วันคเณศ จตุรถี คือการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสเป็นคล้ายวันประสูติของพระคเณศวร พระคเณศเป็นที่เคารพสักการะในฐานะเทพเจ้าแห่งภูมิปัญญา ความเจริญรุ่งเรืองและความสำเร็จ ชาวฮินดูเชื่อกันว่าพระคเณศทรงประสูติในช่วงข้างขึ้น (4 ค่ำ) ศุกลปักษ์ ของเดือนภัทรบท หรือประมาณเดือนสิงหาคมหรือเดือนกันยายนตามปฏิทินสากล วันนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า”วันวินายกะ จตุรถี”
गणेश चतुर्थी मंगलवार, सितम्बर 19, 2023 को (बैंकॉक थाईलैंड समय)
คเณศ จตุรถี ปีนี้ตรงกับวันวันอังคารที่ 19 กันยายน 2566 ณ เวลาท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร
วันคเณศ จตุรถี เวลาเริ่มต้น 14:09 น. วันที่ 18 ก.ย. 2566 และสิ้นสุดเวลา 15:13 น. ของวันที่ 19 ก.ย. 2566
चतुर्थी तिथि प्रारम्भ - सितम्बर 18, 2023 को 02:09 पी एम बजे चतुर्थी तिथि समाप्त - सितम्बर 19, 2023 को 03:13 पी एम बजे
ฤกษ์บูชาพระคเณศ (मध्याह्न गणेश पूजा मुहूर्त มัทธยะ กาล คเณศ ปูชา มุหูรตะ) เริ่มบูชาเวลา 10:59 น. - 13:25 น. ระยะเวลา - 02 ชั่วโมง 26 นาที
เวลาหลีกเลี่ยงการมองเห็นดวงจันทร์ เวลา 09:16 น. - 21:03 น. ระยะเวลา - 11 ชั่วโมง 46 นาที
वर्जित चन्द्रदर्शन का समय - 09:16 ए एम से 09:03 पी एमअवधि - 11 घण्टे 46 मिनट्स
วันคเณศ วิสารชัน गणेश विसर्जन बृहस्पतिवार, सितम्बर 28, 2023 को ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2566
เทศกาล“คเณโศตสาวะ”หรืองานเฉลิมฉลองวันประสูติของพระคเณศวรจะมีต่อเนื่องตลอด 10 วัน เริ่มจากวันขึ้น 4ค่ำ จนถึงวันสุดท้าย(ขึ้น 14ค่ำ- อนันต จตุรทศี) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันเป็น”วันคเณศ วิสารชัน” ซึ่งผู้ศรัทธาในองค์พระคเณศวรก็จะแห่รูปปั้นของพระคเณศไปยังถนนหนทางต่างๆรอบๆเมือง และต่อจากนั้นก็จะนำรูปปั้นของพระคเณศไปลอยในแม่น้ำ
สำหรับการทำพิธีบูชาพระคเณศในวันนี้จะต้องทำพิธีในช่วง “มัทธยะ กาล” เป็นที่เชื่อกันว่าพระคเณศเกิดในช่วงเวลามัทธยะ กาล(ประมาณเที่ยงวัน)ตามวิธีคำนวนปฏิทินของฮินดู
ห้ามมองดวงจันทร์ในวันคเณศจตุรถี
มีเรื่องเล่าสืบต่อกันๆมาว่า ห้ามมองดวงจันทร์ในวันคเณศ จตุรถี และหากใครมองดวงจันทร์ในวันนี้จะเกิดโทษแก่บุคคลนั้นที่เรียกว่า "กะลังกะ โทษ" (कलंक) ซึ่งหมายความว่าคนๆนั้นจะถูกกล่าวร้าย นินทาและ โดนสาปแช่ง ฯลฯ และกฎข้อห้ามมองดวงจันทร์นี้ อาจจะถูกห้ามมองเป็นเวลาสองวันติดต่อกัน ตามกฎเกณฑ์การคำนวณปฏิทินจันทรคติของฮินดู (หรือ คำนวณตามดิถีเพียร) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเวลาเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของวันคเณศ จตุรถี
เชื่อกันว่าไม่ควรเห็นดวงจันทร์ ในวันคเณศจตุรถี การมองเห็นดวงจันทร์วันคเณศจตุรถี จะเกิด "กะลังกะ โทษ" (कलंक) แก่ผู้ที่มองดวงจันทร์ในคืนวันนี้ ซึ่งหมายถึงการถูกใส่ความว่าขโมยของบางสิ่ง ตามตำนานปุราณะ พระกฤษณะได้ถูกกล่าวหาว่าขโมยอัญมณีล้ำค่าชื่อ "ศยามันตะกะ มณี" (श्यामन्तक)
มหาฤษีนารทมุนีหลังจากได้ทราบเรื่องอันนำมาซึ่งความเสื่อเสียแก่พระกฤษณะแล้ว มหาฤษีนารทมุนีจึงได้บอกแก่พระกฤษณะว่า เพราะพระกฤษณะได้มองเห็นดวงจันทร์ในวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน ภัทรปท (ศุกล จตุรถี) และด้วยเหตุนี้เองพระกฤษณะจึงถูกสาปด้วย "กะลังกะ โทษ"
มหาฤษีนารทมุนีได้แจ้งต่อพระกฤษณะต่อไปอีกว่า พระคเณศได้สาปเอาไว้ว่าใครก็ตามที่มองเห็นดวงจันทร์ ในวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน ภัทรปท (ศุกล จตุรถี) จะถูกสาปแช่งด้วย "กะลังกะ โทษ" และ จะแปดเปื้อนด้วยมลทินต่างๆนาๆและเสียชื่อเสียงในสังคม นอกจากนี้หากใครก็ตามที่กำลังถูกใส่ร้ายป้ายสี ทำให้เสียชื่อเสียง มหาปราชญ์นารทมุนี ได้แนะวิธีแก้ไข "กะลังกะ โทษ" นี้โดยการ ถือ วรัต หรือ อดอาหาร ในในวันคเณศจตุรถี