้วก็แยกย้ายกันกลับไป  ต่อมาก็สงครามกับเมื่องจิ๋น ท่านอ๋องถูกทหารคนหนึ่งไม่กลัวตาย ยอมถวายชีวิตเข้าต่อสู้กับทหารจิ๋น ทำให้ท่านอ๋องพ้นจากอันตรายมาได้  จากการสอบถามจึงรู้ว่า ทหารกล้าผู้นี้ก็คือ ทหารที่เมาสุราและลวนลามนางสนมจนถูกดึงสายรัดหมวกขาด !


คำคม :   คุณจางหงจิ้งกล่าวว่า  “อย่าหูเบาโยนทิ้งความดีของคนอย่าหูเบาเชื่อคำพูดของคน  อย่าหูเบาพอใจคน  อย่าหูเบาพูดความชั่วคน”  นี่คือปฏิบัติตนที่ดี  การเผยความไม่ดีของผู้อื่น  เป็นรากฐานของการโหดเหี้ยม


นิทาน ๒ :  โอวหยางซิว  ในสมัยซ่ง  เป็นผู้เขียนบทความยอดเยี่ยมในประวัติศาสตร์ถือเป็นผู้มีชื่อเสียงเรื่องวรรณกรรม แต่เขาต้อนรับแขกก็พูดเรื่องการเมือง  ไม่พูดเรื่องวรรณกรรม แต่เขาต้อนรับแขกก็พูดเรื่องการเมือง  ไม่พูดเรื่องวรรณกรรม  แต่นายฉายหย้างผู้รู้เรื่องการปกครอง  แต่พูดคุยกับแขกจะพูดเรื่องวรรณกรรม ไม่พูดการเมือง ทั้งสองเป็นผู้ซ่อนเร้นปมเด่นของตนดีมาก  ต่อหน้าผู้อื่นจะไม่อวดอ้างความดีของตน  เพราะฉะนั้น จึงเป็นผู้มีชื่อเสียง มีตำแหน่งข้าราชการก็สูงมาก


สรุป : จากเรื่องเหล่านี้จะเห็นได้ว่า  ความสามารถสู้วิชาการไม่ได้  ศักดิ์ศรีสู้คุณธรรมไม่ได้  วรรณกรรมสู้การปฏิบัติมิตรไมตรีไม่ได้  คนสมัยก่อน  ก็เอาเหตุผลเหล่านี้พูดไว้ชัดเจนแล้ว  เพราะฉะนั้น  การอวดความดีของตน  บัณฑิตจะไม่กระทำ แต่คนในสมัยนี้  มักพูดว่า “น่าภาคภูมิ”  ติดปาก ทุกคนฟังจนเป็นคำธรรมดาไป  พวกเขาไม่ถือเป็นเรื่องผิด  ต้องรู้ว่าเป็นการกวักหาความสูญเสีย  ขาดผลประโยชน์มีแต่ความนอบน้อมคนเท่านั้น  จึงจะได้รับผลบุญตอบสนองที่แท้จริง



คัมภีร์ :  หยุดยั้งเรื่องชั่วเผยแผ่เรื่องดี


อธิบาย :  เราควรห้ามปรามหยุดยั้งคนไปทำชั่ว  เพื่อไม่ให้เขาแปรเปลี่ยนไปเป็นอันธพาล  ผู้อื่นก็จะไม่ต้องรับการทำร้ายจากเขาขณะเดียวกันก็ต้องสรรเสริญสนับสนุนให้คนทำดี  เพื่อให้เขาทำดีไม่เบื่อ นอกนี้แล้วคนอื่นก็พลอยถูกชักนำไปในทางดีด้วย  คนที่ทำชั่ว  ไม่ใช่จิตวิสัยของเขาทำขึ่นมาแต่แรก  แต่ถ้าคนๆ หนึ่งทำชั่วจนเคยตัวชั่วขนาดหนัก  ก็ฉุดช่วยลำบาก  หรือว่าทั้งๆ รที่รู้ว่าชั่วก็ยังทำ  หรือว่าไม่รู้หรือเข้าใจผิด ในที่สุดก็สร้างเวรกรรมท่วมเมือง  ถ้าเรามาวิเคราะห์กันตอนเริ่มต้น  ก็เกิดจากความคิดที่ผิดพลาดไป อย่างไรเสีย ทุกคนก็มีจิตสำนึกที่ดี  ข่ณะที่เขาเริ่มต้นทำชั่ว  ความคิดชั่วเพิ่งจะเริ่มต้นใหม่ๆ หากเราพร่ำพูดตักเตือนชักจูงเขา ปลุกให้รู้ตัว  และห้ามปรามเขาจนถึงที่สุด  ถ้าคนนั้นไม่มีจิตสำนึกดี  ได้ผ่านการตักเตือนห้ามปรามขนาดนี้แล้ว  เขาจะไม่สามารถแก้ไขความผิดไปสู่ความดีหรือ  ถ้าหากโชคไม่ดี  เขาได้ทำผิดมหันต์ไปแล้ว  หากเราสามารถกล่อมเกลาเขาอย่างจริงใจ ห้ามปรามเขา  เช่นนี้แล้วใจที่ดีของเขาจะไม่เผยออกมาหรือ  อาจจะตัดสินแก้ไขชำระจิตทันทีก็ได้  สำนึกบาปชำระล้างวิบากกรรมที่เขาทำมาแต่แรกก็ได้นะ  ในเมื่อคนไม่ใช่ปราชญ์อริยะ  จะสามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างดีไปหมดได้  ถ้าหากเขามีความประพฤติหรือคำพูดที่พอจะรับฟังได้  เราก็ควรที่จะยกย่องสรรเสริญเขาทันที  ถ้าเขาเป็นคนที่ทำดีอยู่แล้ว  ความศรัทธาของเขาก็จะมั่นคงก็ จะขยันทำดีเพิ่มขึ้น  ถ้าเป็นคนที่ยังไม่เคยทำดี  พอได้ยินเราชมเชยเขา เขาก็จะชื่นชมเอาอย่างตัดสินใจไปปฏิบัติ  อย่างนี้แล้ว  จะไม่ใช่คล้อยตามชะตาฟ้าหรอกหรือ

ชาวเต๋าพูดว่า “หยุดชั่วเผยดี”  ชาวพุทธว่า “หยุดชั่วทำดี”  ชาวหยูว่า “เก็บชั่วเผยดี”  หลักธรรมทั้ง 3 ศาสนาเหมือนกัน พูดออกจากปากเดียวกัน ทำให้รู้ว่า กายใจของอริยเจ้าเป็นญาณที่บริสุทธิ์โปร่งใส ขอเพียงเป็นความหวังแค่เส้นใยเล็กๆ ก็จะไม่ปล่อยให้ไปดุจกระจกใสส่องของ ส่องทันทีก็เห็นภาพออกมาทันที การที่สามารถเห็นภาพทันทีก็แสดงว่าเราสามารถกล่อมเกลาแปรเปลี่ยนได้ทันที  เพราะฉะนั้น เมื่ออริยเจ้าเห็นความชั่วก็จะสามารถเอาความชั่วออกให้ละลายหายทันที  พอเห็นความดีก็จะสามารถขยายให้สว่างได้ทันที  เพราะฉะนั้นอริยเจ้าที่หยุดยั้งเรื่องชั่วเผยแผ่เรื่องดี  ก็คือการฟื้นฟูองค์จิตที่สมบูรณ์อยู่แล้วของเวไนยสัตว์  ให้กลับคืนมาใหม่นั่นเอง


