ในระบบนาฑิโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นโหราศาสตร์ของชาวทมิฬนาฑู ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของราศีจักรกับนวางศ์จักรเอาไว้ว่า ราศีจักรคือ ร่างกายของคนเราซึ่งเป็นผลมาจากวิบากของอกุศลกรรม(ที่ปรากฏออกมาเป็นรูปธรรม) ส่วนวางศ์จักรเป็นเสมือน ภาคยะ (โชค)ที่มาจากกุศลวิบากที่ทำมาในแต่อดีตชาติ (ปรากฏออกมาในรูปนามธรรม) ราศีจักรเป็นเหมือนต้นไม้ และนวางศ์จักรคือดอกและผล เราสามารถคาดเดาผลผลิตของต้นไม้ต้นนี้ว่าจะออกมามากหรือน้อย จะดีหรือชั่ว จะหมองหม่นหรือรุ่งเรืองก็จะต้องดูจากนวางศ์จักรนี้เป็นตัวตัดสิน
บางท่านก็กล่าวว่านวางศ์จักรคือกระดูกสันหลังและราศีจักรก็คือร่างกาย หรือกล่าวว่าราศีจักรเป็นเพียงภาพถ่าย แต่นวางศ์จักรเป็นฟิมล์เอ็กเรย์ และในอายุเวทว่าด้วยโยคะศาสตร์ ราศีจักรแสดงถึงร่างกายที่เป็นรูปลักษณ์ภายนอกที่เรียกว่า สถุละ สรีระ (วิภาคะ) ส่วนนวางศ์จักรแสดงถึงรูปลักษณ์ภายในเรียกว่า สุกษมะ สรีระ (วิภาคะ) ซึ่งประกอบด้วยมนัส (จิตใจ)โพธิ(ปัญญา) และอหังการ(ตัวตน)
สำหรับโหราศาสตร์ระบบไชมินิ ของมหาฤาษีไชยมินี ก็ได้นำเอาหลักการของนวางศ์จักรไปใช้ในระบบทศา เรียกว่า กาลจักรทศา และมีการอธิบายเรื่องนวางศ์จักรอย่างลึกซึ้งเป็นจำนวนมากถึง 3000 โศลก นักโหราศาสตร์อินเดียที่มีชื่อเสียงหลายท่านใช้หลักพิจารณาจากนวางศ์จักรเป็นตัวตัดสินเหตุการณ์และให้ความสำคัญมากว่าราศีจักร และในคัมภีร์ มนะ-สาการี ได้กล่าวว่าในบรรดาผลดีร้ายต่างๆตลอดทั้งชีวิตของคนเรา สามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมดจาก “นวางศ์จักร”เท่านั้น
ในระบบโหราศาสตร์มาตรฐานของมหาฤาษีปราสาระ ท่านได้กล่าวว่า ในบรรดาวรรคทั้ง16 (โษทศวรรค) ถือว่า นวอัมศะ(นวางศ์จักร)นั้นสำคัญที่สุด และถือว่านวางศ์จักรนั้นมีความสำคัญมากกว่าราศีจักร เพราะดาวเคราะห์เป็นอุจน์ในราศีจักร แต่เป็นนิจในนวางศ์จักร ก็ถือว่าดาวดวงนั้นมีสถานะเป็นนิจ ไม่ใช่เป็นอุจน์
ในระบบษัฑพละ หรือการคำนวณกำลังของดาวเคราะห์ ที่เรียกว่า วิมโษปากะ พละ (ในทิคะพละ) มีการให้กำลังจำนวน ทั้งหมด 20 หน่วยกำลัง(ษัษฏิอัมศะ) ดังนี้ (1.)ราศีจักรได้คะแนน 6 ษัษฏิอัมศะ (2.)นวางศจักรได้คะแนน 5 ษัษฏิอัมศะ(3.)ทเรกณะ(ตรียางค์) ได้คะแนน 4 ษัษฏิอัมศะ(4.) โหราและทวาทศศางศะได้คะแนนอย่างละ 2 ษัษฏิอัมศะ (4.)ศฤมศางศะ ได้คะแนน 1 ษัษฏิอัมศะ จะเห็นได้ว่านวาศจักรนั้นมีความสำคัญรองจากราศีจักรและมีคะแนนมากว่าวรรคอื่นๆ
นวางศ์จักรสามารถให้ตำแหน่งดาวเคราะห์ค่อนข้างละเลียด เช่น ในราศีมีน ดาวอาทิตย์เสวยวรรคโคตมะ (วรรค+อุตตมะบางทีเรียก-วรรคอุตมางศะ หรือ วรโคตรนวางศ์) แสดงว่าดาวอาทิตย์สถิตย์อยู่ระหว่าง 26องศา 40 ลิปดาถึง 30องศาในราศีมีน (นวางศ์พฤหัส) (จะอธิบายเรื่องวรโคตรนวางศ์นี้โดยละเอียดในตอนต่อไป) การจัดวางดาวเคราะห์เกษตรหรือเจ้าราศีในราศีจักรกับดาวเจ้านวางศ์ในนวางศ์จักรเป็นดาวดวงเดียวกัน และเรียงลำดับเหมือนกัน ซึ่งในวรรคอื่นๆไม่มี ในระบบมหาทศา ดาวเสวยอายุจะคำนวณจากราศีจักร และดาวแทรก (อันตรทศา-ภุตติ-วิทศา) คำนวณมาจากนวางศ์จักร ดวงนวางศ์จักรสามารถใช้ทฤษฎีพิเศษของโหราศาสตร์ระบบนันฑิได้ คือ ทฤษฏีที่เรียกว่า “นวางศะ-ดุลย-ราศี” และทฤษฎี “ราศี-ดุลย-นวางศะ” ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยความสดุลย์ของราศีจักรกับนวางศ์จักร (จะอธิบายเรื่องนี้โดยละเอียดในตอนต่อไป)
การจัดวางลำดับนวางศ์
1.ในราศีเมษ สิงห์ ธนู จะเริ่มต้นด้วย นวางศ์ราศีเมษ
2.ในราศีพฤษภ กันย์ มังกร จะเริ่มต้นด้วย นวางศ์ราศีมังกร
3.ในราศีมิถุน ตุลย์ และกุมภ์ จะเริ่มต้นด้วย นวางศ์ราศีตุลย์
4.ในราศีกรกฏ พิจิก และมีน จะเริ่มต้นด้วย นวางศ์ราศีกรกฏ
หลักการพิจารณาดวงนวางศ์ขั้นต้น
- ให้พิจารณา ศุภะอางศะ และ ปาปะ อางศะ ก่อนเป็นอันดับแรก ถ้าหากมีดาวเคราะห์สถิตย์ในศุภะอางศะก็จะแสดงถึงผลดี และหากเป็นปาปอางศะก็จะแสดงผลร้าย โดยศุภะอางศะหมายถึงราศีในนวางศ์จักร หรือศุภะนวางศ์ซึ่งเป็นราศีที่มีดาวศุภเคราะห์เป็นเจ้าเรือน เช่น นวางศ์ราศีพฤษภ-ตุลย์ (ดาวศุกร์) นวางศ์ราศีมิถุน-กันย์(ดาวพุธ) นวางศ์ราศีกรกฏ (ดาวจันทร์) นวางศ์ราศีธนู-มีน(ดาวพฤหัส) นอกนั้นเป็นปาปะนวางศ์ หรือ ปาปะอางศะ
- ให้พิจารณาถึงกำลังของดาวนั้นๆในที่สถิตในนวางศ์จักร เช่น เป็น อุจน์ เป็นนิจ เป็นเกษตร อยู่ในเรือนมิตรหรือเรือนศัตรู ในดวงนวางศ์
- ดาวเคราะห์ที่อยู่ในตำแหน่งต่อไปนี้จะให้ผลดี คือ ดาวเคราะห์ที่สถิตย์ในภาคยะอางศะ (เรือนที่ 9 ในนวางศ์จักร) ลาภะอางศะ(เรือนที่ 11 ในนวางศ์จักร) เกณทระอางศะ (เรือนที่ 1,4,7,10 ในนวางศ์จักร) โกณาอางศะ(เรือนที่ 5และ 9 ในนวางศ์จักร) ลัคนาอางศะ (เรือนลัคน์ในนวางศ์จักร)
- ดาวเคราะห์ที่สถิตย์ในไตรภาคราศี คือ สถิรราศี จรราศี และทวิภาวะราศี ในดวงนวางศ์ แสดงถึงการมีอายุและวัยของเจ้าชาตา และสำหรับเพื่อการพิจารณาอายุขัยของเจ้าชาตา
- ดาวเคราะห์เสวยวรรคอุตมาศะ (วรโคตรนวางศ์) จะให้ผลดีกว่าตำแหน่งอื่นๆ
- ดาวเคราะห์ที่สถิตย์ในนวางศ์ที่ 64 จะให้ผลร้าย (นวางศ์มรณะ)
- ดาวเคราะห์ที่สถิตในปุษการะนวางศ์ (ในองศาที่กำหนด) จะให้ผลด้านยศศักดิ์ ตำแหน่งและชื่อเสียง (จะอธิบายเรื่องปุษการะนวางศ์นี้ในตอนต่อๆไป)
- นิธนะอางศะ (เรือนที่ 8ในนวางศ์) พิจารณาถึงความตายของเจ้าชาตา
- ใช้ทฤษฎี “ราศีดุลยนวาศ์” และ “นวางศ์ดุลยราศี” สำหรับการพิจารณาประกอบกับดาวจร
- ราศีจักรอุปมาเหมือนร่ายกายของกาลปุรุษ ส่วนนวางศ์จักรเปรียบเหมือนจิตวิญญาณของกาลปุรุษ แสดงว่าทั้งสองส่วนล้วนแล้วแต่อิงอาศัยซึ่งกันและกัน และจะขาดเสียส่วนหนึ่งส่วนใดมิได้ ดาวเคราะห์ใดแสดงผลอย่างไรในราศีจักรแต่อาจะแสดงผลนั้นตรงกันข้ามในนวางศ์จักร
-
ในหลักพิจารณาทั่วไป ดาวเคราะห์อ่อนแอในราศีจักร แต่เข้มแข็งในนวางศ์จักร ก็ถือได้ว่าดาวเคราะห์นั้นเข้มแข็ง ในกรณีเดียวกัน ดาวเคราะห์ใดให้ปาปผลในราศีจักร แต่ให้ศุภผลในนวางศ์จักร ก็ถือว่าดาวดวงนั้นให้ศุภผล หากมีการร่วมกันของดาวเจ้าเรือนลัคน์ในราศีจักรกับเจ้าเรือนลัคน์ในนวางศ์จักร ดาวเคราะห์ก็จะถือว่าเป็นศุภผล ให้โชคและให้ผลดี
-
ให้พิจารณาเจ้าเรือนในนวางศ์จักรดังนี้
(ก.)ดาวเจ้าเรือนที่ 1 ที่ 4 และที่ 7 ในนวางศ์จักรถือเป็น”เทวะเคราะห์” แสดงถึง เทวะ ความอุดมสมบูรณ์ พละกำลัง และทรัพย์สิน ผู้ที่เกิดในโยคของดาวเคราะห์เหล่านี้จะส่งผลให้เป็นคนใจกว้าง มีศีลมีสัตย์ ยึดมั่นในศาสนาและมีอำนาจ
(ข.)ดาวเจ้าเรือนที่ 2 ที่ 5 และที่8 ในนวางศ์จักร ถือเป็น “นระเคราะห์” แสดงถึง มนุษย์ ความมีชื่อเสียงในอาชีพความเสียสละ และมีความสุข
(ค.)ดาวเจ้าเรือนที่ 3 ที่ 6 และที่9 ในนวางศ์จักร ถือเป็น “รากษสเคราะห์” แสดงถึง ปิศาจ ความโหดร้าย รุนแรง เห็นแก่ตัว
- ในการพิจารณานวางศ์จักร มี 2ประการที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ คือ ราศีลัคนาและเจ้าเรือนลัคน์ในราศีจักร ไม่ควรเป็น เรือนที่ 6 ที่ 8 และที่ 12 ในนวางศ์จักร
(ก.) หากลัคนาเป็นจรราศี ในราศีจักร ก็ไม่ควรเป็น เรือนที่ 6 และที่ 8 ในนวางศ์จักร
(ข.) หากลัคนาเป็นสถิรราศี ในราศีจักร ก็ไม่ควรเป็น เรือนที่ 4 ในนวางศ์จักร
(ค.)หากลัคนาเป็นทวิภาวะราศี ในราศีจักร ก็ไม่ควรเป็น เรือนที่ 2 ที่ 4 และที่ 8 ในนวางศ์จักร
(ง.) ในขั้นต่อไปให้พิจารณาคือ เจ้าเรือนทุสถานะ(ที่ 6ที่ 8 ที่ 12)ในราศีจักร ไม่ควรที่สัมพันธ์หรือร่วมกับลัคนาหรือเจ้าเรือนลัคน์ในวางศ์จักรเพราะจะส่งผลร้ายในมหาทศาและอันตรทศา
ราศีจักรอุปมาเหมือนร่ายกายของกาลปุรุษ ส่วนนวางศ์จักรเปรียบเหมือนจิตวิญญาณของกาลปุรุษ แสดงว่าทั้งสองส่วนล้วนแล้วแต่อิงอาศัยซึ่งกันและกัน และจะขาดเสียส่วนหนึ่งส่วนใดมิได้ ดาวเคราะห์ใดแสดงผลอย่างไรในราศีจักรแต่อาจะแสดงผลนั้นตรงกันข้ามในนวางศ์จักร
ในหลักพิจารณาทั่วไป ดาวเคราะห์อ่อนแอในราศีจักร แต่เข้มแข็งในนวางศ์จักร ก็ถือได้ว่าดาวเคราะห์นั้นเข้มแข็ง ในกรณีเดียวกัน ดาวเคราะห์ใดให้ปาปผลในราศีจักร แต่ให้ศุภผลในนวางศ์จักร ก็ถือว่าดาวดวงนั้นให้ศุภผล หากมีการร่วมกันของดาวเจ้าเรือนลัคน์ในราศีจักรกับเจ้าเรือนลัคน์ในนวางศ์จักร ดาวเคราะห์ก็จะถือว่าเป็นศุภผล ให้โชคและให้ผลดี
ให้พิจารณาเจ้าเรือนในนวางศ์จักรดังนี้
(ก.)ดาวเจ้าเรือนที่ 1 ที่ 4 และที่ 7 ในนวางศ์จักรถือเป็น”เทวะเคราะห์” แสดงถึง เทวะ ความอุดมสมบูรณ์ พละกำลัง และทรัพย์สิน ผู้ที่เกิดในโยคของดาวเคราะห์เหล่านี้จะส่งผลให้เป็นคนใจกว้าง มีศีลมีสัตย์ ยึดมั่นในศาสนาและมีอำนาจ
(ข.)ดาวเจ้าเรือนที่ 2 ที่ 5 และที่8 ในนวางศ์จักร ถือเป็น “นระเคราะห์” แสดงถึง มนุษย์ ความมีชื่อเสียงในอาชีพความเสียสละ และมีความสุข
(ค.)ดาวเจ้าเรือนที่ 3 ที่ 6 และที่9 ในนวางศ์จักร ถือเป็น “รากษสเคราะห์” แสดงถึง ปิศาจ ความโหดร้าย รุนแรง เห็นแก่ตัว
ในการพิจารณานวางศ์จักร มี 2ประการที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ คือ ราศีลัคนาและเจ้าเรือนลัคน์ในราศีจักร ไม่ควรเป็น เรือนที่ 6 ที่ 8 และที่ 12 ในนวางศ์จักร
(ก.) หากลัคนาเป็นจรราศี ในราศีจักร ก็ไม่ควรเป็น เรือนที่ 6 และที่ 8 ในนวางศ์จักร
(ข.) หากลัคนาเป็นสถิรราศี ในราศีจักร ก็ไม่ควรเป็น เรือนที่ 4 ในนวางศ์จักร
(ค.)หากลัคนาเป็นทวิภาวะราศี ในราศีจักร ก็ไม่ควรเป็น เรือนที่ 2 ที่ 4 และที่ 8 ในนวางศ์จักร
(ง.) ในขั้นต่อไปให้พิจารณาคือ เจ้าเรือนทุสถานะ(ที่ 6ที่ 8 ที่ 12)ในราศีจักร ไม่ควรที่สัมพันธ์หรือร่วมกับลัคนาหรือเจ้าเรือนลัคน์ในวางศ์จักรเพราะจะส่งผลร้ายในมหาทศาและอันตรทศา