(5)มุหูรตะโยค-โยคที่ส่งผลดี-ร้ายจากวันที่ประกอบด้วย วาร ดิถีและนักษัตร
จากกฏเกณฑ์ที่ได้กล่าวเอาไว้แล้วในก่อนหน้านี้ ยังมีกฏเกณฑ์พิเศษอีกกฏหนึ่งซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่เป็นการหากำลังจากดิถีสัมพันธ์ ใช้กันมากในระบบโหราศาสตร์ฮินดู และโหราศาสตร์ไทย ซึ่งโหรไทยเรียกว่า ดิถีฤกษ์ล่าง หรือวารประกอบด้วยดิถี
ในการคำนวณหาฤกษ์ยามด้วยระบบโหราศาสตร์ชั้นสูงซึ่งไม่เพียงจะต้องมีองค์ประกอบหลายๆส่วนประกอบกันเพื่อความเป็นศิริมงคลสูงสุดเพื่อความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าและปราศจากอุปสรรคต่างๆที่จะมาขัดขวาง อีกทั้งจะต้องหลีกเลี่ยงผลร้ายอันที่จะทำความพินาศเสียหายให้กับเจ้าชาตาให้ได้มากที่สุด ดังนั้นในวิธีการทางโหราศาสตร์นอกจากจะต้องคำนวนความเหมาะสมและสมพงษ์กับ
ดวงชาตา โดยการพิจารณากำลังต่างๆในดวงชาตาหรือดวงฤกษ์ เช่น ดาราพละ จันทรพละ ปัญจกพละ และ ปัญจางคะอันประกอบด้วย ดิถี วาระ นักษัตร โยค กรณะ แล้ว ยังจะต้องพิจารณากฏเกณฑ์เพิ่มเติมที่สำคัญมากอีกกฏเกณฑ์หนึ่ง ซึ่งก็คือ “มุหูรตะ โยค”
ในคัมภีร์ว่าด้วยวิชาฤกษ์ยามของฮินดูที่เรียกว่า คัมภีร์มุหูรตะ ได้อธิบายความสำคัญของ”มหูรตะโยค”หรือฤกษ์ที่มาจาก วัน(วาร) ดิถี(ข้างขึ้น-แรม)ซึ่งคำนวนตามดิถีเพียรและดาวนักษัตรว่ามีกำลังโดยตัวของมันเองโดยเฉพาะ และ”มุหูรตะโยค”จะมีกำลังป็นพิเศษถ้าหากมีการผสมผสานกำลังในแต่ละส่วนโดยถูกต้องและหมาะสม และจะส่งผลดีหรือชั่วก็ขึ้นอยู่กับ วาร ดิถี และนักษัตรนี้เอง
ดังนั้นไม่ว่าจะประกอบกิจการงานสำคัญใดใดหรือการทำการมงคลทั้งปวง”มุหูรตะโยค”จะเป็นตัวตัดสินสุดท้ายว่าดีหรือร้ายและควรจะทำการนั้นหรือไม่ และถึงแม้ว่าในวันนั้นจะเป็นวันที่มีเงื่อนไขอื่นดีสักเพียงใดก็ตามก็ไม่เป็นข้อยกเว้นซึ่งโยคดี-ร้ายต่างๆจะได้อธิบายดังนี้
โยคมงคล จากวันประเภท วารประกอบด้วยดิถี (วาร+ดิถี ) มีกำลัง *1 เท่าของวันปกติ
1. สิทธาโยค(*1) सिद्ध योग หมายถึงโยคที่ให้ความสำเร็จทุกประการ โดยโยคนี้จะประกอบไปด้วยเงื่อนไขดังนี้
(1) วันที่เป็นนันทะดิถี(วันขึ้น/แรม 1ค่ำ,6 ค่ำ,11 ค่ำ)และตรงกับวัน(วาระ)ศุกร์
(2) วันที่เป็นภัทรดิถี(วันขึ้น/แรม 2ค่ำ,7 ค่ำ,12 ค่ำ)และตรงกับวันพุธ
(3)วันที่เป็นชยะดิถี(วันขึ้น/แรม 3 ค่ำ,8ค่ำและ 13 ค่ำ)และตรงกับวันอังคาร
(4) วันที่เป็นริกตะดิถี(วันขึ้น/แรม 4 ค่ำ,9ค่ำและ 14 ค่ำ)และตรงกับวันเสาร์
(5)วันที่เป็นปูรณะดิถี(วันขึ้น/แรม 5 ค่ำ,10ค่ำและ 15 ค่ำ)และตรงกับวันพฤหัส
2. อมฤตโยค(*1) अमृत योग หมายถึงโยคที่ให้ความเป็นอมตะ โดยโยคนี้จะประกอบไปด้วยเงื่อนไขดังนี้
(1) วันที่เป็นนันทะ ดิถี และตรงกับวันอาทิตย์หรือวันอังคาร
(2) วันที่เป็นภัทรดิถีและตรงกับวันจันทร์หรือวันศุกร์
(3)วันที่เป็นชยะดิถีและตรงกับวันพุธ
(4) วันที่เป็นริกตะดิถีและตรงกับวันพฤหัส
(5)วันที่เป็นปูรณะดิถีและตรงกับวันเสาร์
โยคร้าย จากวันประเภท วารประกอบด้วยดิถี (วาร+ดิถี ) มีกำลัง *1 เท่าของวันปกติ
1. การกจะ ดิถีโยค(*1) क्रकच योग -เลื่อย
ประกอบด้วยดิถีที่ 6 และตรงกับวันเสาร์ ซึ่งถือว่าเป็นโยคที่ร้ายแรงที่สุดในบรรดาโยคประเภท”วารประกอบด้วยดิถี”
