Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

พิธีตั้งศาลพระภูมิ

ตามธรรมเนียนมไทย บ้านทุกหลังจะต้องมีศาลพระภูมิ หลังจากทำพิธีปลูก เรือนเสร็จ ก็จะทำพิธีตั้งศาลพระภูมิด้วย ทั้งนี้เพราะถือกันว่า พระภูมิ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจำบ้านเป็นเทวาอารักษ์ ผู้คอยปกป้องรักษาคนในบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรือง แคล้วคลาดปลอถัยจากภยันตรายทั้งหลายทั้งปวง โดยผู้เป็นเจ้าของบ้าน จะต้องทำการเซ่นสรวงบูชา ด้วยความเคารพ พระภูมิจึงจะให้ความคุ้มครอง แต่หากกระทำในสิ่งตรงกันข้ามหรือไม่ให้ความเคารพและเซ่นสรวงบูชาพระภูมิ ก็อาจให้โทษ โดยดลบันดาลให้เกิดทุกข์ภัยได้เช่นกัน

 

 

ประวัติความเป็นมาของพระภูมิ

เนื่องมาแต่ครั้งบรรพกาล พระเจ้าทศราชครองราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี  พระองค์มีพระมเหสีทรงพระนามว่า นางสันทาทุกข์ พระนางได้ประสูติ พระโอรส ๙ พระองค์ คือ พระชัยยมงคล พระนครราช พระเทเพน พระชัยศพณ์ พระคนธรรพ์ พระธรรมโหรา พระวัยทัต พระธรรมิกราช และพระทาษธารา

ต่อมาเมื่อพระราชโอรสเจริญวัยเติบใหญ่แล้ว เจ้ากรุงพาลีได้ให้ไปครอบครองภูมิสถาน ต่างๆดังนี้

 

๑.      พระชัยมงคล ให้ไปครอบครอง                 เคหสถาน บ้านเรือน โรงร้านต่างๆ

๒.    พระนครราช ให้ไปครอบครอง                 ประตู ป้อมค่าย บันได

๓.     พระเทเพน    ให้ไปครอบครอง คอกสัตว์ต่างๆ

๔.     พระชัยศพณ์   ให้ไปครอบครอง คลังเสบียง ยุ้งฉาง

๕.     พระคนธรรพ์ ให้ไปครอบครอง โรงพิธารแต่งงาน และเรือนหอ

๖.      พระรรมโหรา ให้ไปครอบครอง                ภูเขา ป่า นา ท้องทุ่ง

๗.     พระวัยทัต      ให้ไปครอบครอง วัดวาอาราม ปูชณียสถานต่างๆ ฯลฯ

๘.     พระรรมิกราช                ให้ไปครอบครอง พืชพันธุ์ ธัญญาหาร อุทยาน สวนต่างๆ ฯลฯ

๙.      พระทาษธารา ให้ไปครอบครอง บึง บ่อ ลำธาร ห้วยหนอง ลำคลอง ฯลฯ

 

 

ต้องการขอฤกษ์ตั้งศาลพระภูมิ ตายาย ศาลพระพรหม กรุณาคลิ๊กที่แบนเนอร์นี้

 Top Open San

 

 

ครั้นจำเนียรกาลนานมา เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก  พระองค์ทรงขอพื้นที่จากพระเจ้ากรุงพาลี ๓ ก้าว เพื่อขอเป็นที่เผยแพร่ประกาศคำสอนของพระองค์  เมื่อพระภูมิ อณุญาติ พระพุทธองค์ทรงแสคงปาฏิหาริย์  ก้าวเพียง ๒ ก้าว ก็พ้นเขตพระภูมิ ทั้งหมด

บรรดาพระภุมิทั้งหลายจึงไม่มีที่อยู่ ต้องออกไปอยู่นอกฟ้า  ได้รับความทุกข์ยากอดอยาก ขาดแคลนเครื่องสังเวย จึงได้ทูลขอที่อยู่เดิมกลับคืน และได้รับพุทธาณุญาติทั้งได้พรว่า ผู้ที่จะทำกาลมงคลเกี่ยวแก่พื้นดิน ต้องสักการะสังเวยพระภูมอก่อน จึงจะได้รับความสุขสวัสดี คนทั้งหลายจึงต้องสักการะพระภูมิมาจนบัดนี้

