ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

 

 

ปาจิตติยะ

(ปาจิตตีย์  ๙๒)

ท่านทั้งหลาย  ธรรมชื่อว่า  ปาจิตตีย์  ๙๒  เหล่านี้แล  ย่อมมาสู่ อุทเทส

๑.    เป็นปาจิตตีย์  ในเพราะสัมปชานมุสาวาท  (กล่าวเท็จทั้งรู้ตัว)

๒.  เป็นปาจิตตีย์  ในเพราะโอมสวาท ( ด่า )

๓.  เป็นปาจิตตีย์  ในเพราะส่อเสียดภิกษุ

๔.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ยังอนุปสัมบัน  ให้กล่าวธรรมโดยบท๑  เป็นปาจิตตีย์.

๕.    อนึ่ง  ภิกษุใด  สำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบันยิ่งกว่า  ๒-๓  คืนเป็นปาจิตตีย์

๖.  อนึ่ง  ภิกษุใด  สำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคาม  เป็นปาจิตตีย์.

๗.  อนึ่ง  ภิกษุใด  แสดงธรรมแก่มาตุคาม  ยิ่งกว่า  ๕-๖  คำ  เว้นไว้แต่บุรุษผู้รู้เดียงสา  ( มีอยู่ )  เป็นปาจิตตีย์.

๘.  อนึ่ง  ภิกษุใด  บอกอุตตริมนุสสธรรม  (ของตน)  แก่                อนุปสัมบัน  เป็นปาจิตตีย์  เพราะมีจริง

๙.  อนึ่ง  ภิกษุใด  บอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ  แก่อนุปสัมบัน  เว้น  ไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ  เป็นปาจิตตีย์.

๑๐.  อนึ่ง  ภิกษุใดขุดก็ดี  ให้ขุดก็ดี  ซึ่งแผ่นดินเป็นปาจิตตีย์.

มุสาวาทวรรคที่  ๑  (จบ)

๑๑.  เป็นปาจิตตีย์  ในเพราะความถูกพรากแห่งภูตคาม

๑๒.  เป็นปาจิตตีย์  ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น  ในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบาก.

๑๓.  เป็นปาจิตตีย์  ในเพราะความเป็นผู้โพนทะนา  ในเพราะความเป็นผู้บ่นว่า

๑๔.  อนึ่ง  ภิกษุใด  วางไว้แล้วก็ดี  ให้วางไว้แล้วก็ดี  ซึ่งเตียงก็ดี  ตั่งก็ดี  ฟูกก็ดีเก้าอี้ก็ดี  อันเป็นของสงฆ์ในที่แจ้ง.เมื่อหลีกไป  ไม่เก็บก็ดี  ไม่ให้เก็บก็ดี  ซึ่งเสนาสนะที่วางไว้นั้น  หรือไม่บอกสั่ง  ไปเสีย  เป็นปาจิตตีย์.

๑๕.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ปูแล้วก็ดี  ให้ปูแล้วก็ดี  ซึ่งที่นอน  ในวิหาร  เป็นของสงฆ์  เมื่อหลีกไป  ไม่เก็บก็ดี  ไม่ให้เก็บก็ดี  ซึ่งที่นอนอันปูไว้นั้น  หรือไม่บอกสั่ง  ไปเสีย  เป็นปาจิตตีย์.

๑๖.  อนึ่ง  ภิกษุใดรู้อยู่  สำเร็จการนอน  เบียดภิกษุผู้เข้าไปก่อน  ในวิหารของสงฆ์  ด้วยหมายว่า  ความคับแคบจักมีแก่ผู้ใดผู้นั้นจะหลีก ไปเอง    ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นให้เป็นปัจจัย  หาใช่อย่างอื่นไม่เป็น ปาจิตตีย์.

๑๗.  อนึ่ง  ภิกษุใด  โกรธขัดใจฉุดคร่าเองก็ดี  ให้ผู้อื่นฉุดคร่าก็ดี  ซึ่งภิกษุ  จากวิหารของสงฆ์าเป็น ปาจิตตีย์.

