ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

พิธีกรรมแรกของภิกษุใหม่

การอธิษฐานไตรจีวรและอัฐบริขาร

บรรดาจีวรเป็นต้นเหล่านั้น อันภิกษุเมื่อจะอธิษฐานไตรจีวรย้อม แล้วให้กัปปะพินทุ พึงอธิษฐานจีวรที่ได้ประมาณเท่านั้น. ประมาณแห่ง จีวรนั้น โดยกำหนดอย่างสูง หย่อนกว่าสุคตจีวร (จีวรของพระสุคต) จึงควร และโดยกำหนดอย่างต่ำ ประมาณแห่งสังฆาฏิ และอุตราสงค์ ด้านยาว ๕ ศอกกำ ด้านกว้าง ๓ ศอกกำ จึงควร. อันตรวาสก ด้าน ยาว ๕ ศอกกำ ด้านกว้าง แม้ ๒ ศอก ก็ควร. เพราะอาจเพื่อจะปกปิด สะดือด้วยผ้านุ่งบ้าง ผ้าห่มบ้างแล. ก็จีวรที่เกินและหย่อนกว่าประมาณ ดังกล่าวแล้ว พึงอธิษฐานว่า บริขารโจล. ในวิสัยแห่งการอธิษฐานจีวรนั้น ท่านกล่าวไว้ว่า การอธิษฐาน จีวร มี ๒ อย่าง คืออธิษฐานด้วยกายอย่างหนึ่ง อธิษฐานด้วยวาจาอย่าง หนึ่ง;
ฉะนั้น ภิกษุพึงถอนสังฆาฎิผืนเก่าว่า อิมํ สงฺฆาฏึ ปจฺจุทฺธรามิ (เรา ถอนสังฆาฎิผืนนี้) แล้วเอามือจับ สังฆาฎิใหม่ หรือพาดบนส่วนแห่งร่างกาย กระทำการผูกใจว่า อิมํ สงฺฆาฏึ อธิฏฺฐามิ (เรา อธิษฐานสังฆาฎินี้) แล้ว พึงทำกายวิการ อธิษฐานด้วยกายนี้ ชื่อว่า การอธิษฐานด้วยกาย เมื่อไม่ถูกต้องจีวรนั้นด้วยส่วนแห่งร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง การอธิษฐานนั้นไม่ควร. ส่วนในการอธิษฐานด้วยวาจา พึงเปล่งวาจาแล้วอธิษฐานด้วย * วิ. มหา. ๕/๒๑๘-๒๑๙.

 

๑. การพินทุ


หลังจากที่ผ่านพิธีการอุปสมบทและออกมาจากพระอุโบสถแล้ว สิ่งแรกที่พระภิกษุใหม่ต้องทำเมื่อมาถึงกุฏิ ซึ่งนับว่าเป็นพิธีกรรมอย่างแรกคือ การทำพินทุผ้า (พินทุกัปปะ) การทำพินทุ คือ การทำจุดเป็นวงกลม อย่างใหญ่เท่าแววตา นกยูง อย่างเล็กเท่าหลังตัวเรือด ที่มุมจีวรด้วยสี เขียวคราม โคลน หรือดำคล้ำ เพื่อทำจีวรให้เสียสีหรือมีตำหนิตามวินัยบัญญัติ และเป็นเครื่องหมายช่วยให้จำได้ด้วย; เขียนพินทุกัป ก็ได้, คำบาลีเดิมเป็นกัปปพินทุ, เรียกกันง่ายๆ ว่า พินทุ

ภิกษุได้จีวรใหม่มา ต้องพินทุด้วยสี ๓ อย่าง คือ เขียวคราม โคลน ดำคล้ำ อย่างใดอย่างหนึ่งก่อน จึงนุ่งห่มได้ ถ้าไม่ทำพินทุก่อนแล้วนุ่งห่ม ต้องปาจิตตีย์. (วินัยบัญญัติ สุราปานวรรคที่ ๖ สิกขาบทที่ ๘.)

