Sundial, calendar and Khmer temples
ปรากฏการณ์บนท้องฟ้าที่เกี่ยวข้องกับ ปราสาทพนมรุ้ง 2553
เขาพระวิหาร
โคนนทิ พาหนะของพระศิวะและศิวลึงค์ |
ประเด็นทางด้านดาราศาสตร์ของปราสาทพนมรุ้ง
• 1. ดวงอาทิตย์: |
กำหนดที่แสงอาทิตย์จะส่องเข้าไปต้องศิวลึงค์ภายในปราสาทประธานนั้น คือ 14 วันก่อนและหลังวันวิษุวัตทั้งสองครั้ง ดังนั้น ในแต่ละปีจะมีปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์สี่ครั้ง |
• 2. ดวงอาทิตย์ – ดวงจันทร์:
|
ช่วงระหว่างปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ ก่อนและหลังวันวิษุวัตนั้น จะมีระยะห่างประมาณหนึ่งเดือนดาราคติ ดังนั้น ดวงจันทร์จะอยู่ในนักษัตรเดียวกันทั้งสองครั้ง ในแต่ละปีจะมีปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ – ดวงจันทร์ สองครั้ง |
• 3. อุปราคา: | เมื่อเกิดสุริยุปราคาหรือจันทรุปราคาขึ้น มักจะเกิดซ้ำอีกครั้งหนึ่งในระยะเวลาใกล้ๆ กัน |
สุริยัน จันทรา และราหูที่ปราสาทพนมรุ้ง: ข้อสังเกตทางโบราณดาราศาสตร์
(วารสารเมืองโบราณ พค.-มิย. 2550), Asger Mollerup.
1. ปรากฏการณ์ของดวงอาทิตย์
|
2. ปรากฏการณ์ อาทิตย์ – จันทร์ : นักษัตร
|
ช่วงอาทิตย์ตกในวันที่ 6 มีนาคม และ อาทิตย์ขึ้นในวันที่ 3 เมษายน จันทราอยู่ในนักษัตรปุนพสุ ตรงกับราศีกลุ่มดาวแมงป่อง หรือ กลุ่มดาวพิจิก (Scorpius) |
3. อุปราคาในปี 2553
|
4. ปรากฏการณ์อื่นบนท้องฟ้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น วันที่ 3 เมษายน 2553
|
5. ศิวะราตรี (ศิวาราตรี)
ศิวะราตรี มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า คืนที่ยิ่งใหญ่แห่งศิวะ ซึ่งเกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์คือ เป็นการเฉลิมฉลองคืนที่เรามองเห็นจันทร์ครึ่งเสี้ยวขึ้นในตอนเช้าตรู่ ก่อนอาทิตย์ขึ้นในวันสุดท้าย ก่อนวันเดือนดับ พูดง่ายๆคือ วันแรม 13 - 14 ค่ำนั่นเอง (ภาพด้านขวา จันทร์ครึ่งซีก ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 ตรงกับ 2 วันก่อนวันเดือนข้างขึ้น) จันท์ครึ่งซีกเป็นสัญญลักษณ์หนึ่งของพระศิวะ มักพบอยู่บนมวยผมของพระศิวะ (ภาพด้านขวาพระศิวะ ศิลปะบาเค็ง) ทุกเดือนทางจันทรคติ มีวันศิวะราตรี แต่ที่สำคัญที่สุดสำหรับพระศิวะ และคนที่นับถือพระศิวะคือ มหาศิวะราตรี (คืนที่ยิ่งใหญ่แห่งพระศิวะ) ตรงกับเดือนมักคา (makha) จากวันที่ 16 มกราคม ถึง วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่ประเทศอินเดีย จะมีการเฉลิมฉลองมหาศิวะราตรีในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553 โดยใช้เวลาตลอดคืนกับการประกอบสมาธิ ท่องสวดมนตร์ ร้องเพลงสรรเสริญ ต่อพระศิวะ พระสัญญาลักษณ์ของพระศิวะ ( ศิวะลึงค์ ) จะต้องกราบไหว้บูชาด้วยการรดน้ำ สิ่งของที่นำมาประกอบพิธี ได้แก่ น้ำนม นมเปรี้ยว น้ำผึ้ง และน้ำมันเนย ใบพลู ใบมะตูม ผลไม้ ขี้เถ้า และดอกไม้ต่าง ๆ ( มหาศิวะราตรี มีปีละครั้งเท่านั้น) |
