ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

ข้อมูลเรื่องไตรจีวร  การเลือกสีและขนาดจีวร และวิธีการตัดเย็บ

จีวร ถือว่าเป็นธงชัย หรือเครื่องหมายของพระอรหันต์
มีหลักฐานปรากฏในพระคัมภีร์อุบาลีเถราปทาน ว่า

“บุคคลเห็นผ้ากาสาวพัสตร์ที่ (แม้) เปื้อนอุจจาระที่ถูกทิ้งไว้ตามถนนหนทาง
ก็ควรประนมมือไหว้ผ้านั้น อันเป็นธงชัยของพระอริยเจ้า ด้วยเศียรเกล้า”


ไตรจีวร หรือ ผ้าไตร เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้นุ่งห่ม ซึ่งหมายถึงผ้า 3 ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม อันได้แก่ผ้าสังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) อุตราสงฆ์ หรือผ้าจีวรสำหรับห่ม และอันตรวาสก หรือสบงสำหรับนุ่ง แต่นิยมเรียกรวมกันว่า ไตรจีวร โดยไตรจีวรเป็นปัจจัยหรือบริขารของพระสงฆ์อย่างหนึ่งในจำนวน ๘ อย่าง เรียกว่า”อัฐบริขาร” นอกจากนี้คำว่า “จีวร” ยังใช้หมายถึงเฉพาะผ้าห่มของพระสงฆ์อย่างเดียวก็ได้ เช่น จีวร ที่ใช้ในความหมายว่าผ้าห่มอย่างเดียว มีชื่อเรียกเฉพาะว่าอุตราสงค์
ในช่วงต้นพุทธกาล พระภิกษุยังคงใช้ผ้าที่หาได้มาเย็บต่อกันไม่เป็นระเบียบ หรือบางครั้งภิกษุบางรูปได้รับถวายผ้าอย่างดีจากคหบดีก็มีการถูกลักขโมยบ่อย ครั้ง เนื่องด้วยผ้าเป็นสิ่งที่หายากในสมัยพุทธกาล

 

 

ลายเส้นบนจีวร
จีวร ของพระสงฆ์ ประกอบด้วยผ้า ที่ตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆมาต่อกัน จึงมีลักษณะเป็นผ้าที่เศร้าหมอง คือ ผู้อื่นมักไม่ต้องการไปตัดเย็บหรือนำไปใช้อีก จึงเหมาะสมกับสมณะ ผ้าสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆที่เย็บต่อกันนั้น ปรากฏลวดลายเป็นลายคันนาของชาวมคธ ซึ่งออกแบบโดยพระอานนท์ ดังปรากฏข้อความในพระวินัยปิฎก ว่า ในสมัยพุทธกาล วันหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จถึงทักขิณาคิรีชนบท พร้อมด้วยพระภิกษุจำนวนหนึ่ง ได้ทอดพระเนตรเห็นท้องนา (แปลงนา) ของชาวมคธ
เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีคันนาสั้นๆ คั่นในระหว่าง แล้วมีรับสั่งกับ พระอานนท์ ว่า

อานนท์ เธอเห็นนาของชาวมคธ ซึ่งเขาพูนดิน ขึ้นเป็นคันนาสี่เหลี่ยม พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง พูนคันนาคั่นในระหว่างๆ ด้วยคันนาสั้นๆ พูนคันนาเชื่อมกันทาง ๔ แพร่ง ตามที่ซึ่ง คันนากับคันนา ผ่านตัดกันไปหรือไม่ ...เธอสามารถแต่งจีวรของภิกษุทั้งหลาย ให้มีรูปอย่างนั้นได้หรือไม

พระอานนท์ตอบว่า สามารถ พระพุทธเจ้าข้า

ครั้ง นั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ทักขิณาคิรีชนบทตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จกลับมาพระนครราชคฤห์อีก ครั้งนั้นท่านพระอานนท์แต่งจีวรสำหรับภิกษุหลายรูป ครั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้กราบทูลว่า
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงทอดพระเนตรจีวรที่ข้าพระพุทธเจ้าแต่งแล้ว พระพุทธเจ้าข้า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นคนฉลาด อานนท์ได้ซาบซึ้ง ถึงเนื้อความแห่งถ้อยคำที่เรากล่าวย่อ ได้โดยกว้างขวาง ...จีวรจักเป็นผ้าที่ตัดแล้ว เศร้าหมองด้วยศัสตรา สมควรแก่สมณะ และพวกศัตรูไม่ต้องการ

