ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

วันปรศุรามา ชยันตี
เป็นวันเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเทวสมภพของอวตารปางที่ 6 ของพระนารายณ์ (วิษณุ) หรือที่เรียกว่า ปรศุรามาวตาร หรือรามผู้มีขวานเป็นอาวุธ ตรงกับวันศุกลปักษ ตริตรียา หรือวันขึ้น 3 ค่ำของเดือนวิสาขะ ซึ่งเชื่อกันว่าปรศุรามาประสูติในเวลาโพล้เพ้ลหรือ เวลา ปรโทษะ กาล
ปรศุรามาวตาร  อวตารของพระวิษณุมาเป็นพราหมณ์ชื่อ ราม ถือขวานเพชรในสมัยไตรคายุคเรื่องมีว่ากษัตริย์องค์หนึ่งชื่ออรชุน ได้รับพรจากฤาษีทัตตะไตรยให้มีเดชานุภาพเหนือราชาทั้งหลาย และมีแขนถึงสองพันสามารถปราบศัตรูได้ทุกหนทุกแห่ง อรชุนมีความกำเริบเที่ยวรุกรานฤาษีให้เดือดร้อน ฤาษีวสิษฐ์ผู้เป็นหัวหน้าฤาษีเหล่านั้น จึงไปฟ้องพระนารายณ์(วิษณุ) พระนารายณ์จึงอวตารมาเป็นพราหมณ์ชื่อราม ได้รับขวานเพชรจากพระศิวะจึงได้นามว่าปรศุราม แปลว่ารามผู้ถือขวาน และได้ฆ่าอรชุนเสีย

 

ตามคติความเชื่อของชาวฮินดูเชื่อว่า อวตารของปรศุรามา เป็นอวตารพิเศษกว่าอวตารอื่นๆของพระวิษณุ เพราะเชื่อกันว่า ปรศุรามา ยังคงมีชีวิตอยู่และอาศัยอยู่ในโลกใบนี้เพื่อรอทำภารกิจบางอย่าง ดังนั้นปรศุรามา จึงยังไม่ได้รับการบูชาแบบเทวะซึ่งไม่เหมือนกับอวตารที่เป็นพระรามหรือพระกฤษณะ หรืออวตารองค์อื่นๆของพระวิษณุ
อย่างไรก็ตามในตอนใต้ขอประเทศอินเดีย และเมืองที่ริมอ่าวอินเดียตะวันตกก็ยังคงมีโบสถ์ฮินดูที่สร้างอุทิศแด่ปศุรามาอยู่เป็นจำนวนมาก
ในคัมภีร์กาลกี ปุราณะ บรรยายเอาไว้ว่า ปรศุรามา จะมาเป็นครูผู้สอนในด้านการยุทธและการสงครามให้แก่”ศรี กาลกี” หรืออวตารปางที่ 10 ของพระวิษณุ ซึ่งถือว่าเป็นการพบกันระหว่างอวตารปางที่ 6 และปางที่ 10 ของพระวิษณุซึ่งหาได้ยาก นอกจากนี้ก็ยังมีบันทึกเรื่องการพบกันระหว่าง 2 อวตารอีกในเรื่องรามายณะ ได้กล่าวถึง ปรศุรามาได้มาเป็นสักขีพยานในการหมั้นระหว่างพระรามและนางสีดา ซึ่งเป็นการพบกันของอวตารปางที่ 6 และอวตารปางที่ 7 ของพระวิษณุ