คำพินทุผ้า

อิมัง พินทุกัปปัง กะโรมิ


๒. การอธิษฐาน


ในทางพระวินัย แปลว่า การตั้งเอาไว้หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ คือ ตั้งเอาไว้เป็นของนั้นๆ หรือ ตั้งใจกำหนดเอาไว้ว่าจะใช้เป็นของประจำตัว เช่น ได้ผ้ามาผืนหนึ่ง ตั้งใจว่าจะใช้เป็นอะไร คือจะเป็นสังฆาฏิ อุตตราสงค์ (จีวร) อันตรวาสก (สบง) ก็อธิษฐานเป็นอย่างนั้นๆ เมื่ออธิษฐานแล้ว ของนั้นเรียกว่าเป็นของอธิษฐาน เช่น เป็นสังฆาฏิอธิษฐาน จีวรอธิษฐาน (จีวรครอง) ส่วนที่ได้เกินจากนั้นไปก็เป็นอติเรก เช่น เป็นอติเรกจีวร อติเรกบาตร

คำอธิษฐานบริขาร (ในหัตถบาส)

สังฆาฏิ      ๐ อิมัง สังฆาฏิง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าสังฆาฏิผืนนี้.

จีวร          ๐ อิมัง อุตตะราสังคัง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าจีวรผืนนี้.

สบง         ๐ อิมัง อันตะระวาสะกัง อะธิฏ ฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าสบงผืนนี้.

บาตร        ๐ อิมัง ปัตตัง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานบาตรใบนี้

ผ้าปูนั่ง      ๐ อิมัง นิสีทะนัง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าปูนั่งผืนนี้.

ผ้าปิดฝี      ๐ อิมัง กัณฑุปะฏิจฉาทิง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าปิดฝีผืนนี้.

ผ้าอาบน้ำฝน ๐ อิมัง วัสสิกะสาฏิกัง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้.

ผ้าปูนอน (ผืนเดียว) ๐ อิมัง ปัจจัตถะระณัง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าปูนอนผืนนี้.

(หลายผืน)   ๐ อิมานิ ปัจจัตถะระณานิ อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าปูนอนเหล่านี้.

ผ้าเช็ดหน้า, ผ้าเช็ดปาก

(ผืนเดียว)    ๐ อิมัง มุขะปุญฉะนะโจลัง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าเช็ดหน้าผืนนี้.

(หลายผืน)   ๐ อิมานิ มุขะปุญฉะนะโจลานิ อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าเช็ดหน้าเหล่านี้.

ผ้าบริขาร (เช่น ผ้ากรองน้ำ ถุงบาตร ย่าม ผ้าห่อของ)

(ผืนเดียว)    ๐ อิมัง ปะริกขาระโจลัง อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าบริขารผืนนี้.

(หลายผืน)   ๐ อิมานิ ปะริขาระโจลานิ อะธิฏฐามิ. ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าบริขารเหล่านี้.

คำถอนอธิษฐาน

สังฆาฏิ   ๐ อิมัง สังฆาฏิง* ปัจจุทธะรามิ. ข้าพเจ้ายกเลิกผ้า สังฆาฏิ* ผืนนี้.

*ของบริขารอื่นๆ พึงเปลี่ยนตามชื่อ (โดยเทียบกับคำอธิษฐาน)

การพินธุและการอธิษฐานเป็นสิ่งแรกที่จะต้องทำ และมีพิธีการอื่นอีก แต่ยังไม่ถูกจัดอันดับไว้ต้นๆ เท่ากับพิธีการ ๒ ข้อ ดังกล่าวข้างต้น อาทิเช่น คำเสียสละ, คำคืน, คำวิกัปป์, คำถอน และอื่นๆ


๓. การทำวิกัป

คำวิกัป

วิกัป คือ การทำให้เป็น ๒ เจ้าของ ทำได้ ๒ แบบ คือ

๑. วิกัปต่อหน้า คือ วิกัปต่อหน้าผู้รับ

๒. วิกัปลับหลัง คือ วิกัปให้สหธรรมิกรูปใดรูปหนึ่งที่ไม่ได้อยู่ในที่นั้น โดยเปล่งวาจาต่อหน้าสหธรรมิกรูปอื่น

คำวิกัปต่อหน้า (ในหัตถบาส)

จีวร

(ผืนเดียว)   ๐ อิมัง* จีวะรัง ตุย๎หัง วิกัปเปมิ. ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ท่าน.