๑๘.  อนึ่ง  ภิกษุใด  นั่งทับก็ดี  นอนทับก็ดี  ซึ่งเตียงก็ดี  ซึ่งตั่งก็ดี  อันมีเท้าเสียบ  (  ในตัวเตียง)  บนร้าน  ในวิหารเป็นของสงฆ์  เป็นปาจิตตีย์.

๑๙.  อนึ่ง  ภิกษุผู้ให้ทำซึ่งวิหารใหญ่  จะวางเช็ดหน้าเพียงไร  แต่กรอบแห่งประตู  จะบริกรรมช่องหน้าต่าง  พึงยืนในที่ปราศจากของสดเขียว  อำนวย  (ให้พอก)  ได้  ๒ - ๓  ชั้นถ้าเธออำนวย  (ให้พอก)  ยิ่งกว่านั้น  แม้ยืนในที่ปราศจากของสดเขียวก็เป็ปาจิตตีย์

๒๐.    อนึ่ง  ภิกษุใดรู้อยู่ว่า  น้ำมีตัวสัตว์รดก็ดี  ให้รดก็ดี  ซึ่งหญ้าก็ดี  ซึ่งดินก็ดี  เป็นปาจิตตีย์.

ภูตคามวรรคที่  ๒  (จบ).

๒๑.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ไม่ได้รับสมมติสั่งสอนพวกภิกษุณี  เป็นปาจิตตีย์.

๒๒.  ถ้าภิกษุได้รับสมมติแล้ว   เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว  สั่งสอนพวกภิกษุณี  เป็นปาจิตตีย์

๒๓.    อนึ่ง  ภิกษุใด  เข้าไปสู่ที่อาศัยแห่งภิกษุณีแล้ว  สั่งสอน  พวกภิกษุณีเว้นไว้แต่สมัย  เป็นปาจิตตีย์สมัยในเรื่องนั้นดังนี้คือ  ภิกษุณีอาพาธ  สมัยในเรื่องนั้น  ดังนี้:

๒๔.    อนึ่ง  ภิกษุใด  กล่าวอย่างนี้ว่า  "พวกภิกษุสั่งสอนพวกภิกษุณี  เพราะเหตุ  อามิส"  เป็นปาจิตตีย์.

๒๕.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ  เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยน  เป็นปาจิตตีย์.

๒๖.  อนึ่ง  ภิกษุใด  เย็บก็ดี  ให้เย็บก็ดีซึ่งจีวร  เพื่อภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ  เป็นปาจิตตีย์.

๒๗.    อนึ่ง  ภิกษุใด  ชักชวนกันแล้ว  เดินทางไกลด้วยกันกับภิกษุณี  โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่งเว้นไว้แต่สมัย  เป็นปาจิตตีย์.  สมัยในเรื่องนั้น  ดังนี้:  คือทางเป็นที่จะต้องไปด้วยพวกเกวียน  รู้กันว่าเป็นที่น่ารังเกียจมีภัยเฉพาะหน้า  นี้สมัยในเรื่องนั้น

๒๘.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ชักชวนแล้ว  ขึ้นเรือลำเดียวกับภิกษุณีขึ้นน้ำไปก็ดี  ล่องน้ำไปก็ดี  เว้นไว้แต่ข้ามฟาก  เป็นปาจิตตีย์.

๒๙.  อนึ่ง  ภิกษุใด  รู้อยู่ฉันบิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำให้ถวายเว้นไว้แต่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน  เป็นปาจิตตีย์.

๓๐.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ผู้เดียว  สำเร็จการนั่ง  ในที่ลับตากับภิกษุณีผู้เดียว    เป็นปาจิตตีย์.

โอวาทวรรคที่  ๓  (จบ).

๓๑.  ภิกษุผู้มิใช่อาพาธ  พึงฉันอาหารในโรงทานได้ครั้งหนึ่ง  ถ้าฉันยิ่งกว่านั้น    เป็นปาจิตตีย์.

