เผยความลับในนวางศ์จักร ตอนที่ 7 เคล็ดลับที่ถูกปกปิดมานาน”ปุษการะนวางศ์”
คำว่า"ปุษะ"หมายถึงการเสริมกำลัง และ"การะ"หมายถึงผู้ที่ทำหรือสิ่งที่ทำให้เกิด "ปุษการะ" จึงหมายถึงพลังงานพิเศษที่ช่วยส่งเสริมกำลังและชำระมลทินให้กับสิ่งต่างๆให้บริสุทธิ์ นอกจากนี้ คำว่า "ปุษการะ" ยังมีความหมายเชื่อมไปถึงแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ของอินเดียทั้ง 12 สาย และยังมีช่วงเวลาพิเศษของชาวฮินดูในการอาบน้ำในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อชำระล้างบาปทั้งหลายของตนทั้งในชาตินี้และชาติที่แล้ว
และแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 12 สายเหล่านี้ก็จะมีช่วงเวลาพิเศษอยู่ช่วงหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่แม่น้ำมีพลังศักดิ์สิทธิ์ที่สุด โดยจะเกิดขึ้นในทุกๆรอบ 12 ปี และชาวฮินดูถือว่าเป็นช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญและเหมาะสมที่สุดในการอาบน้ำเพื่อชำระล้างบาปทั้งหลาย และการลงไปอาบน้ำชำระบาปในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ให้ได้ผลดีที่สุดนั้น ผู้คนก็จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าแม่น้ำแต่ละสายนั้นจะมีวงจรครบรอบ 12 ปีเมื่อใด
ในทำนองเดียวกันกับโหราศาสตร์พระเวท ซึ่งจะมีบางส่วนของจักรราศีที่ได้รับการเติมเต็มหรือชำระให้บริสุทธิ์เป็นพิเศษและกลายเป็นขอบเขตที่เราสามารถนำพลังเหล่านี้นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อส่งเสริมและการแก้ไขดวงชาตา อีกทั้งได้ชำระจิตวิญญาณของตัวเราเองให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น โดยตำแหน่งเหล่านี้ในทางโหราศาสตร์เรียกว่า "ปุษการะ ภาคะ" และ "ปุษการะ นวางศ์"
"ปุษการะ นวางศ์" ช่วยเสริมกำลังและเติมเต็มคุณภาพของดาวเคราะห์ที่สถิตอยู่ในนวางศ์นั้นๆ "ปุษการะ นวางศ์" จึงนับว่าเป็น "นวางศ์" พิเศษที่ช่วยเสริมกำลังและอิทธิพลในทางดีให้กับดาวต่างๆที่เสวยปุษการะนวางศ์
ส่วน "ปุษการะ ภาคะ" เป็นองศาพิเศษซึ่งนำความโชคดีและพลังงานมงคลมาสู่พื้นดวงชาตา ซึ่ง "ปุษะ"หมายถึงการเติมเต็ม การบำรุงหล่อเลี้ยง และส่งเสริมกำลัง ส่วนคำว่า"การะ"หมายถึงผู้ที่ทำหรือสิ่งที่ทำให้เกิด
ดังนั้น "ปุษการะ นวางศ์" จะช่วยส่งเสริมศุภผลให้ดาวเคราะห์ที่สถิตอยู่ใน"ปุษการะ นวางศ์" นั้น และ"ปุษการะ นวางศ์" นี้ก็สามารถที่จะทำให้ดาวเคราะห์ที่ให้ผลธรรมดาๆ กลายไปเป็น ดาวเคราะห์ให้คุณพิเศษ
