ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

คำแปลพระปาฏิโมกข์

นิททานุทเทส


ที่มา จากหนังสือ ลูกผู้ชายต้องบวช ผู้แต่ง ญาณวชิระ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค    อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระองค์นั้น  (ว่า๓  จบ)

ท่านเจ้าข้า  ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้าอุโบสถวันนี้ที่  ๑๕  ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วสงฆ์พึงทำอุโบสถพึง  แสดงซึ่งปาฏิโมกข์    บุรพกิจอะไรๆของสงฆ์ก็ทำสำเร็จแล้ว  ท่านทั้งหลายพึงบอกความบริสุทธิ์  ข้าพเจ้าจักแสดงซึ่งปาฏิโมกข์พวกเราบรรดาที่มีอยู่ทั้งหมด  จงฟัง  จงใส่ใจซึ่งปาฏิโมกข์นั้น  ให้สำเร็จประโยชน์.ผู้ใดหากมีอาบัติ  ผู้นั้นก็พึง    เปิดเผยเสียเมื่ออาบัติไม่มี  ก็พึงนิ่งอยู่  ก็เพราะความเป็นผู้นิ่งแล  ข้าพเจ้าจักทราบท่านทั้งหลายว่า  เป็นผู้บริสุทธ์    ก็การสวดประกาศให้ได้ยินมี กำหนด  ๓  ในบริษัทเห็นปานนี้อย่างนี้  เป็นเหมือนถูกถามตอบเฉพาะองค์  ก็ภิกษุใดเมื่อสวดประกาศจบครั้งที่  ๓  ระลึก(อาบัติ)  ได้อยู่  ไม่     เปิดเผยอาบัติซึ่งมีอยู่    สัมปชานมุสาวาททุกกฎ    ย่อมมีแก่เธอนั้น  ท่าน ทั้งหลาย  ก็สัมปชานมุสาวาทแล  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า  เป็นธรรมทำอันตราย  เพราะฉะนั้น  เมื่อภิกษุต้องอาบัติแล้วระลึกได้  หวังความบริสุทธิ์  พึงเปิดเผยอาบัติซึ่งมีอยู่  เพราะเปิดเผยอาบัติแล้ว  ความสบายย่อมมีแก่เธอ

ข้อความเบื้องต้น  จบ.

ปาราชิกุทเทส

(ปาราชิก  ๔)

อาบัติทั้งหลายชื่อว่าปาราชิก  ๔  เหล่านี้  ย่อมมาสู่อุทเทสในปาฏิโมกข์นั้น.

๑.    อนึ่ง  ภิกษุใด  ถึงพร้อมด้วยสิกขาธรรมเนียมเลี้ยงชีพร่วมกัน    ของภิกษุทั้งหลายยังไม่กล่าวคืนสิกขา    ไม่ได้ทำให้แจ้งความเป็นผู้ถอย  กำลัง  (คือความท้อแท้ )  พึงเสพเมถุนธรรม  โดยที่สุดแม้ในดิรัจฉานตัวเมีย  ภิกษุนี้เป็นปาราชิก  ไม่มีสังวาส  (คือธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมกับภิกษุอื่น)

๒.  อนึ่ง  ภิกษุใดถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้  เป็นส่วนโจรกรรม  จากบ้านก็ดีจากป่าก็ดีพระราชาจับโจรได้แล้ว  ฆ่าเสียบ้าง  จำขังไว้บ้าง  เนรเทศเสียบ้าง  ด้วยปรับโทษว่า  เจ้าเป็นโจร  เจ้าเป็นคนพาล  เจ้าเป็นคนหลง  เจ้าเป็นคนขโมย  ดังนี้  เพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น  แม้ภิกษุนี้  ก็เป็นปาราชิก  หาสังวาสมิได้.

๓.  อนึ่ง  ภิกษุใดแกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิตหรือแสวงหาศัสตราอันจะนำ  (ชีวิต)  เสียให้แก่กายมนุษย์นั้น    หรือพรรณนาคุณแห่งความตายหรือชักชวนเพื่อความตายด้วยคำว่า  "แน่ะ  นายผู้เป็นชาย  มีประโยชน์อะไรแก่ท่านด้วยชีวิตอันชั่วนี้  ท่านตายเสียดีกว่าเป็นอยู่"  ดังนี้เธอมีจิตใจ  มีจิตดำริอย่างนี้  พรรณนาคุณแห่งความตายก็ดี  ชักชวนเพื่อความตายก็ดี  โดยหลายนัย   แม้ภิกษุนี้  ก็เป็นปาราชิก  หาสังวาสมิได้.

๔.    อนึ่ง  ภิกษุใดไม่รู้เฉพาะ  (คือไม่รู้จริง)  กล่าวอวดอุตตริ มนุสสธัมม์  อันเป็น  ความเห็นอย่างประเสริฐ  อย่างสามารถ  น้อมเข้าในตัวว่า  ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้  ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้  ครั้นสมัยอื่น  แต่นั้น  อันผู้ใด ผู้หนึ่ง  เชื่อก็ตาม  ไม่เชื่อก็ตาม  ก็เป็นอันต้องอาบัติแล้ว  มุ่งความหมดจด  (คือพ้นโทษ)  จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า  "แน่ะท่าน  ข้าพเจ้าไม่รู้  ได้กล่าวว่า     รู้  ไม่เห็นได้กล่าวว่าเห็นได้พูดพล่อยๆ  เป็นเท็จเปล่าๆ"  เว้นไว้แต่ว่าสำคัญว่าได้บรรลุ    แม้ภิกษุนี้  ก็เป็นปาราชิก  หาสังวาสมิได้.

ท่านทั้งหลาย  อาบัติปาราชิก  ๔  อันข้าพเจ้าได้แสดงขึ้นแล้วแล.  ภิกษุต้องอาบัติเหล่าไรเล่า  อันใดอันหนึ่งแล้วย่อมไม่ได้สังวาสกับด้วยภิกษุทั้งหลายเหมือนอย่างแต่ก่อน  เป็นปาราชิก  ไม่มีสังวาสข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลาย  ในข้อเหล่านั้นท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?  ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๒      ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?  ข้าพเจ้าถาม  แม้ครั้งที่  ๓  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์ในข้อ เหล่านี้แล้วเหตุนั้น  จึงนิ่ง.    ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

ปาราชิกุทเทส  จบ.


 

 

สังฆาทิเสสุทเทส

(สังฆาทิเสส    ๑๓)

ท่านทั้งหลาย    อาบัติชื่อสังฆาทิเสส  ๑๓    เหล่านี้แล  ย่อมมาสู่  อุทเทส.

๑.  ปล่อยสุกกะเป็นไปด้วยความจงใจ  เว้นไว้แต่ฝัน  เป็นสังฆาทิเสส.

๒.    อนึ่ง  ภิกษุใดกำหนัดแล้ว  มีจิตแปรปรวนแล้ว  ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคามจับมือก็ตาม  จับช้องผมก็ตาม    ลูบคลำอวัยวะอันใดอันหนึ่งก็ตาม  เป็นสังฆาทิเสส.

๓.  อนึ่ง  ภิกษุใดกำหนัดแล้ว  มีจิตแปรปรวนแล้ว  พูดเกี้ยวมาตุ  คามด้วยวาจาชั่วหยาบเหมือนชายหนุ่มพูดเกี้ยวหญิงสาว  ด้วยวาจาพาดพิงเมถุน  เป็นสังฆาทิเสส.

๔.  อนึ่ง  ภิกษุใดกำหนัดแล้ว  มีจิตแปรปรวนแล้ว  กล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกามในสำนักมาตุคาม  ด้วยถ้อยคำพาดพิงเมถุนว่า  "น้องหญิงหญิงใดบำเรอผู้ประพฤติพรหมจรรย์  มีศีลมีกัลยาณธรรมเช่นเราด้วยธรรมนั่น  นั่นเป็นยอดแห่งความบำเรอทั้งหลาย  เป็นสังฆาทิเสส.

๕.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ถึงความเป็นผู้เที่ยวสื่อ(บอก)  ความประสงค์ของชายแก่หญิงก็ดี(บอก)  ความประสงค์ของหญิงแก่ชายก็ดีในความเป็นเมียก็ตาม  ในความเป็นชู้ก็ตามโดยที่สุด(บอก)  แม้แก่หญิงแพศยา  อันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะ  เป็นสังฆาทิเสส.

๖.  อนึ่ง  ภิกษุจะให้ทำกุฎี  อันหาเจ้าของมิได้  เฉพาะตนเอง  ด้วยอาการขอเอาเองพึงทำให้ได้ประมาณ;    นี้ประมาณในอันทำกุฎีนั้นโดยยาว  ๑๒  คืบ  โดยกว้าง  ๗  คืบด้วยคืบสุคต  (  วัด  )   ในร่วมใน.  พึงนำภิกษุทั้งหลายไป  เพื่อแสดงที่  ภิกษุเหล่านั้น    พึงแสดงที่อันไม่มีผู้จองไว้อันมีชานรอบ.  หากภิกษุให้ทำกุฎีด้วยการขอเอาเอง    ในที่อันมีผู้จองไว้    อันหาชานรอบมิได้หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไป    เพื่อแสดงที่หรือทำให้ล่วงประมาณ  เป็นสังฆาทิเสส.

๗.  อนึ่ง    ภิกษุจะให้ทำวิหารใหญ่อันมีเจ้าของ  เฉพาะตนเอง    พึงนำภิกษุทั้งหลายไป    เพื่อแสดงที่  ภิกษุเหล่านั้น    พึงแสดงที่อันไม่มีผู้จองไว้อันมีชานรอบหากภิกษุให้ทำวิหารใหญ่ในที่  มีผู้จองไว้    หาชานรอบมิได้  หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไป    เพื่อแสดงที่เป็นสังฆาทิเสส.

๘.  อนึ่ง  ภิกษุใดขัดใจ  มีโทสะไม่แช่มชื่น    ตามกำจัด(  คือโจท  )    ภิกษุด้วยอาบัติมีโทษถึงปาราชิก    อันหามูลมิได้  ด้วยหมายใจว่า"แม้ไฉนเราจะยังเธอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้  "  ครั้นสมัยอื่น  แต่นั้น  อันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม  ไม่ถือเอาตามก็ตาม  (คือเชื่อไม่เชื่อก็ตาม )  แต่อธิกรณ์นั้น  เป็นเรื่องหามูลมิได้และภิกษุย่อมยันอิงโทสะเป็น สังฆาทิเสส.

