ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

ธรรมะ มหายาน มหาสติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ หรือ เรียกอีกอย่างว่า ที่ตั้งแห่งสติ ๔ ประการ จัตวาริ สมฤตย-อุปะ-สถานานิ  มันเป็นวิธีการพิเศษที่ไม่เหมือนใครที่ค้นพบโดยพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยนำมาใช้ในการการกลั่นกรอง และรู้จักจิตใจของเรา โดยปกติแล้วจิตใจของเรา มักจะถูกดึงดูดวนเวียนอยู่ใน ๔ รูปแบบ ซึ่งก็คือ กาย เวทนา จิต ธรรม

คำว่า กาย ซึ่งก็หมายถึงร่างกายนี้ (กายะ-สมฤตย-อุปะ-สถานัม) ซึ่งมีความหมายที่กว้างและ ลึกล้ำกว่าที่เราเคยคิด พวกเราที่เคยฝึกพิจารณา ลมหายใจ เข้า-ออก ซึ่งนี่ก็คือ การพิจารณากาย ด้วยเช่นกัน (อะนุพันธะนา ) ถ้าหากพิจารณาลึกลงไปอีกนิด เราก็จะสามารถนำวิธีการดูกายมา ร่วมกับการใช้ชีวิตประจำวันได้

คือเวลาที่เรากำลังจะทำอะไร จักต้องเข้าไปสังเกต ในทุกๆ อิริยาบท (อิริยาปถบรรพ) ไม่ว่าจะเป็นการก้าวเดิน หรือ การทำงานต่างๆ ทั้งการนั่ง การลุกขึ้นยืนรวมทั้งการเข้าห้องน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการทำอะไร เวลาใด พวกเราทุกคนจะต้องกำหนดรู้ ในทุกๆอิริยาบทให้ชัดเจน

ในมหาสติปัฏฐานสูตร (จัตวาริ สมฤตย-อุปะ-สถานานิ) ใช้คำเพียงไม่กี่คำ ก็สามารถอธิบายถึง แก่นแท้ของสภาวะธรรมได้ ก็คือ การให้เห็นความจริงของ สภาวะธรรมทั้งหลายที่ปรากฏ ทุกๆการเคลื่อนไหว เราจะต้องกำหนดรู้อย่างชัดเจน ในทุกๆอิริยาบท ซึ่งก็คือ กำหนดรู้สภาวะธรรม ที่ปรากฏ ตามความเป็นจริง

หากพิจารณากำหนดรู้ ลึกลงไปอีกขั้น ก็คือ ปฏิกูลมนสิการบรรพ พิจารณากายโดย ความเป็นของไม่สะอาด นั้น โดยพิจารณาแบ่งร่างกาย ออกเป็นส่วนต่างๆ มากมาย หลักการนี้ จะพิจารณาเกี่ยวโยง ไปถึงอวัยวะภายในร่างกาย ตรงนี้ หากจะพูดอย่างละเอียด อาจจะไม่เหมาะสม ดังนั้น จึงไม่มีทางที่จะแบ่งปัน ความรู้กับท่านผู้ฟังในเรื่องนี้
นี่เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดของการ ปฏิบัติวิปัสนา ในระยะเริ่มต้น

แล้วถ้าพิจารณาลึกลงไปล่ะ คือการดูศพคนที่ตายไปแล้ว หลังคนนี้ตาย ร่างกายเขาจะค่อยๆเน่าเปื่อย เพื่อสังเกตกระบวนการที่เน่าเปื่อยนี้ ทั้งหมดเรียกว่า กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน

อันที่สองคือ เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน (เวทะนา-สมฤตย-อุปะ-สถานัม) พิจารณาเวทนา หมายถึงความรู้สึก การรับรู้ ตรงนี้ก็จะกล่าวแบบ คร่าวๆ เวทนา ณ ที่นี้ก็คือ หนึ่งใน ขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเวทนามีอยู่ 3 รูปแบบ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และ อทุกขมสุขเวทนา

แล้วการพิจารณาเวทนานี้ มีวิธีการอย่างไร ก็คือเวลาที่เรากำลังมีความทุกข์ใจ ก็ให้ไปสังเกต อารมณ์ทุกข์ และขมขื่น ว่ามีลักษณะอย่างไร แต่อย่าไปตัดสิน ว่าผิดถูกดีชั่ว

เพียงแค่สังเกตุว่า ความทุกข์มันกำลังเกิดขึ้นแล้ว แล้วเวลาเรากำลังมีความสุขล่ะ (สุขเวทนา) เราก็ไปพิจารณาความสุข สุขเป็นอย่างไร ทุกคนก็ย่อมรู้ดีอยู่แล้ว แล้วเวลาไม่สุข ไม่ทุกข์ล่ะ เราก็รู้สึกได้ เฉกเช่นเดียวกัน ก็คือเราอยู่ในสภาวะที่ปกติ ธรรมดา ซึ่งต้องพิจารณาอารมณ์ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง ในทุกขณะจิต ซึ่งนี่คือ เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน(เวทะนา-สมฤตย-อุปะ-สถานัม)

ยกตัวอย่าง เช่น ความรู้สึกตอนใช้ฝ่าเท้าแตะพื้น นี่ก็คือ ความรู้สึกรับรู้อย่างหนึ่ง แล้วความรู้สึกนั้นล่ะ  บางครั้งเราก็เดินเร็ว มันก็เป็นความสุขอย่างหนึ่ง บางครั้งเมื่อเราเดินลงเท้าหนัก ๆ มันก็เป็นความทุกข์ แต่โดยปกติแล้ว มันเป็นความรู้สึก แบบ ไม่สุขและไม่ทุกข์ ชนิดหนึ่ง นี่ก็คือการเฝ้าสังเกตุ ความรู้สึก ที่มากระทบ

จิตตานุปัสสนา จิตตะ-สมฤตย-อุปะ-สถานัม ก็คือดูการผันแปรของจิตเรา และในพระสูตร กล่าวไว้อย่างไร ก็คือให้เราสังเกต จิตใจเรา ว่ามีความโลภ โกรธ หลง
และการรับรู้การเสวยอารมณ์ ของจิต ในรูปแบบต่างๆ

เช่น ความโลภของเรา เกิดขึ้น ณ ขณะนี้ มีกำลังแรงกล้าอย่างยิ่ง เราก็สามารถเห็น ความโลภของเรา กำลังเกิดขึ้น ได้อย่างชัดเจน และต้องรู้ถึงคุณลักษณะของมัน อย่างละเอียด ตามความเป็นจริง ว่าตอนนี้เรากำลังถูกความโลภ อันแรงกล้า ครอบงำจิตอยู่

ความโลภ มันเป็นแบบไหนหรือ เช่น เวลาเราอยากจะกิน อะไรสักอย่างหรือ เราต้องการคุยกับใครบางคน  หรือเราต้องการจะออกไปเที่ยวเล่น นี้ก็คือความโลภ หรือ ตัณหา คือความทะยานอยากได้

นอกจากนี้ก็ยังมี ความโกรธ ความโกรธ ก็เช่น อารมณ์เสีย นั่นไง ถ้าเราสามารถที่จะเห็นความโกรธ ขณะที่มันกำลังเกิดขึ้นได้ ได้อย่างชัดเจน ตามสภาวะ ธรรมที่ปรากฏ ตามความเป็นจริง

แล้วขณะที่เราเห็น ความโกรธ มันกำลังเกิดขึ้น และตั้งอยู่  พอรู้เท่าทันความโกรธ มันก็ ค่อยๆมอดดับลงไป อย่างช้าๆ  ซึ่งก็ต้องพิจารณา ความโกรธ ที่เกิดขึ้นในทุกๆขณะ ด้วยเช่นกัน

โมหะ-ความหลง คือ ความไม่เข้าใจ ในสภาวะธรรมที่ปรากฏขึ้น ตามความเป็นจริง เช่น ไม่ว่าเราทำเรื่องอะไรก็ตาม ที่ดูเหมือน การขาดสติสัมปชัญญะ  หรือเราอาจจะพูดอะไรๆออกไป โดยปราศจากสติ ขาดความยั้งคิด หรือเรามีคิดบางอย่างที่ ขาดสติ วิจารณญาน ซึ่งทั้งหมดนี้ ล้วนเกิดขึ้นจากจิต ซึ่งเราจะต้องใช้สติปัญญา พิจารณา ให้แยบคาย ในการรับรู้สิ่งนั้น

นอกจาก การพิจารณา ถึงความโลภ โกรธ หลง นี้แล้ว และในข้ออื่นๆ ก็ยังจะสามารถ นำมาพิจารณาให้ลึกซึ้งขึ้นไปอีก ตัวอย่างเช่น การพิจารณาจิตของเรา ขณะนี้จิต มีความไวขึ้น ฉลาดขึ้น และรู้เท่าทันสภาวะธรรมที่ปรากฏ หรือก็ตอนนี้จิตของเรา  ขณะนี้ดูเหมือนจะไม่ฉับไว หรือรู้ ไม่เท่าทันอารมณ์ ที่กำลังเกิดขึ้น หรือตอนนี้ จิตใจของเรา ถูกควมคุม หรือตกเป็นทาสของอารมณ์ใดๆ หรือขณะนี้จิตของเรา จิตหดหู่ หรือ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน

ปรากฏการณ์เหล่านี้ หากเรา รู้เท่าทันสภาวะธรรม ที่เกิดขึ้น  ในจิต ตามความเป็นจริง ซึ่งนี่คือ จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน สุดท้าย คือ ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน (ธัมมา-สมฤตย-อุปะ-สถานัม) ก่อนอื่นเราต้องไปพิจารณา นิวรณ์ธรรม ๕ ประการ

นิวรณ์ธรรม ๕ ประการ คือะไร  ก็คือ กามฉันทะ พยาบาทและปฏิฆะ ความไม่พอใจ ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหดหู่ อุทธัจจะกุกกุจจะ หรือความฟุ้งซ่านรำคาญใจ
และวิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ทั้งหมดนี้เรียกว่านิวรณ์ ๕

หากนิวรณ์ ๕ เกิดขึ้นเมื่อใด เราจะต้องรู้ชัด และพิจารณา ให้เท่าทันกับ สภาวะธรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้  จะไม่เกี่ยวข้องกับความนึกคิด ว่าเป็นของเรา อย่าไปวิเคราะห์หรือให้คุณค่ากับมัน ขอให้เราเพียงกำหนดรู้ ก็ใช้ได้แล้ว

อย่าไปต่อต้าน หรือห้ามมัน และก็อย่าคิดวิเคราะห์มัน หรือไปหาสาเหตุว่า มันเกิดขึ้นมาได้ขึ้นเพราะอะไร และจะหยุดมันยังไง อย่าไปยุ่งกับมัน เพียงตามดูมันเกิดขึ้นและดับไป ในแต่ละขั้นตอน

นอกจากนิวรณ์ ๕ นี้แล้ว ยังจะต้องพิจารณาถึงขันธ์ ๕ ด้วย ซึ่งก็คือ พิจารณา รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ และวัตถุประสงค์ของการพิจารณา ขันธ์ ๕ นี้คืออะไรคือการสังเกตจากข้างใน ว่าไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นตน เป็นตัวเรา ของเรา ทุกอย่างคือการรวมตัวและการ ทำงานร่วมกันของขันธ์ ๕

จากนั้นจึงค่อยพิจารณาถึงหลัก ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ประการ สิ่งสุดท้ายคือการสังเกตการ รับรู้ทั้งเจ็ด คือ โพชฌงค์ ๗ โพชฌงค์ ๗ ก็อยู่ในขอบเขตของ ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน ด้วย

แล้วการปฏิบัติตามปกติของเราล่ะ ไม่มีทางลัดไปยังขั้นตอน  ธัมมานุปัสสนา ก่อนได้เลย ปกติจะต้องเริ่มจากการพิจารณา กายและเวทนา สติปัฏฐานก่อน หลังจากพิจารณา กายและเวทนาแล้ว บนพื้นฐานกายและเวทนานี้ เราก็จะมีกำลังของสติและสมาธิ มั่งคงและละเอียดยิ่งขึ้น หมายความว่าฝึกฝน จนจิตใจไม่ซัดส่ายแล้ว  เราจึงจะเริ่มพิจาณาฝึก จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน ได้

และการฝึกสติทั้ง ๔ ประการนี้ ถึงแม้ว่าจะมีลำดับ การพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม แต่หลายๆท่านก็ได้บรรลุมรรคผล โดยแค่พิจารณา เพียงกายเท่านั้น ซึ่งก็คือการสลัดทิ้งทุกข์ ไปได้จนหมดสิ้น

ดังนั้นเราจึงเห็นวิถีแห่งการปฏิบัติ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และก็เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติ ซึ่งก็คือ กายานุปัสนา สติปัฏฐาน  ไม่ว่าจะเป็นการฝึก อานาปานบรรพ ดูลมหายใจ เข้าออก หรือ ปฏิกูลมนสิการบรรพ ดูความไม่สะอาดของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการเดินจงกรม ล้วนเป็น การพิจารณากาย ทั้งสิ้น

ทั้งหมดนี้คือการอธิบายแบบ คร่าวๆให้ฟัง เท่านั้น เพราะคนจำนวนมากไม่รู้จักว่า สติปัฏฐาน ๔ นี้คืออะไร  มีโอกาสจะนำมาอธิบายอีกภายหลัง
By Astro Neemo