ฤกษ์บน-ฤกษ์ล่างจากดวงชาตา
มีคนถามกันมากมากว่า ฤกษ์ดีๆที่เขาว่ากันว่าวันนี้ดีวันนี้ดีแล้วทำไมเราจึงใช้วันนั้นทำการมงคลไม่ได้ คำตอบก็คือเราต้องดูฤกษ์ล่างด้วยครับ ฤกษ์ล่างคืออะไร ความจริงก็คือฤกษ์ที่เราเกิดนั้นแหละครับ เมื่อขณะเท่าเกิดมาวันนั้นพระจันทร์ในดวงชาตาเกาะนักษัตรอะไรก็ตาม เราก็นับว่าฤกษ์นั้นก็คือ ฤกษ์ที่ 1 หรือ ทลิทโทฤกษ์ (ของเราเฉพาะตัว) หรือเรียกว่าฤกษ์ “ภูมิดล” ซึ่งของใครของมัน แล้วเราก็นับจากนักษัตรกำเนิดต่อไปอีกก็เป็น มหัธโณ โจโร ภูมิปาโล ฯลฯ ไปเรื่อยๆ จนครบ สมโณ แล้วก็นับเวียนไปอีกสองรอบให้ครบ 27 นักษัตร อันนี้เรียกว่าฤกษ์ล่าง
ส่วนฤกษ์บน หรือ “นภดล” นั้นท่านนับแบบตายตัวจากอัศวิณีนักษัตรเป็น ทลิลโท มหัธโณ โจโร ฯลฯ ไปเรื่อยๆ ไปจนครบ 3 รอบ หรือ 27 นักษัตร ตามวิธีการเดียวกัน แต่ฤกษ์บนนี้เป็นแบบตายตัว เปลี่ยนแปลงไม่ได้ หรือถือกันว่าเป็นฤกษ์ฟ้า
เพราะฉะนั้นเมื่อเราจะทำการมงคลในวันใดเราก็ต้องเราฤกษ์ล่างกับฤกษ์บนให้สมพงษ์กันก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อความเป็นศุภผลและความเจริญรุ่งเรืองและถูกต้องตามหลักโหราศาสตร์ เพราะถ้าหากฤกษ์บนดี เช่นดาวจันทร์เกาะภูมิปาโลฤกษ์ ซึ่งเป็นบูรณะฤกษ์หรือฤกษ์ที่ดี แต่เมื่อนับจากฤกษ์ล่างจากดวงชาตาของเราไม่ดีตกฉินทฤกษ์ ภิณทฤกษ์ เช่น ตก โจโร เพฌชฆาต ฤกษ์แล้วละก็มีผลเป็นอันวิบัติอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นจะต้องสอบทานดวงชาตาของเราให้ถูกต้องด้วย ไม่ใช่ว่าวันนี้ฤกษ์บนดีแล้วเราก็จะสามารถทำการมงคลอะไรก็ได้
ลองดูชาตาตัวอย่างด้านล่างนี้ครับ เจ้าชาตาตอนเกิดดาวจันทร์เกาะอาศเลษะนักษัตร ฤกษ์ที่ 9(สมโณฤกษ์ตามฤกษ์บน) เราก็นับ เป็น ฤกษ์ล่างฤกษ์ที่ 1หรือเป็น***ทลิทโทฤกษ์ของเจ้าชาตา หากเจ้าชาตาจะทำการมงคลใดใด ก็ต้องดูว่าฤกษ์บนกับฤกษ์ล่างสมพันธ์กันในตำแหน่งที่ดีหรือไม่ เช่น วันใดที่จันทร์โคจรเกาะอัศวินีนักษัตร ตรงกับ ฤกษ์บนเป็น ทลิโทฤกษ์ และตรงกับฤกษ์ล่างของเจ้าชาตาเป็น มหัธโณฤกษ์ ซึ่งทั้งสองเป็นฤกษ์ดีหรือบูรณะฤกษ์ทั้งคู่ ดังนั้นวันนี้จึงสามารถทำการมงคลได้
แต่หากวันใดจันทร์โคจรเกาะ ภรณีนักษัตรที่ 2 ปุรพผลคุณีนักษัตรที่11 ปูรพาษาฒนักษัตรที่ 20 ซึ่งเป็นมหัทธโณฤกษ์ซึ่งเป็นบูรณะฤกษ์ตามฤกษ์บน แต่ฤกษ์ล่างของดวงชาตากลับเป็นโจโรฤกษ์ ซึ่งเป็นฤกษ์แตก วันนั้นก็ห้ามเจ้าชาตาทำการมงคลใดใดทั้งสิ้น
ฤกษ์ที่ |
นักษัตร |
ฤกษ์บน |
ฤกษ์ล่าง |
1 |
อัศวินี |
ทลิทโท |
มหัธโณ |
2 |
ภรณี |
มหัธโณ |
โจโร |
3 |
กฤตติกา |
โจโร |
ภูมิปาโล |
4 |
โรหิณี |
ภูมิปาโล |
เทศาตรี |
5 |
มฤคศิระ |
เทศาตรี |
เทวี |
6 |
อารทรา |
เทวี |
เพชฌฆาต |
7 |
ปุนรวสุ |
เพชฌฆาต |
ราชา |
8 |
ปุษยะ |
ราชา |
สมโณ |
9 |
อาศเลศะ |
***สมโณ |
***ทลิทโท |
10 |
มาฆะ |
ทลิทโท |
มหัธโณ |
11 |
ปุรพผลคุณี |
มหัธโณ |
โจโร |
12 |
อุตรผลคุณี |
โจโร |
ภูมิปาโล |
13 |
หัสตะ |
ภูมิปาโล |
เทศาตรี |
14 |
จิตรา |
เทศาตรี |
เทวี |
15 |
สวาติ |
เทวี |
เพชฌฆาต |
16 |
วิสาขะ |
เพชฌฆาต |
ราชา |
17 |
อนุราธะ |
ราชา |
สมโณ |
18 |
เชษฐะ |
สมโณ |
ทลิทโท |
19 |
มูลละ |
ทลิทโท |
มหัธโณ |
20 |
ปุรพาษาฒ |
มหัธโณ |
โจโร |
21 |
อุตราษาฒ |
โจโร |
ภูมิปาโล |
22 |
สราวณะ |
ภูมิปาโล |
เทศาตรี |
23 |
ธนิษฐะ |
เทศาตรี |
เทวี |
24 |
สตภิษัท |
เทวี |
เพชฌฆาต |
25 |
ปูราภัทรปท |
เพชฌฆาต |
ราชา |
26 |
อุตราภัทรปท |
ราชา |
สมโณ |
27 |
เรวดี |
สมโณ |
ทลิทโท |