ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

ตอนที่  2

ปราสาทเทพเจ้า

หนังสือ :สุรินทร์ มรดกโลกทางวัฒนธรรมในประเทศไทย
แต่งโดย: อาจารย์ศิริ ผาสุก,อาจารย์อัจฉรา ภาณุรัตน์,อาจารย์เครือจิต ศรีบุญนาค
ผู้จัดพิมพ์ :ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ ชมรมหัตถกรรมพื้นบ้านไทย พศ.2536

การศึกษาทางโบราณคดีเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องใช้และศาสนสถานที่บรรพชนเคยใช้ในอดีตกาลนั้น  นับว่าเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือกว่าการบันทึกของนักประวัติศาสตร์เสียอีก  ดังนั้น  โบราณสถานจึงมีความสำคัญอันยิ่งใหญ่ในการศึกษาประวัติศาสตร์ของมนุษย์


จากการศึกษาประวัติศาสตร์ในดินแดนแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  ตั้งแต่โบราณกาลมาเรามักจะได้ยินการกล่าวถึงอาณาจักรต่าง ๆ ไว้อย่างน้อย 5-6 อาณาจักร  นั่นก็คือ  อาณาจักรฟูนาน  อาณาจักรเจนละ  อาณาจักรจามปา  อาณาจักรทวาราวดี  อาณาจักรขอม  อาณาจักรศรีวิชัย


จากการศึกษาของนักประวัติศาสตร์  และนักโบราณคดีทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า  อาณาจักรดังกล่าวเหล่านั้นมีอยู่จริงในดินแดนแถบนี้  แต่มีความรุ่งเรืองกันคนละยุคสมัยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  3  อาณาจักร  นั่นคือ  อาณาจักรฟูนาน  อาณาจักรเจนละ  และอาณาจักรขอม  ถ้าหากเราศึกษาแบบของศิลปะประกอบบันทึกของพ่อค้าจีนที่เคยเดินทางมาในดินแดนแถบนี้แล้ว  เราสามารถแบ่งยุคตามความรุ่งเรืองของอาณาจักรทั้ง  3  ได้ดังนี้

หน้า  16


ยุคที่ 1 สมัยอาณาจักรฟูนาน ตามบันทึกของพ่อค้าจีนระบุว่า  อาณาจักรฟูนาน  มีความเจริญรุ่งเรือง   ตั้งแต่คริสตศตวรรษที่  2  ถึงคริสตศตวรรษที่ 7 มีศูนย์กลางของอาณาจักรอยู่ที่เมืองท่าที่  ออกแก้ว  ริมฝั่งสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง  ในด้านการนับถือศาสนานั้น  เป็นการนับถือพุทธศาสนา  นิกายมหายาน


ยุคที่ 2 สมัยอาณาจักรเจนละ ความจริงอาณาจักรเจนละเกิดขึ้นมาแล้วก่อนหน้านั้น  แต่ยังขึ้นต่ออาณาจักรฟูนานอยู่จนถึงคริสตศตวรรษที่ 6  อาณาจักรฟูนานเริ่มอ่อนแอ  ในขณะที่เจนละมีกษัตริย์ที่เข้มแข็งเกิดขึ้น  “จิตรเสนเข้าตีฟูนาน”  และสถาปนาอาณาจักรใหม่ประมาณคริสตศตวรรษที่ 7 โดยตั้งอีศานปุระ  ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือเมือกัมปงทมปัจจุบัน  มีปราสาทสัมโบร์ไพรกุกเป็นสัญลักษณ์แห่งศูนย์กลางการปกครองในขณะนั้น


ยุคที่ 3 สมัยขอม เริ่มตั้งแต่พระเจ้าชัยวรมันที่  2 ได้ประกาศลัทธิเทวราชาใน ค.ศ. 802  และสร้างอาณาจักรเมืองพระนคร (Angkor) ขึ้นและสิ้นสุดในปลายคริสตศตวรรษที่  13  นับเวลาได้ประมาณ  500  ปี


ดังนั้น  เราจึงสามารถสรุปยุคสมัยของอาณาจักรทั้ง  3  ได้ดังต่อไปนี้


อาณาจักรฟูนาน  เริ่มตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 2 – 7

อาณาจักรเจนละ  เริ่มตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 7 – 9

อาณาจักรเมืองพระนคร (ขอมโบราณ)  เริ่มตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 9 – 13

จากวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวมานี้  ประกอบกับวิวัฒนาการทางศิลปะที่ได้แยกออกตามที่กล่าวมาแล้ว  จะเห็นได้ว่า  คนโบราณสมัยอาณาจักรฟูนาน  ไม่ได้ทิ้งร่องรายทางโบราณสถาน  และโบราณวัตถุที่มีให้เห็นมาก  ดูเหมือนจะเริ่มต้นจากสมัยอาณาจักรเจนละ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ในดินแดนของอาณาจักรเจนละ  คือแถบวัตภู  แขวงจำปาสัก  ประเทศลาว  แถบจังหวัดอุบลราชธานี  จังหวัดยโสธร  และจังหวัดสุรินทร์ได้ทิ้งร่องรอยทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุไว้มาก  จึงทำให้น่าเชื่อได้ว่าเจนละ  คือจุดเริ่มต้นของอาณาจักรเมืองพระนครอันยิ่งใหญ่ของขอมโบราณ


จังหวัดสุรินทร์  เป็นเมืองหนึ่งของอาณาจักรเจนละ  จากคูเมืองและกำแพงเมืองทำให้เชื่อว่า  สร้างขึ้นมาในเวลาใกล้เคียงกับเมืองศรีมโหสถ  ที่ตั้งอยู่ที่อำเภอโคกปีบ  จังหวัดปราจีนบุรีปัจจุบัน  และเมืองเศรษฐปุระอันเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรเจนละ  ระยะต้นที่ใกล้ปราสาทวัดภู  แขวงจำปาสัก  ประเทศลาว  ตามที่กล่าวมาแล้ว


ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของอาณาจักรขอมมาหลายยุคหลายสมัย  แต่ดูเหมือนว่าไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อการปกครองของจังหวัดสุรินทร์แต่ประการใดเลย  เพราะจากหลักฐานทางโบราณคดี  เกี่ยวกับปราสาทต่าง ๆ ที่จังหวัดสุรินทร์นั้น  ถึงแม้จะมีสลักหักพังไปจำนวนมาก  แต่ที่เหลืออยู่ก็สามารถทำนายวิวัฒนาการทางสังคมของชาวสุรินทร์ได้ว่า  จังหวัดสุรินทร์นั้นมีความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมมาโดยตลอด  ไม่เคยขาดเลย  ดังจะเห็นได้จากปราสาทต่าง ๆ ในท้องที่จังหวัดสุรินทร์