๙.    อนึ่ง  ภิกษุใดขัดใจ  มีโทสะไม่แช่มชื่น    ถือเอาเอกเทศบางแห่ง  แห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่นให้เป็นเพียงเลิศ  ตามกำจัดภิกษุด้วย ธรรมอันมีโทษถึงปาราชิก  ด้วยหมายใจว่า  "แม้ไฉนเราจะยังเธอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้  "ครั้นสมัยอื่น  แต่นั้น  อันผู้ใดผู้อื่นถือเอาตามก็ตาม  ไม่ถือเอาตามก็ตาม  (คือเชื่อก็ตามไม่เชื่อก็ตาม)  แต่อธิกรณ์นั้นเป็นเรื่องอื่นเอกเทศบางแห่ง  เธอถือเอาพอเป็นเลศและภิกษุย่อมยืนยันอิงโทสะ  ๓  เป็นสังฆาทิเสส.

๑๐.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงหรือถือเอาอธิกรณ์(คือเรื่อง)  อันเป็นเหตุแตกกันยืนกรานอยู่  ภิกษุนั้น    อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้    ว่า  "ท่านอย่าได้ตะเกียกตะกาย  เพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง  หรืออย่าได้ถือเอาอธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกัน  ยืนกรานอยู่ ขอท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์  เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง  กัน  ปรองดองกันไม่วิวาทกัน  มีอุทเทสเดียวกัน  (คือฟังพระปาฏิโมกข์ร่วมกัน)  ย่อมอยู่ผาสุก"  และภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้  ยังยืนกรานอยู่อย่างนั้นเทียว  ภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาส  (คือประกาศห้าม)  กว่าจะครบ ๓  จบเพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย  หากเธอถูกสวดสมนุภาส  กว่าจะครบ  ๓  จบอยู่  สละกรรมนั้นเสียสละได้อย่างนี้  นั่นเป็นการดี  เป็นสังฆาทิเสส.

๑๑.  อนึ่ง  มีภิกษุผู้ประพฤติตามผู้พูดเข้ากันของภิกษุนั้นแล  ๑  รูปบ้าง  ๒  รูปบ้าง  ๓  รูปบ้าง   ๓  เธอทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า  "ขอท่าน ทั้งหลายอย่าได้กล่าวคำอะไรๆ  ต่อภิกษุนั้นภิกษุนั่นกล่าวถูกธรรมด้วย  ภิกษุนั่นกล่าวถูกวินัยด้วยภิกษุนั้นถือเอาความพอใจ  และความชอบใจของพวกข้าพเจ้ากล่าวด้วย  เธอรู้  (ใจ)  ของพวกข้าพเจ้าจึงกล่าว  คำที่เธอกล่าวนี้  ย่อมควร  (คือถูกใจ)  แม้แก่พวกข้าพเจ้า".  ภิกษุเหล่านั้น  อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าว  อย่างนี้ว่า  "ท่านทั้งหลาย  อย่าได้กล่าวอย่างนั้นภิกษุนั้น  หาใช่ผู้กล่าวถูกธรรมไม่ด้วย  ภิกษุนั่น  หาใช่ผู้กล่าวถูกวินัยไม่ด้วย        ความทำลายสงฆ์อย่าได้ชอบแม้แก่พวกท่านขอ (ใจ)  ของพวกท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงปรองดองกัน  ไม่วิวาทกัน  มีอุทเทสเดียวกัน  ย่อมอยู่ผาสุก"และภิกษุเหล่านั้น  อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้  ยังยืนกรานอยู่อย่างนั้นเทียว  ภิกษุเหล่านั้น  อันภิกษุ   ทั้งหลาย   พึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบ  ๓  จบเพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย  หากเธอทั้งหลายถูกสวดสมนุภาส  กว่าจะครบ  ๓  จบอยู่  สละกรรมนั้นเสียสละได้อย่างนี้  นั่นเป็นการดีหากเธอทั้งหลายไม่สละเสีย  เป็นสังฆาทิเสส.

๑๒.  อนึ่ง  ภิกษุเป็นผู้มีสัญชาติแห่งคนว่ายากอันภิกษุทั้งหลาย  ว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรมในสิกขาบททั้งหลายอันเนี่องในอุทเทส  (คือพระปาฏิโมกข์)  ทำตนให้เป็นผู้อันใครๆว่ากล่าวไม่ได้  ด้วยกล่าวโต้ว่า  "พวกท่านอย่าได้กล่าวอะไรๆ  ต่อเราเป็นคำดีก็ตาม  เป็นคำชั่วก็ตาม   แม้เราก็จะไม่กล่าวอะไรๆ  ต่อพวกท่านเหมือนกัน  เป็นคำดีก็ตาม  เป็น คำชั่วก็ตามขอพวกท่านจงเว้นจากการว่ากล่าวเราเสีย"  ภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลาย  พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า  "ท่านอย่าได้ทำตนให้เป็นผู้อันใครๆ  ว่าไม่ได้ขอท่านจงทำตนให้เขาว่าได้แล  แม้ท่านก็จงว่ากล่าวภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรมแม้ภิกษุทั้งหลายก็จักว่ากล่าว ท่านโดยชอบธรรมเพราะว่า  บริษัทของ   พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  เจริญแล้วด้วยอาการอย่างนี้    คือด้วยว่ากล่าวซึ่งกันและกัน  ด้วยเตือนกันและกันให้ออกจากอาบัติ"  และภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้  ยังยืนกรานอยู่อย่างนั้นเทียว  ภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบ  ๓  จบ  เพื่อให้สละกรรมนั้นเสียหากเธอถูกสวดสมนุภาสกว่าจะครบ๓จบอยู่สละกรรมนั้น เสีย    สละได้อย่างนี้  นั่นเป็นการดีหากเธอไม่สละเสียเป็นสังฆาทิเสส.

๑๓. อนึ่ง  ภิกษุเข้าไปอาศัยบ้านก็ดีนิคมก็ดี  แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่  เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล  มีความประพฤติเลวทรามความประพฤติเลวทรามของเธอ  เขาได้เห็นอยู่ด้วย  เขาได้ยินอยู่ด้วย    และสกุลทั้งหลายอันเธอประทุษร้ายแล้ว  เขาได้เห็นอยู่ด้วย  เขาได้ยินอยู่ด้วย  ภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า"ท่านเป็นผู้ประทุษร้ายสกุล  มีความประพฤติเลวทรามความประพฤติเลวทรามของท่าน  เขาได้เห็น  อยู่ด้วย  เขาได้ยินอยู่ด้วยและสกุลทั้งหลาย  อันท่านประทุษร้ายแล้วเขาได้เห็นอยู่ด้วย  เขาได้ยินอยู่ด้วย  ท่านจงหลีกไปเสียจากอาวาสนี้ท่านอย่าอยู่ในที่นี้  (อีก)"  และภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้  พึงกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า  "พวกภิกษุถึงความพอใจด้วย  ถึงความขัดเคืองด้วย  ถึงความหลงด้วย  ถึงความกลัวด้วย  ย่อมขับภิกษุบางรูป  ย่อมไม่ขับภิกษุบางรูปเพราะอาบัติเช่นเดียวกัน "ภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า"     ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น  ภิกษุทั้งหลายหาได้ถึงความพอใจไม่  หาได้ถึงความขัดเคืองไม่  หาได้ถึงความหลงไม่  หาได้ถึงความกลัวไม่    ท่านเองแลเป็นผู้ประทุษร้ายสกุล  มีความประพฤติเลวทรามความประพฤติเลวทรามของท่าน  เขาได้เห็นอยู่ด้วยเขาได้ยินอยู่ด้วยและสกุลทั้งหลาย  อันท่านประทุษร้ายแล้วเขาได้เห็นอยู่ด้วย  เขาได้ยินอยู่ด้วยท่านจงหลีกไปเสียจากอาวาสนี้ท่านอย่าอยู่ในที่นี้  (อีก)"  และภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้  ยังยืนกรานอยู่อย่างนั้นเทียว  ภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบ  ๓  จบ  เพื่อให้สละกรรมนั้นเสียหากเธอถูกสวดสมนุภาสกว่าจะครบ  ๓  จบอยู่สละกรรมนั้นเสีย  สละได้อย่างนี้นั่นเป็นการดีหากเธอไม่สละเสียเป็นสังฆาทิเสส.

ท่านทั้งหลาย  ธรรมชื่อสังฆาทิเสส  ๑๓  เป็นปฐมาปัตติกะ  (ให้ต้องอาบัติแต่แรกทำ)  เป็นยาวตติยกะ  (ให้ต้องอาบัติต่อ  เมื่อสงฆ์สวดประกาศห้ามครง  ๓  ครั้ง)  ภิกษุต้องธรรมเหล่าไรเล่า  อันใดอันหนึ่งแล้วรู้อยู่  ปกปิดไว้สิ้นวันเพียงเท่าใด  ภิกษุนั้น  ถึงจะไม่ปรารถนา  ก็พึง       ต้องอยู่  ปริวาส  สิ้นวันเท่าที่ปกปิดนั้นภิกษุอยู่ปริวาสครบตามวันที่ปิดแล้ว  พึงปฏิบัติ  เพื่อภิกษุมานัตต์เกินขึ้นไป  ๖  ราตรีหมู่ภิกษุได้ประพฤติมานัตต์  ๖  ราตรีแล้วหมู่ภิกษูคณะ  ๒๐  จะพึงมี  ณ  สีมาใด    ภิกษุนั้น  สงฆ์พึงอัพภานเธอ  ณ  สีมานั้นถ้าภิกษุสงฆ์คณะ  ๒๐  หย่อนด้วยภิกษุแม้  แต่องค์หนึ่งไม่ครบ๒๐  หากอัพภานภิกษุนั้นไซร้ภิกษุนั้นก็เป็นอันมิได้อัพภาน      ภิกษุทั้งหลายที่เป็นการกสงฆ์  ก็เป็นอัน  พระพุทธเจ้าจะพึงติเตียนนี้  เป็นสามีจิกรรม  (คือประพฤติชอบ)  ในเรื่องนั้น

ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ  ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๒  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ  ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๓  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้ว  ในเรื่องนั้น  เพราะฉะนั้น  จึงนิ่ง  ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

สังฆาทิเสสุทเทส  จบ.


 

 

อนิยตุทเทส

(อนิยต  ๒)

ท่านทั้งหลาย  ธรรมชื่อ  อนิยต๒เหล่านี้แล  ย่อมมาสู่อุทเทส.