2. ทคธะ ดิถีโยค(*1) दग्ध योग -เผาไหม้
ประกอบด้วยดิถีที่ 12และตรงกับวันอาทิตย์ ,ประกอบด้วยดิถีที่ 11และตรงกับวันจันทร์ ,ประกอบด้วยดิถีที่ 5และตรงกับวันอังคารประกอบด้วยดิถีที่ 2 หรือ 3 และตรงกับวันพุธ,ประกอบด้วยดิถีที่ 6 และตรงกับวันพฤหัส,ประกอบด้วยดิถีที่ 8 และตรงกับวันศุกร์,ประกอบด้วยดิถีที่ 9และตรงกับวันเสาร์
3. หุศาตนะดิถีโยค(*1) हुताशन योग -เปลวเพลิง
ประกอบด้วยดิถีที่ 12และตรงกับวันอาทิตย์ ,ประกอบด้วยดิถีที่ 6และตรงกับวันจันทร์ ,ประกอบด้วยดิถีที่ 7และตรงกับวันอังคาร,ประกอบด้วยดิถีที่ 8 และตรงกับวันพุธ,ประกอบด้วยดิถีที่ 9 และตรงกับวันพฤหัส,ประกอบด้วยดิถีที่ 10 และตรงกับวันศุกร์,ประกอบด้วยดิถีที่ 11 และตรงกับวันเสาร์
4. พิษดิถีโยค(*1) विष योग—พิษร้าย
ประกอบด้วยดิถีที่ 4 และตรงกับวันอาทิตย์ ,ประกอบด้วยดิถีที่ 6และตรงกับวันจันทร์ ,ประกอบด้วยดิถีที่ 7และตรงกับวันอังคาร,ประกอบด้วยดิถีที่ 2 และตรงกับวันพุธ,ประกอบด้วยดิถีที่ 8 และตรงกับวันพฤหัส,ประกอบด้วยดิถีที่ 9 และตรงกับวันศุกร์,ประกอบด้วยดิถีที่ 7 และตรงกับวันเสาร์
5. สังวรตกะโยค(*1) संवर्तक योग –พินาศ
ประกอบด้วยดิถีที่ 1 และตรงกับวันพุธ ,ประกอบด้วยดิถีที่ 7และตรงกับวันอาทิตย์
โยคร้าย จากวันประเภท ดิถีประกอบด้วยนักษัตร (ดิถี+นักษัตร) มีกำลัง *0.5 เท่าของวันปกติ
1. อศุภะโยค (*0.5) अशुभ योग -ไม่เป็นมงคล
ประกอบด้วยดิถีที่ 12 กับอสิเลษะนักษัตร, ดิถีที่ 1 กับอุตราษาฒนักษัตร, ดิถีที่ 2 กับอนุราธะนักษัตร , ดิถีที่ 5 กับมาฆะนักษัตร, ดิถีที่3 กับอุตรภัทรปท ,อุตรผลคุณี,อุตราษาฒ , ดิถีที่ 11 กับโรหิณีนักษัตร, ดิถีที่ 13 กับสวาตินักษัตรหรือจิตรานักษัตร, ดิถีที่ 7 กับ หัสตะนักษัตรหรือมูละ, ดิถีที่ 9 กับกฤติกานักษัตร, ดิถีที่ 8 กับ ปุรพภัทรบทนักษัตร และ, ดิถีที่ 6กับโรหิณีนักษัตร
โยคมงคล จากวันประเภท วารประกอบด้วยนักษัตร (วาร+นักษัตร) มีกำลัง *3 เท่า
1. สรวรตะสิทธิโยค(*3) सर्वत सिद्धी योग-โยคที่เป็นมงคลให้ความสำเร็จทุกๆประการ
1.1 ประกอบด้วยอัศวินีนักษัตร, ปุษยะนักษัตร, หัสตะนักษัตร, อุตรผลคุนีนักษัตร, มูละนักษัตร, อุตราษาฒนักษัตร หรืออุตรภัทรบทนักษัตรตรงกับวันอาทิตย์;
1.2 โรหิณีนักษัตร, มฤคศิระนักษัตร, ปุษยะนักษัตร, อนุราธะนักษัตรหรือศรวณะ นักษัตรตรงกับวันจันทร์;
1.3 อัศวินีนักษัตร, กฤติกานักษัตร, อสิเลษะ นักษัตรหรืออุตรภัทรบทนักษัตร, ตรงกับวันอังคาร;
1.4 กฤติกานักษัตร, โรหิณีนักษัตร, มฤคศิระนักษัตร, หัสตะนักษัตรหรืออนุราธะ นักษัตรตรงกับวันพุธ;
1.5 อัศวินีนักษัตร, ปุนรวสุนักษัตร, ปุษยะนักษัตร, อนุราธะนักษัตรหรือเรวดีนักษัตรตรงกับวันพฤหัส;
1.6 อัศวินีนักษัตร, ปุนรวสุนักษัตร, อนุราธะนักษัตร, ศรวณะนักษัตรหรือเรวดีนักษัตรตรงกับวันศุกร์;
1.7 และโรหิณีนักษัตร, สวาตินักษัตร หรือศรวณะนักษัตร ตรงกับวันเสาร์
ทั้งหมดเป็นโยคมงคลเรียกว่าสรวรตะสิทธิโยคยกเว้น อัศวินีนักษัตรตรงกับวันอังคาร, ปุษยะนักษัตรตรงกับวันพฤหัส, และโรหิณีนักษัตรตรงกับวันเสาร์ ไม่เหมาะสำหรับการแต่งงาน, การเดินทาง และการเข้าไปอยู่บ้านหลังใหม่.