นิทาน : จากโอวาทสี่ของเหลี่ยวฝาน  พูดถึงกษัติย์ซุนก่อนที่ยังไม่ได้เป็นกษัตริย์นั้น  ได้เห็นชาวประมงที่หนุ่มแข็งแรงข้างทะเลสาบเหล่ยเจ้อ  พวกเขาจะลงไปจับปลาในน้ำลึก  ส่วนชาวประมงที่แก่แล้วก็จะจับปลาที่น้ำตื้น ที่กระแสน้ำไหลเชี่ยว  ชาวประมงที่หนุ่มก็จะยึดครองพื้นที่ๆ ดีไป กษัตริย์ซุ่นเห็นแล้ว  ในใจรู้สึกเวทนาสงสารพวเขา  จึงคิดหาวิธี  กษัตริย์ซุ่นก็ลงไปจับปลาด้วย  เห็นคนที่ชอบแย่งชิง ก็จะปิดบังความชั่วของเขาไว้  ไม่พูดออกไป เมื่อเห็นคนที่อ่อนน้อมผ่อนปรน  ก็จะยกย่องชมเชยพวกเขาไปทั่ว  เอาพวกเขามาเป็นแบบอย่าง  ฝึกความอ่อนน้อมผ่อนปรนของพวกเขา  ทำอยู่แบบนี้เป็นเวลาหนึ่งปี พวกเขาก็จะผ่อนปรนแบ่งปันบริเวณน้ำลึกที่มีปลามากซึ่งกันและกดัน  นิทานของกษัตริย์ซุ่น เพียงเอาเป็นตัวอย่างตักเตือนอบรมคน  อย่าเข้าใจผิดว่าส่งเสริมให้คนไปจับปลา  ต้องรู้ว่าการจับปลาก็มีบาปของการฆ่าสัตว์ อย่าได้ไปทำเป็นอันขาด  จะเห็นว่ากษัตริย์ซุ่นมีความฉลาด  เข้าใจก็ยังไม่ยอมใช้แค่คำพูดไปกล่อมเกลาเขา  ตนเองจะต้องไปคลุกคลีด้วย  ต้องรู้ว่ากษัตริย์ซุ่นไม่ใช้วาจากกล่อมเกลาคนแต่ตนเองทำเป็นตัวอย่าง  ทำให้คนเห็นแล้วรู้สึกละอาย  แล้วแก้ไขความเห็นแก่ตัว  นี่คือบุคคลผู้มีจิตสำนึกดี ใช้ใจอดทนที่แท้จริง


คำคม :  “หยุดยั้งความชั่วตนได้  ก็ไปหยุดยั้งความชั่วผู้อื่นได้ เผยแผ่เรื่องดีผู้อื่นได้  ภายหลังก็สามารถตักเตือนคนให้ทำดีได้”



คัมภีร์ :  ให้มากรับน้อย


อธิบาย :   ไม่ว่าพี่น้องที่แบ่งสมบัติ  หรือเพื่อนที่ติดต่อการเงินกันล้วนต้องรู้จักให้และผ่อนปรนทั้งนั้น  เอาส่วนที่มากให้แก่พี่น้องหรือเพื่อน  ตนเองรับแต่ส่วนเล็ก ยอมให้คนอื่นได้เปรียบ  สะดวกสบายตนเองยอมเสียเปรียบขาดทุน

ระหว่างพี่น้องมีความเกี่ยวข้องทางสายโลหิต  อันเป็นความสัมพันธ์ธรรมชาติ  เงินทองเป็นของนอกกาย  จึงควรที่จะให้ได้ผ่อนปรนได้  พุทธองค์ก็เคยตรัสไว้ “คนที่หวังมาก  เพราะเขาโลภในทรัพย์สมบัติมาก เพราะฉะนั้น ความทุกข์และความกังวลของเขา  เมื่อเทียบกับคนอื่นก็จะมาก  ส่วนคนที่หวังน้อย  ตลอดจนคนที่ไม่หวัง ก็ไม่โลภอยากได้อะไร  ก็จะไม่มีทุกข์กังวลมากมายนัก  ใครก็ตามที่คิดจะพ้นห่างจากทุกข์กังวล ต้องรู้จักพอ ก็จะมีความมั่นคงในความร่ำรวยสงบสุข  คนที่รู้จักพอถึงแม้จะนอนอยู่บนพื้นดิน  เขาก็สุขใจอย่างยิ่ง  คนที่ไม่รู้จักพอ  ถึงแม้เขาจะอยู่บนตึกระฟ้าก็ไม่สบายใจไม่มีความสุข”  เช่นนี้ก็พอจะรู้ว่า หากคนสามารถเป็นผู้ให้มากรับน้อยได้แล้ว  ใจเขาก็จะราบเรียบเอง  สภาวะอะไรภายนอกก็ไม่สามารถที่จะรบกวนใจเขาได้  เพราะว่าเขารู้จักพอตลอดเวลาจึงสุขเสมอ !

