ยามมุหูรตะ
หลักเกณฑ์อีกหลักเกณฑ์หนึ่งในการคำนวนฤกษ์ยามตามหลักโหราศาสตร์ภารตะนั้นจะละเลยมิได้ก็คือการคำนวนหายามที่เป็นศุภผลและไม่เป็นโทษ ซึ่งในวันๆหนึ่งจะมีการแบ่งออกเป็น 30 ยาม หรือ 30 ช่วงเวลาซึ่งเราเรียกว่า”ยามมุหูรตะ” ซึ่งมีขอบเขตยามหนึ่งเป็นระยะเวลา 2 มหานาที ซึ่งในระบบการคำนวนเวลาของคัมภีร์พระเวท ได้แบ่งเวลาออกเป็น ส่วนๆเรียกว่ามุหูรตะ ซึ่งมีระยะเวลาเท่ากับ 2 “ฆทิยะ”(มหานาที) หรือเท่ากับเวลาปัจจุบันคือ 48 นาที
เวลาสากลจะเท่ากับ 48 นาที ซึ่งยามมุหูรตะนี้จำเป็นจะต้องคำนวณจากเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้น ณ.เวลาท้องถิ่นๆนั้น และรู้ว่าวันๆนั้นมีเวลากลางวันและกลางคืนสั้นยาวเท่าใดแล้วนำมาเฉลี่ยให้ได้ยามในเวลากลางวัน 15 ยามและยามในเวลากลางคืน 15 ยามเท่ากัน ดังนั้นหากวันใดเวลากลางวันสั้นกว่าเวลาในกลางคืนเช่นในฤดูหนาว เราจะต้องนำมาเฉลี่ย ให้ได้ 15 ยามทั้งกลางวันกลางคืน ดังนั้นเวลา 48 นาทีในแต่ละยามอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ก็สุดแท้แต่เราจะนำเวลามาเฉลี่ยได้เท่าใด ตามตารางด้านล่างผมได้ทำรายละเอียดเอาไว้ให้โดยลำดับยามกลางวันคือ ยามที่ 1-15 และยามกลางคืนคือ 16-30 และแสดงผลให้รู้ว่าว่ายามใดเป็นผลเลวหรือผลดี
ซึ่งยามดังกล่าวนี้สามารถนำไปใช้คำนวณฤกษ์ยามโดยทั่วๆไป แต่สำหรับการสมรสการใช้ยามมุหูรตะจะเข้มงวดมากขึ้น หากเป็นช่วงเวลาที่เป็น “ทุมุหูรตะ” หรือช่วงเวลาที่”เลว” ก็จะห้ามเด็ดขาดสำหรับการสมรส
ส่วนยามที่ 29 (นาฑิยะ)หรือที่เรียกว่า "พรหมมุหูรตะ" เป็นช่วงเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงก่อนพระอาทิตย์ขึ้นในแต่ละวัน เป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับปฎิบัติ"โยคะ"หรือการบำเพ็ญฌาณสมาธิ ก็จะให้ผลดีมาก สามารถปฎิบัติกิจกรรมทางจิตให้บรรลุผลได้รวดเร็ว
หรือในคืนวันที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในยามที่ 3 (ใกล้รุ่ง)ท่านก็ได้บรรลุ
อาสวักขยญาณ ประหารกิเลสเด็ดขาดก็ใน พรหมมุหูรตะ ตรงนี้เอง
ยังมีอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า "อภิชิตมุหูรตะ" ซึ่งเป็นกฏเกณฑ์ ยกเว้น ยามมุหูรตะที่ไม่เป็นมงคลต่างๆและสลายผลร้ายจากยามที่ไม่เป็นศุภผลนั้น ซึ่งในบางครั้งบางกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนและไม่อาจเลือกเฟ้นหาฤกษ์ยามที่เป็นมงคลได้ การใช้ยามที่เป็นอภิชิตมุหูรตะ ก็เป็นอันหนึ่งในการแก้ไขพลังร้ายทั้งหมดให้เป็นกลาง และส่งเสริมผลดีให้
การคำนวน ยามอภิชิต ดูตัวอย่างดังนี้
1.นำเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้น-ตกมาหาระยะเวลาของกลางวัน
เช่นพระอาทิตย์ขึ้นเวลา 06.10 น. และตกเวลา 18.45 น. ดังนั้งช่วงระยะเวลาของกลางวันจะเท่ากับ 12 ชั่วโมง 30 นาที
2.หาจำนวนครึ่งแรกของวันแล้วนำไปรวมกับเวลาพระอาทิตย์ขึ้นในวันนั้น ผลรวมก็คือเวลาของ ยามมุหูรตะอภิชิต
เราก็นำเวลา 12 ชั่วโมง 30 นาที มาหารสองก็จะได้ ครึ่งแรกของวันเท่ากับ 6 ชั่วโมง 15 นาที
นำไปรวมกับเวลาพระอาทิตย์ขึ้น 06.10 น.+ 06.12 (ชม) ก็จะเท่ากับ 12.25 น. มุหูรตะอภิชติก็จะอยู่ที่ยามที่เป็นเวลา 12.25 น.เป็นต้นไป + กับอีก 48นาที
ดังนั้น มุหูรตะอภิชิตของวันนี้คือ เวลา 12.25 น. ถึงเวลา 13.13 น.