๑.  อนึ่ง  ภิกษุใดผู้เดียวสำเร็จการนั่งในที่ลับ  คือในอาสนะกำบัง  พอจะทำการได้กับมาตุคามผู้เดียว.อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้  เห็นภิกษุกับมาตุคาม  นั้นนั่นเทียว  พูดขึ้นด้วยธรรม๓ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง  คือด้วยปาราชิกก็ดี  ด้วยสังฆาทิเสสก็ดี  ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี    ภิกษุปฏิญญาซึ่งการนั่ง  พึงถูกปรับด้วยธรรม๓  ประการ  คือด้วยปาราชิกบ้าง  ด้วยสังฆาทิเสสบ้าง  ด้วยปาจิตตีย์บ้าง  อีกอย่างหนึ่ง  อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้นกล่าวด้วยธรรมใด  ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น  นี้ธรรมชื่อ  อนิยต

๒. อนึ่ง  สถานที่ไม่เป็นที่กำบังอะไรเลย  ไม่พอที่จะทำกรรม (คือ การเสพเมถุน) ได้ แต่พอเป็นที่จะพูดเคาะมาตุคาม  ด้วยวาจาชั่วหยาบได้อยู่      และภิกษุใดผู้เดียว  สำเร็จการนั่งในที่ลับกับด้วยมาตุคามผู้เดียว  ในอาสนะมีรูปอย่างนั้นอุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้เห็นภิกษุกับมาตุคามนั้น นั่นแล้ว  พูดขึ้นด้วยธรรม  ๒  ประการ  อย่างใดอย่างหนึ่ง  คือด้วยสังฆาทิเสส               ก็ดี  ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี    ภิกษุปฏิญญาซึ่งการนั่ง  พึงถูกปรับด้วยธรรม  ๒  ประการ  คือด้วยสังฆาทิเสสบ้าง  ด้วยปาจิตตีย์บ้าง    อีกอย่างหนึ่ง  อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้นกล่าวด้วยธรรมใด  ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น  แม้ธรรมนี้ก็ชื่อ  อนิยต.ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  ธรรมชื่ออนิยต  ๒

ข้าพเจ้าได้แสดงขึ้นแล้วแล  ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลาย  ในเรื่องนั้น  ท่านทั้งหลาย  เป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ.ข้าพเจ้าถาม  แม้ครั้งที่  ๒  ท่านทั้งหลาย  เป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ.ข้าพเจ้าถาม  แม้ครั้งที่  ๓  ท่านทั้งหลาย  เป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?ท่านทั้งหลาย  เป็นผู้บริสุทธ์แล้วในเรื่องนี้เพราะฉะนั้น  จึงนิ่ง  ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้

อนิยตุทเทส  จบ


 

 

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐

ท่านทั้งหลาย  ธรรมชื่อ  นิสสัคคิยปาจิตตีย์  สิกขาบท  เหล่านี้แล  ย่อมมาสู่อุทเทส.  ๑.

๑.  จีวรสำเร็จแล้ว  กฐินอันภิกษุเดาะเสียแล้ว  พึงทรงอติเรก         จีวรได้  ๑๐  วันเป็นอย่างยิ่ง  ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป    เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๒.  จีวรสำเร็จแล้ว  กฐินอันภิกษุเดาะเสียแล้ว  ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรีหนึ่ง    เว้นเสียแต่ภิกษุได้รับสมมติเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๓.  จีวรสำเร็จแล้ว  กฐินอันภิกษุเดาะ  เสียแล้ว  อกาลจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ  ภิกษุหวังอยู่ก็พึงรับ  ครั้นรับแล้วพึงรีบให้ทำ  ถ้าผ้านั้นมีไม่พอเมื่อความหวังว่าจะได้มีอยู่  ภิกษุนั้นพึงเก็บจีวรนั้นไว้ได้เดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง  เพื่อจีวรที่ยังบกพร่องจะได้พอกัน  ถ้าเธอเก็บไว้ยิ่งกว่ากำหนดนั้นแม้ความหวังว่าจะได้มีอยู่ก็เป็นนิสสัคคิย ปาจิตตีย์.

๔.  อนึ่ง  ภิกษุใดยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติให้ซักก็ดี  ให้ย้อมก็ดี            ให้ทุบก็ดี  ซึ่งจีวรเก่าเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๕.  อนึ่ง  ภืกษุใดรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติเว้นไว้แต่ของแลกเปลี่ยน    เป็นนิสสัคคีย์ปาจิตตีย์.

๖.  อนึ่ง  ภิกษุใดขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือนก็ดี  ต่อแม่เจ้าเรือนก็ดี             ผู้มิใช่ญาตินอกจากสมัย  เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.สมัยในคำนั้นดังนี้,  คือ    ภิกษุเป็นผู้มีจีวรถูกชิงเอาไปก็ดี  มีจีวรฉิบหายก็ดีนี้สมัยในคำนั้น.

๗.  พ่อเจ้าเรือนก็ดี  แม่เจ้าเรือนก็ดี  ผู้มิใช่ญาติ  ปวารณาต่อภิกษุด้วยจีวรเป็นอันมาก  เพื่อนำไปตามใจ  ภิกษุนั้นพึงยินดีจีวรมีอุตตราสงค์  กับอันตรวาสก  เป็นอย่างมาก  จากจีวรเหล่านั้น.ถ้ายินดียิ่งกว่านั้นเป็น    นิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๘. อนึ่ง  มีพ่อเจ้าเรือนก็ดี  แม่เจ้าเรือนก็ดี  ผู้มิใช่ญาติ  ตระเตรียมทรัพย์  สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะภิกษุไว้ว่า  "เราจักจ่ายจีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้ว  ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร"  ถ้าภิกษุนั้น  เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน  เข้าไปหาแล้ว  ถึงการกำหนดในจีวรในสำนักของ  เขาว่า  "ดีละ  ท่านจงจ่ายจีวรเช่นนั้นเช่นนี้ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรแล้วยังรูปให้ครอง เถิด"  ถือเอาความเป็นผู้ใคร่จีวรที่ดี,เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๙. อนึ่ง มีพ่อเจ้าเรือนก็ดี  แม่เจ้าเรือนก็ดีผู้มิใช่ญาติ  ๒  คน          ตระเตรียมทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆไว้เฉพาะภิกษุว่า  "เราทั้งหลายจักจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ  ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ  นี้แล้ว  ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวรหลายผืนด้วยกัน"  ถ้าภิกษุนั้น  เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน  เข้าไปหาแล้ว  ถึงการกำหนดในจีวรในสำนักของ  เขาว่า"  ดีละ  ขอท่านทั้งหลายจ่ายจีวรเช่นนั้นเช่นนี้ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรเฉพาะผืนๆ  แล้วทั้ง  ๒  คนรวมกัน  ยังรูปให้ครองจีวรผืนเดียวเถิด".  ถือเอาความเป็นผู้ใคร่จีวรที่ดี,  เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๑๐. อนึ่ง  พระราชาก็ดี  ราชอมาตย์ก็ดี  พราหมณ์ก็ดี  คหบดีก็ดี  ส่งทรัพย์สำหรับ  จับจ่ายจีวรไปด้วยทูต  เฉพาะภิกษุว่า  "เจ้าจงจ่ายจีวร  ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้ว  ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร"  ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้น  กล่าวอย่างนี้ว่า  "ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้  นำมาเฉพาะท่านขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนั้น"  ภิกษุนั้นพึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า  "พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่  พวกเรารับแต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล"  ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า  "ก็ใครๆ  ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมีหรือ?"  ภิกษุต้องการจีวร  พึงแสดงชนผู้ทำการในอาราม  หรืออุบาสกให้เป็นไวยาวัจกรด้วยคำว่า  "คนนั้นแล  เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย"  ถ้าทูตนั้นสั่งไวยาวัจกรนั้นให้เข้าใจแล้ว  เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า  "คนที่ท่านแสดงเป็นไวยาวัจกรนั้น  ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว  ท่านจงเข้าไปหาเขาจักให้ท่านครองจีวรตามกาล"   ภิกษุผู้ต้องการจีวร  เข้าไปหาไวยาวัจกรแล้ว  พึงทวง  พึงเตือน  ๒ - ๓  ครั้งว่า  "รูปต้องการจีวร"    ภิกษุทวงอยู่  เตือนอยู่ ๒ - ๓  ครั้ง  ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้.การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้นั่นเป็น ดี  ถ้าสำเร็จไม่ได้,  พึงเข้าไปยืนนิ่งต่อหน้า  ๔  ครั้ง  ๕  ครั้ง  ๖  ครั้งเป็นอย่างมากเธอยืนนิ่งต่อหน้า  ๔  ครั้ง  ๕  ครั้ง  ๖  ครั้งเป็น  อย่างมาก  ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้  การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้  นั่นเป็นดี  ถ้าให้  สำเร็จไม่ได้  ถ้าเธอพยายามให้ยิ่งกว่านั้น  ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ  เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์  ถ้าให้สำเร็จไม่ได้พึงไปเองก็ได้  ส่งทูตไปก็ได้  ในสำนักที่ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรมาเพื่อเธอ  บอกว่า"  ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปเฉพาะภิกษุใด  ทรัพย์นั้น  หาสำเร็จประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่ท่านจงทวงเอาคืนทรัพย์ของท่าน  ทรัพย์ของท่านอย่าได้ฉิบหายเสียเลย,  นี้เป็นสามีจิกรรม  (คือประพฤติชอบ)  ในเรื่องนั้น.

จีวรวรรคที่  ๑  (จบ).


 

 

๑๑.  อนึ่ง ภิกษุใดให้ทำสันถัตเจือด้วยไหม,  เป็นนิสสัคคิย -               ปาจิตตีย์.

๑๒. อนึ่ง  ภิกษุใด  ให้ทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน,   เป็น             นิสสัค คิยปาจิตตีย์.