2. สิทธาโยค(*3) सिद्ध योग โยคที่เป็นมงคลให้ความสำเร็จ
2.1วันประกอบด้วยนักษัตรที่ตรงกับวันอาทิตย์ คืออุตรผลคุนี หัสตะนักษัตร, มูละนักษัตร,อุตราษาฒนักษัตร,ศรวณะนักษัตร,อุตรภัทรบท นักษัตรหรือเรวดีนักษัตร
2.2วันประกอบด้วยนักษัตรที่ตรงกับวันอังคาร คือ อัศวินีนักษัตร, อุตรผลคุนีนักษัตร, อุตรภัทรบทนักษัตรหรือเรวดีนักษัตร
2.3วันประกอบด้วยนักษัตรที่ตรงกับวันพุธ คือกฤติกานักษัตร บุรพผลคุนี นักษัตร, อุตรผลคุนี นักษัตร, อนุราธะนักษัตร,บุรพาษาฒ นักษัตร, อุตราษาฒนักษัตรหรือบุรพภัทรบท นักษัตร
2.4วันประกอบด้วยนักษัตรที่ตรงกับวันศุกร์ คือ อุตรผลคุนีนักษัตร,หัสตะนักษัตร,จิตรานักษัตร,สวาตินักษัตร,อนุราธะนักษัตร,บุรพาษาฒนักษัตร,อุตราษาฒนักษัตร, ศรวณะนักษัตร,ธนิษฐะนักษัตร,ศตภิษกนักษัตร,บุรพภัทรบทนักษัตร,และอุตรภัทรบท
3. สิทธาโยค(*3) सिद्ध योग โยคที่เป็นมงคลให้ความสำเร็จ
ประกอบด้วย มูละนักษัตรตรงกับวันอาทิตย์; ธนิษฐะนักษัตรตรงกับวันจันทร์; อุตรภัทรบทนักษัตรตรงกับวันอังคาร; กฤติกานักษัตรตรงกับวันพุธ; ปุนรวสุนักษัตรตรงกับวันพฤหัส; บุรพผลคุนีนักษัตรตรงกับวันศุกร์; และสวาตินักษัตรตรงกับวันเสาร์
4. อมฤตโยค(*3) अमृत योग หมายถึงโยคที่ให้ความเป็นอมตะ
4.1วันจันทร์ที่ตรงกับโรหิณีนักษัตร, มฤคศิระนักษัตร, ปุนรวสุนักษัตร, สวาติ นักษัตร, หรือศรวณะนักษัตร
4.2 วันอังคารที่ตรงกับมฤคศิระนักษัตร, ปุนรวสุนักษัตร, ปุษยะนักษัตร, อสิเลษะนักษัตร, มาฆะนักษัตร, บุรพผลคุนีนักษัตร,หัสตะนักษัตร, จิตรานักษัตรหรือสวาติ
4.3วันพุธกับ ที่ตรงกับอารทรานักษัตร ปุนรวสุนักษัตร, ปุษยะนักษัตร, อสิเลษะนักษัตร, มาฆะนักษัตร, หัสตะนักษัตร, จิตรานักษัตร, สวาตินักษัตร, วิสาขะนักษัตร, หรือศรวณะ นักษัตร
4.4 วันพฤหัสที่ตรงกับอัศวินีนักษัตร, ปุนรวสุนักษัตร, ปุษยะนักษัตร, มาฆะนักษัตร, หรือสวาตินักษัตร
4.5 วันศุกร์ ที่ตรงกับอัศวินีนักษัตร ภรณีนักษัตร, บุรพผลคุนีนักษัตร, หรือเรวดีนักษัตร
4.6วันเสาร์ที่ตรงกับกฤติกานักษัตร, โรหิณีนักษัตร, ศตภิษกนักษัตร, หรือสวาตินักษัตร
5. ศุภโยค(*3) शुभ योग หมายถึงโยคที่เป็นมงคลดีมาก
5.1 วันพุธที่ตรงกับโรหิณีนักษัตร, เชษฐะนักษัตร, ศตภิษกนักษัตร, หรืออุตรภัทรบทนักษัตร
5.2 วันพฤหัสที่ตรงกับภรณีนักษัตร, อสิเลษะนักษัตร, วิสาขะนักษัตร, อนุราธะนักษัตร, เชษฐะนักษัตร, มูละนักษัตร,
บุรพาษาฒนักษัตร, อุตราษาฒนักษัตร, ศรวณะนักษัตรหรือธนิษฐะนักษัตร
5.3 วันเสาร์ที่ตรงกับอัศวินีนักษัตร, ภรณีนักษัตร, มฤคศิระนักษัตร, อารทรานักษัตร, ปุษยะนักษัตร, มาฆะนักษัตร,
วิสาขะนักษัตร, อนุราธะนักษัตร, เชษฐะนักษัตร, มูละนักษัตร, ศุภะรูปแบบอุตรผลคุนีนักษัตร, ศรวณะนักษัตร,ธนิษฐะนักษัตร,
บุรพภัทรบทนักษัตรหรืออุตรภัทรบท
6. ศุภมัธยมโยค(*3) शुभ माध्यम योग หมายถึงโยคที่เป็นมงคลดีปานกลาง
