คัมภีร์ : ต้องสงสารผู้เคราะห์ร้าย ยินดีกับผู้ทำดี
อธิบาย : คนที่เคราะห์ร้าย มักเป็นผู้ที่ทำชั่วจึงเป็นผู้กวักภัยเคราะห์มาหา ควรให้ความสงสารบุคคลพวกนี้ ตักเตือนชักนำเขา อบรมเขาเพื่อให้เขาสามารถแก้ไขความชั่วมุ่งสู่ความดี เปลี่ยนเคราะห์ร้ายเป็นบุญวาสนา
สำหรับคนดี ก็มักเป็นผู้ที่ทำความดีเสมอๆ จึงเป็นกวักบุญวาสนามาหา เราก็ควรยินดีกับเขา ส่งเสริมเขา ผลักดันเขา เพื่อให้เขายิ่งทำดีมากขึ้น
คุณเหอหลงกู กล่าวว่า “คนที่เริ่มทำชั่วแรกๆ นั้นเป็นเพราะความคิดของเขาคลาดเคลื่อนไปแล้วก็ไม่สามารถยับยั้บได้ แม้หลังจากทำชั่วไปแล้วก็ตาม ก็ยังมีจิตสำนึกดีที่ยังไม่มอดดับ ซึ่งก็ยังพอแก้ไขฉุดช่วยได้ ชาวโลกที่กีดกันคนที่ทำชั่ว ก็เหมือนการปิดกั้นศัตรูอย่างนั้นถึงแม้พวกเขาขอแก้ตัวกลับใจใหม่เป็นคนใหม่ ก็มักไม่ได้รับการตอบรับจากผู้อื่น จึงหมดกำลังใจไปแก้ไขเปลี่ยนแปลง” การทำความดีสร้างกุศล ทุกคนก็สามารถคิดได้ แต่คนก็มัวยังถือสาแบ่งแยกชนชั้น อย่างคนที่มีความรู้ความสามารถ ก็หวังว่างานดีๆ ต้องเป็นตนเท่านั้นที่ทำคนที่ด้อยกว่าก็ไม่คาดหวังว่าจะได้ งานดีๆ คือต้องให้ผู้อื่นทำเช่นนี้ทำให้เกิดการสร้างสถานการณ์เพื่อทำลายงานดีๆ ของคนอื่น อย่างนี้เป็นความชั่วของตนเอง เป็นการทำร้ายจิตใจตนเองด้วย กับคนอื่นแล้วไม่มีการสูญเสียอะไร โดยไม่รู้ว่า ถ้าคนอื่นมีความคิดดีมีเรื่องดีแล้วเขาสามารถผลักดันส่งเสริมเขา ชมเชยเขา จนทำให้เขาได้สำเร็จสวยงาม เช่นนี้แล้วความดีของผู้อื่นก็เป็นความดีของตนด้วยอย่างนี้ซิจึงเป็นบุญกุศลที่เหลือคณานับ
จากปุถุชนสู่อริยชน เป็นวิถีแห่งกุศลทั้งมวล การบังเกิดใจโพธิเป็นสิ่งเยี่ยมยอดที่สุด ใจโพธิก็เป็นเหมือนเมล็ด เพราะสามารถให้กำเนิดกุศลธรรม ใจกุศลจึงเป็นเนื้อนาบุญ เพราะทำให้เวไนยสัตว์เจริญกุศลธรรม ใจโพธิเหมือนน้ำที่สะอาด เพราะสามารถชำระล้างความกังวลในใจของเวไนยสัตว์ ใจโพธิเหมือนไฟดวงใหญ่ที่สามารถเผาไหม้ความเห็นผิดได้ ในนิพพานสูตรกล่าวว่า “พุทธองค์ตรัสว่าการบำเพ็ญใจที่ดี (ใจกุศล) เพราะสามารถขจัดวิบากกรรมนับร้อยชนิดได้ก็เหมือนสะเก็ดไฟเล็กๆ ที่สามารถเผาผลาญสิ่งต่างๆ ได้ ต้องรู้ว่าเรื่องดีทั้งหลายเกิดจากหนึ่งความคิดที่ชอบความสบายของพวกเราแต่เมื่อใจที่ดีทั้งหลายเผยปรากฎออกมาหมด ก็คือผลแห่งโพธิที่สมบูรณ์ของพวกเราที่สำเร็จ
นิทาน ๑ : นางอูหลิงอี๊ จับขโมยที่เข้ามาในบ้านได้ ที่แท้เจ้าขโมยก็เป็นเด็กข้างบ้าน อูหลิงอี๊พูดกับเขาว่า “เจ้าถูกความจนบีบบังคับจึงมาเป็นขโมย ฉันจะให้เธอหนึ่งหมื่นเป็นต้นทุนไปดำรงชีวิต แล้วก็อย่าได้ทำชั่วอีกเลย !” พอเจ้าขโมยได้เงินก็จะออกไป อูหลิงอี๊เรียกเขากลับมาพูดว่า “เจ้าเป็นคนจน แบกเงินมากมายกลับบ้าน ก็กลัวว่าจะถูกเจ้าหน้าที่สอบถาม เจ้าอยู่ที่บ้านจนกว่าจะเช้าก่อนค่อยไป” เรื่องนี้อูหลิงอี๊ไม่เคยพูดให้ใครฟัง จนกระทั่งลูกหลานเขาสอบได้จินสือติดต่อกัน คนอื่นว่าเขาเป็นคนชอบสงสาร ตักเตือนแนะนำ อบรมคนชั่ว จึงได้รับผลตอบสนอง !
นิทาน ๒ : ในสมัยฮั่น มีคนชื่อ หลงท่ง ชอบยกย่องคนอื่น ทำความดีซึ่งล้วนพูดเกินความจริง คนอื่นให้รู้สึกแปลกใจ จึงถามหาสาเหตุหลงท่งตอบว่า “ปัจจุบันคนดีมีน้อย คนชั่วมีมาก อยากคิดแก้ไขวัฒนธรรมที่ไม่ดีได้ ต้องเพิ่มงานธรรมตนเอง หากไม่ไปทำเต็มที่ไปยกย่องคนอื่นไปยกย่องงานธรรมของคนอื่น ยกย่องว่าเขาทำดีแล้ว คนที่คิดจะทำความดีก็จะลดน้อยลง ถ้าการยกย่องชมเชยคนสัก 10 คน ถ้ามีผิดพลาดไป 5 คน ก็ยังมีอีก 5 คนไม่ผิด ก็ยังทำให้ได้ใจของคนทำดี เขาจะได้เพิ่มความพากเพียรทำดียิ่งขึ้น อย่างนี้ก็ใช้ได้แล้วละ” โอวาทของท่านกอบฟูจื่อก็เคยกล่าวว่า “ขอให้ฟ้ากำเนิดคนดี ขอให้คนทำดีเสมอ ขอให้ปากพูดดีเสมอ” คุณหลงท่งอาจพูดได้ว่า เข้าใจโอวาทนี้เป็นอย่างดี และก็ขยันไปทำ มีประโยชน์ต่อใจธรรมของคนมากเลย !