(3.)จันทรพละ-กำลังของดาวจันทร์ และตำแหน่งที่จันทร์สถิตย์
ขั้นที่3ในการคำนวนหาฤกษ์ยามที่สมพงษ์กับดวงชาตา ตำแหน่งที่สถิตย์ของดาวจันทร์ในดวงฤกษ์กับที่สถิตย์ของดาวจันทร์ในดวงชะตาถือว่าเป็นกำลังสำคัญของจันทร์ที่จะให้ผลดี-ร้ายในดวงฤกษ์ ดังนั้นในกฏนี้จะกล่าวถึงเรือนและราศีที่จันทร์สถิตย์ กำหนดว่าจันทร์จรในดวงฤกษ์จะต้องไม่สถิตย์ในตำแหน่งที่เป็นทุสถานะภพจากจันทร์กำเนิด(ชนมจันทร์ หรือ จันทรลัคน์) หรือไม่อยู่ในเรือนที่ ๖ หรือ ๘ หรือ ๑๒ จากชนมจันทร์
ข้อควรพิจารณา
(1)ในขั้นตอนนี้จะต้องเข้าใจว่าคำว่าเรือนจะแตกต่างจากราศี เพราะเรือนชาตาหนึ่งๆอาจจะคาบเกี่ยวสองราศีก็เป็นได้ทั้งนี้จะต้องคำนวนหาจากจุดศูนย์กลางของเรือนนั้นๆ
(2)ดาวจันทร์เป็นกำลังสำคัญของดวงฤกษ์์ ถือว่าเป็นจันทรลัคน์ (ถือดาวจันทร์เป็นลัคนา)มิต้องนำลัคนาในดวงเดิมมาพิจารณาอีกเพราะจะทำให้เกิดความขัดแย้งสับสน ทั้งในเรื่องขอบเขตเรือนชาตาของลัคนาและจันทรลัคน์และบั่นทอนกำลังสำคัญของดวงฤกษ์โดยใช่เหตุ
(3)ในการพิจารณาพื้นดวงเดิมให้ระวังเรื่องตรียางค์มรณะ หรือ ตรียางค์ที่ ๒๒ จากลัคนาในดวงเดิม และ นวางศ์มรณะหรือ นวางศ์ที่๖๔ นับจากนวางศ์ที่ดาวจันทร์เดิมในดวงชาตาเกาะอยู่ และรวมถึงดาวเคราะห์เจ้านวางศ์ตรียางค์มรณะนั้นๆ (ฉิทระเคราะห์)
ชนมตาราทะยะ
ในขั้นตอนพิจารณาจันทรพละ มีอีกกฏเกณฑ์หนึ่งที่สำคัญในการหาผลดี-ร้ายของนักษัตรต่างๆ(นับจากนักษัตรกำเนิด) โดยจะต้องนำมาพิจารณาเป็นพิเศษ และในนักษัตรเหล่านั้นหากมีดาวปาปเคราะห์เสวยอยู่ก็จะบันดาลผลร้าย หากเป็นศุภเคราะห์ก็จะให้ผลดี
๑. ชนมรักษ์ นักษัตรที่ดาวจันทร์ในชาตานั้นสถิตย์อยู่
๒. กรรมรักษ์ นักษัตรที่ ๑๐ นับจากนักษัตรที่จันทร์สถิตย์
๓. สันฆาติก นักษัตรที่ ๑๖ นับจากนักษัตรที่จันทร์สถิตย์
๔. สมุทายะ นักษัตรที่ ๑๘ นับจากนักษัตรที่จันทร์สถิตย์
๕. อาธานะ นักษัตรที่ ๑๙ นับจากนักษัตรที่จันทร์สถิตย์
๖. ไวนาศิก นักษัตรที่ ๒๓ นับจากนักษัตรที่จันทร์สถิตย์
๗. ชาติ นักษัตรที่ ๒๕ นับจากนักษัตรที่จันทร์สถิตย์
๘. เทศะ นักษัตรที่ ๒๖ นับจากนักษัตรที่จันทร์สถิตย์
๙. อภิเษก นักษัตรที่ ๒๗ นับจากนักษัตรที่จันทร์สถิตย์