"ปุษการะ นวางศ์" ไม่ได้รับการเอ่ยถึงในคัมภีร์ต่างๆมากนัก เพราะ"ปุษการะ นวางศ์" ถือว่าเป็นเคล็ดลับพิเศษอันหนึ่งของโหราศาสตร์พระเวท ซึ่งหากเมื่อเราได้ศึกษาลึกลงไป เราจึงจะได้พบกับแก้วมณีหรือเคล็ดลับพิเศษอันนี้ ซึ่งใน”คัมภีร์จันทรา กาละ นาฑิ” และ “คัมภีร์ชาตกะ ปริชาตา” มีการกล่าวถึง "ปุษการะ ภาคะ" และ "ปุษการะ นวางศ์"เอาไว้เพียงไม่กี่โศลกเท่านั้น
ส่วนเคล็ดลับนี้นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นในการให้ข้อมูลเชิงลึกแก่นักโหราศาสตร์ที่พยายามศึกษาอย่างจริงจัง และเข้าใจหลักทฤษฎีทางโหราศาสตร์อย่างแจ่มแจ้ง และซึ่งหากเป็นนักโหราศาสตร์มือสมัครเล่นก็อาจจะล้มเหลวในการใช้เคล็ดลับอันนี้
ปุษการะ นวางศ์
นวางศ์จักรนับว่าเป็นวรรคที่สำคัญที่สุด ในบรรดาวรรคทั้งหลายใน 16 วรรค(โษทศวรรค) ในโหราศาสตร์พระเวท ซึ่งตำแหน่งดาวเคราะห์ในนวางศ์จักร จะเป็นตัวตัดสินกำลังของดาวเคราะห์ต่างในพื้นดวงชาตาทั้งหมด ว่าเข้มแข็งหรืออ่อนแอ และให้คุณหรือให้โทษในพื้นดวงชาตา
ดังนั้นการนำปุษการะ นวางศ์ มาใช้จึงมีความสำคัญมาก ในด้านการวินิจฉัยในขั้นสุดท้ายว่า สุดท้ายแล้วดาวเคราะห์เหล่านั้น หากได้เสวยปุษการะนวางศ์แล้ว จะเท่ากับได้ชุปชีวิตใหม่ให้กับดาวดวงนั้นให้ได้มีศุภกำลังและให้ศุภผลแก่เจ้าชาตา
ซึ่งนวางศ์พิเศษนี้จะช่วยเติมเต็มคุณสมบัติ นำความสำเร็จและความเจริญรุ่งเรืองมาให้แก่เจ้าชาตา โดยไม่ต้องคำนึงถึงเงื่อนไขอื่นๆของดาวเคราะห์ดวงนั้น ไม่ว่าจะเป็นนิจ หรืออยู่ในเรือนคู่ศัตรู หรือแพ้เคราะห์ยุทธ หรือเป็นอัสตะ(ดับ) เป็นดาวทุสถานะภพ หรือเป็นดาวบาปเคราะห์ให้โทษ แต่ด้วยคุณสมบัติพิเศษของ ปุษการะ นวางศ์ ทำให้ดาวเคราะห์เหล่านั้นถูกเติมเต็ม ให้กลายเป็นดาวที่มีกำลังและให้ศุภผลเสมอ
โดยองค์ประกอบและโครงสร้างของ”ปุษการะ นวางศ์” นั้นก็คือเป็นนวางศ์ที่อยู่ในราศีธาตุและในนวางศ์ราศีเดียวกัน โดยใน 1 ราศีจะมี ปุษการะนวางศ์อยู่ 3 ลูกนวางศ์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ปุษการะ นวางศ์ पुष्कर नवांश
(1)ราศีธาตุไฟ | ราศีเมษ, ราศีสิงห์, ราศีธนู
ราศีเมษ 20º ถึง 23º20 ' นวางศ์ตุลย์ (นวางศ์ลูกที่ 7)
26º40' ถึง 30º นวางศ์ธนู (นวางศ์ลูกที่ 9)
ราศีสิงห์ 20º ถึง 23º20' นวางศ์ตุลย์ (นวางศ์ลูกที่ 7)
26º40' ถึง 30º นวางศ์ธนู (นวางศ์ลูกที่ 9)
