Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

 
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า การทำทานให้ได้บุญนั้นมีองค์ประกอบอยู่หลายหย่างที่หลายคนไม่รู้ ที่ทำไปทุกๆวันโดยไม่รู้เหตุผลของการทำบุญทำทานก็ย่อมไม่เข้าใจผลของทาน และทานมีอยู่ 3ประการ คือ 1.อามิสทาน คือทานที่ใช้วัตถุสิ่งของปัจจัย 4 เป็นทาน 2.ธรรมทาน คือ การให้ธรรมเป็นทาน 3.อภัยทาน คือ 3.1การให้ชีวิต ให้ความคุ้มครองและสวัสดิภาพแก่ผู้อื่นเป็นทาน และ 3.2 คือการให้อภัยซึ่งกันและกันไม่โกรธพยาบาทเป็นทาน

 

ในกรณีนี้จะกล่าวแต่เรื่องของอามิสทานหรือ ปัจจัย 4 ก่อน และก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการทำทาน(อามิสทาน)ให้ได้บุญนั้นมีองค์ประกอบดังนี้คือ

1.ทายก (ผู้ให้ทาน) ต้องบริสุทธิ์ คืออย่างน้อยตั้งมี ศีล 5 เป็นฐานรองรับ หากเป็นคนดีอยู่แล้วข้อนี้ไม่มีปัญหาอะไร ถือว่าทายกผู้ให้สมบูรณ์  ข้อนี้มีผล 10 %

2.ทานวัตถุ ต้องบริสุทธิ์ ได้มาโดยสุจริต ไม่เบียนเบียนทรัพย์สินเขามาให้ทาน ไม่โกงเขามาให้ทาน ไม่ให้ทานด้วยวัตถุที่เป็นโทษ เช่น สุรา ของมึนเมา
ฆ่าสัตว์เอาเนื้อมาปรุงอาหารแจกทาน ฯลฯ   ข้อนี้มีผล 10 %

3.ปฏิคาหก ผู้รับทานต้องบริสุทธิ์ เช่น ผู้รับต้องมีศีล 5 เป็นอย่างน้อย หากเป็นพระมีศีล 227 สมบูรณ์ หรือเป็นวัตถุสัมปทา เช่น พระอรหันต์  หรือพระอนาคามี ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ
ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลล  ชื่อวัตถุสัมปทา และ ทานจะให้ผลมากที่สุดในข้อนี้  ข้อนี้ให้ผล 50 เปอร์เซ็นต์

4.เจตนา หรือ เจตนสัมปทาต้องบริสุทธิ์  คือเจตนาใน ๓ กาล  คือในกาลก่อนแต่ให้, ในกาลกำลังให้,ในกาลภายหลังให้ ด้วยความโสมนัสยินดี หากเจตนาไม่บริสุทธิ์คือ หวังลาภ ยศ ศักดิ์
ทำเพื่อเอาหน้า หรือหวังผลบุญไปเกิดบนสวรรค์ นี่เป็นการคิดจะแลกเปลี่ยนบุญเป็นสิ่งที่ตนปรารถนา เจตนาของการให้ทานที่แท้จริงก็คือ การสละละกิเลส ความโลภในทรัพย์
การสละเพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น นี่คือเจตนาที่บริสุทธิ์ ย่อมได้บุญตามกำลังศรัทธา  ข้อนี้ให้ผล 30 เปอร์เซ็นต์


สิ่งที่ส่งเสริมผลของทาน
นอกจากนี้ยังมี ตัวเสริมผลของทานอีกหลายประการ เพื่อให้ทานนั้นสมบูรณ์มากขึ้นดังนี้ คือ

