ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่และมีวิถีการโคจรแบบเชื่องช้ายาวนานที่สุด ถือเป็นดาวบาปเคราะห์ให้โทษ และโหรทุกสำนัก ทุกสายทุกระบบต่างยกให้เป็นดาวประธานแห่งบาปพระเคราะห์ที่ให้โทษรุนแรงที่สุดในดวงชาตา สำหรับโหราศาสตร์ภารตะท่านถือว่าดาวเสาร์เป็นดาวที่แสดงผลอกุศลกรรมของทุกๆคน ที่ได้เคยสั่งสมไว้ในชาติก่อนๆ ดาวเสาร์ในดวงชาตาของบุคคลก็จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงผลกรรมในชาตินี้ว่านั้นว่าจะมาถึงเมื่อไหร่ ในเรื่องอะไรและรุนแรงแค่ไหน และเมื่อดาวเสาร์ได้ยกจากราศีตุลย์ซึ่งเป็นเรือนอุจน์หรือเรือนให้คุณของเสาร์ไปสู่ราศีพิจิกซึ่งครองด้วยอังคาร โดยเป็นเรือนศัตรูของเสาร์ในวันที่ 2 พย 2557 ซึ่งดาวเสาร์จะสถิตย์อยู่ในราศีพิจิกนี้ประมาณ 2ปีครึ่ง นอกจากนี้ก็จะยังมีการวิกลคติพักร คือการโคจรถอยหลังของดาวเสาร์โดยใช้เวลาประมาณ 27 เดือน และจะยกเข้าสู่ราศีธนูในวันที่ 26 ตค 2560
ราศีพิจิกเป็นราศีลำดับที่ 8 ของจักราศี ถือเป็นภพมรณะของดวงชาตาของโลก ลักษณะเป็นสถิรราศี ธาตุน้ำ กลางธาตุ มีดาวอังคารเป็นเจ้าราศี สัญลักษณ์คือ แมงป่อง ความหมายของราศีพิจิกโดยทั่วไปก็คือ การมียศศักดิ์ การได้รับเกียรติ การเจ็บป่วยในวัยหนุ่มสาว การแยกทางจากคู่ครอง การปิดบัง ซ่อนเร้น การจบสิ้นของสิ่งบางสิ่ง มรณะ ความตาย การเกิดใหม่ โลกวิญญาณ ปรภพ การชดใช้กรรมที่ได้ทำเอาไว้ การแก้แค้น และการโอ้อวด ฯลฯ
ดาวเสาร์ทำให้ทุกๆอย่างเป็นสิ่งที่ไม่ได้มาอย่างง่ายๆ อิทธิพลของดาวเสาร์ได้กดดันให้เราต้องทำงานอย่างหนัก ควบคุมเราให้มีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ ซึ่งนี่ก็คือบทบาทของดาวเสาร์ที่สัญลักษณ์ตัวแทนของชนชั้นกรรมาชีพ ดาวเสาร์เป็นตัวแทนแห่งความเพียร พยายาม ความอดทน ความลำบากแร้นแค้น บีบคั้น การกดดันในระยะเวลาที่ยาวนาน ความเนิ่นช้า ความสกปรกรกรุงรัง โรคภัยและความทุกข์ยากทั้งหลาย
แต่ในด้านดีของดาวเสาร์ก็มี เช่น สิ่งใดที่ได้มาจาการพยายามตามข้างต้น ก็จะทำให้สิ่งนั้นอยู่ได้นาน มีความมั่นคง มีเสถียรภาพ ไม่หลุดลอยไปอย่างง่ายๆ ดาวเสาร์ให้คุณด้านทรัพย์สินที่คงทนถาวร เช่น อสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน ฯลฯ ดาวเสาร์ให้คุณด้านปัญญาญาณ การหยั่งรู้ ปรัชญาชั้นสูง และให้ความเข้มแข็ง ความทดทนในการต่อสู้และความมานะพยายาม ความขยันขันแข็ง หนักเบา เอาสู้ หากดวงชาตาใดมีดาวเสาร์ให้โทษก็จะกลายเป็นคนเกียจคร้าน และปัญญาทึบ
