Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

whatisluoPan600x315Cap13R

สำหรับวิชา穿山七十二龍 เฉ่งซัวชิกจับยี่เล้ง นี้มีไว้เวลาดูฮวงจุ้ย สำหรับพิสูจน์ตำแหน่ง พลังชีพจรมังกร* ไหลหลง(ไหล่เล้ง) 來龍 ที่อ้างอิงจากตำแหน่งกิ่งฟ้า-ก้านดิน干支บวกกับอิมเอี๊ยง 5 ธาตุ 陰陽五行 แล้วนำมาตัดสินว่า ไหลหลง”พลังชีพจรมังกร” นั้นเป็นมงคลหรืออัปมงคล นอกจากตำแหน่งนี้แล้ว ตำแหน่งอื่นๆที่มีอักษร เจิ้ง(เจี่ย)「正」 ล้วนตกตำแหน่ง “มหาสูญ” หรือ ต้าคงหวัง (ตั่วคงบ้วง)「大空亡」ซึ่งถือว่าเป็นอัปมงคลเป็นอย่างมาก

*สำหรับคำว่า พลังชีพจรมังกร ไหลหลง(ไหล่เล้ง) 來龍 นั้นหมายถึง เส้นสันเขาที่ลดหลั่นกันลงมาเป็นชั้นๆ นอกจากนี้ ทางฮวงจุ้ยยังถือว่า ขุนเขานั้นคือรูปลักษณ์ของมังกร ส่วนสายน้ำนั้นถือว่าเป็นเส้นเลือดของมังกร

แต่ก็มีมังกรอีกประเภทที่แยกแยะออกมา หากพื้นที่เป็นขุนเขาสลับซับซ้อน ดังนั้นมังกรก็คือขุนเขา เรียกว่า “ซัวเล้ง”山龍 และหากเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มังกรก็คือสายน้ำ เรียกว่า “จุ้ยเล้ง”

 

ตำแหน่ง 3 เข็ม 3 ภาค บนหล่อแก 羅盤三針三盤

ก่อนจะอธิบายต่อเรื่อง 穿山七十二龍 เฉ่งซัวชิกจับยี่เล้ง นั้นต้องรู้จักกับตำแหน่ง 3 เข็ม 3 ภาคเสียก่อน โดยบนหล่อแกจะแบ่งเป็น  3 ภาคคือ 1.ภาคดิน 地盤 (ตี้ผาน-ตี่ปั๊ว) 2.ภาคฟ้า 天盤(เทียน-ผาน-ทีปั๊ว) 3.ภาคคน 人盤 (เหรินผาน-หยี่งปั๊ว) และมีตำแหน่งเข็ม 3 ประเภทคือ

1.เข็มตรงภาคดิน 地盤正針 (ตี้ผานเจ้งเจิน-ตี่ปั๊วเจี่ยจำ)

2.เข็มขอบตะเข็บภาคฟ้า 天盤縫針 (เทียนผานเฝิงเจิน-ทีปั๊วพ้งจำ)

3.เข็มกลางภาคมนุษย์ 人盤中針 (เหรินผานจงเจิน-หยิ่งปั๊วตงจำ)

และทั้ง 3 ภาคจะแบ่งเป็น 24 ช่อง ช่องละ 15 องศา ซึ่งเรารู้จักไปแล้วก็คือ 24 ขุนเขา 二十四山 นั่นเอง

ซึ่ง 24 ขุนเขาจะประกอบด้วย 12 ก้านดิน 十二支(子、丑、寅、卯、辰、巳、午、未、申、酉、戌、亥)8 กิ่งฟ้า 八干(甲、乙、丙、丁、庚、辛、壬、癸)กับอีก 4 ข่วย  四維 ซื่อเหวย(สี่ลุ้ย) คือ (乾、艮、巽、坤)

 Zheng Feng ZhongZhen Cap13

 

ตำแหน่งเข็มทั้ง 3 ตำแหน่ง มีดังนี้

1.เข็มตรงภาคดิน 地盤正針 (ตี้ผานเจ้งเจิน-ตี่ปั๊วเจี่ยจำ) ตำแหน่งตรงกลางตรงกับอักษร 子午 เรียกว่าเข็มตรง 正針 ซึ่งเวลาดูฮวงจุ้ย ซินแสก็จะใช้ตำแหน่งนี้วัดองศาว่าอิงทิศอะไรและหันหน้าไปทิศอะไร

