ในชั้นนี้ในวงรอบของหล่อแก 360 องศา จะถูกแบ่งออกเป็น 60 ส่วนเท่าๆ กัน หรือ แต่ละส่วน เรียกว่า "มังกร"มีความกว้าง 6 องศา ซึ่งก็คือ 1 มังกร หรือ เรียกว่าวิชา" 60 มังกรแทรกแผ่นดิน" 六十透地龍 (ลิ่วสรือโท่วตี้หลง-หลักจับเถ่าตีเล้ง) เอาไว้ใช้เพื่อคำนวณพลังชี่ของทิศทางแนวสันเขาหรือ”ชีพจรมังกร” (來龍 - ไหลหลง-ไหล่เล้ง) นั้นว่าเป็นพลังหยางหรือเป็นพลังหยิน และทิศ-องศานั้นเป็นพลังปราณบริสุทธิ์หรือไม่
วิชา"มังกรแทรกแผ่นดิน" 六十透地龍
คัมภีร์โจวอี้《周易》ได้กล่าวถึงคำว่า”ฮวงจุ้ย”เอาไว้เป็นครั้งแรกว่า (窮則變,變則通,通則久,命理為一生定數,風水則是變數,知命而樂,知運而通。) “หมายความว่าเมื่อสิ่งต่าง ๆ พัฒนาไปจนจนสุดขั้ว การเปลี่ยนแปลงจะต้องเกิดขึ้น เพื่อไม่ให้การพัฒนาของสิ่งต่าง ๆ นั้นถูกปิดกั้น และเมื่อสิ่งต่าง ๆ สามารถพัฒนาต่อไปได้แล้ว แต่วิถีปฏิบัติใช้การไม่ได้ ก็ให้เปลี่ยนวิธีการ เมื่อเปลี่ยนแล้วก็จะรู้แจ้งชัดในทันที และถ้าปฏิบัติตามนี้ได้ก็จะคงอยู่ได้นาน ชะตาชีวิตล้วนมีกฏมีเกณฑ์ที่แน่นอน ลม(風ฮวง)และน้ำ(水จุ้ย)ก็คือกฎแห่งการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ การรู้โชคชะตาฟ้าลิขิตก็ย่อมรู้จักทำให้ชีวิตมีความสุขสงบและรู้แจ้งแทงตลอดในทุกสรรพสิ่ง”
คนโบราณเชื่อว่าพลังชี่ของมนุษย์นั้นมีความสัมพันธ์กับพลังชี่ของจักรวาล และการรักษาพลังชี่ให้สอดคล้องกับจักรวาลนั้นก็คือความโชคดี ไม่เช่นนั้นก็จะกลับกลายเป็นโชคร้าย ซึ่งอ้างอิงจากการสั่งสมประสบการณ์ในอดีตมานับพันๆปี ปรมาจารย์ฮวงจุ้ยจึงได้นำดาวอาทิตย์日(太陽ไท่หยาง) ดาวจันทร์月(太陰ไท่หยิน) ดาวฤกษ์ทั้ง 28 星宿 และธาตุทั้งห้า五行ซึ่งมีอยู่ในทุกสรรพสิ่ง รวมกับกิ่งฟ้าและก้านดิน 天干地支ทั้งหมดรวมเอาไว้บนหล่อแก
และการหมุนของเข็มทิศบนหล่อแกในแต่ละองศา ก็ใช้สำหรับการค้นหาตำแหน่ง ทิศทาง หรือช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับบุคคลของแต่ละบุคคล หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ
แม้ว่าแนวคิดของ "สนามแม่เหล็ก" จะไม่ได้ถูกกล่าวถึงในวิชาฮวงจุ้ย แต่การประสานของทิศทางระหว่างช่องแบ่งองศาและชั้นต่างๆบนหล่อแกนั้น ก็ได้แสดงให้เห็นถึงกฎพื้นฐานของ "สนามแม่เหล็ก" ของจักรวาลบน”หล่อแก”ได้อย่างชัดเจน
สำหรับตำแหน่ง 60 มังกรแทรกแผ่นดิน (六十透地龍) บน"หล่อแก"นั้นจริงๆแล้วจะมีทั้งหมด 5 ชั้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะมีปรากฏให้เห็นบนหล่อแกของทุกสำนัก ซึ่งจะมีเฉพาะหล่อแกบางประเภทเท่านั้นที่จะมี และเนื่องจากตำแหน่งนี้อยู่ใน”เข็มตรงภาคดิน” (地盤正針) จึงได้ชื่อว่า "มังกรแทรกแผ่นดิน"