ปราสาทภูมิโปน

ตั้งอยู่ที่บ้านภูมิโปน ตำบลดม ปราสาทภูมิโปนประกอบด้วยโบราณสถาน ๔ หลัง คือ ปราสาทก่ออิฐ ๓ หลัง และก่อศิลาแลง ๑ หลัง มีอายุการก่อสร้างอย่างน้อยสองสมัย ปราสาทก่ออิฐหลังใหญ่และหลังทางทิศเหนือสุด นับเป็นปราสาทแบบศิลปะเขมรที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย คือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ส่วนปราสาทอิฐหลังเล็กที่ตั้งตรงกลางและปราสาทที่มีฐานศิลาแลงทางด้านทิศใต้ นั้นสร้างขึ้นในสมัยหลัง ปราสาทภูมิโปนคงสร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดูไศวนิกายเช่นเดียว กับศาสนสถานแห่งอื่นในรุ่นเดียวกัน แม้ไม่พบรูปเคารพซึ่งควรจะเป็นศิวลึงค์อยู่ภายในปรางค์ แต่ที่ปรางค์องค์ใหญ่ยังมี ท่อโสมสูตร คือ ท่อน้ำมนตร์ที่ต่อออกมาจากแท่นฐานรูปเคารพในห้องกลางติดอยู่ที่ผนังในระดับ พื้นห้อง การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๐๗๗ (สายสุรินทร์-สังขะ) ระยะทาง ๔๙ กิโลเมตร จากแยกอำเภอสังขะเข้าทางหลวงหมายเลข ๒๑๒๔ (สังขะ- บัวเชด) จนถึงบ้านภูมิโปนอีก ๑๐ กิโลเมตร จะเห็นปราสาทอยู่ริมถนนด้านซ้ายมือ

ปราสาทภูมิโปน

ในด้านโบราณสถานที่สำคัญ  อันเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยเจนละ  ก็คือปราสาทภูมิโปน  ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านภูมิโปน ตำบลดม  อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์  ปราสาทหลังนี้ถึงแม้ว่านักโบราณคดีจะลงความเห็นว่าเป็นแบบไพรกะเม็ง  ซึ่งเป็นยุคต่อจากแบบสัมโบร์ไพรกุก  แต่ถ้าหากเราเปรียบเทียบรูปแบบกับปราสาทสัมโบร์ไพรกุก  ที่ประเทศกัมพูชา   แล้วจะเห็นได้ว่าแทบไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย  จึงทำให้เชื่อว่าเป็นแบบสัมโบร์ไพรกุกมากกว่า

ปราสาทภูมิโปน อยู่ในตำบลคม อำเภอสังขะ  ชื่อปราสาทมีความหมายว่า ที่หลบซ่อน มีเรื่อง

เล่าว่า พระธิดาของกษัตริย์ ถูกนำมาพักอาศัย ณ เมืองนี้เพื่อหลบหนีภัยสงคราม
ปราสาทภูมิโปนประกอบด้วยปราสาทอิฐสามหลัง และฐานปราสาทศิลาแลงอีกหนึ่งหลัง ตั้งเรียงกันจากเหนือไปใต้ดังนี้
ปราสาทอิฐหลังที่ ๑ อยู่ทางด้านเหนือสุด มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม่ย่อมุม เหลือเพียงฐาน กรอบประตูทางเข้า และผนังบางส่วน  ทับหลังและเสาประดับกรอบประตูทำด้วยหินทรายสลักลวดลาย ลักษณะเทียบได้กับศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร แบบไพรเกมร มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓
ปราสาทหินหลังที่ ๒ อยู่ต่อจากปราสาทหินหลังแรกมาทางใต้ ปัจจุบันเหลือเพียงฐานและกรอบประตูหินทราย
ปราสาทหินหลังที่ ๓ หรือปรางค์ประธาน เป็นปราสาทหลังใหญ่ ก่อด้วยอิฐไม่สอปูน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสไม่ย่อมุม มีบันได และประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก อีกสามด้านเป็นประตูหลอก  เสาประดับ กรอบประตู และทับหลังทำด้วยหินทราย ใต้หน้าบันเหนือทับหลังขึ้นไปเป็นลายรูปใบไม้ม้วน รูปแบบและเทคนิคการก่อสร้าง เทียบได้กับปราสาทขอมสมัยก่อนพระนคร ร่วมสมัยกับปราสาทหลังที่ ๑ ได้พบจารึกเป็นภาษาสันสกฤตด้วยอักษรปัลลวะ ซึ่งเคยใช้เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓ ซึ่งสอดคล้องกับอายุของรูปแบบศิลปะของปราสาท
ฐานปราสาทศิลาแลง อยู่ต่อจากปราสาทประธานมาทางใต้ ปัจจุบันเหลือเพียงฐานเท่านั้น
ปราสาทหลังนี้และปราสาทหลังที่สองคงสร้างในสมัยต่อมาซึ่งไม่อาจกำหนดอายุได้ ชัดเจน จากส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรม เช่น เสาประดับ กรอบประตูที่เหลืออยู่เป็นเสาแปดเหลี่ยมอันวิวัฒนาการมาจากเสากลมในสมัยก่อน เมืองนคร ตลอดจนการก่อฐานปราสาทด้วยศิลาแลง ทำให้สามารถกำหนดได้ว่า ปราสาททั้งสองหลังนี้คงจะสร้างขึ้นหลังจากปราสาทประธาน และปราสาทหลังที่หนึ่ง




หน้า 17

ปราสาทสังข์ศิลป์ชัย กลับจากปราสาทภูมิโปน  เลี้ยวซ้ายที่สี่แยก  เลยสี่แยกไปตามเส้นทางสายโชคชัย – เดชอุดม  ประมาณ 1  กม. เศษ  จะเห็นทางแยกซ้ายมือก็เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 12 กม.  ก็จะถึงบ้านจาน  ซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาทสังข์ศิลป์ชัย

