คัมภีร์ : ให้ตนตรงอบรมผู้อื่น
อธิบาย : ต้องให้ตนเองซื่อตรงก่อน แล้วค่อยไปตักเตือนอบรมผู้อื่นร่วมกันมีใจที่ดีงาม ร่วมกันไปทำเรื่องที่ดีงาม
ที่กล่าวกันว่า “จะทำให้คนอื่นซื่อตรง ต้องให้ตนเองซื่อตรงก่อน” “กายตนตรงไม่สั่งก็ทำ” หากคนสามารถทำให้ตนตรงได้แล้ว ไม่มีไม่สามารถทำให้คนอื่นตรงหรอก ! เพราะว่าเมื่อคนๆ หนึ่งสามารถทำให้ตนประพฤติตรงได้ ทุกคนก็รู้จักเคารพเขา แล้วหากคนรู้จักหลักธรรมของการเคารพนับถือแล้ว ก็หมายความว่าในใจเขาก็สามารถรับการอบรมได้นะ ! ในใจคนที่สามารถอบรมได้ ใช้ความตั้งใจจริง ค่อยๆ ไปประทับใจเขา เพียงแค่ผลักก็สามารถเคลื่อนหมุน เพียงแค่หนึ่งขยับก็สามารถเผยปรากฎ ไม่มีหรอกที่เขาจะไม่คล้อยตาม แต่ถ้าเอาความซื่อตรงของเราไปกระแทกเปิดเผยความไม่ซื่อตรงของผู้อื่น จะกลายเป็นการตำหนิที่หยาบกระด้าง เขาก็ไม่ยินยอมที่จะรับการสอน กลับจะโต้ตอบรุนแรงกับเธอมากขึ่น การหักหาญแย่งชิงความถูกผิด จะกลับกลายเป็นการทำลายล้างใจที่ดีงามไป ! ซึ่งเป็นนิสัยป่วยของคนรักดีในปัจจุบัน แต่ละครั้งที่อบรมเขามักออกตัวรุนแรงไป และก็ยึดติดว่ตนถูกไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ไม่รู้จักใช้วิธีที่ดีที่ง่ายๆ อย่างนี้ต้องหักห้ามนิสัยป่วยอย่างขมขื่นทรมาน ! เพราะฉะนั้น การตนตรงก็ต้องใจตรงก่อน เพราะใจเป็นนายของกาย และเป็นรากฐานการกระทำทั้งหมด ถ้าใจไม่บรรลุรู้ ใจที่คิดเหลวไหล และอารมณ์ก็จะเกิดขึ้น เมื่อใจคิดเหลวไหลและอารมณ์ที่เกิดขั้นมาแล้ว หลักธรรมที่เห็นก็ไม่สามาถเข้าใจชัดแจ้งได้ ความถูกผิดก็จะสับสนฟั่นเฟือนไป เพราะฉะนั้นการรักษาใจ ต้องให้ได้บรรลุรู้ เมื่อบรรลุรู้แล้ว ความคิดเหลวไหลอารมณ์ตรึกคิดก็จะละลายเป็นจริงใจไป ! นี่คือวิถีทางของใจตรง !
นิทาน ๑ : ในสมัยซ่ง ซือหม่ากวง เป็นคนซื่อตรงและจริงใจต่อคนตอนที่เขาอยู่ที่เมืองลั่วหยาง ประเพณีนิสัยของชาวลั่วหยาง ถูกเขาอบรมจนเปลี่ยนแปลงไป ไม่มีใครที่ไม่เคารพชื่นชมเขา ชาวเมืองต่างรู้สึกละอายที่พูดถึงเรื่องเงินทองผลประโยชน์ ทุกๆ คนมีทัศนะคติของความซื่อสัตย์สุจริต มีความละอายที่จะทำชั่ว และรู้จักระวังตักเตือนตนไม่กล้าทำความชั่ว เมื่อคนหนุ่มคิดจะทำงานสักชิ้นหนึ่ง ก็จะช่วยกันตักเตือนซึ่งกันและกัน จนพูดกันติดปากว่า “ยังไงๆ ก็อย่าทำเรื่องชั่วนะ กลัวว่าถ้าซือหม่ากงรู้เข้าก็จะแย่เลย !
นิทาน ๒ : ในสมัยฮั่น มีคนชื่อเฉินสือ เป็นคนตรง มีอัธยาศัยดีกับทุกคน ทำงานก็ซื่อตรง ในหมู่บ้าน ถ้าเกิดเรื่องทะเลาะกันก็จะเชิญเฉินสือมาช่วยตัดสินที่สุดว่าใครถูกใครผิด เฉินสือก็จะตัดสินได้ถูกต้องทั้งยังอธิบายเหตุผลของการทำผิดจนทำให้ทุกคนจำนน ไม่มีคำโต้แย้ง พอนานๆ ไปก็เลยมีคำคมว่า “ให้ทางอำเภอลงโทษตีก้นดีกว่าอย่างไรเสีย ก็อย่าให้เฉินสือขึ้นบัญชีพูดจุดเสียเลย !” มีอยู่คืนหนึ่งมีขโมยคนหนึ่งเข้าบ้านซ่อนตัวอยู่บนขื่อเฉินสือรู้แล้วก็ลุกขึ้นจุดเทียนเรียกลูกหลานในบ้านมาอบรม เฉินสือพูดว่า “เป็นคนต้องพากเพียรคนที่ไม่ดีก็อย่ากล่าวหาว่าเขาไม่ดี เป็นเพราะเขาทำเรื่องเลยบ่อยๆ จนเคยตัวเป็นนิสัย ถ้าแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ก็จะเหมือนเจ้าขโมยบนขื่อ !” เจ้าขโมยได้ยินเช่นนั้นก็ตกใจ จึงกระโดดลง่มาจากขื่อ ยอมรับโทษจากเฉินสือ เฉินสือก็พูดจาดียิ้มแย้มกับเขา แล้วอบรมตักเตือนเขา ให้เขาแก้ไขให้ดี อย่าได้ทำเช่นนี้อีก ทั้งยังให้ผ้าต่วนกับเขา 2 ชิ้น แล้วส่งเสริมให้เขาแก้ไขความผิด รู้เจ็บที่ทำผิด การกระทำของเฉินสือมีอิทธิพลต่อคนทั้งอำเภอ จากนั้นมาก็ไม่มีขโมยอีกเลย
นิทาน ๓ : ในสมัยอู่ไต้ ฝังอิ่งป๋อ เป็นผู้ว่าราชการเมืองชิงเหอ มารดาของอิ่งป๋อเป็นคนมีความรู้ ทั้งเป็นคนที่เห็นอกเห็นใจรู้หลักธรรมที่เมืองเป่ยคิว มีแม่บ้านคนหนึ่ง ยกตัวอย่างที่ลูกไม่กตัญญู มีคดีมาถึงผู้ว่าราชการ มารดาของอิ่งป๋อพูดกับอิ่งป๋อว่า “ประชาชนยังไม่เข้าใจหลักธรรม ไม่รู้จริยธรรม อย่าลงโทษพวกเขาให้เกินเลย” แล้วมารดาของอิ่งป๋อก็พูดกับแม่บ้านที่บอกว่าลูกไม่กตัญญูให้พาลูกมาที่จวนผู้ว่าให้นางมาทานข้าวด้วยกัน เรียกลูกนางมายืนดูข้างๆ เพื่อดูท่านอิ่งป๋อดูแลมารดาขณะทานข้าว เวลาผ่านไป 10 วัน ลูกที่ไม่กตัญญูก็พูดกับแม่ว่า “คุณแม่ ! ฉันผิดไปแล้ว ฉันจะแก้ไขกตัญญูต่อท่านแน่นอนเรากลับบ้านกันเถอะ !” มารดาของอิ่งป๋อก็พูดขึ้นว่า “เด็กคนนี้ภายนอกดูเหมือนมีความละอายใจ แต่ภายในใจยังไม่รู้สึกละอายจริงๆ ! ดังนั้นจึงให้สองคนแม่ลูกอยู่ต่อไปอีก 20 วัน ตอนนี้ลูกของนางก็ลงไปคุกเข่าก้มกราบสำนึกผิด เขาโขกจนหน้าผากเลือดไหล
แม่ของเด็กก็พลอยน้ำตาไหล จึงยอมขอท่านผู้ว่าราชการ อนุญาตให้สองคนแม่ลูกกลับบ้าน ต่อมาลูกของนางเป่ยคิว ก็กลายเป็นลูกกตัญญูที่ ขึ่นชื่อ