อีกตำนานหนึ่ง กล่าว่าผู้ที่มาขอที่ดินจากพระเจ้ากรุงพาลี คือพระนารายณ์ ด้วยเหตุผลว่า พระเจ้ากรุงพาลีกระทำความเดือดร้อน แก่ราษฎร  พระนารายณ์จึงแปลงเป็นพราหมณ์มาขอที่ดินเพียง ๓ ก้าว ในขณะจะทำการหลั่งน้ำอุทิศให้

ฝ่ายพระศุกร์ ผู้เป็นาจารย์ของพระเจ้ากรุงพาลี รู้ว่าพระนารายณ์แปลงมา ได้แปลงกายเข้าไปขวางไม่ให้หลั่งน้ำออกจากเต้าได้ พระนารายณ์ จึงเอาหญ้าคาแทงเข้าไปทางปากน้ำเต้า ถูกตาของพระศุกร์บอด ทนความเจ็บปวดไม่ไหวจึงหนีไป พระศุกร์เลยตาบอดข้างหนึ่งตั้งแต่นั้นมา

เมื่อพระเจ้ากรุงพาลี หลั่งน้ำเต้าอณุญาติอย่างเป็นทางการแล้ว พรามห์แปลงก้าวขา เพียง ๒ ก้าวก็หมดสิ้นอาณาเขตของพระภูมิ สำหรับเรื่องราวในตอนท้ายก็คล้ายๆกัน

นอกจากพระภูมิทั้ง ๙ องค์ ตามที่กล่าวนามมาแล้วนั้น ยังมีบริวารอีก ๓ คน คือนาย จันทร์ดี นางจันทร์ดี  และจ่าลัมพระเชิงเรือน แม้จะนำเครื่องไปถวาย พึงสมุติตนเป็นคนใช้ ของพระภูมิทั้ง ๓ คนนั้น แล้วนำไปบูชา จะได้ลาภแก้วแหวนเงินทอง

 

 

 

 

การยกศาลพระภูมิ

การยกศาลพระภูมินั้น ต้องไปหาโหรที่มีความรู้ทางด้านนี้ให้ช่วยดูฤกษ์และมาทำพิธีและมีรายละเอียดเกี่ยวกับ การกำหนดฤกษ์ การเลือกสถานที่ ทิสที่ตั้งของศาลพระภูมิ เครื่องประกอบ อื่นๆ ฯลฯ

 

การเลือกทำเลที่ตั้ง

ส่วนใหญ่นิยมตั้งศาลไว้ริมรั้วบ้าน เพื่อพระภูมิจะได้มองเห็นศรัตรู หรือภัยอันตรายต่างๆ ได้สะดวก

โดยนิยมตั้งอยู่ ๓ ทิศ คือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันเฉียงเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้

 

สีของศาลพระภูมิ

ความจริงจะใช้สีอะไรก็ได้ แต่บางคนนิยม ใช้สีตามประจำวันเกิดของตัว คือ

 

เกิดวัน อาทิตย์       ใช้           สีชมพู หรือ เลืดหมู

เกิดวัน จันทร์         ใช้           สีเหลือง

เกิดวัน อังคาร        ใช้           สีม่วงแดง

เกิดวัน พุธ              ใช้           สีเขียว

เกิดวัน พฤหัสบดี  ใช้           สีทอง

เกิดวัน ศุกร์            ใช้           สีฟ้า

เกิดวัน เสาร์            ใช้           สีม่วง

 

 

ข้อควรรู้ต่างๆ เกี่ยวกับศาลพระภูมิ

 

๑.ตัวศาลเมื่อฝังดินแล้ว ควรให้ความสูงเพียงตา หรือ เกินกว่านั้น ตัวศาลมีขนาดพอเหมาะ เป็นไม้หรือปูนก็ได้ และมีบริวารของพระภูมิ อันประกอบด้วยตัวละครช้างม้าปั้น

๒. รูปั้นองค์พระภูมิ มือขวาถือพระขรรค์ มือซ้าย ถือสมุด หรือถุงเงินถุงทอง รวมทั้งเครื่องประกอบประจำศาล อันได้แก่ เจว็ด คือ องค์พระภูมิ ของใช้ อื่นๆ เช่น ดอกไม้ เชิงเทียน กระถางธูป ผ้าเหลืองสำหรับผูกเจว็ด ๑ผืน ผ้าพันศาล ๑ผืน ตุฝีกตาชาย ๑ คู่ หญิง ๑ คู่ ช้างม้า อย่างละ ๑ คู่  ละคร ๒ โรง ฯลฯ

