ติดต่อสอบถาม กรุณาแอด Line @astroneemo

  • Slider 1
  • Slider 2
  • Slider 3
  • Slider 4
  • Slider 5
  • Slider 6
  • Slider 7
  • Slider 8

Website แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย ที่ให้บริการฤกษ์ยามชั้นสูงของโหราศาสตร์ภารตะจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และได้ผลตอบรับดีสูงสุดเป็นปีที่ 15 แล้ว WebSite ของเราให้การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณในระดับสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงจากยุโรป "SiteGuarding" บริการดูฮวงจุ้ย แก้ฮวงจุ้ย เสริมฮวงจุ้ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี***

วันเอกาทศี (ดิถี 11 ค่ำ) วันถือศีลอดเพื่อล้างบาปขจัดเคราะห์กรรมของชาวฮินดู

วันเอกาทศี एकादशी เป็นภาษาสันสกฤต มีความหมายถึง ดิถีขึ้น/แรม 11 ค่ำ ซึ่งเป็นวันที่ชาวฮินดูรู้จักกันใน”วันแห่งพระวิษณุ” ซึ่งถือวันนี้ว่าเป็นวันฤกษ์ดีเป็นวันมหามงคล และเป็นวันสำคัญสำหรับการถือพรตเพื่ออดอาหาร

เหตุผลการถือพรต(ศีลอด)ในเอกาทศี

ตามคัมภีร์โบราณของฮินดู อธิบายว่า วันเอกาทศี และการโคจรของดวงจันทร์ มีอิทธิพลต่อความคิดและจิตใจของมนุษย์ และเชื่อว่าในระหว่างดิถีขึ้นแรมที่ 11ค่ำ (เอกาทศี) จิตใจของเราจะมีพลังเป็นพิเศษ และสมองของเราจะมีศักยภาพและประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน โดยเฉพาะในการสร้างสมาธิจิตและการวินิจฉัยปรากฏการณ์ต่างๆอย่างดีเยี่ยม สำหรับผู้ที่แสวงหาโมกขธรรม เชื่อว่า การถือพรตอดอาหารเดือนละ 2 ครั้งในวันเอกาทศีนี้ จะทำให้ผู้ถือพรตสามารถบรรลุสู่สมาธิจิตในขั้นสูง   สำหรับมุมมองในแง่อายุรเวทและศาสนา ชาวฮินดูเชื่อว่า การถือพรตเพื่ออดอาหารในวันนี้จะช่วยให้ร่างกายและจิตใจสงบระงับ ร่ายการและอวัยวะภายในการย่อยและการเผาผลาญอาหารจะได้พักผ่อน เพื่อขจัดอาหารเก่าออกไป  ทำให้ร่างกายสะอาดขึ้น อันจะส่งผลให้มีสุขภาพดีในระยะยาว ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ และพระกฤษณะได้ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์เอาไว้ว่า “ข้าจะเผาผลาญปาปกรรมทั้งหลายในตัวของผู้ถือพรตในวันเอกาทศีนี้” ซึ่งเป็นที่มาของการถือพรตเพื่อการชำระล้างบาปทั้งหลาย การสะเดาะเคราะห์ขจัดกรรมและการขอพรจากเทพเจ้าเพื่อความสำเร็จของชาวฮินดู

วิธีการถือศีลอดในวันเอกาทศี

ปกติวันเอกาทศีในหนึ่งเดือนจันทรคติจะมีเพียง 2 วันคือวันขึ้น ๑๑ ค่ำ และแรม ๑๑ ค่ำ ตามปฏิทินที่คำนวนด้วยดิถีเพียรของโหราศาสตร์เท่านั้น ปฏิทินท้องตลาดทั่วไปมักไม่ตรง และจะคลาดเคลื่อนประมาณ 1-2 วัน

การอดอาหารมีหลายแบบตามความสามารถของผู้ปฏิบัติ โดยการอดแบบเคร่งจะเป็นการอดแบบไม่ทานทั้งอาหารและน้ำดื่ม ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ดีและสมบูรณ์ได้ผลมากที่สุด แต่สำหรับบางท่านที่ไม่สามรถทำได้ ก็จะทานเฉพาะผักและผลไม้ แต่จะไม่ทานข้าวหรือเมล็ดธัญญาหารใดใด  เช่น ข้าวโพด ถั่ว งา เผือก มัน ฯลฯ

การถือศีลอดจะมีระยะ 1วันกับ 1คืน โดยเริ่มต้นในเช้าวันเอกาทศี และจะสิ้นสุดในเช้าวันถัดไป โดยอาหารมื้อแรกหลังจากอดอาหารจะเป็นน้ำนมสด  นอกจากนี้ชาวฮินดูก็จะละเว้นการตัดผม โกนหนวด ตัดเล็บมือเล็บเท้า ในวันเอกาทศีนี้ โดยเชื่อว่าจะเป็นการทำลายพลังของร่างกายในการที่จะขจัดสิ่งที่ไม่ดีออกไป ในปฏิทินมุหูรตะหรือปฎิทินฤกษ์โหราศาสตร์ของฮินดูจะมีเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของวันเอกาทศีเอาไว้อย่างละเอียด


