เป็นวันบูชาพระแม่วรลักษมีที่สำคัญวันหนึ่ง วรลักษมี คือปางหนึ่ง พระแม่ลักษมีเทพีแห่งความมั่งคั่ง เทศกาลนี้ในนิยมถือปฏิบัติในอินเดียภาคใต้
วันวรลักษมี วรตัม บูชาจะตรงกับศุกละปักษ์(ข้างขึ้น)ของเดือนศรวณะตามปฏิทิน ฮินดูและมักจะตรงกับวันศุกร์ก่อนที่จะถึงวันเพ็ญเดือนศรวณะ (ศรวณะ ปูรณิมา) หรืออยู่ในราวเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคมในปฏิทินสากล
พิธีการบูชามักจะกระทำโดยสตรีที่แต่งงานแล้วเพื่อขอพรสำหรับความอยู่ดีกินดีของครอบครัว และเป็นที่เชื่อกันว่าการบูชาพระแม่วร-ลักษมีในวันนี้เทียบเท่ากับการบูชาอัฏฐลักษมี ทั้งแปดปาง
พระแม่ลักษมีทั้งแปดปาง
- อาทิลักษมี (आदि लक्ष्मी) หรือมหาลักษมี ( महा लक्ष्मी) เป็นพระแม่ลักษมีพระองค์แรกเป็นองค์ปฐม และเป็นธิดาแห่งภฤคุฤาษี
- ธนลักษมี (धन लक्ष्मी ) พระแม่ลักษมีเทวีแห่งทรัพย์สิน ทองและเงิน
- ธัญญลักษมี (धान्य लक्ष्मी) พระแม่ลักษมีผู้เป็นเทวีแห่งพืชพรรณธัญญาหาร
- คชลักษมี (गज लक्ष्मी ) พระแม่ลักษมีแห่งคชสาร ผู้ทรงพลังแห่งราชตระกูล และประทานทรัพย์สินที่เป็นปศุสัตว์ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย
- สันตนะลักษมี (सन्तान लक्ष्मी )พระแม่ลักษมีคุ้มครองครรภ์ และประทานบุตรชายไว้สืบสกุล
- วีระลักษมี (वीर लक्ष्मी ) ประทานความกล้าหาญในการต่อสู้ ความกล้าหาญและความเข้มแข็งสำหรับการเอาชนะความยากลำบากในชีวิต.
- วีชยาลักษมี (विजय लक्ष्मी) หรือชยาลักษมี (जय लक्ष्मी, ) ประทานชัยชนะในการต่อสู้และอุปสรรคประทานความสำเร็จ
- วิทยาลักษมี (विद्या लक्ष्मी) ประทานความรู้และศาสตร์ศิลป์ทั้งปวง
และในบางคัมภีร์ได้กล่าวปางต่างๆของพระแม่ลักษมีแตกต่างกันออกไปเพิ่มเติมคือ
8.1ไอศวรยา ลักษมี (ऎश्वर्य लक्ष्मी) เทพีผู้ประทานทรัพย์สินและความมั่งคั่ง
8.2 เสาภาคยา ลักษมี (सौभग्या) เทพพีผู้ประทานความโชคดี
8.3 ราชยา ลักษมี (राज्य लक्ष्मी ) เทพีผู้ประทานอำนาจ วาสนา ราชศักดิ์
8.4 วร ลักษมี (वर लक्ष्मी) เทพีผู้ประทาน ความงาม และผลประโยชน์