เมื่อพระใหม่บวชสำเร็จแล้ว และขณะพระใหม่ที่กำลังออกจากโบสถ์ ทุกคนมีความเชื่อว่าท่านบริสุทธิ์เพราะบวชใหม่ ก็เลยพากันถวายปัจจัย(เงิน)ใส่ซองถวายท่าน ก็เลยเป็นว่าทำให้ท่านต้องอาบัติ”นิสสัคคิยปาจิตตีย์”ตั้งแต่รับซองแรกแล้ว ซึ่งปลงอาบัติไม่ได้ ต้องสละออกก่อน ถึงจะทำการปลงอาบัติได้
สิ่งที่ต้องปฏิบัติก่อนบวช
- หากเป็นพระต้องศึกษาคำท่องขานนาคให้ชัดเจนถูกต้อง ทั้งอักขระ สำเนียง และห้ามผิด หากผิดจะทำให้ท่าน บวชไม่สำเร็จเป็นภิกษุ ในสมัยโบราณมีการให้พระสงฆ์ในบางท้องถิ่นลาสิกขาแล้วบวชใหม่ เนื่องจากบางท้องถิ่นออกเสียงอักขระบางตัวไม่ชัดเจน เป็น “อักขระวิบัติ”
- หากบรรพชาเป็นสามเณร ต้องรับไตรสรณะคมน์ และศีล ๑๐ ข้อ ให้ไปท่องและศึกษาก่อนบวช
- หากบวชชี ,ชีพราหมณ์ ต้องรับไตรสรณะคมน์ และศีล ๘ ข้อ ให้ไปท่องและศึกษาก่อนบวช
- ให้ถามชื่อ ฉายาของพระอุปัชฌาย์ และชื่อฉายาของเราที่เป็นภาษาบาลี เอาไว้ก่อนล่วงหน้า เพราะตอนท่องขานนาคจะต้องใช้
- เพื่อเป็นกุศล ในการจัดเลี้ยงงานบวช ห้ามฆ่าสัตว์น้อยใหญ่มาเลี้ยงฉลอง และห้ามเลี้ยงสุรา เหล้า เบียร์ของมึนเมาทุกชนิด มิฉะนั้นงานบุญจะกลายเป็นงานบาป จะไม่เป็นมงคลแก่ผู้ที่จะบวช
- อนึ่งกุลบุตรมีจิตศรัทธา อุปสมบทในบวรพระพุทธศาสนา หากต้องการให้เกิดกุศลอันยิ่งจักต้องรู้จักรักษาศีลและวินัยให้เคร่งครัด โดยท่านจะต้องศึกษาจาก”นวโกวาท” ที่ผมจะแนบไปให้ท่านอ่านท่องก่อนทำการบรรพชาอุปสมบท เพื่อจะได้รู้จักสิกขาบทของผู้ที่จะเป็นพระ เพื่อการบวชเรียนจะได้มีผลเป็นกุศลและจะไม่มีโทษแก่ผู้ที่ได้บรรพชา เพราะหากเราไปบวชเป็นพระแล้วล่วงสิกขาบทแทนที่จะบุญกลับได้ปาปกรรมอันหนักหนาสาหัส อันนี้จะต้องระวังเอาไว้ให้มาก สิ่งใดเป็นคุณอนันต์ก็ย่อมมีโทษมหันต์เช่นเดียวกัน
- หากกรณีที่ท่านได้ล่วงสิกขาบท(ผิดวินัย)ไปแล้ว ให้รีบไปแจ้งพระอุปัชฌาย์ หรือพระพี่เลี้ยง บอกกล่าวให้ท่านทราบ (อย่าอายเด็ดขาด)เพื่อที่จะได้มีการ”แสดงอาบัติหรือปลงอาบัติ” เพื่อที่จะทำตนให้บริสุทธิ์กลับคืนเหมือนเดิม หากอาบัติหนัก ก็อาจจะต้องเข้าไปอยู่ปริวาสกรรมก่อน ตามกำหนดระยะเวลา เมื่ออกมาแล้วก็จะกลายเป็นผู้บริสุทธิ์ มีศีลบริสุทธิ์เหมือนพระบวชใหม่ แต่หาท่านติดค้างอาบัติ คือการทำผิดวินัยพระแต่ไม่ได้ปลงอาบัติ พอสึกออกมาท่านจะทำมาหากินไม่ขึ้น จะเป็นคนดวงซวยตลอดชีวิต ไปอยู่ที่ไหนก็จะไม่มีคนรักคนชอบ อาภัพรัก และแก้ไขอะไรไม่ได้เลย จึงต้องระวังให้มากๆ เตือนเอาไว้ด้วยความหวังดี ลองดูชีวิตคนบางคนที่บวชพระนานๆหลายๆปี และสึกออกมา มีครอบครัวทำมาหากิน ก็มักจะประสบชะตากรรมที่ไม่ดี ทำมาหากินไม่ขึ้น เจ็บป่วย อายุสั้น ส่วนมากก็มาจากสาเหตุนี้
อนึ่งสิ่งที่ไม่ควรลืมเมื่อทำการบวชแล้ว ที่คนมักลืมบ่อยๆก็คือ
- เมื่อได้รับบิณฑบาตมา หรือรับอาหารจากการประเคนมาแล้วจะต้องพิจารณาก่อน แล้วจึงฉันทุกครั้ง (บทสวดอยู่ด้านล่าง)
- เมื่อฉันเสร็จแล้ว ควรตั้งจิตอุทิศกุศล แผ่เมตตาให้กับทายกผู้ถวายปัจจัย บิณฑบาตและอาหาร ฯลฯ ทุกครั้ง (บทสวดอยู่ด้านล่าง)
- ลาภผล ปัจจัย เงินทองอันใดที่ได้มาในระหว่างบวชอยู่นั้น เมื่อลาสิกขาแล้วห้ามนำออกไปใช้เป็นของตัวเอง ให้ทำการถวายคืนแก่สงฆ์(แก่วัด)ทุกบาททุกสตางค์ หากท่านนำเงินจำนวนนี้ไปใช้เมื่อลาสิกขาออกมาแล้วจะท่านจะทำมาหากินไม่ขึ้น อันนี้ต้องระวังให้มากๆ แต่หากท่านบวชเพียงไม่กี่วันกี่เดือน และต้องการผลบุญกุศลสูงสุดอุทิศให้แก่บิดามารดา ฯลฯ หากมีการรับเงินรับทองเข้าก็ต้องรีบสละออกโดยเร็วที่สุด โดยนำไปหยอดตู้ค่าน้ำค่าไฟของวัด หรือตู้ทำบุญอื่นๆเช่น ชำระหนี้สงฆ์ ถวายภัตตาหาร ฯลฯ เพราะเงินทองเป็นวัตถุอนามาส เก็บสะสมไว้จะต้องอาบัติ
- การทำพินธุ อัฐบริขาร ก่อนใช้ การพินทุ ในทางพุทธศาสนาหมายถึง การทำจุดตำหนิลงบนบริขาร ซึ่งพระพุทธเจ้ากำหนดไว้ในพระธรรมวินัยว่า ไม่อนุญาตให้ใช้บริขารที่ปราศจากการทำจุดตำหนิ การพินทุกระทำโดยใช้ดินสอหรือปากกา เขียนเครื่องหมายเป็นจุดเรียงกันเป็นสามเหลี่ยม ∴ ลงบนบริขาร ถ้าเป็นผ้าก็จะกระทำไว้ที่มุมผ้า พร้อมบริกรรมคาถาว่า อิมํ พินฺทุกปฺปํ กโรมิ (เราทำเครื่องหมายด้วยจุดนี้) หนึ่งจุดต่อหนึ่งครั้ง บางวัดอาจเปลี่ยนคำกลางเป็น กปฺปพินฺทุ˚ ก็ได้ แล้วให้มีการทำวิกัปเกี่ยวกับจีวรและสังฆาฏิด้วย ถ้าไม่กระทำถือว่าอาบัติ มีโทษเป็นปาจิตติยกรรม
- เมื่อพระใหม่บวชสำเร็จแล้ว และขณะพระใหม่ที่กำลังออกจากโบสถ์ ทุกคนมีความเชื่อว่าท่านบริสุทธิ์เพราะบวชใหม่ ก็เลยพากันถวายปัจจัย(เงิน)ใส่ซองถวายท่าน ก็เลยเป็นว่าทำให้ท่านต้องอาบัติ”นิสสัคคิยปาจิตตีย์”ตั้งแต่รับซองแรกแล้ว ซึ่งปลงอาบัติไม่ได้ ต้องสละออกก่อน ถึงจะทำการปลงอาบัติได้ดังนั้นสิ่งควรทำบุญกับพระใหม่ให้ได้อานิสงค์นั้นควรเป็นของกัปปิยะภัณฑ์ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ ผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ฯลฯ แต่ไม่ควรถวายเงินเด็ดขาด
การขอขมากรรม ก่อนการลาสิกขา
พิธีการการขอขมา
เมื่อกำหนดวันฤกษ์ดีได้แล้ว ครั้นใกล้จะถึงกำหนดอาจจะเป็นวันเดียวกันหรือก่อนล่วงหน้าสัก 2-3 วันก็ได้ให้จัดเครื่องสักการบูชาไปขอขมาดังนี้
ก.ขอขมาเสมา จัดกรวยดอกไม้ ธูป เทียน หมากพลู ไปบูชาขอขมาเสมาที่หน้าพระอุโบสถ
ข.ขอขมาพระประธาน จัดเครื่องสักการะ คือ ดอกไม้ ธูป เทียน หมาก พลู ไปขอขมาพระประธาน เครื่องสักการะเหล่านี้ให้อุทิศถวายแก่พระสงฆ์ ในเมื่อบูชาขอขมาพระประธานเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ค.ขอขมาพระสงฆ์ จัดเครื่องสักการะ คือ ดอกไม้ ธูป เทียน หมาก พลู ไปขอขมาพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ ตลอดจนถึงพระสงฆ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือทุกองค์
