ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

จตุกกะ  คือ  หมวด ๔

วุฑฒิ  คือธรรมเป็นเครื่องเจริญ  ๔ อย่าง

๑.  สัปปุริสสังเสวะ  คบท่านผู้ประพฤติชอบด้วยกายวาจาใจ ที่เรียกว่าสัตบุรุษ

๒.  สัทธัมสสวนะ  ฟังคำสอนของท่านโดยเคารพ

๓.  โยนิโสมนสิกสน  ตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีหรือชั่วโดยอุบายที่ชอบ

๔.  ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ  ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมซึ่งได้ตรองเห็นแล้ว

จักร ๔

๑.  ปฏิรูปเทสวาสะ  อยู่ในประเทศอันสมควร

๒.  สัปปุริสูปัสสยะ  คบสัตบุรุษ

๓.  อัตตสัมมาปณิธิ  ตั้งตนไว้ชอบ

๔.  ปุพเพกตปุญญตา  ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน

ธรรม ๔ อย่างนี้  ดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ

อคติ ๔

๑.  ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน   เรียกฉันทาคติ

๒.  ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน  เรียกโทสาคติ

๓.  ลำเอียงเพราะเขลา  เรียกโมหาคติ

๔.  ลำเอียงเพราะกลัว  เรียกภยาคติ

อคติ ๔  ประการนี้  ไม่ควรประพฤติ

อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ ๔ อย่าง

๑.  อดทนต่อคำสอนไม่ได้  คือเบื่อต่อคำสั่งสอนขี้เกียจทำตาม

๒.  เป็นคนเห็นแก่ปากแก่ท้อง  ทนความอดอยากไม่ได้

๓.  เพลิดเพลินในกามคุณ  ทะยานอยากได้สุขยิ่งๆ ขึ้นไป

๔.  รักผู้หญิง

ภิกษุสามเณรผู้หวังความเจริญแก่ตน  ควรระวังอย่าให้อันตราย ๔ อย่างนี้ย่ำยีได้

ปธาน  คือความเพียร  ๔ อย่าง

๑.  สังวรปธาน  เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน

๒.  ปหานปธาน  เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว

๓.  ภาวนาปธาน  เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน

๔.  อนุรักขนาปธาน  เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม

ความเพียร  ๔ อย่างนี้  เป็นความเพียรชอบควรประกอบให้มีในตน

อธิษฐานธรรม  คือธรรมที่ความตั้งไว้ในใจ  ๔ อย่าง

๑.  ปัญญา  รอบรู้สิ่งที่ควรรู้

๒.  สัจจะ  ความจริงใจ  คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง

๓.  จาคะ  สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ

๔.  อุปสมะ  สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ

อิทธิบาท  คือคุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์  ๔ อย่าง

๑.  ฉันทะ  พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น

๒.  วิริยะ  เพียรประกอบสิ่งนั้น

๓.  จิตตะ  เอาใจฝักไฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ

๔.  วิมังสา  หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น

คุณ ๔ อย่างนี้ มีบริบูรณ์แล้ว  อาจชักนำบุคคลให้ถึงสิ่งที่ต้องประสงค์ซึ่งไม่เหลือวิสัย

ควรทำความไม่ประมาทในที่  ๔ สถาน

๑.  ในการละกายทุจริต  ประพฤติกายสุจริต

๒.  ในการละวจีทุจริต  ประพฤติวจีสุจริต

๓.  ในการละมโนทุจริต  ประพฤติมโนสุจริต

๔.  ในการละความเห็นผิด  ทำความเห็นให้ถูก

อีกอย่างหนึ่ง

๑.  ระวังใจไม่ให้กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

๒.  ระวังใจไม่ให้ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง

๓.  ระวังใจไม่ให้หลงในอารมณเป็นที่ตั้งแห่งความหลง

๔.  ระวังใจไม่ให้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา

ปาริสุทธิศึล  ๔

๑.  ปาติโมกขสังวร  สำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม  ทำข้อที่พระองค์อนุญาต

๒.  อินทรีสังวร  สำรวมอินทรี ๖  คือ  ตา หู จมู ปาก ลิ้น กาย ใจ  ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ ร็ธรรมารมณ์ด้วยใจ

๓.  อาชีวปาริสุทธิ  เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ  ไม่หลองลวงเขาเลี้ยงชีวิต

๔.  ปัจจยปัจจเวกขณะ  พิจารณาเสียก่อนจึงบริโภคปัจจัย ๔  คือ จีวร  บิณฑบาต  เสนาสนะและเภสัช  ไม่บริโภคด้วยตันหา

อารักขกัมมัฏฐาน

๑.  พุทธานุสติ  ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ที่มีในพระองค์และทรงเกื้อกูลแก้ผู้อื่น

๒.  เมตตา  แผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า

๓.  อสุภะ  พิจารณาร่างกายตนและผู้อื่นให้เห็นเป็นไม่งาม

๔.  มรณัสสติ  นึกถึงความตายอันจะมีแก่ตน

กัมมัฏฐาน  ๔ อย่างนี้  ควรเจริญเป็นนิตย์

พรหมวิหาร ๔

๑.  เมตตา  ความรักใคร่  ปรารถนาจะให้เป็นสุข

๒.  กรุณา  ความสงสาร  คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์

๓.  มุฑิตา  ความพลอยยินดี  เมื่อผู้อื่นได้ดี

๔.  อุเบกขา  ความวางเฉย  ไม่ดีใจไม่เสียใจ เมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ

๔ อย่างนี้  เป็นเครื่องอยู่ของท่านผู้ใหญ่

สติปัฏฐาน ๔

๑.  กายานุปัสสนา                 ๒.  เวทนานุปัสสนา

๓.  จิตตานุปัสสนา                ๔.  ธัมมานุปัสสนา

สติกำหนดพิจารณากายเป็นอารมณ์ว่า  กายนี้ก็สักว่ากาย  ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา  เรียก กายานุปัสสนา

สติกำหนดพิจารณาเวทนา  คือ สุข ทุกข์ และไม่ทุกข์ไม่สุขเป็นอารมณ์ว่า  เวทนานี้ก็สักว่าเวทนา  ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา  เรียก เวทนานุปัสสนา

สติกำหนดพิจารณาใจที่เศร้าหมอง  หรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ว่า  ใจนี้สักว่าใจ  ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา  เรียก จิตตานุปัสสนา

สติกำหนดพิจารณาธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศล ที่บังเกิดกับใจเป็นอารมณ์ว่าธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา  เรียก ธัมมานุปัสสนา