ดาวเสาร์โดยทั่วไปแล้วมักเป็นดาวให้โทษในทุกๆดวงชาตา หากเสาร์ไม่ได้มีตำแหน่งเกษตร หรือ อุจน์ หรือมูลตรีโกณ หรือ เสวยวรรคอุตมางศะ (วรโคตรนวางค์) ในพื้นดวงชาตาแล้ว ดาวเสาร์ย่อมให้โทษมากขึ้นเป็นทวีคูณ
แต่ยกเว้นสำหรับลัคนาราศีพฤษภ ดาวเสาร์กลับเป็นดาวให้คุณในดวงชาตา เพราะ เป็นดาวโยคการก (ดาวให้คุณพิเศษเฉพาะลัคนา30) เพราะดาวเสาร์เป็นทั้งเจ้าเรือนที่ 9 (ศุภะ) และที่ 10 (กรรมมะ) หรือเป็นเกณฑ์ (ราศีกุมภ์) และเป็นเจ้าเรือนตรีโกณ (ราศีมังกร) ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษที่จะหนุนนำดวงชาตาให้แข็งแกร่งและสูงส่ง เรียกว่า "ราชาโยค" ซึ่งในกรณีนี้ดาวเสาร์ก็จะกลายเป็นให้คุณ ไม่ให้โทษ
ดังนั้น ในดวงชาตาของบุคคลใดก็ตามที่มีดาวร้ายที่สุดในพื้นดวงชาตากลับกลายเป็นการให้คุณสูงสุดในดวงชาตา ก็นับว่า ดวงชาตาลัคนาราศีพฤษภนี้โชคดีอย่างยิ่งในบรรดาลัคนาทั้งหมดใน 12 ราศี เพราะดาวร้ายที่สุดในดวงชาตาลดลงไป 1หนึ่งดวง และมีดาวดีเพิ่มขึ้นในดวงชาตาอีก 1ดวง ดังนั้นในการดำเนินชีวิตย่อมราบรื่น ปราศจากอุปสรรคและปัญหา ชีวิตจะประสบความสำเร็จ และมีการเจริญรุ่งเรืองอย่างไม่มีการถดถอย ถ้าหากดาวเสาร์สถิตย์ในตำแหน่งที่ดีในดวงชาตา
การโคจรของดาวเสาร์
เนื่องจากเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ มีการโคจรอย่างเชื่องช้ามากที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหลาย ทำให้ดาวเสาร์สถิตย์อยู่ในราศีต่างๆประมาณ 2 ปีครึ่ง และหากเป็นราศีตุลย์ก็จะสถิตย์อยู่นานถึง 3 ปี (รวมการโคจรพักร) ซึ่งทำให้ดาวเสาร์โคจรครบรอบจักราศีจะใช้เวลานานถึง 30 ปี สำหรับการโคจรในราศีพิจิกมีรายละเอียดดังนี้
-ดาวเสาร์ยกเข้าสู่ราศีพิจิก วันที่ 2 พย 2557 เวลา 22.25 น. ตามเวลาในประเทศไทย
-ดาวเสาร์ยกเข้าสู่ราศีธนูในวันที่ 26 ตค 2560 เวลา 16.58 น. ตามเวลาในประเทศไทย
และในการโคจรในราศีพิจิกนี้ดาวเสาร์ก็จะโคจรผ่านนักษัตรต่างๆในราศีนี้ คือ นักษัตรที่16.วิสาขะนักษัตร (บาทที่ 4) นักษัตรที่17.อนุราธะนักษัตร นักษัตรที่18. เชษฐะนักษัตร
ผลดี-ร้ายของดาวเสาร์ในราศีพิจิก (นับจากชนมราศี)