6.1 วันอาทิตย์ที่ตรงกับภรณีนักษัตร, กฤติกานักษัตร, โรหิณีนักษัตร, มฤคศิระนักษัตร, อารทรา นักษัตร, ปุนรวสุนักษัตร, อสิเลษะนักษัตร, บุรพผลคุนีนักษัตร, จิตรานักษัตร,สวาตินักษัตร,บุรพาษาฒ,ธนิษฐะ,ศตภิษกหรือบุรพภัทรบทนักษัตร6.2 วันอังคารที่ตรงกับภรณีนักษัตร, กฤติกานักษัตร, โรหิณีนักษัตร, เชษฐะนักษัตร, มูละ, บุรพาษาฒหรือศรวณะนักษัตร
6.3 วันพฤหัสที่ตรงกับหัสตะนักษัตร, จิตรานักษัตร, บุรพภัทรบทนักษัตรหรืออุตรภัทรบทนักษัตร
7. โสภณโยค(*3) शोभन योग หมายถึงโยคที่ดีงาม
ประกอบด้วย วันจันทร์ที่ตรงกับอัศวินีนักษัตร, ภรณีนักษัตร, กฤติกานักษัตร, อารทรานักษัตร,ปุษยะนักษัตร,อสิเลษะนักษัตร,มาฆะนักษัตร, บุรพผลคุนีนักษัตร, หัสตะนักษัตร, อนุราธะนักษัตร, เชษฐะนักษัตร, มูละนักษัตร, ธนิษฐะนักษัตร, ศตภิษกนักษัตร, บุรพภัทรบทนักษัตร, หรือเรวดีนักษัตร
8. ศรี โยค(*3) श्री योग หมายถึงโยคที่มีเกียรติยศ เจริญรุ่งเรือง ร่ำรวย
ประกอบด้วย วันศุกร์ที่ตรงกับภรณีนักษัตร, กฤติกานักษัตร, มฤคศิระนักษัตร, อารทรานักษัตรหรือปุนรวสุนักษัตรคำว่า ศรี หมายถึง พระแม่ลักษมี เทพีแห่งความรุ่งโรจน์ และทรัพย์สิน, ผู้ซึ่งเป็นเจ้าการประจำวันศุกร์และดาวศุกร์
9. โยควิเศษ(*3) विशेष योग -โยคพิเศษต่างๆที่จะทำลายผลของโยคร้าย
การรวมพลังเข้าด้วยกันของ วาร ดิถีและนักษัตร หรือ วาร+ดิถี +นักษัตร (ยกเว้นริกตะ ดิถี คือดิถีที่ 4 ที่ 9 และที่ 5 ) จะมีพลังสำหรับการเอาชนะโยคร้ายและผลร้ายอื่นๆที่จะตามมา ซึ่งโยคพิเศษเหล่านี้มีผลเพียงทำลายผลของโยคร้ายอื่นๆเท่านั้น แต่ไม่ได้มีผลดีโดยตัวของมันเอง และจะมีเงื่อนไขพิเศษดังนี้
1) วันอาทิตย์ที่ตรงกับภรณีนักษัตร, อุตรผลคุนีนักษัตร, มูละนักษัตร, อุตราษาฒนักษัตร, ศรวณะนักษัตรหรือเรวดีนักษัตร จะมีพลังต่อต้านความชั่วร้ายและความวิบัติได้ทั้งหมด ประดุจดังพระศิวะทรงเสวยยาพิษอันเกิดจากการกวนเกษียรสมุทรเพื่อปกป้องคุ้มครองโลกมิให้พินาศ
2) วันจันทร์ที่ตรงกับโรหิณีนักษัตร, มฤคศิระนักษัตร, ปุนรวสุนักษัตร, สวาตินักษัตรหรือศรวณะ นักษัตรจะมีพลังต่อต้านความชั่วร้ายและความวิบัติได้เสมือนกับพญาครุฑกำราบพญานาคา
3) วันอังคารที่ตรงกับอัศวินีนักษัตร,โรหิณีนักษัตร,อุตรผลคุนีนักษัตร,หัสตะนักษัตร,อนุราธะนักษัตรหรืออุตรภัทรบทนักษัตรจะมีพลังต่อต้านความชั่วร้ายและความวิบัติ เสมือนที่พระรามกำราบพญายักษ์ทศกัณฐ์
4) วันพุธที่ตรงกับกฤติกานักษัตร,มฤคศิระนักษัตร,บุรพผลคุนีนักษัตร, อุตรผลคุนีนักษัตร, อนุราธะนักษัตร, บุรพาษาฒนักษัตร,อุตราษาฒหรือบุรพภัทรบทนักษัตรจะมีพลังต่อต้านความชั่วร้ายและความวิบัติ เสมือนที่พระรามกำราบพญายักษ์ทศกัณฐ์
5) วันพฤหัสที่ตรงกับอัศวินีนักษัตร, ปุนรวสุนักษัตร, ปุษยะนักษัตร, มาฆะนักษัตรหรือสวาตินักษัตรจะมีพลังต่อต้านความชั่วร้ายและความวิบัติให้กลายเป็นผงธุลี
6) วันศุกร์ที่ตรงกับอัศวินี นักษัตร, ภรณีนักษัตร, มูละ นักษัตรหรือเรวดีนักษัตร จะมีพลังต่อต้านความชั่วร้ายและความวิบัติเสมือนพระอาทิตย์ทำลายความมืดฉะนั้น
7) วันเสาร์ที่ตรงกับกฤติกานักษัตร, โรหิณีนักษัตร, สวาติ นักษัตรหรือศตภิษก นักษัตรจะมีพลังต่อต้านความชั่วร้ายและความวิบัติเสมือนพระอาทิตย์ทำลายความมืดฉะนั้น
โยคร้าย จากวันประเภท วารประกอบด้วยนักษัตร (วาร+นักษัตร) มีกำลัง *3 เท่า
1. ทคธะ โยค(*3) दग्ध योग -เผาไหม้
ประกอบด้วยภรณีนักษัตรที่ตรงกับวันอาทิตย์; จิตรานักษัตรที่ตรงกับวันจันทร์; อุตราษาฒนักษัตรที่ตรงกับวันอังคาร; ธนิษฐะนักษัตรที่ตรงกับวันพุธ; อุตรผลคุนีนักษัตรที่ตรงกับวันพฤหัส; เชษฐะนักษัตรที่ตรงกับวันศุกร์;และเรวดีนักษัตรที่ตรงกับวันเสาร์
2. ทคธะ โยค(*3) दग्ध योग -เผาไหม้
ประกอบด้วยกฤติกานักษัตร, โรหิณีนักษัตร, มฤคศิระนักษัตร, อารทรานักษัตร, อุตรผลคุนีนักษัตรและศตภิษกนักษัตรที่ตรงกับวันพฤหัส
3. ยมธัน โยค(*3) यमघ्न योग -ความตาย
ประกอบด้วยมาฆะนักษัตรที่ตรงกับวันอาทิตย์; วิสาขะนักษัตรที่ตรงกับวันจันทร์; อารทรานักษัตรที่ตรงกับวันอังคาร; มูละนักษัตรบนที่ตรงกับวันพุธ; กฤติกานักษัตรที่ตรงกับวันพฤหัส;โรหิณีนักษัตรที่ตรงกับวันศุกร์;และหัสตะนักษัตรที่ตรงกับวันเสาร์
4. อุตปาฏนะ โยค(*3) उत्पाटन योग -ฉีกทำลาย
ประกอบด้วยวิสาขะนักษัตรที่ตรงกับวันอาทิตย์; บุรพาษาฒนักษัตรที่ตรงกับวันจันทร์; ธนิษฐะนักษัตรที่ตรงกับวันอังคาร; เรวดีนักษัตรที่ตรงกับวันพุธ; โรหิณีนักษัตรที่ตรงกับวันพฤหัส;ปุษยะนักษัตรที่ตรงกับวันศุกร์; และอุตรผลคุนีที่ตรงกับวันเสาร์
5. มฤตยูโยค(*3) मृ्त्यु योग-ความตาย ความหายนะ
ประกอบด้วยอนุราธะนักษัตรที่ตรงกับวันอาทิตย์; อุตราษาฒนักษัตรที่ตรงกับวันจันทร์; ศตภิษกนักษัตรที่ตรงกับวันอังคาร; อัศวินีนักษัตรที่ตรงกับวันพุธ; มฤคศิระนักษัตรที่ตรงกับวันพฤหัส; อสิเลษะนักษัตรที่ตรงกับวันศุกร์วาร; และหัสตะนักษัตรที่ตรงกับวันเสาร์
6. มฤตยูโยค(*3) मृ्त्यु योग-ความตาย ความหายนะ
ประกอบด้วยวันอาทิตย์ที่ตรงกับวิสาขะนักษัตร; วันจันทร์ที่ตรงกับบุรพาษาฒนักษัตร; วันอังคารที่ตรงกับธนิษฐะนักษัตร; วันพุธที่ตรงกับอนุราธะนักษัตร; วันพฤหัสที่ตรงกับมฤคศิระนักษัตร; วันศุกร์ที่ตรงกับสวาติ นักษัตรหรือโรหิณีนักษัตร; และ วันเสาร์ที่ตรงกับศรวณะนักษัตร
7. คาณา โยค(*3) काण योग -ตาบอดข้างเดียว
ประกอบด้วยเชษฐะนักษัตรที่ตรงกับวันอาทิตย์; ศรวณะนักษัตรที่ตรงกับวันจันทร์; บุรพภัทรบทนักษัตรที่ตรงกับวันอังคาร; ภรณีนักษัตรที่ตรงกับวันพุธ; อารทรานักษัตรที่ตรงกับวันพฤหัส; มาฆะนักษัตรที่ตรงกับวันศุกร์วาร; และจิตรานักษัตรที่ตรงกับวันเสาร์
8. นาศะ โยค(*3) नाश योग -ความสูญเสีย
8.1 วันอาทิตย์ที่ตรงกับอัศวินี นักษัตร, มาฆะนักษัตร, วิสาขะนักษัตร, อนุราธะ นักษัตรหรือเชษฐะนักษัตร;
8.2 วันจันทร์ที่ตรงกับกฤติกานักษัตร, อุตรผลคุนี นักษัตร, จิตรานักษัตร, วิสาขะนักษัตร, บุรพาษาฒ นักษัตร, อุตราษาฒ
นักษัตร, อุตรภัทรบท นักษัตร;
8.3 วันอังคารที่ตรงกับมฤคศิระนักษัตร, อารทรานักษัตร, วิสาขะนักษัตร, อุตราษาฒนักษัตร, ธนิษฐะนักษัตร,ศตภิษกนักษัตร,
บุรพภัทรบทนักษัตร;
8.4 วันพุธที่ตรงกับอัศวินี นักษัตร, ภรณีนักษัตร, มูละนักษัตร, ธนิษฐะนักษัตร, หรือเรวดีนักษัตร;
8.5 วันพฤหัสที่ตรงกับอุตรผลคุนี นักษัตร;
8.6 วันศุกร์ที่ตรงกับโรหิณีนักษัตร, ปุษยะ นักษัตร, อสิเลษะนักษัตร, มาฆะนักษัตร, วิสาขะนักษัตรหรือเชษฐะนักษัตร;
8.7 วันเสาร์ที่ตรงกับเรวดีนักษัตร
9. มฤตยูโยค(*3) मृ्त्यु योग-ความตาย ความหายนะ
ประกอบด้วยวารของวันเสาร์ที่ตรงกับปุนรวสุนักษัตร, อสิเลษะ นักษัตร, บุรพผลคุนีนักษัตร, รูปแบบหัสตะนักษัตร, จิตรา
นักษัตร, บุรพาษาฒนักษัตร, อุตราษาฒนักษัตรหรือเรวดีนักษัตร
โยคมงคล จากวันประเภท วารประกอบด้วยดิถีและนักษัตร (วาร+ดิถี+นักษัตร) มีกำลัง 9 เท่า
1. สุตะ โยค(*9) सूत योग –เจริญรุ่งเรืองสูงสุด
1. ประกอบด้วยวันอาทิตย์ที่ตรงกับปุษยะนักษัตร, หัสตะนักษัตรหรือมูละนักษัตร ที่ตรงกันกับดิถีที่ 5 หรือที่ 7
2. วันจันทร์ที่ตรงกับมฤคศิระนักษัตร, สวาตินักษัตร, หรือศรวณะนักษัตร ที่ตรงกับดิถีที่ 5 หรือ 7
3. วันอังคารที่ตรงกับอัศวินีนักษัตร, โรหิณีนักษัตร, อุตรผลคุนีนักษัตร, อุตราษาฒนักษัตร, บุรพภัทรบทหรืออุตรภัทรบท
นักษัตร ที่ตรงกับดิถีที่ 5 หรือ 7
4. วันพุธที่ตรงกับอัศวินีนักษัตร, บุรพผลคุนีนักษัตร, บุรพาษาฒนักษัตรหรือบุรพภัทรบทนักษัตร ที่ตรงกับดิถีที่ 5 หรือ 7
5. วันพฤหัสที่ตรงกับปุนรวสุนักษัตร, บุรพาษาฒนักษัตรหรือเรวดีนักษัตร ที่ตรงกับดิถีที่ 13
6. วันศุกร์ที่ตรงกับอุตรผลคุนีนักษัตร, สวาตินักษัตรหรือศตภิษกนักษัตร ที่ตรงกับดิถีที่ 1 , ดิถีที่ 11
7. วันเสาร์ที่ตรงกับดิถี โรหิณีนักษัตร, สวาตินักษัตรหรือธนิษฐะนักษัตร ที่ตรงกับดิถีที่ 2, ดิถีที่ 7 หรือ 12
2. สิทธา โยค(*9) सिद्ध योग โยคที่เป็นมงคลให้ความสำเร็จสูงสุด
1. ประกอบด้วยวารวันอาทิตย์และ ดิถีที่ 1,4,6,7 หรือ 12 ที่ตรงกับปุษยะนักษัตร, หัสตะนักษัตร, อุตรผลคุนีนักษัตร, มูละนักษัตร, อุตราษาฒนักษัตร, ศรวณะนักษัตรหรืออุตรภัทรบทนักษัตร
2. วารวันจันทร์และภัทรดิถี ที่ตรงกับโรหิณีนักษัตร, มฤคศิระนักษัตร, ปุนรวสุนักษัตร, จิตรานักษัตร, ศรวณะนักษัตร, ธนิษฐะนักษัตร, ศตภิษกนักษัตรหรือบุรพภัทรบทนักษัตร;
3. วารวันอังคารและที่ตรงกับนันทะดิถี หรือ ภัทรดิถี ที่ตรงกับอัศวินี นักษัตร, มฤคศิระนักษัตร, อุตรผลคุนี นักษัตร, จิตรานักษัตร, อนุราธะนักษัตร, มูละนักษัตร, ธนิษฐะนักษัตรหรือบุรพภัทรบทนักษัตร;
4. วารที่เป็นวันพุธ ที่ตรงกับภัทรดิถีและชยะดิถีที่ตรงกับโรหิณีนักษัตร, มฤคศิระนักษัตร,อารทรานักษัตร,อุตรผลคุนีนักษัตร,อนุราธะนักษัตรหรืออุตราษาฒนักษัตร;
5. วารวันพฤหัส ที่ตรงกับดิถีที่ 4,5,7,9,13หรือ14 ที่ตรงกันกับอัศวินีนักษัตร, ปุนรวสุนักษัตร,ปุษยะนักษัตร, มาฆะนักษัตร, สวาตินักษัตร, บุรพาษาฒนักษัตร, บุรพภัทรบทนักษัตรหรือเรวดีนักษัตร;
