บทที่ 5
เวลานาฬิกาและเวลาท้องถิ่น
(14) โลกมีลักษณะเป็นลูกกลมมีขั้วหรือปลายสุด 2 ขั้ว ขั้นเบื้องบนเรียกว่าขั้วโลกเหนือ ขั้นเบื้องต่ำเรียกว่าขั้นโลกใต้ระหว่างขั้นเหนือและขั้วใต้แบ่งระยะออกเป็นองศาลิปดาตั้งศูนย์กลางที่กึ่งกลางโลก เส้นสูญสูตร เรียกว่าระยะวิถันตรหรือระยะรุ้ง ถ้าเหนือศูนย์กลางก็เรียกว่าวิถันดรเหนือหรือรุ้งเหนือ ถ้าใต้ศูนย์กลางก็เรียกว่าวิถันดรใต้หรือรุ้งใต้ เมื่อโลกมีลักษณะเป็นรูปกลม จะเป็นโดยโลกหมุนรอบตัวเองและเคลื่อนไปรอบดวงอาทิตย์ก็ดีหรือดวงอาทิตย์จรรอบโลกก็ดี ทั้ง 2 ประการพื้นโลกทั่วไปก็ย่อมไม่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์พร้อมกัน เพราะส่วนโค้งของทรงกลมของโลกย่อมบังแสงเป็นเงาในตัวเอง ส่วนไหนที่รับแสงอาทิตย์ก่อนเรียกส่วนนั้นทิศนั้นว่าตะวันออก ทิศตรงข้ามเรียกว่าตะวันตก ในระหว่างทิศตะวันออกตะวันตกแบ่งระยะออกเป็นองศาลิปดา ฯลฯ เรียกว่าระยะทีฆันดรหรือระยะแวง ถ้าทางตะวันออกก็เรียกว่าทีฆันดรตะวันออกหรือระยะแวงตะวันออก ทางตะวันตกก็เรียกว่าทีฆันดรตะวันตกหรือระยะแวงตะวันตก
(15) เหตุที่โลกเป็นรูปทรงกลม และพื้นที่ของโลกรับแสงอาทิตย์ไม่พร้อมกันเวลาที่กำหนดเป็นมาตราไว้ก็ย่อมผิดกัน สุดแท้ระยะรุ้งแวงของสถานที่ทั้งการโคจรของอาทิตย์และส่วนโค้งของโลก เพื่อเป็นหลักในการเทียบเวลาจึงตั้งหลักของเวลาที่ศูนย์กลางระยะซึ่งเป็นที่ตั้ง จ.ว. กรีนิช ประเทศอังกฤษ เวลาที่กรีนิชเรียกว่าเวลามัธยมกรีนิชระยะแวงนับจากศูนย์กลางที่อ้อมรอบโลกมาบรรจบที่ศูนย์กลางอีกเป็นระยะ 360 องศา โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ 360 องศาเป็นเวลา 4 นาที หรือ 10 วิมหานาที หรือเวลา 4 นาทีหรือ 10 วิมหานาที โลกเคลื่อนไปได้ 1 องศา หรือ ณ สถานที่ทุก ๆ 1 องศาของระยะแวงโลกได้รับแสงอาทิตย์ช้าเร็วกว่ากันองศาละ 4 นาที หรือ 30 วิมหานาที สุดแท้แต่สถานที่นั้นอยู่ทางตะวันออกหรือตะวันตกของศูนย์กลางคือที่กรีนิช ถ้าสถานที่นั้นอยู่ทางตะวันออกของกรีนิชก็ได้รับแสงอาทิตย์ก่อนเวลามัธยามกรีนิชของสาละ