2.เข็มขอบตะเข็บภาคฟ้า 天盤縫針 (เทียนผานเฝิงเจิน-ทีปั๊วพ้งจำ) หากเป็นตำแหน่งขอบตะเข็บของอักษร壬子、丙午เรียกว่าเข็มตะเข็บ 縫針 ซึ่งจุดนี้คิดค้นโดยท่านปรามาจารย์หยางกงในสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งซินแสฮวงจุ้ยจะใช้สำหรับการเซียวซา消砂 และทิศทางของไหล่เล้ง來龍 และจุดนี้จะหมุนถอยหลังจากเข็มตรงไป 7.5 องศา

3.เข็มกลางภาคมนุษย์ 人盤中針 (เหรินผานจงเจิน-หยิ่งปั๊วตงจำ) หากเป็นตำแหน่งตรงกลางของอักษร 子癸、午丁เรียกว่าเข็มกลาง 中針 คิดค้นโดยท่านปรามาจารย์ ไล่ปู้อี 賴布衣 หรืออีกชื่อเรียกว่า (ไล่เหวินจวิ้น賴文俊) ในสมัยราชวงศ์ซ่ง ซึ่งซินแสฮวงจุ้ยจะใช้สำหรับการหนับจุ้ย 納水 และดูทิศทางของน้ำไหล 來水 และจุดนี้จะหมุนข้ามเข็มตรงไปข้างหน้า 7.5 องศา

ความหมายของ 穿山七十二龍 เฉ่งซัวชิกจับยี่เล้ง

“เฉ่งซัวชิกจับยี่เล้ง”จริงๆก็คือองศา(ทองคำ) 分金 (จินเฟิน-ฮุงกิม) ของ 72 มังกร บางทีก็เรียกว่า 地紀 (ตี้จี้-ตี่กี้) ส่วนความหมายของ 穿山 (ชวนซาน-เฉ่งซัว) คือการกำหนดตำแหน่งของไหลหลง(ไหล่เล้ง) 來龍 ที่อ้างอิงจากตำแหน่งของ “กิ่งฟ้า-ก้านดิน”

ส่วน 分金(จินเฟิน-ฮุงกิม) นั้นหมายถึงตำแหน่งองศาของทิศทาง และจะใช้ตำแหน่ง”เข็มตรง” 地盤正針 (ตี้ผานเจ้งเจิน-ตี่ปั๊วเจี่ยจำ)**ของภาคปฐพี(ดิน)บนหล่อแก เพื่อหาทิศทาง

การจัดแบ่งฮุงกิม 72 มังกร

การจัดแบ่งฮุงกิม 72 มังกร คือ ในทุกๆขุนเขาจะแบ่งเป็น 3 มังกร ดังนั้น 24 ขุนเขาจึงมี 72 ฮุงกิม นับจาก”เข็มตรง” 地盤正針 ในตี้ผานหรือภาคปฐพี  จะมีจุดเชื่อมต่อระหว่าง ขุนเขาหยิ่ม 壬กับขุนเขาจื้อ 子 แล้วจัดเรียงฮุงกิมเริ่มจะนับจาก กะจื้อ 甲子 เป็นต้นไป

 

天干 กิ่งฟ้า

地支ก้านดิน

天干กิ่งฟ้า

壬(หยิ่ม)

จื้อ (子)

癸(กุ่ย)

癸 กุ่ย

      

甲 กะ

丙เปี้ย

戊โบ่ว

庚 แก

壬หยิ่ม

   

乙อิก

亥 ไห

 

子 จื้อ

子 จื้อ

子จื้อ

子จื้อ

子จื้อ

丑ทิ่ว

 

