三合人盤中針ซาฮะ-หยิ่งปั๊วตงจัม ของสำนักซาฮะ(สามประสาน) ในการดูฮวงจุ้ย คือการใช้ 24 ขุนเขานับย้อนไปทีละครึ่งเรือน 宫(กง-เก็ง) แล้วก็มาดูสนามพลังปราณ穴场(เชวี่ยฉ่าง-ฮ้วยเชีย)ของพื้นที่โดยรอบ และประกอบกับการใช้รูปลักษณ์ของขุนเขา ที่มีหลายรูปแบบที่เรียกว่า รูปทรงของดาว星体(ซิงถี่-แชที่)ที่สถิตย์อยู่ในเรือน宫นั้นแล้วนำ 5 ธาตุของเรือนนั้นๆมาประสานกันกับ”เรือน 5 ธาตุ”宫位五行 กับ “5 ธาตุอิงขุนเขา”坐山五行(จว้อซานอู่สิง-จ๊อซัวโหงวเฮ้ง)เพื่อนำมามาตัดสินว่าเป็น “ขุนเขามงคล”吉山 (จี๋ซาน-กิ๊กซัว)หรือไม่
ตำแหน่ง 3 เข็ม 3 ภาค บนหล่อแกของสำนักซาฮะ-(สามประสาน) 三合-羅盤三針三盤
ซึ่งได้เคยอธิบายไปแล้วในบทก่อนๆ โดยนับจากวงในไปวงนอก เรียงตามลำดับคือ 1. เข็มตรงภาคดิน 地盤正針 (ตี้ผานเจ้งเจิน-ตี่ปั๊วเจี่ยจำ) 2.เข็มกลางภาคมนุษย์ 人盤中針 (เหรินผานจงเจิน-หยิ่งปั๊วตงจำ) 3.เข็มขอบตะเข็บภาคฟ้า 天盤縫針 (เทียนผานเฝิงเจิน-ทีปั๊วพ้งจำ)
1. เข็มตรงภาคดิน 地盤正針 (ตี้ผานเจ้งเจิน-ตี่ปั๊วเจี่ยจำ) คือตำแหน่ง”ทิศตรง”ของ 24 ขุนเขา เรียกสั้นๆว่า 正针(เจ้งเจิน-เจี่ยจำ) ใช้สำหรับตั้งทิศ 立向 (ลี่เซี่ยง-หลิบเหี่ยง)ใน 72 มังกร
2.เข็มกลางภาคมนุษย์ 人盤中針 (เหรินผานจงเจิน-หยิ่งปั๊วตงจำ) หากเป็นหล่อแกของสำนักซาเหอโดยเฉพาะจะอยู่ระว่างกลางของวงของ 24 ขุนเขา เรียกสั้นๆว่า 中針 (จงเจิน-ตงจำ) ซึ่งในชั้นนี้เส้นขุนเขา จื้อ 子จะตรงข้ามกับขุนเขา 午แต่องศาจะถอยหลังจากเข็มตรงภาคดิน 地盤正針 ไปครึ่งตำแหน่งหรือ 7.5 องศา หากภาคดิน 正针 (เจ้งเจิน-เจี่ยจำ) ตรงกับ 子 และ午เข็มกลางก็จะอยู่ระหว่าง 壬子 กับ 丙午 ซึ่งชั้นนี้มีไว้สำหรับการ 橃砂 (ฟาซา-พั๊วซา) สำหรับดูฮวงจุ้ย ดูรูปลักษณ์ของขุนเขาและลักษณะของที่ดิน
3.เข็มขอบตะเข็บภาคฟ้า 天盤縫針 (เทียนผานเฝิงเจิน-ทีปั๊วพ้งจำ) หากเป็นหล่อแกของสำนักซาเหอโดยเฉพาะจะอยู่วงรอบนอกสุดของหล่อแกซึ่ง ในชั้นนี้เส้นขุนเขา จื้อ 子จะตรงข้ามกับขุนเขา 午แต่องศาจะข้ามเลยไปจากเข็มตรงภาคดิน 地盤正針 ไปครึ่งตำแหน่งหรือ 7.5 องศา หากภาคดิน正针(เจ้งเจิน-เจี่ยจำ) ตรงกับ 子และ午เข็มกลางก็จะอยู่ระหว่าง 癸子 กับ 丁午เรียกสั้นๆว่า 外盤 (ว่ายผาน-หงั่วปั๊ว) ซึ่งชั้นนี้มีไว้สำหรับดูขุนเขาและทิศทางน้ำ เข้า-ออกหรือเรียกว่าการหรือ 消砂納水 (เซียวซาน่าสุ่ย-เซียวซาหนับจุ้ย)
โดยสรุปแล้ว จะเห็นได้ว่าระหว่าง ภาคฟ้า 天盤 กับภาคมนุษย์ 人盤 มีความแตกต่าง 15 องศาซึ่งพอดีกับองศาของ 1 ขุนเขา
