ตำแหน่งที่สถิตของดาวพฤหัสบดีในดวงชาตา เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการพิจารณาดวงชาตาของบุคคล ดาวพฤหัสบดีที่รู้จักกันว่าเป็นดาวแห่งคุรุ หรือ ดาวครู ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่ให้คุณสูงสุดในหมู่ดาวเคราะห์ทั้งหลาย ดาวพฤหัส ถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งคุรุ (บูรพาจารย์) ในปรัชญาของฮินดู พรอันเป็นมงคลแห่งดาวพฤหัสบดี (คุรุ พละ) มีความสำคัญมากสำหรับดวงชาตาบุคคล และการโคจรไปสถิตย์อยู่ในตำแหน่งที่ดี (โคจารา-โคจร) เป็นที่ทุกคนรอคอยมากที่สุดสำหรับการดำเนินการทำพิธีมงคลต่างๆเช่น แต่งงาน ฯลฯ แม้แต่ขณะที่การหาฤกษ์มงคลต่างๆ (มุหูรตะ)ในดวงฤกษ์นั้นจะต้องวางดาวพฤหัสบดีให้อยู่ในตำแหน่งที่ดีเพื่อผลที่ดีในฤกษ์ยามนั้นๆ
ตาราง เวลาการโคจรของดาวพฤหัสบดีในราศีสิงห์ การย้ายราศีของดาวพฤหัสบดีโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นครั้งเดียวในรอบหนึ่งปี และจะใช้เวลา 12 ปีดาวพฤหัสบดีจะโคจรรอบจักรราศี ในปีนี้การย้ายราศีของดาวพฤหัสบดีจะเกิดขึ้นในวันที่ 14/7/2558 และเมื่อเริ่มโคจรเข้าสู่ราศีราศีสิงห์ จะสถิตย์ในกลุ่มดาวฤกษ์ ลำดับที่ 10 คือ มาฆะนักษัตร ตารางเวลาการโคจรของดาวพฤหัสบดีจะเป็นดังนี้ ...
ยกเข้าสู่ราศีสิงห์ สถิตในบาทแรกของ มาฆะนักษัตร ที่ 10 |
วันที่ 14.07.2558 |
เข้าสู่บาทแรกของปูรวผลคุนีนักษัตรที่ 11 | วันที่ 14.9.2558 |
เข้าสู่บาทแรกของอุตตรผลคุนีนักษัตรที่ 12 | วันที่ 28.11.2558 |
ออกจากราศีสิงห์ ยกเข้าสู่ราศีกันย์ | วันที่ 11.08.2559 |
ดาวพฤหัสดับ (คุรุอัสตะ) | วันที่12.08.2558-08.09.2558 |
ดาวพฤหัสพักร (โคจรถอยหลัง) | วันที่ 08.01.2559-10.05.2559 |
ในระหว่างสถิตย์อยู่ในราศีราศีสิงห์นี้ ดาวพฤหัสบดีจะโคจรผ่าน กลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆคือ มาฆะนักษัตร ปูรพผลคุนีนักษัตร และอุตรผลคุนีนักษัตร ก่อนจะยกเข้าสู่ราศีกันย์ และในช่วงระยะเวลาที่ดาวพฤหัสบดีสถิตย์ในราศีสิงห์นี้ ดาวเสาร์จะยังคงอยู่ในราศีพิจิก ดาวราหู สถิตย์ราศีกันย์-ดาวเกตุ(สากล)จะสถิตย์ในราศีมีน ไปจนถึงมกราคม 2559