๓๒.    เว้นไว้แต่สมัย    เป็นปาจิตตีย์  ในเพราะฉันเป็นหมู่.    นี้สมัยในเรื่องนั้น  คือคราวอาพาธ  คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร  คราวที่ทำจีวร  คราวที่เดินทางไกล    คราวที่ขึ้นเรือไป  คราวประชุมใหญ่  คราวภัตต์  ของสมณะ  นี้สมัยในเรื่องนั้น

๓๓.    เว้นไว้แต่สมัย    เป็นปาจิตตีย์  ในเพราโภชนะทีหลัง.สมัยในเรื่องนั้นดังนี้:  คือคราวเป็นไข้  คราวถวายจีวร  คราวทำจีวร  นี้สมัยในเรื่องนั้น.

๓๔.    อนึ่ง  เขาปวารณาภิกษุผู้เข้าไปสู่สกุล  ด้วยขนมก็ดี    ด้วยสัตตุผงก็ดี    เพื่อนำไปได้ตามปรารถนาภิกษุผู้ต้องการ  พึงรับได้เต็ม  ๒ - ๓  บาตรถ้ารับยิ่งกว่านี้น    เป็นปาจิตตีย์.ครั้นรับเต็ม  ๒ - ๓  บาตรแล้ว  นำออกจากที่นั้นแล้วพึงแบ่งปันกับภิกษุทั้งหลาย  นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.

๓๕.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ฉันเสร็จห้ามเสียแล้วเคี้ยวก็ดี  ฉันก็ดี  ซึ่งของเคี้ยวก็ดี    ซึ่งของฉันก็ดี  อันมิใช่เดน  เป็นปาจิตตีย์.

๓๖.  อนึ่ง  ภิกษุใด  นำไปปวารณาภิกษุผู้ฉันเสร็จ  ห้ามเสียแล้ว    ด้วยของเคี้ยวก็ดีด้วยของฉันก็ดี    อันมิใช่เดนบอกว่า  "เอาเถิด  ภิกษุ  ขอจงเคี้ยวหรือฉัน"  รู้อยู่  เพ่งจะหาโทษให้พอเธอฉันแล้ว    เป็นปาจิตตีย์.

๓๗.    อนึ่ง  ภิกษุใดเคี้ยวก็ดี  ฉันก็ดี  ซึ่งของเคี้ยวก็ดี    ซึ่งของฉันก็ดี    ในเวลาวิกาล  เป็นปาจิตตีย์.

๓๘.  อนึ่ง  ภิกษุใด  เคี้ยวก็ดี  ฉันก็ดี    ซึ่งของเคี้ยวก็ดี    ซึ่งของฉันก็ดี    ที่ทำการสั่งสมไว้  เป็นปาจิตตีย์.

๓๙.  อนึ่ง  ภิกษุใด  มิใช่ผู้อาพาธ  ขอโภชนะอันประณีตเห็นปานนี้  เช่น  เนยใน  เนยข้น  น้ำมัน  น้ำผึ้ง  น้ำอ้อย  ปลา  เนื้อ  นมสด    นมข้น    เพื่อประโยชน์แก่ตน    แล้วฉัน    เป็น    ปาจิตตีย์.

๔๐.  อนึ่ง  ภิกษุใด  กลืนอาหารที่เขายังไม่ให้  ล่วงช่องปากเว้นไว้แต่น้ำและไม้ชำระฟัน  เป็นปาจิตตีย์.

โภชนวรรคที่  ๔  (จบ).

๔๑.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ให้ของเคี้ยวก็ดี  ของกินก็ดี  แก่อเจลกก็ดี  แก่ปริพาชกก็ดี  แก่ปริพาชิกาก็ดี  ด้วยมือของตน  เป็นปาจิตติย์.

