Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

(4.)ปัญจกวิธี- วิธีการคำนวนหากำลังราศีเพื่อวางลัคน์ในดวงฤกษ์

ขั้นตอนที่ 4 ในการคำนวนหาฤกษ์ยามที่สมพงษ์กับดวงชาตา ตำแหน่งของลัคนาในดวงฤกษ์จะต้องได้กำลังดี ปราศจากผลร้ายอื่นๆเพื่อที่จะให้เกิดอิทธิพลังในการบันดาลความสำเร็จตามความมุ่งหมายของฤกษ์ที่จะทำการนั้นๆ

ดังที่กล่าวมาแล้วในเบื้องต้นเมื่อเราหาวันฤกษ์ดีจากข้อมูลเบื้องต้นในปฎิทินปัญจางคะที่ต้องหลีกเลี่ยงผลร้ายจากนักษัตร โยค การณะ ดิถี ทุรมูหูรตะราหูกาล คุลิกาล การคำนวนดาราพละ จันทรพละ ฯลฯ ได้แล้ว ขั้นตอนสุดท้ายที่จะตัดสิน ดี-ร้ายของฤกษ์ยามที่เราเลือกเฟ้นเอาไว้ว่าจะส่งผลได้ดีหรือไม่ก็คือ(ลั) หรือ“ลัคนา”หรือการหาช่วงเวลาเริ่มต้น-เวลาสิ้นสุดที่จะต้องทำการในวันนั้นๆลัคนา คือช่วงเวลาที่จะทำการมงคลนั้นๆ  ถือเป็นหัวใจหลักในการวางฤกษ์เพื่อให้ได้ผลตามที่ต้องการ หากวางลัคนาหรือตัดช่วงเวลาผิด ก็จะส่งผลผิดพลาดจากความประสงค์ในฤกษ์ทำการนั้นๆ
อย่างไรก็ตามการคำนวนฤกษ์ย่อยหรือกิจการที่ไม่สำคัญมากนัก เช่น การเข้าหาผู้ใหญ่ การเดินระยะสั้น ฯลฯ  กฏเกณฑ์ของปัญจางค และดาราพละก็เพียงพอแล้วในการทำการ  แต่หากเป็นกิจกรรมใหญ่และสำคัญ เช่น พิธีมงคลสมรส ยกเสาเอก วางศิลาฤกษ์ ก็จะละเลยวิธีการหาลัคนาที่บริสุทธ์ิและมีกำลังไม่ได้เลยเด็ดขาด   ปกตินักโหราศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญนอกจากจะต้องทำการวางลัคนาให้สัมพันธ์กับดวงชาตา   และวางตำแหน่งดวงดาวให้ตรงกับความหมายของภพเรือนที่ต้องการแล้ว   ยังจะต้องตรวจสอบกำลัง(พละ)ของลัคนาในดวงฤกษ์อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ปัญจกวิธี

 

ปัญจกวิธี เป็นการคำนวนหามูลฐานของพลังสำคัญ ๔ ประการดังนี้


๑. ดิถี นับจากต้นเดือนจันทรคติ คือ ดิถีที่ ๑ ถึงดิถีที่ ๓๐ (คำนวนจากดิถีเพียร)
๒. วาระ หรือวันในสัปดาห์ทั้ง ๗ วัน นับจากวันอาทิตย์ถึงวันเสาร์ (นับเป็น ๑ ไปถึง ๗)
๓. นักษัตร ทั้ง ๒๗ นักษัตร นับจากอัศวิณี ไปจนถึง เรวดีนักษัตร  (นับเป็น ๑ ไปถึง ๒๗)
๔. ราศีลัคน์ ทั้ง ๑๒ ราศี นับจากราศีเมษ ไปจนถึงราศีมีน  (นับเป็น ๑ ไปถึง ๑๒)

วิธีการคำนวน

ให้นำผลรวมของดิถี วาระ นักษัตร และราศีลัคน์ที่ประสงค์ แล้วเอา ๙ หาร เศษที่เหลือ ปรากฏเป็นกำลังดี-ร้ายของราศีลัคน์ดังนี้
เศษ ๑  มฤตยู-หมายถึงอันตราย ห้ามทำการสมรส ตั้งชื่อ ประสาทวิชา เข้าร่วมหุ้นส่วน
เศษ ๒  อัคนี-หมายถึงอันตรายจากไฟ ห้ามสร้างบ้าน หรือเริ่มต้นกิจการเคมี ปิโตรเลียม น้ำมัน ผ้า หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับวัสดุไวไฟ
เศษ ๔  ระชะ หมายถึง ผลร้าย ห้ามสร้างบ้านการครอบครอง การอาชีพ เปิดธุรกิจ เข้าทำงานใหม่และกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน
เศษ ๖  โจรา หมายถึงภัยจากโจร ห้ามทำการสมรส เข้าบ้านใหม่ เดินทางไกล
เศษ ๘  โรคะ หมายถึงเกิดโรคภัย ห้ามทำการสมรส ตั้งชื่อ ประสาทวิชา
ตกเศษ ๓,๕,๗,๐ ถือว่าดีเป็นมงคล และส่วนที่ตกผลร้ายให้ละเว้นกิจการที่ระบุข้างต้น ส่วนกิจการที่นอกเหนือจากนี้ไม่ห้าม

