ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

 

 

เสขิยะ

(เสขิยะ  ๗๕)

ท่านทั้งหลาย  ธรรมชื่อเสขิยะเหล่านี้แล  ย่อมมาสู่อุทเทส.

๑.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักนุ่งเป็นปริมณฑล."

๒.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักห่มเป็นปริมณฑล".

๓.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักปกปิดกายดีไปในละแวกบ้าน".

๔.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักปกปิดกายดีนั่งในละแวกบ้าน

๕.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักสำรวมดีไปในละแวกบ้าน".

๖.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักสำรวมดี  นั่งในละแวกบ้าน."

๗.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน."

๘. พึงทำศึกษาว่า "เราจักมีตาทอดลงนั่งในละแวกบ้าน."

๙. พึงทำศึกษาว่า"เราจักไม่ไปในละแวกบ้านด้วยทั้งเวิกผ้า."

๑๐.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน  ด้วยทั้งเวิกผ้า."

ปะริมัณฑะละวรรค  ที่หนึ่งจบ

๑๑.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ไปในละแวกบ้าน  ด้วยทั้งความ  หัวเราะลั่น."

๑๒.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน  ด้วยทั้งความหัวเราะลั่น."

๑๓.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน."

๑๔.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักมีเสียงน้อยนั่งในละแวกบ้าน."

๑๕.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่โยกกายไปในละแวกบ้าน."

๑๖.พึงทำศึกษาว่า"เราจักไม่โยกกายนั่งในละแวก

บ้าน."

๑๗.  พึงทำศึกษาว่า "เราจักไม่ไกวแขนไปในละแวกบ้าน."

๑๘.พึงทำศึกษาว่า"เราจักไม่ไกวแขนนั่งในละแวกบ้าน"

๑๙.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่โคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน."

๒๐.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่โคลงศีรษะนั่งในละแวกบ้าน."

นะ  อุชชัคคิกะวรรค ที่สองจบ

๒๑. พึงทำศึกษาว่า"เราจักไม่ทำความค้ำไปในละแวกบ้าน."

๒๒. พึงทำศึกษาว่า"เราจักไม่ทำความค้ำนั่งในละแวกบ้าน."

๒๓.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่คลุม  (ศีรษะ)  ไปในละแวกบ้าน."

๒๔.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่คลุม  (ศีรษะ)  นั่งในละแวกบ้าน."

๒๕.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ไปในในละแวกบ้าน  ด้วยทั้งความกระโหย่ง  ."

๒๖.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่นั่งในในละแวกบ้าน  ด้วยทั้งความรัดเข่า  ."

๒๗.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักรับบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ"

๒๘.  พึงทำศึกษา"เราจักจ้องดูอยู่ในบาตรรับิณฑบาต"

๒๙.   พึงทำศึกษาว่า"เราจักรับบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน

๓๐.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักรับบิณฑบาตเสมอขอบ"

นะ  ขัมภะกะตะวรรค   ที่สามจบ

๓๑.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักฉันบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ."

๓๒.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักจ้องดูอยู่ในบาตรฉันบิณฑบาต."

๓๓.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง."

๓๔.พึงทำศึกษาว่า"เราจักฉันบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน"

๓๕.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ขยุมลงแต่ยอดฉันบิณฑบาต."

๓๖.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่กลบแกงก็ดี  กับข้าวก็ดี  ด้วยข้าวสุก  อาศัยความอยากได้มาก."

๓๗.  พึงทำศึกษาว่า  "เราไม่อาพาธ  จักไม่ขอสูปะก็ดี  ข้าวสุกก็ดี  เพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน."

๓๘.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่เพ่งโพนทะนาแลดูบาตรของผู้อื่น."

๓๙.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก."

๔๐.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม."

สักกัจจะวรรค   ที่สี่จบ

๔๑.  พึงทำศึกษาว่า  "เมื่อคำข้าวยังไม่นำมาถึง  เราจักไม่อ้าช่องปาก."

๔๒.  พึงทำศึกษาว่า  "เราฉันอยู่  จักไม่สอดมือทั้งนั้นเข้าในปาก

๔๓.  พึงทำศึกษาว่า  "ปากยังมีคำข้าวเราจักไม่พูด."

๔๔.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันเดาะ  คำข้าว

๔๕.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว."

๔๖.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันทำให้ตุ่ย

๔๗.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันสลัดมือ."

๔๘.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันทำเมล็ดข้าวตก."

๔๙.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันแลบลิ้น

๕๐.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันทำเสียงจับๆ

นะ  อะนาหะฏะวรรค  ที่ห้าจบ

๕๑.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันทำเสียงซูดๆ

๕๒.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันเลียมือ."

๕๓.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันขอดบาตร."

๕๔.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก."

๕๕.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่รับโอน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส."

๕๖. พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน."

๕๗.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีร่มในมือ."

๕๘.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้มีไม้พลองในมือ."

๕๙.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้มีศัสตราในมือ."

๖๐.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บ ไข้มีอาวุธในมือ."

นะ  สุรุสุรุการะกะวรรค   ที่หกจบ

๖๑.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้สวมเขียงเท้า."

๖๒.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้สวมรองเท้า."

๖๓.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ไปในยาน."

๖๔.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้อยู่บนที่นอน."

๖๕  .  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้นั่งรัดเข่า."

๖๖.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้พันศีรษะ."

๖๗.  พึงทำศึกษาว่า  "เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้คลุมศีรษะ."

๖๘.  พึงทำศึกษาว่า  "เรานั่งอยู่ที่แผ่นดินจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้  ผู้นั่งบนอาสนะ."

๖๙.  พึงทำศึกษาว่า  "เรานั่งบนอาสนะต่ำจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้  ผู้นั่งบนอาสนะสูง."