穿山龍 ชวนซานหลงคืออะไร

ก่อนที่เราจะทำความรู้จักกับ ฮุงกิม 72 มังกร เราก็ต้องทำความรู้จักกับศัพท์ทางเทคนิคของฮวงจุ้ยก่อน โดยคำว่า 穿山龍(ชวนซานหลง-เฉ่งซัวเล้ง) หรือการ “มังกรแทรกขุนเขา”  หรือบางทีก็เรียกว่า  穿山地紀 (ชวนซานตี้จี้-เฉ่งซัวตี่กี้) หมายถึงวงรอบของหล่อแกที่ถัดจากวงรอบ 24 ขุนเขา ซึ่งเป็นชั้นของ甲子干支กะจื้อกิ่งฟ้าก้านดิน โดย 12 ก้านดินคูณด้วย 5 บวกกับ 8 กิ่งฟ้า 八干 และ 4 ข่วย 四維 ซึ่งก็จะรวมเป็น 72 ช่อง (ช่องละ 5 องศา) ซึ่งทั้ง 72 ช่องนี้แหละที่เรียกว่า 穿山72龍 ชวนซาน 72 มังกร

ดังนั้นคำว่าชวนซาน 穿山 คำว่า ชวน 穿 กับคำว่า โท่ว 透 โบราณใช้ความหมายเดียวกัน ก็คือการทะลุ การแทรกเข้าไป เช่นคำว่า  透地六十龍 (โท่วตี้ 60 หลง-เถาตี่ 60 เล้ง) ดังนั้นการแทรกขุนเขานั้นก็มาจาก 24 ขุนเขากับชวนซาน 72 มังกร มีตำแหน่งที่มังกร 1 ตัวแทรกเข้าไปใน 24 ขุนเขา หากเราดูบนหล่อแก ตำแหน่ง 24 ขุนเขา ไห (亥) จะอยู่ติดกับ 壬(หยิ่ม) แต่เมื่อเราดูช่อง 72 มังกร ก็จะเห็นได้ว่า ภายใต้ขุนเขาไห (亥) จะมีมังกรเรียงกันไปดังนี้คือ丁亥-己亥-辛亥-แล้วข้ามไปขุนเขา壬(หยิ่ม) ก็จะมีมังกร 癸亥 แทรกเข้าไป 1 ตัว นี่คือที่มาของคำว่า ชวนซาน 穿山

 

 

穿山七十二龍甲子 ชวนซาน 72 หลงเจี่ยจื่อ คืออะไร

เพื่อความแม่นยำเราจะใช้ 穿山七十二龍甲子(ชวนซานชีสรือเอ้อร์หลงเจี่ยจื่อ) วัดทิศทางของชีพจรมังกร และสามารถกำหนดรู้ได้ว่าทิศทางนั้นตกลงในช่องไหนใน 60 หลักจับกะจื้อ (六十花甲子) และใช้วิชาธาตุหนับอิม 甲子納音( กะจื้อหนับอิม) มาร่วมพิจารณากับวิชา 透地六十龍 (โท่วตี้ 60 หลง-เถาตี่ 60 เล้ง) ในการตัดสินว่าดีหรือร้าย อีกทั้งต้องนำองศาฮุงกิมกับการส่งเสริมและหักล้างกันของธาตุหนับอิมมาพิจารณาด้วยในขั้นสุดท้าย   

**หมายเหตุ-วิชา 甲子納音” กะจื้อหนับอิม” กับวิชา 透地六十龍 จะเขียนบทความอธิบายแยกต่างหาก

**หมายเหตุ-24 ขุนเขา ดูเพิ่มเติมได้ที่ หล่อแกคืออะไร 羅盤 ตอนที่ 12 ”หล่อแก” ชั้นที่ 5 二十四山陰陽盤 อิมเอี๊ยง 24 ขุนเขา ซำง้วน-ซาฮะ-เฮี่ยงคง

 

72Long Fen Jin Cap13

 

穿山龍位置 ตำแหน่งของชวนซานหลง

เนื่องจากหล่อแกมีหลายประเภทหลายชนิดและต่างก็มีรูปแบบการจัดเรียงวงต่างๆไม่เหมือนกัน ซึ่งก็ไม่สามารถกำหนดได้ว่าตำแหน่งอะไรอยู่ชั้นไหน แต่สำหรับ หล่อแก ของสำนักซาฮะจะอยู่ในชั้นที่ 7 หรือ 8 ซึ่ง ส่วนหล่อแกของสำนักอื่นๆ ก็ต้องพิจารณาจากหลักการ ดังนี้

