บทที่ 6
แผนจักรราศี
(17) แผนจักรราศีหรือแผนจำลองของท้องฟ้า เป็นที่หมายถึงที่สถิตหรือสผุด หรือสมผุดของดาวเคราะห์ในวันเวลาที่ต้องการรู้ โดยคัดจากปฏิทินและคำนวณ (องศา ลิปดา) ของการโคจรของดาวเคราะห์ เมื่อเวลาต้องการรู้หรือเวลาประสงค์ แล้วบรรจุย่อยดาวเคราะห์เข้าในช่องราศีตามที่ดาวเคราะห์สถิตเวลานั้น (ดูรูป)
หาสผุดดาวเคราะห์ทำดังต่อไปนี้
ก. หาเวลามัธยมท้องถิ่น คือ เวลาประสงค์และเวลาสผุดดาวเคราะห์ในปฏิทิน
ข. หาจำนวนเวลา ระหว่าง สผุดดาวเคราะห์ในปฏิทินถึงเวลาประสงค์ คือจากเวลา 00.00 น. ถึงเวลาที่จะหา
ค. เอาสผุดน้อยลบสผุดมาก (สผุดดาวเคราะห์ในปฏิทิน) ระหว่างวันที่อยู่ติดกัน เพื่อให้ทราบว่าระหว่างนั้นดาวเคราะห์โคจรไปกี่องศากี่ลิปดา
ง. เฉลี่ยผลลัพธ์ในข้อ ค. เป็นวัน ชั่วโมง นาที วินาที ละกี่องศา ลิปดา
จ. เอาจำนวนเวลาในข้อ ข. คูณผลเฉลี่ยในข้อ ง.
ฉ. เอาผลคูณในข้อ จ. บวกหรือลบสผุดดาวเคราะห์ในปฏิทินก่อนเวลาประสงค์ ถ้าดาวเคราะห์จรปกติบวก ถ้าพักร์หรือสผุดของดาวเคราะห์ราหู เกตุ ลบได้ผลเป็นสผุดดาวเคราะห์เวลาประสงค์
(19) วิธีหาแผนจักรราศีวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2493 เวลาอัตรา 10.45 น. สำหรับจังหวัดพระนครธนบุรี จากปฏิทินรายปักษ์ต้องดูปฏิทินรายปักษ์ข้างต้น
ก. สำหรับอาทิตย์และจันทร์ เอาสผุดน้อยลบสผุดมากแล้วเฉลี่ยเป็นชั่วโมง นาที วินาที เอาจำนวนเวลาจากสผุดดาวเคราะห์ในปฏิทินถึงเวลาประสงค์คูณได้เท่าใดเอาไปบวกสผุดก่อนเวลาประสงค์
ข. ถ้าเวลาประสงค์อยู่ในวันของปักษ์ข้างขึ้นและใน ระหว่างปักษ์ไม่มีดาวเคราะห์ยก เอาสมุดดาวเคราะห์ในวันสุดท้ายของปักษ์ข้างขึ้นนั้นตั้ง เอาสผุดในวันสุดท้ายของปักษ์ข้างแรมเดือนก่อนลบ (ถ้าดาวเคราะห์พักร์ หรือราหูเกตุก็กลับกัน) ได้เท่าไรเฉลี่ยเป็น 1 วัน 1 ชั่วโมง ฯลฯ จากจำนวนวันของปักษ์นั้น แล้วเอาจำนวนวันแต่ละวันต้นของปักษ์และจำนวนชั่วโมง ฯลฯ ถึงวันเวลาประสงค์คูณ ได้เท่าไรเอาไปบวกหรือลบสผุดวันสุดท้ายของปักษ์ข้างแรมเดือนก่อน
ค. ถ้าเวลาประสงค์อยู่ในวันของปักษ์ข้างแรม เอาสผุดวันสุดท้ายของปักษ์นั้นตั้งเอาสผุดวันสุดท้ายของปักษ์ข้างขึ้นเดือนเดียวกันลบ (ถ้าดาวเคราะห์พักร์หรือราหูเกตุก็กลับกัน) ต่อไปทำเหมือนข้อ ข.