๑๓.  อนึ่ง  ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตใหม่  พึงถือเอาขนเจียมดำล้วน  ๒  ส่วนขนเจียมขาวเป็นส่วนที่  ๓,ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่  ๔,ถ้าภิกษุไม่ถือเอาขนเจียมดำล้วน๒  ส่วน  ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่  ๓  ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่  ๔ให้ทำสันถัตใหม่,เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๑๔.  อนึ่ง  ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว  พึงทรงไว้ให้ได้  ๖  ปี  ถ้าหย่อนกว่า  ๖  ปี  เธอสละเสียแล้วก็ดียังไม่สละแล้วก็ดี  ซึ่งสันถัตนั้น  ให้ทำสันถัตอื่นใหม่เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ,          เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๑๕.  อนึ่ง  ภิกษุผู้ให้ทำสันถัตสำหรับนั่งพึงถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่งสันถัตเก่า  เพื่อทำให้เสียสี,  ถ้าภิกษุไม่ถือเอาคืบสุคตโดยรอบแห่ง  สันถัตเก่า  ให้ทำสันถัตสำหรับนั่งใหม่  เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๑๖.  อนึ่ง  ขนเจียมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินทาง  ภิกษุต้องการ       พึงรับได้,  ครั้นรับแล้ว  เมื่อคนถือไม่มี  พึงถือไปด้วยมือของตนเอง  ตลอดระยะทาง  ๓  โยชน์  เป็นอย่างมาก  ถ้าเธอถือเอาไปยิ่งกว่านั้น  แม้คนถือไม่มี  เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๑๗.  อนึ่ง ภิกษุใดยังภิกษุณีผู้มิใช่ญาติให้ซักก็ดี  ให้ย้อมก็ดี  ให้สางก็ดี  ซึ่งขนเจียม,เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๑๘.  อนึ่ง  ภิกษุใด  รับก็ดี  ให้รับก็ไม่ดี    ทองเงิน  หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี,      เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๑๙.  อนึ่ง ภิกษุใด  ถึงความแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะ  มีประการต่างๆ    เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๒๐.  อนึ่ง  ภิกษุใดถึงการซื้อและการขายมีประการต่างๆ  เป็น  นิสสัคคิยปาจิตตีย์

โกสิยวรรคที่  ๒  (จบ)

๒๑.  พึงทรงอติเรกบาตรไว้ได้  ๑๐  วันเป็นอย่างยิ่งภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไปเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๒๒.  อนึ่ง ภิกษุใด  มีบาตรมีรอยร้าวน้อยกว่า  ๕  นิ้ว  ให้จ่ายบาตรอื่นใหม่เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.  ภิกษุนั้นพึงสละบาตรนั้น  ในภิกษุบริษัท,บาตรใบสุดท้ายแห่งภิกษุในบริษัทนั้น  พึงมอบให้แกภิกษุนั้น     สั่งว่า  "นี้บาตรของท่าน  พึงทรงไว้  (คือใช้)  กว่าจะแตก."  นี้เป็นสามีจิกรรม  (คือการชอบ)  ในเรื่องนั้น.

๒๓. อนึ่ง  มีเภสัช  อันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธคือ  เนยใส  เนยข้น  น้ำมัน  น้ำผึ้ง  น้ำอ้อย,ภิกษุรับ  (ประเคน)  ของนั้นแล้ว  พึงเก็บไว้ฉันได้  ๗  วันเป็นอย่างยิ่ง,  ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไปเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๒๔. ภิกษุ  (รู้)  ว่าฤดูร้อนยังเหลืออีก  ๑  เดือน  พึงแสวงหาจีวร  คือผ้าอาบน้ำฝนได้  (รู้)  ว่าฤดูร้อยยังเหลืออีกกึ่งเดือน  พึงทำนุ่งได้  ถ้าเธอ  (รู้)  ว่าฤดูร้อนเหลือล้ำกว่า๑  เดือนแสวงหาจีวร  คือผ้าอาบน้ำฝน  (รู้)  ว่าฤดูร้อนเหลือล้ำกว่ากึ่งเดือนทำนุ่ง  เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์

๒๕. อนึ่ง  ภิกษุใด  ให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้ว  โกรธน้อยใจชิงเอามาก็ดี  ให้ชิงเอามาก็ดี  เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์

๒๖. อนึ่ง ภิกษุใดขอด้ายมาเองแล้ว  ยังช่างหูกให้ทอจีวร  เป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์

๒๗. อนึ่ง  พ่อเจ้าเรือนก็ดี  แม่เจ้าเรือนก็ดี  ผู้มิใช่ญาติ  สั่งช่างหูกให้ทอจีวร  เฉพาะภิกษุ    ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณไว้ก่อน  เข้าไปหาช่างหูกแล้ว  ถึงความกำหนดในจีวรในสำนักของเขานั้นว่า  จีวรผืนนี้ทอเฉพาะรูป  ขอท่านจงทำให้ยาว  ให้เป็นของขึงดี  ให้เป็นของที่ทอดี  ให้เป็นของ  ที่สางดี  ให้เป็นของที่กรีดดี  แม้ไฉน  รูปจะให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลแก่ท่าน  ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว  ภิกษุนั้นให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัล  โดยที่สุดแม้สักว่าบิณฑบาต  เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๒๘.วันปุรณมีที่ครบ  ๓  เดือนแห่งเดือนกัตติกา  (คือเดือน๑๑)  ยังไม่มาอีก  ๑๐  วัน  อัจเจกจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ  ภิกษุรู้ว่า  เป็นอัจเจกจีวร  พึงรับไว้ได้  ครั้นรับไว้แล้ว  พึงเก็บไว้ได้จนตลอดสมัยที่เป็นจีวรกาล  ถ้าเธอเก็บไว้ยิ่งกว่านั้น  เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๒๙. อนึ่ง  (ถึง)  วันปุรณมีแห่งเดือนกัตติกาที่สุดแห่งฤดูฝน  ภิกษุอยู่ในเสนาสนะป่าที่รู้กันว่าเป็นที่รังเกียจ  มีภัยเฉพาะหน้าปรารถนาอยู่  พึงเก็บจีวร  ๓  ผืนๆ  ใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้และปัจจัยอะไรๆเพื่อจะอยู่ปราศจากจีวรนั้นจะพึง มีแก่ภิกษุภิกษุนั้น  พึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้  ๖  คืนเป็นอย่างยิ่ง,  ถ้าเธออยู่ปราศยิ่งกว่านั้น  เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

๓๐. อนึ่ง  ภิกษุใดรู้อยู่  น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน  เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

ปัตตวรรคที่  ๓  (  จบ)

ท่านทั้งหลาย  ธรรมชื่อ  นิสสัคคิยปาจิตตีย์  ๓๐  (  สิกขาบท)  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้วแล  ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลายในข้อเหล่านั้นท่านเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?  ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๒  ท่านเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๓  ท่านเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์ในข้อเหล่านั้นแล้ว  เพราะฉะนั้น  จึงนิ่ง  ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้อย่างนี้    ธรรมทั้งหลายชื่อ  นิสสัคคิยปาจิตตีย์

นิสสัคคิยปาจิตตีย์  จบ.


 

 

ปาจิตติยะ

(ปาจิตตีย์  ๙๒)

ท่านทั้งหลาย  ธรรมชื่อว่า  ปาจิตตีย์  ๙๒  เหล่านี้แล  ย่อมมาสู่ อุทเทส

๑.    เป็นปาจิตตีย์  ในเพราะสัมปชานมุสาวาท  (กล่าวเท็จทั้งรู้ตัว)

๒.  เป็นปาจิตตีย์  ในเพราะโอมสวาท ( ด่า )

๓.  เป็นปาจิตตีย์  ในเพราะส่อเสียดภิกษุ

๔.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ยังอนุปสัมบัน  ให้กล่าวธรรมโดยบท๑  เป็นปาจิตตีย์.

๕.    อนึ่ง  ภิกษุใด  สำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบันยิ่งกว่า  ๒-๓  คืนเป็นปาจิตตีย์

๖.  อนึ่ง  ภิกษุใด  สำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคาม  เป็นปาจิตตีย์.

๗.  อนึ่ง  ภิกษุใด  แสดงธรรมแก่มาตุคาม  ยิ่งกว่า  ๕-๖  คำ  เว้นไว้แต่บุรุษผู้รู้เดียงสา  ( มีอยู่ )  เป็นปาจิตตีย์.

๘.  อนึ่ง  ภิกษุใด  บอกอุตตริมนุสสธรรม  (ของตน)  แก่                อนุปสัมบัน  เป็นปาจิตตีย์  เพราะมีจริง

๙.  อนึ่ง  ภิกษุใด  บอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ  แก่อนุปสัมบัน  เว้น  ไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ  เป็นปาจิตตีย์.

๑๐.  อนึ่ง  ภิกษุใดขุดก็ดี  ให้ขุดก็ดี  ซึ่งแผ่นดินเป็นปาจิตตีย์.

มุสาวาทวรรคที่  ๑  (จบ)

๑๑.  เป็นปาจิตตีย์  ในเพราะความถูกพรากแห่งภูตคาม

๑๒.  เป็นปาจิตตีย์  ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น  ในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบาก.

๑๓.  เป็นปาจิตตีย์  ในเพราะความเป็นผู้โพนทะนา  ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่า

๑๔.  อนึ่ง  ภิกษุใด  วางไว้แล้วก็ดี  ให้วางไว้แล้วก็ดี  ซึ่งเตียงก็ดี  ตั่งก็ดี  ฟูกก็ดีเก้าอี้ก็ดี  อันเป็นของสงฆ์ในที่แจ้ง.เมื่อหลีกไป  ไม่เก็บก็ดี  ไม่ให้เก็บก็ดี  ซึ่งเสนาสนะที่วางไว้นั้น  หรือไม่บอกสั่ง  ไปเสีย  เป็นปาจิตตีย์.

๑๕.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ปูแล้วก็ดี  ให้ปูแล้วก็ดี  ซึ่งที่นอน  ในวิหาร  เป็นของสงฆ์  เมื่อหลีกไป  ไม่เก็บก็ดี  ไม่ให้เก็บก็ดี  ซึ่งที่นอนอันปูไว้นั้น  หรือไม่บอกสั่ง  ไปเสีย  เป็นปาจิตตีย์.

๑๖.  อนึ่ง  ภิกษุใดรู้อยู่  สำเร็จการนอน  เบียดภิกษุผู้เข้าไปก่อน  ในวิหารของสงฆ์  ด้วยหมายว่า  ความคับแคบจักมีแก่ผู้ใดผู้นั้นจะหลีก ไปเอง    ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นให้เป็นปัจจัย  หาใช่อย่างอื่นไม่เป็น ปาจิตตีย์.

๑๗.  อนึ่ง  ภิกษุใด  โกรธขัดใจฉุดคร่าเองก็ดี  ให้ผู้อื่นฉุดคร่าก็ดี  ซึ่งภิกษุ  จากวิหารของสงฆ์าเป็น ปาจิตตีย์.