โดยปกติแล้ว  穿山龍位置 ตำแหน่งของชวนซานหลง จะต้องอ้างอิงทิศทางจากตำแหน่งของ 24 ขุนเสมอ โดย 24 ขุนเขาจะมี 24 ช่อง ช่องละ 15 องศา และแต่ละช่องก็จะแบ่งออกเป็น 3 ช่องย่อย ช่องละ 5 องศารวมเป็น 72 ช่อง

แต่ว่าจำนวน 60 ช่องใน 72 ช่องนี้ จะใช้ 12 ก้านดิน十二地支 เป็นหลัก จะไม่ใช้ 8 กิ่งฟ้า八干 และ 4 ข่วย 四維 และทุกๆก้านดินจะครอบครองอยู่ 5 ช่อง ดังนั้น 5 คูณ 12 เท่ากับ 60 ช่อง แล้วจึงค่อยมาเพิ่ม 8 กิ่งฟ้า八干 และ 4 ข่วย 四維 อีก 12 ช่อง ทั้งหมดจึงรวมเป็น 72 ช่อง

 

ตำแหน่งร้ายใน 72 มังกรบนหล่อแก  

ในชั้นของ 72 มังกรนี้มีตำแหน่งร้ายให้โทษอยู่ 3 ตำแหน่ง (1) เรียกว่า มหาสูญใหญ่ 大空亡 (ต้าคงหวัง-ตั่วคงบ๊วง) (2)มหาสูญกระดองเต่า 龜甲空亡 (กุยเจี่ยคงหวัง-กุยกะคงบ๊วง) (3)อิมเอี๊ยงวิบัติ 陰陽差錯 (อินหยางชาชั่ว-อิมเอี๊ยงคาฉ่อ)  ซึ่งทิศร้ายเหล่านี้มีผลทั้งฮวงจุ้ยบ้านอยู่อาศัย 陽宅 (หยางไจ่-เอี๊ยงแทะ) และ ฮวงจุ้ยสุสาน 陰宅 (อินไจ่-อิมแทะ)

ซึ่งขณะที่เรากำลังทำการ หาชีพจรมังกร(ไหล่เล้ง) 來龍 หรือการรับพลังชี่  乘氣 (เซี่งชี่-เส่งขี่) ทำการวัดองศาฮุงกิม 分金、และการกำหนดตำแหน่งใดใด 定址 (ติ้งจื่อ-เต็งจี้) จะต้องหลีกเลี่ยง 3 ตำแหน่งร้ายนี้

 

1.ตำแหน่ง มหาสูญใหญ่ 大空亡 (ต้าคงหวัง-ตั่วคงบ๊วง)

ซึ่งใน”จุดกึ่งกลาง”ของขุนเขา 8 กิ่งฟ้า 八干 คือ甲(กะ) ,庚 (แก) ,丙(เปี้ย) ,壬(หยิ่ม) , 乙(อิก), 辛(ซิง), 丁(เตง), 癸(กุ่ย) กับ 4 ข่วย คือ  乾เคี้ยง 巽สุ่ง 艮กึ่ง 坤คุง เรียกว่า ซื่อเหวย (สี่ลุ้ย) 四維 จะเป็นช่องว่าง(5 องศา)เพราะไม่มีฮุงกิม

จุดที่ไม่มีฮุงกิมทั้ง 12 ตำแหน่งนี้ เรียกว่า ตำแหน่ง “มหาสูญใหญ่” หรือ ต้าคงหวัง (ตั่วคงบ้วง)「大空亡」ซึ่งถือว่าเป็นอัปมงคลเป็นอย่างมาก เพราะไม่มีกิ่งฟ้าก้านดินมาควบคุม ซึ่ง”หล่อแก”บางยี่ห้อ จะใช้อักษร ตัว เจิ้ง(เจี่ย)「正」มาแทนที่ว่างตรงนี้  ซึ่งมี 12 ตำแหน่ง

 **หมายเหตุ ฮวงจุ้ยแต่สำนักจะมีชื่อเรียกและตำแหน่งแตกต่างกันไป ซึ่งจะอธิบายในบทความแยกออกมาภายหลัง

2.ตำแหน่ง กระดองเต่าสิ้นสูญ 龟甲空

นอกจากนี้ใน 24 ขุนเขาก็มีอีกตำแหน่งร้ายอีกตำแหน่งหนึ่งเรียกว่า “กระดองเต่าสิ้นสูญ” 龟甲空亡 (กุยเจี่ยคงหวัง-กุยกะคงบ๊วง) ห้ามนำมาใช้อย่างเด็ดขาด ตำแหน่งที่ว่าก็คือ ในระหว่างจุดศูนย์กลางของขุนเขาทั้ง 24 ลูก องศาจุดนี้จะอยู่กึ่งกลางของขุนเขาทุกลูกและมีความกว้าง 3 องศา โดยมีองศาศูนย์กลาง ดังนี้

 

24 ขุนเขา

องศา龟甲

24 ขุนเขา

องศา龟甲

270

90

285

105

300

120

315

135

330

150

345

165

360

180

15

195

30

210

45

225

60

245

75

255

**หมายเหตุ องศาข้างต้นคือจุดกึ่งกลางของ กระดองเต่าสิ้นสูญ 龟甲空亡 และมีความกว้าง 3 องศา ดังนั้นต้องบวกอีก 1องศาหน้าหลังด้วย ตัวอย่างเช่น ขุนเขา子 กึ่งกลางองศาคือ 270 ดังนั้นตั้งแต่ องศาที่ 269-270-271 ล้วนตกกระดองเต่าสิ้นสูญ 龟甲空亡

**หมายเหตุ ฮวงจุ้ยแต่สำนักจะมีชื่อเรียกและตำแหน่งแตกต่างกันไป ซึ่งจะอธิบายในบทความแยกออกมาภายหลัง

3.ตำแหน่งอิมเอี๊ยงวิบัติ 陰陽差錯 (อินหยางชาชั่ว)

จากตำแหน่ง มหาสูญ(คงบ๊วง) ข้างต้น ช่อง กานจือ 干支ทั้งช่องซ้ายและช่องขวา ห้ามใช้เพราะเป็นตำแหน่งอิมเอี๊ยงวิบัติ 陰差陽錯 หากนำไปใช้ก็จะเกิดความวิบัติตามมา ทั้งทรัพย์สินจะถูกทำลาย นอกจากนี้ก็ยังมีอีกตำแหน่งคือ ตำแหน่ง 戊己 (โบ่วกี้) ก็ห้ามใช้เช่นกัน

อิมเอี๊ยงวิบัติ 24 กานจือ 陰陽差錯二十四干支  มีดังนี้

壬子  癸丑  甲寅  乙卯  丙辰  丁巳

戊午  己未  庚申  辛酉  壬戌  癸亥

甲子  乙丑  丙寅  丁卯  戊辰  己巳

庚午  辛未  壬申  癸酉  甲戌  乙亥

นอกจากนี้แล้วที่เหลือก็จะเป็นตำแหน่ง 旺相 (ว่างเซี่ยง-อ๊วงเซียง) หมายถึงความ รุ่งโรจน์ เป็นกานจือที่เป็นมงคล คือ

丙子、丁丑、戊寅、己卯、庚辰、辛巳、壬午、癸未、甲申、乙酉、丙戌、丁亥、庚子、辛丑、壬寅、癸卯、甲辰,乙巳、丙午、丁未、戊申、己酉、庚戌、辛亥

**หมายเหตุ ฮวงจุ้ยแต่สำนักจะมีชื่อเรียกและตำแหน่งแตกต่างกันไป ซึ่งจะอธิบายในบทความแยกออกมาภายหลัง

 

ทฤษฏี  5 ปราณ ของท่านปรมาจารย์หยางกง (楊公五氣)

ที่เหลือนอกจากตำแหน่ง 龟甲(กุยเจี่ย-กุ่ยกะ) กระดองเต่า กับ 空亡(คงหวัง-คงบ๊วง) มหาสูญ นี้แล้วก็ยังมีอีก 2 ตำแหน่ง คือ 孤虚 (กูซวี-โกเฮอ) โดดเดี่ยว และ 旺相 (วั่งเซี่ยง-อ๊วงเซียง) รุ่งโรจน์ดังนั้น 72 ฮุงกิม จึงมีเพียง 24 ฮุงกิมที่สามารถใช้ได้  นอกจากนี้ตำแหน่งองศาที่ทับเส้นระหว่าง 72 ฮุงกิมเรียกว่า “มหาสูญเล็ก” 小空亡 (เสี่ยวคงหวัง-โส่ยคงบ๊วง) ก็เป็นโทษด้วยเช่นกัน

ซึ่งการพิจารณาและตัดสินฮุงกิม 72 มังกรว่าดีหรือร้ายนั้นมาจากหลักทฤษฏี  5 ชี่ (5 ปราณ) ของท่านปรมาจารย์หยางกง (楊公五氣) ซึ่งแบ่งประเภทเป็น 4 ประเภทคือ 旺相 (วั่งเซี่ยง-อ๊วงเซียง)รุ่งโรจน์ 孤虚(กูซวี-โกเฮอ) โดดเดี่ยว 龜甲空亡 (กุยเจี่ยคงหวัง-กุ่ยกะคงบ๊วง) กระดองเต่าสิ้นสูญ  และ空亡(คงหวัง-คงบ๊วง) มหาสูญ ได้ดังนี้

1.甲子旬 กลุ่มกะจื้อ  เป็นกลุ่มพลังปราณเยือกเย็น  冷氣脈 (เหลิ่งชี่ม่าย-แน่ขี่แม๊ะ) ถือเป็น อิมเอี๊ยงวิบัติ 陰陽差錯 หรือเรียกว่า 孤虛氣 (กูซวีชี่-โกเฮอขี่) ความโดดเดี่ยว มีดังนี้ 

甲子、乙丑、丙寅、丁卯、成辰、己巳、庚午、辛未、壬申、癸酉、甲戍、乙亥。

2.丙子旬 กลุ่มเปี๊ยจื้อ  เป็นกลุ่มพลังปราณบริสุทธิ์ 正氣脈 (เจิ้งชี่ม่าย-เจียขี่แม๊ะ) ถือเป็น 旺相 (วั่งเซี่ยง-อ๊วงเซียง) รุ่งโรจน์  มีดังนี้  

丙子、丁丑、戊寅、己卯、庚辰、辛巳、壬午、癸未、甲申、乙酉、丙戍、丁亥。

3.戊子旬 กลุ่มโบ่วจื้อ  เป็นกลุ่มพลังปราณปราชัย(พ่ายแพ้) 敗氣脈 (ป้ายชี่ม่าย-ไป่ขี่แม๊ะ) ถือเป็น 龜甲空亡  (กุยเจี่ยคงหวัง-กุ่ยกะคงบ๊วง) กระดองเต่าสิ้นสูญ  มีดังนี้  戊子、己丑、庚寅、辛卯、壬辰、癸巳、甲午、乙未、丙申、丁酉、戊戍、己亥。

4.庚子旬 กลุ่มแกจื้อ  เป็นกลุ่มพลังปราณรุ่งโจน์ 旺氣脈 (วั่งชี่ม่าย-อ๊วงขี่แม๊ะ) ถือเป็น 旺相 (วั่งเซี่ยง-อ๊วงเซียง) รุ่งโรจน์ มีดังนี้ 

庚子、辛丑、壬寅、癸卯、甲辰、乙已、丙午、丁未、戊申、己酉、庚戍、辛亥。

5.壬子旬 กลุ่มหยิ่มจื้อ  เป็นกลุ่มพลังปราณถดถอย 退氣脈 (ทุ่ยชี่ม่าย-ถ่อขี่แม๊ะ) ถือเป็น 孤虛氣 (กูซวีชี่-โกเฮอขี่) ความโดดเดี่ยว  มีดังนี้ 

壬子、癸丑、甲寅、乙卯、丙辰、丁已、戊午、已未、庚申、辛酉、壬戍、癸亥。

******************************