บทสวดพิจารณาอาหารก่อนรับประทาน
ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ,
เราย่อมพิจารณาโดยแยบคาย แล้วฉันบิณฑบาต (อาหาร),
เนวะทะวายะ,
ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน,
นะมะทายะ,
ไม่ให้เป็นเพื่อความเมามัน เกิดกำลังพลังทางกาย,
นะมัณฑะนายะ.
ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ,
นะ วิภูสะนายะ,
ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง,
ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา,
แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้,
ยาปะนายะ,
เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ,
วิหิงสุปะระติยา,
เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย,
พรัหมะจะริยานุคคะหายะ,
เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์,
อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ,
ด้วยการทำอย่างนี้, เราย่อมระงับเสียได้ ซึ่งทุกขเวทนาเก่า คือความหิว,
นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ,
และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น,
ยาตะรา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติ,
อนึ่ง ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตตภาพนี้ด้วย ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย,
และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย, จักมีแก่เรา ดังนี้.
*****************************************
บทสวดให้พรแก่ผู้มีพระคุณหลังรับประทานอาหาร
(สามัญญานุโมทนาคาถา)
สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
ความจัญไรทั้งปวงจงบำราศไป โรคทั้งปวง (ของท่าน) จงหาย
มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
อันตรายอย่ามีแก่ท่าน ท่านจงเป็นผู้มีความสุขมีอายุยืน
สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
ความจัญไรทั้งปวงจงบำราศไป โรคทั้งปวง (ของท่าน) จงหาย
มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
อันตรายอย่ามีแก่ท่าน ท่านจงเป็นผู้มีความสุขมีอายุยืน
สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
ความจัญไรทั้งปวงจงบำราศไป โรคทั้งปวง (ของท่าน) จงหาย
มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ ฯ
อันตรายอย่ามีแก่ท่าน ท่านจงเป็นผู้มีความสุขมีอายุยืน
อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา
วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง ฯ
ธรรมสี่ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ
ย่อมเจริญแก่ผู้มีปรกติไหว้กราบ, มีปรกติอ่อนน้อม (ต่อผู้ใหญ่) เป็นนิตย์ ฯ