๑๘.  อนึ่ง  ภิกษุใด  นั่งทับก็ดี  นอนทับก็ดี  ซึ่งเตียงก็ดี  ซึ่งตั่งก็ดี  อันมีเท้าเสียบ  (  ในตัวเตียง)  บนร้าน  ในวิหารเป็นของสงฆ์  เป็นปาจิตตีย์.

๑๙.  อนึ่ง  ภิกษุผู้ให้ทำซึ่งวิหารใหญ่  จะวางเช็ดหน้าเพียงไร  แต่กรอบแห่งประตู  จะบริกรรมช่องหน้าต่าง  พึงยืนในที่ปราศจากของสดเขียว  อำนวย  (ให้พอก)  ได้  ๒ - ๓  ชั้นถ้าเธออำนวย  (ให้พอก)  ยิ่งกว่านั้น  แม้ยืนในที่ปราศจากของสดเขียวก็เป็ปาจิตตีย์

๒๐.    อนึ่ง  ภิกษุใดรู้อยู่ว่า  น้ำมีตัวสัตว์รดก็ดี  ให้รดก็ดี  ซึ่งหญ้าก็ดี  ซึ่งดินก็ดี  เป็นปาจิตตีย์.

ภูตคามวรรคที่  ๒  (จบ).

๒๑.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ไม่ได้รับสมมติสั่งสอนพวกภิกษุณี  เป็นปาจิตตีย์.

๒๒.  ถ้าภิกษุได้รับสมมติแล้ว   เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว  สั่งสอนพวกภิกษุณี  เป็นปาจิตตีย์

๒๓.    อนึ่ง  ภิกษุใด  เข้าไปสู่ที่อาศัยแห่งภิกษุณีแล้ว  สั่งสอน  พวกภิกษุณีเว้นไว้แต่สมัย  เป็นปาจิตตีย์สมัยในเรื่องนั้นดังนี้คือ  ภิกษุณีอาพาธ  สมัยในเรื่องนั้น  ดังนี้:

๒๔.    อนึ่ง  ภิกษุใด  กล่าวอย่างนี้ว่า  "พวกภิกษุสั่งสอนพวกภิกษุณี  เพราะเหตุ  อามิส"  เป็นปาจิตตีย์.

๒๕.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ  เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยน  เป็นปาจิตตีย์.

๒๖.  อนึ่ง  ภิกษุใด  เย็บก็ดี  ให้เย็บก็ดีซึ่งจีวร  เพื่อภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ  เป็นปาจิตตีย์.

๒๗.    อนึ่ง  ภิกษุใด  ชักชวนกันแล้ว  เดินทางไกลด้วยกันกับภิกษุณี  โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่งเว้นไว้แต่สมัย  เป็นปาจิตตีย์.  สมัยในเรื่องนั้น  ดังนี้:  คือทางเป็นที่จะต้องไปด้วยพวกเกวียน  รู้กันว่าเป็นที่น่ารังเกียจมีภัยเฉพาะหน้า  นี้สมัยในเรื่องนั้น

๒๘.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ชักชวนแล้ว  ขึ้นเรือลำเดียวกับภิกษุณีขึ้นน้ำไปก็ดี  ล่องน้ำไปก็ดี  เว้นไว้แต่ข้ามฟาก  เป็นปาจิตตีย์.

๒๙.  อนึ่ง  ภิกษุใด  รู้อยู่ฉันบิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำให้ถวายเว้นไว้แต่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน  เป็นปาจิตตีย์.

๓๐.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ผู้เดียว  สำเร็จการนั่ง  ในที่ลับตากับภิกษุณีผู้เดียว    เป็นปาจิตตีย์.

โอวาทวรรคที่  ๓  (จบ).

๓๑.  ภิกษุผู้มิใช่อาพาธ  พึงฉันอาหารในโรงทานได้ครั้งหนึ่ง  ถ้าฉันยิ่งกว่านั้น    เป็นปาจิตตีย์.

๓๒.    เว้นไว้แต่สมัย    เป็นปาจิตตีย์  ในเพราะฉันเป็นหมู่.    นี้สมัยในเรื่องนั้น  คือคราวอาพาธ  คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร  คราวที่ทำจีวร  คราวที่เดินทางไกล    คราวที่ขึ้นเรือไป  คราวประชุมใหญ่  คราวภัตต์  ของสมณะ  นี้สมัยในเรื่องนั้น

๓๓.    เว้นไว้แต่สมัย    เป็นปาจิตตีย์  ในเพราโภชนะทีหลัง.สมัยในเรื่องนั้นดังนี้:  คือคราวเป็นไข้  คราวถวายจีวร  คราวทำจีวร  นี้สมัยในเรื่องนั้น.

๓๔.    อนึ่ง  เขาปวารณาภิกษุผู้เข้าไปสู่สกุล  ด้วยขนมก็ดี    ด้วยสัตตุผงก็ดี    เพื่อนำไปได้ตามปรารถนาภิกษุผู้ต้องการ  พึงรับได้เต็ม  ๒ - ๓  บาตรถ้ารับยิ่งกว่านี้น    เป็นปาจิตตีย์.ครั้นรับเต็ม  ๒ - ๓  บาตรแล้ว  นำออกจากที่นั้นแล้วพึงแบ่งปันกับภิกษุทั้งหลาย  นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.

๓๕.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ฉันเสร็จห้ามเสียแล้วเคี้ยวก็ดี  ฉันก็ดี  ซึ่งของเคี้ยวก็ดี    ซึ่งของฉันก็ดี  อันมิใช่เดน  เป็นปาจิตตีย์.

๓๖.  อนึ่ง  ภิกษุใด  นำไปปวารณาภิกษุผู้ฉันเสร็จ  ห้ามเสียแล้ว    ด้วยของเคี้ยวก็ดีด้วยของฉันก็ดี    อันมิใช่เดนบอกว่า  "เอาเถิด  ภิกษุ  ขอจงเคี้ยวหรือฉัน"  รู้อยู่  เพ่งจะหาโทษให้พอเธอฉันแล้ว    เป็นปาจิตตีย์.

๓๗.    อนึ่ง  ภิกษุใดเคี้ยวก็ดี  ฉันก็ดี  ซึ่งของเคี้ยวก็ดี    ซึ่งของฉันก็ดี    ในเวลาวิกาล  เป็นปาจิตตีย์.

๓๘.  อนึ่ง  ภิกษุใด  เคี้ยวก็ดี  ฉันก็ดี    ซึ่งของเคี้ยวก็ดี    ซึ่งของฉันก็ดี    ที่ทำการสั่งสมไว้  เป็นปาจิตตีย์.

๓๙.  อนึ่ง  ภิกษุใด  มิใช่ผู้อาพาธ  ขอโภชนะอันประณีตเห็นปานนี้  เช่น  เนยใน  เนยข้น  น้ำมัน  น้ำผึ้ง  น้ำอ้อย  ปลา  เนื้อ  นมสด    นมข้น    เพื่อประโยชน์แก่ตน    แล้วฉัน    เป็น    ปาจิตตีย์.

๔๐.  อนึ่ง  ภิกษุใด  กลืนอาหารที่เขายังไม่ให้  ล่วงช่องปากเว้นไว้แต่น้ำและไม้ชำระฟัน  เป็นปาจิตตีย์.

โภชนวรรคที่  ๔  (จบ).

๔๑.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ให้ของเคี้ยวก็ดี  ของกินก็ดี  แก่อเจลกก็ดี  แก่ปริพาชกก็ดี  แก่ปริพาชิกาก็ดี  ด้วยมือของตน  เป็นปาจิตติย์.

๔๒.  อนึ่ง  ภิกษุใด  กล่าวต่อภิกษุอย่างนี้ว่าท่านจงมา  เข้าไปสู่บ้านหรือสู่นิคม    เพื่อบิณฑบาตด้วยกัน"    เธอยังเขาให้ถวายแล้วก็ดี  ไม่ให้ถวายแล้วก็ดี  แก่เธอแล้วส่งไป  (ด้วยคำ)  ว่าท่านจงไปเสีย  การพูดก็ดี    การนั่งก็ดี  ของเรากับท่าน  ไม่เป็นผาสุกเลย    การพูดก็ดี  การนั่งก็ดี  ของเราคนเดียวย่อมเป็นผาสุก"  ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นแล  ให้เป็นปัจจัยหาใช่อย่างอื่นไม่    เป็นปาจิตตีย์.

๔๓.  อนึ่ง  ภิกษุใด  สำเร็จการนั่งแทรกแซงในสโภชนสกุล    เป็นปาจิตตีย์.

๔๔.  อนึ่ง  ภิกษุใด    สำเร็จการนั่งในที่ลับ  คือ    ในอาสนะกำบังกับมาตุคาม  เป็นปาจิตตีย์.

๔๕.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ผู้เดียวสำเร็จการนั่งในที่ลับตากับมาตุคามผู้เดียว    เป็นปาจิตตีย์.

๔๖.    อนึ่ง  ภิกษุใด  รับนิมนต์แล้ว  มีภัตต์อยู่แล้ว  ไม่บอกลาภิกษุซึ่ง  มีอยู่ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในสกุลทั้งหลาย  ก่อนฉันก็ดี    ทีหลังฉันก็ดีเว้นไว้แต่สมัย  เป็นปาจิตตีย์.สมัยในเรื่องนั้นดังนี้:  คือคราวที่ถวายจีวร  คราวที่ทำจีวร,  นี้สมัยในเรื่องนั้น.

๔๗.    ภิกษุใด  ไม่ใช่ผู้อาพาธ    พึงยินดีปวารณาด้วยปัจจัย  เพียง  ๔  เดือนเว้นไว้แต่ปวารณาอีกเว้นไว้แต่ปวารณาเป็นนิตย์  ถ้าเธอยินดียิ่งกว่านั้น  เป็นปาจิตตีย์

๔๘.    ภิกษุใด  ไปเพื่อจะดูกองทัพอันยกออกแล้วเว้นไว้แต่ปัจจัยมีอย่างนี้เป็นรูป  เป็นปาจิตตีย์.

๔๙.  ก็ถ้าปัจจัยบางอย่าง  เพื่อจะไปสู่กองทัพมีแก่ภิกษุนั้น  ภิกษุนั้นพึงอยู่ได้ในกองทัพเพียง  ๒ - ๓  คืน  ถ้าอยู่ยิ่งกว่านั้น    เป็นปาจิตตีย์.

๕๐.  ถ้าภิกษุอยู่ในกองทัพ ๒ - ๓  คืนไปสู่สนามรบก็ดี  ไปสู่ที่พักพลก็ดี  ไปสู่ที่จัดขบวนทัพก็ดี  ไปดูหมู่อนึก๒  คือ  ช้าง  ม้า  รถ  พลเดิน  อันจัดเป็นกองๆ  แล้วก็ดีเป็นปาจิตตีย์

อะเจละกะวรรคที่  ๕  (จบ).

