หรือเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายเป็น" เทศกาลแห่งดวงประทีป" เป็นเทศกาลสำคัญของชาวฮินดูที่มีระยะเวลา 5 วันโดยเริ่มต้นในวัน ธนะ ติรสะ , เทศกาลทีปวาลีตรงกับ วันที่สิบสามของกฤษณะปักษ์(แรม 13 ค่ำ)ในเดือนอัศวินของ ปฏิทินฮินดู และสิ้นสุดในวันภาอี ทูจะ เป็นวันสุดท้ายและจะตรงกับวันจันทร์ที่สองของศุกละปักษ์ของเดือนกฤติกา (ขึ้น 2ค่ำ) ส่วนวันธนะ ติรสะ มักจะตกอยู่ประมาณแปดวันหลังจากเทศกาลดูเซร่าห์ ปกติแล้วเทศกาลทีปวาลีจะอยู่ระหว่าง กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤศจิกายนตามปฏิทินสากล
เทศกาลนี้เป็นเทศกาลสำคัญของหลายประเทศ โดยเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศเช่น ในอินเดีย เนปาล , ศรีลังกา , พม่า , มอริเชียส , กายอานา , ตรินิแดด และ โตเบโก , ซูรินาเม , มาเลเซีย, สิงคโปร์และ ฟิจิ
สำหรับชาวฮินดู เทศกาลทีปวาลี เป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญที่สุดของปี และมีการเฉลิมฉลองในครอบครัวตามธรรมเนียมมาแต่โบราณ สำหรับศาสนาเชน วันทีปวาลีเป็นวันที่ระลึกถึงความหลุดพ้น หรือ โมกษะของพระมหาวีระ ศาสดาในศาสนาเชน ในปี 527 ก่อนคริตกาล
ชื่อของวัน ทีปวาลี หมายถึง " แนวของดวงประทีป " โดยการจุดตะเกียงโคมไฟ ดินเผาขนาดเล็กมีความหมายถึงความดี และการมีชัยต่อความชั่วร้าย. ตะเกียงดวงไฟเหล่านี้จะถูกจุดในเวลากลางคืนรอบๆบ้านและพร้อมๆกับการทำความสะอาดบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเพื่อที่จะทำให้พระแม่ลักษมีรู้สึกพอพระทัย และจะมีการจุดประทัดเพื่อช่วยขับไล่วิญญาณชั่วร้ายตลอดค่ำคืนแห่งเทศกาลทีปวาลี ผู้คนจะทำการสวมใส่เสื้อผ้าใหม่ และแจกขนมหวานขนมขบเคี้ยวให้กับสมาชิกทุกคนในครอบครัว และเพื่อน ๆ
งานเทศกาลทีปวาลีจะเริ่มต้นวันแรกด้วยวัน “ธนะ ติรสะ” ซึ่งที่ประเทศ อินเดียจะเป็นวันเริ่มต้นปีงบประมาณประจำปีของบริษัทต่างๆ วันที่สองของเทศกาลทีปวาลีจะเรียกว่า”วันนรก จตุรทศี อมาวาสยา และวันที่สามคือเทศกาลทีปวาลี โดยจะทำพิธีบูชาพระลักษมีเทพีแห่งความมั่งคั่ง วันที่สี่ของเทศกาลทีปวาลีเรียกว่าวัน วันโควรฺทฺธน บูชา หรือในอินเดียบางท้องถิ่นจะเป็นวัน กฤติกา สุทธะ ปัทยามี หรือ พาลี ปัทยามี วันที่ห้า เรียกว่าวันภาอี ทูจะ หรือ ยมะ ทวิติยา โดยวันนี้น้องสาวจะเชิญพี่ชายไปยังบ้านของเธอเพื่อให้พรแด่พี่ชาย
สำหรับเทศกาล ทีปวาลี ของชาวฮินดู มีหลายเหตุการณ์สำคัญในตำตานที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้ คือ
วันระถึงถึงการกลับมาของพระราม หลังจากที่ออกเดินดงไปถึง 14 ปี ที่จะต้อนรับ เมื่อพระรามกลับมาถึงเมืองอโยธยา ชาวเมืองจะจุดตะเกียงต้อนรับสว่างไสวตลอดทั้งเมือง