(หลายผืน)   ๐ อิมานิ* จีวะรานิ ตุย๎หัง วิกัปเปมิ.ข้าพเจ้าวิกัปจีวรทั้งหลายเหล่านี้แก่ท่าน.

บาตร

(ใบเดียว)    ๐ อิมัง* ปัตตัง ตุย๎หัง วิกัปเปมิ. ข้าพเจ้าวิกัปบาตรใบนี้แก่ท่าน.

(หลายใบ)   ๐ อิเม* ปัตเต ตุย๎หัง วิกัปเปมิ. ข้าพเจ้าวิกัปบาตรเหล่านี้แก่ท่าน.

คำวิกัปลับหลัง (ในหัตถบาส)

ให้ผู้แก่พรรษากว่า

๐ อิมัง* จีวะรัง อายัส๎มะโต อุตตะรัสสะ** วิกัปเปมิ.

ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ท่านอุตฺตโร**.

*ถ้าของอยู่นอกหัตถบาส ให้เปลี่ยน อิมัง เป็น เอตัง, อิมานิ เป็น เอตานิ, อิเม เป็น เอเต,

**ชื่อนี้ ให้เปลี่ยนตามชื่อสหธรรมิกที่ต้องการวิกัปให้.

ให้ผู้อ่อนพรรษากว่า

อิมัง* จีวะรัง อุตตะรัสสะ** ภิกขุโน วิกัปเปมิ. ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ท่านอุตฺตโร**.

จีวรหลายผืนบาตรใบเดียว และบาตรหลายใบ

ถ้าต้องการวิกัปลับหลังทั้งในหัตถบาส และนอกหัตถบาส พึงเทียบตามแบบวิกัปต่อหน้า

จีวร ที่วิกัปไว้แล้ว เก็บไว้ได้ แต่ไม่ควรใช้สอย ไม่ควรสละ ไม่ควรอธิษฐาน ถ้าภิกษุรูปใดนำมาใช้โดยที่สหธรรมมิก ผู้รับวิกัปนั้นไม่ถอนเสียก่อน เป็นอาบัติปาจิตตีย์

คำถอนวิกัป

ผู้ถอนแก่พรรษากว่า

อิมัง* จีวะรัง มัย๎หัง สันตะกัง ปะริภุญชะวา วิสัชเชถะหิ วา ยะถาปัจจะยังวา วา กะโรหิ.

จีวร ผืนนี้ของข้าพเจ้า ท่านจงใช้สอยก็ตาม จงสละก็ตาม หรือทำตามเหตุที่สมควรก็ตามเทอญ.

ผู้ถอนอ่อนพรรษากว่า

อิมัง* จีวะรัง มัย๎หัง สันตะกัง ปะริภุญชะถะ วา วิสัชเชหิ วา ยะถาปัจจะยังวา วา กะโรถะ.

จีวร ผืนนี้ของข้าพเจ้า ท่านจงใช้สอยก็ตาม จงสละก็ตาม หรือทำตามเหตุที่สมควรก็ตามเทอญ.

 

๔. การสละ

คำสละสิ่งของที่เป็นนิสสัคคีย์

อดิเรกจีวรที่เก็บไว้เกิน ๑๐ วัน

ผืนเดียว ๐ อิทัง* เม ภันเต จีวะรัง ทะสาหาติกกันตัง นิสสัคคิยานัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.

ท่านเจ้าข้า* จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าเก็บไว้เกิน ๑๐ วัน จำสละข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน.

(* ผู้แก่พรรษากว่าเปลี่ยน “ภันเต” เป็น “อาวุโส”, เปลี่ยน”ท่านเจ้าข้า” เป็น “ท่าน”)

ตั้งแต่ ๒ ผืนขึ้นไป ๐ อิมานิ เม ภันเต* จีวะรานิ ทะสาหาติกกันตานิ นิสสัคคิยัง, อิมานาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.

ท่านเจ้าข้า*  จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าเก็บไว้เกิน ๑๐ วัน จำสละข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน.


จีวรที่ขาดครองล่วงราตรี

ผืนเดียว ๐ อิทัง เม ภันเต* จีวะรัง รัตติวิปปะวุตถัง (อัญญัต๎ระ ภิกขุสัมมะติยา)  นิสสัคคิยัง, อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.

