2.)ดาวเคราะห์ใดที่สถิตย์ในราศีที่ 2 หรือระหว่าง 30-60 องศา(ขัณฑ์ที่ 2 )ก็จะรวมกำลังตามสัดส่วนตามระยะกำลังขัณฑ์ในราศีที่ 2ซึ่งมีค่า 33
ตัวอย่าง-
ดาวเคราะห์ใน 10 องศาราศีพิจิกห่างจากจุดวิษุวัต (0 องศาราศีตุลย์)มีระยะ 40 องศาและหาค่าได้ดังนี้ 45+ 10/30 * 33 = 56
3.)ดาวเคราะห์ใดที่สถิตย์ในราศีที่ 3 หรือระหว่าง 60-90 องศา(ขัณฑ์ที่ 3 ) ซึ่งมีค่า 78 (45+33) และรวมกำลังตามสัดส่วนตามระยะกำลังขัณฑ์ในราศีที่ 3 ซึ่งมีค่า 12
ตัวอย่าง-
ดาวเคราะห์ใน 15 องศาราศีกรกฏห่างจากจุดวิษุวัต (0 องศาราศีตุลย์)มีระยะ 75 องศาและหาค่าได้ดังนี้ 78 + 15/30 * 12 = 84
หมายเหตุ-ผลลัพธ์จะต้องอยู่ระหว่าง 0-90 และดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับจุดวิษุวัตมากที่สุดจะได้ค่าน้อยที่สุดจนกระทั่งเหลือ 0 และหากอยู่ใกล้กับ 0 องศาราศีมังกร และ 0 องศาราศีกรกฏ จะไ้ดผลกำลังสูงสุดหรือมีค่า 90
กฏพิเศษสำหรับบางดาวเคราะห์
1.ดาวจันทร์และเสาร์จะต้องบวกค่าเพิ่มอีก 90 องศา ในกรณีที่โคจรอยู่ระหว่าง ราศีตุลย์-ราศีมีน
2.ดาวจันทร์และเสาร์จะต้องหักค่าออก 90 องศา ในกรณีที่โคจรอยู่ระหว่าง ราศีเมษ-ราศีกันย์
3.ในทางกลับกัน ดาวอาทิตย์ อังคาร พฤหัส ศุกร์ จะต้องบวกค่าเพิ่มอีก 90 องศาในกรณีที่โคจรอยู่ระหว่าง ราศีเมษ-ราศีกันย์ และ
จะต้องหักค่าออก 90 องศาในกรณีที่โคจรอยู่ระหว่าง ราศีตุลย์-ราศีมีน
4.ดาวพุธจะต้องบวกค่าเพิ่มอีก 90 องศาเสมอตลอดทั้งจักรราศี
การคำนวน
ผลรวมทั้งหมด หารด้วย 3 ผลลัพธ์จะได้เป็นอะยะนะพละ ซึ่งจะมีค่าระหว่าง 0-60 ษัฏิอัมศะ (วิรููปะ)
วิธีการคำนวนแบบที่ 3 คำนวนจากระยะมุมองศา
วิธีการนี้จะไม่ได้นำค่ามุมเอียง(declination)มาร่วมคำนวนด้วย แต่จะคิดจากระยะห่างจากจุดเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าเป็นหลัก และผลลัพภ์ก็จะไม่ต่าง จาก 2 วิธีแรก
สูตรการคำนวน อะยะนะพละ = 30 * ( 1 +- abs( sin( len ) ) ) โดยค่า len จะมีค่าเท่ากับระยะห่างของดาวเคราะห์กับจุดเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า
ตัวอย่าง
อ้างอิง วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2533 เวลา 0:00 UT โดยใช้ค่ามุมดาวเคราะห์ในระบบสายนะ (ไม่มีอายนางศะ) จะได้ค่ามุมเอียงที่ สัมพันธ์กันกับเส้นศูนย์สูตร (ไม่ใช่เส้นสุริยะวิถี)ซึ่งผลลัพภ์จะได้ค่าไม่แตกต่างกันมากนัก ซึ่งค่าที่ได้มีความต่างเพียง 2 ษัฏิอัมศะ(วิรููปะ)