คุณอู่เถี่ยเจียงพูดว่า “เงินทองเป็นมูลอากาศของโลก  คนที่อยู่บนโลกไม่มีเงินทองก็อยู่ไม่ได้  ดังนั้นโลกนี้จึงไม่มีคนที่ไม่ชอบเงินและก็ไม่มีวันไหนที่ไม่ใช้เงิน เพราะฉะนั้นเงินจึงเป็นของที่ขาดไม่ได้ แต่การมีเงินของแต่ละคนมีกำหนด  คิดอย่างได้มากอีกหน่อยก็เป็นไปไม่ได้ และการใช้เงินของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน  คนที่สุรุ่ยสุร่ายเวลาหยิบก็เป็นพัน  คนตระหนี่บาทหนึ่งก็หยิบยาก  คนที่สุจริตบริสุทธิ์กลางคืนดึกๆ มีคนเอาเงินมาให้โดยไม่มีเหตุ  เขาก็จะไม่รับเป็นอันขาด  คนโลภมีอิทธิพลกลางวันแสกๆ ก็กล้าที่จะไปแย่งชิงเอามา  ควรต้องรู้ว่าคนตระหนี่ ความรู้น้อย  เงินแต่ละบาทเหมือนมณีมีค่า ที่ผึ้งที่เฝ้าน้ำผึ้ง เหมือนเด็กที่หวงขนมจะไม่ยอมแบ่งให้ใคร แต่ทว่านี่ก็ยังเป็นสิ่งที่เขารักษาส่วนที่เขามี  เพียงแต่ทำใ ห้คนนอื่นเบื่อหน่ายเท่านั้นแต่ฟ้าเบื้องบนก็ไม่โกรธเขา เพราะเขาตระหนี่หรอก  แต่คนที่เป็นอันธพาลโลภเอาของคนอื่น เขาคิดจะเอาส่วนที่ไม่ใช่เป็นของเขาทั้งยังโลภไม่เบื่อ ก็เหมือนปลาที่กลื่นเรือ  งูกลืนช้างที่โลภเกินไป  พี่น้องแย่งชิงกัน  เพื่อนชิงแค้นกัน  โจรฆ่าคนชิงทรัพย์ เอาตำแหน่งไม่ชอบธรรม กังฉินขายชาติ  เหล่านี้ล้วนเดจากความโลภสร้างขึ้น  เพราะฉะนั้น ท่านไท่ซั่ง จึงตักเตือถึงภัยเคราะห์ที่มาจากความโลภสอนไม่ให้เอาเงินทองโดยไม่ถูกต้อง เป็นเรื่องที่ถูกต้อง  แต่ถ้าหากสอนคนไม่ให้หาเงินเลยนิซิคงไม่ได้  เพราะฉะนั้น ท่านไท่ซั่งจึงพูดคำว่า “มากกับน้อย”  สามารถทำให้คนสามารถได้ตามส่วนที่ควรได้ด้วยวิธีที่ถูกต้อง  ตัวเลขมากน้อยก็มิใช่เป็นการตายตัว  คนที่จนทองหนึ่งตำลึงก็ถือว่าไม่น้อย  สำหรับคนที่มีเงิน หมื่นตำลึงทองก็ไม่ใช่ของมาก  สำหรับคนที่สะอาดบริสุทธิ์  เขาควรได้หนึ่งร้อยแต่กลับได้แค่สิบ  เขาก็จะไม่รู้สึกน้อย  คนที่โลภ เขาควรได้หนึ่งร้อยแต่กลับได้ถึงพันเขาก็ยังไม่รุ้สึกว่ามาก  นอกเสียจากคนที่เป็นธรรม  ปริมาณที่ตนเองควรจะได้แล้ว เวลาไปเอาก็จะอาไม่เกินส่วนปริมาณที่ควรจะได้ นี่ก็คือวิธีการที่เอาน้อย ถึงอย่างไรก็ตาม  ใจคนที่ป่วยมีน้อยอยากได้มาก  อันนี้เป็นธรรมดาของคน  ถ้าให้เป็นไปตามเหตุปัจจัยไม่ไปแย่งชิงก็ไม่เป็นการสร้างบาป แต่ถ้าหากเห็นว่ามากแล้วกับให้ไปนี่ซิ  จะไม่ขัดอารมณ์ไปหน่อยหรือ

ควรรู้ว่า  เงินทองที่ได้มามีเหตุปัจจัยที่ไม่เหมือนกัน  เงินที่อยู่เฉพาะหน้าที่จะเอา  ก็ไม่แน่ว่าในดวงชะตาเราควรจะได้หรือไม่อย่างไรก็ตาม ในทางลึกลับ จำนวนที่เราจะมี เราก็ไม่สามารถรู้ได้ และก็ไม่มีปัญญาตรวจสอบ แต่ถ้าไปเอาเงินที่ดวงชะตาของเราไม่มีก็หมือนไปเอาเหล้าพิษหรือเนื้อเน่ามากิน  ซึ่งก็กินไม่ได้ไม่มีสุขอยู่แล้วสู้ให้แก่ผู้อื่นไปมิปลอดภัยกว่าหรอกหรือ ถ้าหากเป็นการให้ในส่วนที่ดวงชะตามีอยู่ก็ ไม่เป็นไร  เพราะมันเป็นการขจัดบาปที่มีอยู่  เงินทีให้ไปโดยผิดพลาดทั้งๆ ที่ในดวงชะตาเรามีอยู่ก็ไม่เป็นไร  เพราะเงินที่ให้ไปอาจได้กลับมาจากทางอื่น

ขณะมองเห็นเงินทอง ต้องมีความอดทน  ไม่ใช่เห็นเงินก็ตาโตแล้วทำส่งเดช  สำหรับคนร่ำรวยก็พอทำได้ง่าย  ถ้าเป็นคนจนอาจทำได้ยากกว่า  ถ้ารู้ว่าทำใจได้ยาก  แต่ก็อดทนทำจนได้  อันนี้เทพเจ้าที่ตรวจสอบเราอยู่ก็คงไม่ปล่อยตามเลย  แม้ชิวตกำลังลำบาก  ก็จะบันดาลให้เกิดเรื่องที่ช่วยให้ชีวิตเราอยู่รอดได้  หลักธรรมเหล่านี้ต้องเชื่อว่าเป็นจริง  รักษาสติเอาไว้  เช่นนี้ วิถีแห่งการรับน้อยก็คือ  วิถีแหงการ่ำรวยนั่นเอง

นิทาน ๑  :  ในสมัยซ่ง มีคนหนึ่งชื่อ อวี่เจ๋อ เขากับคุณอาแบ่งมรดกเขาเรียกคุณอาให้มาเลือกเอาเสียก่อน หลังจากคุณอาเลือกไปหมดแล้วตนเองค่อยเอาไว้ หลังจากคุณอาเลือกแล้ว  ที่เหลือเอาไว้มีหนังสือลังหนึ่งกับบ้านที่เก่ารั่วแตกมีห้องอยู่สองห้อง  อวี่เจ๋อก็รับไว้ด้วยความสบาย ในใจไม่คิดโกรธหรือเสียใจแต่น้อย


นิทาน ๒ :  ที่เมืองฉือชี มีนักเรียนอยู่ 2 คน  เป็นเพื่อนกัน ต่อมานักเรียนเอ  ก็ได้งานสอนหนังสือ แต่ละปีจะได้เงินค่าตอบแทน 9 ตำลึงทอง ส่วนนักเรียนบี ก็ได้ที่สอนหนังสือเหมือนกัน แต่ได้ค่าตอบแทนแค่ 6 ตำลึงทองเท่านั้น นายเอพูดด้วยความพอใจว่า “ปีหน้าเราสองคนก็ไม่ต้องห่วงการดำรงชีวิตแล้ว”  นายบีพูดว่า “พี่ท่านมีแค่ภรรยาเท่านั้น เงิน 9 ตำลึงเหลือใช้ แต่ฉันยังมีพ่อแม่ต้องเลี้ยงดู เงิน 6 ตำลึงไม่พอใช้จ่าย” นายเอได้ยินแล้วก็พูดว่า “ถ้าน้องเรามีความลำบาก  ฉันก็ให้ที่สอนหนังสือแก่เธอ  ส่วนฉันก็ไปสอนที่ที่ของเธอก็แล้วกัน”  เมื่อนายเอมาถึงที่สอน พบว่าใต้เตียงมีหนังสือขาดอยู่เล่มหนึ่ง เขียนบนปกว่า  ตำรับยาใช้ภายนอก นักเรียนบอกว่า ครูคนก่อนทิ้งเอาไว้  ในช่วงหน้าหนาวเป็นช่วงปิดเทอม กลับไปพักผ่อนที่บ้าน ก็ได้เห็นคนใช้คนหนึ่งใส่เสื้อผ้าดีเดินเข้ามาหา เขามีอาการกระสับกระส่ายถามว่า “ที่นี่มีหมอภายนอกไหม”  พูดต่อว่า “นายของเข้าจากฮกเกี้ยน จะไปที่ชานตงเพื่อรับตำแหน่ง ระหว่างทางเกิดเป็นฝีที่หลัง  เจ็บปวดมาก ทำท่าจะตาย อาการแบบนี้สามวันแล้ว” นายเอนึกถึงตำรับยาก็ให้ตรงกับอาการของโรค  ดังนั้นเขาจึงตามคนใช้ไปที่พักคนป่วย  ใช้สมุนไพรทำตามตำรับยาบอก ฝีที่หลังของข้าราชการผู้นั้นก็หาย  ผู้ป่วยดีใจมากเอาเงินให้เขาหนึ่งร้อยตำลึงตอบแทน นายเอก็คุยกับผู้ป่วยตลอดจนถึงการยอมแลกเปลี่ยนที่สอนแก่เพื่อนไปดังนั้นจึงได้รับยานี้มา  ผู้ป่วยก็ชมเชยสรรเสริญเขา พอดีนายอำเภอฉือชี เป็นหลานของผู้ป่วย  จึงช่วยเหลือนายเอ  ให้เขาไปเรียนต่อที่อำเภอ