ราศีธนู 20º ถึง 23º20' นวางศ์ตุลย์ (นวางศ์ลูกที่ 7)
26º40' ถึง 30º นวางศ์ธนู (นวางศ์ลูกที่9)
(2)ราศีธาตุดิน | ราศีพฤษภ, กันย์, มังกร
ราศีพฤษภ 6º40' ถึง 10º นวางศ์มีน (นวางศ์ลูกที่ 3)
13º20' ถึง 16º40' นวางศ์พฤษภ (นวางศ์ลูกที่ 5)
ราศีกันย์ 6º40' ถึง 10º นวางศ์มีน (นวางศ์ลูกที่3)
13º20' ถึง 16º40' นวางศ์พฤษภ (นวางศ์ลูกที่ 5)
ราศีมังกร 6º40' ถึง 10º นวางศ์มีน (นวางศ์ลูกที่3)
13º20' ถึง 16º40' นวางศ์พฤษภ (นวางศ์ลูกที่ 5)
(3)ราศีธาตุลม | ราศีเมถุน, ตุลย์, กุมภ์
ราศีมิถุน 16º40' ถึง 20º นวางศ์มีน (นวางศ์ลูกที่ 6)
23º20' ถึง 26º40' นวางศ์พฤษภ (นวางศ์ลูกที่ 8)
ราศีตุลย์ 16º40' ถึง 20º นวางศ์มีน (นวางศ์ลูกที่ 6)
23º20' ถึง 26º40' นวางศ์พฤษภ (นวางศ์ลูกที่ 8)
ราศีกุมภ์ 16º40' ถึง 20º นวางศ์มีน (นวางศ์ลูกที่ 6)
23º20' ถึง 26º40' นวางศ์พฤษภ (นวางศ์ลูกที่8)
(4)ราศีธาตุน้ำ | ราศีกรกฏ, ราศีพิจิก, ราศีมีน
ราศีกรกฏ 0º ถึง 3º20 ' นวางศ์กรกฏ (นวางศ์ลูกที่ 1)
6º40' ถึง 10º นวางศ์กันย์ (นวางศ์ลูกที่ 3)
ราศีพิจิก 0º ถึง 3º20 ' นวางศ์กรกฏ (นวางศ์ลูกที่1)
6º40' ถึง 10º นวางศ์กันย์ (นวางศ์ลูกที่3)
ราศีมีน 0º ถึง 3º20 ' นวางศ์กรกฏ (นวางศ์ลูกที่ 1)
6º40' ถึง 10º นวางศ์กันย์ (นวางศ์ลูกที่ 3)
ซึ่งในแต่ละราศีจะมี"ปุษการะนวางศ์"อยู่เพียงแค่ 3 นวางศ์ ตามรายละเอียดข้างต้น แต่จะยกเว้นสำหรับนวางศ์เมษ, นวางศ์เมถุน, นวางศ์สิงห์, นวางศ์พิจิก, นวางศ์มังกร, และนวางศ์กุมภ์ ซึ่งนวางศ์เมษ, นวางศ์เมถุน, นวางศ์สิงห์ และนวางศ์กุมภ์ถือเป็นนวางศ์เพศชายและ นวางศ์เหล่านี้ จะมีพลังของขั้วบวกที่ทรงพลัง และใช้พลังงานทั้งหมดเท่าที่มีให้เฉพาะกับนวางศ์ของตน โดยไม่ไปส่งเสริมหรือเพิ่มพลังงานให้กับดาวเคราะห์ใดใดที่จะมาสถิตย์
ส่วนนวางศ์พิจิกและนวางศ์มังกรเป็นนวางศ์เพศหญิง แต่นวางศ์เหล่านี้มีพลังงานที่ซับซ้อนซ่อนอยู่ ซึ่งนวางศ์พิจิกจะมีพลังทางด้านการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ส่วนนวางศ์มังกรจะมีพลังในเชิงกดดันบีบคั้น หากดาวเคราะห์ใดใดมาสถิตในนวางศ์นี้ก็จะรู้สึกถูกกดดันเป็นอย่างมาก แม้ว่าพวกดาวดวงนั้นจะเป็นดาวที่มีกำลังหรือได้ตำแหน่งพิเศษอื่นๆก็ตาม
นอกจากนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขี้น เรายังสามารถจำแนก “ปุษการะนวางศ์”ได้จากนักษัตรบาทต่างๆ ดังนี้