ปราสาทสังข์ศิลป์ชัย อยู่ที่บ้านถนุ ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ มีลักษณะเป็นปราสาทองค์เดียวค่อนข้างใหญ่ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานสูง ปัจจุบันหักพัง เหลืออยู่เพียงบางส่วนและกรอบประตูด้านทิศตะวันออก สิ่งสำคัญคือ ทับหลังที่พบบริเวณด้านหน้า มีขนาดใหญ่กว่าที่เคยพบทั่วไป คือ ยาว ๒.๗๐ เมตร สูง ๑.๑๐ เมตร หนา ๐.๘๕ เมตร สลักเป็นลายพวงมาลัย ประกอบด้วยลายใบไม้ม้วนและเทพนม ตรงกลางสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ แนวทับหลังตอนบน เป็นภาพเทพนมในซุ้มเรือนแก้วสิบซุ้มเรียงกัน จัดเป็นทับหลังที่สวยงามอีกชิ้นหนึ่ง ทับหลังชิ้นนี้แสดงลักษณะอิทธิพลศิลปะเขมร
แบบ พะโค (ประมาณ พ.ศ.๑๔๒๐ - ๑๔๔๐) จึงกำหนดอายุได้ว่าอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕  นอกจากนี้ยังพบเสากรอบประตูแปดเหลี่ยม โคนเสาสลักรูปฤาษีนั่งอยู่ภายในซุ้ม
ปราสาทมีชัย หรือ หมื่นชัย อยู่ที่บ้านถนน ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ แบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มคือ
ปราสาทมีชัยหรือหมื่นชัย เป็นปราสาทหลังเดียว ก่อด้วยอิฐ มีประตูทางเข้าทางด้านทิศตะวันออก กรอบประตู และทับหลังทำด้วยหินทราย มีสระน้ำล้อมสามด้าน ยกเว้นทางด้านทิศตะวันออก  ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงผนังบางส่วนและฐาน

หน้า  18

ปราสาทสังข์ศิลป์ชัย  ก่อด้วยอิฐสี่เหลี่ยมจัตุรัส  มีประตูเข้า – ออก  ทางทิศตะวันออก  เสาประตูทิศตะวันออกทำด้วยเสาหินท่อนใหญ่ศิลาทับหลังประตู  มีขนาด 0.85/1.10/2.70 เมตร  ตรงกลางจำหลักเป็นรูปพระอินทร์ขี่ช้างเอราวัณ  มีลายขดเป็นรูปเทพพนม  ในซุ้มเรือนแก้ว 10 ซุ้ม  เรียงกันนับเป็นทับหลังที่สวยงามอีกชิ้นหนึ่ง  นอกจากนั้น  ยังพบเสากรอบประตูแปดเหลี่ยม  มีรูปฤาษีนั่งที่ฐานเสาด้วย

เดิมที่ปราสามสังข์ศิลป์ชัย  อยู่ห่างจากปราสาทบ้านจารย์  17 เมตร  ทางด้านตะวันตก  โดยมีปราสาทบ้านจารย์อยู่ตะวันออก  ภายในวงล้อมของคูน้ำเดียวกัน  แต่ปัจจุบันปราสาทบ้านจารย์พังทลายหมดแล้ว    ปราสาทหลังนี้  เป็นศิลปะแบบไพรกะเม็ง  ซึ่งมีอายุราวก่อน พ.ศ. 1350 จึงทำให้เชื่อว่าสร้างขึ้นในราว  พุทธศตวรรษที่  14  ซึ่งเป็นปราสาทที่เก่าแก่รองจากปราสาทภูมิโปนทีเดียว


ปราสาทตามอญ ถ้าเราเดินทางจากบ้านดง  ไปทางอำเภอบัวเชด  จะถึงโรงเรียนบ้านบัวเชดก่อน   ก่อนถึงอำเภอบัวเชดประมาณ 2 กม.เศษ  ณ  มุมโรงเรียนนั้น  เราจะเห็นปราสาทหลังหนึ่งเรียกว่าปราสาทตามอญ  เป็นปราสาทที่ก่อด้วยอิฐทรงเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  เข้าใจว่าจะสร้างในราวปลายสมัยอยุธยา  หรือต้นสมัยรัตนโกสินทร์

หน้า  19

ปราสาทตามอย (ตามอญ) อยู่ที่บ้านปราสาท ตำบลบัวเชด อำเภอศีขรภูมิ เป็นปราสาทก่ออิฐหลังเดียวโดด ๆ  มีประตูเข้าทางทิศตะวันออกด้านเดียว ผนังอีกสามด้านก่อทึบ ส่วนยอดของปราสาทชำรุดหักพัง
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม มีเรือนธาตุสี่เหลี่ยมซ้อนกันสามชั้น เป็นแบบผสมผสานกันระหว่างศิลปะขอมและลาว สันนิษฐานว่า มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ปลายสมัยอยุธยาหรือต้นสมัยรัตนโกสินทร์






ปราสาทยายเหงา เมื่อย้อนกลับจากบัวเชดถึงสี่แยกโชคชัย-เดชอุดม  แล้วเลี้ยวขวาไปประมาณ  4 กม.  จะเห็นป้ายชี้ทางเข้าปราสาทยายเหงา   ระยะทางประมาณ 800 เมตร  ปราสาทแห่งนี้  เป็นศาสนสถานแบบขอมที่ประกอบด้วยปรางค์ 2 องค์  ตั้งอยู่เรียงกันในแนวทิศเหนือ – ใต้ (ความจริงน่าจะเป็น 3 องค์)   หันหน้าไปทางทิศตะวันออก  องค์ปรางค์ก่อด้วยอิฐตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง มีการแกะสลักอีกเป็นลวดลายเช่น ที่กรอบหน้าบัน  เป็นรูปมกร (สัตว์ผสมระหว่าง สิงห์ ช้าง ปลา)  คาบนาค 5 เศียร




ปราสาทยายเหงา

ตั้งอยู่ที่บ้านสังขะ ตำบลสังขะ เป็นศาสนสถานแบบขอมที่ประกอบด้วยปรางค์ ๒ องค์ ตั้งอยู่เรียงกันในแนวทิศเหนือ-ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก องค์ปรางค์ก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง มีการแกะสลักอิฐเป็นลวดลายเช่นที่กรอบหน้าบัน เป็นรูปมกร (สัตว์ผสมระหว่างสิงห์ ช้าง และปลา) คาบนาคห้าเศียร จากลักษณะแผนผังของอาคารน่าจะประกอบด้วยปราสาท ๓ องค์ตั้งเรียงกัน แต่ปัจจุบันเหลือเพียง ๒ องค์ บริเวณปราสาทพบกลีบขนุนยอดปรางค์ เสาประดับกรอบประตู แกะสลักจากหินทราย จัดแสดงไว้ด้านหน้าปราสาท การเดินทาง ห่างจากที่ว่าการอำเภอสังขะ ประมาณ ๔ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๒๔ (โชคชัย-เดชอุดม) ระหว่างกิโลเมตรที่ ๑๘๙-๑๙๐ แยกไปตามทางลูกรังอีก ๘๐๐ เมตร


