Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

มุหูรตะ โยค

โยคที่ส่งผลดี-ร้ายจากวันที่ประกอบด้วยวาร ดิถีและนักษัตร

ในการคำนวณหาฤกษ์ยามด้วยระบบโหราศาสตร์ชั้นสูงซึ่งไม่เพียงจะต้องมีองค์ประกอบหลายๆส่วนประกอบกันเพื่อความเป็นศิริมงคลสูงสุดเพื่อความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าและปราศจากอุปสรรคต่างๆที่จะมาขัดขวาง อีกทั้งจะต้องหลีกเลี่ยงผลร้ายอันที่จะทำความพินาศเสียหายให้กับเจ้าชาตาให้ได้มากที่สุด ดังนั้นในวิธีการทางโหราศาสตร์นอกจากจะต้องคำนวนความเหมาะสมและสมพงษ์กับดวงชาตา โดยการพิจารณากำลังต่างๆในดวงชาตาหรือดวงฤกษ์ เช่น ดาราพละ จันทรพละ ปัญจกพละ และ ปัญจางคะอันประกอบด้วย ดิถี วาระ นักษัตร โยค กรณะ แล้ว ยังจะต้องพิจารณากฏเกณฑ์เพิ่มเติมที่สำคัญมากอีกกฏเกณฑ์หนึ่ง ซึ่งก็คือ “มุหูรตะ โยค”

 

ในคัมภีร์ว่าด้วยวิชาฤกษ์ยามของฮินดูที่เรียกว่า คัมภีร์มุหูรตะ ได้อธิบายความสำคัญของ”มหูรตะโยค”หรือฤกษ์ที่มาจาก วัน(วาระ) ดิถี(ข้างขึ้น-แรม)ซึ่งคำนวนตามดิถีเพียรและดาวนักษัตรว่ามีกำลังโดยตัวของมันเองโดยเฉพาะและ”มุหูรตะโยค”จะมีกำลังป็นพิเศษถ้าหากมีการผสมผสานกำลังในแต่ละส่วนโดยถูกต้องและหมาะสม และจะส่งผลดีหรือชั่วก็ขึ้นอยู่กับ วาร ดิถี และนักษัตรนี้เอง ดังนั้นไม่ว่าจะประกอบกิจการงานสำคัญใดใดหรือการทำการมงคลทั้งปวง”มุหูรตะโยค”จะเป็นตัวตัดสินสุดท้ายว่าดีหรือร้ายและควรจะทำการนั้นหรือไม่ และถึงแม้ว่าในวันนั้นจะเป็นวันที่มีเงื่อนไขอื่นๆดีสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่เป็นข้อยกเว้น ซึ่งโยคดี-ร้ายต่างๆจะได้อธิบายดังนี้

โยคมงคล จากวันประเภท วารประกอบด้วยดิถี (วาร+ดิถี ) มีกำลัง *1เท่าของวันปกติ

  1. 1. สิทธาโยค(*1) सिद्ध योग หมายถึงโยคที่ให้ความสำเร็จทุกประการ โดยโยคนี้จะประกอบไปด้วยเงื่อนไขดังนี้ (1) วันที่เป็นนันทะ ดิถี(วันขึ้น/แรม 1ค่ำ,6 ค่ำ,11 ค่ำ)และตรงกับวัน(วาระ)ศุกร์ (2) วันที่เป็นภัทรดิถี(วันขึ้น/แรม 2ค่ำ,7 ค่ำ,12 ค่ำ)และตรงกับวันพุธ (3)วันที่เป็นชยะดิถี(วันขึ้น/แรม 3 ค่ำ,8ค่ำและ 13 ค่ำ)และตรงกับวันอังคาร (4) วันที่เป็นริกตะดิถี(วันขึ้น/แรม 4 ค่ำ,9ค่ำและ 14 ค่ำ)และตรงกับวันเสาร์ (5)วันที่เป็นปูรณะดิถี(วันขึ้น/แรม 5 ค่ำ,10ค่ำและ 15 ค่ำ)และตรงกับวันพฤหัส
  2. 2. อมฤตโยค(*1) अमृत योग หมายถึงโยคที่ให้ความเป็นอมตะ โดยโยคนี้จะประกอบไปด้วยเงื่อนไขดังนี้ (1) วันที่เป็นนันทะ ดิถี และตรงกับวันอาทิตย์หรือวันอังคาร (2) วันที่เป็นภัทรดิถีและตรงกับวันจันทร์หรือวันศุกร์ (3)วันที่เป็นชยะดิถีและตรงกับวันพุธ (4) วันที่เป็นริกตะดิถีและตรงกับวันพฤหัส (5)วันที่เป็นปูรณะดิถีและตรงกับวันเสาร์

