ในเรื่องตรียางค์ นวางศ์พิษใช้กันมากในโหราศาสตร์ไทย และฝอยพยากรณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่มาก เข้าใจว่ามาจากโหราศาสตรพระเวท-ภารตะ แต่เมื่อสอบทานกลับไปดูต้นสายวิชาคือโหรพระเวท จะเห็นว่าในโหราศาสตร์พระเวทกล่าวถึงในเรื่องนี้ไว้น้อยมากจนแทบจะไม่มีโหราจารย์ฝ่ายพระเวทในประเทศอินเดียท่านไหนนำมาใช้เป็นหลักในการพยากรณ์เลย จะกล่าวถึงเรื่องนี้จริงๆก็มีแต่ในคัมภีร์มุหูรตะของพระเวท โดยท่านกล่าวถึงเวลาที่ไม่เป็นมงคลสำหรับวางลัคนาในดวงฤกษ์ซึ่งมีตำแหน่งคล้ายกันกับนวางศ์ลูกพิษในโหราศาสตรไทย แต่สำหรับตรียางค์พิษในโหราพระเวทจะไม่มี โดยท่านวางกฎของนวางศ์ให้โทษแบบพระเวทเอาไว้ดังนี้
ลัคน์ต้องห้าม (จากฎของมุหูรตะ-คัมภีร์ว่าด้วยการให้ฤกษ์)
1. นาคะ หากลัคน์อยู่ราศีเมษ พฤษภ ธนู กันย์ ให้งดเว้นเวลา 12 นาทีแรก (หรือประมาณ 1 ลูกนวางศ์) ในราศีดังกล่าว เพราะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลร้ายของ นาค หรือ งู (ภุชงค)
-ซึ่งโหรไทยจะเรียกว่า พิษนาค แต่ของไทยจะไม่มีพิษนาคในราศีพฤษภ นอกนั้นตรงกันกับโหราศาสตร์พระเวท
2. ราหู หากลัคน์อยู่ราศีมีน กรกฏ มังกร พิจิก ให้งดเว้นเวลา 12 นาทีสุดท้ายก่อนสุดราศี (หรือประมาณ 1 ลูกนวางศ์) ในราศีดังกล่าว เพราะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลร้ายของ ราหู
-ซึ่งโหรไทยจะเรียกว่า พิษสุนัข (ราหู-สุนัข) แต่ของไทยจะไม่มีพิษสุนัขในราศีมีน นอกนั้นตรงกันกับโหราศาสตร์พระเวท
3. คฤธระ (นกแร้ง) หากลัคน์อยู่ราศีมิถุน ตุลย์ สิงห์ กุมภ์ ให้งดเว้นเวลา 12 นาทีท่ามกลางราศี (หรือประมาณ 1 ลูกนวางศ์) ในราศีดังกล่าว เพราะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลร้ายของ คฤธระ (นกแร้ง)
-ซึ่งโหรไทยจะเรียกว่า พิษครุฑ แต่ของไทยจะไม่มีพิษครุฑในราศีมิถุน นอกนั้นตรงกันกับโหราศาสตร์พระเวท
จากหลักของโหราศาสตร์พระเวท ดังกล่าวข้างต้นซึ่งจะไม่มีตรียางค์พิษเหมือนโหรไทย และการพยากรณ์ดวงชาตาเกี่ยวกับเรื่องนี้แทบจะไม่มีให้เห็น นอกจากจะเป็นการวางหลักในในเรื่องของการวางฤกษ์ยามเท่านั้น ส่วนของไทยจะมีฝอยทำนายเรื่องนี้เอาไว้มากมาย โดยเฉาะเรื่องลัคนา หรือ ดาวเคราะห์ในดวงชาตาเกาะนวางศ์ลูกพิษต่างๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นผลร้าย แต่ผลของการพยากรณ์อาจจะต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพราะทฤษฎีนี้มีความแตกต่างกันกับโหราศาสตร์พระเวทซึ่งเป็นทฤษฎีแม่บท
และถ้าหากนำเรื่องการพิจารณา ตำแหน่งของ ปุษการะนวางศ์ และวรโคตรมนวางศ์ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดีเป็นมงคล มาเทียบกับตรียางค์พิษและนวางศ์พิษแบบไทย ผลจะขัดแย้งกันอยู่หลายตำแหน่ง เพราะตำแหน่งเดียวกันบางทฤษฎีบ่งชี้ไปทางดี และบางทฤษฎีบ่งชี้ไปทางร้าย ซึ่งในกรณีดังกล่าวนี้ผู้ที่ศึกษาโหราศาสตร์จะต้องวินิจฉัยให้ดี ตัวอย่างเช่น นวางศ์ที่ 7 ในราศีมังกรได้ตำแหน่งทั้ง พิษสุนัข (ร้าย)และ เป็นปุษการะนวางศ์ (ดี)ด้วย หรือบางแห่งเช่น นวางศ์ลูกที่ 5 ในราศีสิงห์ ก็เป็นทั้งพิษครุฑ (ร้าย) คฤรธะโทษ(ร้าย) และ วรโคตรมนวางศ์(ดี) ในตำแหน่งเดียวกัน และนวางศ์ที่ 9 ในราศีธนูก็เป็นทั้งปุษการะนวางศ์ (ดี) และวรโคตรมนวางศ์ (ดี) พร้อมกันทั้งสองตำแหน่ง
ข้อแนะนำในการวินิจฉัย
ถ้าหากเรานำหลักของโหราศาสตร์พระเวท-ภารตะ(อย่างเดียว)มาพิจารณาในเรื่อง นวางศ์ให้คุณและโทษนี้ จะไม่เกิดความสับสน เพราะในหลักของนวางศ์ให้โทษ(นวางศ์พิษ)นั้น ท่านใช้เฉพาะในการวางฤกษ์ยามเท่านั้น โดยจะไม่นำมาวินิจฉัยดวงชาตา ส่วนหลักของนวางศ์ให้คุณเช่น วรโคตรมนวางศ์ ท่านใช้เฉพาะการวินิจฉัยดวงชาตาเท่านั้น ส่วนปุษการะนวางศ์ ทั้งแบบ ปุษการะภาคะ หรือ ปุษการะองศา ท่านนำมาใช้ได้ทั้งการวางฤกษ์และการวินิจัยดวงชาตา
ราศี | ตรียางค์ | นวางศ์ | ดาว | นวางศ์ให้โทษ | นวางศ์ให้คุณ | ||
ลูกที่ | โหรไทย | โหรภารตะ | วรโคตมะ | ปุษการะ | |||
เมษ | ๑ | ๓ | พิษนาค | นาคะโทษ | วรโคตมะ | ||
๓ | ๒ | ๖ | พิษนาค | ||||
๓ | ๔ | พิษนาค | |||||
๔ | ๒ | ||||||
๑ | ๕ | ๑ | |||||
๖ | ๔ | ||||||
๗ | ๖ | ปุษการะ | |||||
๕ | ๘ | ๓ | |||||
๙ | ๕ | ปุษการะ | |||||
พฤษภ | ๑๐ | ๗ | นาคะโทษ | ||||
๖ | ๑๑ | ๘ | |||||
๑๒ | ๕ | ปุษการะ | |||||
๑๓ | ๓ | พิษครุฑ | |||||
๔ | ๑๔ | ๖ | พิษครุฑ | วรโคตมะ | ปุษการะ | ||
๑๕ | ๔ | พิษครุฑ | |||||
๑๖ | ๒ | ||||||
๗ | ๑๗ | ๑ | |||||
๑๘ | ๔ | ||||||
มิถุน | ๑๙ | ๖ | |||||
๔ | ๒๐ | ๓ | |||||
๒๑ | ๕ | ||||||
๒๒ | ๗ | ||||||
๖ | ๒๓ | ๘ | คฤธระโทษ | ||||
๒๔ | ๕ | ปุษการะ | |||||
๒๕ | ๓ | พิษสุนัข | |||||
๗ | ๒๖ | ๖ | พิษสุนัข | ปุษการะ | |||
๒๗ | ๔ | พิษสุนัข | วรโคตมะ | ||||
กรกฏ | ๒๘ | ๒ | วรโคตมะ | ปุษการะ | |||
๒ | ๒๙ | ๑ | |||||
๓๐ | ๔ | ปุษการะ | |||||
๓๑ | ๖ | ||||||
๓ | ๓๒ | ๓ | |||||
๓๓ | ๕ | ||||||
๓๔ | ๗ | พิษสุนัข | |||||
๕ | ๓๕ | ๘ | พิษสุนัข | ||||
๓๖ | ๕ | พิษสุนัข | ราหูโทษ | ||||
สิงห์ | ๓๗ | ๓ | |||||
๑ | ๓๘ | ๖ | |||||
๓๙ | ๔ | ||||||
๔๐ | ๒ | พิษครุฑ | |||||
๕ | ๔๑ | ๑ | พิษครุฑ | คฤธระโทษ | วรโคตมะ | ||
๔๒ | ๔ | พิษครุฑ | |||||
๔๓ | ๖ | ปุษการะ | |||||
๓ | ๔๔ | ๓ | |||||
๔๕ | ๕ | ปุษการะ | |||||
กันย์ | ๔๖ | ๗ | พิษนาค | นาคะโทษ | |||
๔ | ๔๗ | ๘ | พิษนาค | ||||
๔๘ | ๕ | พิษนาค | ปุษการะ | ||||
๔๙ | ๓ | ||||||
๗ | ๕๐ | ๖ | ปุษการะ | ||||
๕๑ | ๔ | ||||||
๕๒ | ๒ | ||||||
๖ | ๕๓ | ๑ | |||||
๕๔ | ๔ | วรโคตมะ | |||||
ตุลย์ | ๕๕ | ๖ | วรโคตมะ | ||||
๖ | ๕๖ | ๓ | |||||
๕๗ | ๕ | ||||||
๕๘ | ๗ | พิษครุฑ | |||||
๗ | ๕๙ | ๘ | พิษครุฑ | คฤธระโทษ | |||
๖๐ | ๕ | พิษครุฑ | ปุษการะ | ||||
๖๑ | ๓ | ||||||
๔ | ๖๒ | ๖ | ปุษการะ | ||||
๖๓ | ๔ | ||||||
พิจิก | ๖๔ | ๒ | ปุษการะ | ||||
๕ | ๖๕ | ๑ | |||||
๖๖ | ๔ | ปุษการะ | |||||
๖๗ | ๖ | ||||||
๓ | ๖๘ | ๓ | วรโคตมะ | ||||
๖๙ | ๕ | ||||||
๗๐ | ๗ | พิษสุนัข | |||||
๒ | ๗๑ | ๘ | พิษสุนัข | ||||
๗๒ | ๕ | พิษสุนัข | ราหูโทษ | ||||
ธนู | ๗๓ | ๓ | พิษนาค | นาคะโทษ | |||
๕ | ๗๔ | ๖ | พิษนาค | ||||
๗๕ | ๔ | พิษนาค | |||||
๗๖ | ๒ | ||||||
๓ | ๗๗ | ๑ | |||||
๗๘ | ๔ | ||||||
๗๙ | ๖ | ปุษการะ | |||||
๑ | ๘๐ | ๓ | |||||
๘๑ | ๕ | วรโคตมะ | ปุษการะ | ||||
มังกร | ๘๒ | ๗ | วรโคตมะ | ||||
๗ | ๘๓ | ๘ | |||||
๘๔ | ๕ | ||||||
๘๕ | ๓ | ||||||
๖ | ๘๖ | ๖ | ปุษการะ | ||||
๘๗ | ๔ | ||||||
๘๘ | ๒ | พิษสุนัข | ปุษการะ | ||||
๔ | ๘๙ | ๑ | พิษสุนัข | ||||
๙๐ | ๔ | พิษสุนัข | ราหูโทษ | ||||
กุมภ์ | ๙๑ | ๖ | |||||
๗ | ๙๒ | ๓ | |||||
๙๓ | ๕ | ||||||
๙๔ | ๗ | พิษครุฑ | |||||
๔ | ๙๕ | ๘ | พิษครุฑ | คฤธระโทษ | วรโคตมะ | ||
๙๖ | ๕ | พิษครุฑ | ปุษการะ | ||||
๙๗ | ๓ | ||||||
๖ | ๙๘ | ๖ | ปุษการะ | ||||
๙๙ | ๔ | ||||||
มีน | ๑๐๐ | ๒ | พิษนาค | ปุษการะ | |||
๕ | ๑๐๑ | ๑ | พิษนาค | ||||
๑๐๒ | ๔ | พิษนาค | ปุษการะ | ||||
๑๐๓ | ๖ | ||||||
๒ | ๑๐๔ | ๓ | |||||
๑๐๕ | ๕ | ||||||
๑๐๖ | ๗ | ||||||
๓ | ๑๐๗ | ๘ | |||||
๑๐๘ | ๕ | ราหูโทษ | วรโคตมะ |