ปราสาทหมื่นชัย ห่างจากบ้านจารย์ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ  ประมาณ 8 กม.  จะเป็นบ้านกระเทียม  เดินทางไปตามทางสายโชคชัย-เดชอุดม  ประมาณ  5  กม.  จะถึงบ้านถนน  ตำบลกระเทียม  อำเภอสังขะ   ณ  ที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของปราสาทหมื่นชัย    ปราสาทแห่งนี้ก่อด้วยอิฐฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  กรอบและทับหลังประตูทำด้วยหินทราย  มีคูน้ำกว้างประมาณ  13  เมตร  ล้อมรอบ  ใกล้กันทางด้านทิศตะวันออก  ประมาณ  74.60 เมตร  เป็นที่ตั้งของปราสาทบ้านปราสาท   ซึ่งก็คืออโรคยาศาร  อีกแห่งหนึ่ง  มีส่วนประกอบคือ  ปรางค์ประทาน  วิหารหรือบรรณาลัย  กำแพง  พร้อมโคปุระด้านหน้า และสระน้ำ

ปราสาทตะเปียงเตีย ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลโชคเหนือ อำเภอลำดวน ภายในบริเวณวัดปราสาทเทพนิมิตร ตรงหลัก กม.ที่ 33-34 ถนนลูกรังระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ลักษณะปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยมมียอดปราสาท 5 ยอด เป็นรูปบัวตูม ตัวปราสาทก่อด้วยอิฐ ลักษณะการก่อสร้างเป็นสถาปัตยกรรมแบบลาวสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

ปราสาทตระเปียงเตีย ออกจากบ้านกระเทียม  มาขึ้นทางหลวงสายโชคชัย-เดชอุดม   ณ  จุดนั้นจะมีทางไปอำเภอลำดวน  ระยะทางประมาณ  15  กม.  พอถึงสี่แยกอำเภอลำดวน  ก็เลี้ยวขวาไปทางสังขะอีกครั้งหนึ่ง  จนเกือบถึงบ้านหนองคู  ประมาณ  5-6 กม.  จากลำดวนจะมีป้ายบอกทางไปวัดตระเปียง

เตีย  เนื่องจากวัดนี้มีชื่อเสียงมากในด้านการรักษาคนป่วยติดบุหรี่หรือเหล้า  ทำให้มีผู้คนไปรักษามาก

หน้า  20


เลี้ยวซ้ายเข้าไปวัด  เนื่องจากทางไม่ดีจึงใม่สามารถประมาณเส้นทางได้ว่ากี่กิโลเมตร  แต่คิดว่าประมาณ 10 กิโลเมตร   วัดตระเปียงเตียมีบรรยากาศที่สงบ  รื่นรมย์ เนื่องจากมีต้นไม้มาก  ณ  วัดแห่งนี้  เป็นที่ตั้งของปราสาทตระเปียงเตีย   ปราสาทนี้ก่อด้วยอิฐเป็นรูปสี่เหลี่ยม   4 ชั้น 5 ยอด  ยอดนั้นทำเป็นรูปบัวตูม  ด้านกว้าง   3.45  เมตร  มีช่องประตูอยู่ทางทิศตะวันออก  ใต้ช่องซุ้มทิศตะวันออก  ปั้นหัวช้าง  3  เศียร  ลักษณะฝีมือเป็นแบบลาวรุ่นสมัยอยุธยาตอนปลาย  หรือต้นสมัยรัตนโกสินทร์   ในเส้นทางสายนี้  ดูเหมือนจะสิ้นสุดกัน  ณ  จุดนี้เอง  เพราะไม่มีหลักฐานที่จะหาดูได้อีก   อย่างไรก็ตาม  ถ้าหากกลับสุรินทร์  ผ่านบ้านจันรมย์  ซึ่งอยู่ตรงหลักกิโลเมตรที่ 12  จะแวะชมผ้าไหมบ้างก็คงจะได้

กลุ่มปราสาทตาเมือน เดินทางจากสุรินทร์ผ่าน  อ.ปราสาท  ไปตามเส้นทาง  อ.กาบเชิง  ก่อนถึง  อ.กาบเชิง  ประมาณ 13  กม. จะมีทางแยกเลี้ยวขวา  ไปตามเส้นทางสาย  อ.บ้านกรวด  จังหวัดบุรีรัมย์  เราก็เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางสายนี้  ไปประมาณ  25 กม.  จึงถึงบ้านตาเมียง  จากหมู่บ้านนี้  เดินทางตามถนนลูกรัง ไปทางทิศใต้อีกประมาณ  12 กม.  ก็จะถึงบ้านหนองคันนา  ซึ่งเป็นหมู่บ้านไกลสุดชายแดนของประเทศต่อกับประเทศกัมพูชา  เดินเข้าป่าต่อไปอีกประมาณ  4  กม.  ก็จะถึงโบราณสถาน  3  แห่ง  ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันนี้  คือปราสาทตาเมือน  ปราสาทตาเมือนตู๊จ (ตู๊จ  แปลว่า เล็ก)  ปราสาทตาเมือนทม (ทม  แปลว่า ใหญ่)