คัมภีร์ :  รับอัปยศไม่แค้น


อธิบาย :  ถึงแม้จะได้รับความอัปยศจากคนอื่น ก็ควรที่จะโทษตนเองที่มีบุญน้อยกุศลเบาบาง  ไม่สามารถทำให้คนเขาเกรงใจ ด้วยเหตุนี้ควรที่จะสั่งสมบุญกุศล จะไปแค้นเคืองผู้อื่นไม่ได้

ต้องรู้ว่า เมื่อได้รับความอัปยศจากผู้อื่น เราต้องรีบกลับมาสำรวจตนเอง เป็นความผิดของเราเองใช่หรือไม่ ถ้าหากใช่ก็เป็นเหตุผลพอที่คนอื่นจะทำอัปยศเรา เราควรยอมรับโดยดี ถ้าความชั่วอยู่ที่ผู้อื่น การทำอัปยศก็ไม่สมควร  ถึงแม้จะอับอายมาถึงตนก็เหมือนไม่มีความอัปยศ ไม่เพียงไม่ควรโกรธแค้นเพราะไม่มีที่จะแค้น  ตั้งแต่โบราณมา คนที่มีปัญญามีความกล้าหาญ ก็สามารถอดทนต่อความละอายเล็กๆ นี้ได้ จึงจะสามารถทำงานใหญ่ให้สำเร็จได้  คนที่มีใจคับแคบความรู้น้อยก็จะไม่สามารถทำงานใหญ่ให้สำเร็จได้  คนที่มีใจคับแคบความรู้น้อยก็จะไม่สามารถที่จะเข้าใจหลักธรรมนี้ได้

ในสมัยซ่ง นายหยวนโม่วอิ๋ว  เป็นชาวอำเภอติงหู มณฑลเจ๋อเจียง เขาสอนลูกหลานเขาว่า “คนที่ไม่มีประสบการณ์ต่อความอดทน  ฝึกฝนมาก่อน  ก็จะไม่รู้จักคำว่า อดทน  นี้มีความยากลำบากแค่ไหน  ถ้าในใจมีความดีความชั่วต่อสู้กันแล้ว  ก็จะไม่เข้าใจได้ความลึกซึ้งของตัวอักษรอดทนล้ำลึกนัก  คนเราถ้าไม่สามารถอดทนต่ออัปยศได้  ถ้าจะเนคนมีใจดี  แต่พอถูกคนกระทุ้งก็ดีแตก  พอถูกคนหักหน้าก็ร่วงหล่นแล้ว  เพราะฉะนั้นท่านเมิ่งจื่อจึงกล่าวว่า “เมื่อเบื้องบนจะให้ภาระหนักแก่ใครแบกรับ ก็ต้องให้เขาได้ฝึกฝนใจเสียก่อน ให้ฝึกฝนใจที่เคลื่อนไหวว่ามีบารมีของจิตขันติหรือไม่ นั่นคือต้องการให้คนพิจารณาด่านอันนี้  ส่วนใหญ่แล้ว  การให้ทานสงเคราะห์ผู้อื่น ถ้าไม่ระวังก็จะได้รับการโกรธแค้นจากบางคน การคิดแทนคนอื่นก็ไม่ต้องหลบหลีกการโกรธแค้นกล่าวโทษจากคนอื่น  ต้องยอมรับการกล่าวโทษ  ทำง่านต้องขยันชี้นำอบรมโดยไม่หนีการนินทาว่าร้ายของใคร ต้องจริงใจอภัยคนอื่น  หรือได้รับการเยาะเย้นถากถางจากคนอื่น วิสัยอันธพาลต่างๆ เหล่านี้ ล้วนติดมากับใจที่ดี การกระทำที่ดีหากไม่สามารถเข้าใจหลักธรรมนี้ ก็ไม่ใช่คนดีที่เพียงพอแท้จริง”


นิทาน ๑ :   ในสมัยซ่ง เฉินปู่ปี้ สอนลูกของเขาว่า “ตัวอักษรอดทนนี้อัศจรรย์นัก  คนถ้าหากมีความสุจริต  สะอาด  และประหยัด ถ้ามีความอดทนเพิ่มอีกอย่าง ก็ไม่มีเรื่องอะไรที่ทำไม่ได้”  ในสมัยที่เฉินปู่ปี้ยังหนุ่ม มีคนด่าเขา คนที่ยืนอยู่ข้างๆ พูดกับเขาว่า “นี่ ! มีคนกำลังด่าเจ้าอยู่”  เขาตอบว่า  “เขาคงกำลังด่าใครอยู่มั้ง”  คนข้างๆ ก็พูดว่า   “เขาออกชื่อออกแซ่ของเจ้าอยู่นา”  เขาตอบว่า  “โลกนี้กว้างใหญ่คนที่มีชื่อแซ่เหมือนกันจะไม่มีหรือ  เขาไม่ได้ด่าฉันหรอก”  ภายหลังคนที่ด่าเฉินปู่ปี้   ได้ยินแล้วก็รู้สึกละอายมาก

คุณหยวนกวงชง  กล่าวว่า “อักษรอดทนนี้ยากที่สุด”  คนที่สามารถอดทนได้  คุณธรรมและใจกว้างของเขาต้องใหญ่มาก  แต่เมื่อถึงจุดที่เขาอดทนต่อไปไม่ได้  ก็เป็นเวลาที่นิสัยหยิ่ง่ยโสในใจเขาเพิ่มพูนจนล้นออกมา”  ก่อนนี้มีกลอนบทหนึ่งว่า  “ตอนหนุ่มลอดใต้ขาได้ไม่ขัดขืน  พ่อเฒ่าข้างสะพานสะดุ้งไม่สงบ ชีวิตหากมีมองตอนชรา ที่ไอ๋อินลดบทความสำเร็จได้”  กลอนบทนี้พูดได้ดีมาก  ในสมัยฮั่น ขุนพลหันซิ้น  สมัยหนุ่มเขามีความอดทนมาก  ยอมรับความอัปยศ  ยอมลอดใต้ขาคน  ต่อมาเขาประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่ ฮ่องเต้ฮั้นเกาจง สถาปนา