สำหรับในดวงชาตาของบุคคลที่ไป การคำนวนผลดีของดาวเคราะห์จร จะต้องพิจารณาจากชนมราศีกำเนิด หรือ ราศีที่ดาวจันทร์สถิตย์ในเวลาเกิด หรือ อาจะพิจารณาร่วมกับตำแหน่งของลัคนาด้วยก็ได้ กฏโดยทั่วไปกล่าวเอาไว้ว่าหากดาวเคราะห์จรไม่ว่าจะเป็นปาปเคราะห์หรือศุภเคราะห์ก็ตาม หากโคจรไปสถิตย์ในราศีที่ให้คุณแก่ดวงชาตา(นับจากชนมราศี) ก็จะกลายเป็นให้คุณแก่ดวงชาตานั้น แต่หากโคจรไปสถิตย์ในราศีให้โทษแก่ดวงชาตา(นับจากชนมราศี) ดาวศุภเคราะห์ก็จะกลายเป็นไม่ให้คุณ และดาวปาปเคราะห์ก็จะกลายเป็นให้โทษรุนแรงแก่ดวงชาตานั้น นอกจากจากนี้ก็ยังมีการพิจารณาการให้คุณโทษจากกฏอื่นๆร่วมอีกด้วย เช่น กฏของเวธกะ (การขัดขวางผลดี-ร้าย) กฏมูลติ นิรนายะ กฏของดาราพละ และกฏของอัษฏวีระกะค์ ฯลฯ เป็นต้น
กรุณาอ่านเพิ่มเติมเรื่องวิธีการพิจารณาผลดี-ร้ายจากวิธีต่างๆ ผลดี-ร้าย ของดาวพฤหัสในราศีสิงห์ ระหว่างปี 2558-2559
การพิจารณาผลโคจรของดาวเสาร์ จากกฏทั่วไป
จากหลักทั่วไปของโหราศาสตร์ภารตะ ท่านว่าดาวเสาร์จะให้คุณเมื่อโคจรไปสถิตย์ในราศีที่เป็น เรือนอุปปัจจัยจากชนมราศี ซึ่งก็คือ เรือนที่ 3 ที่ 6 และที่ 11 จากชนมราศีจันทร์กำเนิด ส่วนราศีนอกจากนี้ถือเป็นตำแหน่งให้โทษของดาวเสาร์แก่ดวงชาตา นอกเสียจากว่าดาวเสาร์ได้กำลังพิเศษจากทางอื่นๆ เช่น เป็นอุจน์ เป็นเกษตร เป็นมูลตรีโกณ หรือ พื้นดวงชาตามีความเข้มแข็งจากโครงสร้างของดวงชาตา หรือการให้คุณพิเศษจากดาวเคราะห์อื่นๆ
การโคจรของดาวเสาร์เข้าสู่ราศีพิจิก ถือว่าเป็นช่วงของคราวเคราะห์เรียกว่า "เสตสาติโทษ" ของคนที่ดาวจันทร์กำเนิดอยู่ในราศีพิจิกนี้ (ดาวเสาร์ทับจันทร์กำเนิด)โดยมีระยะเวลา 3 ช่วง 3 ราศี คือ ช่วงที่ 1 คือดาวเสาร์โคจรอยู่เรือนที่ 12 ของชนมราศี ช่วงที่ 2 คือ ดาวเสาร์โคจรร่วมกับชนมราศี และช่วงที่ 3 ดาวเสาร์โคจรไปสถิตย์ เรือนที่ 2 ของชนมราศี ซึ่งมีระยะเวลายาวนานรวมถึง 7 ปีครึ่ง
โดยการที่เสาร์ยกเข้าสู่ราศีพิจิก ก็จะส่งผลเสตสาติแก่บุคคนที่มีชนมราศีใกล้กับเสาร์ดังนี้ (1.)บุคคลที่มีชนมราศีเป็นราศีตุลย์ ดาวเสาร์อยู่ในช่วงระยะที่ 3 ของเสตสาติ (2.) บุคคลที่มีชนมราศีเป็นราศีพิจิก ดาวเสาร์อยู่ในช่วงระยะที่ 2 ของเสตสาติ (3.)บุคคลที่มีชนมราศีเป็นราศีธนู ดาวเสาร์อยู่ในช่วงระยะที่ 1 ของเสตสาติ
กรุณาอ่านเพิ่มเติม เสต สาติโทษ เคราะห์ร้าย 7ปีครึ่ง ที่ทุกๆคนต้องเผชิญ
ชนมราศี |
ตำแหน่งนับจากขนมราศี |
