ท่านปรมาจารย์หยางกง (楊筠松 หยางจินซง) หรือ (楊公เอี๊ยกง) ในสมัยราชวงศ์ถัง ท่านมีชีวิตในระหว่างปี ค.ศ 834-900 ถือกันว่าเป็นสุดยอดปรมาจารย์ฮวงจุ้ยแห่งมณฑลกานหนัน 贛南ซึ่งในนิยายมังกรหยกเรียกว่า”กังหนำ”หรือ”กังนั้ม” (ปัจจุบันนี้เป็นเมืองอยู่ในมณฑลเจียงซี)ท่านไม่เพียงแต่สร้างทฤษฎีที่ของศาสตร์ฮวงจุ้ยให้สมบูรณ์ครบถ้วนแล้ว นอกจากนี้ท่านก็ยังได้พัฒนา แก้ไข ปรับปรุง เครื่องมือดูฮวงจุ้ยหรือ "หล่อแก" ให้สอดคล้องกับทฤษฎีและทำให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ระบบนับอิม หลักจับกะจื้อ
ใน”หล่อแก”สำหรับดูฮวงจุ้ยจะมีภูมิอยู่ 3 ระดับชั้น โดยมี 1.ภูมิฟ้า(天盤)2.ภูมิดิน(地盤)3.ภูมิมนุษย์(人盤)โดย ท่านหยางกงได้คิดประดิษฐ์ระบบ 24 ขุนเขาในระดับภูมิดินเป็นครั้งแรก ซึ่งแต่เดิมไม่เคยมีมาก่อน โดยก่อนหน้านั้นมีเพียงแค่แผนภูมิปา-กว้า(โป๊ยข่วย) 八卦盤 กับ ระบบ 12 ก้านดิน 十二地支盤เท่านั้น
ส่วน"หล่อแก"สมัยราชวงศ์ฮั่นก็มีสัญลักษณ์ของทั้ง ปา-กว้า(八卦) และ กิ่งฟ้า (地支 10 ตัว)ก้านดิน( 天干 12 นักษัตร)ด้วยเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้แบ่งองศาให้เท่า ๆ กัน เพียงแต่นำกิ่งฟ้า (地支), ปา-กว้า(八卦) และ ก้านดิน( 天干) แบ่งออกเป็นสามชั้น(ระดับ) ซึ่งองศาของแต่ละส่วนนั้นกลับไม่สอดคล้องหรือสัมพันธ์กัน
ผังระบบ 60 มังกร
ส่วนผังการเดินดาว”อายแช”(挨星盤) ในระบบ 24 ขุนเขา(地盤二十四山) และ รวมถึงผัง 72 มังกร(七十二龍盤) และวิธีวิเคราะห์ขุนเขา 72 มังกร (穿山七十二龍) ถูกค้นพบและวางระบบโดยท่านหยางกงในช่วงบั้นปลายอายุของท่าน ซึ่งเป็นผลจากการรวบรวมสั่งสมประสบการณ์ในการดูฮวงจุ้ยของท่านมานานหลายสิบปี
ซึ่งท่านได้ค้นพบว่า หยินและหยางและธาตุทั้งห้าล้วนสถิตอยู่ในทุกทิศทาง(ทิศทั้ง8) และการแผ่กระจายของหยินและหยางและธาตุทั้งห้าที่พิจารณาจากคุณลักษณะ(ธาตุ)จากแผนภูมิปา-กว้าผสมกับธาตุทั้งห้าจะพบว่าจะไม่ตรงกับความเป็นจริง และมันหยาบเกินไปที่จะใช้แค่ระบบที่แบ่งมังกรเป็นหยินกับหยางแล้วนำมากำหนดทิศทางมังกร(แกะเล้งลิบเหี่ยง格龍立向)เพื่อหาตำแหน่งดีร้าย และเมื่อท่านได้นำหลักนี้มาพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำอีกจึงได้พบกับความจริงและแนวทางแก้ไข
ตัวอย่างเช่น ในสมัยก่อนหน้านี้ ซินแสสมัยโบราณนั้นเคยคิดว่าทิศทั้งสี่ ต่างก็มีแม่ธาตุเฉพาะตัวของตัวมันเอง ดังนั้นทิศทั้งยี่สิบสี่จึงถูกแบ่งออกเป็นธาตุเดี่ยวย่อยออกมาจากแม่ธาตุทั้ง 5