ตัวอย่าง


เมื่อได้คัดสรรเลือกเฟ้นฤกษ์ยามตามวิธีการต่างๆดังที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด   สุดท้ายก็คือการหาลัคนาเพื่อวางฤกษ์หรืออาจจะเรียกว่าเป็นการสอบทานฤกษ์ในเบื้องต้น สมมุติว่าได้วันที่ประสงค์แล้วโดยเป็นวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งในวันนี้ในเวลา ๐๗.๐๐ น. มีข้อมูลประกอบการคำนวนหาลัคน์ดังนี้

วันพุธที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๗:๐๐ น.ตรงกับจันทรคติวันพุธ ขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๒ ปีมะเส็ง
ลัคนา สถิตราศีธนู เสวยฤกษ์ที่ ๒๐ ปุรพาษาฒนักษัตร มหัทธโณฤกษ์  
จันทร์ สถิตราศีมีน เสวยฤกษ์ที่ ๒๗ เรวตีนักษัตร สมโณฤกษ์  ดิถีเพียร = ๗.๒๐๔๗

การคำนวน
ดิถี (๘) + วารวันพุธ (๔) นักษัตรเรวดี (๒๗) ราศีธนู (๙) ดังนั้น ๘+๔+๒๗+๙ เท่ากับ ๔๘ หารด้วย ๙ ตกเศษ ๓ เป็นระชะปัญจกดังนั้นราศีลัคน์ ซึ่งเป็นราศีธนูไม่ควรวางฤกษ์

การแก้ไขปัญจกะวิธีที่ไม่เป็นมงคล

ในกรณีที่คำนวณฤกษ์จากดวงชาตาและลัคนาที่ประสงค์แล้วปรากฏว่า ปัญจกะวิธีที่ไม่เป็นมงคล มีวิธีแก้ไขดังนี้

1.ตกเศษ ๑ มฤตยูปัญจกะ ให้บริจาค เครื่องประดับ หรือพลอย หรือนิล หรือหินมีค่าอื่นๆ ให้แก่คนยากไร้เพื่อแก้เคล็ด

2.ตกเศษ ๒ อัคนีปัญจกะ  ให้บริจาค ผงไม้จันทน์ ให้แก่คนยากไร้เพื่อแก้เคล็ด

3.ตกเศษ ๔ ระชะปัญจกะ ให้บริจาค ลูกมะนาว ให้แก่คนยากไร้เพื่อแก้เคล็ด

4.ตกเศษ ๖ โจราปัญจกะ ให้บริจาค เครื่องให้แสงสว่าง เช่น ตะเกียง ไฟฉาย เป็นต้น ให้แก่คนยากไร้เพื่อแก้เคล็ด

5.ตกเศษ ๘ โรคะปัญจกะ ให้บริจาค ธัญพืช ให้แก่คนยากไร้เพื่อแก้เคล็ด

ลักษณะกำลังของราศี

ในการวางลัคนาประการหนึ่งซึ่งขาดไม่ได้ก็คือ การพิจารณาลักษณะกำลังเฉพาะตัวของราศีต่างๆ ซึ่งจะส่งผลกำลังตามคุณลักษณะของราศี ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท คือ
1.จรราศี หรือราศีทวารเป็นราศีแม่ธาตุ ให้คุณ-โทษรุนแรง ฉับพลัน เช่น ราศีเมษ กรกฏ ตุลย์ และมังกร
2.ทวิภาวะราศี (สถิรราศี)เป็นราศีกลางธาตุ ให้คุณ-โทษมั่นคง เสมอต้นเสมอปลาย เสถียร เช่น พฤษภ สิงห์ พิจิก กุมภ์
3.อุภัยราศีเป็นราศีปลายธาตุ ให้คุณ-โทษตามลักษณะของจราศี+ทวิภาวะราศี แปรปรวนขึ้นลงไม่แน่นอน เช่น มิถุน กันย์ ธนูและมีน

ดังนั้นในการวางลัคนาให้เหมาะสมกับกิจการหนึ่งๆ ก็จะต้องคำนึงถึงคุณลักษณะเฉพาะตัวของราศีแต่ละประเภทเอาไว้ด้วย

หมายเหตุ-  ในการวางฤกษ์นอกจากจะต้องคำถึงถึงปัญจกวิธีแลัวยังต้องปรุงดาวเคราะห์ในดวงฤกษ์ให้สัมพันธ์กับกิจการที่ทำ และต้องคำนึงถึงกฏเกณฑ์ข้อห้ามอื่นๆ เช่น ห้ามศุกร์อยู่เรือนที่ ๖ หรืออังคารในเรือนที่ ๘ หรือเจ้าเรือนลัคนาอยู่ในเรือนที่เป็นทุสถานภพหรือดาวเคราะห์สำคัญอยู่ในตำแหน่งไม่อำนวยศุภผลแก่ดวงฤกษ์

 

ลัคน์ต้องห้าม (ตะยะชะยะกาล)


อย่างไรก็ตามในการวางลัคนาก็ยังมีกฏเกณฑ์พิเศษที่เป็นข้อห้ามเพิ่มเติมอีก เรียกว่า ตะยะชะกาล ซึ่งมีหลายประเภทดังนี้