Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

 

ในที่ นี้จะอธิบายเรื่องธาตุต่างๆที่ปรากฏในศาสตร์โบราณแขนงต่างๆ และเป็นพื้นฐานของคติความเชื่อและปรัชญาของปราชญ์โบราณ เราจะเห็นการอ้างอิงเรื่องธาตุเป็นแม่บทในการศึกษาศาสตร์หลายๆแขนง เช่น วิชาโหราศาสตร์ทั้งของไทยและจีน วิชาอายุรเวทและรวมถึงธาตุที่ปรากฏในคัมภีร์พระอภิธรรมของพุทธศาสนา โดยธาตุได้แบ่งเป็นประเภทต่างๆดังนี้

1. แม่ธาตุ หรือ มหาภูตรูป ๔ ได้แก่ ธาตุทั้ง ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และ ธาตุลม ุซึ่งเป็นรูปใหญ่ที่ปรากฏชัด มีอยู่ในร่างกายของคนสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต มหาภูตรูป ๔ ได้ชื่อว่าเป็นแม่ธาตุ หรือ ต้นธาตุ ซึ่งเป็นประธานของรูปทั้งหลาย รูปอื่น ๆ จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยแม่ธาตุทั้ง ๔ นี้ เหมือนแผ่นดินเป็นที่อาศัยของสิ่งทั้งปวง ดังนั้น ธาตุทั้ง ๔ นี้ จะอยู่รวมกันเสมอไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้เลย แม้ในธาตุทั้ง ๔ ก็ต้องอาศัยซึ่งกันและกันด้วย เช่น  ธาตุดิน จะมีอยู่ได้ก็ต้องอาศัยธาตุอีก ๓ ธาตุ คือ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลมเรื่องธาตุมีความสับสนกันโดยชื่อ ลักษณะ ความเข้าใจไม่ตรงกัน โดยทั้งจีนและฮินดู มี ธาตุ 4 เหมือน เรียก 四大(มหาภูติรูป 4) คือ 水火风土,

 

2. แม่ธาตุโดยนัยอภิธรรม หรือ ธาตุ 6

ธาตุ ๖ ประกอบด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ลม ธาตุอากาศ และธาตุวิญญาณ โดยที่ธาตุ ๔ ธาตุแรก คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม ก็เป็นเช่นเดียวกับในธาตุ ๔ นั่นเอง ธาตุอากาศซึ่งภาษาบาลีเรียกว่า อากาสธาตุ คือ ช่องว่างระหว่างธาตุดินและธาตุน้ำซึ่งเป็นที่อาศัย หรือเป็นที่เคลื่อนไปมาของวาโยธาตุ ซึ่งจริง ๆ แล้วอากาสธาตุนี้ก็มีอยู่ในธาตุ ๔ เช่นกัน แต่เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดเข้าใจได้ยากแก่คนทั่วไป เพราะเกรงว่าจะเป็นที่สับสนกับธาตุลม โดยธาตุลมหมายเอาอาการเคลื่อนไหวคือธาตุที่เคลื่อนไหวไปมาได้ แต่อากาสธาตุคือพื้นที่ที่เป็นช่องว่าง ด้วยเหตุนี้จึงได้นำมากล่าวถึงในธาตุ ๖ นี้ซึ่งเป็นการอธิบายให้แก่ผู้ที่บำเพ็ญสมาธิภาวนา  ส่วนวิญญาณธาตุเป็นธาตุรับรู้ที่มีอยู่เฉพาะในสิ่งมีชีวิตเท่านั้น ซึ่งจะได้อธิบายในรายละเอียดต่อไป เกี่ยวกับธาตุ ๖ นี้  พระธรรมปิฎกได้ให้คำอธิบายไว้ว่า

“ธาตุ ๖ ได้แก่ ธาตุ ๔ หรือมหาภูต ๔ คือปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ นั้น กับเพิ่มอีก ๒ อย่าง คือ อากาสธาตุ สภาวะที่ว่าง โปร่งไป เป็นช่อง วิญญาณธาตุ สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ ธาตุรู้ ได้แก่ วิญญาณธาตุ ๖ คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุ”