ดาวเสาร์ให้โทษ(สนิโคจารา) |
ราศีตุลย์ |
เรือนที่ 2 |
เสตสาติโทษระยะที่ 3 (ทวิติยา) |
ราศีพิจิก |
เรือนที่ 1 |
เสตสาติโทษระยะที่ 2 (ชนมะ) |
ราศีธนู |
เรือนที่ 12 |
เสตสาติโทษระยะที่ 1 (ทวาทศะ) |
ราศีเมษ |
เรือนที่ 8 |
อัฏฐมะสานิโทษ |
ราศีสิงห์ |
เรือนที่ 4 |
อัทธะอัฏฐมะสานิโทษ |
ราศีพฤษภ ราศีกุมภ์ |
เรือนที่ 7 เรือนที่ 10 |
กัณฑกะสานิโทษ |
กฏมูรติ นิรนายะ
ทฤษฎีนี้มีหลักว่าให้นับจากตำแหน่งของดาวจันทร์จร ขณะที่ดาวเสาร์จรยกเข้าราศีพิจิก ซึ่ง-ดาวเสาร์ยกเข้าสู่ราศีพิจิก วันที่ 2 พย 2557 เวลา 22.25 น. ตามเวลาในประเทศไทยดาวจันทร์ได้โคจรอยู่ในราศีกุมภ์ และใช้ราศีกุมภ์นี้เป็นมูลฐานในการคำนวนร่วมกับชนมราศีกำเนิดของเจ้าชาตา
ชนมราศีกำเนิด |
ชนมราศี+จันทร์ในราศีกุมภ์ |
ผลของมูรติ นิรนายะ |
ราศีกุมภ์,ราศีกันย์,ราศีเมษ |
ราศีที่1,6,11 |
สวารณะ(ทองคำ) |
ราศีตุลย์,ราศีมังกร,ราศีมิถุน |
ราศีที่ 5, 2, 9 |
รชฏ(เงิน) |
ราศีธนู ณาศีสิงห์ ราศีพฤษภ |
ราศีที่ 3, 7, 10 |
ทามระ(ทองแดง) |
ราศีพิจิก ราศีกรฏ ราศีมีน |
ราศีที่ 4, 8, 12 |
โลหะ(เหล็ก) |
ทฤษฎีนี้กำหนดคุณภาพของดาวเคราะห์จากธาตุต่างๆ โดยกฏกล่าวว่า ดาวปาปเคราะห์จะให้ผลร้าย ในสวารณะมูรติ (ทองคำ) และโลหะมูรติ(เหล็ก) ส่วนผลค่อนข้างดี คือทามระมูรติ และให้ผลดีมาก รชฏมูลติ (เงิน)
กฏดาราพละ (กำลังจากดาวนักษัตร)
ทฤษฎีนี้คำนวนจากนักษัตรกำเนิดของดวงชาตาหรือชนมนักษัตร (ชนมนักษัตร-นักษัตรที่จันทร์เสวยในเวลาเกิด) คำนวนร่วมกับการโคจรของดาวเสาร์ไปสถิตย์ในนักษัตรต่างๆ โดยดาวเสาร์ในราศีพิจิกได้โคจรไปสถิตย์ในนักษัตรฤกษ์ต่างๆกันดังนี้
ดาวเสาร์เสวยเพชฌฆาตฤกษ์ นักษัตรที่16.วิสาขะนักษัตร (บาทที่ 4) วันที่ 2 พย 2557 ถึงวันที่ 29 พย 2557
ดาวเสาร์เสวยราชาฤกษ์ นักษัตรที่17.อนุราธะนักษัตร วันที่ 29 พย 2557 ถึงวันที่ 27 ธค 2558
ดาวเสาร์เสวยสมโณฤกษ์ นักษัตรที่18. เชษฐะนักษัตร วันที่ 27 ธค 2558 ถึงวันที่ 26 มค 2560
ชนมนักษัตรกำเนิด |
เสาร์จรใน วิสาขะนักษัตร |
เสาร์จรใน อนุราธะนักษัตร |
เสาร์จรใน เชษฐะนักษัตร |
อัศวินี,มาฆะ,มูลละ |
นิธนะ (เพชฌฆาต) (7) |
มิตระ (ราชา) (8) |
ปรมมิตระ(สมโณ) (9) |
ภรณี,ปุรพผลคุณี,ปุรพาษาฒ |
สาธนะ(เทวี) (6) |
นิธนะ (เพชฌฆาต) (7) |
มิตระ (ราชา) (8) |
กฤตติกา,อุตรผลคุณี,อุตราษาฒ |