๕๑.  เป็นปาจิตตีย์  ในเพราะดื่มสุราและเมรัย.

๕๒.  เป็นปาจิตตีย์ในเพราะจี้ด้วยนิ้วมือ.

๕๓.  เป็นปาจิตตีย์  ในเพราะธรรมคือหัวเราะในน้ำ  (หมายเอาเล่นน้ำ)

๕๔.  เป็นปาจิตตีย์  ในเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ.

๕๕.  อนึ่ง    ภิกษุใดหลอนภิกษุให้กลัว  เป็นปาจิตตีย์.

๕๖.  อนึ่ง  ภิกษุใด  มิใช่ผู้อาพาธ  ติดก็ดี  ให้ติดก็ดี  ซึ่งไฟเว้นไว้แต่ปัจจัยมีอย่างนั้นเป็นรูป  เป็นปาจิตตีย์.

๕๗.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ยังหย่อนกึ่งเดือนอาบน้ำเว้นไว้แต่สมัย  เป็นปาจิตตีย์.สมัยในเรื่องนั้นดังนี้:  คือ  "เดือนกึ่งท้ายฤดูร้อนเดือนต้นแห่งฤดูฝน"    ๒  เดือนกึ่งนี้  เป็นคราวร้อน  เป็นคราวกระวนกระวาย  คราวเจ็บไข้  คราวทำการงานคราวไปทางไกล  คราวฝนมากับพายุ  นี้สมัยในเรื่องนั้น.

๕๘.  อนึ่ง  ภิกษุ  ได้จีวรมาใหม่พึงถือเอาวัตถุสำหรับทำให้เสียสี  ๓  อย่างๆ  ใดอย่างหนึ่งคือของเขียวครามก็ได้  ตมก็ได้  ของดำคล้ำก็ได้  ถ้าภิกษุไม่ถือเอาวัตถุสำหรับทำให้เสียสี  ๓  อย่างๆ  ใดอย่างหนึ่ง  ใช้จีวรใหม่  เป็นปาจิตตีย์.

๕๙.  อนึ่ง  ภิกษุใด  วิกัปจีวรเอง  แก่ภิกษุก็ดี  แก่ภิกษุณีก็ดี  แก่นางสิกขมานาก็ดีแก่สามเณรก็ดี  แก่นางสามเณรีก็ดีแล้วใช้สอย  (จีวรนั้น)  ไม่ให้เขาถอนก่อน  เป็นปาจิตตีย์.

๖๐.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ซ่อนก็ดี  ให้ซ่อนก็ดีซึ่งบาตรก็ดี  จีวรก็ดี  ผ้าปูนั่งก็ดี  กล่องเข็มก็ดี  ประคตเอวก็ดี  แห่งภิกษุ  โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ  เป็นปาจิตตีย์.

สุราปานะวรรคที่  ๖  (จบ).

๖๑.  อนึ่ง  ภิกษุใด  แกล้งพรากสัตว์จากชีวิต  เป็นปาจิตตีย์.

๖๒.  อนึ่ง  ภิกษุใดรู้อยู่บริโภคน้ำมีตัวสัตว์  เป็นปาจิตตีย์.

๖๓.  อนึ่ง  ภิกษุใดรู้อยู่ฟื้นอธิกรณ์ที่ทำเสร็จแล้วตามธรรม  เพื่อทำอีก  เป็นปาจิตตีย์.

๖๔.  อนึ่ง  ภิกษุใดรู้อยู่  ปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ  เป็นปาจิตตีย์.

๖๕.  อนึ่ง  ภิกษุใดรู้อยู่  ยังบุคคลมีอายุไม่ครบ  ๒๐  ปี  ให้อุปสมบทบุคคลนั้นไม่เป็นอุปสัมบันด้วย    ภิกษุทั้งหลายนั้นถูกติเตียนด้วย  นี้เป็นปาจิตตีย์  ในเรื่องนั้น.

๖๖.  อนึ่ง  ภิกษุใดรู้อยู่  ชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกันกับพวกเกวียน  พวกต่าง  ผู้เป็นโจร โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง  เป็นปาจิตตีย์.

๖๗.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกันกับมาตุคามโดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง  เป็นปาจิตตีย์.

๖๘.  อนึ่ง  ภิกษุใดกล่าวอย่างนี้ว่า  "ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการว่า  เป็นธรรมทำอันตรายได้    อย่างไร  ธรรมนั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้  (จริง)ไม่"  ภิกษุนั้น          อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า  "ท่านอย่าได้พูดอย่างนั้นท่าน      อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า  การกล่าวตู่พระผู้มีพระเจ้าไม่ดีดอก       พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลยแน่ะเธอ  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมอันทำอันตรายไว้โดยบรรยายเป็นอันมาก   ก็แลธรรมนั้นอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้  (จริง)   แลภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนั้น  ขืนถืออย่างนั้นแล  ภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดประกาศห้ามจนหนที่  ๓    เพื่อสละการนั้นเสีย  ถ้าเธอถูกสวดประกาศห้ามอยู่จนหนที่  ๓  สละการนั้นเสีย  การสละได้ดังนี้  เป็นการดี  ถ้าไม่สละ  เป็นปาจิตตีย์

๖๙.  อนึ่ง    ภิกษุใดรู้อยู่  กินร่วมก็ดี  อยู่ร่วมก็ดี    สำเร็จการนอนด้วยกันก็ดี  กับภิกษุ  ผู้กล่าวอย่างนั้น  ยังไม่ได้ทำธรรมอันสมควร  ยังไม่ได้สละทิฏฐินั้น  เป็นปาจิตตีย์.

๗๐.  ถ้าแม้สมณุทเทสกล่าวอย่างนี้ว่าข้าพเจ้ารู้ธรรมที่พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการที่ตรัสว่า    เป็นธรรมทำอันตรายได้อย่างไร ธรรมนั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้ (จริง) ไม่  "สมณุทเทส นั้น  อันภิกษุทั้งหลาย  พึงกล่าวอย่างนี้ว่า"  สมณุทเทส  เธออย่าได้พูดอย่างนั้น  เธออย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า  การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีดอกพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสอย่าง นั้นเลยแน่ะสมณุทเทส        พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมทำอันตรายไว้โดยปริยายเป็นอันมากก็แลธรรม  เหล่านั้น  อาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้  (จริง)  แลสมณุทเทสนั้น  อันภิกษุทั้งหลาย    ว่ากล่าวอยู่อย่างนั้นขืนถืออย่างนั้นแล  สมณุทเทสนั้น    อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า  "แน่ะสมณุทเทส  เธออย่าอ้าง          พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นว่า  เป็นพระศาสดาของเธอตั้งแต่วันนี้ไป  แลพวก        สมณุทเทส อื่น  ย่อมได้การนอนร่วมเพียง  ๒ - ๓  คืน  กับภิกษุทั้งหลายอันใด  แม้กิริยาที่ได้การนอนร่วมนั้นไม่มีแก่เธอ  เจ้าคนเสีย  เจ้าจงไปเสีย  เจ้าจงฉิบหายเสีย"  แลภิกษุใดรู้อยู่  เกลี้ยกล่อมสมณุทเทสผู้ถูกให้ฉิบหายเสียอย่างนั้นแล้วก็ดี  ให้อุปฐากก็ดี  กินร่วมก็ดี  สำเร็จการนอนร่วมก็ดีเป็น ปาจิตีย์.

สัปปาณะวรรคที่  ๗  (จบ)

๗๑.  ภิกษุใด  อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรม  กล่าว อย่างนี้ว่า"  แน่ะเธอ  ฉันจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้  จนกว่าจะได้ถามภิกษุอื่นผู้ฉลาดผู้ทรงวินัย"  เป็นปาจิตตีย์.  (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย)  อันภิกษุศึกษาอยู่ควรรู้ถึง  ควรสอบถาม  ควรตริตรอง นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.

๗๒.  อนึ่ง  ภิกษุใด  เมื่อมีใครสวดปาฏิโมกข์อยู่  กล่าวอย่างนี้ว่า    ประโยชน์อะไรด้วยสิกขาบทเล็กน้อยเหล่านี้  ที่สวดขึ้นแล้ว  ช่างเป็นไปเพื่อความรำคาญ    เพื่อความลำบาก  เพื่อความยุ่งยิ่งนี่กระไร?  เป็นปาจิตตีย์  เพราะตำหนิสิกขาบท.

๗๓.  อนึ่ง  ภิกษุใด  เมื่อปฏิโมกข์สวดอยู่ทุกกึ่งเดือน  กล่าวอย่างนี้ว่า  "ฉันพึ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่า  เออ  ธรรมแม้นี้ก็มาแล้วในสูตร    เนื่องแล้วในสูตร  มาสู่อุเทส  (  คือการสวด  )  ทุกกึ่งเดือน"  ถ้าภิกษุทั้งหลายอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า  "ภิกษุนี้เคยนั่งเมื่อปาฏิโมกข์กำลังสวดอยู่ ๒ - ๓  คราวมาแล้ว  กล่าวอะไรอีก"  ความพ้นด้วยอาการที่ไม่รู้  หามีแก่ภิกษุนั้นไม่  พึงปรับเธอด้วยอาบัติที่ต้องในเรื่องนั้น  และพึงยกความหลงขึ้นแก่เธอเพิ่มอีกว่า"  แน่ะเธอไม่ใช่ลาภของเธอ  เธอได้ไม่ดีแล้ว  ด้วยเหตุว่า  เมื่อปาฏิโมกข์กำลังสวดอยู่เธอหาทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ดีไม่"  นี้เป็นปาจิตตีย์  ในความผู้เป็นแสร้งทำหลงนั้น

๗๔.  อนึ่ง  ภิกษุใด  โกรธ น้อยใจทำร้าย  เป็นปาจิตตีย์

๗๕.  อนึ่ง  ภิกษุใด  โกรธ  น้อยใจเงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่ภิกษุ    เป็นปาจิตตีย์

๗๖.    อนึ่ง  ภิกษุใด  กำจัด  (คือโจท)  ภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสหามูลมิได้    เป็นปาจิตตีย์

๗๗.  อนึ่ง  ภิกษุใด  แกล้งก่อความรำคาญแก่ภิกษุด้วยหมายว่า            "ด้วยเช่นนี้  ความไม่ผาสุกจักมี  แก่เธอ  แม้ครู่หนึ่ง"  ทำความหมาย       อย่างนี้เท่านั้นแล  ให้เป็นปัจจัยหาใช่อย่างอื่นไม่    เป็นปาจิตตีย์

๗๘.  อนึ่ง  ภิกษุใด  เมื่อภิกษุทั้งหลาย  เกิดหมางกัน  เกิดทะเลาะกัน  ถึงการวิวาทกัน  ยืนแอบฟัง    ด้วยหมายว่า  "จักได้ฟังคำที่เธอพูดกัน"  ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นแล  ให้เป็นปัจจัยหาใช่อย่างอื่นไม่  เป็นปาจิตตีย์.