ตามทฤษฎีระยะเชิงมุมของดาวพฤหัส ดาวพฤหัสมีโยคเกณฑ์พิเศษ เรียกว่า วิเศษทฤษฎี โดยดาวพฤหัสจะส่งกำลังเต็มที่ไปยังราศีที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 จากตำแหน่งราศีที่ตนเองสถิตย์อยู่ ดังนั้นเมื่อดาวพฤหัสสถิตย์ในราศีสิงห์ ก็ย่อมที่จะส่งกำลัง(เต็มที่)ไปสู่ราศี ราศีธนู(ที่ 5) ราศีกุมภ์ (ที่ 7) และราศีเมษ (ที่ 9) แต่สำหรับในปีนี้ดาวพฤหัสถูกโยคร้ายจากดาวเสาร์ที่สถิตย์อยู่ในราศีพิจิก โดยถูกเกณฑ์ที่ 10 ของดาวเสาร์ (ดาวเสาร์มีวิเศษทฤษฏี มีโยคพิเศษส่งกำลังเต็มที่ในราศีที่ 3 ที่ 7 และที่ 10 ) และนอกจากนี้ดาวพฤหัสจะต้องถูกโยคร้ายจากดาวราหูและดาวเกตุ(สากล) เมื่อดาวราหูโคจรสถิตย์ร่วมกันในราศีสิงห์ (มกรา 2559) โดย พฤหัสในราศีนี้ก็จะกลายเป็น พฤหัสจัณฑาลโยค ซึ่งให้ผลร้ายต่อดวงชาตากำเนิดของเด็กทารกที่เกิดในช่วงนี้
อธิบาย-ครหะจัณฑาล-คือดาวเคราะห์ใดก็ตามที่สถิตย์ร่วมกับราหูในขณะที่เกิดคราส ดาวเคราะห์ดวงนั้นก็จะกลายเป็นดาวจัณฑาล เช่น พุธร่วมราหู ก็จะกลายเป็นพุธจัณพาล ดาวพฤหัสร่วมราหูก็จะกลายเป็นพฤหัสจัณฑาล และจะกลายเป็นให้ผลร้ายตามความหมายของดาวเคราะห์นั้น
ในการพิจารณาการให้คุณ-โทษของดาวพฤหัส ตามทฤษฎีของโหราศาสตร์ภารตะท่านให้วิธีเอาไว้หลากหลายวิธี มีดังนี้
(1)ชนมราศี-จันทร์กำเนิด
โดยวิธีแรกเป็นวิธีคิดคำนวนจากชนมราศี (ราศีของจันทร์ที่สถิตย์ในดวงชาตากำเนิด) สำหรับการสถิตย์ในราศีสิงห์ของดาวพฤหัส มีการคำนวนผลดี-ร้ายจากชนมราศีดังนี้
หมายเหตุ-นอกจากชนมราศี บางตำราท่านให้ใช้ทฤษฎีนี้จากตำแหน่งของลัคนาได้ด้วย
ลำดับ |
ลัคนา/ชนมราศี |
เรือน |
ผล |
การพยากรณ์ |
1. |
ราศีเมษ |
เรือนที่ 5 |
ให้ผลดี |
เป็นระยะเวลาของการเพิ่มพูนความรู้และเสร้างความเจริญก้าวหน้าของชีวิต การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง และสถานะที่สูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางสังคมให้ดีขึ้น และช่วงเวลาที่ดีสำหรับนักเรียนนักศึกษาที่นำไปสู่การเรียนรู้ที่สูงขึ้นและโอกาสที่ดีในการศึกษา |
2. |
ราศีพฤษภ |
เรือนที่ 4 |
ให้ผลร้าย |
มีความร้อนรนและความวุ่นวายทางอารมณ์ ,การละทิ้งจากสถานที่เกิด ,การค้นหาทางจิตวิญญาณ ,มีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับแม่,การงานตกต่ำ, มีคดีความ |
3. |
ราศีมิถุน |
เรือนที่ 3 |
ให้ผลร้าย |
