6. ทริกะ(ทฤคกะ) พละ
ทริกะ พละ หมายถึงมุม/ทิศทาง ที่แข็งแกร่ง หากดาวดวงมีดาวศุภเคราะห์ใด มีเกณฑ์ที่ดีให้คุณส่งถึง ดาวนั้นๆก็จะได้รับหน่วยกำลัง ที่ดี แต่หากดาวใดมีสัมพันธ์เชิงมุม โยค เกณฑ์ที่ไม่ดีกับดาวบาปเคราะห์ ดาวนั้นๆก็จะได้รับ ทริกะพละ ที่ไม่ดี การคำนวนหาค่า ทริกะพละ จะต้องดูจากมุมของดาวเคราะห์ในราศี (ทฤษฎี-มุม) เช่น ดาวอาทิตย์ ดาวจันทร์ ดาวศุกร์ และ ดาวพุธ จะมีทฤษฎีดังนี้
- มุมเล็งเรือนที่เจ็ดจากดาวนั้นๆ หรือเรียกได้ว่าทำมุม 180 องศา ดาวนั้นๆจะได้รับพลัง 100%
- ตรีโกณ (มุม 120 องศา) จะให้พลัง 50%
- จตุโกณ (มุม 90 องศา) จะให้พลัง 75%
- โยค (มุม 60 องศา) จะให้พลัง 25%
- มุม 30องศา หรือ 150องศา จะไม่ส่งผลใดๆ
วิเศษทฤษฏี คือมุมดาวพิเศษสำหรับบางดาวเคราะห์ ดังนี้
-ดาวเสาร์ส่งกำลังพิเศษ 100 % ไปยังเรือนที่ 3 และที่ 10 ของตน
-ดาวอังคารส่งกำลังพิเศษ 100 % ไปยังเรือนที่ 4 และที่ 8 ของตน
ดาวพฤหัสส่งกำลังพิเศษ 100 % ไปยังเรือนที่ 5 และที่ 9 ของตน
สิ่งสำคัญที่สุดคือดาวบางดวงที่โดนเบียนมักจะมีค่า ทริกะพละต่ำ ส่วนมากจะได้รับอิทธิพลจากดาวบาปเคราะห์ และส่วนดาวที่ได้รับ ทริกะพละสูง ส่วนมากจะได้รับอิทธิพลจากดาวศุภเคราะห์ดาวปาปเคราะห์ คือ อาทิตย์ อังคาร เสาร์ ดาวจันทร์ข้างแรม ดาวพุธที่สถิตย์ร่วมกับปาปเคราะห์ข้างต้น รวมราหูและเกตุดาวศุภเคราะห์ คือ ดาวพฤหัส และศุกร์ ดาวจันทร์ข้างขึ้น และดาวพุธที่ไม่ร่วมกับปาปเคราะห์ใดใด
พละสุทธิ-การรวมกำลังดาวเคราะห์จากระบบษัฑพละ
จุดแข็งและจุดอ่อนของดาวเคราะห์ขึ้นอยู่กับผลรวมของหน่วยกำลังจากการคำนวนในระบบ ษัฑพละหรือเรียกว่า “พละสุทธิ”ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการวินิจฉัยและตัดสินของผลกระทบดี-ร้ายของดาวเคราะห์ในระหว่างการโคจร และการเสวยอายุของบุคคลในทักษาระบบ เช่น ระะบบวิมโษตตรีทักษา ระบบอัษโตตรีทักษา ฯลฯ ทั้งในมหาทักษาและอันตรทักษา
ดาวเคราะห์ที่มีสุทธิพละสูงจะแสดงให้เห็นว่าดาวเคราะห์นั้นมีกำลังเข้มแข็ง และจะให้ผลดี หรือ อิฏฐผล อย่างชัดเจนในระหว่างการเสวยอายุและการโคจร แต่หากเป็นดาวเคราะห์ที่เป็นปาปเคราะห์ธรรมชาติที่มีสุทธิพละสูง เช่น ดาวเสาร์และอังคารอาจจะปรากฏผลร้ายหรือ กัตฏผล แทรกในระหว่างการเสวยอายุในทักษาระบบหรือในดวงจร ซึ่งต้องวินิจฉัยผลนี้ร่วมกับดาวคู่มิตร-ศัตรูเฉพาะชาตาในบทที่ได้กล่าวมาแล้ว ส่วนดาวเคราะห์ที่มีสุทธิพละต่ำ จะไม่มีกำลังและไม่สามารถส่งผลดี-ร้ายให้ปรากฏได้ ดังนั้นการคำนวนกำลังดาวเคราะห์จากระบบษัฑพละนี้ สามารถนำไปวินิจฉัยร่วมกับกฏเกณฑ์อื่นๆในทางโหราศาสตร์ เช่น โยค เกณฑ์ ต่างๆในดวงชาตาว่า โยคดี-ร้ายในดวงชาตานั้นจะปรากฏผลเป็นดี-ร้ายได้จริงหรือไม่