๗๙.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ให้ฉันทะเพื่อกรรมอันเป็นธรรมแล้ว    ถึงธรรมคือการบ่นว่าในภายหลัง  เป็นปาจิตตีย์

๘๐.  อนึ่ง  ภิกษุใด  เมื่อเรื่องอันจะพึงวินิจฉัย  ยังเป็นไปอยู่ในสงฆ์    ไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะ  หลีกไปเสีย  เป็นปาจิตตีย์.

๘๑.  อนึ่ง  ภิกษุใด  (พร้อมใจ)  ด้วยสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวร(แก่ภิกษุ)  แล้วภายหลังถึงธรรมคือบ่นว่า    ว่า"ภิกษุทั้งหลายน้อมลาภของสงฆ์ไปตามชอบใจ"    เป็นปาจิตตีย์.

๘๒.    อนึ่ง  ภิกษุใดรู้อยู่น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์มาเพื่อบุคคล  เป็นปาจิตตีย์.

สหธรรมมิกวรรคที่  ๘  (จบ)

๘๓.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ไม่ได้รับบอกก่อน    ก้าวล่วงธรณีเข้าไป    (ในห้อง)  ของพระราชาผู้กษัตริย์ได้รับมฤธาภิเษกแล้ว  ที่พระราชายังไม่เสด็จออก  ที่รตนะยังไม่ออก  เป็นปาจิตตีย์  .

๘๔.  อนึ่ง  ภิกษุใด  เก็บเอาก็ดี  ให้เก็บเอาก็ดี  ซึ่งรตนะก็ดี  ซึ่งของที่สมมติว่าเป็นรตนะก็ดี  เว้นไว้แต่ในวัดที่อยู่ก็ดี  ในที่อยู่พักก็ดี  เป็นปาจิตตีย์.    แลภิกษุเก็บเอาก็ดี  ให้เก็บเอาก็ดี  ซึ่งรตนะก็ดี  ซึ่งของที่สมมติว่ารตนะก็ดี  ในวัดที่อยู่ก็ดี  ในที่อยู่พักก็ดี  แล้วพึงเก็บไว้  ด้วยหมายว่า  "ของผู้ใด  ผู้นั้นจักได้เอาไป"  นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.

๘๕.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ไม่อำลาภิกษุผู้มีอยู่แล้ว  เข้าไปสู่บ้านในเวลาวิกาล  เว้นไว้แต่กิจรีบ  (คือธุระร้อน)  มีอย่างนั้นเป็นรูป  เป็นปาจิตตีย์.

๘๖.    อนึ่ง  ภิกษุใด  ให้ทำกล่องเข็มแล้วด้วยกระดูกก็ดี  แล้วด้วยงาก็ดี  แล้วด้วยเขาก็ดี  เป็นปาจิตตีย์  ที่ให้ทุบทิ้งเสีย.

๘๗.  อนึ่ง  ภิกษุผู้ให้ทำเตียงก็ดี  ตั่งก็ดี  ใหม่  พึงทำให้มีเท้าเพียง๘นิ้ว  ด้วยนิ้วสุคตเว้นไว้แต่แม่แคร่เบื้องต่ำ  เธอทำให้ล่วงประมาณนั้นไป  เป็นปาจิตตีย์    ที่ให้ตัดเสีย.

๘๘.    อนึ่ง  ภิกษุใด  ให้ทำเตียงก็ดี  ตั่งก็ดีเป็นของหุ้มนุ่น  (คือยัดนุ่น)  เป็นปาจิตตีย์  ที่ให้รื้อเสีย.

๘๙.  อนึ่ง  ภิกษุผู้ให้ทำผ้าสำหรับนั่งให้ทำให้ได้ประมาณนี้ประมาณในคำนั้นโดยยาว  ๒  คืบโดยกว้างคืบหนึ่ง  ชายคืบครึ่ง  ด้วยคืบสุคตเธอทำให้ล่วงประมาณนั้นไป  เป็นปาจิตตีย์ที่ให้ตัดเสีย.

๙๐.  อนึ่ง  ภิกษุผู้ให้ทำผ้าปิดฝี  พึงให้ทำให้ได้ประมาณนี้       ประมาณในคำนั้นโดยยาว  ๔  คืบโดยกว้าง  ๒  คืบครึ่ง  ด้วยคืบสุคต  เธอทำให้ล่วงประมาณนั้นไป  เป็นปาจิตตีย์ที่ให้ตัดเสีย.

๙๑.  อนึ่ง  ภิกษุผู้ให้ทำผ้าอาบน้ำฝนพึงทำให้ได้ประมาณนี้          ประมาณในคำนั้นโดยยาว  ๖  คืบโดยกว้าง  ๒  คืบครึ่ง  ด้วยคืบสุคต  เธอ ทำให้ล่วงประมาณนั้นไป    เป็นปาจิตตีย์ที่ให้ตัด เสีย.

๙๒.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ให้ทำจีวร  มีประมาณเท่าสุคตจีวร  หรือยิ่งกว่า  เป็นปาจิตตีย์  ที่ให้ตัดเสีย.นี้ประมาณแห่งสุคตจีวรของพระสุคต  ในคำนั้น  โดยยาว  ๙  คืบ  โดยกว้าง  ๖  คืบ  ด้วยคืบสุคต  นี้ประมาณ  แห่งสุคตจีวรของพระสุคต

ระตะนะวรรคที่  ๙  (จบ)

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  ธรรมชื่อปาจิตตีย์  ๙๒    ข้าพเจ้าได้แสดงขึ้นแล้วแล

ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลายในข้อเหล่านั้น  ท่านทั้งหลายเป็นผู้    บริสุทธ์แล้วหรือ?ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๒  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?    ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๓  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?    ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์ในข้อเหล่านี้แล้ว  เพราะฉะนั้น  จึงนิ่ง      ข้าพเจ้า  ทรงความไว้ด้วยอย่างนี้.

ปาจิตตีย์  จบ.



ปาฏิเสทนียะ

(ปาฏิเสทนียะ  ๔)

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  ธรรมชื่อปาฏิเทสนียะ  ๔  เหล่านี้แล                 ย่อมมาสู่อุทเทส.

๑.  อนึ่ง  ภิกษุใด  รับของเคี้ยวก็ดี  ของฉันก็ดี  ด้วยมือของตน  จากมือของนางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ  ผู้เข้าไปแล้ว  สู่ละแวกบ้านแล้วเคี้ยวก็ดี  ฉันก็ดี    อันภิกษุนั้น  พึงแสดงคืนว่า  แน่ะเธอ  ฉันต้องธรรมที่น่าติ  ไม่เป็นสบายควรจะแสดงคืน  ฉันแสดงคืนธรรมนั้น".

๒.  อนึ่ง  ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์ฉันอยู่ในสกุล  ถ้าภิกษุณีมา  ยืนสั่งเสียอยู่ในที่นั้นว่า  "จงถวายแกงในองค์นี้  จงถวายข้าวในองค์นี้"  ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น  พึงรุกรานภิกษุณีนั้นว่า  "น้องหญิง  เธอจงหลีกไปเสีย  ตลอดเวลาที่ภิกษุฉันอยู่"  ถ้าภิกษุแม้รูปหนึ่ง  ไม่กล่าวออกไป  เพื่อจะรุกรานภิกษุณีนั้นว่า  "น้องหญิง  เธอจงหลีกไปเสีย  ตลอดเวลาที่ภิกษุฉันอยู่"  อันภิกษุเหล่านั้นพึงแสดงคืนว่า  "แน่ะเธอ  พวกฉันต้องธรรมที่น่าติ  ไม่เป็นสบาย  ควรจะแสดงคืนพวกฉันแสดงคืนธรรมนั้น".

๓.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ไม่ได้รับนิมนต์ก่อนมิใช่ผู้อาพาธ  รับของเคี้ยวก็ดี  ของฉันก็ดีในสกุลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสขะ  ด้วยมือของตนแล้ว  เคี้ยวก็ดี  ฉันก็ดีอันภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า  "แน่ะเธอ  ฉันต้องธรรมที่น่าติ  ไม่เป็นสบายควรจะแสดงคืนฉันแสดงคืนธรรมนั้น."

๔.  อนึ่ง  ภิกษุใด  อยู่ในเสนาสนะป่า  ที่รู้กันว่าเป็นที่มีรังเกียจ  มีภัยเฉพาะหน้า  รับของเคี้ยวก็ดี  ของฉันก็ดี  อันเขาไม่ได้บอกให้รู้ไว้ก่อน  ด้วยมือของตน  ในวัดที่อยู่ไม่ใช่ผู้อาพาธ  เคี้ยวก็ดี  ฉันก็ดีอันภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า  "แน่ะเธอ  ฉันต้องธรรมที่น่าติ  ไม่เป็นสบาย    ควรจะแสดงคืน  ฉันแสดงคืนธรรมนั้น."

ท่านทั้งหลาย  ธรรมทั้งหลายชื่อปาฏิเทสนียะ  ๔  ข้าพเจ้าได้แสดงขึ้นแล้วแล

ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลายในข้อเหล่านั้น  ท่านทั้งหลายเป็นผู้    บริสุทธ์แล้วหรือ?ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๒  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๓   ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วในข้อ เหล่านี้  เพราะฉะนั้น  จึงนิ่งข้าพเจ้าทรงความไว้ด้วยอย่างนี้.

ปาฏิเทสะนียะ  จบ.



เสขิยะ

(เสขิยะ  ๗๕)

ท่านทั้งหลาย  ธรรมชื่อเสขิยะเหล่านี้แล  ย่อมมาสู่อุทเทส.

๑.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักนุ่งเป็นปริมณฑล."

๒.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักห่มเป็นปริมณฑล".

๓.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักปกปิดกายดีไปในละแวกบ้าน".

๔.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักปกปิดกายดีนั่งในละแวกบ้าน

๕.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักสำรวมดีไปในละแวกบ้าน".