โยคร้าย จากวันประเภท วารประกอบด้วยดิถี (วาร+ดิถี ) มีกำลัง *1เท่าของวันปกติ

1.การกจะ ดิถีโยค(*1) क्रकच योग -เลื่อย

ประกอบด้วยดิถีที่ 6 และตรงกับวันเสาร์ ซึ่งถือว่าเป็นโยคที่ร้ายแรงที่สุดในบรรดาโยคประเภท”วารประกอบด้วยดิถี”

2.ทคธะ ดิถีโยค(*1) दग्ध योग -เผาไหม้

ประกอบด้วยดิถีที่ 12และตรงกับวันอาทิตย์ ,ประกอบด้วยดิถีที่ 11และตรงกับวันจันทร์ ,ประกอบด้วยดิถีที่ 5และตรงกับวันอังคารประกอบด้วยดิถีที่ 2 หรือ 3 และตรงกับวันพุธ,ประกอบด้วยดิถีที่ 6 และตรงกับวันพฤหัส,ประกอบด้วยดิถีที่ 8 และตรงกับวันศุกร์,ประกอบด้วยดิถีที่ 9และตรงกับวันเสาร์

3.หุศาตนะดิถีโยค(*1) हुताशन योग -เปลวเพลิง

ประกอบด้วยดิถีที่ 12และตรงกับวันอาทิตย์ ,ประกอบด้วยดิถีที่ 6และตรงกับวันจันทร์ ,ประกอบด้วยดิถีที่ 7และตรงกับวันอังคาร,ประกอบด้วยดิถีที่ 8 และตรงกับวันพุธ,ประกอบด้วยดิถีที่ 9 และตรงกับวันพฤหัส,ประกอบด้วยดิถีที่ 10 และตรงกับวันศุกร์,ประกอบด้วยดิถีที่ 11 และตรงกับวันเสาร์

4.พิษดิถีโยค(*1) विष योगพิษร้าย

ประกอบด้วยดิถีที่ 4 และตรงกับวันอาทิตย์ ,ประกอบด้วยดิถีที่ 6และตรงกับวันจันทร์ ,ประกอบด้วยดิถีที่ 7และตรงกับวันอังคาร,ประกอบด้วยดิถีที่ 2 และตรงกับวันพุธ,ประกอบด้วยดิถีที่ 8 และตรงกับวันพฤหัส,ประกอบด้วยดิถีที่ 9 และตรงกับวันศุกร์,ประกอบด้วยดิถีที่ 7 และตรงกับวันเสาร์

5.สังวรตกะโยค(*1) संवर्तक योगพินาศ

ประกอบด้วยดิถีที่ 1 และตรงกับวันพุธ ,ประกอบด้วยดิถีที่ 7และตรงกับวันอาทิตย์

โยคร้าย จากวันประเภท ดิถีประกอบด้วยนักษัตร (ดิถี+นักษัตร) มีกำลัง *0.5 เท่าของวันปกติ

อศุภะโยค(*0.5) अशुभ योग -ไม่เป็นมงคล

ประกอบด้วยดิถีที่ 12 กับอสิเลษะนักษัตร, ดิถีที่ 1 กับอุตราษาฒนักษัตร, ดิถีที่ 2 กับอนุราธะ นักษัตร , ดิถีที่ 5 กับมาฆะนักษัตร, ดิถีที่3 กับอุตรภัทรปท ,อุตรผลคุณี,อุตราษาฒ , ดิถีที่ 11 กับโรหิณีนักษัตร, ดิถีที่ 13 กับสวาตินักษัตรหรือจิตรานักษัตร, ดิถีที่ 7  กับ หัสตะนักษัตรหรือมูละ, ดิถีที่ 9 กับกฤติกานักษัตร, ดิถีที่ 8 กับ ปุรพภัทรบทนักษัตร และ, ดิถีที่ 6กับโรหิณีนักษัตร