แต่อีกนัยหนึ่งกล่าวว่า คำว่า มังกรแทรกแผ่นดิน 透地六十龍 มีที่มาจากการเริ่มนับจากคั่มข่วย 坎卦 ของแผนภูมิหลังฟ้า ซึ่งถือกำเนิดจาก คุงข่วย 坤卦 ของแผนภูมิก่อนฟ้า และ 坤 หมายถึงแผ่นดิน ดังนั้นจึงเรียกว่า มังกรแทรกแผ่นดิน
ในวงนี้จะมีมังกร 5 ตัวอยู่ใต้ภูเขาแต่ละคู่ (มีขุนเขา12 คู่) ผนวกกับหกสิบกะจื้อ (六十甲子) จึงขนานนามว่า "หกสิบมังกร" ส่วนลำดับของการจัดเรียงก็จะเหมือนกับวิชาชวนซาน 72 มังกร (穿山72龍 )
ซึ่งจริงๆ "หกสิบมังกร" ก็คือการเอา 8 กิ่งฟ้า(八干)และ 4 ข่วย (四維) ตัดออกไปจาก "ชวนซาน 72 มังกร" นั่นเอง **กรุณาอ่านเพิ่มเติมที่ หล่อแกคืออะไร 羅盤ตอนที่ 13 ”หล่อแก” ชั้นที่ 6穿山七十二龍เฉ่งซัวชิกจับยี่เล้ง
การใช้วิชา 60 มังกรแทรกแผ่นดิน (六十透地龍) มีไว้สำหรับวัดทิศทางและชีพจรมังกรในระยะใกล้ (近脈) ส่วนวิชาชวนซาน 72 มังกร (穿山72龍 ) มีไว้สำหรับวัดทิศทางและชีพจรมังกรในระยะไกล(遠脈)
วิชามังกรแทรกแผ่นดิน เป็นการรวมเอาขุนเขาคู่รวมเป็น 1 กลุ่ม หรือ 1 คู่ (มีทั้งหมด 12 คู่หรือ 12 กลุ่ม) และในแต่ละกลุ่มนี้มังกร 5 ตัวอยู่ใต้ภูเขาแต่ละคู่ ซึ่งรวมทั้งหมดมีมังกรอยู่ 60 ตัวพอดี โดยเรียกว่า องศา 60 ฮุงกิมหรือเฟินจิน (分金) ซึ่งมีไว้พิจารณาว่าแต่ละ”ฮุงกิม”ให้ผลดีหรือร้าย ซึ่งวิชานี้เป็นวิชาที่ใช้กันมาแต่โบราณตั้งแต่ยุคแรกๆเลยทีเดียว ซึ่งวิชานี้จะใช้สำหรับการดู”สุสาน 墓地” หรือ อินไจ่ 陰宅 เป็นหลัก
สำหรับการนำ “โท่วตี้หลง” มาใช้ ในการดูพลังชี่มังกร 龍氣ไหลลงมาสู่ตำแหน่งสุสานว่าตรงกับ กะจื้อ甲子ตัวไหน แล้วนำมาตัดสินพลังดีร้าย ซึ่งเรียกว่า เทียงกี天紀
ส่วน “ชวนซาน” 穿山 ใช้กำหนด ไหล่เล้ง 來龍หรือ มังกรข้ามหุบเขา 來龍過峽 ไหลหลงกั้วเซี๋ย ว่าตรงกับ กะจื้อ甲子ตัวไหน แล้วนำมาตัดสินพลังดีร้าย ซึ่งเรียกว่า ตี้กี地紀
การกำหนดตำแหน่งดี-ร้าย-วิชามังกรแทรกแผ่นดิน (六十透地龍)
วิชามังกรแทรกแผ่นดิน (六十透地龍) เริ่มนับจากกะจื้อ甲子 ในตำแหน่งเข็มตรง 正針 หมุนไปตามเข็มนาฬิกา และด้านล่างของตำแหน่ง 60 มังกร(ฮุงกิม) ก็จะมีตัวเลขหรืออักษรกำกับไว้ เช่น เลข 73七三 หรือ 37 三七เลข 37(三七) เลข 5 五และอักษรเจิ้ง 五 (เจี่ย) ซึ่งตัวเลขหรืออักษรเหล่านี้คือ “การกำหนดพลังชี่มังกร” (龍氣分數หลงชี่เฟินซู่)
ตัวอย่างเช่น จะมีอักษรขนาดเล็กสองตัวเขียนว่า 73 (七三) อยู่ใต้ ช่องกะจื้อ 甲子 หมายความว่า พลังชี่มังกร (龍氣) ในขุนเขา 壬山 หยิ่มซัว มีกำลัง 7 ส่วน ส่วนขุนเขา 亥山 ไห่ซัว มีกำลัง 3 ส่วน และอักษรเลข 37(三七) ก็อธิบายในแนวเดียวกันนี้