(1.) สัปปุริสทาน 8

คือการให้ทานนั้นจะเป็นของดีหรือไม่ก็ตาม ผลแห่งทานจะมีความสมบูรณ์หากได้ให้ด้วยอาการแห่งสัตบุรุษ 8 ประการนี้ เรียกว่า สัปปุริสทาน
1. ให้ของสะอาด
2.ให้ของประณีต
3.ให้เหมาะกาล ให้ถูกเวลา
4.ให้ของสมควร ให้ของที่ควรแก่เขา ซึ่งเขาจะใช้ได้
5. พิจารณาเลือกให้ ให้ด้วยวิจารณญาณ เลือกของ เลือกคนที่จะให้ ให้เกิดผลเกิดประโยชน์มาก
6.ให้เนืองนิตย์ ให้ประจำ หรือสม่ำเสมอ
7.เมื่อให้ ทำจิตผ่องใส
8.ให้แล้วเบิกบานใจ

(2) สัปปุริสทาน 5

ทาน หรืออาการของการให้ทาน ของสัตบุรุษ มี ๕ อย่าง  คือให้ทานโดยศรัทธา ๑  ให้ทานโดยเคารพ ๑  ให้ทานตามกาลอันควร ๑  เป็นผู้มีจิตคิดอนุเคราะห์ให้ทาน ๑  ให้ทานโดยไม่กระทบตนและผู้อื่น ๑หรืออีกนัยหนึ่งกล่าวว่า
 ๑ ให้ทานโดยเคารพ  
๒.  ให้ทานโดยยำเกรง  คือเคารพในทานของตนและเคารพในผู้รับ
๓.  ให้ด้วยมือของตน
๔.  ให้โดยไม่ทิ้งขว้าง  ข้อนี้หมายถึงไม่ทิ้งขว้างการให้  คือให้อยู่โดยสม่ำเสมอ  ให้อยู่เป็นประจำ
๕.  เห็นผลในอนาคตจึงให้  หมายความว่า  ให้เพราะเชื่อว่า  ทานมีจริง  ผลของทานมีจริง  

(3.)ยัญญสัมปทา 

พุทธพจน์กล่าวว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยัญญสัมปทา หรือทานจะมีผลมาก อานิสงส์ไพศาล ถ้าประกอบด้วยองค์หก กล่าวคือ
๑. ก่อนให้ ผู้ให้ก็มีใจผ่องใส ชื่นบาน
๒. เมื่อกำลังให้ จิตใจก็ผ่องใส
๓. เมื่อให้แล้ว ก็มีความยินดี ไม่เสียดาย
๔. ผู้รับเป็นผู้ปราศจากราคะ หรือปฏิบัติเพื่อปราศจากราคะ
๕. ผู้รับเป็นผู้ปราศจากโทษะ หรือปฏิบัติเพื่อปราศจากโทษะ
๖. ผู้รับเป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อปราศจากโมหะ
ภิกษุทั้งหลาย ทานที่ประกอบด้วยองค์หกนี้แล เป็นการยากที่จะกำหนดผลแห่งบุญว่ามีประมาณเท่านั้นเท่านี้ อันที่จริงเป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ไม่มีประมาณ เหลือที่จะกำหนดเหมือนน้ำในมหาสมุทรย่อมกำหนดได้โดยยากว่ามีประมาณเท่านั้นเท่านี้”