6. วารวันศุกร์ ที่ตรงกับนันทะดิถี หรือ ภัทรดิถี ที่ตรงกับอัศวินีนักษัตร, ภรณีนักษัตร, อารทรานักษัตร, อุตรผลคุนีนักษัตร, จิตรานักษัตร, สวาตินักษัตร, บุรพาษาฒนักษัตรหรือเรวดีนักษัตร;
7. และวารวันเสาร์ที่ตรงกับภัทรหรือริกตะดิถีที่ตรงกับโรหิณีนักษัตร, สวาตินักษัตร, วิสาขะนักษัตร, อนุราธนักษัตร, ธนิษฐะนักษัตรหรือศตภิษกนักษัตร
โยคร้ายจากวันประเภท วารประกอบด้วยดิถีและนักษัตร (วาร+ดิถี+นักษัตร) มีกำลัง 9 เท่า
1. พิษ โยค(*9) विष योग—พิษร้ายรุนแรง
1. วารวันอาทิตย์ที่ตรงกับดิถีที่ 5 ดาวอาทิตย์กับกฤติกานักษัตร
2. วารวันจันทร์ที่ตรงกับดิถีที่ 2 กับจิตรานักษัตร
3. วารวันอังคารที่ตรงกับดิถีขึ้น 15 ค่ำ (ปูรณิมา)กับโรหิณีนักษัตร;
4. วารวันพุธที่ตรงกับดิถีที่ 7 กับภรณีนักษัตร;
5. วารวันพฤหัสที่ตรงกับดิถีที่ 13 กับอนุราธะนักษัตร;
6. วารวันศุกร์ที่ตรงกับดิถีที่ 6 กับศรวณะ นักษัตร;
7. วารวันเสาร์ที่ตรงกับดิถีที่ 8 กับเรวดีนักษัตร
2. วินาศโยค(*9) विनाश योग—มหาวินาศ
1. วารวันอาทิตย์ที่ตรงกับดิถีที่ 3, 4, 8, 9, 13หรือ14 ที่ตรงกับภรณี, มฤคศิระ,อสิเลษะ,วิสาขะ,อนุราธะ,เชษฐะหรือธนิษฐะ
2. วารวันจันทร์กับดิถีที่ 6 หรือ11 ที่ตรงกับกฤติกา, ภรณี, มาฆะ,อนุราธะ, บุรพาษาฒ,อุตราษาฒหรืออุตรภัทรบทนักษัตร;
3 วารวันอังคารที่ตรงกับดิถีที่ 1, 2, 7, 8, 10หรือปูรณิมา(15 ค่ำ) ที่ตรงกับอารทรา,ปุนรวสุ,บุรพาษาฒ,อุตราษาฒ,ศรวณะ , ธนิษฐะนักษัตร, ศตภิษกนักษัตรหรือเชษฐะนักษัตร;
4 วารวันพุธที่ตรงกับดิถีที่ 2, 3, 8 หรือ 9 ที่ตรงกับอัศวินี, ภรณี, ปุษยะ, อสิเลษะ, มาฆะ, มูละ, ธนิษฐะหรือบุรพภัทรบท
5. วารวันพฤหัสที่ตรงกับดิถีที่ 6, 8 ,9 ,1 หรือ 13 ที่ตรงกับกฤติกา, โรหิณี, มฤคศิระ, อารทรา, อุตรผลคุนี , อนุราธะ, วิสาขะนักษัตรหรือศตภิษกนักษัตร;
6. วารวันศุกร์ที่ตรงกับดิถีที่2, 3, 6, 8, 10หรือ 11 ที่ตรงกับโรหิณ,ปุนรวสุ,มาฆะ,วิสาขะ,อนุราธะ,เชษฐะ,ศรวณะหรือธนิษฐะ
7. วารวันเสาร์กับดิถีที่ 3 ดิถีที่ 7 ,9 หรือ 11 ที่ตรงกับภรณีนักษัตร,ปุนรวสุนักษัตร, ปุษยะนักษัตร, บุรพผลคุนีนักษัตร, อุตรผลคุนีนักษัตร, หัสตะนักษัตร,บุรพาษาฒนักษัตร, ศรวณะนักษัตรหรืออุตราษาฒนักษัตร
โยคพิเศษ ที่จะส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำขึ้นอีกครั้ง
ยังมีมุหูรตะโยค ชนิดพิเศษอีกแบบหนึ่งก็คือ โยคที่มีการผสมกันระหว่าง วาร+ดิถี+และนักษัตร ที่จะส่งผลให้เกิดเหตุการณ์นี้ช้ำขึ้นอีกครั้งหรือหลายครั้ง ซึ่งอาจจะถือว่าเป็นโยคที่ดีและทรงพลังมากที่สุดชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถนำมาใช้ให้เกิดผลดีให้เกิดซ้ำกันตามที่ต้องการเช่น การเลื่อนตำแหน่ง การซื้อรถ หรือการซื้อบ้าน เงินทองเครื่องประดับ ฯลฯแต่อย่างไรก็ตามก็กลับมีผลในทางที่ไม่เป็นมงคลสำหรับการแต่งงานและการงานที่ต้องการความมั่นคงอื่นๆซึ่งโยคดังกล่าวมีดังนี้
1. ตรีปุษการะโยค त्रीपुष्कर योग —ดอกบัวทั้งสาม
