วันปุตราฏา เอกาทศี แปลความว่าเป็นวันพระวิษณุประทานบุตรชายในวัน11ค่ำ ซึ่งถือปฎิบัติ ปีละ 2 ครั้ง สำหรับในเดือน ศรวณะ เรียกว่า ปุตราฏา เอกาทศี เป็นวันสำคัญและนิยมปฏิบัติในอินเดียภาคใต้ ส่วนในเดือนปุษยะ จะเรียกว่า เปาษะ ปุตรา เอกทศี และมักจะนิยมถือปฎิบัติกันในอินเดียภาคเหนือ
ตามจารีตประเพณีของสังคมชาวฮินดู การมีบุตรชายเป็นสิ่งประเสริฐและสำคัญที่สุดในครอบครัว ซึ่งนอกจากจะต้องมีบุตรชายเพื่อบำรุงเลี้ยงดูบิดา-มารดาในยามแก่ชราแล้ว บุตรชายยังมีหน้าที่ประกอบพิธีศพและทำบุญอุทิศให้กับมารดาบิดาและบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้ว หากครอบครัวใดไม่มีบุตรชายไว้สืบสกุลแล้วถือว่าครอบครัวนั้นมีบาปหนัก หาก ครอบครัวใดที่ยังไม่มีบุตรชายเอาไว้สืบสกุลแล้ว ก็ต้องถือพรตในวันปุตรา เอกาทศีนี้เพื่อขอพรต่อพระวิษณุให้ประทานบุตรชายเอาไว้สืบสกุล
ตำนาน ในเรื่องวันปุตราฏาเอกาทศีนี้ มาจากคัมภีร์ภุริษยะ ปุราณะ ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องราวต่างๆโดยพระกฤษณะให้กับท้าวยุธิษฐิระได้ฟังว่า ในนครภัทราวดี มีท้าวสุเกตุมัน และสไบยา เกิดความเดือนเนื้อร้อนใจเพราะยังไม่มีโอรสไว้สืบสกุล ซึ่งเชื่อกันว่าหากไม่มีโอรสสืบสกุลแล้ว ทั้งสองเมื่อตายไปวิญญาณก็จะแตกสลายไป ไม่ว่าจะทำพิธีการบวงสรวงอ้อนวอนอย่างไรก็ตามก็ไม่เป็นผล ท้าวสุเกตุมันก็เกิดความท้อใจ ก็เลยเสด็จออกจากพระนคร รอนแรมไปในป่าอยู่หลายวัน
เมื่อมาถึงฝั่งแม่น้ำมันสโรวารในวันปุตราฏา เอกาทศี ก็พบพระฤาษีตนหนึ่ง พระฤาษีทราบความก็แนะนำว่าให้พระองค์ถือพรตอดอาหารในวันนี้ และขอพระต่อพระวิษณุก็สำเร็จดังประสงค์ พระองค์ก็จึงรีบเสด็จกลับเมืองและทำพิธีถือพรตร่วมกับพระมเหสีในวัน 11 ค่ำ จากนั้นไม่นานก็ทรงพระครรภ์ ได้พระราชโอรสด้วยการประทานพรจากพระวิษณุ และต่อมาพระโอรสก็ได้กลายเป็นกษัตริย์ผู้ยีงใหญ่ในกาลต่อมา