โหราศาสตร์พระเวท(ภารตะ)
โหราศาสตร์ฮินดูเป็นวิชาดาราศาสตร์-โหราศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดวิชาหนึ่งของโลก มีประวัติย้อนหลังไปถึง 8,300 ปี 3,000 ปีก่อนคริสตกาล หรือ ประมาณ 10,000 ปี มาแล้ว (8300 B.C.- 3000 B.C.) โดยในระยะเวลาดังกล่าว วิชานี้ได้รับการค้นคว้าและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องมาพร้อมๆ กับคัมภีร์พระเวท ของพราหมณ์ โดยมหาฤาษีหรือมหามุนีที่เป็นบูรพาจารย์ของพราหมณ์ในยุคบรรพกาล ที่รจนาคัมภีร์พระเวท (สัปตยุคฤาษี) จำนวน 18 องค์คือ มหาฤาษีสูรยา มหาฤาษีปิตมาส มหาฤาษีวยาสะ มหาฤาษีวสิษฐะ มหาฤาษีอตรี มหาฤาษีปราสาระ มหาฤาษีกาษยาปะ มหาฤาษีลิษะ มหาฤาษีชาวาล มหาฤาษียาวนะ มหาฤาษีภฤคุ มหาฤาษีสูรยา และมหาฤาษีศอุนาคา เป็นต้น
วิชาโหรฯแห่งดินแดนภารตะ(อินเดีย) ตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบันมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อเช่นโหราศาสตร์ฮินดู (Hindu Astrology) โหราศาสตร์พระเวท (Vedic Astrology) โชฺยติษ ศาสตร์ (Jyotish shastra)เป็นวิชาที่ว่าด้วย กาลเวลา การโคจรของดาวเคราะห์ และปรากฏกาณ์ทางดาราศาสตร์ ที่ส่งพลังรังสีที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของมนุษย์ ทั้งในด้านชาตาชีวิต สุขภาพ ความสามารถ ความนึกคิด อารมณ์ต่างๆ ล้วนแต่ได้รับอิทธิพลจากพลัง รังสีดี-ร้ายของจักรวาลและเป็นวิชาหนึ่งในวิชาหลักสมัยโบราณที่นักบริหาร นักการทหาร และนักปกครอง จะต้องเรียนรู้และเป็นแม่แบบของวิชา โหราศาสตร์ระบบนิรายนะในวัฒนธรรมอื่นๆทั่วโลก และเป็นบรมครูของโหราศาสตร์ไทย และโหราศาสตร์ลังกา พม่า ลาว เขมร มอญ อินโด ธิเบต ฯลฯและแม้แต่โหราศาสตร์จีนก็ได้รับอิทธิพลจากโหราศาสตร์ภารตะเป็นอย่างมากผ่านทางพุทธศาสนามหายานที่แพร่เข้าไปในประเทศจีน เมื่อกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ซึ่งศาสตร์เหล่านี้ เป็นศาสตร์ชั้นสูงที่มีการคำนวณ ยุ่งยากสลับซับซ้อนและละเอียดเป็นอย่างมากเพื่อใช้สำหรับทำนาย เหตุการณ์บ้านเมือง ทำนายฝนฟ้า ฤดูกาลทำนายชาตาชีวิตของกษัตริย์และบุคคลชั้นสูงส่วนสามัญชน จะไม่มีโอกาสได้ใช้เลย ปัจจุบันในประเทศอินเดีย ในรอบศตวรรษที่ผ่านมา มีการเปิดเผยความลี้ลับของวิชาโหราสาตร์และคัมภีร์เก่าแก่ที่ปิดบังซ่อนเร้นมานานนับพันปี นำมาเผยแพร่ให้ความรู้ต่อสาธารณชนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นประโยชน์เท่าเทียมกันแก่บุคคลทุกชั้นวรรณะ ที่จะได้มีโอกาสใช้และได้รับผลดีจาก ภูมิปัญญาอันยิ่งใหญ่ของบรรพชนโบราณ