(1) นักษัตรที่มีดาวเกตุเป็นเจ้าฤกษ์หรือ โหรไทยเรียกว่า ทลิทโทฤกษ์ คือ (๑)อัศวินีนักษัตร (๑๐)มาฆะนักษัตร และ(๑๙) มูลละนักษัตร จะไม่มี ปุษการะนวางศ์
(2) บาทที่ 3 (นวางศ์ตุลย์) ของ นักษัตรที่มีดาวศุกร์เป็นเจ้าฤกษ์ หรือ โหรไทยเรียกว่า มหัทธโนฤกษ์ คือ (๒)ภรณีนักษัตร (๑๑) ปูรพผลคุณี และ (๒๐) ปูรพาษาฒนักษัตร เป็น ปุษการะนวางศ์
(3) บาทแรก (นวางศ์ธนู) และ บาทที่ 4 (นวางศ์มีน) ของ นักษัตรที่มีดาวอาทิตย์เป็นเจ้าฤกษ์ หรือ โหรไทยเรียกว่า โจโรฤกษ์ (๓) กฤติกา (๑๒) อุตรผลคุณี (๒๑) อุตรษาฒนักษัตร เป็น ปุษการะนวางศ์
(4) บาทที่ 2 (นวางศ์พฤษภ) ของ นักษัตรที่มีดาวจันทร์เป็นเจ้าฤกษ์ หรือ โหรไทยเรียกว่า ภูมิปาโลฤกษ์ คือ (๔) โรหิณีนักษัตร (๑๓) หัสตะ (๒๒) ศราวณะนักษัตร เป็น ปุษการะนวางศ์
(5) นักษัตรที่มีดาวอังคารเป็นเจ้าฤกษ์ หรือ โหรไทยเรียกว่า เทศาตรีฤกษ์ คือ (๕) มฤคศิระนักษัตร (๑๔) จิตตรานักษัตร และ (๒๓)ธนิษฐะนักษัตร จะไม่มี ปุษการะนวางศ์
(6) บาทที่ 4 (นวางศ์มีน) ของ นักษัตรที่มีดาวราหูเป็นเจ้าฤกษ์ หรือ โหรไทยเรียกว่า เทวีฤกษ์ คือ (๖) อารทรา (๑๕) สวาติ และ(๒๔) ศตภิษัชนักษัตร เป็น ปุษการะนวางศ์
(7) บาทที่ 2 (นวางศ์พฤษภ) และ บาทที่ 4 (นวางศ์กรกฏ) ของ นักษัตรที่มีดาวพฤหัสบดีเป็นเจ้าฤกษ์ หรือ โหรไทยเรียกว่า เพชรฆาตฤกษ์ คือ (๗) ปุนรวสุนักษัตร (๑๖)วิสาขะ (๒๕) ปูราภัทรปทนักษัตร เป็น ปุษการะนวางศ์
(8) บาทที่ 2 (นวางศ์กันย์) ของ นักษัตรที่มีดาวเสาร์เป็นเจ้าฤกษ์ หรือ โหรไทยเรียกว่า ราชาฤกษ์ คือ (๘) ปุษยะนักษัตร (๑๗) อนุราธะ (๒๖) อุตตราภัทรปทนักษัตร เป็น ปุษการะนวางศ์
(9) นักษัตรที่มีดาวพุธเป็นเจ้าฤกษ์ หรือ โหรไทยเรียกว่า สมโณฤกษ์ คือ (๙) อสิเลษะนักษัตร (๑๘)เชษฐะนักษัตร และ(๒๗)เรวดีนักษัตร จะไม่มี ปุษการะนวางศ์
ปุษการะ ภาคะ पुष्कर भाग
"ปุษการะ ภาคะ" คือ ปุษการะองศา ที่ได้กำหนดไว้โดยเฉพาะ ซึ่ง ดาวเคราะห์ใดได้เสวย ปุษะการะองศา ถือว่าเป็นดาวเคราะห์ทรงพลังมากกว่าเสวยปุษการะนวางศ์ ซึ่งการใช้ส่วนมากจะใช้สำหรับการเลือกเฟ้นฤกษ์ยามมงคล (มุหูรตะ) โดยคัมภีร์ ปาริชาต ชาดก ได้กล่าวไว้ใน อัธยายะ ที่ 1 โศลกที่ 58 โดยระบุองศาไว้ดังนี้ :
โศลกที่ ๕๘