๓. เมื่อทำพิธียกศาล ห้ามมิให้เงาบ้านทับศาลพระภูมิ หรือเงาพระภูมิ ทับบ้าน

๔. ห้ามมิให้หันหน้าเจว็ด (องค์พระภูมิ ) ตรงต่อประตูเข้าบ้าน เพื่อไม่ให้คนในบ้านเดินเข้าออกในทางทิศที่เหมือนกับเหยียบทิศที่พระภูมินอน หน้าศาลควรหันไปทางทิศที่โหรกำหนด

๕. การกำหนดทิศหน้าศาล มีดังนี้

ก. บ้านผู้มียศศักดิ์ ต้องหันหน้าศาลไปทางทิศอุดร (เหนือ)

ข.บ้านคฤหบดี เศรษฐี พ่อค้า ต้องทันหน้าศาลไปทางทิศ ทักษิณ (ใต้)

ค.พระภูมิ นา , สวน , ทุ่ง ต้องหันหน้าศาลไปทางทิศประจิม (ตะวันตก)

ง.พระภูมิปูชนียวัตถุ-สถาน บ่อ และศาลา ต้องหันหน้าศาลไปทางทิศบูรพา (บูรพา)

จ.บ้านสามัญ ต้องหันหน้าศาลไปทางทิศอิสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) และ อาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) ทิศใดทิศหนึ่ง (ไม่ถือเรื่องเคร่งครัดอะไรนัก)

 

 

 

 

 

 

 

เครื่องสังเวยในการยกศาลพระภูมิ

ก่อนที่จะทำพิธียกศาลพระภูมิ จะต้องจัดเตรียมเครื่งสังเวยไว้ ดังต่อไปนี้

-เครื่องสังเวย ชุดธรรมดาได้แก่หัวหมู บายศรีปากชาม มะพร้าวอ่อน กล้วย น้า ขนมต้มขาวต้มแดง

-เครื่องสังเวยชุดใหญ่ สำหรับจัดทำพิธีแบบสมบรูณ์ ได้แก่โต๊ะ ๑ ตัว เก้าอี้ ๑ ตัว ร่มกระดาษ ๑ คัน พานสำหรับวางเจว็ด พร้อมด้วยเงินบูชาครู ๖ บาท ธูปเทียนประจำทิศ อย่างละ ๓ เล่ม เทียนขี้ผึ้งหนัก ๒ บาท(ใส้ ๑๒ เส้น) ๒ เล่ม เทียนน้ำมนต์ หนัก ๔ บาท ๑ เล่ม

-ดอกไม้สีเหลือง ข้าวตอก งาคั่ว งา ถั่วทอง อย่างละ ๑ กระทง กระแจะ น้ำมันหอม บายศรีปากชาม

ไข่ลูกยอด ๑ ฟอง ล้อมรอบอีก ๓ ฟอง กล้วยน้ำ ๑ หวี มะพร้าวอ่อน ๑ ลูก ขนมต้มแดงต้มขาว ฟักทองแกงบวช ข้าวรำ ๘ ก้อน

-เป็ด ๑ ตัว ไก่ ๑ ตัว หัวหมู ๑ หัว ปูทะเลต้ม ๑ ตัว ปลาแป๊ซะ ๑ ตัว อ้อยควั่น ๑ จาน เนยและนม ๑ ถ้วย น้ำช่า ๑ ถ้วย หมากพลู บุหรี่ ๑ พาน ผ้าขาว ๒ ผืน (ใช้สำหรับผู้ทำพิธี ๑ ผืน ห่มสไบเฉียง ๑ ผืน)

 

 

 

 

 

 

 

 

ฤกษ์ยาม ต่างๆ

โหรจะเป็นผู้กำหนดฤกษ์ ส่วนใหญ่นิยมกันในตอนเช้า บางทีก็ทำในวันทำบุญขึ้นบ้านใหม่ การยกศาลพระภูมิจะดูจากฤกษ์ ดิถี วีนที่นิยมตั้งศาล และ วันห้ามในเดือนต่างๆดังนี้

 