๗๐.  พึงทำศึกษาว่า  "เรายืนอยู่  จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้  ผู้นั่งอยู่."

นะ  ปาทุกะวรรค  ที่เจ็ดจบ

๗๑.  พึงทำศึกษาว่า  "เราเดินไปข้างหลังจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้  ผู้เดินไปข้างหน้า."

๗๒.  พึงทำศึกษาว่า  "เราเดินไปนอกทางจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้  ผู้ไปอยู่ในทาง."

๗๓.  พึงทำศึกษาว่า  "เราไม่อาพาธ  จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ."

๗๔.  พึงทำศึกษาว่า  "เราไม่อาพาธ  จักไม่ถ่ายอุจจาระ  ปัสสาวะ  หรือบ้วนเขฬะบนของสดเขียว."

๗๕.  พึงทำศึกษาว่า  "เราไม่อาพาธ  จักไม่ถ่ายอุจจาระ  ปัสสาวะ  หรือบ้วนเขฬะในน้ำ

นะ ปัจฉะโตวรรค  ที่แปดจบ

ท่านทั้งหลาย  ธรรมทั้งหลายชื่อเสขิยข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว.          ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลายในเรื่องนั้น  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?  ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๒  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?          ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๓  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?  ท่าน            ทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วในเรื่องนั้นเพราะฉะนั้น  จึงนิ่ง.  ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

เสขิยะ  จบ.

ท่านทั้งหลาย  ธรรมชื่ออธิกรณสมถะ  ๗  เหล่านี้แล  ย่อมมาสู่  อุทเทส.

เพื่อความสงบ  เพื่อความระงับ  ซึ่งอธิกรณ์ทั้งหลาย  ที่เกิดขึ้นแล้ว  ที่เกิดขึ้นแล้ว    พึงให้ระเบียบอันจะพึงทำให้ถึงพร้อมหน้า  พึงให้ระเบียบยกเอาสติขึ้นเป็นหลัก พึงให้ระเบียบที่ให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว                            ( พึงให้ )  ทำตามรับ  ( พึงให้ )  ตัดสินเอาตามคำของคนมากเป็นประมาณ  ( พึงให้ )  กิริยาที่ลงโทษแก่ผู้ผิด  ( พึงให้ )  ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า.

ท่านทั้งหลาย  ธรรมชื่ออธิกรณสมถะ  ๗  อันข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้วแล  ข้าพเจ้าถามท่านทั้งหลายในเรื่องนั้น  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?  ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๒  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?           ข้าพเจ้าถามแม้ครั้งที่  ๓  ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วหรือ?  ท่าน           ทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธ์แล้วในเรื่องนั้นเพราะฉะนั้น  จึงนิ่ง.ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่าง นี้.

อธิกรณสมถะ  ๗  จบ.

ท่านทั้งหลาย  คำนิทาน  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้วแล  ธรรมทั้งหลายชื่อปาราชิก  ๔  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว  ธรรมทั้งหลายชื่อ  สังฆาทิเสส  ๑๓  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว

ธรรมทั้งหลายชื่ออนิยต  ๒  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว  ธรรมทั้งหลาย    ชื่อนิสสัคคิยปาจิตตีย์  ๓๐  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว  ธรรมทั้งหลายชื่อปาจิตตีย์  ๙๒  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว  ธรรมทั้งหลายชื่อปาฏิเทสนียะ  ๔  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว  ธรรมทั้งหลายชื่อเสขิยะ  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว  ธรรม           ทั้งหลายชื่ออธิกรณสมถะ  ๗  ข้าพเจ้าแสดงขึ้นแล้ว

คำเท่านี้  ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  นับเนื่องในสูตรแล้ว          มาในสูตรแล้ว  ย่อมมาสู่อุทเทสทุกๆ  กึ่งเดือน.  อันภิกษุทั้งหลายทั้งปวง    นั่นแล  พึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน  เป็นผู้ชื่นชมด้วยดีอยู่  เป็นผู้ไม่วิวาทอยู่  ศึกษาในพระปาฏิโมกข์นั้นดังนี้.

ภิกขุปาฏิโมกข์  จบ

จากนั้นพระเถระผู้เป็นประธาน ให้โอวาท  และนำเจริญพระพุทธมนต์ตามแต่ทางวัดจะกำหนด  แต่โดยมาก วัดใหญ่ๆ ที่มีวัตรปฏิบัติเป็นแบบแผน   นิยมสวดบทสวดมนต์หลังปาฏิโมกข์   ดังต่อไปนี้

๑.   กรณียเมตตสูตร

๒.  ขันธปริตร

๓.  พระพุทธคุณ  พระธรรมคุณ  พระสังฆคุณ

๔.  วันทา  (วันทาบทใหญ่)

๕.  กรวดน้ำ  (อิมินา)

สวดจบแล้ว  พระเถระผู้เป็นประธานนำคุกเข่ากราบ ๓ หน  เป็นอันเสร็จพิธี

จากนั้น พระเถระผู้เป็นประธานต่อศีลให้สามเณร  เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของพระสงฆ์โดยทั่วไป   โดยถือว่าการต่อศีลให้สามเณรเป็นการอนุเคราะห์สามเณร  ผู้เป็นสามณเชื่อสายศากยบุตร ที่จะทำหน้าที่สืบพระศาสนาต่อไป เพื่อทำศีลให้บริสุทธิ์และเป็นการทบทวนศีล ๑๐ ข้อ  เหมือนภิกษุสวดปาฏิโมกข์    เพื่อการทบทวนศีล ๒๒๗ ข้อ  พระเถระผู้เป็นประธานให้โอวาทสามเณร  เป็นอันเสร็จพิธี