โบราณสถานกลุ่มปราสาทตาเมือน

โบราณสถานกลุ่มปราสาทตาเมือน ตั้งอยู่ที่บ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง เป็นโบราณสถานแบบขอม ๓ หลัง ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ติดแนวชายแดนประเทศไทยและกัมพูชา การเดินทางจากจังหวัดสุรินทร์ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๑๔ ผ่านอำเภอปราสาท แยกไปตามทางหลวงหมายเลข ๒๑๒๑ ที่จะไปอำเภอบ้านกรวดประมาณ ๒๕ กิโลเมตร มีทางแยกที่บ้านตาเมียง ไปอีก ๑๓ กิโลเมตร ปราสาทตาเมือน ศาสนสถานของพุทธศาสนาลัทธิมหายาน สร้างขึ้นเพื่อเป็นธรรมศาลาหรือที่พักคนเดินทางแห่งหนึ่งใน ๑๗ แห่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มหาราชองค์สุดท้ายแห่งเมืองพระนครโปรดให้สร้างขึ้นจากเมืองยโสธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณไปยังเมืองพิมาย ปราสาทตาเมือนเป็นศิลปะขอมแบบบายนสร้างด้วยศิลาแลงเช่นเดียวกับโบราณสถาน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่พบในดินแดนประเทศไทย มีลักษณะเป็นปรางค์องค์เดียวมีห้องยาวเชื่อมต่อมาทางด้านหน้า ผนังด้านเหนือปิดทึบ แต่สลักเป็นหน้าต่างหลอก ส่วนด้านใต้มีหน้าต่างเรียงกันโดยตลอด เคยมีผู้พบทับหลังเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิในซุ้มเรือนแก้ว ๒-๓ ชิ้น ปราสาทตาเมือนโต๊ด เป็นอโรคยาศาล สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ยังคงสภาพเกือบจะสมบูรณ์ ประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขยื่นทางด้านหน้า ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีบรรณาลัยอยู่ทางด้านหน้าเยื้องไปทางขวาขององค์ปรางค์ ล้อมรอบด้วยกำแพงก่อศิลาแลงเช่นเดียวกัน มีซุ้มประตู (โคปุระ) อยู่ด้านหน้า คือ ด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว นอกกำแพงด้านหน้ามีสระน้ำเช่นเดียวกับอโรคยาศาลแห่งอื่น ๆ ตรงห้องกลางของโคปุระได้พบศิลาจารึก ๑ หลัก จารึกด้วยอักษรขอมภาษาสันสกฤต เป็นจารึกซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โปรดให้สร้างไว้ประจำอโรคยาศาลแห่งนี้ มีข้อความเช่นเดียวกับจารึกที่พบที่อโรคยาศาลแห่งอื่น ๆ คือ กล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าพระไภษัชยคุรุไวฑูรยะ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ผู้ประทานความไม่มีโรคแก่ประชาชนผู้นับถือและกล่าวถึง การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำสถานพยาบาลในแผนกต่าง ๆ เช่น แพทย์ ผู้ดูแลสถานพยาบาล ปัจจุบันจารึกหลักนี้เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติท่าวาสุกรี ปราสาทตาเมือนธม อยู่ถัดจากปราสาทตาเมือนโต๊ดไปทางทิศใต้ประมาณ ๒๐๐ เมตร เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือน บนแนวเทือกเขาพนมดงรัก ประกอบด้วยปรางค์สามองค์ มีปรางค์ประธานขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ตรงกลาง ปรางค์อีกสององค์อยู่ถัดไปด้านหลังทางด้านขวาและซ้าย ปรางค์ทั้งสามองค์สร้างด้วยหินทรายหันหน้าไปทางทิศใต้ ที่ปรางค์ประธานมีลวดลายจำหลักที่งดงาม แม้ว่าจะถูกลักลอบทำลายและทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ทางด้านตะวันออกและตะวันตก มีวิหารสองหลังสร้างด้วยศิลาแลง อาคารทั้งหมดมีระเบียงคดซึ่งสร้างด้วยหินทรายล้อมรอบ มีโคปุระทั้งสี่ด้าน โคปุระด้านใต้มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีบันไดทางขึ้นจากเชิงเขาด้านประเทศ กัมพูชา นอกระเบียงคดทางด้านทิศเหนือมีสระน้ำและที่ลานริมระเบียงคดทางมุขด้านทิศ ตะวันออกเฉียงใต้มีศิลาจารึกภาษาขอม กล่าวถึงชื่อ พระกัลปกฤษณะ จึงสันนิษฐานได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์ จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมและลวดลายจำหลักต่าง ๆ ทำให้ทราบได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ซึ่งเก่าแก่กว่าโบราณสถานอีกสองแห่งในกลุ่มปราสาทตาเมือน เนื่องจากโบราณสถานกลุ่มนี้อยู่ใกล้ชายแดนไทย-กัมพูชา นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้าไปชมควรสอบถามข้อมูลจากหน่วยงานทหารที่ดูแล พื้นที่ที่ตั้งอยู่บริเวณนั้นก่อน

ปราสาทตาเมือน สร้างด้วยศิลาแลง  มีลักษณะเป็นปรางค์เดี่ยวมีห้องยาวเชื่อมต่อมาทางด้านหน้า  ผนังด้านหนึ่งปิดทึบ  แต่สลักเป็นหน้าต่างหลอก  ส่วนอีกด้าน  มีหน้าต่างเรียงกันโดยตลอด



หน้า  21


จึงเชื่อว่า ปราสาทแห่งนี้เป็นที่พักคนเดินทาง (ผู้จาริกแสวงบุญ)  ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายของเมืองพระนคร  โปรดฯ ให้สร้างขึ้นจากเมืองยโสธรปุระ  เมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณไปยังเมืองพิมาย  มีจำนวนทั้งหมด 17 แห่ง

ปราสาทตาเมือนตู๊จ เป็นอโรคยาศาร  สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18  สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่  7  อโรคยาศารแห่งนี้ยังคงสภาพเกือบจะสมบูรณ์ประกอบด้วยปรางค์ประทานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขยื่นทาง  ด้านหน้า ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย  มีบรรณาลัยอยู่ทางด้านหน้าเยื้องไปทางขวาขององค์ปรางค์   ล้อมรอบด้วยกำแพงก่อด้วยศิลาแลงเช่นกัน  มีซุ้มประตู(หรือโคปุระ)  อยู่ทางด้านหน้าคือด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว  ทางนอกกำแพงด้านหน้ามีสระน้ำ  ทางห้องกลางของโคปุระ  โปรดให้สร้างไว้ประจำอโรคยาศารแห่งนี้  มีข้อความเช่นเดียวกับที่จารึกไว้ที่อื่น  คือกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้า  พระไภษ์ชยคุไรวฑูรยะ  ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ผู้ประทานความไม่มีโรคแก่ประชาชนผู้นับถือ  และกล่าวถึงการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำสถานพยาบาลในแผนกต่าง ๆ เช่นแพทย์   ผู้ดูแลสถานพยาบาล  เป็นต้น   ปัจจุบันจารึกหลักนี้เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ  ท่าวาสุกรี

ปราสาทตาเมือนทม เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มนี้  ตั้งอยู่บนแนวภูเขาพนมดงรัก  ซึ่งเป็นพรหมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา



หน้า  22


ประกอบด้วยปรางค์  3  องค์  โดยมีปรางค์ประธานซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ตรงกลาง  ส่วนปรางค์อีก 2 องค์อยู่ถัดไป  ด้านหลังทางด้านขวาและด้านซ้ายของปรางค์ประธาน  ปรางค์ทั้ง 3 สร้างด้วยหินทราย  หันหน้าไปทางทิศใต้  ที่ปรางค์ประธานมีลวดลายจำหลักที่งดงาม แม้ว่าจะถูกทำลายไปมากก็ตาม  ทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก  มีวิหาร 2 หลังสร้างด้วยศิลาแลง  อาคารทั้งหมดมีระเบียงคด   ซึ่งสร้างด้วยหินทรายล้อมรอบ  มีโคปุระทั้ง 4 ด้าน  โคปุระด้านใต้  ขนาดใหญ่ที่สุดและมีบันไดทางขึ้นจากเชิงเขาด้านนั้น  นอกระเบียงคด  ทางมุขทิศตะวันออกเฉียงใต้  มีศิลาจารึกภาษาขอมกล่าวถึงชื่อ  พระกัลปกฤษณะ   จึงสัญนิษฐานได้ว่าโบราณสถานแห่งนี้  คงจะสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์  และจากลักษณะทางสถาปัตยกรรม  ทำให้ทราบได้ว่าคงจะสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่  16  ซึ่งเก่าแก่กว่าโบราณสถานอีก 2 แห่ง  ในกลุ่มปราสาทตาเมือน  ทางด้านทิศเหนือมีสระน้ำ  และที่ลานริมระเบียงคด