- ..................................ท่านผู้รู้ก็ได้กำหนดองศาให้คุณของพระจันทร์ประจำราศีต่าง ๆ ไว้ด้วย ตำแหน่งของพระจันทร์ที่ได้องศาเหล่านี้มีชื่อว่า ปุษกะระ หรือ ปุษกรจันทร์ ซึ่งหมายความว่า สวรรค์ อากาศ สระน้ำ ดอกบัว นางกวัก วิชาเต้นรำ ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เรื่องให้ความผาสุขและรื่นรมย์ทั้งสิ้น องศาของปุษกรจันทร์ตั้งแต่ราศีเมษเป็นลำดับไป ท่านกำหนดเอาไว้ดังนี้
ราศีเมษ ๒๑ องศา ราศีพฤษภ ๑๔ องศา ราศีมิถุน ๑๘ องศา
ราศีกรกฏ ๘ องศา ราศีสิงห์ ๑๙ องศา ราศีกันย์ ๙ องศา
ราศีตุลย์ ๒๔ องศา ราศีพิจิก ๑๑ องศา ราศีธนู ๒๓ องศา
ราศีมังกร ๑๔ องศา ราศีกุมภ์ ๑๙ องศา ราศีมีน ๙ องศา
ท่านว่าผู้ใดเกิดได้องศาของพระจันทร์ตามนี้ และจันทร์ในชะตาให้แสงลัคนาด้วย เจ้าชะตาจะมีความสุขมาก การคิดเศษขาดหรือเกินจากองศาที่กำหนดไว้นี้คิดเวลา ๑ มุหูรตะ เช่นเดียวกันกับที่ได้กล่าวมาแล้ว ฯ
ปุษการะ มุหูรตะ पुष्कर मुहूर्त
อีกตำราหนึ่งกล่าวว่า ปุษการะ ภาคะ पुष्कर भाग ปุษกะระ ภาคะ หรือ เรียกว่า पुष्कर मुहूर्तปุษกะระ มุหูรตะ มีดังนี้
ราศีเมษ ๒๑ องศา ราศีพฤษภ ๑๔ องศา ราศีเมถุน ๒๔ องศา
ราศีกรกฏ ๗ องศา ราศีสิงห์ ๒๑ องศา ราศีกันย์ ๑๔ องศา
ราศีตุลย์ ๒๔ องศา ราศีพิจิก ๗ องศา ราศีธนู ๒๑ องศา
ราศีมังกร ๑๔ องศา ราศีกุมภ์ ๒๔ องศา ราศีมีน ๗ องศา
วิธีการใช้ ปุษการะภาคะ และ ปุษการะนวางศ์
อ้างอิงตามคัมภีร์โหราศาสตร์ ปาริชาติ ชาดก กล่าวเราสามารถนำ ปุษการะภาคะ และ ปุษการะนวางศ์ มาใช้กับ การเลือกเฟ้นฤกษ์ยามมงคล (มุหูรตะ) รวมไปถึงพื้นดวงชาตา( กุณฑลิจักร) และ ดวงกาลชาตา (ปรัศนศาสตร์) และดวงคู่สมพงศ์ ฯลฯ ซึ่งอธิบายดังนี้
มุหูรตะ-ฤกษ์ยามมงคล:
โดยจะมีปุษการะนวางศ์จำนวน 24 ลูกนวางศ์ และ ปุษการะภาคะจำนวน12 ตำแหน่ง ดังนั้นในทุก ๆ 1 ชั่วโมง ปุษการะนวางศ์ และทุก ๆ สองชั่วโมง ปุษการะภาคะ ก็จะปรากฏขึ้นมา กุมลัคนา ในราศีจักร ดังนั้นเมื่อเราต้องการหาเวลาที่เป็นมงคลอย่างเร่งด่วน เราจึงสามารถเลือกใช้ ปุษการะนวางศ์ และ/หรือ ปุษการะภาคะ
สำหรับในราศีพฤษภ จะมีปุษการะนวางศ์และวรโคตมนวางศ์อยู่ในนวางศ์ลูกเดียวกัน ดังนั้นตำแหน่งนี้จึงมีความเข้มแข็งมาก โดยทั่วไปเมื่อเรากำลังเลือกเฟ้นฤกษ์ยามมงคลใดใดก็ตาม การนำปุษการะนวางศ์ และ ปุษการะภาคะ มาช่วยในการวางฤกษ์ ก็จะช่วยให้ดวงฤกษ์นั้นทรงพลังในการให้ศุภผลมากยิ่งขึ้น
พื้นดวงกำเนิด:
ดาวเคราะห์ที่เสวยองศาปุษการะภาคะ ก็จะถือว่าเข้มแข็งกว่าในปุษการะนวางศ์หลายเท่าตัว สมมุติว่าในพื้นดวงกำเนิดของคุณ ดาวอาทิตย์สถิตราศีเมษที่ 21 องศา แสดงให้เห็นว่า ดาวอาทิตย์เป็นมหาอุจน์ในราศีจักร อีกทั้งเสวยปุษการะนวางศ์ และปุษการะภาคะ แต่สำหรับในนวางศ์จักรดาวอาทิตย์กลับได้ตำแหน่งนิจ ในกรณีนี้เราจะพิจารณาอย่างไร
ซึ่งแน่นอนว่าดาวอาทิตย์ได้ตำแหน่งนิจในนวางศ์จักร ดาวอาทิตย์ย่อมอ่อนกำลังก็ย่อมทำให้เจ้าชาตาเป็นคนขาดความมั่นใจในตัวเอง และขาดการเคารพนับถือจากผู้อื่น แต่ในเมื่ออาทิตย์ได้เสวยปุษการะนวางศ์ และปุษการะภาคะ ด้วย ย่อมทำให้ เจ้าชาตาสามารถพบจุดอ่อนในตัวเองและสุดท้ายก็จะสามารถเอาชนะจุดอ่อนอันนี้ได้
เมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้าชาตาก็จะกลับมามีความมั่นใจในตัวเองอีกครั้งด้วยความรวดเร็ว อีกทั้งจะได้รับตำแหน่งสูงและมีเกียรติยศและได้รับความเคารพนับถือจากชนทั้งหลายในภายหลัง ดังนั้นผู้ที่มีดาวอาทิตย์สถิตย์ในราศีเมษและเสวยนวางศ์ราศีตุลย์ซึ่งเป็นตำแหน่งนิจ แต่กลับไม่มีผลร้ายตามกฎโหราศาสตร์ทั่วไป ก็เพราะความลับของ ปุษการะนวางศ์ นี่เองที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากร้ายกลายเป็นดี
ในคัมภีร์โหราศาสตร์หลายคัมภีร์กล่าวตรงกันว่า ลัคนา เจ้าเรือนลัคนา และเจ้าเรือนที่ 10 หากเสวยปุษการะนวางศ์ ก็จะนำความสำเร็จและความโชคดีมาสู่เจ้าชาตา และจากประสบการณ์ของนักโหราศาสตร์หลายท่านลงความเห็นว่า หากยิ่งมีดาวเคราะห์มากดวงหรือแม้แต่จุดกึ่งกลางเรือนชาตา (ภวะ มัทธยะ) เสวยปุษการะนวางศ์หรือปุษการะภาคะ ก็จะยิ่งเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับพื้นดวงชาตามากขึ้น อีกทั้งยังนำความสุขความสำเร็จ ความสมหวังมาให้ทั้งในทางโลกและทางธรรม และหากดาวเคราะห์ใดๆเสวยปุษการะนวางศ์ได้เป็นเจ้ามหาทศา หรืออันตรทศา ที่ทำการเสวยอายุหรือแทรก ก็จะให้ศุภผลเป็นอย่างมาก ตามความหมายของดาวเคราะห์และความเป็นเจ้าเรือนนั้นๆ
ปรัศนศาสตร์ (ดวงกาลชาตา):
หากลัคนาในดวงกาลชาตา หรือ การกะ(ตัวแทนความหมายของปัญหาที่ถาม) เสวยปุษการะนวางศ์ หมายถึง จะได้ประสบกับความสำเร็จ สมมุติว่ามีคนถามเรื่องจะซื้อบ้านหลังใหม่ ลัคนากาลชาตาตกราศีมีน เจ้าเรือนที่ 4 คือดาวพุธ-ราศีมิถุน (พันธุ-บ้าน) และดาวพุธไปสถิตย์ในเรือนที่ 8 มรณะ(ราศีตุลย์) และดาวพุธเสวยอัฏฐมนวางศ์(นวางศ์พฤษภ) ซึ่งเป็นปุษการะนวางศ์
คำพยากรณ์ในเรื่องนี้ก็คือเจ้าชะตาอาจจะมีปัญหาในการซื้อบ้าน หรือ การซื้อขายไม่สำเร็จ แต่เมื่อดาวพุธเจ้าเรือนที่ 4 เสวยปุษการะนวางศ์ อาจเป็นได้ว่าการไม่ซื้อบ้านช่วยให้เจ้าชาตารอดพ้นจากการสูญเสียครั้งใหญ่หรืออาจจะมีอสังหาริมทรัพย์ที่ดีกว่าในอนาคตข้างหน้า ดังนั้นการไม่ซื้อบ้านหลังนี้จะเป็นการดีสำหรับเจ้าชาตาในระยะยาว
ดวงคู่สมพงศ์:
ดาวศุกร์ในโหราศาสตร์ถือเป็น “การกะ” หรือตัวแทนของความรักและความสัมพันธ์ ถ้าหากว่าดาวศุกร์ในดวงชาตา สถิตย์ราศีกันย์ 14 องศา ซึ่งเป็นราศีนิจ แต่เสวยปัญจมนวางศ์ (นวางศ์พฤษภ) ซึ่งเป็นปุษการะนวางศ์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหากดาวศุกร์เป็นในนิจในราศี ก็ย่อมที่จะทำให้เจ้าชาตามีปัญหาเกี่ยวกับความรักอยู่เสมอ แต่เมื่อได้เสวยปุษการะนวางศ์ ก็กลับกลายเป็นว่า ปุษการะนวางศ์ได้ช่วยเติมเต็มให้กับดาวศุกร์ในด้านความรักและความสัมพันธ์
สมมุติว่าเจ้าเรือนลัคนาของฝ่ายชาย ได้เสวยปุษการะนวาศ์ในดวงชาตาของฝ่ายหญิง หรือในทางกลับกัน เจ้าเรือนลัคนาของฝ่ายหญิง ได้เสวยปุษการะนวาศ์ในดวงชาตาของฝ่ายชาย นั่นหมายความว่า ความรักและความสัมพันธ์จะได้รับการเติมเต็มจากอีกฝ่ายให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และแสดงว่าดวงคู่สมพงศ์สำหรับคู่นี้มีความเหมาะสมกันเป็นอย่างดี
นอกจากนี้หากดาวศุกร์ (การกะของความรัก) หรือดาวพฤหัส (การกะของการแต่งงานและการมีบุตร) ได้เสวยปุษการะภาคะองศา หรือ ปุษการะนวางศ์ ก็ย่อมแสดงถึงความราบรื่นในชีวิตคู่ การแต่งงานและการมีบุตร
ราศี | ตรียางค์ | นวางศ์ | ดาว | นวางศ์ให้โทษ | นวางศ์ให้คุณ | ||
ลูกที่ | โหรไทย | โหรภารตะ | วรโคตมะ | ปุษการะ | |||
เมษ | ๑ | ๓ | พิษนาค | นาคะโทษ | วรโคตมะ | ||
๓ | ๒ | ๖ | พิษนาค | ||||
๓ | ๔ | พิษนาค | |||||
๔ | ๒ | ||||||
๑ | ๕ | ๑ | |||||
๖ | ๔ | ||||||
๗ | ๖ | ปุษการะ | |||||
๕ | ๘ | ๓ | |||||
๙ | ๕ | ปุษการะ | |||||
พฤษภ | ๑๐ | ๗ | นาคะโทษ | ||||
๖ | ๑๑ | ๘ | |||||
๑๒ | ๕ | ปุษการะ | |||||
๑๓ | ๓ | พิษครุฑ | |||||
๔ | ๑๔ | ๖ | พิษครุฑ | วรโคตมะ | ปุษการะ | ||
๑๕ | ๔ | พิษครุฑ | |||||
๑๖ | ๒ | ||||||
๗ | ๑๗ | ๑ | |||||
๑๘ | ๔ | ||||||
มิถุน | ๑๙ | ๖ | |||||
๔ | ๒๐ | ๓ | |||||
๒๑ | ๕ | ||||||
๒๒ | ๗ | ||||||
๖ | ๒๓ | ๘ | คฤธระโทษ | ||||
๒๔ | ๕ | ปุษการะ | |||||
๒๕ | ๓ | พิษสุนัข | |||||
๗ | ๒๖ | ๖ | พิษสุนัข | ปุษการะ | |||
๒๗ | ๔ | พิษสุนัข | วรโคตมะ | ||||
กรกฏ | ๒๘ | ๒ | วรโคตมะ | ปุษการะ | |||
๒ | ๒๙ | ๑ | |||||
๓๐ | ๔ | ปุษการะ | |||||
๓๑ | ๖ | ||||||
๓ | ๓๒ | ๓ | |||||
๓๓ | ๕ | ||||||
๓๔ | ๗ | พิษสุนัข | |||||
๕ | ๓๕ | ๘ | พิษสุนัข | ||||
๓๖ | ๕ | พิษสุนัข | ราหูโทษ | ||||
สิงห์ | ๓๗ | ๓ | |||||
๑ | ๓๘ | ๖ | |||||
๓๙ | ๔ | ||||||
๔๐ | ๒ | พิษครุฑ | |||||
๕ | ๔๑ | ๑ | พิษครุฑ | คฤธระโทษ | วรโคตมะ | ||
๔๒ | ๔ | พิษครุฑ | |||||
๔๓ | ๖ | ปุษการะ | |||||
๓ | ๔๔ | ๓ | |||||
๔๕ | ๕ | ปุษการะ | |||||
กันย์ | ๔๖ | ๗ | พิษนาค | นาคะโทษ | |||
๔ | ๔๗ | ๘ | พิษนาค | ||||
๔๘ | ๕ | พิษนาค | ปุษการะ | ||||
๔๙ | ๓ | ||||||
๗ | ๕๐ | ๖ | ปุษการะ | ||||
๕๑ | ๔ | ||||||
๕๒ | ๒ | ||||||
๖ | ๕๓ | ๑ | |||||
๕๔ | ๔ | วรโคตมะ | |||||
ตุลย์ | ๕๕ | ๖ | วรโคตมะ | ||||
๖ | ๕๖ | ๓ | |||||
๕๗ | ๕ | ||||||
๕๘ | ๗ | พิษครุฑ | |||||
๗ | ๕๙ | ๘ | พิษครุฑ | คฤธระโทษ | |||
๖๐ | ๕ | พิษครุฑ | ปุษการะ | ||||
๖๑ | ๓ | ||||||
๔ | ๖๒ | ๖ | ปุษการะ | ||||
๖๓ | ๔ | ||||||
พิจิก | ๖๔ | ๒ | ปุษการะ | ||||
๕ | ๖๕ | ๑ | |||||
๖๖ | ๔ | ปุษการะ | |||||
๖๗ | ๖ | ||||||
๓ | ๖๘ | ๓ | วรโคตมะ | ||||
๖๙ | ๕ | ||||||
๗๐ | ๗ | พิษสุนัข | |||||
๒ | ๗๑ | ๘ | พิษสุนัข | ||||
๗๒ | ๕ | พิษสุนัข | ราหูโทษ | ||||
ธนู | ๗๓ | ๓ | พิษนาค | นาคะโทษ | |||
๕ | ๗๔ | ๖ | พิษนาค | ||||
๗๕ | ๔ | พิษนาค | |||||
๗๖ | ๒ | ||||||
๓ | ๗๗ | ๑ | |||||
๗๘ | ๔ | ||||||
๗๙ | ๖ | ปุษการะ | |||||
๑ | ๘๐ | ๓ | |||||
๘๑ | ๕ | วรโคตมะ | ปุษการะ | ||||
มังกร | ๘๒ | ๗ | วรโคตมะ | ||||
๗ | ๘๓ | ๘ | |||||
๘๔ | ๕ | ||||||
๘๕ | ๓ | ||||||
๖ | ๘๖ | ๖ | ปุษการะ | ||||
๘๗ | ๔ | ||||||
๘๘ | ๒ | พิษสุนัข | ปุษการะ | ||||
๔ | ๘๙ | ๑ | พิษสุนัข | ||||
๙๐ | ๔ | พิษสุนัข | ราหูโทษ | ||||
กุมภ์ | ๙๑ | ๖ | |||||
๗ | ๙๒ | ๓ | |||||
๙๓ | ๕ | ||||||
๙๔ | ๗ | พิษครุฑ | |||||
๔ | ๙๕ | ๘ | พิษครุฑ | คฤธระโทษ | วรโคตมะ | ||
๙๖ | ๕ | พิษครุฑ | ปุษการะ | ||||
๙๗ | ๓ | ||||||
๖ | ๙๘ | ๖ | ปุษการะ | ||||
๙๙ | ๔ | ||||||
มีน | ๑๐๐ | ๒ | พิษนาค | ปุษการะ | |||
๕ | ๑๐๑ | ๑ | พิษนาค | ||||
๑๐๒ | ๔ | พิษนาค | ปุษการะ | ||||
๑๐๓ | ๖ | ||||||
๒ | ๑๐๔ | ๓ | |||||
๑๐๕ | ๕ | ||||||
๑๐๖ | ๗ | ||||||
๓ | ๑๐๗ | ๘ | |||||
๑๐๘ | ๕ | ราหูโทษ | วรโคตมะ |