๔๒.  อนึ่ง  ภิกษุใด  กล่าวต่อภิกษุอย่างนี้ว่าท่านจงมา  เข้าไปสู่บ้านหรือสู่นิคม    เพื่อบิณฑบาตด้วยกัน"    เธอยังเขาให้ถวายแล้วก็ดี  ไม่ให้ถวายแล้วก็ดี  แก่เธอแล้วส่งไป  (ด้วยคำ)  ว่าท่านจงไปเสีย  การพูดก็ดี    การนั่งก็ดี  ของเรากับท่าน  ไม่เป็นผาสุกเลย    การพูดก็ดี  การนั่งก็ดี  ของเราคนเดียวย่อมเป็นผาสุก"  ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นแล  ให้เป็นปัจจัยหาใช่อย่างอื่นไม่    เป็นปาจิตตีย์.

๔๓.  อนึ่ง  ภิกษุใด  สำเร็จการนั่งแทรกแซงในสโภชนสกุล    เป็นปาจิตตีย์.

๔๔.  อนึ่ง  ภิกษุใด    สำเร็จการนั่งในที่ลับ  คือ    ในอาสนะกำบังกับมาตุคาม  เป็นปาจิตตีย์.

๔๕.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ผู้เดียวสำเร็จการนั่งในที่ลับตากับมาตุคามผู้เดียว    เป็นปาจิตตีย์.

๔๖.    อนึ่ง  ภิกษุใด  รับนิมนต์แล้ว  มีภัตต์อยู่แล้ว  ไม่บอกลาภิกษุซึ่ง  มีอยู่ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในสกุลทั้งหลาย  ก่อนฉันก็ดี    ทีหลังฉันก็ดีเว้นไว้แต่สมัย  เป็นปาจิตตีย์.สมัยในเรื่องนั้นดังนี้:  คือคราวที่ถวายจีวร  คราวที่ทำจีวร,  นี้สมัยในเรื่องนั้น.

๔๗.    ภิกษุใด  ไม่ใช่ผู้อาพาธ    พึงยินดีปวารณาด้วยปัจจัย  เพียง  ๔  เดือนเว้นไว้แต่ปวารณาอีกเว้นไว้แต่ปวารณาเป็นนิตย์  ถ้าเธอยินดียิ่งกว่านั้น  เป็นปาจิตตีย์

๔๘.    ภิกษุใด  ไปเพื่อจะดูกองทัพอันยกออกแล้วเว้นไว้แต่ปัจจัยมีอย่างนี้เป็นรูป  เป็นปาจิตตีย์.

๔๙.  ก็ถ้าปัจจัยบางอย่าง  เพื่อจะไปสู่กองทัพมีแก่ภิกษุนั้น  ภิกษุนั้นพึงอยู่ได้ในกองทัพเพียง  ๒ - ๓  คืน  ถ้าอยู่ยิ่งกว่านั้น    เป็นปาจิตตีย์.

๕๐.  ถ้าภิกษุอยู่ในกองทัพ ๒ - ๓  คืนไปสู่สนามรบก็ดี  ไปสู่ที่พักพลก็ดี  ไปสู่ที่จัดขบวนทัพก็ดี  ไปดูหมู่อนึก๒  คือ  ช้าง  ม้า  รถ  พลเดิน  อันจัดเป็นกองๆ  แล้วก็ดีเป็นปาจิตตีย์

อะเจละกะวรรคที่  ๕  (จบ).

๕๑.  เป็นปาจิตตีย์  ในเพราะดื่มสุราและเมรัย.

๕๒.  เป็นปาจิตตีย์ในเพราะจี้ด้วยนิ้วมือ.

๕๓.  เป็นปาจิตตีย์  ในเพราะธรรมคือหัวเราะในน้ำ  (หมายเอาเล่นน้ำ)

๕๔.  เป็นปาจิตตีย์  ในเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ.

๕๕.  อนึ่ง    ภิกษุใดหลอนภิกษุให้กลัว  เป็นปาจิตตีย์.

๕๖.  อนึ่ง  ภิกษุใด  มิใช่ผู้อาพาธ  ติดก็ดี  ให้ติดก็ดี  ซึ่งไฟเว้นไว้แต่ปัจจัยมีอย่างนั้นเป็นรูป  เป็นปาจิตตีย์.

๕๗.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ยังหย่อนกึ่งเดือนอาบน้ำเว้นไว้แต่สมัย  เป็นปาจิตตีย์.สมัยในเรื่องนั้นดังนี้:  คือ  "เดือนกึ่งท้ายฤดูร้อนเดือนต้นแห่งฤดูฝน"    ๒  เดือนกึ่งนี้  เป็นคราวร้อน  เป็นคราวกระวนกระวาย  คราวเจ็บไข้  คราวทำการงานคราวไปทางไกล  คราวฝนมากับพายุ  นี้สมัยในเรื่องนั้น.

๕๘.  อนึ่ง  ภิกษุ  ได้จีวรมาใหม่พึงถือเอาวัตถุสำหรับทำให้เสียสี  ๓  อย่างๆ  ใดอย่างหนึ่งคือของเขียวครามก็ได้  ตมก็ได้  ของดำคล้ำก็ได้  ถ้าภิกษุไม่ถือเอาวัตถุสำหรับทำให้เสียสี  ๓  อย่างๆ  ใดอย่างหนึ่ง  ใช้จีวรใหม่  เป็นปาจิตตีย์.

๕๙.  อนึ่ง  ภิกษุใด  วิกัปจีวรเอง  แก่ภิกษุก็ดี  แก่ภิกษุณีก็ดี  แก่นางสิกขมานาก็ดีแก่สามเณรก็ดี  แก่นางสามเณรีก็ดีแล้วใช้สอย  (จีวรนั้น)  ไม่ให้เขาถอนก่อน  เป็นปาจิตตีย์.

๖๐.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ซ่อนก็ดี  ให้ซ่อนก็ดีซึ่งบาตรก็ดี  จีวรก็ดี  ผ้าปูนั่งก็ดี  กล่องเข็มก็ดี  ประคตเอวก็ดี  แห่งภิกษุ  โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ  เป็นปาจิตตีย์.

สุราปานะวรรคที่  ๖  (จบ).

๖๑.  อนึ่ง  ภิกษุใด  แกล้งพรากสัตว์จากชีวิต  เป็นปาจิตตีย์.

๖๒.  อนึ่ง  ภิกษุใดรู้อยู่บริโภคน้ำมีตัวสัตว์  เป็นปาจิตตีย์.

๖๓.  อนึ่ง  ภิกษุใดรู้อยู่ฟื้นอธิกรณ์ที่ทำเสร็จแล้วตามธรรม  เพื่อทำอีก  เป็นปาจิตตีย์.

๖๔.  อนึ่ง  ภิกษุใดรู้อยู่  ปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ  เป็นปาจิตตีย์.

๖๕.  อนึ่ง  ภิกษุใดรู้อยู่  ยังบุคคลมีอายุไม่ครบ  ๒๐  ปี  ให้อุปสมบทบุคคลนั้นไม่เป็นอุปสัมบันด้วย    ภิกษุทั้งหลายนั้นถูกติเตียนด้วย  นี้เป็นปาจิตตีย์  ในเรื่องนั้น.

๖๖.  อนึ่ง  ภิกษุใดรู้อยู่  ชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกันกับพวกเกวียน  พวกต่าง  ผู้เป็นโจร โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง  เป็นปาจิตตีย์.

๖๗.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกันกับมาตุคามโดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง  เป็นปาจิตตีย์.

๖๘.  อนึ่ง  ภิกษุใดกล่าวอย่างนี้ว่า  "ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการว่า  เป็นธรรมทำอันตรายได้    อย่างไร  ธรรมนั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้  (จริง)ไม่"  ภิกษุนั้น          อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า  "ท่านอย่าได้พูดอย่างนั้นท่าน      อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า  การกล่าวตู่พระผู้มีพระเจ้าไม่ดีดอก       พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลยแน่ะเธอ  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมอันทำอันตรายไว้โดยบรรยายเป็นอันมาก   ก็แลธรรมนั้นอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้  (จริง)   แลภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนั้น  ขืนถืออย่างนั้นแล  ภิกษุนั้น  อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดประกาศห้ามจนหนที่  ๓    เพื่อสละการนั้นเสีย  ถ้าเธอถูกสวดประกาศห้ามอยู่จนหนที่  ๓  สละการนั้นเสีย  การสละได้ดังนี้  เป็นการดี  ถ้าไม่สละ  เป็นปาจิตตีย์

๖๙.  อนึ่ง    ภิกษุใดรู้อยู่  กินร่วมก็ดี  อยู่ร่วมก็ดี    สำเร็จการนอนด้วยกันก็ดี  กับภิกษุ  ผู้กล่าวอย่างนั้น  ยังไม่ได้ทำธรรมอันสมควร  ยังไม่ได้สละทิฏฐินั้น  เป็นปาจิตตีย์.

๗๐.  ถ้าแม้สมณุทเทสกล่าวอย่างนี้ว่าข้าพเจ้ารู้ธรรมที่พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการที่ตรัสว่า    เป็นธรรมทำอันตรายได้อย่างไร ธรรมนั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้ (จริง) ไม่  "สมณุทเทส นั้น  อันภิกษุทั้งหลาย  พึงกล่าวอย่างนี้ว่า"  สมณุทเทส  เธออย่าได้พูดอย่างนั้น  เธออย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า  การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีดอกพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสอย่าง นั้นเลยแน่ะสมณุทเทส        พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมทำอันตรายไว้โดยปริยายเป็นอันมากก็แลธรรม  เหล่านั้น  อาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้  (จริง)  แลสมณุทเทสนั้น  อันภิกษุทั้งหลาย    ว่ากล่าวอยู่อย่างนั้นขืนถืออย่างนั้นแล  สมณุทเทสนั้น    อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า  "แน่ะสมณุทเทส  เธออย่าอ้าง          พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นว่า  เป็นพระศาสดาของเธอตั้งแต่วันนี้ไป  แลพวก        สมณุทเทส อื่น  ย่อมได้การนอนร่วมเพียง  ๒ - ๓  คืน  กับภิกษุทั้งหลายอันใด  แม้กิริยาที่ได้การนอนร่วมนั้นไม่มีแก่เธอ  เจ้าคนเสีย  เจ้าจงไปเสีย  เจ้าจงฉิบหายเสีย"  แลภิกษุใดรู้อยู่  เกลี้ยกล่อมสมณุทเทสผู้ถูกให้ฉิบหายเสียอย่างนั้นแล้วก็ดี  ให้อุปฐากก็ดี  กินร่วมก็ดี  สำเร็จการนอนร่วมก็ดีเป็น ปาจิตีย์.

สัปปาณะวรรคที่  ๗  (จบ)

๗๑.  ภิกษุใด  อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรม  กล่าว อย่างนี้ว่า"  แน่ะเธอ  ฉันจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้  จนกว่าจะได้ถามภิกษุอื่นผู้ฉลาดผู้ทรงวินัย"  เป็นปาจิตตีย์.  (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย)  อันภิกษุศึกษาอยู่ควรรู้ถึง  ควรสอบถาม  ควรตริตรอง นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.

๗๒.  อนึ่ง  ภิกษุใด  เมื่อมีใครสวดปาฏิโมกข์อยู่  กล่าวอย่างนี้ว่า    ประโยชน์อะไรด้วยสิกขาบทเล็กน้อยเหล่านี้  ที่สวดขึ้นแล้ว  ช่างเป็นไปเพื่อความรำคาญ    เพื่อความลำบาก  เพื่อความยุ่งยิ่งนี่กระไร?  เป็นปาจิตตีย์  เพราะตำหนิสิกขาบท.

๗๓.  อนึ่ง  ภิกษุใด  เมื่อปฏิโมกข์สวดอยู่ทุกกึ่งเดือน  กล่าวอย่างนี้ว่า  "ฉันพึ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่า  เออ  ธรรมแม้นี้ก็มาแล้วในสูตร    เนื่องแล้วในสูตร  มาสู่อุเทส  (  คือการสวด  )  ทุกกึ่งเดือน"  ถ้าภิกษุทั้งหลายอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า  "ภิกษุนี้เคยนั่งเมื่อปาฏิโมกข์กำลังสวดอยู่ ๒ - ๓  คราวมาแล้ว  กล่าวอะไรอีก"  ความพ้นด้วยอาการที่ไม่รู้  หามีแก่ภิกษุนั้นไม่  พึงปรับเธอด้วยอาบัติที่ต้องในเรื่องนั้น  และพึงยกความหลงขึ้นแก่เธอเพิ่มอีกว่า"  แน่ะเธอไม่ใช่ลาภของเธอ  เธอได้ไม่ดีแล้ว  ด้วยเหตุว่า  เมื่อปาฏิโมกข์กำลังสวดอยู่เธอหาทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ดีไม่"  นี้เป็นปาจิตตีย์  ในความผู้เป็นแสร้งทำหลงนั้น

๗๔.  อนึ่ง  ภิกษุใด  โกรธ น้อยใจทำร้าย  เป็นปาจิตตีย์

๗๕.  อนึ่ง  ภิกษุใด  โกรธ  น้อยใจเงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่ภิกษุ    เป็นปาจิตตีย์

๗๖.    อนึ่ง  ภิกษุใด  กำจัด  (คือโจท)  ภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสหามูลมิได้    เป็นปาจิตตีย์

๗๗.  อนึ่ง  ภิกษุใด  แกล้งก่อความรำคาญแก่ภิกษุด้วยหมายว่า            "ด้วยเช่นนี้  ความไม่ผาสุกจักมี  แก่เธอ  แม้ครู่หนึ่ง"  ทำความหมาย       อย่างนี้เท่านั้นแล  ให้เป็นปัจจัยหาใช่อย่างอื่นไม่    เป็นปาจิตตีย์

๗๘.  อนึ่ง  ภิกษุใด  เมื่อภิกษุทั้งหลาย  เกิดหมางกัน  เกิดทะเลาะกัน  ถึงการวิวาทกัน  ยืนแอบฟัง    ด้วยหมายว่า  "จักได้ฟังคำที่เธอพูดกัน"  ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นแล  ให้เป็นปัจจัยหาใช่อย่างอื่นไม่  เป็นปาจิตตีย์.

๗๙.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ให้ฉันทะเพื่อกรรมอันเป็นธรรมแล้ว    ถึงธรรมคือการบ่นว่าในภายหลัง  เป็นปาจิตตีย์

๘๐.  อนึ่ง  ภิกษุใด  เมื่อเรื่องอันจะพึงวินิจฉัย  ยังเป็นไปอยู่ในสงฆ์    ไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะ  หลีกไปเสีย  เป็นปาจิตตีย์.

๘๑.  อนึ่ง  ภิกษุใด  (พร้อมใจ)  ด้วยสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวร(แก่ภิกษุ)  แล้วภายหลังถึงธรรมคือบ่นว่า    ว่า"ภิกษุทั้งหลายน้อมลาภของสงฆ์ไปตามชอบใจ"    เป็นปาจิตตีย์.

๘๒.    อนึ่ง  ภิกษุใดรู้อยู่น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์มาเพื่อบุคคล  เป็นปาจิตตีย์.

สหธรรมมิกวรรคที่  ๘  (จบ)

๘๓.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ไม่ได้รับบอกก่อน    ก้าวล่วงธรณีเข้าไป    (ในห้อง)  ของพระราชาผู้กษัตริย์ได้รับมฤธาภิเษกแล้ว  ที่พระราชายังไม่เสด็จออก  ที่รตนะยังไม่ออก  เป็นปาจิตตีย์  .

๘๔.  อนึ่ง  ภิกษุใด  เก็บเอาก็ดี  ให้เก็บเอาก็ดี  ซึ่งรตนะก็ดี  ซึ่งของที่สมมติว่าเป็นรตนะก็ดี  เว้นไว้แต่ในวัดที่อยู่ก็ดี  ในที่อยู่พักก็ดี  เป็นปาจิตตีย์.    แลภิกษุเก็บเอาก็ดี  ให้เก็บเอาก็ดี  ซึ่งรตนะก็ดี  ซึ่งของที่สมมติว่ารตนะก็ดี  ในวัดที่อยู่ก็ดี  ในที่อยู่พักก็ดี  แล้วพึงเก็บไว้  ด้วยหมายว่า  "ของผู้ใด  ผู้นั้นจักได้เอาไป"  นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.