การเปลี่ยนแปลงของสถานที่อยู่อาศัย,โยกย้ายหรือแยกทาง ,มีอุปสรรคในการเดินทาง ,เกิดความเดือดเนื้อร้อนใจ,มีโรคภัย,การเจ็บป่วยทรุดลง โดยเฉพาะในช่วงดาวพฤหัสบดีโคจรพักร,หน้าที่การงาน ล้มเหลว, ถูกเพื่อนฝูงทอดทิ้ง, |
4. |
ราศีกรกฏ |
เรือนที่ 2 |
ให้ผลดี |
การมีโชคดีในเรื่องต่างๆ ,มีความพึงพอใจ ,ชีวิตมีความสุข ,มีความมั่งคั่งด้านทรัพย์สิน, การลงทุนได้ผลตอบแทนที่ดี,ได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งในหน้าที่การงาน |
5. |
ราศีสิงห์ |
เรือนที่ 1 |
ให้ผลร้าย |
เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง,เกิดความเครียด ,ค่าใช้จ่ายที่สูง,มีปัญหาเรื่องเงินทอง, และภัยจากการถูกคุกคาม |
6. |
ราศีกันย์ |
เรือนที่ 12 |
ให้ผลร้าย |
ปัญหาสุขภาพ,ปัญหาทางการเงินและการสูญเสียเงินทอง , ห้ามการลงทุนในช่วงนี้ |
7. |
ราศีตุลย์ |
เรือนที่ 11 |
ให้ผลดี |
มีรายได้ที่ดีขึ้นและการหมุนเวียนทางการเงินคล่องตัวขึ้น ,มีโชคทางการเงิน,ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง,ได้รับความเคารพนับถือและการสนับสนุนจากคนรอบข้าง |
8. |
ราศีพิจิก |
เรือนที่ 10 |
ให้ผลร้าย |
อาจจะเป็นช่วงที่ยากลำบากที่สุดของคนราศีพิจิก นอกจากดาวพฤหัสโคจรจะไม่ให้คุณแล้ว ผู้ที่มีดาวจันทร์สถิตย์ในราศีพิจิก ก็จะต้องได้รับเคราะห์ร้ายจากอิทธิพลของดาวเสาร์ทับดาวจันทร์ในดวงชาตา (เสต สาติ) ซึ่งให้โทษร้ายมีระยะนานถึง 7ปีครึ่ง |
9. |
ราศีธนู |
เรือนที่ 9 |
ให้ผลดี |
ดาวพฤหัสจะให้คุณกับคนราศีนี้มาก เนื่องเกณฑ์ของดาวพฤหัสจรสามารถส่งผลดีต่อราศีธนูได้เต็มที่ ช่วงนี้เป็นช่วงแห่งความเจริญรุ่งเรืองและมั่งคั่งของชีวิต การเดินไปต่างประเทศ การได้โชคจากพ่อแม่ บ้านเรือนที่ดิน และบุตรหลาน |
10. |
ราศีมังกร |
เรือนที่ 8 |
ให้ผลร้าย |
ชีวิตมีอุปสรรคมาก,ปัญหาสุขภาพ, ร้อนที่อยู่, การโยกย้าย ดาวพฤหัสบดีในช่วงโคจรถอยหลังจะทำให้สูญเสียคนใกล้ชิดและพลัดพรากจากคนรัก ,สูญเสียเงินทองและให้ระวังเรื่องคดีความ |
11. |
ราศีกุมภ์ |
เรือนที่ 7 |
ให้ผลดี |
มีความสุขในชีวิตคู่,มีเสน่ห์ มีคนรักใคร่ มีคนสนับสนุน , จะได้โชคจากการเดินทาง, ได้ผลประโยชน์ทางการเงิน, การงานอาชีพเจริญรุ่งเรือง ,ได้หุ้นส่วนใหม่ |
12. |