ให้เขาเป็นเจ้าฉีอ๋อง แต่ภายหลังการสำเร็จแล้วก็หยิ่งทะนง  ไม่สามารถอดทนอะไรได้ ในที่สุด  เพราะไปทำอัปยศแก่โจวฝา  และพันหุ้ยจึงถูกฆ่า นี่ก็เหมือนการดื่มสุรา  ดื่มจนเต็มแล้วก็ดื่มไม่ได้อีก


นิทาน ๒ :  สมัยก่อนที่เมืองเจียงอิน  มีเศรษฐีเซี่ยคนหนึ่ง  วันหนึ่งเขากำลังเล่นหมากอยู่กับแขก  ทันใดก็มีคนถลันเข้ามาหาเขาด้วยความโกรธ  พูดว่า  “คนแซ่เซี่ย  ข้าเป็นหนี้เจ้าแค่ดอกเบี้ 2 ตำลึง เท่านั้น  ทำไมจึงส่งคนมากดดันทวงหนี้ทุกวัน”  ไม่ทันที่คุณเซี่ยจะตอบเขาก็ด่าเอาๆ ทั้งผลักโต๊ะล้ม  หมากบนกระดานหกหมด  คุณเซี่ยก็หัวเราะขึ้น  “เจ้ามาบอกข้าด้วยจุดมุ่งหมายเรื่องนี้หรือ  ก็ยกเลิกหนี้ 2 ตำลึงให้ก็แล้วกัน”  เสร็จแล้วก็เอาพู่กันเขียนหลักฐานยกหนี้ 2 ตำลึงให้ เขาได้หลักฐานแล้วขอบใจรีบกลับออกไป  แขกของเศรษฐีเซี่ยเห็นเข้ากับตาเช่นนี้  รู้สึกชื่นชมยกย่องว่า “คุณเซี่ยช่างเป็นผู้เจริญธรรมที่แท้จริง”  คุณเซี่ยกล่าวว่า “ความอดทนเป็นประตูวิเศษที่สุด  ใช้ปฏิบัติต่อคน  หากมีคนกำลังขวางใส่เรา ก็เหมือนวิ่งเข้าไปในดงหนาม ตอนนี้ต้องเดินช้าๆ  ค่อยเอาหนามที่ขวา

งตัวดึงออกไปเท่านั้น  เจ้าหนามนี้จะสามารถทำให้ข้าโกรธได้หรือ  ก็เจ้าคนนี้หน้าตาโหดเหี้ยม พูดจาก้าวร้าว  เขาตั้งใจมาเล่นงานเรา  ถ้าเราไปทำให้เขาโกรธก็จะเกิดเรื่อง เพราะฉะนั้น จึงอภัยเลิกเงินดอกเบี้ยไ”  พอตกตอนเย็นก็ได้ข่าวว่า  คนนี้ตายอยู่หน้าห้องน้ำในบ้าน  ถามได้ความว่า เพราะเขาถูกกดดัน  เร่งรัดให้ใช้หนี้  ไม่มีทางออก  เพราะฉะนั้นจึงกินยาพิษเข้าไปก่อน  เพื่อที่จะมาใส่ร้ายคุณเซี่ย  แต่กลับรู้สึกขอบคุณที่คุณเซี่ยลดหนี้ให้  จึงอดไม่ได้ที่จะไปใส่ร้ายคุณเซี่ย  จึงรีบกลับบ้าน  จะเอาอุจจาระสดมาแก้พิษ  แต่พิษกำเริบเสียก่อน  มาไม่ทันถอนพิษ  คุณเซี่ยฟังแล้วก็ไหว้ฟ้า  ขอบคุณ  ทุกคนก็นับถือยกย่องคุณเซี่ยอย่างยิ่ง

ถ้าปกติคุณเซี่ยไม่บำเพ็ญบ่มเลี้ยงจิตยามปกติแล้ว  การจะละลายความโกรธในใจนั้น ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ  จะเก็บซ่อนอดทนอยู่หรือ เพราะฉะนั้น การอัปยศค่อการบำเพ็ญตนที่สำคัญและเป็นเคล็ดลับในการรักษาความร่ำรวย ก็คือการรู้จักฝึกกินความขาดทุนละ !

นิทาน ๓ :  ในนิพพานสูตรว่า “สมัยก่อน มีคนหนึ่งกล่าวสรรเสริญถึงพุทธลักษณะว่า เป็นมีบุญญาธิการมาก”  ก็มีคนถามเขาว่า “จะเห็นได้อย่างไร”  เขาว่า “ตอนที่พุทธองค์กำลังวัยฉกรรจ์ บารมีของพื้นจิตก็บรรลุถึงขั้นที่ไฟสะอาดใสแล้ว  ในใจไม่มีไฟราคะแม้แต่น้อย  ถูกคนตีก็ไม่เกิดโกรธแค้น ถูกคนด่าก็ไม่มีโทสะ  นี่มิใช่ผู้มีบุญญาธิการมากหรอหรือ แล้วจะเป็นอย่างไร”

ในปัจจุบันกำลังเผชิญหน้ากับอันธพาลนักเลง ก็พูดว่า “โอ้ ! เขามาส่งเสริมบุญบารมีของฉันนะ !  ฉันควรรู้สึกโชคดีและมีเกียรติจึงจะถูกนะ !”  ถ้าทำได้ดังคำพูด ในขณะที่ฉันสามารถแก้แค้นเขาได้กลับไม่ถือสาเขา  ถ้างั้นเขาก็จะถูกฉันอภัยให้ถูกกล่อมเกลาจนบรรลุรู้ได้ซินะ !


คำคม  :   เจิ้นซวงพูดว่า  “เงียบๆๆ เทพเซียนเหลือคณานับเป็นตรงนี้ปล่อยๆๆ  ภัยเคราะห์เป็นหมื่นละลายทันที ทนๆ ๆ เจ้ากรรมนายเวรหลบซ่อนตรงนี้  หยุดๆ ๆ  เกียรติยศทั้งโลกไม่อิสระเสรี”

 


 

คัมภีร์ :   รับความรักดุจความหวาดกลัว

อธิบาย :  ขณะที่ได้รับความรักความชอบให้เลื่อนยศเป็นรางวัลนั้นไม่อาจแบกรับไม่ได้  หากแต่ให้คิดหวาดหวั่นเอาไว้  กลัวว่าตนเองบุญบารมีน้อย  บุญตอบสนองไม่พอ  ไม่สามารถรักษาความรักความชอบนี้ได้ยาวนาน