วันเอกาทศีในคัมภีร์พระเวท

การถือศีลอดในวันเอกาทศีนี้ ไม่เพียงแต่เป็นการลดเคราะห์กรรมและการล้างบาปตามคติความเชื่อของชาวฮินดู แต่ยังเป็นการสร้างสมกุศลกรรมและการได้รับพรที่สูงส่งจากพระผู้เป็นเจ้า พระกฤษณะได้ทรงตรัสเอาไว้ในคัมภีร์ว่า “ข้าจะทำลายอุปสรรคต่างๆในการพัฒนาจิตวิญญาณ และประสาทพรให้ผู้ถือพรตมีชีวิตอันรุ่งโรจน์” ถ้าหากผู้ถือพรตได้กระทำการอดอาหารอย่างสม่ำเสมอในวันเอกาทศีทั้ง 24 วันใน 1ปี(ปีอธิกมาสจะมี 26 วัน) ในคัมภีร์ครุฑะ ปุราณะ( गरुड़ पुराण) พระวิษณุได้ทรงตรัสว่า วันเอกาทศี เป็นเสมือนเรือใหญ่ 1 ใน 5 ลำเรือที่มาช่วยเหลือคนกำลังจะจมน้ำกลางมหาสมุทร (เรือที่เหลือทั้ง 4 คือพระวิษณุ ,คัมภีร์ภควคีตา,ใบตุลสีหรือใบกระเพรา และวัว )และในคัมภีร์ปัฌา ปุราณะ (पद्म पुराण)พระวิษณุทรงกล่าวว่า”ในบรรดาพืชพันธ์ทั้งหลาย ข้าโปรดปรานใบตุลสี(ใบกระเพรา) ในบรรดามาส(เดือน)ทั้งหลายข้าโปรดปราน เดือนกฤติกา ในบรรดาเทวาลัยทั้งหลาย ข้าโปรดปราน เทวาลัยแห่งทวาราวดี และบรรดาวาร(วัน)ทั้งหลายข้าโปรดปรานวันเอกาทศีเป็นที่สุด

พิธีกรรมในวันเอกาทศี

ในวันนี้นอกจากจะเป็นพิธีกรรมพิเศษในการถือศีลอดแล้วก็ยังมีข้อห้ามต่างๆ ที่ต้องดเว้นกระทำในวันนี้ เช่น พิธีแต่งงาน และ พิธีศพ การเผาหรือการฝัง ห้ามทำในวันเอกกาทศี ที่เป็นวันมงคล เชื่อว่าหากกระทำแล้ว ก็จะทำให้ญาติพี่น้องวิบัติ นอกจากนี้การบูชาเทพเจ้าก็ห้ามทำการถวายอาหารและผลไม้ในวันนี้เช่นเดียวกัน

 

 

 

 

ชื่อของวันเอกาทศี

เดือนจันทรคติฮินดู

กฤษณะ ปํกษ์ (ข้างแรม)

ศุกลปักษ์(ข้างขึ้น)

เดือนจิตรา (चैत्र) (มีนา-เมษา)

ปาปะโมจะนี เอกาทศี

กามทา เอกาทศี

วิสาขะมาส (वैशाख) (เมษา-พฤษภา)

พรุถินี เอกาทศี

โมหินี เอกาทศี

เชษฐะมาส (ज्येष्ठ),  (พฤษภา-มิถุนา)

อปฺรา เอกาทศี

นีรฺชลา เอกาทศี

อาสาฬหะมาส (आषाढ),   (มิถุนา-กรกฏา)

โยคินี เอกาทศี

เทวศันยานี เอกาทศี

ศราวณะมาส (श्रावण),  (กรกฏา-สิงหา)

กามิกา เอกาทศี

ศราวณะ ปุตราฏา เอกาทศี

ภัททะปะทะมาส (भाद्रपद),  (สิงหา-กันยา)

อชา เอกาทศี (อนันทา)

วามนะ เอกาทศี (ปารสวา)

อัสสะวินามาส (अश्विन्),   (กันยา-ตุลา)

อินทิรา เอกาทศี

ปาปันกุศษา เอกาทศี

เดือนอธิมาส แปดสองหน (ทุกๆ2-3ปีมีครั้ง)

ปรมา เอกาทศี

ปัทมณี วิสุทธา เอกาทศี

กฤติกามาส (कार्तिक),   (ตุลา-พฤศจิกา)

รามา เอกาทศี

เทวอุตถานะ เอกาทศี (ปโภธินี)

มฤคะสิระมาส (मार्गशीर्ष),   (พฤศจิกา-ธันวา)

อุตปันนา เอกาทศี

โมกษทา เอกาทศี

ปุษยะมาส (पौष),  (ธันวา-มกรา)

สผลา เอกาทศี

เปาษะ ปุตฺราทา เอกาทศี

มาฆะมาส (माघ),  (มกรา-กุมภา)

ษัฏติลา เอกาทศี

ชฺยา เอกาทศี (ไภมี)

ผัคคุนะมาส (फाल्गुन),   (กุมภา-มีนา)

วีชยา เอกาทศี (ไวคุณตะ)

อามะละกี เอกาทศี