ประกอบไปด้วยวารที่ครองด้วยดาวปาปเคราะห์(วันอาทิตย์วันอังคารและวันเสาร์) ที่ตรงกับภัทรดิถีและนักษัตรที่มีสามนวางศ์บาทฤกษ์อยู่ในราศีเดียวกัน คือกฤติกานักษัตร, ปุนรวสุนักษัตร, อุตรผลคุนี นักษัตร, วิสาขะนักษัตร, อุตราษาฒนักษัตร,หรือบุรพภัทรบทนักษัตร หรือเรียกว่าฉินทฤกษ์ซึ่งมีดาวอาทิตย์และดาวพฤหัสเป็นดาวเจ้าฤกษ์ จะส่งผลให้เหตุการณ์ใดใดที่กระทำ
ในช่วงนี้จะส่งผลให้เกิดเหตุการณ์นี้ซ้ำขึ้นอีกสามครั้ง
2. ทวิปุษการะโยค द्विपुष्कर योग —ดอกบัวทั้งสอง
ประกอบไปด้วยวารที่ครองด้วยดาวปาปเคราะห์(วันอาทิตย์วันอังคารและวันเสาร์) ที่ตรงกับภัทรดิถีและนักษัตรที่มีสองนวางศ์บาทฤกษ์อยู่ในราศีเดียวกัน คือมฤคศิระนักษัตร, จิตรานักษัตรหรือธนิษฐะนักษัตรหรือเรียกว่าภินทฤกษ์ ซึ่งมีดาวอังคารเป็นดาวเจ้าฤกษ์ จะส่งผลให้เหตุการณ์ใดใดที่กระทำในช่วงนี้จะส่งผลให้เกิดเหตุการณ์นี้ซ้ำขึ้นอีกสองครั้ง
ประโยชน์และผลดีของมุหูรตะโยค
โยคที่เป็นผลดีต่างๆเช่น ศุภะโยค อมฤตโยค สิทธาโยค สรวตะสิทธิโยค ศรีโยค โสภณโยค และสุตะโยค ซึ่งโยคเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโยคที่ทรงศุภอิทธิพลในการส่งผลอันมั่นคงและยาวนาน และมีความสำคัญมากสำหรับการเริ่มต้นกิจกรรมทั้งหมดที่มีผลให้เกิดความต่อเนื่องมั่นคงและยาวนาน และโยคมงคลเหล่านี้จะให้ประโยชน์และจะส่งผลอันที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จในกิจกรรมนั้นๆ
อย่างไรก็ตามเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดพลังในมุหูรตะโยคนั้นก็จะขึ้นอยู่กับดาวเจ้าการของวาร ดิถี และนักษัตรที่ประกอบเป็นรูปโยคนั้นๆเอง ซึ่งจะเป็นตัวควบคุมและกำหนดว่าโยคนั้นๆจะให้พลังดี-ร้ายได้เต็มที่หรือไม่
กำลังของโยคแต่ละประเภท
คัมภีร์มุหูรตะได้กำหนดประเภทและพลังของโยคเอาไว้ต่างระดับกัน และโยคนั้นๆจะให้พลังดี-ร้ายได้เต็มที่หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับประเภทหรือชนิดที่ประกอบขึ้นเป็นโยค และผลดี-ร้ายย่อมจะมีการลดทอนกำลังในระดับต่างๆกันดังนี้
1. โยคประเภท ดิถีประกอบด้วยนักษัตร (ดิถี+นักษัตร) มีกำลังให้ผลดี-ร้าย 0.5 เท่าของวันโดยปกติ
2. โยคประเภท ดิถีประกอบด้วยวาร (ดิถี+วาร) มีกำลังให้ผลดี-ร้าย 1 เท่าของวันโดยปกติ
3. โยคประเภท วารประกอบด้วยนักษัตร (วาร+นักษัตร) มีกำลังให้ผลดี-ร้าย 3 เท่าของวันโดยปกติ
4. โยคประเภท ดิถีประกอบด้วยวารและนักษัตร (ดิถี+วาร+นักษัตร) มีกำลังให้ผลดี-ร้าย 9 เท่าของวันโดยปกติ
จะเห็นได้ว่าโยคประเภทต่างๆจะมีกำลังในการส่งผลได้ไม่เท่ากัน ซึ่งหากเปรียบเทียบโยคที่มีพลังมากกว่ากับโยคที่มีพลังน้อยกว่า ผลก็คือโยคที่มีพลังน้อยกว่าย่อมถูกลดทอนผลดี-ร้ายลงไปจนหมด แต่หากเป็นโยคประเภทเดียวกันย่อมส่งผลกำลังดี-ร้ายได้เท่ากัน เช่น โยคหนึ่งดี กับอีกโยคหนึ่งร้ายในประเภทเดียวกันผลก็คือหักล้างกัน และหากกำลังของโยคใกล้เคียงกัน ก็ต้องพิจารณาผลดี-ร้ายโดยละเอียดจากดาวเคราะห์เจ้าการที่ประกอบเป็นรูปโยคนั้นอีกครั้งหนึ่ง