๘๕.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ไม่อำลาภิกษุผู้มีอยู่แล้ว  เข้าไปสู่บ้านในเวลาวิกาล  เว้นไว้แต่กิจรีบ  (คือธุระร้อน)  มีอย่างนั้นเป็นรูป  เป็นปาจิตตีย์.

๘๖.    อนึ่ง  ภิกษุใด  ให้ทำกล่องเข็มแล้วด้วยกระดูกก็ดี  แล้วด้วยงาก็ดี  แล้วด้วยเขาก็ดี  เป็นปาจิตตีย์  ที่ให้ทุบทิ้งเสีย.

๘๗.  อนึ่ง  ภิกษุผู้ให้ทำเตียงก็ดี  ตั่งก็ดี  ใหม่  พึงทำให้มีเท้าเพียง๘นิ้ว  ด้วยนิ้วสุคตเว้นไว้แต่แม่แคร่เบื้องต่ำ  เธอทำให้ล่วงประมาณนั้นไป  เป็นปาจิตตีย์    ที่ให้ตัดเสีย.

๘๘.    อนึ่ง  ภิกษุใด  ให้ทำเตียงก็ดี  ตั่งก็ดีเป็นของหุ้มนุ่น  (คือยัดนุ่น)  เป็นปาจิตตีย์  ที่ให้รื้อเสีย.

๘๙.  อนึ่ง  ภิกษุผู้ให้ทำผ้าสำหรับนั่งให้ทำให้ได้ประมาณนี้ประมาณในคำนั้นโดยยาว  ๒  คืบโดยกว้างคืบหนึ่ง  ชายคืบครึ่ง  ด้วยคืบสุคตเธอทำให้ล่วงประมาณนั้นไป  เป็นปาจิตตีย์ที่ให้ตัดเสีย.

๙๐.  อนึ่ง  ภิกษุผู้ให้ทำผ้าปิดฝี  พึงให้ทำให้ได้ประมาณนี้       ประมาณในคำนั้นโดยยาว  ๔  คืบโดยกว้าง  ๒  คืบครึ่ง  ด้วยคืบสุคต  เธอทำให้ล่วงประมาณนั้นไป  เป็นปาจิตตีย์ที่ให้ตัดเสีย.

๙๑.  อนึ่ง  ภิกษุผู้ให้ทำผ้าอาบน้ำฝนพึงทำให้ได้ประมาณนี้          ประมาณในคำนั้นโดยยาว  ๖  คืบโดยกว้าง  ๒  คืบครึ่ง  ด้วยคืบสุคต  เธอ ทำให้ล่วงประมาณนั้นไป    เป็นปาจิตตีย์ที่ให้ตัด เสีย.

๙๒.  อนึ่ง  ภิกษุใด  ให้ทำจีวร  มีประมาณเท่าสุคตจีวร  หรือยิ่งกว่า  เป็นปาจิตตีย์  ที่ให้ตัดเสีย.นี้ประมาณแห่งสุคตจีวรของพระสุคต  ในคำนั้น  โดยยาว  ๙  คืบ  โดยกว้าง  ๖  คืบ  ด้วยคืบสุคต  นี้ประมาณ  แห่งสุคตจีวรของพระสุคต

ระตะนะวรรคที่  ๙  (จบ)

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  ธรรมชื่อปาจิตตีย์  ๙๒    ข้าพเจ้าได้แสดงขึ้นแล้วแล

ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลายในข้อเหล่านั้น  ท่านทั้งหลายเป็นผู้    บริสุทธ์แล้วหรือ?ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๒  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?    ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๓  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?    ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์ในข้อเหล่านี้แล้ว  เพราะฉะนั้น  จึงนิ่ง      ข้าพเจ้า  ทรงความไว้ด้วยอย่างนี้.

ปาจิตตีย์  จบ.