ง. ถ้าในปักษ์ ของวันประสงค์มีดาวเคราะห์ยกก่อนวันประสงค์ เฉลี่ยสผุดดาวเคราะห์แต่วันยกถึงวันสุดท้ายของปักษ์นั้น และจำนวนวันคูณแต่วันยกถึงวันประสงค์ถ้ามีดาวเคราะห์ยกกายหลังวันประสงค์ เฉลี่ยสผุดดาวเคราะห์แต่วันต้นปักษ์ถึงวันที่ดาวเคราะห์ยก จำนวนวันคูณแต่วันต้นปักษ์ถึงวันประสงค์
ดาวเคราะห์จันทร์
หาสผุดจันทร์ทำเหมือนหาสผุดอาทิตย์ คือเอาวันที่มีสผุดมากตั้งเอาวันติดต่อที่มีสผุดน้อยลบ เหลือเท่าไรเป็นจันทร์ในหนึ่งวันหรือ 24 ชั่วโมง เอาไปเฉลี่ยเป็นจันทร์จรต่อ 1 ชั่วโมง 1 นาที ฯ แล้วเอาเวลาประสงค์คูณตามลำดับชั่วโมง นาที 1 ได้เท่าไหรบวกเข้าด้วยกัน เป็นระยะที่จันทร์จรตั้งแต่เวลาสผุดในปฏิทินถึงเวลาประสงค์ แล้วเอาระยะจันทร์จรนี้บวกเข้ากับสผุดจันทร์ก่อนเวลาประสงค์ ได้เป็นสผุดจันทร์เวลาประสงค์
สผุดจันทร์เวลาประสงค์วันที่ 7 กันยายน 2 22° 4.0 ลิปดา
= ราศีมิถุน 22 องศา 40 ลิปดา
ดาวเคราะห์อังคาร
ในปฏิทินรายปักษ์ อังคารเมื่อวันสุดท้ายของปักษ์ข้างขึ้นคือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 ตรงกับวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2493
ดาวเคราะห์พุธ
สผุดพุธวันสุดท้ายของปักษ์ข้างขึ้น 4 23° 40 ลิปดา
สผุดพุธวันสุดท้ายของปักษ์ข้างแรม 4 34 39
สผุดวันสุดท้ายของปักษ์ข้างแรมน้อยกว่าสผุดวันสุดท้ายของปักษ์ข้างขึ้น นี้แสดงว่าพุธพักร์หรือจรถอยหลัง แต่ในปฏิทินไม่มีหมายเหตุวันที่พุธเริ่มถอยหลังหรือพักร์ จึงต้องถือว่าพักร์ตั้งแต่วันต้นปักษ์ข้างแรม ต่อไปทำเหมือนดาวเคราะห์อังคารแต่ โดยเหตุที่พุธพักร์เมื่อได้ระยะของพุธเท่าไร เอาไปลบสผุดวันสุดท้ายของปักษ์ข้างขึ้น ทำแล้วได้
สผุดพุธเวลาประสงค์วันที่ 7 กันยายน 4 18° 14 ลิปดา
= ราศีสิงห์ 17 องศา 14 ลิปดา
ดาวเคราะห์พฤหัสบดี
สผุดพฤหัสบดีวันสุดท้ายของปักษ์ข้างขึ้น 10 10° 29 ลิปดา
สผุดพฤหัสบดีวันสุดท้ายของปักษ์ข้างแรม 10 8 28
สผุดวันสุดท้ายของปักษ์ข้างแรมน้อยกว่าสผุดวันสุดท้ายของปักษ์ข้างขึ้นแสดงว่าพฤหัสบดีพักร์เหมือนพุธ ทำวิธีเดียวกับพุธได้
สผุดวันพฤหัสบดีเวลาประสงค์
วันที่ 7 กันยายน 10 9° 16 ลิปดา
= ราศีกุมภ์ 9 องศา 16 ลิปดา
ดาวเคราะห์เสาร์
ในปฏิทินรายปักษ์สผุดเสาร์วันสุดท้าย
ของปักษ์ข้างขึ้น 5 25° 13 ลิปดา
ในปฏิทินรายปักษ์สผุดเสาร์วันสุดท้าย
ของปักษ์ข้างแรม 4 27 2
เสาร์ไม่มีพักร์ ต่อไปทำเหมือนดาวเคราะห์อังคาร ทำแล้วได้
สผุดเสาร์เวลาประสงค์วันที่ 7 กันยายน = 4 26° 19 ลิปดา
= ราศีสิงห์ 26 องศา 19 ลิปดา