ฤกษ์ที่นิยมใช้ในการตั้งศาลพระภูมิ

ฤกษ์ที่ใช้ในการตั้งศาลพระภูมิได้ มีด้วยกันทั้งหมด ๔ ฤกษ์ คือ ฤกษ์ราชา , ฤกษ์เทวี , ฤกษ์มหัทธโน และ ฤกษ์ภูมิปาโล

โดยดูจากตารางในการจัดลำดับดาวฤกษ์ที่สำคัญทั้ง ๒๗ ดาวดังนี้

๑๐

๑๑

๑๒

๑๓

๑๔

๑๕

๑๖

๑๗

๑๘

๑๙

๒๐

๒๑

๒๒

๒๓

๒๔

๒๕

๒๖

๒๗

ฤกษ์

ฤกษ์

ฤกษ์

ฤกษ์

ฤกษ์

ฤกษ์

ฤกษ์

ฤกษ์

ฤกษ์

ทลิน

มหัธ

โจโร

ภูมิ

เทศา

เทวี

เพชฌ

ราชา

สมณะ

โท

โน

 


ปาโล

ตรี

 


ฆาต

 


 


 

 

ทั้ง ๙ ฤกษ์นี้ มีเพียง ๔ ฤกษ์เท่านั้น ที่ใช้ในการตั้งศาลพระภูมิได้ คือในช่องที่พิมพ์ด้วยตัวเอน แต่ฤกษ์ที่นิยมใช้มากที่สุด คือ ภูมิ ปาโล ฤกษ์ เรียกตาม ภาษาโหรว่า ฤกษ์ ที่๔-๑๓-๒๒(ดูในตาราง)

อนึ่ง การกำหนด ฤกษ์ ทั้งฤกษ์ จันทร์ และลัคนา ต้องให้ถูกต้องกัน อย่าให้ดวงฤกษ์ เป็น อริ มรณะ วินาสน์ และ กาลกืณี โหรจะเป็นผู้ดูแลในเรื่องเหล่านี้ให้เอง

(หมายเหตุ****กฎเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น เป็นกฏเณฑ์ของหมอดูพื้นบ้าน ไม่ใช่กฏเกณฑ์ของระบบโหรฯเพราะโหรการใช้ฤกษ์ที่คำนวณจากดวงชาตาในระบบโหราศาสตร์ ที่คำนวนจากกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 27 ฤกษ์ และสมพงษ์กับดวงชาตาเจ้าการ สามารถใช้ได้ทุกวันไม่มียกเว้น)

 

ดิถี

ในการยกศาลพระภูมินั้น  ดิถีนครที่เหมาะควรจะเป็นวันขึ้น ๒,๔,๖,๙ และ ๑๑ ค่ำ ในวันแรมก็เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ท่านห้าม

(หมายเหตุ****กฎเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น เป็นกฏเณฑ์ของหมอดูพื้นบ้าน ไม่ใช่กฏเกณฑ์ของระบบโหรฯเพราะโหรการใช้ฤกษ์ที่คำนวณจากดวงชาตาในระบบโหราศาสตร์ ที่คำนวนจากกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 27 ฤกษ์ และสมพงษ์กับดวงชาตาเจ้าการ สามารถใช้ได้ทุกวันไม่มียกเว้น)

 

 

วันที่นิยมตั้งศาล

วันที่นิยมตั้งศาลพระภูมิ สถานที่ต่างๆ มีคดิโบราณดังนี้

วัน

ให้ตั้งศาลพระภูมิ

วันพุทธ  วันพฤหัส

เคหสถาน , บ้านเรือน

วันพฤหัสบดี วันศุกร์

นา , สวน , วัด

วันอาทิตย์ วันอังคาร และ วันพฤหัสบดี

ค่าย , คู , ประตู , หอรบ

วันเสาร์

ทวาร , บันได

วันจันทร์ วันพุทธ

โรงพิธีบ่าวสาว

(หมายเหตุ****กฎเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น เป็นกฏเณฑ์ของหมอดูพื้นบ้าน ไม่ใช่กฏเกณฑ์ของระบบโหรฯเพราะโหรการใช้ฤกษ์ที่คำนวณจากดวงชาตาในระบบโหราศาสตร์ ที่คำนวนจากกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 27 ฤกษ์ และสมพงษ์กับดวงชาตาเจ้าการ สามารถใช้ได้ทุกวันไม่มียกเว้น)