ปราสาทหินบ้านพลวง

ตั้งอยู่ที่บ้านพลวง ตำบลบ้านพลวง ห่างจากที่ว่าการอำเภอปราสาท ๔ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๒๑๔ (สุรินทร์-ปราสาท-ช่องจอม) มีทางแยกซ้ายมือกิโลเมตรที่ ๓๔-๓๕ไปอีกราว ๑ กิโลเมตร ปราสาทหินบ้านพลวงเป็นปราสาทหินขนาดเล็กแต่ฝีมือการสลักหินประณีตงดงามมาก ได้รับการขุดแต่งบูรณะเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ โดยวิธีอนัสติโลซิส คือการรื้อตัวปราสาทลง เสริมความมั่นคง และประกอบขึ้นใหม่ดังเดิม ลักษณะของปราสาทหินองค์นี้เป็นปรางค์องค์เดียว ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูทางเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียวส่วนด้านอื่นอีกสามด้านทำเป็นประตู หลอก องค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาแลง หินทราย และมีอิฐเป็นวัสดุร่วมก่อสร้างในส่วนบนของปราสาท โบราณสถานแห่งนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมจำหลักลายงดงามมาก แต่องค์ปรางค์เหลือเพียงครึ่งเดียว ส่วนยอดหักหายไป มีคูน้ำเป็นรูปตัวยูล้อมรอบ ถัดจากคูน้ำเป็นบาราย (สระน้ำขนาดใหญ่) ที่เห็นเป็นคันดิน เดิมคงเป็นที่ตั้งของแหล่งชุมชนมาก่อน บริเวณรอบองค์ปราสาทได้รับการตกแต่งไว้อย่างสวยงาม ลักษณะของทับหลังที่พบส่วนมากสลักเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณอยู่ภายใน ซุ้มเหนือหน้ากาล ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ ส่วนทางด้านเหนือสลักเป็นรูปพระกฤษณะฆ่านาค สันนิษฐานได้ว่า ปราสาทแห่งนี้คงสร้างขึ้นสำหรับพระอินทร์ นอกจากนี้ช่างมักสลักเป็นรูปสัตว์เรียงเป็นแนว เช่น ช้าง กระรอก หมู ลิง และวัวอยู่บนทับหลัง สำหรับหน้าบันด้านทิศตะวันออกสลักเป็นรูปพระกฤษณะ ยกภูเขาโควรรธนะและเช่นเดียวกัน มีรูปสลักเป็นรูปสัตว์เล็ก ๆ นอกกรอบหน้าบันอันน่าจะแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ เพราะมีแหล่งน้ำต่าง ๆ อยู่มาก ที่ผนังด้านหน้ามีรูปทวารบาลยืนกุมกระบอง ลักษณะของปราสาทหินองค์นี้คล้ายกับปรางค์น้อยบนเขาพนมรุ้ง ลวดลายเป็นลักษณะศิลปะขอมแบบ บาปวน กำหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ จากลักษณะของฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทางด้านข้างขององค์ปรางค์เหลืออยู่มาก สันนิษฐานว่า แผนผังของปราสาทแห่งนี้น่าจะประกอบด้วยปรางค์สามองค์สร้างเรียงกัน แต่อาจยังสร้างไม่เสร็จหรืออาจถูกรื้อออกไปอย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นได้ ปราสาทหินบ้านพลวงเปิดให้ชมทุกวัน ระหว่างเวลา ๐๗.๓๐-๑๘.๐๐ น. ค่าเข้าชม ชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๓๐ บาท

ปราสาทหินบ้านพลวง เดินทางกลับจากปราสาทตาเมือนเกือบถึงอำเภอปราสาท  ประมาณ  5 กม.  จะถึงบ้านพลวง  ซึ่งในหมู่บ้านนี้มีปราสาทหินบ้านพลวงอยู่ด้วย  ปราสาทแห่งนี้ก่อยกพื้นด้วยศิลาแลง  เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ยาวจากเหนือไปใต้ 23.30 เมตร  กว้าง  8.40 เมตร  ทางตะวันออกเป็นฐานหน้ายื่น  7.50 เมตร  กว้าง  6.00 เมตร  องค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาแลงและหินทรายเป็นรูปสี่เหลี่ยม  จำหลักลายงดงามมากคือ  ทับหลังประตูจำหลักเป็นรูปเทวดาขี่ช้างยืนแท่นอยู่เหนือเกียรติมุข  ซึ่งมีมือทั้งสองจับพวงมาลัย  ริมขอบบนจำหลักเป็นรูปปั้นโยคีนั่งสมาธิราบเรียงแถว 6 ตน  หน้าบันจำหลักรูปพระกฤษณะยืนอยู่บนเศียรเกียรติมุข  มือซ้ายท้าวสะเอว  มือขวาแบกภูเขาโควรรธนะ  และมีรูปโค กับโคบาลประกอบ  ขอบหน้าบันจำหลักเป็นรูปนาคราช 5 เศียร  ข้างละ 1 ตัว  ทอดลำตัวโคไปประสานหางที่ยอด  บนเสาเหลี่ยมลายจำหลักเป็นลายสี่กลีบ  ตอนโคนเป็นรูปทวารบาล ยืนกุมตะบอง



หน้า  23

ปราสาทหินบ้านปราสาท เมื่อเข้ามาถึงอำเภอปราสาท  จะมีถนนลูกรังไปทางทิศตะวันตกของเขตสุขาภิบาลประมาณ 5 กิโลเมตรเศษ  จะถึงบ้านปราสาท  ตำบลปราสาททนง  โบราณสถานแห่งนี้เหลืออยู่แต่ซากกำแพงก่อด้วยศิลาแลงเป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้าง 20 เมตร  สูง  1.05 เมตร  มีคูล้อมรอบบริเวณ  และห่างออกไปทางทิศตะวันออก  ประมาณ 2.00 เมตร  มีสระน้ำขนาดใหญ่ขังน้ำได้ตลอดปี