4 นาทีหรือ 10 วิมหานาที ถ้าอยู่ทางตะวันตกของกรีนิชก็ได้รับแสงอาทิตย์ภายหลังเวลามัธยมกรีนิชของสาละ 4 นาทีหรือ 10 วิมหานาที รวมความว่าสถานที่ใดอยู่ทางตะวันออกของกรีนิชเวลาของสถานที่นั้นเร็วกว่าเวลามัธยมกรีนิช 4 นาทีหรือ 10 วิมหานาทีต่อ 1 องศาของระยะแวง เวลาเฉพาะสถานที่นี้เรียกว่าเวลามัธยมท้องถิ่น ถ้าสถานที่นั้นอยู่ทางตะวันตกของกรีนิชเวลามัธยมท้องถิ่นเฉพาะสถานที่นั้นก็ช้ากว่าเวลามัธยมกรีนิช 4 นาทีหรือ 10 วิมหานาทีต่อ 1 องศา
ในการหาเวลาที่แน่นอนต้องทำดังนี้
ก. เวลามัธยมท้องถิ่นต้องเทียบจากเวลามัธยมกรีนิชเสมอ
ข. เวลามัธยมท้องถิ่นเท่ากับ เวลามัธยม กรีนิช + หรือ – ฑีฆันดร/15องศา
ค. + ถ้าสถานที่นั้นอยู่ทางตะวันออกของกรีนิช
ง. – ถ้าสถานที่นั้นอยู่ทางตะวันตกของกรีนิช
(16) ประเทศต่าง ๆ ได้ตั้งเวลาขึ้นใช้เฉพาะภายในประเทศหรือเฉพาะภาคของมหาประเทศ
โดยกะเอาที่ระยะแวงของจังหวัดหนึ่งในประเทศหรือภาคนั้นเป็นเกณฑ์แล้วถือเอาเป็นเวลาเฉพาะภาคหรือประเทศเรียกว่าเวลาอัตรา ประเทศสยามเริ่มใช้เวลาอัตราเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 กะเอาที่ระยะแวง 105 องศาตะวันออก ตรงกับที่ตั้งจังหวัดอุบลซึ่งเป็นสถานที่ ๆ ได้รับแสงอาทิตย์ก่อนกรีนิช 7 ชั่วโมงหรือเร็วกว่าเวลามัธยมกรีนิช 7 ชั่วโมง เป็นเวลามัธยมท้องถิ่นเฉพาะจังหวัดอุบล แต่ถือเอาเป็นเวลาอัตราทั่วประเทศ แต่จังหวัดต่าง ๆ ในประเทศหนึ่ง ๆ ไม่ได้ตั้งอยู่ในระยะรุ้งระยะแวงเดียวกัน ฉะนั้นเวลามัธยมท้องถิ่นและเวลาอาทิตย์ขึ้นก็ย่อมแตกต่างกัน เช่นประเทศสยามแต่ละจังหวัดตั้งที่ระยะรุ้ง (วิถันดร) เหนือ 6 องศาถึง 20 องศา ระยะแวง (ทีฆันดร) ตะวันออก 98 องศาถึง 105 องศาเมื่อได้ตั้งเวลาอัตราแล้วเวลาที่ได้จากนาฬิกาเป็นเวลาอัตราของประเทศ เช่นเวลานาฬิกาในประเทศสยามเป็นเวลาอัตราของประเทศสยามก็จะเป็นเวลามัธยมท้องถิ่นได้เฉพาะจังหวัดอุบลจังหวัดเดียว
(17) หาเวลามัธยมท้องถิ่นในประเทศสยาม วิธีหาเวลามัธยมท้องถิ่นก่อนวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2463 เวลาที่ได้จากนาฬิกานั้นเป็นเวลามัธยมท้องถิ่นสำหรับ
จังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ถ้าต่างจังหวัดให้เอาอัตราเวลาทีฆันดรสำหรับจังหวัดนั้น ๆ บวกหรือลบเวลานาฬิกาเสียก่อน จะได้เป็นเวลามัธยมท้องถิ่นเฉพาะจังหวัด
