Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

บทที่ 3

ปฏิทินและปูม

˜

(9)  ดาวเคลื่อนที่  ๆ เรียกว่าดาวเคราะห์หรือเคลื่อนจากที่เดิมอยู่ทุกวันทุกเวลา  เพื่อความสะดวกเมื่อต้องการจะรู้ว่าวันไหนเมื่อไรดาวเคราะห์ไหนอยู่ที่ไหนที่เรียกว่าที่สถิตของดาวเคราะห์  ท่านจึงบันทึกที่สถิตของดาวเคราะห์ไว้ทั้งอดีต  และอนาคต (ซึ่งได้จากผลของการสังเกตการณ์ และแล้วตั้งเป็นกฎวิธีคำนวณไว้เรียกว่า คัมภีร์สุริยาตร์)  รายการบันทึกที่สถิตย์ของดาวเคราะห์เรียกว่าปฏิทิน  ในปฏิทินบันทึกรายการโคจรของดาวเคราะห์ในเวลาที่กำหนดไว้เฉพาะวันหนึ่ง ๆ

(10)  ปฏิทินโหราศาสตร์สยามกำหนดเอาเวลา 2 ยามตรง หรือ 24.00 นาฬิกาของวันเป็นเวลาจำกัดที่จะบันทึกที่สถิตของดาวเคราะห์ (ราศีองศาลิปดา)  บูรพาจาริย์ท่านอ้างว่าเวลานั้นเป็นเวลาที่ตรวจดูดาวในท้องฟ้าได้สะดวก  ในปฏิทินบันทึกรายการโคจรหรือที่สถิตของอาทิตย์และจันทร์  ไว้ทุกวันพร้อมทั้งดิถีและฤกษ์ประจำวันที่จันทร์จรผ่านเข้าในกลุ่มดาวฤกษ์นั้น ๆ ส่วนดาวเคราะห์อื่นนอกจากอาทิตย์  และจันทร์บันทึกรายการที่สถิตไว้ในวันสิ้นปักษ์  มีหมายเหตุบอก พักร์ มนท์ เสริด และวันย้ายหรือยกขึ้นราศีใหม่ (ถ้ามี) ไว้ในระหว่างปักษ์ รวมความว่าในปฏิทินมีรายการที่สถิตประจำวันของดาวเคราะห์อาทิตย์ จันทร์ ทุกวัน มีรายการที่สถิตของดาวเคราะห์อื่น ๆ ทุกปักษ์ คือวันสุดของปักษ์ข้างขึ้นหรือปักษ์ต้นเดือนครั่งหนึ่ง  วันสุดท้ายของปักข้างแรมหรือปักษ์ปลายเดือนครั้งหนึ่งพร้อมทั้งวันพักร์  เสริด  มนท์  และวันขึ้นราศีใหม่ (ถ้ามี)  ระหว่างปักษ์ปฏิทินนี้คำนวณล่วงหน้าเป็นปี ๆ

นักศึกษาจำต้องมีปฏิทินโหราศาสตร์อย่างนี้ไว้ใช้  ถ้าไม่มีก็จะผูกดวงชะตา หรือทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ จากดวงชะตาไม่ได้  โดยมากมีผู้รวบรวมไว้จำหน่ายเป็นเล่ม  ๆ หลาย ๆ ปี.


(11)  ตัวอย่างปฏิทิน

ปักษ์ข้างขึ้น

 

ก.ปฏิทินรายปักษ์  ประจำเดือน 9 ปีขาล พ.ศ. 1312

คำอธิบายดูปฏิทิน

(1)  ช่องที่ 1 ราศี  องศา  ลิปดา  อาทิตย์  เรียกว่าสผุดอาทิตย์

(2)  ช่องที่ 2 ราศี  องศา  ลิปดา  จันทร์  หรือสผุดจันทร์

(3)  ช่องที่ 3 อักษรย่อแทนตัว

(4)  ช่องที่ 4 ฤกษ์ นาทีฤกษ์ของจันทร์

(5)   ช่องที่ 5 ดิถี นาทีดิถี

(6)   วันที่ของเดือนสุริยคติ

(7)   ในตารางท้ายปักษ์ ราศี  องศา  ลิปดา  ฤกษ์นาทีฤกษ์ ของอังคารถึงมฤตยู ในวันท้ายปักษ์

(8)    เลขในช่องว่างบอกรายการพระเคราะห์ย้ายราศีระหว่างปักษ์

(9)    ปักษ์ข้างขึ้น  แถวหน้าลงมาวันขึ้น 2 ค่ำเดือน 9 แถวสุดท้ายวันแรม 1 ค่ำเดือน 9

(10)  ปักษ์ข้างแรม  แถวหน้าลงมาวันแรม 2 ค่ำเดือน 9 แถวสุดท้ายวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 10

เมื่อครบปีหนึ่งก็บันทึกรายการย่อไว้เรียกว่าปูม

 

คำอธิบายดูปูม

(1)  เลขน่าปูมคือผลคำนวณจากเกณฑ์สุริยาตร์มีไว้สำหรับสอบหาสผุดดาวเคราะห์

(2)  เลขในตารางแถวบนคือ เดือนจันทร์คติเดือนหนึ่งแบ่งออกเป็น 2 ช่อง ๆ หน้าข้างขึ้นช่องหลังข้างแรม

(3)  เลขในตารางแถวที่ 2 ถัดช่องเดือนลงมาเป็นเลขแทนวัน  ตัวเลขในช่องข้างขึ้นเป็นวันที่ตรงกับวันต้นเดือนตัวเลขในข้างแรมเป็นวันที่ตรงกับวันสิ้นเดือน เช่นเดือน 5 ขึ้น 1  ค่ำตรงกับวันอาทิตย์ แรม 14 ค่ำวันสิ้นเดือนตรงกับวันอาทิตย์

(4)  ตัวอักษรแถวหน้าลงมา  เป็นตัวอักษรแทนชื่อดาวเคราะห์ อาทิตย์ อังคาร ฯลฯ ถึงดาวเคราะห์มฤตยู

(5)  ในบรรทัด อ. (อาทิตย์) ในช่องของเดือนต่าง ๆ มีเลขซ้อนอยู่ 2 จำนวน เลขจำนวนบนเป็นดิถีที่ดาวเคราะห์ อาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศี (อยู่ในช่องข้างขึ้นเป็นดิถีข้างขึ้นอยู่ในช่องข้างแรมเป็นดิถีข้างแรม)  เลขจำนวนล่างเป็นราศีหรือแทนราศีที่ดาวเคราะห์ยกขึ้นสู่เมื่อวันดิถีนั้น ๆ เช่นในแถวเดือน 5 บรรทัดอาทิตย์  ช่องข้างแรมมีเลข       11/0             คืออาทิตย์ ยกขึ้นสู่ราศีเมษเมื่อวันแรม 11 ค่ำเดือน 5 แถวเดือน 5 บรรทัด ว. (พุธ) ช่องข้างขึ้นมีเลข  11/0         คือพุธขึ้นสู่ราศีเมษเมื่อวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5

(6)  บรรทัดสุดท้าย 2 บรรทัด ๆ บนวันที่ของเดือนสุริยคติที่ตรงกับวันขึ้นค่ำ 1 ของเดือนจันทรคติ  บรรทัดล่างเดือนสุริยคติ

ปัจจุบันมีปฏิทินแสดงที่สถิต  ประจำวันของดาวเคราะห์ทุกดาวเคราะห์ เป็นรายการละเอียดสะดวกแก่การหาที่สถิตย์ของดาวเคราะห์เมื่อต้องการ