ปราสาทหินบ้านไพล เดินทางกลังสุรินทร์  ก่อนถึงหลักกิโลเมตรที่ 20  จะถึงบ้านรำเบอะ  มีทางแยกซ้ายมือไปบ้านแสโบราณ  เราเดินทางเข้าไปในเส้นทางสายนี้ประมาณ 2 กม.  ก็จะถึงปราสาทบ้านไพล  เป็นปรางค์  3 องค์เรียงแถว  ขนาดฐานกว้าง 4.00 เมตร  ยาว 4.00 เมตร  สูงประมาณ  6.50 เมตร  ก่อด้วยอิฐขัด  ปรางค์องค์ทิศใต้พังทลายเหลือเป็นโคกสูงเพียงทับหลังประตูทางเข้าด้านตะวันออก มีประตูสำหรับเข้า-ออก  กรอบและทับหลังทำด้วยหินทราย



หน้า  24




ปราสาทศีขรภูมิ

ตั้งอยู่ที่ตำบลระแงง ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ ๓๔ กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข ๒๒๖ ห่างจากที่ว่าการอำเภอ ๑ กิโลเมตร ปราสาทศรีขรภูมิประกอบด้วยปรางค์อิฐ ๕ องค์ องค์กลางเป็นปรางค์ประธาน มีปรางค์บริวารล้อมรอบอยู่ที่มุมทั้งสี่บนฐานเดียวกัน ก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง ปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้นและประตูทางเข้าเพียงด้านเดียวคือด้านทิศตะวันออก ปรางค์ทั้งห้าองค์มีลักษณะเหมือนกัน คือ องค์ปรางค์ไม่มีมุขมีประตูทางเข้าด้านเดียว มีชิ้นส่วนประดับทำจากหินทรายสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ ทั้งส่วนที่เป็นทับหลังและเสาประดับกรอบประตู เสาติดผนัง และกลีบขนุน ปรางค์ส่วนหน้าบันเป็นอิฐประดับลวดลายปูนปั้น องค์ปรางค์ประธานมีทับหลังสลักเป็นรูปศิวนาฏราช (พระอิศวรกำลังฟ้อนรำ) บนแท่น มีหงส์แบก ๓ ตัวอยู่เหนือเศียรเกียรติมุข รูปพระคเณศ พระพรหม พระวิษณุ และนางปารพตี (นางอุมา) อยู่ด้านล่าง เสาประตูสลักเป็นลวดลายเทพธิดาลายก้ามปูและรูปทวารบาล ทับหลังรูปศิวนาฏราชนี้ถือได้ว่ามีความงามกว่าทับหลังชิ้นใด ๆ ที่สลักเรื่องราวเดียวกันทั้งที่พบในประเทศไทยและประเทศกัมพูชา ส่วนปรางค์บริวารพบทับหลัง ๒ ชิ้น ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย เป็นภาพกฤษณาวตาร ทั้งสองชิ้น ชิ้นหนึ่งเป็นภาพกฤษณะฆ่าช้างและคชสีห์ ส่วนอีกชิ้นหนึ่งเป็นภาพพระกฤษณะฆ่าคชสีห์ จากลวดลายที่เสาและทับหลังขององค์ปรางค์ มีลักษณะปนกันระหว่างรูปแบบศิลปะขอมแบบบาปวน (พ.ศ. ๑๕๕๐-๑๖๕๐) และแบบนครวัด (พ.ศ. ๑๖๕๐-๑๗๐๐) จึงอาจกล่าวได้ว่า ปราสาทแห่งนี้คงสร้างขึ้นในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗ หรือต้นสมัยนครวัด โดยสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย และคงถูกดัดแปลงให้เป็นวัดในพุทธศาสนาตามที่มีหลักฐานการบูรณะปฏิสังขรณ์ใน ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ปราสาทศีขรภูมิเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐-๑๖.๓๐ น. อัตราค่าเข้าชมชาวไทย คนละ ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๓๐ บาท

ปราสาทหินศีขรภูมิ ออกเดินทางจากสุรินทร์   ตามเส้นทางสายศรีสะเกษ  ถึงหลักกิโลเมตรที่  30 จะถึงอำเภอศรีขรภูมิ  ห่างจากตัวอำเภอไปทางตะวันออกเพียงเล็กน้อย  จะเป็นบ้านปราสาท  ซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาทหินศรีขรภูมิ

ปราสาทหินศรีขรภูมิ  ประกอบด้วยปรางค์  5 องค์  องค์กลางเป็นปรางค์ประธาน  มีปรางค์บริวารล้อมรอบทั้ง 4 มุม  สร้างบนฐานเดียวกัน  ก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง  มีบันไดทางขึ้นและประตูทางเข้าด้านเดียวคือ  ทางทิศตะวันออก  ลวดลายที่เสาและที่ทับหลังของปรางค์ประธานและปรางค์บริวารทั้ง 4 องค์  มีลักษณะปนกันอยู่ระหว่างศิลปะขอมแบบปาปวน  (พ.ศ. 1550-1650)  กับแบบนครวัต (พ.ศ.1650-1700) จึงอาจจะสามารถประมาณได้ว่า  คงสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 17 หรือต้นสมัยนครวัต  โดยสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู  ลัทธิไศวนิกาย



ปราสาทบ้านอนันต์ ถ้าเลยอำเภอศรีขรภูมิ  ไปตามเส้นทางศรีสะเกษ  ประมาณ 3 กม.  ด้านซ้ายมือจะมีวัดหนึ่งชื่อ  วัดโพธิญาน  ปราสาทบ้านอนันต์  เป็นปรางค์องค์เดียวตั้งอยู่บนฐานสูงที่ก่อด้วยศิลาแลง  มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  ก่อด้วยอิฐและมีหินทรายเป็นส่วนประกอบ  มีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกด้านเดียว  ด้านหนึ่งมีทับหลังเป็นหินทราย  สลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ  ในซุ้มเรือนแก้วเหนือหน้ากาล  สองข้างหน้ากาลคล้ายรูปสิงห์คาบท่อนพวงมาลัย  เหนือท่อนพวงมาลัย  เป็นลายใบไม้ห้อยลงมา  ซึ่งเป็นลักษณะของศิลปะแบบปาปวน  มีอายุประมาณ  พ.ศ. 1560-1630