หลังจากพระอานนท์ถวายจีวรที่ตัด แต่งแล้ว ให้ทอดพระเนตร พระพุทธองค์ทรงพอพระทัย และอนุญาตให้ใช้ ผ้า ๓ ผืน คือ สังฆาฏิชั้นเดียว จีวร และสบง ต่อมาทรงอนุญาต ไตรจีวร คือ ผ้าสังฆาฏิสองชั้น จีวร และสบง ทั้งนี้เพื่อให้พระสงฆ์ ใช้ป้องกันความหนาวเย็น และรับสั่งว่า ภิกษุไม่พึงมีจีวรมากกว่านี้ รูปใดมีมากกว่านี้ เป็นอาบัติ

อติเรกจีวร คือ จีวรที่มีเกินกว่าผ้าที่อธิษฐานเป็นไตรจีวร ตามพระวินัย ภิกษุสามารถเก็บไว้ได้ไม่เกิน ๑๐ วันและสามารถทำเป็น วิกัปอติเรกจีวร คือ ทำให้เป็นสองเจ้าของ เพื่อจะได้ไม่ต้องอาบัติ เพราะเก็บไว้เกินกำหนด

ความ เป็นมาของเรื่องอติเรกจีวรนี้ เนื่องจากมีผู้ถวายจีวรแก่พระอานนท์ แล้วท่านประสงค์จะเก็บไว้ ถวายพระสารีบุตร ซึ่งขณะนั้นอยู่ต่างเมือง ประมาณ ๑๐ วัน จึงจะเดินทางมาถึง พระอานนท์ได้เข้าไป ทูลถามพระพุทธองค์ว่า จะปฏิบัติอย่างไร กับอติเรกจีวรดี จึงทรงมีพุทธบัญญัติ ให้เก็บรักษาอติเรกจีวร ไว้ได้ไม่เกิน ๑๐ วัน

ผ้าที่ใช้ทอจีวร

สมัย ต่อมา มีจีวรหลายประเภทเกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลายไม่แน่ใจว่า จีวรชนิดใดที่ทรงอนุญาต จึงกราบทูลเรื่องนั้นต่อพระศาสดา พระพุทธองค์ทรงอนุญาตจีวร ๖ ชนิด คือ
จีวรทำด้วยเปลือกไม้
จีวรทำด้วยฝ้าย
จีวรทำด้วยไหม
จีวรทำด้วยขนสัตว์
จีวรทำด้วยป่าน
จีวรทำด้วยของเจือกัน

การเลือกขนาดจีวรที่เหมาะสม

ขนาด ยาว 190 ซ.ม. กว้าง 300 ซ.ม. เหมาะกับพระสงฆ์ที่สูงไม่เกิน 160 ซ.ม.

ขนาด ยาว 200 ซ.ม. กว้าง 300 ซ.ม. เหมาะกับพระสงฆ์ที่สูง 160 – 170 ซ.ม.

ขนาด ยาว 210 ซ.ม. กว้าง 310 ซ.ม. เหมาะกับพระสงฆ์ที่สูง 170 – 180 ซ.ม.

ขนาด ยาว 220 ซ.ม. กว้าง 320 ซ.ม. เหมาะกับพระสงฆ์ที่สูง 180 ซ.ม. ขึ้นไป หรือพระที่มีรูปร่างสูงใหญ่

แต่ถ้าจะนำไปถวายพระโดยไม่เจาะจงผู้รับ แนะนำให้เลือกขนาด 200 ซ.ม.หรือ 210 ซ.ม. เพราะเป็นขนาดกลางๆที่พระส่วนใหญ่ครอง

สำหรับขนาดของชุดไตรนั้นให้ถือเอาขนาดของจีวรเป็นเกณฑ์ เช่นจีวรขนาด 200 ซ.ม.ชุดไตรนั้นก็เป็นขนาด 200 ซ.ม.