ราศีมีน |
เรือนที่ 6 |
ให้ผลร้าย |
ศัตรู คู่แข่งขันให้โทษ,คนรอบข้างเป็นปฏิปักษ์,ความสัมพันธ์กับคู่ครองและบุตรหลานเป็นไปในทางที่ไม่ดี ,สุขภาพจะย่ำแย่ โรคภัยรุมเร้า โดยเฉพาะในช่วงดาวพฤหัสพักร |
วิธีการพิจารณาผล
การพิจารณาตามกฏของโหราศาสตร์ภารตะ ท่านว่า ดาวพฤหัสจะให้ผลดีก็ต่อเมื่อสถิตย์ในราศีที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 ที่ 9 และที่ 11 และให้ผลร้ายเมื่อสถิตย์ในราศี ที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 8 ที่ 10 ที่ 12 จากชนมราศี(ราศีจันทร์กำเนิด) ตามที่ดาวพฤหัสยกเข้าสู่ราศีสิงห์ในปีนี้ ก็จะให้ผลดีแก่ผู้ที่มีดาวจันทร์ในดวงชาตาเดิม หรือชนมราศี ในราศีเมษ ราศีกรกฏ ราศีตุลย์ ราศีธนู และราศีกุมภ์ เท่านั้น ส่วนราศีนอกจากนี้ถือว่าไม่เป็นศุภผล และการโคจรในเรือนที่ 11 ของดาวพฤหัสบดีถือเป็นมงคลให้ผลดีสูงสุด ในขณะเดียวกันการโคจรในเรือนที่ 3 ของดาวพฤหัสบดีนับจาก ชนมราศี หรือ ลัคนา ท่านว่าเป็นอัปมงคลอย่างแรง
ผลดีของดาวพฤหัส
มีโชคลาภทางการเงิน มีฐานะการเงินคล่องตัว มีโชคเกี่ยวกับต่างประเทศ; โชคดี; ความสุข; มีความสุขกับลูกหลาน; ได้แต่งงาน ; มีสุขภาพดี; ประสบความสำเร็จ ; ความก้าวหน้าในอาชีพ และอื่น ๆ
ผลร้ายของดาวพฤหัส
มีอุปสรรคในชีวิต; สุขภาพไม่ดี; การสูญเสียเงิน; ค่าใช้จ่ายสูงเกินกว่ารายได้; เดินทางบ่อย พบกับความเศร้าโศกและความทุกข์ยาก; เกิดภาวะซึมเศร้า; ความสับสน; ความไม่พอใจ; แตกแยก; การสูญเสียความมั่งคั่ง; ปัญหาที่ไม่คาดคิด; ความเครียดและความวิตกกังวล ฯลฯ
(2)ดาราพละ-นักษัตรกำเนิด
การคำนวนผลดีร้ายของดาวพฤหัสจรยังมีอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นทฤษฎีฐานกำลังของดวงดาวที่คำนวนจากดวงดาวที่สัมพันธ์กับดาวนักษัตรฤกษ์ ซึ่งเรียกกำลังจากฐานนี้ว่า "ดาราพละ" อันจะแสดงให้ผลดี-ร้ายที่เกิดจากที่สถิตย์ของดวงดาวจรในนักษัตรที่สัมพันธ์กับดาวนักษัตรที่จันทร์เสวยในพื้นดวงชาตาเดิม (ชนมนักษัตร)
ชนมนักษัตร |
พฤหัสจรใน มาฆะนักษัตร |
พฤหัสจรใน ปุรพผลคุนีนักษัตร |
พฤหัสจรใน อุตรผลคุนีนักษัตร |
อัศวินี,มาฆะ,มูลละ |
ชนม (ทลิทโท) (1) |
สมบัติ(มหัธโณ) (2) |
วิบัติ(โจโร) (3) |
ภรณี,ปุรพผลคุณี,ปุรพาษาฒ |
ปรมมิตระ(สมโณ) (9) |
ชนม (ทลิทโท) (1) |
สมบัติ(มหัธโณ) (2) |
กฤตติกา,อุตรผลคุณี,อุตราษาฒ |
มิตระ (ราชา) (8) |
ปรมมิตระ(สมโณ) (9) |
ชนม (ทลิทโท) (1) |
โรหิณี,หัสตะ,สราวณะ |
นิธนะ(เพชฌฆาต) (7) |
มิตระ (ราชา) (8) |
ปรมมิตระ(สมโณ) (9) |
มฤคศิระ,จิตรา,ธนิษฐะ |
สาธนะ(เทวี) (6) |
นิธนะ(เพชฌฆาต) (7) |
มิตระ (ราชา) (8) |
อารทรา,สวาติ,สตภิษัท |
ปรัตยัก(เทศาตรี) (5) |
สาธนะ(เทวี) (6) |
นิธนะ (เพชฌฆาต) (7) |
ปุนรวสุ,วิสาขะ,ปูราภัทรปท |
เกษม(ภูมิปาโล) (4) |
ปรัตยัก(เทศาตรี) (5) |
สาธนะ(เทวี) (6) |
ปุษยะ,อนุราธะ,อุตราภัทรปท |
วิบัติ(โจโร) (3) |
เกษม(ภูมิปาโล) (4) |
ปรัตยัก(เทศาตรี) (5) |
อาศเลศะ,เชษฐะ,เรวดี |
สมบัติ(มหัธโณ) (2) |
วิบัติ(โจโร) (3) |
เกษม(ภูมิปาโล) (4) |
ผลของดาราพละนี้ เป็นการคำนวนผลดีร้ายจากนักษัตรฤกษ์ โดยมีผลดังนี้ 1. ชนม(ทลิทโทฤกษ์) เป็นอันตราย 2. สมบัติ(มหัธโณฤกษ์) ทรัพย์สินเงินทอง 3.วิบัติ(โจโรฤกษ์) เสียหาย 4.เกษม(ภูมิปาโลฤกษ์) เจริญรุ่งเรือง 5.ปรัตยัก(เทศาตรีฤกษ์) อุปสรรค 6. สาธนะ(เทวีฤกษ์) สมปรารถนา 7.นิธนะ (เพชฌฆาตฤกษ์) อันตราย 8.มิตระ (ราชาฤกษ์) ดี สำเร็จ 9.ปรมมิตระ(สมโณฤกษ์) ดีมาก
ซึ่งหากคำนวนดาราพละแล้วปรากฏว่า เป็นฤกษ์ที่ 1 ทลิทโท ที่ 7 เพชฌฆาต ดาวพฤหัสจรจะให้ผลร้ายมาก และที่ 3 โจโร ที่ 5 เทศาตรี ก็จะให้ผลร้ายทั่วไป ส่วน ฤกษ์ที่ 2 มหัทธโน ที่ 4 ภูมิปาโล ที่ 6 เทวี ที่ 8 ราชา จะให้ผลดี และที่ 9 สมโณฤกษ์ จะให้ผลดีสูงสุด ดังนั้นผลของดาวพฤหัสจรจะให้ผลดี-ร้ายได้ก็ต้องตรวจดูจากดาราพละ ของดวงชาตาเดิมที่สัมพันธ์กับดาวพฤหัสในทางจร
(3)มูรติ นิรนายะ-ตำแหน่งของดาวจันทร์
ทฤษฎีนี้คำนวนจากขณะที่ดาวพฤหัสยกเข้าสู่ราศีสิงห์ในวันที่ 14 กรกฏาคม 2558 ซึ่งในขณะนั้นดาวจันทร์จรอยู่ในราศีมิถุน ทฤษฎีนี้นำเอาตำแหน่งที่สถิตย์ของดาวจันทร์ในเวลาเดียวกับดาวพฤหัสยกเข้าสู่ราศีสิงห์เป็นมูลฐานในการคำนวนร่วมกับชนมราศีของเจ้าชาตา
ชนมราศี |
ตำแหน่งของดาวจันทร์จร(ในมิถุน)ในวันที่ 14.7.58 นับจากชนมราศี |
มูรติ นิรนายะ |
ผลดี-ร้าย |
ราศีมิถุน,มังกร,สิงห์ |
ราศีที่ 1,6,11 |
สวารณะ(ทองคำ) |
ดีมากที่สุด |
ราศีพฤษภ,กุมภ์,ตุลา |
ราศีที่ 2,5,9 |
รชฏ(เงิน) |
ดีมาก/ดี |
ราศีเมษ,ธนู,กันย์ |
ราศีที่ 3,7,10 |
ทามระ(ทองแดง) |
ดี/ค่อนข้างดี |
ราศีมีน,พิจิก,กรกฏ |
ราศีที่ 4,8,12 |
โลหะ(เหล็ก) |
ค่อนข้างดี/ผลร้าย |
ในทฤษฎีนี้ท่านว่าดาวพฤหัสจะอำนวยผลดีมากที่สุด เมื่อผลที่ได้เป็น "สวารณะมูรติ"และให้ผลร้ายเมื่อผลทีได้เป็น "โลหะมูรติ" พิจารณาจากฏทั่วไปทางโหราศาสตร์ ดาวพฤหัสจะให้ผลดีก็ต่อเมื่อสถิตย์ในราศีที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 ที่ 9 และที่ 11 และให้ผลร้ายเมื่อสถิตย์ในราศี ที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 8 ที่ 10 ที่ 12 จากชนมราศี(ราศีจันทร์กำเนิด) (ตามข้อ1-ชนมราศี) แต่เมื่อพิจารณาร่วมกับกฏของมูรติ นิรนายะ ผลที่ได้ก็จะกลับแตกต่างออกไป ทั้งนี้ให้พิจารณาผลจากด้านอื่นมาประกอบ
(4)เวธะและวิปริตะ เวธะ-การขัดขวางผล
ทฤษฎีของเวธะใช้มากในโหราศาสตร์ภารตะโดยเฉพาะในดวงจร เรียกว่า เวธกะ หรือ จุดขัดขวาง โดยขณะเมื่อดาวดวงหนึ่งดวงใดกำลังส่งผลดีให้จากตำแหน่งจรในดวงชาตา (ที่สัมพันธ์กับชนมราศี) และในขณะเดียวกันก็มีดาวอีกดวงหนึ่งจรในราศีที่สัมพันธ์กับชนมราศีเช่นกัน ผลเช่นนี้ย่อมทำให้เกิดจุดขัดขวางผลดี(ชั่วคราว) ต่อดวงชาตา จนกว่าดาวที่เป็นเหตุในการขัดขวางนั้นได้โคจรผ่านพ้นไป ซึ่งกรณีนี้เรียกว่า "เวธะ"
และในกรณีกลับกันโดยขณะเมื่อดาวดวงหนึ่งดวงใดกำลังส่งผลร้ายให้จากตำแหน่งจรในดวงชาตา(ที่สัมพันธ์กับชนมราศี) และในขณะเดียวกันก็มีดาวอีกดวงหนึ่งจรในราศีที่สัมพันธ์กับชนมราศีเช่นกัน ผลเช่นนี้ย่อมทำให้เกิดจุดขัดขวางผลร้าย(ชั่วคราว) ต่อดวงชาตา จนกว่าดาวที่เป็นเหตุในการขัดขวางนั้นได้โคจรผ่านพ้นไป ซึ่งกรณีนี้เรียกว่า "วิปริตะเวธะ"
จุดขัดขวางผลดีของดาวพฤหัส- เวธะ
ดาวพฤหัสสถิตย์เรือนจากชนมราศี -ให้ผลดี |
2 |
5 |
7 |
9 |
11 |
จะขัดขวางผลดีเมื่อมีดาวเคราะห์ในเรือน(จากชนมราศี) |
12 |
4 |
3 |
10 |
8 |
ตัวอย่างเช่นในชาตาหนึ่งมีดาวจันทร์สถิตย์ในราศีกรกฏ (ชนมราศี) ขณะนี้มีดาวพฤหัสจรอยู่ในราศีสิงห์ ซึ่งเป็นเรือนที่ 2 จากชนมจันทร์ เช่นนี้ดาวพฤหัสย่อมส่งผลดีให้กับเจ้าชาตา แต่ในขณะเดียวกันมีดาวเคราะห์จรเข้ามาสู่ราศีมิถุนเรือนที่ 12 จากชนมราศี ก็กลายเป็นจุดขัดขวาง(เวธะ) ต่อผลดีของดาวพฤหัส ทำให้ผลดีของดาวพฤหัสจะไม่ให้ผลชั่วคราวในระยะที่มีดาวสถิตย์ในเรือนที่ 12 นี้
.
จุดขัดขวางผลร้ายของดาวพฤหัส- วิปริตะเวธะ
เมื่อดาวพฤหัสสถิตย์ในเรือนจากชนมราศี -ให้ผลร้าย |
1 |
3 |
4 |
6 |
8 |
10 |
12 |
จะขัดขวางผลร้ายเมื่อมีดาวเคราะห์ในเรือน (จากชนมราศี) |
1 |
2 |
5 |
6 |
7 |
9 |
11 |
ในกรณีที่ดาวพฤหัสจรไปสถิตย์ในเรือนที่ 8 จากชนมราศี ผลร้ายจะถูกทำให้เป็นโมฆะ ถ้ามีดาวเคราะห์จรในราศีที่ 7 จากชนมราศี ตัวอย่างเช่นหากเจ้าชาตามีชนมราศีเป็นราศีมังกร และขณะที่ดาวพฤหัสจรในราศีสิงห์ย่อมไม่ส่งผลดีต่อเจ้าชาตาเว้นเสียแต่ว่ามีดาวเคราะห์จรไปสถิตย์ในราศีกรกฏซึ่งเป็นเรือนที่ 7 จากชนมราศี ก็จะเกิดผลของวิปริตะเวธะ ขัดขวางผลร้ายจากดาวพฤหัสที่มีต่อเจ้าชาตา
(5)อัษฏกะวีระค์-กำลังจากการโคจร
การพิจารณาผลของดาวจรโดยระบบอัษฏกะวีระค์ หรือ อัษฏะวรรค เป็นวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากในโหราศาสตร์ภารตะ ความหมายคือการพิจารณาหากำลัง(พละศักดิ์)ของดาวเคราะห์จากมูลฐานกำลัง ๘ ประการ ซึ่งสามารถมาคำนวนหากำลังของดาวเคราะห์ทุกดวงรวมถึงลัคน์ด้วย (เว้นแต่ราหู-เกตุ) วิธีการคำนวน คือ การหาจุดกำลังที่เป็นจุดที่ให้ศุภผลและบาปผลจากตำแหน่งของดาวเคราะห์จรที่สัมพันธ์กับดาวเคราะห์ในดวงเดิม ซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างมากและจะอธิบายต่อไปในภายหลัง
สำหรับดาวพฤหัสท่านว่าเมื่อดาวพฤหัสจรไปยังราศีที่มีพินธุของดาวพฤหัสมากกว่า 4 จุด ในอัษฏกะวรรค หรือ มากกว่า 30 พินธุ ในสรวะอัษฏะวรรค (สรรพอัษฏกะวรรค) ท่านว่าดาวพฤหัสจะให้ผลดีเสมอถึงแม้ว่าดาวพฤหัสจะสถิตย์ในราศีร้ายก็ตาม ในทางกลับกันถ้าหากดาวพฤหัสสถิตย์ในราศีดีแต่ผลของอัษฏกะวรรคได้น้อยกว่า 4 พินธุ หรือ สรวอัษฏกะวรรคน้อยกว่า 30 จุด(พินธุ) ก็กลายเป็นว่าดาวพฤหัสให้ผลร้ายต่อดวงชาตา
ดาวพฤหัสในราศีสิงห์กับฤกษ์ร้าย
ในบางคัมภีร์ของโหราศาสตร์ภารตะ เช่น มุหูรตะ ท่านได้กล่าวไว้ว่า ห้ามกระทำการมงคลใดใดในขณะที่ดาวพฤหัสโคจรไปสถิตย์ในราศีของอาทิตย์ (สิงห์) อันเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่าดาวพฤหัสจะโคจรอยู่ในราศีนี้แบบอยู่นานผิดปกติคือ ประมาณ 13 เดือน ในขณะที่ดาวพฤหัสโคจรในราศีอื่นๆประมาณ 12 เดือน ซึ่งเรียกว่า "สิงหาคุรุ" ชาวฮินดูทั่วไปถือในเรื่องนี้มากจนไม่ยอมทำการมงคลใดใดในช่วงระหว่างปีนี้ เช่นสร้างบ้านใหม่ เปลี่ยนงานใหม่ เปิดร้านใหม่ ฯลฯ โดยเฉพาะการแต่งงานให้งดเว้นเด็ดขาด
ด้วยความเชื่อดังกล่าวก็มีโหราจารย์ชาวอินเดียหลายท่านมีมติว่าควรใช้แค่ช่วงเวลาของดาวพฤหัสเสียมากที่สุดจริงๆ เท่านั้น คือขณะโคจรใน นวางค์ราศีสิงห์เท่านั้น ซึ่งก็คือในช่วงวันที่ 14 กย 58-1 ตค 58 เท่านั้นจึงจะงดเว้นการทำงานมงคล นอกจากนี้ไม่ห้าม
สรุปผล
ผลของ การโคจรของดาวพฤหัส ตามที่ได้แสดงด้วยทฤษฎีต่างๆเอาไว้นั้น เป็นการพิจารณาเฉพาะดาวเคราะห์เพียงดวงเดียว และไม่ควรถือว่าผลดีร้ายนั้นจะเกิดขึ้นจากผลของดาวเคราะห์เดียวนี้เท่านั้น ทั้งหมดจะต้องพิจารณาจากดาวเคราะห์ดวงอื่นๆที่สถิตย์ในดวงชาตา ความมีกำลังหรือไม่มีกำลังของดาวเคราะห์นั้นๆ อีกทั้งความเข้มแข็งของดวงชาตาโดยรวม ตำแหน่งที่สถิตย์เดิมของดาวพฤหัสในพื้นดวง ทั้งจากราศีจักรและนวางศ์จักรและดาวเคราะห์อื่นที่ส่งโยคเกณฑ์ดี-ร้ายต่อดาว พฤหัส รวมถึงดาวที่กำลังเสวยอายุและแทรก และตำแหน่งของดาวเคราะห์ใหญ่ๆอย่างดาวเสาร์และราหู-เกตุที่จะส่งผลต่อดวง ชาตาร่วมกับพฤหัส
เรา ไม่ควรจะที่จะสรุปผลดี-ร้ายทั้งหมดจากผลในการโคจรที่ปรากฏในกฏเกณฑ์ใด กฎเกณฑ์หนึ่ง ซึ่งผลของมันอาจได้รับการจำกัดหรือผันแปรโดยตำแหน่งเวธะของดาวเคราะห์อื่น ๆ และผลที่เกี่ยวข้องกับผลของอัษฏกะวีระค์ในดวงชาตา ดังนั้นสำหรับการประเมินผลของการโคจรจะต้องนำผลรวมของทฤษฎีอื่นๆนำมาพิจารณา ร่วมด้วย
ตำแหน่ง ของดาวเคราะห์ในพื้นดวงกำเนิดเป็นตัวแทนของความสามารถที่แท้จริงของแต่ละคน ขณะที่ตำแหน่งของดาวจรแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลในระยะสั้น แม้ว่าผลการการโคจรถือเป็นอันดับรองในการพิจารณาพื้นดวงชาตา แต่ในบางครั้งดาวจรก็อาจจะสามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงพื้นดวงชาตาเดิมได้ ดังนั้นการโคจรของดาวเคราะห์ไม่ได้เป็นเพียงแค่ส่วนประกอบในพื้นดวงชาตา แต่ดาวจรกลับทำหน้าที่พิสูจน์ความแข็งแกร่งในดวงชาตา