ส่วนการใช้ 3 เข็ม 3 ภาคของสำนักซาฮะ(สามประสาน) ซึ่งทั้ง 3 ภาคบนหล่อแก จะใช้เข็มตรงภาคดิน 地盤正針 เป็นหลัก เพราะภาคฟ้า 天盤 กับภาคมนุษย์ 人盤 ต่างก็ประกบล้อมรอบเข็มตรงภาคดิน 地盤正針 อยู่แล้ว และต่างวงก็ทำหน้าที่ต่างกันไป เวลาจะใช้งานก็จะ ใช้มังกรในวงภาคดินทำการดูขุนเขา(หรือมังกร)แล้วตั้งทิศ立向(ลี่เซี่ยง-หลิบเหี่ยง)
ส่วนภาคมนุษย์เวลาดูฮวงจุ้ยใช้ดูพื้นที่และขุนเขา 砂 และใช้ตำแหน่งนี้เป็น 坐山 แทนตัวเราเอง และดูภูมิทัศน์โดยรอบ (รวมถึงตึกรามบ้านช่อง) ว่าสัมพันธ์กับตัวเราอย่างไรแล้วจึงตัดสินว่าดีหรือร้าย ส่วนภาคฟ้าใช้สำหรับดูน้ำ และพิจารณาทิศทางน้ำจากตำแหน่งภาคฟ้าว่าสัมพันธ์หรือสอดคล้องกันอย่างไร แล้วจึงตัดสินว่าดีหรือร้าย
ส่วนเข็มภาคดิน คือตำแหน่งตรงกลางของขุนเขา子กับขุนเขา午 ในวง24 ขุนเขาใช้สำหรับ坐山(จว้อซาน-จ่อซัว) ตั้งทิศ立向 (ลี่เซี่ยง-หลิบเหี่ยง) วัดทิศทางมังกร 格龍 (เก๋อหลง-แก๊ะเล้ง)
ส่วนเข็มตรงภาคมนุษย์ใช้สำหรับ 橃砂 (ฟาซา-พั๊วซา) และเข็มตะเข็บภาคฟ้าใช้สำหรับ 消砂納水 (เซียวซาน่าสุ่ย-เซียวซาหนับจุ้ย)
**คำว่า 坐山 (จว้อซาน-จ่อซัว) หมายถึง ตำแหน่งที่ตนเองนั่ง ส่วนคำว่า 向山 (เซี่ยงซาน-เหี่ยงซัว) หมายถึง ตำแหน่งที่ตรงกันข้ามกับตนเอง
**ตั้งทิศ 立向 (ลี่เซี่ยง-หลิบเหี่ยง) มีแบ่งเป็นทิศองศาตรง 正向 (เจิ้งเซี่ยง-เจียเหี่ยง) กับทิศองศาขอบ 兼向 (เจียนเซี่ยง-เกียมเหี่ยง) ซึ่งฮวงจุ้ยแต่ละสำนักมีวิธีคำนวณทิศและองศาแตกต่างกัน
วิธีการใช้เข็มตรงภาคมนุษย์人盤(中針)
เข็มตรงภาคมนุษย์ใช้สำหรับ 橃砂 (ฟาซา-พั๊วซา) โดยใช้หลัก 5ธาตุ ทั้งส่งเสริมและพิฆาต มีการแบ่งประเภท 砂(ซา)ดังนี้
ธาตุไฟ 火砂——子午卯酉,甲丙庚壬
ธาตุน้ำ水砂——寅申巳亥
ธาตุไม้木砂——乾坤艮巽
ธาตุทอง金砂——辰戍丑未
ธาตุดิน土砂——乙辛丁癸
คำว่า砂(ซา) ในวิชาฮวงจุ้ยหมายถึงอะไร
ทฤษฎีทั่วไปของวิชาฮวงจุ้ยมีหลักอยู่ว่า 高一寸為砂,低一寸為水 พื้นที่สูงเพียงหนึ่งนิ้วก็คือขุนเขา พื้นที่ต่ำลงไป 1 นิ้วก็คือน้ำ อธิบายง่ายๆก็คือ砂(ซา) หมายถึง รูปทรงของขุนเขา ยอดเขา พื้นแผ่นดิน ต้นไม้ อาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือ อะไรก็ตามที่มีความสูง
แล้วทำไมขุนเขาจึงเรียกว่า ซา 砂(沙) ซึ่งหมายถึงทราย เพราะในสมัยก่อน เวลาอาจารย์สั่งสอนศิษย์ การเดินทางยากลำบาก การไปดูฮวงจุ้ยหรือสำรวจชัยภูมิต่างๆทำได้ยาก อาจารย์จึงใช้ ทราย(沙) นำมาก่อเป็นรูปทรงขุนเขาแบบต่างๆบนแผ่นกะบะทราย เพื่อนำมาสอนศิษย์
***********************************************************************