 

 

 

3.ธาตุทั้ง 5 ในคติของลัทธิเต๋า

จีนจะมี แม่ธาตุ อีกแบบ โดยนัยของลัทธิเต๋า เรียก เบจญมหาภูตรูป หรือธาตุ 5 เรียก 五大 มีดิน น้ำ ไฟ ลม และอากาสธาตุ โดย 风ธาตุลม คือ ไม้木,น้ำและไฟ 水,火 เหมือนกับธาตุ 4 ,地 ธาตุดิน คือดิน 土,空 อากาศธาตุ คือธาตุ ทอง 金, เพราะคุณลักษณะของธาตุทองก็คือ การสูญสลาย และ การแปรสภาพ ซึ่งเป็นคุณลักษณะของ อากาศธาตุ

 

 

4.ธาตุทั้ง 5 ในการแพทย์แผนจีน  มาจาก ปัญจมหาภูต 5

ตำรา แพทย์จีนอธิบายพลังทั้ง 5 ว่าด้วยเรื่องชี่ในร่างกายมี 5ประเภท ( 五惡/五氣 ) 1.ลมในร่างกาย(风)คือ พลังธาตุไม้ 2.ความร้อน(热)คือพลังจากธาตุไฟ (3)ความชื้นในร่างกาย( 湿)มาจากพลังธาตุดิน (4)ความแห้ง(燥)มาจากพลังธาตุทอง (5) ความหนาวเย็น(寒) มาจากพลังธาตุน้ำ

หวงตี้เน่ยจิง 《黄帝内经》 คัมภีร์แพทย์จีนได้กล่าว อธิบายเรื่องธาตุดังนี้

「東方生風,風生木,木生酸,酸生肝,肝生筋,筋生心……
ลม เกิดจากทิศตะวันออก ,ลมก่อให้เกิดไม้,ไม้ก่อให้เกิดรสเปรี้ยว,รสเปรี้ยวก่อให้เกิดตับ,ตับก่อให้ เกิดกล้ามเนื้อ,กล้ามเนื้อก่อให้เกิดหัวใจ.......

在天為風,อยู่บนฟ้าก็คือลม 在地為木,อยู่บนดินก็คือไม้ 在體為筋 อยู่ในกายก็คือกล้ามเนื้อ,
在 藏為肝อยู่ในท้องก็คือตับ,在色為蒼 อยู่ในสีก็คือสีเขียว,在音為角,在聲為呼อยู่ในเสียงก็คือเสียงหัวเราะและร้องตะโกน,在 變動為握 อยู่กิริยาคือการจับยึด,在竅為目อยู่บนใบหน้าก็คคือตา,
在味為酸 อยู่ในรสก็คือเปรี้ยว,在志為怒 อยู่ในใจคือความโกรธ。

怒傷肝ความโกรธทำลายตับ,悲勝怒 มีความเมตตาย่อมเอาชนะความโกรธ;
風傷筋,ธาตุลมทำลายกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ,燥勝風 ใช้ความแห้งเอาชนะธาตุลม;
酸傷筋 รสเปรี้ยวทำลายกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น,辛勝酸 ใช้รสเผ็ดทำลายรสเปรี้ยว。

สรุปว่าธาตุไม้ ของระบบพลัง(ธาตุ) 5 ก็คือธาตุลม ในระบบ ธาตุ 4

 

 

แพทย์จีนอธิบายคุณลักษณะเฉพาะธาตุมีดังนี้

เรามาดูคำอธิบายพลัง(ธาตุ)ต่างๆทั้ง 5 จากคัมภีร์โบราณของจีน
1.“金曰从革” ทอง(โลหะ) คือการแปรสภาพ ,代表沉降 แสดงการตกผลึก、肃杀 บีบเค้น 、收敛 สูญสลาย等性质 เป็นคุณะลักษณะ,在人体为肺(臟)和大腸(腑)ในร่างกายมนุษย์หมายถึงปอดและลำไส้ใหญ่。

2.คุณลักษณะ ของธาตุไม้ คือ “木曰曲直”,代表生长、升发、条达、舒畅的功能,在人体为肝(臟)和膽(腑)。 หมายถึงการเกิดขึ้นในแนวเส้นตรง ,แสดงถึงการเติบโต ,การลอยขึ้นไป,การพองออก ขยายออก ,ความสุข ปลอดโปร่งโล่งสบาย ,หมายถึงตับ และดี ในมนุษย์ ***โปรดสังเกตุว่าความหมายตรงกับดาวพฤหัสทั้งหมด **

3. 水 曰润下”น้ำคือการลื่นไหล,代表了滋润 แสดงความชื้น、下行 ไหลลงต่ำ、寒凉 เหน็บหนาว、闭藏 กับเก็บซ่อนไว้的性质เป็นคุณะลักษณะ,在人体为肾(臟)和膀胱(腑)ในร่างกายมนุษย์หมายถึงไต และกระเพาะปัสสาวะ。

4.“火 曰炎上”ไฟคือการลุกโชติช่วง,代表了温热 แสดงความอุ่นและร้อน、向上等性质 มีสภาพพุ่งขึ้นไปข้างบน,在人体为心(臟)和小腸(腑)。ในร่างกายมนุษย์หมายถึงหัวใจและลำ ไส้เล็ก。

5.“土 曰稼穡”ดินคือแผ่นดิน,代表了生化แสดงการเกิดและการแปรสภาพ、承载 เกาะติด、受纳 รับและเก็บเอาไว้等性质เป็นคุณะลักษณะ,在人体为脾(臟)和胃(腑)。ในร่างกายมนุษย์หมายถึง ม้ามและกระเพาะ。

ส่วน ในการแพทย์แผนจีน ก้นำโครงสร้างจักรวาล ดาวเคราะห์ทั้ง 7 มาอธิบาย พลังงานในร่างกายมนุษย์ ทั้งการ เติบ โต การเสื่อมถอย การแตกทำลาย และโรคภัยต่างๆ ซึ่งนักโหราศาสตร์รู้จักกันดี ในชื่อของ "โหราเวชศาสตร์" ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งที่ สัมพันธ์กับ "อายุรเวท"

อายุรเวท เป็นมีพื้นฐานมาจากอภิปรัชญาของฮินดู"ปัญจมหาภูต" (ธาตุทั้ง 5) ลองเปรียบเทียบดูความสัมพันธ์กันกับธาตุต่างๆ ของจีนกับอินเดีย

 

5 ธาตุในอายุรเวท

พลัง(ธาตุ)ทั้ง 5 ในแพทย์จีน

เตชะ - ธาตุไฟ

ไฟ-ร้อน,อุ่น,พุ่งไปข้างบน,โชติช่วง

ชละ - ธาตุน้ำ

น้ำ-น้ำคือการลื่นไหล,ความชื้น、ไหลลงต่ำ、เหน็บหนาว、กับเก็บซ่อนไว้

ปฐวี - ธาตุดิน

ดิน-การเกิดและการแปรสภาพ、เกาะติด、รับและเก็บเอาไว้,ความชื้น

วายุ - ธาตุลม

ไม้-การเกิดขึ้นในแนวเส้นตรง ,แสดงถึงการเติบโต ,การลอยขึ้นไป,การพองออก ขยายออก ,ความสุข ปลอดโปร่งโล่งสบาย,ลมในร่างกาย

อากาส - อากาศธาตุ

ทอง-การแปรสภาพ , แสดงการตกผลึก、บีบเค้น 、สูญสลาย,ความแห้ง

 

 

6.ธาตุทั้ง 5 ในโหราศาสตร์จีน มาจากดาวเคราะห์ทั้ง 5

จากการ อธิบายเบื้องต้น  ระบบธาตุ 4 เป็นพื้นฐานที่โหราศาสตร์ไทย-ฮินดูนำมาเป็นหลักใช้ในการวินิจฉัยและการ พยากรณ์ แต่หลายท่านสงสัยว่าทำไม่โหราศาสตร์จีนกลับมี 5 ธาตุ และแตกต่างจากธาตุในมหาภูติรูป 4 อย่างไร

ความ จริงหลัก 5 ธาตุในวิชาโหราศาสตร์จีน ที่อ้างอิงเรื่อง 5 ธาตุ(ธาตุดิน ธาตุทอง ธาตุน้ำ ธาตุไม้ ธาตุไฟ)นั้นกลับไม่ใช่ความหมายของธาตุ 4 (ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ)ที่อธิบายมาข้างต้น  แต่ธาตุของจีนคือการอธิบายพลังของดาวเคราะห์ทั้ง 7  (ซึ่งควรจะเรียกว่า”พลัง”มากกว่าคำว่า”ธาตุ” )ดังนี้คือ

  1. ธาตุดิน       หมายถึงพลังของดาวเสาร์ 土星
  2. ธาตุทอง     หมายถึงพลังของดาวศุกร์ 金星
  3. ธาตุน้ำ        หมายถึงพลังของดาวพุธ  水星
  4. ธาตุไม้       หมายถึงพลังของดาวพฤหัส  木星
  5. ธาตุไฟ       หมายถึงพลังของดาวอังคาร 火星

 

 

แต่ ธาตุ(พลัง)ทั้ง 5 นี้ขาดพลังในตัวเอง จำเป็นจะต้องมีพลังแม่เหล็กไฟฟ้า หรือขั้วบวกและลบ มาช่วยผลักดันให้ก่อเกิดพลัง โดยมีพลังไฟฟ้า 2 ขั้วมาช่วยคือ

 

  1. พลังอิม (หยิน)                    หมายถึงพลังของดาวจันทร์ 太阴
  2. พลังเอี๊ยง (หยาง)                หมายถึงพลังของดาวอาทิตย์ 太阳

 

อาจจะ กล่าวได้ว่ารากฐานของอภิปรัชญาจีน ว่าด้วยเรื่อง ต้นกำเนิดโลกและความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง มาจาก อิทธิพลของดาวเคราะห์ทั้ง 7 เป็นมูลฐาน ซึ่งก็ไม่ได้ขัดแย้งอะไรกับ ธาตุ 4 หรือ ธาตุ 5 ธาตุ 6 ดังที่ได้กล่าวมา เพียงแต่อธิบายกันคนละแบบเท่านั้น เช่น เรื่อง ธาตุไม้ ก็ไม่ใช่ไม้จริงๆ แต่เป็นคุณลักษณะ  เหมือนไม้ และ อาโปธาตุ ของไทยก็ไม่ใช่น้ำจริง ควรจะเรียกธาตุทั้ง 5 ของจีน ว่า"พลัง"มากกว่า

จริงๆ แลัว 5 ธาตุ หรือ (五行 อู่ สิง) ไม่ใช่ the five elements (metal, wood, water, fire , earth) แบบ 100 เปอร์เซ็นต์ ที่มักจะแปลอย่างนี้ก็เพราะกลัวฝรั่งไม่เข้าใจ และค่าว่า (行 สิง)เป็นการอธิบายปรากฏการณ์ (phenomena) ชนิด (type) สภาวะ (state) นิสัย (Behavior) การกระทำ (action) ของสรรพสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ 5 คุณลักษณะ ดังนั้น (五行 อู่ สิง) น่าจะเป็น "เบญจคุณะ" ไม่น่าจะเป็น "เบญจธาตุ"ในความหมายเชิงลึก หรืออาจจะเรียก ง่ายๆว่า"พลังทั้ง 5"

ค่า ว่า"ธาตุ" ที่แปลว่า elements ในภาษาจีนจะใช้คำว่า 元素 (หยวนซู่) ซึ่งหมายถึงธาตุทางเคมี และคำว่า 要素 (เอี้ยวซู่) ซึ่งหมายถึง ธาตุต้นกำเนิดสรรพสิ่ง คือ ดิน น้ำลมไฟ

ดัง นั้นในการทำความเข้าใจเรื่อง พลังทั้ง 5 ของจีน คือ ดิน น้ำ ไฟ ไม้ ทอง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ให้เข้าใจความหมายไปในทางดวงดาวทั้งทั้ง 5 คือ ดิน - ดาวเสาร์ ,น้ำ - ดาวพุธ,ไฟ-ดาวอังคาร,ไม้-ดาวพฤหัส,ทอง -ดาวศุกร์ จะทำให้เข้าใจความสัมพันธ์ไม่ปนเปกับ มหาภูติรูปทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลมไฟ เพราะพลังทั้ง 5 นั้นก็มีมหาภูติรูป 4 เป็นรากฐานอยู่แล้ว

ใน อภิปรัชญาของจีน ได้ทำการอธิบายความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง ผ่านปรากฏการณ์ของ ดาวเคราะห์ทั้ง 5 +อาทิตย์+จันทร์ (พลังทั้ง 5 +หยิน+หยาง) และในระบบจักรวาลวิทยา(แบบจีน) ได้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างฟ้า-ดิน และมนุษย์ เป็นหนึ่งเดียวกัน

ใน โหราศาสตร์จีนทุกๆระบบ ได้อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ของชีวิตมนุษย์ผ่านอิทธิพลจาก ดาวเคราะห์ทั้ง 7 ที่เรียกว่า พลัง(ธาตุ)ทั้ง 5 +หยิน+หยาง (อาทิตย์+จันทร์) ที่เรารู้จักกันดีในเรื่องพลังรังสีของดาวเคราะห์

มีข้อมูลจากคัมภีร์ดาราศาตร์โบราณ ของจีน ชื่อ เทียนเหวินจื่่อ(天文志) อ้างอิงในเรื่อง 5 ธาตุ มาจากดาวทั้ง 5 http://www.baike.com/wiki/%E5%A4%A9%E6%96%87%E5%BF%97...

 

คัมภีร์ นี้ เขียนขึ้นในสมัย ตงฮั่น (ประมาณ ค.ศ. 25- ค.ศ.200) เป็นคัมภีร์ว่าด้วยเรื่องจักรวาลและดวงดาวต่างๆมีทั้งหมด 100 บรรพ เขียนด้วยภาษาโบราณ(เหวินเหยียนเหวิน) บรรพที่ 4、天文志:北斗七星 ดาวปักเต้าทางทิศเหนือทั้ง 7,所谓 เรียกว่า“旋、玑、玉衡以齐七政”การสถิตย์ ,การโคจร,ในจักรราศี เหมือนกับดาวชีเจิ้ง -(สัปตเคราะห์-ดาวเคราะห์ทั้ง7)。........................。斗为帝车 ดาวเคราะห์ทั้ง 7 นั้นประดุจราชรถ,运于中央 เคลื่อนที่ไปสู่จุดศูนย์กลาง,临制四海 ก่อให้เกิดมหาสมุทรทั้ง 4。分阴阳 แบ่งหยินและหยาง,建四时ก่อให้เกิดฤดูทั้ง4,均五行 หมุนเวียนเป็น 5 ธาตุ,移节度 เป็นกฏเกณฑ์แห่งการผันแปร,定绪纪 การกำหนดจุดเริ่มต้นของแต่ละปี,皆系于斗 ทั้งหมดนี้ล้วนมากจากสัปตเคราะห์-ดาวเคราะห์ทั้ง7。

ส่วน เรื่องการส่งเสริมการทำลาย(พิฆาต) ต่างๆของระบบธาตุทั้ง 5 ของจีน ซึ่งหากเป็นพลังจากดาวเคราะห์แล้ว ก็น่าจะเทียบได้กับการเป็นคู่มิตร-คู่ศัตรูระหว่างดาวเคราะห์ มีการส่งเสริมหักล้างกันตามทฤษฏีดาวในแต่ละระบบ มีการเป็นกลางต่อกัน และไม่จำเป็นต้องเหมือนกันกับระบบดาวของไทยหรือฮินดู ซึ่งมีดาวคู่มิตร-ศัตรูต่างกัน แต่โดยรวมแล้ว ก็พอที่จะทำให้เข้าใจทฤษฎีหลักการและเหตุผลเรื่องที่มาและความสัมพันธ์ของ ของธาตุต่างๆ ได้มากพอสมควร

*********************************************