ดาวเคราะห์ราหู และดาวเคราะห์เกตุโคจรในวิถีตรงข้ามกับดาวเคราะห์อื่น เพราะฉะนั้นวิธีหาสผุดราหูแลเกตุให้ทำเหมือนหาสผุดดาวเคราะห์อื่นเมื่อพักร์ คือเอาระยะโคจรที่หาได้ตามเวลาประสงค์ไปลบสผุดเมื่อวันสุดท้ายของปักษ์ข้างขึ้น
ดาวเคราะห์ราหู
สผุดราหูวันสุดท้ายของปักษ์ข้างขึ้น 11 5° 40 ลิปดา
สผุดราหูวันสุดท้ายของปักษ์ข้างแรม 11 4° 45
ต่อไปทำเหมือนหาสผุดดาวเคราะห์เมื่อพักร์ ทำแล้วได้
สผุดราหูเวลาประสงค์วันที่ 7 กันยายน = 13 5° 13 ลิปดา
= ราศีมีน 5 องศา 13 ลิปดา
ดาวเคราะห์เกตุ
สผุดเกตุวันสุดท้ายของปักษ์ข้างขึ้น 6 11° 56 ลิปดา
สผุดเกตุวันสุดท้ายของปักษ์ข้างแรม 6 4 31
ต่อไปทำเหมือนหาสผุดดาวเคราะห์เมื่อพักร์ ทำแล้วได้
สผุดราหูเวลาประสงค์วันที่ 7 กันยายน = 6 7° 38 ลิปดา
= ราศีมีน 7 องศา 37 ลิปดา
ดาวเคราะห์มฤตยู
สผุดมฤตยูวันสุดท้ายของปักษ์ข้างขึ้น 2 17° 24 ลิปดา
สผุดมฤตยูวันสุดท้ายของปักษ์ข้างแรม 2 18 43
ต่อไปทำเหมือนหาสผุดดาวเคราะห์เมื่อพักร์ ทำแล้วได้
สผุดดาวเคราะห์มฤตยูเวลาประสงค์วันที่ 7 กันยายน = 2 18° 32 ลิปดา
= ราศีมิถุน 18 องศา 33 ลิปดา
สผุดดาวเคราะห์ทั้งหมดเมื่อเวลา 10 นาฬิกา 44 นาที วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2493 ได้ดังนี้
ราศี องศา ลิปดา
อาทิตย์ 4 (สิงห์) 20 25
จันทร์ 2 (มิถุน) 22 50
อังคาร 6 (ตุลย์) 26 3
พุธ (พักร์) 4 (สิงห์) 18 14
พฤหัสบดี (พักร์) 10 (กุมภ์) 9 16
ศุกร์ 4 (สิงห์) 1 11
เสาร์ 4 (สิงห์) 26 19
ราหู 11 (มีน) 5 13
เกตุ 6 (ตุลย์) 7 37
มฤตยู 2 (มิถุน) 38 33
บรรจุดาวเคราะห์เข้าในจักรราศี
ได้แผนจักรราศีดังนี้
ถ้าหาแฟนจักรราศีจากปฏิทินรายวันสผุดดาวเคราะห์ทุกดาวทำเหมือนหาสผุดอาทิตย์จากปฏิทินรายปักษ์ เว้นแต่ถ้าเป็นดาวเคราะห์พักร์ หรือราหูเกตก็กลับกันในเรื่องตัวตั้งลบ และเมื่อได้จำนวนเฉลี่ยแล้วเอาไป + หรือ – สผุดก่อนเวลาประสงค์สุดแท้แต่ดาวเคราะห์นั้น จรปกติพักร์ หรือเป็นดาวเคราะห์ราหูเกตุ ปฏิทินรายวันได้สผุดดาวเคราะห์ปกติและสผุดดาวเคราะห์พักร์ถูกต้องกว่าปฏิทินรายปักษ์
โหราศาสตร์เกตุเล็งหรือเป็น 7 หรืออยู่ตรงข้ามกับดาวเคราะห์ราหูเสมอและไม่มีดาวเคราะห์มฤตยู ฉะนั้นไม่ต้องหาสผุดเกตุได้สผุดราหูเท่าไร เอา 180° บวกเข้าได้ผลลัพธ์เป็นสผุดเกตุ หรือราหูราศีแต่ 0 ถึง 5 เอา 6 บวกแต่ 6 ถึง 11 เอา 6 ลบได้เป็นนราศีเกตุ
โดยมากเขาเขียน องศามีจุดอยู่อยู่ข้างบนหนึ่งจุดลิปดามีขีด 1 ขีด พิลิปดาสองขีดเช่น 10° 5' 15" อ่านว่า 10 องศา 5 ลิปดา 15 พิลิปดา