หน้า  27


ปราสาทบ้านเฉนียง ออกจากเทศบาลเมืองสุรินทร์ไปทางทิศใต้  ตามเส้นทางสายสุรินทร์-ปราสาท-ช่องจอม  ถึงหลักกิโลเมตรที่  8  จะมีทางแยกไปทางซ้ายมือ  จะมีป้ายบอกว่า “บ้านเฉนียง 2”   เราเดินทางผ่านบ้านเฉนียงไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะมีป้ายว่า  วัดปราสาทศิลาราม  ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งอ่างเก็บน้ำห้วยเสนงตรงกับบ้านปราสาท หมู่ 4  ตำบลเฉนียง  อำเภอเมือง

ปราสาทบ้านเฉนียงทำด้วยศิลาแลง  แต่ถูกรื้อทำลายใช้เป็นฐานพระอุโบสถสูญสิ้นลักษณะของปราสาทหินโบราณหมดแล้ว  มุมตะวันออกมีสระน้ำ  กรุ  ท่อนศิลาเก่าเหลืออยู่แห่งหนึ่งกว้าง 15 เมตร  ยาว  29  เมตร


ปราสาทพระปืด หรือปราสาทแก้ว ตั้งอยู่ที่บ้านพระปืด  ต.แร่  อ.เมือง  จ.สุรินทร์



หน้า  29

ปราสาทโอรงา ออกจากปราสาทบ้านเฉนียง  เดินทางต่อไปยังบ้านทะมอ  ต.ทะมอ  อ.ปราสาท  ผ่านบ้านทะมอไปทางทิศตะวันออก  ถึงบ้านโคกปราสาท  ณ  บ้านนี้เป็นบ้านเล็ก  แต่เนื่องจากเป็นเขตแดน  ระหว่างอำเภอเมืองกับอำเภอปราสาท  หมู่บ้านนี้จึงถูกแบ่งออกเป็น  3  ตำบล  2  อำเภอ  คือตำบลเฉนียง  ตำบลเทนมีย์   อำเภอเมือง  และตำบลทะมอ  อำเภอปราสาท   บริเวณที่ตั้งปราสาทอยู่ภายในบริเวณวัดบ้านโคกปราสาท  ซึ่งตั้งอยู่ในเขตตำบลเทนมีย์  อำเภอเมือง  ชื่อปราสาทโอรงา  ปราสาทแห่งนี้ถูกทำลายหมดแล้ว  คงเหลือแต่เป็นดินและกองหินเพียงเล็กน้อยเท่านั้น



หน้า  30


ปราสาทบ้านช่างปี่ ย้อนกลับไปสุรินทร์  ในช่วงก่อนถึงเมืองที  จะมีทางแยกขวาเข้าสถานีกะโดนค้อ  ถ้าเลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ  2.5 กม. และเลี้ยวซ้ายอีกประมาณ 500 เมตร  จะถึงปราสาทบ้านช่างปี่


ปราสาทช่างปี่  เป็นอโรคยาศารอีกแห่งหนึ่ง  มีสถาปัตยกรรมแบบเดียวกันกับที่อื่น  คือประกอบด้วยปรางค์ประธาน  ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย  ที่มุมด้านตะวันตกมีบรรณาลัย  มีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ  มีซุ้มประตูทางเข้าด้านหน้า  นอกกำแพงทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  มีสระน้ำขนาดเล็กกรุด้วยศิลาแลง


ปราสาทเมืองที ออกจากสุรินทร์  ถึงหลักกิโลเมตรที่  15  จะถึงสุขาภิบาลเมืองที  ถ้าเลี้ยวเข้าไปประมาณ  200 เมตร  ด้านซ้ายมือจะถึงวัดเมืองที  ที่วัดนี้เองเป็นที่ตั้งของปราสาทเมืองที

ปราสาทเมืองทีเป็นปราสาทแบบเขมร  ดูเหมือนว่าจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับปราสาทศรีขรภูมิมาก  คือเดิมทีมาปรางค์  5  องค์  แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 3  องค์  ปรางค์ทั้ง 3  มีแผงผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส  หลังกลางใหญ่ที่สุดตั้งอยู่บนฐานสูง  มีบันไดขึ้นทั้งสี่ด้าน  3   ชั้น  ส่วนปรางค์บริวาณก็มีลักษณะคล้ายคลึงกัน  แผนผังและลักษณะทางสถาปัตยกรรมของปราสาทเมืองทีนั้น  เป็นโบราณสถานอีกแบบหนึ่ง  ที่นิยมสร้างคือ  มีปรางค์ประธานตรงกลางเทียบเท่าเขาพระสุเมรุ  มีปรางค์ทั้ง 4 มุม  เป็นบริวารตามความเชื่อในลัทธิศาสนาพราหมณ์


ปราสาทแสรออ กลับจากจอมพระถึง กม.14  เลี้ยวซ้ายเข้าไปยังหมู่บ้านเครื่องเงิน  บ้านเขวาสินรินทร์  และเลยไปอีกประมาณ 4 กม.ก็จะถึงวัดปราสาททอง  หรือวัดแสรออ  ที่วัดนี้เป็นที่ตั้งของปราสาทแสรออ  ลักษณะปราสาทคล้ายปราสาทเมืองที  คงมีอายุการสร้างใกล้เคียงกัน  กลับจากชมปราสาทแล้ว  แวะซื้อผ้าไหมและเครื่องเงินที่บ้านเขวาสินรินทร์ก็ได้



หน้า  32


ปราสาทนางบัวตูม ออกจากสุรินทร์ข้ามทางรถไฟไปทางเหนือเส้นทาง  สุวรรณภูมิ-ร้อยเอ็ด  ถึงหลักกิโลเมตรที่  52  จะถึงอำเภอท่าตูม จากที่นี้เดินทางไปตามถนนลูกรังไปทางตะวันตกประมาณ 5 กม.  จะถึงปราสาทนางบัวตูม

ปราสาทจอมพระ เดินทางกลับมาถึงหลัก  กม.26  จะถึงอำเภอจอมพระ  เมื่อไปถึงให้แยกทางเข้าปราสาทจอมพระไปอีกประมาณ 500 เมตร


ปราสาทจอมพระมีลักษณะเป็นอโรคยาศาร  มีโครงสร้างที่ยังสมบูรณ์อยู่มาก  อาคารต่าง ๆ ก่อด้วยศิลาแลง  และใช้หินทรายประกอบ  หันหน้าไปทางทิศตะวันออก  มีส่วนประกอบหลัก  4  ส่วน  คือปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขหน้า  บรรณาลัยหรืออาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตั้งอยู่ทางด้านหน้ามีกำแพงล้อมรอบ  พร้อมซุ้มประตูรูปกากบาท  และสระน้ำนอกกำแพง  มีลักษณะตรงกับศิลปะขอมแบบบายน  (ราว พ.ศ.1720-1780)  ซึ่งเป็นแบบศิลปะที่เจริญในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม