บทที่ 2
ข้อแนะนำทั่วไป
การกำหนดเวลาที่ให้ผลดีหรือที่เรียกว่าหาฤกษ์ โหราศาสตร์ภารตะถือเอาสภาพของจันทร์เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการให้ผล จันทร์เป็นเจ้าการจิตใจและการยับยั้งชั่งใจ ที่สถิตของจันทร์ในดวงฤกษ์ต้องมีศักดิ์หรือกำลัง โดยเฉพาะยิ่งกว่านั้นการหาฤกษ์ต้องสัมพันธ์กับการพิจารณาชะตากำเนิดให้ถี่ถ้วนด้วย ถ้าชะตากำเนิดแสดงถึงบาปผลมากมาย มุหูรตะหรือฤกษ์ยามก็ไม่อาจจะประกันได้ว่าจะเป็นผลดี ความจริงกำลังที่มีอยู่ในชะตากำเนิดสามารถป้องกันเจ้าชะตา ไม่ให้เสียประโยชน์ ในเวลาที่โชคอำนวยอยู่แล้ว หรืออย่างดีที่สุดโอกาสที่จะล้มเหลวค่อนข้างน้อยเต็มที ดังนั้นการให้ฤกษ์มีส่วนประกอบที่จะต้องพิจารณาคือชะตากำเนิดมีกำลังเต็มที่หรือไม่ ในการให้บาปผลที่ร้ายแรงพอจะลบล้างโอกาสสำหรับผลสำเร็จที่แสดงในดวงฤกษ์ ถ้าผู้ขอฤกษ์ไม่รู้ชะตากำเนิด วิธีดีที่สุดให้หาจันทร์กำเนิดด้วยชื่อของผู้ขอฤกษ์จากนามนักษัตร (ดูท้ายเรื่อง) จะได้ฤกษ์และบาทฤกษ์ที่จันทร์เสวยซึ่งจะให้หาราศีจันทร์กำเนิดได้ แล้วตรวจดูผลสัมพันธ์ของนักษัตร (บทที่ ๓)
หลักสำหรับให้ฤกษ์แก่ผู้ไม่รู้เวลาเกิด โหราศาสตร์ถือเอาการรู้ความจริงจากผลสัมพันธ์ของนักษัตรจันทร์กำเนิดกับนักษัตรจันทร์ปัจจุบัน โดยไม่ต้องคำนึงถึงชะตากำเนิดว่าจะมีกำลังหรือไม่
ส่วนความสำคัญที่ว่าผลของดวงฤกษ์ขึ้นอยู่แก่แนวทางที่เป็นลักษณะของบาปผลหรือศุภผลและกำลังที่มีในชะตากำเนิดนั้น ในที่นี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องรู้รายละเอียด และที่ตำราโบราณได้บรรยายสัมพันธภาพให้กำลังแก่ดวงฤกษ์ โดยทำให้ดวงฤกษ์มีอิสระในการให้เจ้าชะตาได้รับผลของอิทธิพลแห่งชะตากำเนิด รายละเอียดทั้งนี้จะได้กล่าวในโอกาสต่อไป
การหาฤกษ์หรือกรทำดวงฤกษ์ทางโหราศาสตร์ให้ได้ถูกต้อง จำเป็นต้องอาศัยความรู้จากปฏิทินโหราศาสตร์ ปฏิทินโหราศาสตร์ที่ดีนอกจากมีสผุตดาวเคราะห์ประจำวันและรายละเอียดอื่น ๆ ยังมีส่วนประกอบสำคัญ ๕ อย่างในการหาฤกษ์คือ (๑) ดิถีหรือวันจันทรคติ (๒) วาระหรือวันสัปดาห์ (๓) นักษัตรหรือดาวฤกษ์ (๔) นักษัตรโยคหรือจันทร์เป็นโยคกับนักษัตรในสุรยบถ (๕) กะระณะหรือนักษัตรกาลครึ่งของวันจันทรคติ
นักศึกษาควรเรียนรู้ให้เคยชินกับหลักวิชาเหล่านี้ โดยมากความสำคัญเกือบทั้งหมดอยู่ในเรื่องของจันทรคติ นักษัตร และวาระ คาดหมายกันว่าทั้ง ๕ สาขานี้เป็นตัวแทนแหล่งกำเนิดของพลังงานที่บางอย่างเห็นได้และบางอย่างไม่อาจเห็นได้ ถ้าเรากำหนดหรือหาฤกษ์ได้ถูกต้องพอสมควร ท่านว่าช่วยให้เกิดผลแก่สุขภาพและความไพบูลย์
๑) ดิถี เป็นระยะโคจรสัมพันธ์ของอาทิตย์และจันทร์ที่ต่างกันในทีฆันดรในระยะสูดสุดถึง ๑๒ องศา ดิถีเป็นวันสำคัญสำหรับประกอบพิธีกรรมในทางศาสนาหลายศาสนา จึงเป็นวันสำคัญที่สุดในการปฏิบัติกิจการอื่นด้วย และการพิจารณาส่วนสำคัญของมุหูรตะหรือฤกษ์ยาม โดยมากอาศัยพิจารณาที่ดิถี หรือนัยหนึ่งว่าแสดงพลังงานของจันทร๋และพิสูจน์ได้ว่าพลังงานของจันทร์อย่างเดียวกับพลังงานของจิตใจ ฉะนั้นการรู้ละเอียดถี่ถ้วนในเรื่องการโคจรของจันทร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของดิถี ท่านว่าเป็นผลให้เกิดทรัพย์สิน
๒) วาระ เป็นวันธรรมดาของสัปดาห์ วันสัปดาห์วันหนึ่งได้ชื่อตามชื่อของดาวเคราะห์หนึ่งสอดคล้องต้องกันตามวิธีดาราศาสตร์ ท่านว่าวันที่ได้ชื่อตามดาวเคราะห์ใด ดาวเคราะห์นั้นเป็นดาวเคราะห์เด่นในวันนั้น
๓) นักษัตร นักษัตรเป็นที่หมายของวงจรในจักรราศีมี ๒๗ นักษัตร หรือเรียกว่าเรือน (คฤห) ของจันทร์ ขอบเขตของนักษัตรอาศัยกำหนดจากเวลาจริงที่จันทร์โคจรได้ ๑๓ องศา ๒๐ ลิบดาของสุริยวิถี นักเริ่มต้นจากจุดแรกของจักรราศีนักษัตรเสมอ ดาวนักษัตรกลุ่มใดมีกำลังมากในการส่งรังษีที่เป็นพลังงานแผ่เข้าในอากาศ เมื่อจันทร์โคจรผ่านและสัมพันธ์กับรังษีนี้ก็มีอิทธิพลพิเศษส่งผลสะท้อนสู่พื้นปฐพี
๔) โยค โยคนี้ได้ชื่อว่านักษัตรโยคเป็นระยะสัมพันธ์ของอาทิตย์และจันทร์ในทีฆันดร ในระยะ ๑๓ องศา ๒๐ ลิบดาที่จันทร์สัมพันธ์กับรังษีของนักษัตรหนึ่ง ปฏิทินโหราศาสตร์ที่ดีแสดงให้รู้ระยะของนักษัตรโยคประจำวันว่าสิ้นสุดลง ณ เวลาใด นักษัตรโยคประจำวันว่าสิ้นสุดลง ณ เวลาใด นักษัตรโยคมี ๒๗ คือ
(๑) วิษฏัมภ-อันตราย กีดขวาง
(๒) ปรีติ-ยินดี ปรีดา
(๓) อายุษมัน-การมีชีวิตอยู่
(๔) เสาภาคย-มงคล บุญโยทัย
(๕) โสภณ-งาม สุกใส
(๖) อติคัณฑ-วีรบุรุษใหญ่ยิ่ง
(๗) สุกรรม-บุณย ทำความดี ขยัน
(๘) ธริติ-หนักแน่น ธรณี
(๙) ศูละ-เบียดเบียน อาวุธ มฤตยู
(๑๐) คัณฑ-องอาจ วีรบุรุษ
(๑๑) วฤทธิ-สุข ลาภ ทรัพย์
(๑๒) ธรุว-มั่นคง ถาวร
(๑๓) วยาฆาตะ-อุปสรรค สังหาร
(๑๔) หรรษณ-ยินดี ปรีติ
(๑๕) วัชร-เข้มแข็ง เพชร
(๑๖) สิทธิ-ความสำเร็จ
(๑๗) วยาฑิปัฏฏหรือวยะปาฑะ-เจตนาร้าย หัก พัง ทำลาย ตาย
(๑๘) วรียัส-ใหญ่ยิ่ง
(๑๙) ปริฆะ-การฆ่า คฑาเหล็ก
(๒๐) ศิวะ-ปรมคติ
(๒๑) สิทธ-สมบูรณ์ ปราชญ์
(๒๒) สาธยะ-ความสำเร็จ
(๒๓) ศุภะ-สุข มงคล โชคดี
(๒๔) ศุกละ-เงิน สีขาว
(๒๕) พรหม-ความรู้ที่เป็นปุณยะ
(๒๖) อินทร-เจ้าสรรค์
(๒๗) วยธรูติ-ก้าวหน้า มั่นคง
โยคแสดงการร่วมของอิทธิพลที่ทำให้ร่างกายมีกำลังเข้มแข็ง กำจัดปัดเป่าเชื้อโรคร้าย ช่วยให้มีสุขภาพและชีวิตสมบูรณ์ในกาลของโยค
๕) กะระณะ สุดท้ายได้แก่กรณหรือครึ่งของวันจันทรคติ ในความหมายของเวลาในระยะ ๖ องศาทวีคูณระหว่างอาทิตย์กับจันทร์ กรณหรือนักษัตรกาลมี ๑๑ กรณ
(๑) ปะวะ-ความบริสุทธิ์
(๒) พลวัต-กำลัง อำนาจ
(๓) เกาลวะ-กำเนิดดี กุลชาติ