ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในบทก่อน ว่า”หล่อแก” สำหรับดูฮวงจุ้ยนั้นแบ่งเป็น 3 ภูมิ โดยมี 1.ภูมิฟ้า(天盤)2.ภูมิดิน(地盤)3.ภูมิมนุษย์(人盤)โดย ท่านหยางกงได้คิดประดิษฐ์ระบบ 24 ขุนเขาในระดับภูมิดิน(地盤)เป็นครั้งแรก ซึ่งแต่เดิมไม่เคยมีมาก่อน ต่อมาในช่วงปลายชีวิตของท่านจึงคิดประดิษฐ์”ภูมิฟ้า” (天盤)หรือภูมิสวรรค์เพิ่มขึ้นมาอีก 1 ภูมิ
สาเหตุก็เพราะ จากประสบการณ์ของท่านหยางกง พบว่าการใช้ภูมิดิน"ตี่ปั๊ว"(地盤) ในการดูฮวงจุ้ยแบบเดิมในการค้นหาทิศทางน้ำ หรือ "หนับจุ้ย"(納水) ในสมัยราชวงศ์ฮั่น 漢朝 (ก่อน ค.ศ 202 ปี ถึง ค.ศ. 220 ปี)นั้นมีข้อผิดพลาดเป็นอย่างมาก
ด้วยเหตุนี้แผนภูมิฟ้าของท่าน"หยางกง"จึงถูกสร้างขึ้นโดยอ้างอิงตามหลักการหมุนไปทางซ้ายของท้องฟ้า และหมุนไปทางขวาของพื้นโลก ดังนั้นจึงเกิดระบบ"ขุนเขาคู่"สถิตย์อยู่ในภูมิฟ้า (天盤雙山) และจึงเกิดวิชา“เซียวซาหนับจุ้ยหวบ”( 消砂納水法) วัตถุประสงค์ก็เพื่อที่จะใช้ในการคัดเลือกชัยภูมิที่เป็นมงคลทั้งต้องพิจารณาจากตำแหน่งที่ตั้งและสภาพแวดล้อม และหาวิธีปรับแก้ชัยภูมิที่เสียให้กลับมาดี ซึ่งสามารถปรับใช้ได้กับฮวงจุ้ยคนเป็น หรือ ฮวงจุ้ยที่อยู่อาศัย (陽宅เอี๊ยงแทะ) กับ ฮวยจุ้ยสุสาน (陰宅อิมแทะ)
การดูฮวงจุ้ยโดยใช้หล่อแก ระบบ”ขุนเขาคู่” (雙山) นี้มีอยู่เฉพาะในแผนภูมิสวรรค์ หรือ ภูมิฟ้า(天盤)เท่านั้น ส่วนภูมิดิน และภูมิมนุษย์จะไม่มี คนสมัยก่อนเชื่อกันว่ามังกรนั้นมาจากท้องฟ้า ซึ่งนับว่าอยู่ภูมิฟ้า(天盤)และถือว่ามังกรเป็นหยาง(陽เอี๊ยง) ส่วนน้ำนั้นไหลไปมาอยู่บนพื้นดิน ซึ่งนับว่าอยู่ภูมิดิน(地盤) และถือว่าน้ำนั้นเป็นหยิน(陰อิม)
ท่านหยางกงพบว่าผลการเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุ (位移)ที่เกิดจากการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ของการหมุนซ้ายและขวาของท้องฟ้าและพื้นโลก ดังนั้นในการดูฮวงจุ้ยจึงควรเลื่อนภูมิฟ้าที่ใช้สำหรับการ"หนับจุ้ย"ออกไปทางขวา ดังนั้นท่านจึงเลื่อนทิศทางของ"ภูมิดิน"หมุนไปทางขวาออกไปอีก 7.5 องศา
แผ่นจาน ระบุ ภูมิฟ้า ภูมิดิน และภูมิมนุษย์
ระบบ”ขุนเขาคู่” (雙山) หรือระบบ 5 ธาตุ 3 ประสาน (三合五行) ซึ่งสถิตอยู่ใน ภูมิฟ้า(天盤) มี 12 เรือน 24 ขุนเขา ดังนี้
1.(壬子同宫),壬 (เริ่น-หยิม)-子(จื่อ-จื้อ-ชวด) สถิตย์ร่วมเรือนเดียวกัน
2.(癸丑同宫),癸 (กุ่ย-กุ่ย)-丑(โฉ่ว-ทิ่ว-ฉลู) สถิตย์ร่วมเรือนเดียวกัน
3.(艮寅同宫),艮 (เกิ่น-กึ่ง)-寅(อิ๋น-อิ๊ง-ขาล) สถิตย์ร่วมเรือนเดียวกัน
4.(甲卯同宫),甲 (เจี่ย-กะ)-卯(โหม่ว-เบ้า-เถาะ) สถิตย์ร่วมเรือนเดียวกัน