และในช่อง 丙子 มีคำว่า 正 เจิ้ง อยู่ด้านล่างซึ่งหมายความว่า พลังชี่มังกรเปี้ยจื้อ 丙子 ตรงกันกับตำแหน่งหยิ่มซัว 壬山
ในช่อง โบ่วจื้อ 戊子 มีคำว่า 5 (五) อยู่ด้านล่าง ซึ่งหมายความว่าพลังชี่ของ หยิ่มซัว 壬山 กับ กุ่ยซัว 癸山 มีพลังอย่างละครึ่ง(หรือ 5 ส่วน) สำหรับช่องอื่นๆ ก็อธิบายอย่างเดียวกันนี้
ในการนำมาใช้ดูฮวงจุ้ยก่อนอื่นเราต้องรู้ถึงผลดี 吉 และผลร้าย 凶 ของขุนเขาทั้ง 24 และขุนเขาคู่ อีกทั้งธาตุทั้งห้า หลังจากนั้นจึงตรวจสอบตำแหน่ง 來龍去脈 ไหลหลงและพลังชี่
1. 差錯空亡 "คาฉ่อคงบ๊วง-ชาชั่วคงหวัง" หรือ ความผิดผลาดและสูญเสีย เป็นตำแหน่งร้ายให้โทษ( 凶 )จะเกิดความผิดพลาดและสูญเสีย โดยปกติตำแหน่งนี้จะไม่นำมาใช้ ในหล่อแกด้านล่างจะมีอักษร 73七三 หรือ 37 三七 ซึ่งก็คือตำแหน่ง 差錯空亡 "คาฉ่อคงบ๊วง-ชาชั่วคงหวังตำแหน่ง"คาฉ่อคงบ๊วง-ชาชั่วคงหวัง" นี้ เมื่อหลังจากการฝังศพแล้ว ลูกหลานจะยากจนข้นแค้น ไม่มีบุตรสืบสกุล หรือประสบแต่ความผิดหวัง อีกทั้งลูกหลานจะทำลายทรัพย์สินของตระกูลจนหมดสิ้น และเกิดภัยพิบัตินานาประการ ดังนั้นในการเลือกตำแหน่งฮวงซุ้ยหรือสุสานจึงต้องระมัดระวังไม่ให้ตรงกับตำแหน่งนี้
ตำแหน่ง 差錯空亡 "คาฉ่อคงบ๊วง-ชาชั่วคงหวัง" มีทั้งหมด 24 ตำแหน่ง โดยเริ่มนับจาก กะจื้อ 甲子 ต่อไปเป็น壬子、乙丑、癸丑、丙寅、甲寅、丁卯、乙卯、戊辰、丙辰、己巳、丁巳、庚午、戊午、辛未、己未、壬申、庚申、癸酉、辛酉、甲戌、壬戌、乙亥、癸亥。และจะมีอักษร 73七三 หรือ 37 三七 กำกับไว้ด้านล่าง
2. 火坑 “ห่วยแค-หั่วเคิง” หรือ”หลุมเพลิง” ในหล่อแกระบบซาก็จะมีเครื่องหมายเลข 5 “五”หมายถึงตำแหน่งหลุมเพลิง ตำแหน่ง หลุมเพลิงนี้ ถือว่าให้โทษร้ายแรงที่สุดในบรรดา 60 มังกร ไม่ว่าจะเป็นบ้านคนอยู่อาศัยหรือสุสานก็ห้ามใช้อย่างเด็ดขาด หากได้ทำการฝังศพในตำแหน่งนี้แล้วภายหลังจะมีน้ำไหลเข้าไปในโลงศพอีกทั้งมีมดปลวกเข้าไปอยู่อาศัย ส่งผลให้ลูกหลายเสียชีวิตตั้งแต่เยาว์วัย อายุสั้น มักมัวเมาในกาม กระทำเรื่องผิดประเวณี อีกทั้งมีปัญหาคดีความ และลูกหลานทะเลาะเบาแว้งกัน
ตำแหน่ง”หลุมเพลิง” นี้มีทั้งหมด 12 ตำแหน่ง คือ即戊子、己丑、庚寅、辛卯、壬辰、癸巳、甲午、乙未、丙申、丁酉、戊戌、己亥 และจะมีอักษร เลข 5 “五”กำกับไว้ด้านล่าง
3.珠宝穴 “จูป้อฮ้วย-จูเป่าเสวี๋ย” หรือ “ไข่มุก” ถือเป็นตำแหน่งมงคล มีเครื่องหมายอักษร”เจี่ย-เจิ้ง” “正”หมายถึงตำแหน่งไข่มุก หากทำฮวงซุ้ยหรือสุสานไว้ตรงตำแหน่งนี้แล้ว ลูกหลานจะเจริญรุ่งเรือง มั่งคั่งร่ำรวยมีทรัพย์สินเงินทองมากมาย
ตำแหน่ง“ไข่มุก” นี้มีทั้งหมด 24 ตำแหน่ง คือ即丙子、庚子、丁丑、辛丑、戊寅、壬寅、己卯、癸卯、庚辰、甲辰、辛巳、乙巳、壬午、丙午、癸未、丁未、甲申、戊申、乙酉、己酉、丙戌、庚戌、丁亥、辛亥 และจะมีอักษร ”เจี่ย-เจิ้ง” “正”กำกับไว้ด้านล่าง