อัศวินานวราตรี เริ่มต้น ในวันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม 2564
สรัสวดี อาวาหะนะ วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ฤกษ์บูชาพระแม่สรัสวดี วันแรก (มูละ นักษัตร อาวาหะนะ มุหูรตะ เวลา15:38 ถึง 18:01 น)
พระสรัสวดีบูชา วันที่ 2 วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ฤกษ์บูชาพระแม่สรัสวดี (ปูรพาษาฒ ปูชา มุหูระตะ เวลา15:38 ถึง 18:00 น)
วันทุรคาษัฐมีบูชา ในวันพุธที่ 13 ตุลาคม 2564
มหานวมีบูชา วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2564 คำนวณเวลา ณ กรุงเทพมหานคร
จุดเริ่มต้นของ ฤดูร้อนและ จุดเริ่มต้นของ ฤดูหนาวเป็นจุดแตกต่างที่สำคัญทางภูมิอากาศ และ พลังงานแสงอาทิตย์ ที่มีต่อโลกมนุษย์ และสองช่วงนี้ก็เป็น ช่วงเวลาอันศักดิ์สิทธิ์ สำหรับการบูชาพระแม่ศักติ ซึ่งถือเป็นเทศกาลสำคัญที่มีการกำหนดเอาไว้ตามปฏิทินจันทรคติฮินดู
งานนวราตรีแบบการบูชาใหญ่จะจัดขึ้นปีละสองครั้ง คือในช่วงขึ้นปีใหม่แบบฮินดู (ขึ้น ๑ – ๙ ค่ำ เดือน ๕ )เรียกว่าจิตตรา นวราตรี และในช่วงปลายปี (ขึ้น ๑ -๙ ค่ำ เดือน ๙) เรียกว่า สารท นวราตรี ความเชื่อเก่าแก่ของชาวอินเดียนั้นถือกันว่าในหนึ่งปีประกอบไปด้วยฤดูร้อน และฤดูหนาว ฤดูกาลที่ผลัดเปลี่ยนส่งผลต่อร่างกายและจิตใจมนุษย์ จึงเกิดการบวงสรวงเทพเจ้าผู้คุ้มครองเพื่อขอพลังแห่งชีวิต
วันอัญเชิญพระแม่สรสฺวตี หรือ สุรัสวตี อาวาหนะ บูชา เป็นวันแรกที่กระทำพิธีบูชาพระแม่สุรัสวดี ในเทศกาลนวราตรี
วันสรสวตี บูชา เป็นพิธีบูชาพระแม่สุรัสวดีในวันที่ ๒ ในเทศกาลนวราตรี ซึ่งถือว่าเป็นพิธีใหญ่ในการบูชาพระแม่สุรัสวดี
วันทุรฺคา อัษฺฏมี หรือ มหานวมี หรือ วันมหาอัษฎมี หรือ มหาทุรคาอัษฎมี เป็นวันที่สองของพิธีทุรคา บูชา ซึ่งวันนี้จะเป็นวันสำคัญที่สุดของพิธีทุรคา และพิธีจะเริ่มต้นด้วย การสรงน้ำหรือพิธีมหาสนาน และพิธีโษฑโศปจารปูชา และทำการบูชาพระแม่ทุรคาทั้ง 9ปาง และในวันนี้สาวพรหมจารีย์จะได้รับการแต่งตัวเป็นองค์พระแม่ทุรคา ซึ่งพิธีนี้เรียกว่า พิธีกุมารีบูชาในช่วงพิธีนวราตรีจะมีช่วงเวลาหนึ่งที่เรียกว่า “สนธิกาล” ซึ่งจะตรงกับเวลาของ 24 นาทีแรกของวันนวมีดิถี (9 ค่ำ) ในช่วงเวลาสนธิกาล (ช่วงรอยต่อของวัน 8ค่ำ-9ค่ำ) จะถือว่าเป็นฤกษ์มงคลและเวลาที่ศักดิ์สิทธิ์มากที่สุดในเทศกาลนวราตรี และบางแห่งก็จะมีการฆ่าสัตว์บูชายัญ หรือถวายผลไม้แด่พระแม่ทุรคา เรียกว่า “พลีทาน” โดยการฆ่าสัตว์เพื่อบูชายัญเป็นสิ่งที่คัมภีร์พระเวทห้ามกระทำในทุกกรณี ดังนั้นพราหมณ์ผู้ทำพิธีจึงทำการถวายผลไม้แด่พระแม่ทุรคาและบูชาพระแม่ด้วยตะเกียง 108 ดวงแทน
นวราตรี เป็น เทศกาลของชาวฮินดูเพื่อทำการสักการบูชาแด่พระแม่ศักติมหาเทวี คำ”นวราตรี” หมายถึง เก้า คืน ในภาษาสันสกฤต ความหมาย เก้า คือ “นว” และ “ราตรี” คือ กลางคืน หมายความว่า ใน เก้าคืนกับอีกสิบวัน ในการบูชา ศักติเทวี ทั้ง 9ปาง ( อวตารของพระแม่ทุรคาเทวี ) และเทวีองค์อื่นๆในศาสนาฮินดูด้วยเช่นกัน
ศักติเป็นเทพีแห่งอำนาจที่สูงสุดในจักรวาล ในช่วงเวลานวราตรีนี้ผู้ศรัทธาจะได้รับพรศักดิ์สิทธิ์จากพระแม่ โดยผู้ศรัทธาจะถือพรตอดอาหารและทำการสวดมนต์อธิษฐานต่อพระแม่ศักติในปางต่างๆ
ในค่ำคืนแห่งวันนวราตรีเทพีศักติจะปรากฏองค์ในมิติที่แตกต่างกันเป็นสามรูปแบบคือ พระแม่ลักษมี พระแม่สรัสวดีและพระแม่ทุรคาเทวี และวันนวราตรีจะถูกแบ่งการบูชาออกเป็นสามชุด ชุดละสามวันโดยมีพิธีบูชาโดยเฉพาะแต่ละองค์
โดยสามวันแรกจะทำการบูชาพระแม่ทุรคาเทวี หรือเทวีแห่งพลังอำนาจ สามวันถัดไปจะบูชาพระลักษมีหรือเทพีแห่งความมั่งคั่งและสามวันสุดท้ายสำหรับการบูชาพระแม่สรัสวดีหรือเทพีแห่งวิชาความรู้
นวราตรี ของลัทธิศักติ ตันตระ
สำหรับโบสถ์ฮินดู ทีนับถือลัทธิ ศักติ จะทำการบูชาพระแม่ทุรคาทั้ง 9ปาง ใน 9วันแห่งพิธีกรรมโดยแบ่งทำพิธีดังนี้
วันแรก - ทำการบูชาพระแม่ทุรคาในปางที่ เรียกว่า ปางไศลปุตรี ธิดาของหิมพาน ราชาแห่งภูเขา ซึ่งเป็นรูปแบบของศักติที่เป็นสหายของพระอิศวร
วันที่สอง - จะทำการบูชาพระแม่ทุรคาในปางที่ เรียกว่า ปางพรหมจาริณี ชื่อเป็นที่มาของคำว่า 'พระพรหม' ซึ่งหมายถึง 'ทาปะ' หรือ การลงทัณฑ์ (มาตา ศักติ)
วันที่สาม - ทำการบูชาพระแม่ทุรคาในปางที่ เรียกว่า ปางจันทรฆัณฎา ทรงปราบอสูรด้วยเสียงระฆัง สัญลักษณ์ของความงามและความกล้าหาญ
วันที่สี่ - ทำการบูชาพระแม่ทุรคาในปางที่ เรียกว่า ปางกูษามาณฑา ผู้สร้างของจักรวาลทั้งหมด
ห้าวัน - ทำการบูชาพระแม่ทุรคาในปางที่ เรียกว่า ปางสกันทมาตา แม่ของพระขันทกุมารนักรบผู้กล้าหาญ โอรสผู้เกิดจากพระศิวะ
วันที่หก - ทำการบูชาพระแม่ทุรคาในปางที่ เรียกว่า ปางกาตยานี ทรงปราบอสูร ด้วยปางที่มีสามเนตรและสี่กร
วันที่เจ็ด - ทำการบูชาพระแม่ทุรคาในปางที่ เรียกว่า ปางกาลราตรี หรือกาลี ทรงเสวยเลือดอสูร หมายถึงการทำให้ผู้ที่ชื่นชอบความกล้าหาญ
วันที่แปด ทำการบูชาพระแม่ทุรคาในปางที่ เรียกว่า ปางมหาเคารี ทรงเป็นเจ้าแม่แห่งธัญชาติ ทำให้พืชพันธุ์อุดมสมบูรณ์
วันที่เก้า - ทำการบูชาพระแม่ทุรคาในปางที่ เรียกว่า ปางสิทธิธาตรี ทรงเป็นเจ้าแม่แห่งความสำเร็จ
โดยปกติวันนวราตรีจะมีปีละ 5 ครั้ง คือ
- วสันต นวราตรี นี้มีการเฉลิมฉลองในช่วง วสันตฤดู (จุดเริ่มต้นของฤดูร้อน) (มีนาคมถึงเมษายน) นี้เป็นที่รู้จักกัน ในชื่อ จิตรา นวราตรี จะตกอยู่ในช่วงเดือน จิตรามาส
- คุปตะ นวราตรี เรียกกันว่า อาสาฬหะ นวราตรี เป็นพิธีจัดขึ้นเก้าวันเพื่อบูชาถวายแด่ เทพีศักติทั้ง 9ปาง ในเดือน อาสาฬหะมาส (เดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม)
- สารท นวราตรี (ศารทิยะ นวราตรี) เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของเทศกาลนวราตรี (มหานวราตรี) และมีการเฉลิมฉลองในขึ้น 1 ค่ำของเดือนอัศวินีมาส เป็นการเฉลิมฉลองในช่วงฤดูสารท (จุดเริ่มต้นของฤดูหนาว, กันยายนตุลาคม)
- เปาษะ นวราตรี เป็นพิธีเก้าวันที่บูชาศักติเทวีทั้ง 9ปาง ในเดือนปุษยะมาส (ธันวาคมมกราคม)
- มาฆะ นวราตรี เป็นพิธีเก้าวันที่บูชาศักติเทวีทั้ง 9ปาง ในเดือนมาฆะมาส (เดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์)