ปรัตยัก(เทศาตรี) (5) |
สาธนะ(เทวี) (6) |
นิธนะ (เพชฌฆาต) (7) |
โรหิณี,หัสตะ,สราวณะ |
เกษม(ภูมิปาโล) (4) |
ปรัตยัก(เทศาตรี) (5) |
สาธนะ(เทวี) (6) |
มฤคศิระ,จิตรา,ธนิษฐะ |
วิบัติ(โจโร) (3) |
เกษม(ภูมิปาโล) (4) |
ปรัตยัก(เทศาตรี) (5) |
อารทรา,สวาติ,สตภิษัท |
สมบัติ(มหัธโณ) (2) |
วิบัติ(โจโร) (3) |
เกษม(ภูมิปาโล) (4) |
ปุนรวสุ,วิสาขะ,ปูราภัทรปท |
ชนม (ทลิทโท) (1) |
สมบัติ(มหัธโณ) (2) |
วิบัติ(โจโร) (3) |
ปุษยะ,อนุราธะ,อุตราภัทรปท |
ปรมมิตระ(สมโณ) (9) |
ชนม (ทลิทโท) (1) |
สมบัติ(มหัธโณ) (2) |
อาศเลศะ,เชษฐะ,เรวดี |
มิตระ (ราชา) (8) |
ปรมมิตระ(สมโณ) (9) |
ชนม (ทลิทโท) (1) |
ผลของดาราพละนี้ เป็นการคำนวนผลดีร้ายจากนักษัตรฤกษ์ โดยมีผลดังนี้ 1. ชนม(ทลิทโทฤกษ์) เป็นอันตราย 2. สมบัติ(มหัธโณฤกษ์) ทรัพย์สินเงินทอง 3.วิบัติ(โจโรฤกษ์) เสียหาย 4.เกษม(ภูมิปาโลฤกษ์) เจริญรุ่งเรือง 5.ปรัตยัก(เทศาตรีฤกษ์) อุปสรรค 6. สาธนะ(เทวีฤกษ์) สมปรารถนา 7.นิธนะ (เพชฌฆาตฤกษ์) อันตราย 8.มิตระ (ราชาฤกษ์) ดี สำเร็จ 9.ปรมมิตระ(สมโณฤกษ์) ดีมาก
ซึ่งหากคำนวนดาราพละแล้วปรากฏว่า เป็นฤกษ์ที่ 1 ทลิทโท ที่ 7 เพชฌฆาต ดาวเสาร์จรจะให้ผลร้ายมาก และที่ 3 โจโร ที่ 5 เทศาตรี ก็จะให้ผลร้ายปานกลาง ส่วน ฤกษ์ที่ 2 มหัทธโน ที่ 4 ภูมิปาโล ที่ 6 เทวี ที่ 8 ราชา จะให้ผลดี และที่ 9 สมโณฤกษ์ จะให้ผลดีสูงสุด ดังนั้นผลของดาวเสาร์จรจะให้ผลดี-ร้ายได้ก็ต้องตรวจดูจากดาราพละ ของดวงชาตาเดิมที่สัมพันธ์กับดาวเสาร์ในทางจร
สรุปผลการโคจร
นอกจากวิธีการคำนวนผลดีร้ายข้างต้นแล้วก็ยังมีวิธีอื่นๆอีกหลายวิธี และในระหว่างที่ดาวเสาร์กำลังโคจรในราศีพิจิก ก็ยังมีดาวพระเคราะห์ที่สำคัญอื่นๆโคจรมาร่วมในราศีต่างๆ เช่น ดาวพฤหัสยกเข้าสู่ราศีสิงห์ในปี 2558 -2559 และมีดาวราหูและเกตุ(สากล) ยกเข้าสู่ราศีสิงห์และกุมภ์ตามลำดับ ซึ่งจะส่งผลต่อดวงชาตาร่วมกับเสาร์หากมีทรรศนสัมพันธ์ต่อกันทั้งทางดีและทางร้าย ทั้งในดวงเดิมและดวงจร ทั้งในการเสวยอายุและแทรกอายุของบุคคล ในการสถิตย์ของเสาร์ในราศีพิจิกนี้โดยทั่วไปจะสถิตย์อยู่ประมาณ 2 ปีครึ่ง แต่หากรวมกับการโคจรพักรถอยหลังแล้ว ก็รวมเวลาเกือบ 3 ปี (2 ปี 11 เดือน 23 วัน)ซึ่งเป็นระยะเวลาที่นานมากทีดียว