ท่านเจ้าข้า* จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าขาดครองแล้วล่วงราตรี จำจะสละ (เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ) ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน.

สองผืน ๐ อิมานิ เม ภันเต* ท๎วิจีวะรัง รัตติวิปปะวุตถัง (อัญญัต๎ระ ภิกขุสัมมะติยา) นิสสัคคิยัง, อิมานาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.

ท่านเจ้าข้า* จีวร ๒ ผืนนี้ของข้าพเจ้าขาดครองแล้วล่วงราตรี จำจะสละ (เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ) ข้าพเจ้าสละจีวร ๒ ผืนนี้ให้แก่ท่าน.

สามผืน ๐ อิมานิ เม ภันเต* ติจีวะรัง รัตติวิปปะวุตถัง (อัญญัต๎ระ ภิกขุสัมมะติยา) นิสสัคคิยัง, อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.

ท่านเจ้าข้า* จีวร ๓ ผืน นี้ของข้าพเจ้าขาดครองแล้วล่วงราตรี จำจะสละ (เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ) ข้าพเจ้าสละจีวร ๓ ผืนนี้ให้แก่ท่าน.

(* ผู้แก่พรรษากว่าเปลี่ยน “ภันเต” เป็น “อาวุโส”, เปลี่ยน “ท่านเจ้าข้า” เป็น “ท่าน”)


อกาลจีวรที่เก็บไว้เกิน ๑ เดือน

อิทัง เม ภันเต* อะกาละจีวะรัง มาสาติกกันตัง นิสสัคคิยัง, อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.

ท่านเจ้าข้า* อกาลจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าเก็บไว้เกิน ๑ เดือน จำจะสละ , ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน.


จีวรที่ขอต่อคฤหบดีผู้ไม่ใช่ญาติ

อิทัง เม ภันเต* จีวะรัง อัญญะกัง คะหะปะติกัง (อัญญัต๎ระ สะมะยา) วิญญาปิตัง นิสสัคคิยัง, อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.

ท่านเจ้าข้า* จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าขอแล้วต่อคฤหบดีผู้ไม่ใช่ญาติ (เว้นแต่สมัย) จำจะสละ, ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน.


จีวรที่เข้าไปสั่งโดยที่เขายังไม่ได้ปวารณา

อิทัง เม ภันเต* จีวะรัง ปุพเพ อัปปะวาริเตนะอัญญาตะกัง คะหะปะติกัง อุปะสังกะมิต๎วา จีวะเร วิกัปปังอาปันนัง นิสสัคคิยัง, อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.

ท่านเจ้าข้า* จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไปหาคฤหบดีผู้ไม่ใช่ญาติ ถึงกาลกำหนดจีวร จำจะสละ, ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน.


จีวรที่ทวงเกินกำหนด

อิทัง เม ภันเต* จีวะรัง อะติเรกะติกขัตตุง โจทะนายะ อะติเรกะฉักขัตตุง ฐาเนนะ อะภินิปผาทิตัง นิสสัคคิยัง, อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.

ท่านเจ้าข้า*  จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยการทวงเกิน ๓ ครั้ง ด้วยยืนเกิน ๖ ครั้ง จำจะสละ ,ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน.


รูปิยะ คือ เงิน ทอง (ต้องสละในสงฆ์)

อะหัง ภันเต* รูปิยะ ปฏิคคะเหสิง, อิทัง เม นิสสัคคิยัง, อิมาหัง สังฆัสสะ นิสสัชชามิ.

ท่านเจ้าข้า*  ข้าพเจ้ารับรูปิยะไว้แล้ว ของนี้เป็นนิสสัคคีย์,ข้าพเจ้าสละรูปิยะนี้แก่สงฆ์.


ของที่แลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะ(ต้องสละในสงฆ์)

อะหัง  ภันเต*  นานัปปะการะกัง รูปิยะสังโวหารัง สะมาปัชชิง, อิทัง เม นิสสัคคิยัง, อิมาหัง สังฆัสสะ นิสสัชชามิ.

ท่านเจ้าข้า* ข้าพเจ้าได้ทำการแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ ของสิ่งเหล่านี้ของข้าพเจ้า จำจะสละ, ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่สงฆ์.