ใครคนหนึ่งเมื่อได้รับเกียรติความรักใคร่  ถึงแม้เขามีส่วนควรได้ก็ตาม แต่ก็ควรรักษาส่วนนั้นให้ดีรู้จักพอ ให้รู้สึกหวาดกลัวที่ได้รับความรักใคร่นั้น  เพราะว่า “บุญเอยวาสนาเอย ด้วยเคราะห์นั้นถูกสยบไว้”  เป็นโอวาทโบราณ คนส่วนใหญ่ตอนมีบุญวาสนาก็ได้ใจจนลืมตน  เพราะว่าสาเหตุตอนนี้ภัยเคราะห์ถูกกลบไว้ให้อยู่ห่างๆ  ด้วยขณะนี้ดวงกำลังขึ้นเหมือนพระจันทร์เต็มดวง  จากนั้นดวงจันทร์ก็จะค่อยๆ แหว่งลง เป็นสัจธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าไม่รู้จักหวาดกลัว  วันใดที่ความรักใคร่หมดไป  ภัยเคราะห์ที่กลบห่างก็จะผุดขึ้น  เพราะฉะนั้น เมื่อได้รับเกียรติยศแล้ว  ก็ควรที่จะสั่งสมบุญกุศลให้มากยิ่งๆ ขึ้น  ขยันตอบแทนพระคุณ อย่าได้ขี้เกียจแม้แต่น้อย


นิทาน ๑ :  กษัตริย์โจวเฉินอ๋อง  ยกเมืองหลูให้ลูกชายของโจวกงชื่อ ป๋อฉิน โจวกงก็บอกกับป๋อฉินว่า “ลูกเอ๋ย !  เบื้องบนยกเมืองหลูให้เจ้า  เจ้าอย่าได้หยิ่งทะนงเพราะเหตุนี้นะ  ข้าได้ฟังมาว่า “ผู้มีคุณธรรมกว้างใหญ่  สามารถเป็นที่เคารพของคน  ก็จะสามารถรักษาเกียรติยศได้ยาวนาน  แผ่นดินกว้างทรพัยากรอุดม  ด้วยสามารถรักษาความประหยัด  เขาก็สามารถมีความสงบสุขแน่นอน  ผู้มีตำแหน่งสูงมีอำนาจมาก  ถ้าสามารถรักษาความนอบน้อมถ่อมตนเขาก็สามารถเป็นผู้สูงศักดิ์  ประเทศหนึ่งมีประชากรอาวุธเข้มแข็ง  หากสามารถรักษาให้เป็นที่เคารพเกรงกลัวและไม่ไปรุกรานประเทศอื่น ประเทศนี้ก็สามารถมีชัยชนะอยู่ได้  ถ้าหากมีคนที่มีปัญญา มีระดับความฉลาดสูง  หากสามารถรักษาความเป็นมหาปัญญาดุจผู้โง่เขลาได้  เขาก็จะได้ผลประโยชน์มาก  คนที่มีวิชาความรู้มาก  ถ้าสามารถรักษาความรู้ของตน  ทำตัวเหมือนผู้มีความรู้น้อย  ดังนั้น  ความรู้ของเขาก็จะเป็นผู้มีความรู้มากอย่างแท้จริง  ทั้งหมดนี้เรียกว่า 6 รักษา  เป็นกุศลนอบน้อมถ่อมตน  ต้องรู้จักหลักธรรมฟ้า  ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม หากยังมีความหยิ่งยโสเต็มที่แล้ว  ฟ้าก็จะให้เขาขาดทุนสูญเสีย  ถ้าผู้ที่นอบน้อมถ่อมตน  ฟ้าก็จะให้เขาได้รับประโยชน์  หลักธรรมของแผ่นดิน  ไม่ว่าอย่างไร  หากหยิ่งยโสเต็มปิ่มแล้ว ก็จะทำให้เขาแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ให้เขาได้เต็มปิ่มได้ตลอดกาล  แต่ที่ถ่อมตนก็จะให้เขาชุ่มฉ่ำไม่แห้งเฉาอย่างเช่นในที่ต่ำเมื่อน้ำไหลผ่าน  ก็สามารถแก้ไขความขาดแคลนได้ ส่วนหลักธรรมมนุษย์  ก็จะเกลียดพวกที่หยิ่งยโสวางกล้าม  และชอบผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตน  เจ้าต้องจดจำให้ดีๆ  อย่าเห็นว่าได้รับพระมหากรุณาโปรดให้ครองเมืองหลูแล้ว  ก็ให้รู้สึกหยิ่งยโส  ผู้เรียนหากสามารถเข้าใจเรื่องที่ท่านโจวกงให้โอวาทแก่ป๋อฉินแล้ว  ถ้าใจไม่มีอารมณ์ของความหยิ่งยโสแล้ว  หากได้รับความรักใคร่  ก็จะเกิดความรู้สึกคิดหวาดหวั่นขึ้นได้


นิทาน ๒ :   นายเฉินเหวินเปิ่น  ในสมัยถัง  ขณะที่เขาได้รับแต่งตั้งตำแหน่งตงซู  ไม่เพียงเขาไม่ดีใจ  เขารู้สึกเป็นกังวล  มารดาเขาเห็นสีหน้าลูกชายแล้วถามว่า  “ราชสำนักงานหนักหรือ ทำไมจึงไม่พอใจละ”  เหวินเปิ่นตอบว่า   “ลูกไม่ใช่ลูกหม้อของราชสำนัก  และก็ไม่ได้เป็นพระญาติ แต่ตอนนี้ได้รับพระกรุณาจากราชสำนัก โดยเฉพาะตำแหน่งตงซูเป็นตำแหน่งสูงมาก  ภาระหน้าที่ก็หนัก  เพราะฉะนั้นฉันจึงรู้สึกเป็นกังวลและหวาดกลัว”  เหวินเปิ่นพูดกับแขกที่มาแสดงความยินดีว่า  “ฉันขอรับแต่คำไว้อาลัยพวกท่าน  แต่ไม่รับคำแสดงความยินดีของพวกท่าน”


นิทาน ๓ :  ท่านซือหม่ากวง  เขียนจดหมายถึงหลานของเขาว่า  “ระยะนี้ฉันได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากเบื้องบนเป็นผู้สนองพระโอษฐ์ ขุนนางในราชสำนักต่างพากันอิจฉาหลายคน  แต่ข้าก็ใช้ความโง่เซ่อตรงๆ  ปฏิบัติต่อพวกเขา  ตอนนี้ข้าเหมือนใบไม้เหลืองที่ลอยอยู่กลางลมที่รุนแรง  จะไม่ให้มันร่วงลงมาคงยากมาก  เพราะฉะนั้น ตั้งแต่ข้ารับราชโองการ  ก็มีแต่หวดกลัว  ไม่ปีติยินดีพวกเจ้าต้องรู้ความมุ่งหมายของข้า”


นิทาน ๔ :  นายหลูตัวซุน  ในสมัยซ่ง  หลังจากได้รับราชการไม่นาน  เขาก็แต่งตัวและใช้จ่ายนับวันฟุ่มเฟือยมากขึ้น บิดาเขาเห็นแล้วเกิดความกังวล  จึงพูดกับเขาว่า  “เราเป็นครอบครัวมีการศึกษา ตลอดเวลาที่ผ่านมา เราใช้ชีวิตเรียบง่ายและประหยัด     “เจ้าตอนนี้ก็ร่ำรวยขึ้นมา    ชีวิตก็เปลี่ยนแปลงจนฟุ่มเฟือยถึงขนาดนี้คงลืมชีวิตของเราเมื่อก่อนเป็นเช่นไร “  หลูตัวซุนก็ไม่ได้สนใจคำพูดของบิดา  เขาก็ยังคงสุรุ่ยสุร่ายต่อไป  ต่อมาก็เกิดเรื่องจนล้มเหลว

 


คัมภีร์ :   ทำคุณไม่หวังผลตอบ  ให้เขาไม่นึกเสียใจ


อธิบาย :   การบริจาคหรือให้ทาน  เป็นการทำคุณกับผู้อื่น อย่างไรเสียเราจะไม่หวังผลตอบแทน  การมอบของให้กับผู้อื่นก็จะไม่นึกเสียใจในภายหลัง

การทำบุญคุณให้แก่ผู้อื่น  หากยังหวังให้เขาตอบแทน  แสดงว่าในใจของเรายังมีความโลภอยู่  คือยังไม่ลืมคุณที่เราทำ  การให้สิ่งของแก่ผู้อื่นไปก็เช่นกัน  ต่อมากลับรู้สึกนึกเสียใจ  นี่ก็แสดงถึงใจที่เป็นตระหนี่  คือยังไม่แปรเปลี่ยน  ควรรู้ว่าความโลภกับตระหนี่เป็นสิ่งที่บัณฑิตจะไม่กระทำ  ในวัชรสูตรว่า  “โพธิสัตว์ที่มีต่อคน เรื่องและสิ่งของ คือไม่มีอุปาทานติดยึดแล้วให้ทานไป”  พูดอีกว่า  “หากโพธิสัตว์สามารถไม่ยึดติดในรูปให้ทานแล้ว  บุญกุศลของเขาก็ไม่อาจนับประมาณได้”  ทำให้รู้ว่า  หากคนสามารถเอาทรัพย์สิ่งของช่วยเหลือผู้อื่นแล้ว  สามารถทำจนภายในไม่เห็นฉันผู้ให้ทาน  ภายนอกไม่เห็นผู้รับทาน  เบื้องกลางไม่เห็นสิ่งของที่เป็นทาน นี่เรียกว่ารูปทั้งสามว่างก็เรียกได้ว่าใจสะอาด  ถ้าหากสามารถให้บริจาคทานได้แบบนี้  ถึงแม้จะบริจาคท่านแค่หนึ่งถัง  ก็สามารถสร้างบุญได้อเนกอนันต์  แม้การให้ทานแค่บาทเดียวก็สามารถจะขจัดมลายบาปกรรมเป็นพันกัปได้ถ้าหากในใจยังมีความหวังตอบแทนแม้เพียงเล็กๆ อยู่  ถึงแม้จะใช้เงินถึงสองแสนตำลึง ไปช่วยเหลือคน  ก้ยังไม่ได้รับบุญกุศลที่สมบูรณ์ตลอดจนการนึกเสียใจ  โดยเฉพาะความสำคัญของชีวิตที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อรหะหว่างปุถุกับอริยะ  ความชั่วที่ทำถ้านึกเสียใจได้แล้ว  อนาคตความคิดชั่วก็จะค่อยๆ หยุดลง  ส่วนความดีที่ทำถ้านึกเสียใจแล้วอนาคตความคิดดีในใจที่มีอยู่ก็จะค่อยๆ  หายไปไม่เกิดขึ้น  ถ้าหากภายหลังการให้ทานแล้วก็เกิดเสียใจในภายหลัง  ถ้าอย่างนั้นก็สู้ไม่ไปให้บริจาคทานก็จะปลอดภัยกว่า !

ชาวโลกคิดอยากให้ยุ้งฉางมีข้าวเต็ม  และไม่ขาดพร่องเลยสักปี  ถ้าต้องการเช่นนั้น  ก็ต้องเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้และขยันไปไถหว่าน  เอาเมล็ดพันธุ์หว่านลงในแปลงนา  ถ้าเมล็ดไม่ไปปลูก  ข่าวในยุ้งฉางก็จะใช้หมดไปโดยเร็ว  หลักธรรมก็เช่นเดียวกัน  เอาใจที่กตัญญู  เมตตา  เคารพเป็นเมล็ดพันธุ์  เอาเสื้อผ้าอาหารเงินทองกับชีวิตมาเป็นวัวและคันไถ  เอาพ่อแม่คนจนที่ป่วย  กับพระรัตนตรัยมาเป็นไร่นา  หากเป็นพุทธบุตรคิดจะได้บุญสะอาด  ทุกๆ  ชาติก็จะมีบุญตอบสนองไม่สิ้นสุด  จำเป็นต้องเอาใจที่เมตตา  เคารพกตัญญูเอาเสื้อผ้าอาหารเงินทองตลอดจนชีวิตไปเคารพบูชา  เลี้ยงพ่อแม่และคนที่เจ็บป่วยกับรัตนตรัย อย่างนี้เรียกว่าปลูกบุญ  หากไม่ปลูกบุญก็จะยากจน  ไม่มีทั้งบุญและปัญญา  ตกสู่หนทางเลวร้ายของการเกิดการตาย  ที่พูดมาทั้งหมดนี้ก็คือ  การปลูกเนื้อนาบุญ ก็เหมือนปลูกข้าวในนา  จึงเรียกว่า นาบุญ

การให้ทานก็มี 3 อย่าง  ให้ธรรมเป็นทาน  ทรัพย์เป็นทานและใจเป็นทาน  ด้วยความสะดวกต่างๆ  มากล่อมเกลาตักเตือนคนการให้ทานเป็นธรรม  ได้กุศลมาก  ทรัพย์เป็นทานก็ใช้สงเคราะห์เขาใจเป็นทานคือเอาใจเราไปเห็นอกเห็นใจผู้ตกทุกข์ได้ยาก  คือคิดจะช่วยเหลือเขาแต่ไม่มีกำลัง  อย่างนี้ก็เป็นการให้ทานแล้ว


นิทาน ๑ :  หลี่สือเซียน  ในสมัยซุย  พ่อเสียไปตั้งแต่เขายังเด็กอยู่หลี่สือเซียนปรนนิบัติมารดาเขาอย่างดี อายุ 12 ขวบ  ก็ถูกเจ้าเหว่ยกว่างผิง ใช้งานหนัก  ต่อมาโตขึ้นก็รับผิดชอบเปิดจวนตรวจทหารครอบครัวเริ่มร่ำรวยขึ้น  ก็เอาเงินไปซื้อข้าวหลายพันสือ  ไปให้คนในหมู่บ้านยืม  ถ้าปีไหนเก็บเกี่ยวไม่ได้ผล  เขาก็เรียกคนในหมู่บ้านมาชุมนุมกัน  แล้วนำเอาใบยืมเผาทิ้ง  และพูดกับพวกเขาว่า  “พวกเธอไม่เป็นหนี้ฉันแล้ว”  พอถึงฤดูปลูกใหม้เข้าก็เอาพันธุ์ข้าวไปแจกให้ชาวนาใช้  ด้วยเหตุนี้  เขาก็ช่วยเหลือชีวิตคนได้จำนวนมาก  ถ้ามีคนตายก็เอาเงินไปช่วยเขาฝังศพ  มีผู้สรรเสริญหลี่สือเซียนว่า  เป็นผู้สร้างบุญลับ  หลี่สือเซียนว่า  “บุญลับเหมือนหูทีได้ยิน  เพียงตนเป็นผู้ได้ยินเป็นผู้รู้  คนอื่นไม่มีทางได้ยินหรือรู้ได้  ตอนนี้พวกเธอก็รู้หมดแล้ว จะเรียกว่าเป็นบุญลับได้อย่างไร”  มีอยู่วันหนึ่ง  เขาก็ฝันเห็นเทพใส่เสื้อสีม่วงบอกเขาว่า  “พระเจ้าพอใจที่เจ้าสั่ง่สมบุญลับไว้มาก  จะให้ลูกหลานเจ้าเจริญรุ่งเรืองจนเปรียบไม่ได้”


นิทาน ๒ :   มหาอำมาตย์ฝั้นต่งเอียน  ครั้งหนึ่งเขาให้ลูกชายเหยาฟูกลับไปที่บ้านเดิมเมืองซูโจว  เพื่อเอาข้าวสาลีกลับมา 500 ถัง  ระหว่างนำข้าวสาลีกลับมาเขาได้พบเพื่อนเก่า  สือหมั่นเจี๊ย  สือหมั่นเจี๊ยพูดกับเหยาฟูว่า  “ข้าไม่มีเงินจัดงานศพ”  เหยาฟูได้ยินก็เอาข้าว่สาลีทั้ง 500 ถัง  กับเรือที่บรรทุกข้าวยกให้แก่สือหมั่นเจี๊ย  พอกลับมาถึงบ้านยังไม่ทันพูดอะไร  ฝั้นต่งเอียนก็ถามเหยาฟูว่า “เจ้ากลับไปคราวนี้ไม่พบเพื่อนเก่าหรือ”  เหยาฟูตอบว่า  “ฉันได้พบสื่อหมั่นเจี๊ย  เขาจนมากไม่มีเงินทำศพ”  ฝั้นต่งเอียนพูดว่า  “เจ้าทำไมไม่เอาข้าวสาลีกับเรือให้เขาเล่า”  เหยาฟูตอบว่า  “คุณพ่อ  ฉันยกทั้งข้าวสาลีและเรือให้เขาไปแล้วละ”

จะเห็นได้ว่า  ฝั้นต่งเอียนกับลูก  มีจิตใจเหมือนกัน  มีใจดีที่ให้ทานเช่นนี้  มีหรือจะเหมือนคนในสมัยนี้  รู้แต่ให้ความเคารพแก่คนที่ร่ำรวย  และทำเอาหน้าโดยเอาดอกไม้ไปประดับบนแพรไหม  (หมายความว่า คนเขามั่งมีอยู่แล้ว  ก็ยังมีคนประจบให้ของขวัญมีค่าแก่เขาอีก)  แต่กับคนจนกลับไม่ยอมทำทาน  ดุจก่อฟืนกลางหิมะ  (หมายความว่า  คนจนมากแม้แต่หนาวก็ไม่มีฟืนจะใช้เพื่ออบอุ่น)  ถ้าหากมีคนยอมบริจาคสิ่งของโดยที่ไม่หวังผลตอบแทนมีไหม  หลังการให้ทานแล้วก็ไม่นึกเสียดาย


นิทาน ๓ :   คุณอูเถี่ยเจียว พูดว่า  “ถ้าสัตว์เดรัจฉานเกิดรู้จักตอบแทนพระคุณแล้ว  แล้วที่เกิดมาเป็นคนกลับไม่รู้จักบุญคุณ  แต่หวังผลตอบแทนละ  ก็จะทำให้คนรับได้ยาก  นั่นก็คือ  “รูปบุญ”   เมื่อไปช่วยเหลือคนอื่น ใบหน้าแสดงออกเหมือนต้องการให้เขาต้องตอบแทนหน้าตาที่แสดงออกอย่างนั้นก็คือ  “รูปบุญ”  ที่เผยออกมาให้เห็นเช่นนี้แล้วคนที่รับบุญคุณจากเรา  ในใจจะรู้สึกละอายไม่เป็นสุขหลังจากความละอายหมดไปแล้ว  ก็จะเกิดเป็นความเจ็บแค้นตามมา

สมัยก่อนมีข้าราชการคนหนึ่ง  เคยช่วยชีวิตคนๆ หนึ่งไว้ต่อมาคนที่ถูกช่วยเหลือก็ค่อยๆ  ร่ำรวยขึ่นมา ส่วนข้าราชการก็กลับจนลง  ก็ให้บังเอิญเขาเดินผ่านบ้านที่เขาเคยช่วยเหลือ  คนทั้งบ้านก็ออกมาไหว้ขอบคุณ ทั้งยังรั้งเขาให้อยู่รับประทานอาหาร ค่อยปรนนิบัติด้วยความเคารพ  หลังจากข้าราชการผู้นี้กินจนเมาแล้ว ก็พูดจาทวงคุณ เขาพูดว่า “ถ้าหากข้าไม่ช่วยเจ้าไว้เมื่อก่อน เจ้าก็ตายไปแล้ว วันนี้เจ้าจะมีลูกเมียคนใช้ทรัพย์สินบ้านช่องอย่างนี้หรือ  ตอนเจ้ามีเงินแล้วแต่ข้าซิกลับจนลง  นี้มันเหตุผลอะไรกัน”   พูดจบคืนนั่นเขาก็นอนค้างที่บ้านนั้น  เจ้าของบ้านก็แอบวางแผนพูดว่า  “คนๆ นี้จะให้ข้าตอบแทนเขา  ใจเขาหวังเกินไปแล้ว  ถึงฉันตอบแทนเขา ๆ ก็จะไม่มีวันพอใจ  ถ้าไม่ตอบแทนเขา  ฉันคงต้องมีภัยเคราะห์มาแน่ !  สู้ฆ่าเขาเสียตอนที่เขาหลับอยู่ !”  ว่าแล้วก็ใช้เชือกรัดคอเขาจนตาย

โธ่เอ๋ย  !  ช่วยเหลือคนแล้วสุดท้ายกลับถูกคนที่ตนเองช่วยไว้ฆ่าตาย  เบื้องลึกต้องมีอะไรที่เป็นกรรมแอบแฝงอยู่  อาจเป็นเพราะคนที่ถูกช่วยเหลือ  อนาคตต้องได้ผลตอบสนองที่อำมหิตแน่  กับข้าราชการผู้นี้ชะตาชีวิตต้องตายอย่างโหดเหี้ยม  เหตุปัจจัยอะไรเราจะยังไม่วิเคราะห์  ที่ต้องการยกตัวอย่างนี้ก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อเตือนคนที่ให้ทาน  แล้วหวังผลตอบแทน