ราศีพิจิก เป็นราศีที่ครอบครองโดยดาวอังคาร ซึ่งดาวอังคารเป็นศัตรูตามธรรมชาติของดาวเสาร์ ราศีนี้มีระยะระหว่าง 213-240 องศาในจักราศี เป็นราศีคงที่และเป็นราศีธาตุน้ำ อีกทั้งราศีนี้ก็เป็นราศีนิจสำหรับดางจันทร์, ราศีพิจิกเป็นเรือนที่ 8 ในจักรราศีของโลกซึ่งเริ่มต้นจากราศีเมษ ในหลักโหราศาสตร์เรือนที่ 8 เป็นเรือนของอายุ และเป็นเรือนแห่งภัยพิบัติ,อุปสรรค,ความขัดแย้ง และความเร้นลับ การโคจรของดาวเสาร์ในราศีพิจิกจะนำไปสู่การเผชิญหน้าโดยตรงกับดาวอังคาร อาจจะมีการกระทบกระทั่งกัน การเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ความพ่ายแพ้ในการแข่งขัน ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียด การปะทุของปัญหาที่เคยถูกปิดบังเอาไว้ การเจ็บป่วยเรื้อรัง กิจการที่ล้มเหลว ความเครียด ความคิดที่ไม่มีเหตุผล ข้อผิดพลาดในการตัดสินใจ การขาดความสงบสุขในชีวิตสมรส ฯลฯ มุมตรีโกณและมุมเกณฑ์ของดาวพฤหัสบดีในราศีกรกฏ-สิงห์ที่ส่งผลต่อดาวเสาร์ในราศีพิจิก ก็อาจจะช่วยลดผลกระทบเชิงลบได้ในระดับหนึ่ง
ผลการโคจรที่ระบุข้างต้นขึ้นคำนวนเฉพาะชนมราศีของเจ้าชาตาที่ได้ระบุเอาไว้เท่านั้น แต่ไม่ควรจะนำมาใช้ตัดสินผลดี-ร้ายในการโคจรเพียงอย่างเดียวโดยไม่พิจารณาเหตุผลด้านอื่นมาประกอบ
ผลดี-ร้ายอาจได้รับการปรับเปลี่ยนได้โดยขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดาวเคราะห์ทุกดวงโดยรวม ความเข้มแข็งและมีกำลังของดาวเสาร์ในดวงชาตากำเนิด ทั้งในราศีจักรและนวางศ์จักร; ดาวศุภเคราะห์-บาปเคราะห์ที่ส่งเกณฑ์ต่อดาวเสาร์และราศีที่ดาวเสาร์สถิตย์ในพื้นดวง ; การเสวยอายุและแทรกของดาวเคราะห์ต่างๆ และตำแหน่งการโคจรของดาวเคราะห์อื่น ๆ เช่นดาวพฤหัสบดีราหู, เกตุ ฯลฯ
นอกจากนี้เราไม่ควรสรุปผลตามผลในทางโคจรแต่เพียงอย่างเดียว ผลดี-ร้ายนั้นอาจจะได้รับการควบคุม จำกัด หรือขัดขวางการเปลี่ยนแปลงผล โดยตำแหน่ง"เวทะ"และ"วิปริตะเวทะ"จากการโคจรของดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ และนอกจากนี้ก็ต้องพิจารณาผลของ"อัษฏะวีรกะค์"ของดาวเคราะห์ในราศีต่างๆจากพื้นดวงเดิม ดังนั้นสำหรับการประเมินผลของการโคจรจะต้องทำการประเมินผลจากผลรวมของกฏหรือเทคนิคอื่น ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยต้องทำการประเมินผลจากพื้นดวงชาตากำเนิดเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลเท่านั้น