แต่ท่านหยางกงพบว่าทฤษฎีนี้ผิดพลาด โดยตามหลักวิชาแต่ดั้งเดิมกล่าวว่าทิศใต้เป็นทิศที่ครองโดยธาตุไฟ และทิศใต้มีแต่ธาตุไฟล้วนๆเท่านั้นและไม่มีองค์ประกอบอื่น ๆ อีกหรือ? ซึ่งเห็นได้ชัดว่าสิ่งนี้ไม่เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์เพราะทุกสิ่งในโลกนี้ประกอบขึ้นจากส่วนผสมของธาตุทั้งห้าทั้งสิ้น เพียงแต่บางส่วนมีส่วนผสมมากกว่าและบางส่วนก็มีน้อยกว่าเท่านั้น
ผังระบบ 72 มังกร
ท่านจึงได้นำ12ก้านดิน(十二地支)มาผสมกับ10 กิ่งฟ้า (天干) อีกทั้งนำแม่ธาตุทั้ง 5 มาผสมเกิดเป็น ธาตุผสม 60 ปฏิกิริยาหรือเกิดระบบ”หนับอิม 5 ธาตุ”(納音五行)แล้วนำมาแสดงคุณลักษณะของธาตุผสมของมังกรแต่ละตัว ซึ่งเรียกว่า เรียกว่า “หลักวิชา 5 ธาตุย้อนกลับและพลิกผัน” (顛顛倒)หรือ“เตียงเตียงเต่า” (顛顛倒五行)
สำหรับผู้ศึกษาฮวงจุ้ยชั้นสูงจะต้องพบกับคำว่า “หลักวิชา 5 ธาตุย้อนกลับและพลิกผัน” หรือ “เตียงเตียงเต่า” (顛顛倒) เพราะเหตุที่ว่าแต่เดิมนั้นเพียงนำทิศทั้ง 4 แบ่งให้ 5 ธาตุครองทิศ ถือว่าเป็นการย้อนแย้งหลักการของทฤษฎี 5 ธาตุ ซึ่งไม่สมเหตุสมผล
แต่เมื่อนำธาตุทั้ง 5 นำไปจัดแบ่งไว้บนวง 24 ขุนเขาแล้ว ก็จะทำให้ 24 ขุนเขาแต่ละลูกนั้นมีธาตุครบทั้ง 5 ธาตุ และสามารถนำมาใช้ได้จริงตามทฤษฎี ซึ่งก็คือการย้อนกลับหลักวิชาเดิมให้พลิกผันกลับมาแล้วจัดวางตำแหน่งให้ถูกต้อง นี่จึงเรียกว่า “หลักวิชา 5 ธาตุย้อนกลับและพลิกผัน” (顛顛倒)
ดังนั้นนี้เราจะเห็นได้ว่าในการดูฮวงจุ้ย การนำวิชา 72 มังกรเจาะภูผา (ฉ่วยซัวชีจับหยีเล้ง穿山七十二龍)นำมากำหนดทิศทางมังกร(แกะเล้งหลิบเหี่ยง格龍立向)เพื่อหาตำแหน่งดีร้าย ซึ่งในตำแหน่งขุนเขาแต่ละลูกสามารถนำมาแบ่งจำแนกมังกรได้ 5 ชนิดตามหลัก 5 ธาตุ ซึ่งหลักการนี้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์และความเป็นจริงมากกว่า
ซึ่งแตกต่างจากหลักการในอดีต ซึ่งแค่ใช้มังกรหยิน-หยางนำไปกำหนดทิศทางดี-ร้ายของมังกรแต่ละตัว เช่น ขุนเขาที่เป็นหยางหากพบกับมังกรที่เป็นหยิน (陽山遇到陰龍)ก็ไม่สามารถนำทิศนั้นมาใช้ได้
เมื่อท่านหยางกง ค้นพบทฤษฎีนี้ จึงกล่าวขึ้นว่า “ขอเพียงใช้หลักการที่ถูกต้อง ขุนเขาทั้งมวลล้วนแต่เป็นมังกรแท้ และต่างก็มีขุมทรัพย์อยู่ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น”
และจากข้อความในคัมภีร์แชลั้ง《青囊奧語》ที่แต่งโดยท่านหยางกงได้ กล่าวว่าในวิชาห้าธาตุผลิกผันแสดงให้เห็นว่าขุนเขาทั้ง 24 นั้นล้วนแต่มีขุมทรัพย์(珠寶) และ( 火坑)หลุมเพลิง สถิตย์อยู่ทั้งสิ้น ดังนั้นคำว่า “ห้าธาตุผลิกผัน” จึงหมายถึง “ธาตุผสมของ 72 มังกร” (七十二龍的納音五行)ซึ่งมังกรแต่ละตัวมีทั้งให้คุณและให้โทษเท่าเทียมกัน
อ่านประวัติท่านหยางกงได้ที่นี่ “ หยางกง ” บูรพาจารย์ฮวงจุ้ยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีน