3.7 ยุทธพละ
การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามภาวะที่ดาวสัปประยุทธกัน [ดาวเคราะห์ยุทธ หมายถึงดาว 2 ดวงเสวยองศาลิปดาเท่ากัน(หรือกุมกัน ) ดาวใดอยู่ค่ากรันติมากกว่าดาวนั้น ชนะเคราะห์ยุทธและจะได้กำลังจากดาวอื่นซึ่งเป็นฝ่ายแพ้] ดังนั้น เราจะหาค่าของ ยุทธพละ ได้ต่อเมื่อดาวเหล่านั้นสัปประยุทธกันหรือกุมกันในราศีจักรเท่านั้น
สิ่งแรกที่เราต้องพิจารณาคือ คำนวนหาค่า สถานะพละ ทั้งหมดร่วมกับ ทีคะพละ,กาละพละ รวมถึง โหราพละ ของดาวทั้งสองดวงนั้นจากนั้นเราก็หาค่าหน่วยกำลังที่ต่างกันของดาวที่สัปประยุทธกันทั้งสองดวงได้ ค่าหน่วยกำลังที่ต่างกันของดาวที่สัปประยุทธกันทั้งสองดวงนี้จะถูกคำนวนแยกกัน โดยหาค่ากำลังผลรวมของ ทริกะพละ+กาละพละ+โหราพละ ผลการคำนวนที่ได้คือ ยุทธพละ ค่าที่ได้นี้จะต้องนำไปรวมกับ ผลรวมของของดาวที่มีคะแนนมากกว่า (ผู้ชนะ) และนำค่าเท่ากันนี้ไปลบออกจากดาวผู้แพ้เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นเราอาจเปรียบการให้หน่วยกำลังในระบบนี้เหมือนการให้คะแนนในการแข่งขันทั่วไปก็ได้ ผู้ชนะจะได้รับคะแนนพิเศษเพิ่มในขณะที่ผู้แพ้ก็โดนหักคะแนน เมื่อคำนวณค่าทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว เราจะนำค่าสรุปที่ได้นี้ไปบวกเพิ่มกับค่ารวมของกาละพละ
4. เจษฏะพละ
คือการพิจารณาให้ค่าหน่วยกำลังตามอาการเคลื่อนไหวของดาวเคราะห์ อธิบายดังนี้
-ดาวที่เคลื่อนตัวช้า (มนฑ์) จะได้รับหน่วยคะแนน เจษฏะพละสูง
-ดาวที่เคลื่อนตัวเร็ว (เสริด)จะได้รับหน่วยคะแนน เจษฏะพละ น้อย
-เหตุผลของการให้ค่าหน่วยกำลังนี้คือดาวที่เคลื่อนตัวช้าย่อมสามารถสะสมรวบรวมพลังงานได้มาก เพราะดาวจะไม่ค่อยเคลื่อนตัว
หน่วยคะแนนสูงสุดที่จะได้รับคือ 60 ษัทฎิอัมศะ
-เมื่อพิจารณาถึงอัตราการเคลื่อนตัวของดาวแต่ละดวงในที่นี้ จะหมายถึงค่าเฉลี่ยของดาวนั้นๆ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า ดาวเสาร์ซึ่งกำลัง
เคลื่อนตัวเร็ว(เสริด)จะได้ เจษฏะพละ ต่ำในขณะที่ ดาวพุธซึ่งกำลังเคลื่อนตัวช้า(พักร์) จะได้ เจษฏะพละ สูงกว่า
-พระอาทิตย์และพระจันทร์จะไม่ได้รับ เจษฏะพละเลย เพราะดาวทั้งสองเคลื่อนตัวค่อนข้างเป็นแบบแผนและไม่มีการพักร์ เสริด มนท์
ลักษณะการโคจรของดาวเคราะห์ประเภทต่างๆ
1.โคจรถอยหลัง หรือ พักร หรือ วะกระ Retrograde Motion
1.1 วะกระ ดาวเคราะห์มีลักษณะโคจรถอยหลังและอยู่ในราศีเดียวกันจะมีพลังความเข้มแข็งมากที่สุด และได้รับเจษฏะพละสูงสุดคือ
100 % หรือ 60 ษัทฎิอัมศะ
1.2 อนุวะกระ ดาวเคราะห์มีลักษณะโคจรถอยหลังไปอยู่ในราศีก่อนหน้าจะมีพลังความเข้มแข็งรองลงมาและได้รับเจษฏะพละสูงสุดคือ
50 % หรือเท่ากับ 30 ษัทฎิอัมศะ
2.โคจรนิ่งอยู่กับที่ิ หรือ มนฑ์ หรือ วิกละ Stationary Motion
คืออาการดาวเคราะห์มีลักษณะโคจรนิ่งหยุดอยู่กับที่ โดยจะเป็นลักษณะหยุดก่อนที่จะโคจรพักร หรือ หยุดจากการพักรเพื่อที่เดินปกติ
และได้รับเจษฏะพละสูงสุดคือ 25 % หรือ 15 ษัทฎิอัมศะ
3.โคจรปกติ Direct Motion
คืออาการดาวเคราะห์มีลักษณะโคจรปกติไปข้างหน้า โดยคัมภีร์โหราศาสตรา ของมหาฤาษีปะราสาระ ท่านได้อธิบายลักษณะการโคจร
ออกเป็น 5 ชนิดดังนี้
3.1 มันฑตะระ เป็นอาการของดาวเคราะห์ที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าโดยมีอัตราต่ำกว่าปกติ ซึ่งจะมีกำลังเพียง 25 % หรือ 15 ษัทฎิอัมศะ
3.2 มันฑะ เป็นอาการของดาวเคราะห์ที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าโดยมีอัตราครึ่งหนึ่งของอัตราปกติซึ่งจะมีกำลัง 30 % หรือ 30 ษัทฎิอัมศะ
3.3 สะมะ เป็นอาการของดาวเคราะห์ที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าโดยมีอัตราช้าที่สุดของอัตราเฉลี่ยซึ่งจะมีกำลัง 7.5 % หรือ 7.5 ษัทฎิอัมศะ
3.4 จระ เป็นอาการของดาวเคราะห์ที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าแบบปกติ ซึ่งจะมีกำลัง 75 % หรือ 45 ษัทฎิอัมศะ
3.5 อติจระ เป็นอาการของดาวเคราะห์ที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าแบบปกติขณะโคจรข้ามเส้นแบ่งราศีหรือขณะข้ามไปราศีถัดไปซึ่งจะมีกำลัง
ลดลงเหลือ 50 % หรือ 30 ษัทฎิอัมศะ
5. นิสรรคพละ
การพิจารณาหน่วยกำลังตามระบบนี้จะยึดตามค่าความสว่างที่แตกต่างกัน (magnitude) ซึ่งดาวแต่ละดวงจะมีค่าหน่วยกำลังที่
แน่นอนตามกฏดังนี้ พระอาทิตย์ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดแสงสว่างจะได้หน่วยกำลังเต็มที่ 60 ษัทฎิอัมศะและดาวเสาร์ซึ่งมืดหม่นที่สุดจะมีค่า
8.57 ษัทฎิอัมศะ หากพิจารณาด้วยหลัก นิสรรคพละ นี้ หน่วยกำลังของดาวแต่ละดวงจะมีค่าเท่าเดิมเสมอ