Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

TriYang 3

ตรียางค์ ในโหราศาสตร์พระเวท คืออะไร ใช้อย่างไร ตอนที่ 3

เทรษกาณะ หรือ เทรกกาณะ ( द्रेष्काण หรือ द्रेक्काण) เป็นหนึ่งในการแบ่งราศีเป็น 16 ส่วน หรือ วรรค  (โษทศวรรค) ซึ่ง มหาฤษีปะราสาระ อธิบายให้แก่ ฤษีไมตรียะ ผู้เป็นศิษย์เอก ต้องการให้มหาฤษีผู้เป็นอาจารย์อธิบายเกี่ยวกับเรือนต่างๆ 

ซึ่งจริงๆคัมภีร์โหราศาสตร์พระเวทมาตรฐานที่ถือเป็นคัมภีร์หลักของหลักวิิชานี้ คือ คัมภีร์ พฤหัต ปะราสาระ โหราศาสตรา  ก็คือบทสรุปจากสนทนาถามตอบระหว่างศิษย์กับอาจารย์ ก็คือมหาฤษีปะราสาระ อธิบายให้แก่ ฤษีไมตรียะ มหาฤษีปะราสาระ  กล่าวว่าความสัมพันธ์ในเรื่องเพื่อนฝูง พี่น้อง จะต้องพิจารณาจาก ดาวเคราะห์ที่สถิตย์ในตรียางค์ หรือเจ้าตรียางค์(เทรษกาณะ) เท่านั้น

ในคัมภีร์โหราศาสตร์พระเวทโบราณที่เป็นคัมภีร์หลักทั้งหมดทุกๆคัมภีร์ ได้มีการอธิบายถึงวรรค(ส่วน)ทั้ง 16 วรรค และการจัดตำแหน่งดาวเคราะห์ต่างๆ ลงในวรรคทั้ง 16 เหมือนกัน  ซึ่งองค์ประกอบย่อยทั้ง 16 ส่วน หรือ วรรค(โษทศวรรค)ถือเป็น1ใน 4มิติ ขององค์ประกอบพื้นฐานของโหราศาสตร์พระเวท และองค์ประกอบย่อยในแต่ละวรรคก็มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาแยกกันอย่างอิสระให้ลึกซึ้งในแต่ละวรรค จากนั้นก็ค่อยนำมาพิจารณาร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว

เทรษกาณะ หรือ ตรียางค์ คือ 1 ใน 3 ของราศี หรือ 1 ใน 36 ส่วนของจักรราศี ซึ่งก็คือการแบ่งราศีออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆ กัน ซึ่งแต่ละส่วนมีระยะ 10 องศา(1ตรียางค์) ในทุกๆราศี ในตรียางค์แรก(ปฐมตรียางค์)จะครองโดยเจ้าเรือนของราศีนั้นเอง ซึ่งก็คือดาวเกษตรประจำราศี ส่วนตรียางค์ที่สอง(ทุติยะตรียางค์)จะครองโดยดาวเกษตรเจ้าเรือนที่ 5 ซึ่งตรีโกณจากราศีนั้น และตรียางค์ที่สาม(ตติยะตรียางค์)จะครองโดยเจ้าเรือนที่ 9 ซึ่งตรีโกณจากราศีนั้น เช่นกัน

นอกจากนี้ ยังมีวิธี การจัดวาตำแหน่งของตรียางค์ที่แตกต่างๆ หลายๆแบบ เช่น โหราศาสตร์ระบบไชมิณี หรือใน คัมภีร์ละฆุ ปะราศะรี   लघु पराशरी  ก็มีวิธีแตกต่างกัน เช่น คัมภีร์ละฆุ ปะราศะรี มีกฏว่าตรียางค์ที่ 2 และที่ 3 คือเจ้านวางค์ที่ 5 และ 9 ของราศีนั้นๆ

แต่กัลป์ปลาถะแห่งโสมนาถ ระบุว่า ตรียางค์ทั้ง12ตรียางค์นับตั้งแต่ราศีเมษถึงราศีกรกฎ ทั้ง 4 ราศี จะมีเจ้าตรียางค์จากดาวเกษตรทั้ง 12 ราศีเรียงลำดับตามเข็มนาฬิกาจากเมษจนถึงมีน และในทำนองเดียวกันสำหรับส่วนที่เหลือ เช่น จากราศีสิงห์ถึงราศีพิจิก และจากราศีธนูถึงราศีมีน ก็จะมีเจ้าตรียางค์เรียงตามๆกันไปตามลำดับ ซึ่งโหราจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ เช่น วราหะมิหิรา ยึดมั่นในวิธีปะราศะรี และได้อธิบายการจัดวางตรียางค์ทั้ง 36 ตรียางค์ไว้ในคัมภีร์พฤหัตชาตก อัทธยายะที่ 27

ส่วนในระบบไชมิณี ได้กล่าวถึง วฤทธ การะกะ ในปะริวฤตติ เทรษกาณะ परिवृत्ति द्रेष्काण  ได้จัดลำดับคล้ายกับนวางค์จักร

อย่างไรก็ตามโดยหลักการแล้วดาวเคราะห์จะมีกำลังก็ต่อเมื่อสถิตอยู่ในตรียางค์ของตัวเอง ในกรณีที่ไม่ทราบว่าเกิด ระบบปะราศะรี แนะนำให้ใช้ตรียางค์ที่ถูกดาวอาทิตย์ครองในช่วงเวลาที่เจ้าชะตาถาม(กาลชะตา)เพื่อตรวจสอบลัคนาเมื่อไม่ทราบเวลาเกิด