 

วันห้ามตั้งศาลพระภูมิในเดือนต่างๆ

เดือน

วันที่ห้ายกศาลพระภูมิ

๑ , ๕, ๙

วันพฤหัสบดี   วันเสาร์

๒ , ๖, ๑๐

วันพุทธ  วันศุกร์

๓, ๗ , ๑๑

วันอังคาร

๔ , ๘ , ๑๒

วันจันทร์

 

(หมายเหตุ****กฎเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น เป็นกฏเณฑ์ของหมอดูพื้นบ้าน ไม่ใช่กฏเกณฑ์ของระบบโหรฯเพราะโหรการใช้ฤกษ์ที่คำนวณจากดวงชาตาในระบบโหราศาสตร์ ที่คำนวนจากกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง 27 ฤกษ์ และสมพงษ์กับดวงชาตาเจ้าการ สามารถใช้ได้ทุกวันไม่มียกเว้น)

การปรับพื้นและการขุดหลุม

เมื่อโหรมาดูสถานที่ และขแอณุญาติให้ตั้งศาลพระภูมิได้แล้ว ก่อนถึงวันทำพิธียกศาล ควรปรับพื้นดินให้เรียบ พูนดินให้สูงขึ้นมาก่อเป็นฐานกว้างยาวด้านละ ๑ วา ให้เป็นรูป สี่เหลี่ยมจตุรัส สวยงาม


 

พิธียกเสาพระภูมิ

เมื่อตระเตรียมเครื่องเซ่นสังเวย และเตรียมการพร้อมแล้ว ครั้นถึงฤกษ์ โหรก็จุดธูปเทียน รายทั้ง ๘ ทิศ

แล้วเริ่มทำน้ำมนต์ธรณีสาร นำน้ำมนต์ลูบหน้าเสยผมตนเองและประพรมทั่วบริเวณเนินดิน เอาเสียมมากระทุ้งหรือขุดดินพอเป็นพิธี ๘ ครั้งพร้อมว่าคาถากำกับ แล้วจึงมอบให้คนทำหน้าที่ขุดดินทำการขุดดินต่อไป

ในการขุดหลุมเสาพระภูมินั้น ต้องกะระยะให้ฐานอยู่กึ่งกลางของฐานดินที่ทำไว้พอดี  ขุดให้ลึกพอสมควร กะว่าเมื่อยกเสาตั้งแล้ว ศาลนั้นสูงได้ระดับตาของเจ้าของบ้าน หรือเรียกว่าสูงเพียงตา

ขุดหลุมเสร็จแล้ว ให้โหรเขียนยันต์ใส่ก้นหลุม ๑ แผ่น แล้วยกเสาลงหลุม ระวังอย่าให้เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง เอาดวงชะตาเจ้าของบ้านกับดวงชะตาพระภูมิ รวม ๒ แผ่น วางไว้บนยอดเสา ก่อนนำยันต์มาวางต้องเจิมเสียก่อน

เมื่อตั้งเสาเสร็จแล้ว โหรจะนำน้ำมนต์ ประพรมบริเวณโคนเสา ว่าคาถากำกับ แล้วเจิมปลายเสาทางทิศตะวันออก

การถอนศาลพระภูมิเก่า

หากมีศาลพระภูมิเก่าอยู่แล้ว ถ้าต้องการจะตั้งใหม่ ต้องทำพิธีถอนศาลพระภูมิเก่าออกเสียก่อน โดยสังเวยพระภูมิเก่าไว้ ๓ วัน ถ้ามีนิมิตไม่ดี ให้งดตั้งศาลพระภูมิใหม่ ถ้านิมิตดี จึงค่อยทำพิธีตั้งศาลพระภูมิใหม่

ก่อนอื่น ต้องอัญเชิญพระภูมิเก่าออกก่อน ด้วยคำเชิญ ให้ทำพิธีถอน คล้ายกับถอนสีมา โดยทำน้ำมนต์ธรณีสารรดเสาพระภูมิ และว่าคาถาถอนพร้อมกันไป เสร็จแล้ว ยอกพระภูมิและถอนเสาออกเสีย อย่าทำลายเป็นอันขาด ให้ลอยน้ำหรือฝากพระไว้ในวัด แล้วจึงทำพิธียกศาลพระภูมิใหม่ได้