ก. เวลานาฬิกาก่อนวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2463 เป็นเวลามัธยมท้องถิ่นสำหรับจังหวัดพระนครและธนบุรี
ข. เวลานาฬิกาก่อนวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2463 + หรือ – อัตราเวลาทีฆันดรต่างจังหวัด – เวลามัธยมท้องถิ่นจังหวัด
ถ้าภายหลังตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2463 เป็นต้นมาให้เอา 18 นาที 2 วินาทีลบเวลาอัตรา จะได้เป็นเวลามัธยมท้องถิ่นเฉพาะพระนครและธนบุรี เมื่อได้เวลามัธยมท้องถิ่น พระนคร ธนบุรี แล้วต้องการเวลามัธยมท้องถิ่นต่างจังหวัด เอาอัตราเวลาทีฆันดรเฉพาะจังหวัดบวกหรือลบเวลามัธยมท้องถิ่นพระนครธนบุรี จะได้เป็นเวลามัธยมท้องถิ่นเฉพาะจังหวัดนั้น ๆ (ดูตารางเวลาท้ายบท)
ก. เวลานาฬิกาภายหลังตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2463 เป็นเวลาอัตราของประเทศสยาม
ข. เวลาอัตรา – 17 นาที 2 วินาที = เวลามัธยมท้องถิ่นสำหรับจังหวัดพระนครและธนบุรี
ค. เวลามัธยมท้องถิ่นจังหวัดพระนครธนบุรี + หรือ – อัตราเวลาทีฆันดรจังหวัดเวลามัธยมท้องถิ่นจังหวัด
ตารางเทียบเวลาที่จะต้องเพิ่มและหักจากเวลานาฬิกา และตำแหน่งที่ตั้งจังหวัดตามระยะวิถันดร เพื่อหาอันโตนาที
จังหวัด เพิ่มหรือหัก อยู่ที่วิถันดร (รุ้ง) ระยะวิถันดรเหนือ
กรุงเทพฯ ธนบุรี - - ,, 13 องศา 45 ลิปดา
กระบี่ - 6 นาที 54 วินาที ,, 8 ,, 08 ,,
กระ บุรี - 7 ,, 50 ,, ,, 10 ,, 16 ,,
กาญจนบุรี - 3 ,, 58 ,, ,, 18 ,, 00 ,,
กำแพงเพชร - 3 ,, 42 ,, ,, 16 ,, 34 ,,
ขอนแก่น + 9 ,, 46 ,, ,, 16 ,, 32 ,,
จันทบุรี + 8 ,, 18 ,, ,, 12 ,, 38 ,,
ฉะเชิงเทรา + 2 ,, 18 ,, ,, 13 ,, 44 ,,
ชลบุรี + 2 ,, 18 ,, ,, 13 ,, 26 ,,
ชัยนาท - 1 ,, 10 ,, ,, 15 ,, 16 ,,
ชัยภูมิ + 6 ,, 02 ,, ,, 15 ,, 40 ,,
ชุมพร - 5 ,, 16 ,, ,, 10 ,, 31 ,,
เชียงราย - 2 ,, 46 ,, ,, 19 ,, 52 ,,
เชียงใหม่ - 6 ,, 14 ,, ,, 18 ,, 46 ,,
ตรัง - 4 ,, 06 ,, ,, 7 ,, 34 ,,
ตราด + 8 ,, 26 ,, ,, 12 ,, 14 ,,
ตาก - 5 ,, 50 ,, ,, 16 ,, 05 ,,
นครนายก + 3 ,, 14 ,, ,, 14 ,, 10 ,,
นครปฐม - 1 ,, 58 ,, ,, 13 ,, 55 ,,
นครพนม + 16 ,, 58 ,, ,, 17 ,, 24 ,,
นครราชสีมา + 6 ,, 24 ,, ,, 19 ,, 58 ,,
นครศรี ธรรมราช - 2 ,, 06 ,, ,, 8 ,, 26 ,,
