วันขึ้น 7 ค่ำ (ศุกรปักษ์ สัปตมี ดิถี) จะเป็นวันสำคัญเพื่อทำการสักการะบูชาพระอาทิตย์ หรือ สุริยะเทพ ในเดือนมาฆะ หรือเรียกทั่วไปว่า วัน รถ สัปตมี หรือ มาฆะ สัปตมี หรือ “อัชลา สัปตมี” ซึ่งเชื่อกันว่าพระสุริยเทพได้เริ่มทำการขับรถเพื่อส่องแสงอาทิตย์เป็นครั้งแรกให้กับโลกและจักรวาลในวันนี้ และก็ถือว่าเป็นวันประสูติของสุริยเทพ(สุริยะ ชยันตี)อีกด้วย
และวันนี้ก็จะถือว่าเป็นวันฤกษ์มงคลและเป็นมงคลสำหรับ”พิธี สุริยา เคราะห์”เพื่อสะเดาะเคราะห์และชำระปาป และการทำ”พิธีทาน ปุณญา” โดยการทำบุญบริจาคทานให้แก่คนยากไร้ และสมณะ และทำการสักการะบูชาสุริยเทพ
ชาวฮินดูจะทำปฏิบัติบูชาโดยการถือพรตอดอาหารในวันนี้ และเชื่อว่าจะสามารถกำจัดความผิดบาปทั้ง 7ชนิด ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่าปาปมีอยู่ 7ชนิดคือ เป็นปาปที่กระทำการโดยรู้ก็ดี ไม่รู้ก็ดี โดยกายก็ดี โดยวาจาก็ดี โดยใจก็ดี โดยกระทำในชาตินี้ก็ดี โดยกระทำในชาติก่อนๆก็ดี เชื่อว่าจะถูกชำระให้หมดสิ้นโดยการถือพรตบูชาพระสุริยะเทพในวันนี้เพียงวันเดียว
เมื่อถึงวัน รถ สัปตมี ชาวฮินดูจะทำการอาบน้ำในช่วงเช้าตรู่ที่เรียกว่า “อรุโณทยา รถะ สัปตมี สนาน”ซึ่งเป็นหนึ่งในพิธีกรรมที่สำคัญและเป็นหลักปฏิบัติที่ต้องกระทำในระหว่างเวลา”อรุโณทัย” ซึ่งกินระยะเวลา 4 ฆทิ (1 ฆทิเท่ากับ 24 นาที) ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น
การอาบน้ำก่อนพระอาทิตย์ขึ้นในช่วงเวลา “อรุโณทัย”จะช่วยให้มีสุขภาพดีและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และจากความเชื่อนี้เอง รถ สัปตมี จึงเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “อโรคยา สัปตมี” ในการอาบน้ำชำระร่างกายมักจะปฏิบัติกันในแม่น้ำ เช่น แม่น้ำหรือลำคลอง และสามารถมองเห็นพระอาทิตย์กำลังขึ้นได้ชัดเจน
หลังจากการอาบน้ำแล้ว ชาวฮินดูจะทำการนมัสการสุริยะเทพ ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นโดยทำพิธีที่เรียกว่า การถวายอัธยทาน แด่พระอาทิตย์ โดยผู้บูชาจะหันหน้าเข้าหาพระอาทิตย์ พร้อมกับกับการเทน้ำอย่างช้าๆลงในแม่น้ำจากคนโฑ”กลษะ” ขนาดเล็ก ขณะเดียวกันก็จะพนมมือสักการะสุริยะเทพ ในท่า “นมัสการ มุทรา”
และหลังจากนี้ผู้ทำการบูชาก็จะจุดประทีปด้วยเนยบริสุทธิ์และบูชาด้วยดอกไม้สีแดง การทำพิธีนี้เชื่อว่าจะทำให้มีชีวิตยืนยาว มีสุขภาพที่ดีและมีความเจริญรุ่งเรือง