๖.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักสำรวมดี  นั่งในละแวกบ้าน."

๗.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน."

๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักมีตาทอดลงนั่งในละแวกบ้าน."

๙. พึงทำศึกษาว่า"เราจักไม่ไปในละแวกบ้านด้วยทั้งเวิกผ้า."

๑๐.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน  ด้วยทั้งเวิกผ้า."

ปะริมัณฑะละวรรค  ที่หนึ่งจบ

๑๑.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ไปในละแวกบ้าน  ด้วยทั้งความ  หัวเราะลั่น."

๑๒.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน  ด้วยทั้งความหัวเราะลั่น."

๑๓.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน."

๑๔.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักมีเสียงน้อยนั่งในละแวกบ้าน."

๑๕.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่โยกกายไปในละแวกบ้าน."

๑๖.พึงทำศึกษาว่า"เราจักไม่โยกกายนั่งในละแวก

บ้าน."

๑๗.  พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ไกวแขนไปในละแวกบ้าน."

๑๘.พึงทำศึกษาว่า"เราจักไม่ไกวแขนนั่งในละแวกบ้าน"

๑๙.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่โคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน."

๒๐.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่โคลงศีรษะนั่งในละแวกบ้าน."

นะ  อุชชัคคิกะวรรค ที่สองจบ

๒๑. พึงทำศึกษาว่า"เราจักไม่ทำความค้ำไปในละแวกบ้าน."

๒๒. พึงทำศึกษาว่า"เราจักไม่ทำความค้ำนั่งในละแวกบ้าน."

๒๓.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่คลุม  (ศีรษะ)  ไปในละแวกบ้าน."

๒๔.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่คลุม  (ศีรษะ)  นั่งในละแวกบ้าน."

๒๕.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ไปในในละแวกบ้าน  ด้วยทั้งความกระโหย่ง  ."

๒๖.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่นั่งในในละแวกบ้าน  ด้วยทั้งความรัดเข่า  ."

๒๗.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักรับบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ"

๒๘.  พึงทำศึกษา"เราจักจ้องดูอยู่ในบาตรรับิณฑบาต"

๒๙.   พึงทำศึกษาว่า"เราจักรับบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน

๓๐.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักรับบิณฑบาตเสมอขอบ"

นะ  ขัมภะกะตะวรรค   ที่สามจบ

๓๑.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักฉันบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ."

๓๒.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักจ้องดูอยู่ในบาตรฉันบิณฑบาต."

๓๓.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง."

๓๔.พึงทำศึกษาว่า"เราจักฉันบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน"

๓๕.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ขยุมลงแต่ยอดฉันบิณฑบาต."

๓๖.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่กลบแกงก็ดี  กับข้าวก็ดี  ด้วยข้าวสุก  อาศัยความอยากได้มาก."

๓๗.  พึงทำศึกษาว่า  "เราไม่อาพาธ  จักไม่ขอสูปะก็ดี  ข้าวสุกก็ดี  เพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน."

๓๘.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่เพ่งโพนทะนาแลดูบาตรของผู้อื่น."

๓๙.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก."

๔๐.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม."

สักกัจจะวรรค   ที่สี่จบ

๔๑.  พึงทำศึกษาว่า  "เมื่อคำข้าวยังไม่นำมาถึง  เราจักไม่อ้าช่องปาก."

๔๒.  พึงทำศึกษาว่า  "เราฉันอยู่  จักไม่สอดมือทั้งนั้นเข้าในปาก

๔๓.  พึงทำศึกษาว่า  "ปากยังมีคำข้าวเราจักไม่พูด."

๔๔.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันเดาะ  คำข้าว

๔๕.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว."

๔๖.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันทำให้ตุ่ย

๔๗.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันสลัดมือ."

๔๘.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันทำเมล็ดข้าวตก."

๔๙.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันแลบลิ้น

๕๐.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันทำเสียงจับๆ

นะ  อะนาหะฏะวรรค  ที่ห้าจบ

๕๑.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันทำเสียงซูดๆ

๕๒.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันเลียมือ."

๕๓.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันขอดบาตร."

๕๔.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก."

๕๕.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่รับโอน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส."

๕๖. พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน."

๕๗.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีร่มในมือ."

๕๘.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้มีไม้พลองในมือ."

๕๙.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้มีศัสตราในมือ."

๖๐.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บ ไข้มีอาวุธในมือ."

นะ  สุรุสุรุการะกะวรรค   ที่หกจบ

๖๑.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้สวมเขียงเท้า."

๖๒.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้สวมรองเท้า."

๖๓.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ไปในยาน."

๖๔.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้อยู่บนที่นอน."

๖๕  .  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้นั่งรัดเข่า."

๖๖.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้พันศีรษะ."

๖๗.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้คลุมศีรษะ."

๖๘.  พึงทำศึกษาว่า  "เรานั่งอยู่ที่แผ่นดินจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้  ผู้นั่งบนอาสนะ."

๖๙.  พึงทำศึกษาว่า  "เรานั่งบนอาสนะต่ำจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้  ผู้นั่งบนอาสนะสูง."

๗๐.  พึงทำศึกษาว่า  "เรายืนอยู่  จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้  ผู้นั่งอยู่."

นะ  ปาทุกะวรรค  ที่เจ็ดจบ

๗๑.  พึงทำศึกษาว่า  "เราเดินไปข้างหลังจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้  ผู้เดินไปข้างหน้า."

๗๒.  พึงทำศึกษาว่า  "เราเดินไปนอกทางจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้  ผู้ไปอยู่ในทาง."

๗๓.  พึงทำศึกษาว่า  "เราไม่อาพาธ  จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ."

๗๔.  พึงทำศึกษาว่า  "เราไม่อาพาธ  จักไม่ถ่ายอุจจาระ  ปัสสาวะ  หรือบ้วนเขฬะบนของสดเขียว."

๗๕.  พึงทำศึกษาว่า  "เราไม่อาพาธ  จักไม่ถ่ายอุจจาระ  ปัสสาวะ  หรือบ้วนเขฬะในน้ำ

นะ ปัจฉะโตวรรค  ที่แปดจบ

ท่านทั้งหลาย  ธรรมทั้งหลายชื่อเสขิยข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว.          ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลายในเรื่องนั้น  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?  ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๒  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?          ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๓  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?  ท่าน            ทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วในเรื่องนั้นเพราะฉะนั้น  จึงนิ่ง.  ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

เสขิยะ  จบ.

ท่านทั้งหลาย  ธรรมชื่ออธิกรณสมถะ  ๗  เหล่านี้แล  ย่อมมาสู่  อุทเทส.

เพื่อความสงบ  เพื่อความระงับ  ซึ่งอธิกรณ์ทั้งหลาย  ที่เกิดขึ้นแล้ว  ที่เกิดขึ้นแล้ว    พึงให้ระเบียบอันจะพึงทำให้ถึงพร้อมหน้า  พึงให้ระเบียบยกเอาสติขึ้นเป็นหลัก พึงให้ระเบียบที่ให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว                            ( พึงให้ )  ทำตามรับ  ( พึงให้ )  ตัดสินเอาตามคำของคนมากเป็นประมาณ  ( พึงให้ )  กิริยาที่ลงโทษแก่ผู้ผิด  ( พึงให้ )  ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า.

ท่านทั้งหลาย  ธรรมชื่ออธิกรณสมถะ  ๗  อันข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้วแล  ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลายในเรื่องนั้น  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?  ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๒  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?           ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๓  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?  ท่าน           ทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วในเรื่องนั้นเพราะฉะนั้น  จึงนิ่ง.ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่าง นี้.

อธิกรณสมถะ  ๗  จบ.

ท่านทั้งหลาย  คำนิทาน  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้วแล  ธรรมทั้งหลายชื่อปาราชิก  ๔  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว  ธรรมทั้งหลายชื่อ  สังฆาทิเสส  ๑๓  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว

ธรรมทั้งหลายชื่ออนิยต  ๒  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว  ธรรมทั้งหลาย    ชื่อนิสสัคคิยปาจิตตีย์  ๓๐  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว  ธรรมทั้งหลายชื่อปาจิตตีย์  ๙๒  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว  ธรรมทั้งหลายชื่อปาฏิเทสนียะ  ๔  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว  ธรรมทั้งหลายชื่อเสขิยะ  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว  ธรรม           ทั้งหลายชื่ออธิกรณสมถะ  ๗  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว

คำเท่านี้  ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  นับเนื่องในสูตรแล้ว          มาในสูตรแล้ว  ย่อมมาสู่อุทเทสทุกๆ  กึ่งเดือน.  อันภิกษุทั้งหลายทั้งปวง    นั่นแล  พึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน  เป็นผู้ชื่นชมด้วยดีอยู่  เป็นผู้ไม่วิวาทอยู่  ศึกษาในพระปาฏิโมกข์นั้นดังนี้.

ภิกขุปาฏิโมกข์  จบ

จากนั้นพระเถระผู้เป็นประธาน ให้โอวาท  และนำเจริญพระพุทธมนต์ตามแต่ทางวัดจะกำหนด  แต่โดยมาก วัดใหญ่ๆ ที่มีวัตรปฏิบัติเป็นแบบแผน   นิยมสวดบทสวดมนต์หลังปาฏิโมกข์   ดังต่อไปนี้

๑.   กรณียเมตตสูตร

๒.  ขันธปริตร

๓.  พระพุทธคุณ  พระธรรมคุณ  พระสังฆคุณ

๔.  วันทา  (วันทาบทใหญ่)

๕.  กรวดน้ำ  (อิมินา)

สวดจบแล้ว  พระเถระผู้เป็นประธานนำคุกเข่ากราบ ๓ หน  เป็นอันเสร็จพิธี

จากนั้น พระเถระผู้เป็นประธานต่อศีลให้สามเณร  เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของพระสงฆ์โดยทั่วไป   โดยถือว่าการต่อศีลให้สามเณรเป็นการอนุเคราะห์สามเณร  ผู้เป็นสามณเชื่อสายศากยบุตร ที่จะทำหน้าที่สืบพระศาสนาต่อไป เพื่อทำศีลให้บริสุทธิ์และเป็นการทบทวนศีล ๑๐ ข้อ  เหมือนภิกษุสวดปาฏิโมกข์    เพื่อการทบทวนศีล ๒๒๗ ข้อ  พระเถระผู้เป็นประธานให้โอวาทสามเณร  เป็นอันเสร็จพิธี