นครสวรรค์ - 1 ,, 34 ,, ,, 15 ,, 36 ,,
นนท์ บุรี + 0 ,, 04 ,, ,, 13 ,, 50 ,,
นราธิวาส + 5 ,, 38 ,, ,, 6 ,, 26 ,,
นครราชสีมา + 6 ,, 24 ,, ,, 19 ,, 58 ,,
น่าน + 1 ,, 06 ,, ,, 18 ,, 46 ,,
บุรีรัมย์ + 6 ,, 42 ,, ,, 15 ,, 00 ,,
ปทุมธานี + 0 ,, 22 ,, ,, 14 ,, 06 ,,
ประจวบ คีรีขันธ์ - 1 ,, 34 ,, ,, 11 ,, 50 ,,
ปราจีนบุรี + 3 ,, 38 ,, ,, 13 ,, 56 ,,
ปัตตานี + 2 ,, 50 ,, ,, 6 ,, 52 ,,
พังงา - 8 ,, 10 ,, ,, 8 ,, 32 ,,
พัทลุง + 2 ,, 26 ,, ,, 7 ,, 40 ,,
พิจิตร - 0 ,, 38 ,, ,, 16 ,, 20 ,,
พิ ณุโลก - 0 ,, 10 ,, ,, 16 ,, 47 ,,
เพชรบุรี + 2 ,, 18 ,, ,, 13 ,, 06 ,,
เพชรบูรณ์ + 2 ,, 50 ,, ,, 16 ,, 18 ,,
แพร่ - 1 ,, 10 ,, ,, 18 ,, 08 ,,
ภูเก็ต - 8 ,, 54 ,, ,, 7 ,, 54 ,,
มหาสารคาม + 2 ,, 42 ,, ,, 16 ,, 10 ,,
แม่ฮ่องสอน - 10 ,, 46 ,, ,, 19 ,, 12 ,,
ยะลา + 2 ,, 42 ,, ,, 6 ,, 36 ,,
ร้อยเอ็ด +12 ,, 50 ,, ,, 15 ,, 58 ,,
ระนอง - 7 ,, 26 ,, ,, 10 ,, 04 ,,
ระยอง + 3 ,, 14 ,, ,, 12 ,, 46 ,,
ราชบุรี - 2 ,, 18 ,, ,, 13 ,, 38 ,,
ลพบุรี + 3 ,, 34 ,, ,, 14 ,, 50 ,,
ลำปาง - 4 ,, 14 ,, ,, 08 ,, 18 ,,.
ลำพูน - 4 ,, 38 ,, ,, 18 ,, 32 ,,
เลย + 4 ,, 50 ,, ,, 07 ,, 28 ,,
ศรี ษะเกศ + 5 ,, 54 ,, ,, 05 ,, 04 ,,
สกลนคร + 14 ,, 10 ,, ,, 17 ,, 08 ,,
สงขลา + 0 ,, 42 ,, ,, 7 ,, 16 ,,
สตูล - 0 ,, 38 ,, ,, 6 ,, 40 ,,
สมุทรปราการ + 0 ,, 42 ,, ,, 13 ,, 36 ,,
สมุทรสงคราม - 0 ,, 53 ,, ,, 13 ,, 34 ,,
สมุทรสาคร + 0 ,, 10 ,, ,, 13 ,, 36 ,,
สระบุรี + 2 ,, 02 ,, ,, 14 ,, 38 ,,
สิงห์บุรี + 0 ,, 24 ,, ,, 14 ,, 52 ,,
สุโขทัย - 2 ,, 34 ,, ,, 17 ,, 05 ,,
สุพรรณบุรี - 0 ,, 18 ,, ,, 04 ,, 26 ,,
สุราษฎร์ ธานี - 4 ,, 38 ,, ,, 9 ,, 10 ,,
สุรินทร์ + 3 ,, 10 ,, ,, 18 ,, 56 ,,
หนองคาย + 8 ,, 59 ,, ,, 17 ,, 40 ,,
อยุธยา + 0 ,, 18 ,, ,, 14 ,, 22 ,,
สิงห์บุรี + 0 ,, 24 ,, ,, 14 ,, 52 ,,
อ่างทอง + 0 ,, 18 ,, ,, 14 ,, 40 ,,
อุดร + 9 ,, 16 ,, ,, 17 ,, 24 ,,
อุตรดิตถ์ - 0 ,, 34 ,, ,, 17 ,, 08 ,,
อุทัยธานี - 0 ,, 57 ,, ,, 15 ,, 26 ,,
อุบลราชธานี + 18 ,, 02 ,, ,, 15 ,, 09 ,,