สีดา นวมี หรือ ชนักคี นวมี(หมายถึงเป็นธิดาของพระชนก) เป็นการเฉลิมฉลองเป็นวันครบรอบวันประสูติของนางสีดา ในวันนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ วันสีดา ชยันตี วันนี้สตรีที่แต่งงานแล้วจะทำการถือพรตอดอาหารเพื่ออธิษฐานให้สามีมีอายุยืนนาน
วันสีดา ชยันตี มีการเฉลิมฉลองในช่วงนวมีดิถี ศุกลปักษ์(ขึ้น 9ค่ำ) ของเดือนวิสาขมาส ซึ่งเป็นที่เชื่อกันว่านางสีดาเกิดเมื่อวันอังคารขณะที่ดาวจันทร์เสวยปุษยะ นักษัตร นางสีดาได้อภิเษกสมรสกับพระรามที่เกิดใน นวมี ดิถี ระหว่างศุกละปักษ์ (ขึ้น 9ค่ำของเดือนจิตรามาส ตามปฏิทินฮินดู วันสีดา ชยันตีจะอยู่หลังจากวัน รามา นวมี หนึ่งเดือน
มาตา สีดาหรือเป็นที่รู้จักกัน ชนักคี ซึ่งเป็นบุตรสาวบุญธรรมของกษัตริย์ ชนก แห่งเมืองมิถิลา ดังนั้นวันนี้เป็นที่รู้จักกัน ในชื่อ ชนักคี ชยันตี
ตามตำนานเล่าว่านางสีดาเป็นพระราชธิดาแห่งกรุงลงกา เพราะเมื่อนางประสูติออกมา นางก็ร้องว่า ผลาญราพณ์ถึง 3 ครั้ง พิเภกกราบทูลว่า นางสีดาจะนำภัยพิบัติใหญ่หลวงมาสู่วงศ์ยักษ์ ทศกัณฐ์จึงสั่งให้ใส่นางสีดาใส่ผอบลอยน้ำไปเพราะยังไม่อาจหักใจประหารธิดา นอกไส้ของตนนางนี้ได้
ผอบทองลอยน้ำไปถึงอาศรมของฤๅษีชนกผู้ครองกรุงมิถิลา เปิดดูพบเด็กทารกหญิงหน้าตาน่ารักน่าเอ็นดูภายใน ทว่าฤๅษีชนกนั้นในขณะนั้นครองเพศฤๅษีอยู่ ไม่สะดวกจะเลี้ยงนางสีดา จึงได้นำผอบทองฝังดิน พร้อมขอให้พระแม่ธรณีช่วยดูแลรักษานางด้วย
16 ปีต่อมา ฤๅษีชนกตั้งใจนิวัตินครเพื่อครองกรุงมิถิลาตามเดิม จึงได้ทำพิธีไถคราดดินหาผอบทองที่พระองค์ฝังดินไว้ คันไถไปติดผอบเข้า เหล่าทหารจึงได้ขุดขึ้นมา เมื่อเปิดออกก็พบหญิงสาวรูปร่างหน้าตาสะสวยสะคราญโฉมอย่างที่หาที่เปรียบ เปรยไม่ได้ สวยงามที่สุดและงดงามยิ่งกว่านางใดในโลกนี้ ทั้งจริตกิริยาก็เรียบร้อยน่าชม ฤๅษีชนกจึงได้รับนางเป็นพระธิดาแห่งกรุงมิถิลา พร้อมประทานนามให้นางว่า สีดา ที่แปลว่า "รอยไถ"