5.(乙辰同宫),乙 (อี่-อิก)-辰(เฉิน-ซิ้ง-มะโรง) สถิตย์ร่วมเรือนเดียวกัน
6.(巽巳同宫),巽 (ซวิ่น-สุ่ง)-巳(ซื่อ-จี๋-มะเส็ง) สถิตย์ร่วมเรือนเดียวกัน
7.(丙午同宫),丙 (ปิ่ง-เปี้ย)-午(อู่-โง่ว-มะเมีย) สถิตย์ร่วมเรือนเดียวกัน
8.(丁未同宫),丁 (ติง-เต็ง) -未(เว่ย-บี่-มะแม) สถิตย์ร่วมเรือนเดียวกัน
9.(坤申同宫),坤 (คุน-คุง)-申(เซิน-ซิง-วอก) สถิตย์ร่วมเรือนเดียวกัน
10.(庚酉同宫),庚 (เกิง-แก) -酉(โหย่ว-อิ้ว-ระกา) สถิตย์ร่วมเรือนเดียวกัน
11.(辛戌同宫),辛 (ซิน-ซิง)-戌(ซวี่-สุก-จอ) สถิตย์ร่วมเรือนเดียวกัน
12.(乾亥同宫),乾 (เฉียน-เคี้ยง)-亥(ไห้-ไห-กุน) สถิตร่วมเรือนเดียวกัน
โดยกึ่งกลางของ"ขุนเขาคู่"ในหล่อแก "ภูมิดิน"จะตรงกับกึ่งกลางของ 12 ก้านดิน(十二地支) พอดี และนำ 12 ก้านดิน กับ 12 วัฏจักร生旺墓 (แซอ๊วงหมอ) หรือ การเกิด-รุ่งโรจน์-การดับสูญ และระบบ 3 ประสาน(ซาฮะ三合)มาผสมกันจนกลายเป็น 4 ภาค (局) หรือ ซาฮะสี่เก๊ก(三合四局) ดังนี้
1.申子辰三合水局,ภาคธาตุน้ำประกอบด้วย 申(เซิน-ซิง-วอก) 子(จื่อ-จื้อ-ชวด)辰(เฉิน-ซิ้ง-มะโรง)
2.寅午戌三合火局,ภาคธาตุไฟประกอบด้วย 寅(อิ๋น-อิ๊ง-ขาล) 午(อู่-โง่ว-มะเมีย)戌(ซวี่-สุก-จอ)
3.巳酉丑三合金局,ภาคธาตุทองประกอบด้วย 巳(ซื่อ-จี๋-มะเส็ง)酉(โหย่ว-อิ้ว-ระกา)丑(โฉ่ว-ทิ่ว-ฉลู)
4.亥卯未三合木局。ภาคธาตุไม้ประกอบด้วย 亥(ไห้-ไห-กุน)卯(โหม่ว-เบ้า-เถาะ)未(เว่ย-บี่-มะแม)
ส่วนใน 12 วัฏจักร ลำดับ หมอโข่ว (墓庫)สุสานหรือคลังสมบัติ จะประกอบด้วย (1) 辰(เฉิน-ซิ้ง-มะโรง)เป็นธาตุน้ำ (2)戌(ซวี่-สุก-จอ)เป็นธาตุไฟ (3)丑(โฉ่ว-ทิ่ว-ฉลู)เป็ยธาตุทอง(4)未(เว่ย-บี่-มะแม) เป็นธาตุไม้ ดังนั้นแผนภูมิของ ภูมิดิน ภูมิฟ้า และแผนภูมิ 72 มังกร รวมเข้าด้วยกันเรียกว่า “หยางผาน” (楊盤ของท่านหยางกง คิดประดิษฐ์ขึ้นมา
**ระบบ12 วัฏจักร 生旺墓 (แซอ๊วงหมอ) จะอธิบายในบทต่อๆไป
***ระบบต้นธาตุ 4 เก็ก (四大局) คือ ต้นธาตุ 4 ประกอบด้วย ต้นธาตุทอง ต้นธาตุไม้ ต้นธาตุน้ำ ต้นธาตุไฟ( 金、木、水、火四大局)
ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่ง ในวิชาดูฮวงจุ้ยท่านปรมาจารย์ “ล่ายปู้อี” (賴布衣) ก็ประดิษฐ์”ภูมิมนุษย์”เพิ่มขึ้นมาอีก โดยได้นำระบบ 28 ดาวฤกษ์ผสานกับ 5 ธาตุ เพื่อนำมาใช้ใน “วิชาเซียวซาฉุกซั่วะ(消砂出煞) หรือ (收山出煞) โดยเฉพาะ ซึ่ง หมายถึงการ ทำลายปลายยอดเขา เนินดิน เพื่อค้นหาทิศทางที่เป็นมงคล หลีกเลี่ยงทิศทางที่ให้โทษ **คำว่า ซา (砂) หรือ ทราย อีกความหมายหนึ่งหมายถึงภูเขา
ดังนั้น “ภูมิคน” ในหล่อแกของท่านปรมาจารย์ “ล่ายปู้อี” (賴布衣)จึงเรียกว่า “賴盤” "ล่ายผาน" โดยมีข้อแตกต่างกันคือ 24 ขุนเขาบน"ภูมิมนุษย์"ได้หมุนทวนเข็มนาฬิกา 7.5 องศาเมื่อเทียบกับ 24 ขุนเขาบน"ภูมิดิน"