วันธนะ ติรสะ ,ธะนะเตระสะ หรือ วัน ธนะตรโยทศี เป็นวันแรกใน 5 วันของเทศกาลทิปวาลี ผู้คนจะพากันบูชาและขอพรพระแม่ลักษมีบูชาเพื่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง ความร่ำรวย และความสุข ชาวฮินดูส่วนมากจะซื้อเครื่องประดับ เงิน ทองและของมีค่าในวันนี้
วันนรก จตุรทศี नर्क चतुर्दशी
วันที่ 2 ของเทศกาลทีวาลีเพื่อฉลองชัยที่พระกฤษณะที่ปราบนรกอสูร (Narakasura) เนื่องจากอสูรตนนี้อาศัยอยู่ในความมืด และเมื่อใดก็ตามมีผู้จุดตะเกียงเพื่อใช้แสงสว่างเมื่อนั้น นรกอสูรจะสังหารเสีย เมื่อพระกฤษณะทรงรับรู้ถึงเรื่องราวต่างๆ จึงฆ่านรกสูรเสีย ดังนั้นจึงเชื่อว่าการจุดประทีบ เป็นการขับไล่นรกสูร (สิ่งไม่ดี) และเป็นการอัญเชิญ พระกฤษณะ หรือเทพเจ้าต่างๆ (สิ่งดี) เข้ามาช่วยปัดเป่าสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ปกติวันนี้จะมาก่อน 1 วัน หรือเป็นวันเดียวกันกับวันลักษมีบูชาซึ่งคำนวณตามดิถีเพียร จะแตกต่างกันในแต่ละปี
วันกาลี เจาทส ปูชา काली चौदस पूजा
กาลีหมายถึงความมืด (ชั่วร้าย) เป็นวันที่กำหนดให้ทำการบูชา พระแม่มหากาลี และเป็นที่เชื่อว่าในวันนี้กาลีจะฆ่าคนชั่ว หมายถึงการฆ่าความเกียจคร้านและความชั่วร้ายที่จะสร้าง นรกในชีวิตของเรา กาลีในอีกความหมาย คือ ความแข็งแรงเพื่อปกป้องคนอื่น
วันลักษมี บูชา लक्ष्मी पूजन ซึ่งถือว่าสำคัญที่สุดของการเฉลิมฉลองเทศกาลทีปวาลี ทุกๆบ้านจะมีพิธีบูชาพระแม่ลักษมีเทพีแห่งความมั่งคั่งและ พระพิฆเนศวร เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ
วันโควรฺทฺธน บูชา- गोवर्धन पूजा โควรฺธน ปูชา ทฺวาทศี
วันทำพิธีบูชาพระกฤษณะ ด้วยเชื่อว่าวันนี้เป็นวันที่พระอินทร์ปราชัยต่อพระกฤษณะ ตามคัมภีร์”วิษณุ ปุราณะ”พระกฤษณะสอนประชาชนได้สักการะบูชาธรรมชาติเพื่อขอฝนและความอุดมสมบูรณ์แทนการบูชาพระอินทร์เพื่อขอฝน หมายถึงเราควรจะดูแลธรรมชาติของเราด้วยตัวเราเอง วันนี้จะมีการบูชาพระกฤษณะด้วยอาหารที่ทำจากธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าว แกงที่ทำจากแป้งกรัมและผัก เชื่อกันว่าประเพณีนี้มีสืบต่อกันมากว่า 5,000 ปีแล้ว
วันภาอี ทูชะ -भाई दूज
ไภทูช (Bhai Duj) วันสุดท้ายนี้น้องสาวจะเจิมหน้าผากให้พี่ชายเพื่อให้มีความสุขและ อายุยืน มีความเจริญในหน้าที่การงาน พี่ชายก็จะมอบของขวัญและสัญญาว่าจะปกป้อง น้องสาวเป็นการตอบแทน สาระสำคัญของการฉลองวันนี้ เพื่อเสริมสร้างความรักระหว่างพี่ชายและน้องสาวเป็นวันที่กินอาหารร่วมกัน มอบของขวัญให้กันเป็นการเฉลิมฉลองของชาวฮินดูในวันสุดท้ายของเทศกาล ทิวาลี