**ตัวอย่างคำนวณจากวันที่พระอาทิตย์ขึ้นเวลา 06.00 น.ตกเวลา 18.00 น.(วันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน)
ลำดับยาม |
ช่วงเวลา |
ชื่อยามมูหูรตะ |
ภาษาฮินดี |
ผล |
1 |
05:44 - 06:32 |
รุทระ |
रुद्र |
เลว |
2 |
06:32 - 07:20 |
อหิ |
आहि |
เลว |
3 |
07:20 - 08:08 |
มิตระ |
मित्र |
ดี |
4 |
08:08 - 08:56 |
บิตรุ |
पितॄ |
เลว |
5 |
08:56 - 09:44 |
วสุ |
वसु |
ดี |
6 |
09:44 - 10:32 |
วระ |
वाराह |
ดี |
7 |
10:32 - 11:20 |
วิศเวเทวะ |
विश्वेदेवा |
ดี |
8 |
11:20 - 12:08 |
วิธิ |
विधि |
ดี ยกเว้นวันจันทร์และวันศุกร์ |
9 |
12:08 - 12:56 |
ศตมุขี |
सतमुखी |
ดี |
10 |
12:56 - 13:44 |
ปุรุหุตะ |
पुरुहूत |
เลว |
11 |
13:44 - 14:32 |
วหนิ |
वाहिनी |
เลว |
12 |
14:32 - 15:20 |
นักตันจาระ |
नक्तनकरा |
เลว |
13 |
15:20 - 16:08 |
วรุณะ |
वरुण |
ดี ยกเว้นวันพฤหัส |
14 |
16:08 - 16:56 |
อรมะ |
अर्यमा |
ดี ยกเว้นวันอาทิตย์ |
15 |
16:56 - 17:44 |
ภคะ |
भग |
เลว |
16 |
17:44 - 18:32 |
ศิริศะ |
गिरीश |
เลว |
17 |
18:32 - 19:20 |
อชิปะทะ |
अजपाद |
เลว |
18 |
19:20 - 20:08 |
อหิระพุทธยะ |
अहिर बुध्न्य |
ดี |
19 |
20:08 - 20:56 |
ปูษะ |
पुष्य |
ดี |
20 |
20:56 - 21:44 |
ฮัศวิ |
अश्विनी |
ดี |
21 |
21:44 - 22:32 |
ยมะ |
यम |
เลว |
22 |
22:32 - 23:20 |
อัคนิ |
अग्नि |
ดี |
23 |
23:20 - 00:08 |
วิธตรุ |
विधातॄ |
ดี |
24 |
00:08 - 00:56 |
จันทะ |
क्ण्ड |
ดี |
25 |
00:56 - 01:44 |
อธิติ |
अदिति |
ดี |
26 |
01:44 - 02:32 |
ชีวะ |
जीव |
ดี |
27 |
02:32 - 03:20 |
วิษณุ |
विष्णु |
ดี |
28 |
03:20 - 04:08 |
ยุมิคทยุติ |
युमिगद्युति |
ดี |
29 |
04:08 - 04:56 |
พรหม,ถยัสถุระ |
ब्रह्म |
ดีมาก |
30 |
04:56 - 05:44 |
ศมทรัม |
समुद्रम |
ดี |