(4)ทานวัตถุ

สำหรับทานที่สมควรแก่ที่ควรให้เป็นทานแก่ภิกษุ สามเณร ในพระพุทธศาสนมี 10 อย่าง คือ
๑. ภัตตาหาร รวมถึงคิลานเภสัช หรืออาหารที่ต้องฉันเพื่อรักษาโรค และสมควรแก่สมณบริโภค เช่นหากเป็นเนื้อสัตว์ ก็ต้องบริสุทธิ์ในส่วน 3
คือที่ได้เห็น ได้ยิน และที่รังเกียจกับเนื้อต้องห้าม ๑๐ อย่าง มีเนื้อมนุษย์เป็นต้น
๒. น้ำรวมทั้งเครื่องดื่ม อันสมควรแก่ สมณบริโภค หรือ คิลานเภสัช ที่เป็นน้ำ
๓. ผ้า เครื่องนุ่งห่ม สบง จีวร
๔. ยานพาหนะ มีพาหนะรับส่งภิกษุสำหรับเดินทาง และสำหรับการถวายยานพาหนะเช่น รถ ช้าง ม้า นั้นไม่ควร
ยานของนักบวช ได้แก่ ร่ม และ รองเท้าเท่านั้น  ยานอื่นๆ ไม่สมควรแก่บรรพชิต
๕. มาลาดอกไม้และเครื่องบูชา ชนิดต่าง ๆ
๖. ของหอม หมายถึง ธูป เทียน สำหรับบูชาพระ
๗. เครื่องลูบไล้ หมายถึง เครื่องสุขภัณฑ์ สำหรับชำระร่างกายให้สะอาด เช่น สบู่ถูตัว น้ำยาสระผม น้ำมันที่เป็นยาสำหรับทาผิว หรือคิลานเภสัช ที่เป็นยาภายนอก เป็นต้น
 ส่วนน้ำอบ น้ำหอม เครื่องประเทืองผิวทั้งหลาย ไม่ควรแก่บรรพชิต
๘. เครื่องที่นอนอันสมควรแก่สมณะ
๙. ที่อยู่อาศัย มี กุฎี เสนาสนะ และเครื่องสำหรับภาชนะ เช่น เตียง ตู้ โต๊ะ เป็นต้น
๑๐. เครื่องตามประทีป มีเทียนจุดใช้แสง ตะเกียง น้ำมัน ไม้ขีดไฟ ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับให้แสงสว่างทุกชนิด
ทั้ง ๑๐ ประการนี้ สมควรถวายแก่พระภิกษุ สามเณร สมณะผู้ทรงศีล หรือใช้สำหรับบูชาพระตามสมควร

(5) ลักษณะทาน

คือลักษณะทานที่ให้แก่ผู้อื่นจำแนกได้เป็น ๓ ประเภท คือ
๑.      ทาสทาน คือการให้ข้าวปลาอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และสิ่งของต่างๆ ที่เลวกว่าหยาบกว่าที่ตนกินตนใช้
 ทาสทานนี้นับว่าเป็นทานที่ต่ำกว่า หยาบกว่าทานทั้งปวง

๒.      สหายทาน คือการให้ข้าวปลาอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และสิ่งของต่างๆ ที่เสมอกันกับตนกินตนใช้อยู่เป็นปกติประจำวัน
เคยกินอาหารอย่างไรก็ให้ทานอย่างนั้น เคยนุ่งห่มเสื้อผ้า หรือของใช้ต่างๆ อย่างไรก็ให้ทานอย่างนั้น

๓.      ทานบดี หรือสามีทาน คือการให้ข้าวปลาอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และสิ่งของต่างๆ ที่ดีกว่า ประณีตกว่า ดีกว่า ที่กินใช้อยู่เป็นปกติประจำวัน
ถือเป็นทานที่ประเสริฐกว่าทานทั้งปวง

(6)ผลของทาน
อนึ่งใน  ทานานิสังสสูตร  อัง. ปัญจก. ข้อ ๓๕  พระพุทธองค์ทรงแสดงอานิสงส์ของทาน ไว้ ๕ อย่างคือ
๑.  ผู้ให้ทาน  ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนหมู่มาก
๒.  สัปบุรุษ  ผู้สงบ  มีพระพุทธเจ้า  พระปัจเจกพุทธเจ้า  และสาวกของพระพุทธเจ้า  
ย่อมคบหาผู้ให้ทาน
๓.  กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทาน  ย่อมขจรขจายไปทั่ว
๔.  ผู้ให้ทาน  ย่อมไม่เหินห่างจากธรรมของคฤหัสถ์  คือมีศีล  ๕  ไม่ขาด
๕.  ผู้ให้ทาน  เมื่อตายไปแล้ว  ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
แล้วทรงสรุปเป็นคาถาว่า
ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก  ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของสัปบุรุษ (คือ  มหาบุรุษ หรือพระโพธิสัตว์)  สัปบุรุษผู้สงบ  ผู้สำรวมอินทรีย์  ประพฤติพรหมจรรย์  ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ  
สัปบุรุษเหล่านั้น  ย่อมแสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์แก่เขา  เขาได้ทราบชัดแล้ว  ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้  ปรินิพพานในโลกนี้