 

 

ทิศที่เจ้ากรุงพาลีนอน

เจ้ากรุงพาลีและพระภูมิ จะนอนหันศรีษะไปในทิศต่างๆ กันในแต่ละวัน แม้จะนำเครื่งสังเวยไปถวายพระภูมิ จงนำเข้าไปทางทิศปลายเท้าจึงจะมีความสุขความเจริญ ห้ามนำเข้าไปทิศหัวนอนมี ดังนี้

วัน

ทิศของพระภูมิ

วันอาทิตย์

พระภูมินอนหันศรีษะไปทางทิศบูรพา

ปลายเท้าอยู่ทางทิศประจิม

วันจันทร์

พระภูมินอนหันศรีษะไปทางทิศอาคเนย์

ปลายเท้าอยู่ทางทิศพายับ

วันอังคาร

พระภูมินอนหันศรีษะไปทางทิศทักษิณ

ปลายเท้าอยู่ทางทิศอุดร

วันพุทธ

พระภูมินอนหันศรีษะไปทางทิศหรดี

ปลายเท้าอยู่ทางทิศอีสาน

วันพฤหัสบดี

พระภูมินอนหันศรีษะไปทางทิศประจิม

ปลายเท้าอยู่ทางทิศบูรพา

วันศุกร์

พระภูมินอนหันศรีษะไปทางทิศพายับ

ปลายเท้าอยู่ทางทิศอาคเนย์

วันเสาร์

พระภูมินอนหันศรีษะไปทางทิศอุดร

ปลายเท้าอยู่ทางทิศทักษิณ

 


คาถาบูชาพระภูมิ

คาถานี้ใช้บูชาพระภูมิทุกวัน ท่านและครอบครัวจะมีแต่ความสุขความเจริญล

ยัสสานุสะนะเณนาปิ  อันตะลิกเขปิ  ปาณิโน  ปาติฎฐะธิคัจฉินติ  ภูมิยัง  วิยะ  สัพพะทา  สัพพูปัททะวะชาลัมหา  ยักชะโจรา  ทิสัมภวะ  คะณะณานัญ  จะ  มุตตานัง  ปะริตันตัม  ภะณามะ  เหฯ

 

คาถาถวายเครื่องสังเวยพระภูมิ

คาถานี้ใช้เมื่อนำเครื่องสังเวยไปถวายพระภูมิ

นะโม เม พระภูมิเทวานัง ธูปะทีปะ จะ ปุปผัง สักการะวันทะนัง สูปะพยัญชนะสัมปันนัง  โภชะนานัง  สาลีนัง  สะปะริวารัง  อุทะกังวะรัง  อาคัจฉันตุ  ปะริภุญชันตุ  สัพพะทา  หิตายะ  สุขายะ  สันติเทวา  มะหิทธิกา  เตปิ  อัมเห  อะนุรักชันตุ  อาโรคะเยนะ  สุเขนะ  จะ

 

คำลาเครื่องสังเวยพระภูมิ

อายันตุ โภนโต อิธะ ทานะสีละ  เนกขัมมะปัญญา  สะหะ  วิริยะ  ขันตี  สัจจาธิฏ  ฐานะ  เมตตุเปกขายุทธายะโว  ทิสสาวินะติ  อะเสสะโต.

 

คำบูชาพระภูมิด้วยดอกไม้ธูปเทียนหรือพวงมาลัย

ภุมมัสมิง ทิสาภาเค                                สันติ  ภุมมา  มะหิทธิกา

เตปิ  อัมเห  อะนุรักขันตุ       อาโรคะเยนะ  สุขเนะ  จะฯ

 

คาถาขอพรพระภูมิ

สิโรเม  ขอเดชะพระภูมิเทวารักษาที่  รับพระพรจากเจ้ากรุงพาลีมา  ให้วัฒนาถาวร  สิ่งสุข แด่ (ชื่อ....)

ให้มั่งมีเงินทองและทรัพย์พัสดุข้าวของเนืองนอง  ทั้งพร้องพงศ์เผ่าบริวาร  ลูกหลานเหลนลื้อบันลือ สาธุชนแซ่ซ้องร้องสรรเสริญ โสตถิ ชัยยะ  ภะวันตุ เต (ถ้าขอพรเพื่อตัวเองให้เปลี่ยนจาก เต เป็น เม)