ของที่ซื้อขายมา

อะหัง ภันเต* นานัปปะการะกัง กะยะวิกกะยัง สะมาปัชชิง, อิทัง เม นิสสัคคิยัง, อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.

ท่านเจ้าข้า*  ข้าพเจ้าได้ทำการซื้อขายมีประการต่างๆของสิ่งเหล่านี้ของข้าพเจ้า จำจะสละ ,ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้ แก่ท่าน.


บาตรที่ขอใหม่

โดยบาตรเดิมมีแผลน้อยกว่า ๕ แห่ง (ต้องสละในสงฆ์)

อะหัง เม ภันเต* ปัตโต อูนะปัญจะพันธะเนนะ ปัตเตนะ เจตาปิโต นิสสัคคิโย, อิมาหัง สังฆัสสะ นิสสัชชามิ.

ท่านเจ้าข้า* บาตรใบนี้ของข้าพเจ้า โดยบาตรเดิมมีแผลน้อยกว่า ๕ แห่ง ให้จ่ายมาแล้ว จำจะสละ, ข้าพเจ้าสละบาตรนี้แก่สงฆ์.


เภสัชที่เก็บไว้เกิน ๗ วัน

อิทัง เม ภันเต* เภสัชชัง สัตตาหาติกกันตัง นิสสัคคิยัง, อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.

ท่านเจ้าข้า* เภสัชนี้ของข้าพเจ้าเก็บไว้เกิน ๗ วัน จำจะสละ,ข้าพเจ้าสละเภสัชนี้แก่ท่าน.


จีวรที่ให้แล้วชิงคืน

อิทัง เม ภันเต* จีวะรัง ภิกขุสสะ สามัง ทัต๎วา อัจฉินนัง นิสสัคคิยัง, อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.

ท่านเจ้าข้า* จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าให้แก่ภิกษุเองแล้วชิงเอามา จำจะสละ ,ข้าพเจ้าสละจีวรนี้แก่ท่าน.


ลาภของสงฆ์ที่น้อมมาเพื่อตน

อิทัง เม ภันเต* ชานัง สังฆิกัง ลาภัง ปะริณะตัง อัตตะโน ปะริณามิตัง นิสสัคคิยัง, อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.

ท่านเจ้าข้า* ลาภนี้เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์ ข้าพเจ้ารู้อยู่น้อมมาเพื่อตน จำจะสละ ,ข้าพเจ้าสละลาภนี้แก่ท่าน.

(เมื่อ สละสิ่งของที่เป็น นิสสัคคีย์ แล้วพึงแสดงอาบัติ ผู้รับของและรับการแสดงอาบัติแล้ว พึงคืนสิ่งของให้แก่พระภิกษุนั้น ยกเว้นรูปิยะ ต้องสละทิ้งเลย.)

(* ผู้แก่พรรษากว่าเปลี่ยน “ภันเต” เป็น “อาวุโส”, เปลี่ยน“ท่านเจ้าข้า” เป็น “ท่าน”)


คำคืนสิ่งของที่สละแล้ว

จีวรผืนเดียว ๐ อิมัง จีวะรัง อายัส๎มะโต ทัมมิ, ข้าพเจ้าถวายผ้าจีวรผืนนี้แก่ท่าน.

จีวรหลายผืน ๐ อิมานิ จีวะรานิ อายัส๎มะโต ทัมมิ, ข้าพเจ้าถวายผ้าจีวรเหล่านี้แก่ท่าน.

บาตร ๐ อิมัง ปัตตัง อายัส๎มะโต ทัมมิ, ข้าพเจ้าถวายบาตรนี้แก่ท่าน.

เภสัช ๐ อิมัง เภสัชชัง อายัส๎มะโต ทัมมิ, ข้าพเจ้าถวายเภสัชนี้แก่ท่าน.

(สิ่ง ของที่เป็นนิสสัคคีย์ ถ้ายังไม่ได้สละ หากนำไปใช้ต้องอาบัติทุกกฎ สำหรับบริขารที่สละแล้วได้คืนมา ให้อธิษฐานแล้วได้คืนมาให้อธิษฐานใหม่จึงใช้ได้.)