    ควรอย่างยิ่งที่เราจะสะสมบุญ  มีทานเป็นต้น  ให้งอกงามเพิ่มพูนขึ้นในจิตใจของเรา  เพราะว่า
เมื่อไรที่จิตใจของเราเต็มเปี่ยมไปด้วยบุญ  ร่างกายจิตใจย่อมเป็นสุข เป็น เสบียงสำคัญ สำหรับติดตามไปยังภพหน้า และยังให้ได้เกิดในสุคติภูมิ จนกระทั้งได้เจริญปัญญา และได้หลุดพ้นจากสังสารวัฏ

อานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

ใน "เวลามสูตร" พระพุทธเจ้าทรงถามท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่า เดี๋ยวนี้ท่านยังให้ทานอยู่อีกหรือไม่ ท่านเศรษฐีกราบทูลว่า"ในตระกูลของข้าพระองค์ยังให้ทานอยู่ แต่ของที่ให้ทานไม่สู้ดีนัก เช่นพวกปลายข้าว มีน้ำผักดองเป็นที่สอง"

พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ของที่ให้ทานนั้นถึงจะประณีตหรือหยาบ ถ้าให้โดยไม่เคารพ ย่อมไม่เกิดอานิสงส์ แต่ถ้าให้ด้วยความเคารพแม้จะหยาบหรือประณีตก็ตาม จะเกิดอานิสงส์ต่างๆ จากนั้นพระองค์ทรงเล่าเรื่องอดีตชาติครั้งที่ทรงเกิดเป็นพราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อเวลามะ ทุ่มทุนให้ทานเป็นเงินทอง ผู้คนและสัตว์มากมายมหาศาล แต่ทานที่ให้ไปนั้นได้อานิสงส์น้อย เพราะในยุคนั้นไม่มีบุคคลที่น่าเคารพสมควรแก่การให้ทาน

จากนั้นพระพุทธเจ้าทรงตรัสอานิสงส์ของการทำทานเป็นลำดับๆ ว่าทำกับบุคคลที่น่าเคารพประเภทๆ นี้ได้อานิสงส์มากกว่ากันอย่างไร จนกระทั่งในตอนท้ายทรงไล่อานิสงส์มาถึงข้อที่ว่า ...

• การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ มีผลมากกว่าทานที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์อันมาจากจาตุรทิศ

• การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ

• การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต

หมายความว่า การทำทานด้วยวัตถุด้วยการถวายของต่างๆ ให้กับพระอริยเจ้าก็ดี พระพุทธเจ้าก็ดี ยังมีอานิสงส์น้อยกว่าการถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง แต่การถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งก็ยังมีกุศลน้อยกว่าการถือศีล เพราะเป็นการไม่เบียดเบียนสรรพชีวิต

แต่การถือศีลเพื่อละเว้นการไม่เบียดเบียน ยังมีบุญน้อยกว่าการตั้งจิตเมตตาเพียงชั่วครู่เดียว

อนึ่ง ในอรรถกถาของเวลามสูตร พระเถระยังอธิบายเพิ่มเติมว่า "วิหารทาน บิณฑบาต สิกขา การเจริญเมตตา ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของท่านผู้พิจารณาโดยความสิ้นไป"

หมายความว่าการเจริญเมตตายังมีกุศลไม่เท่ากับการปฏิบัติธรรม และการการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนี้ยังเป็นการบูชาอันสูงสุดด้วย

——————————————
จากเวลามสูตร อังคุตตรนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก รวมถึงอรรถกถา