|
วันที่สำคัญ รองลงมาคือ วันแรม 14 ค่ำ ของเดือนผลคุน (phalguna) ตรงกับวันที่ 13 มีนาคม 2553 ทั้งสองเหตุการณ์จะไม่มีพิธีกรรมการบูชาพระศิวะที่พนมรุ้ง ในปลายปี 2553 นี้ ศิวะราตรี จะตรงกับวันที่ 6 กันยายน และ 6 ตุลาคม วันแรก (6 กันยายน) ตรงกับ 2 วันก่อนปรากฎการณ์จันทร์-อาทิตย์ ที่พนมรุ้ง ส่วนวันที่ 2 (6 ตุลาคม) ตรงกันกับวันแรกของ 3 วันที่ดวงอาทิตย์ตกตรง 15 ช่องประตูที่ปราสาทพนมรุ้ง |
เวบไซค์ที่เกี่ยวข้อง :
1. สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NARIT): 1.1 ดาราศาสตร์และมรดกโลก ปราสาทพนมรุ้งเป็นหนึ่งในสาม สถานที่ที่ทางสถบันฯ อยากยกให้เป็น หลักหมุดทางดาราศาสตร์ (ภาษาอังกฤษ) 1.2 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้จัดสัมนา ในหัวข้อเรื่อง “ปรากฏการณ์มหัศจรรย์ ณ ปราสาทพนมรุ้ง กับโบราณดาราศาสตร์” เมื่อวันเสาร์ที่ 7 มีนาคม 2552 และมีเป้าหมายที่จะจัดสัมมนาอีกครั้งที่เชียงใหม่ในปี 2553 ในหัวข้อเรื่อง โบราณ-ดาราศาสตร์ในเมืองไทย 1.3. สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ มีการประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ ภาพของผู้เขียน เป็นภาพวัวนันดิน พาหนะของพระศิวะมองดูอาทิตย์ตกทางด้านหลังของศิวะลึงค์ ได้รับรางวัลด้วย |
|
2. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทสโนโลยี การประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ | |
3. วารสารเมืองโบราณ สุริยัน จันทรา และราหูที่ปราสาทพนมรุ้ง: ข้อสังเกตทางโบราณดาราศาสตร์ โดย Asger Mollerup 2550 มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ | |
|
APPENDIX: |
||||
ภาพบน อาทิตย์ขึ้นที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว ในวันวิษุวัต 2552 | ||||
ปราสาทเขมรเกือบทุกแห่ง ต่างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ซึ่งทำให้แสงของอาทิตย์ส่องผ่านได้ปีละ 2 ครั้ง ปราสาทส่วนมาก หันหน้าตรงตะวันออก 90 องศา ซึ่งส่งผลให้อาทิตย์ส่องผ่านประตูในวันวันวิษุวัต เช่น ปราสาทสด๊กก๊อกธม และปราสาทอื่นที่มีแนวเส้นแตกต่างกันก็จะมีแสงอาทิตย์ส่องผ่านประตูได้ในวันที่แตกต่างกันไป ต่อไปนี้ ผมจะขอแนะนำสถานที่ใหม่ปีละแห่งทุกปี ในปี 2553 นี้ผมจะไปถ่ายภาพอาทิตย์ขึ้นตามแนวเส้นของปราสาท ที่ปราสาทเขาโล้น จังหวัดสระแก้ว ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขา สร้างในปี พ.ศ.1549 และในศิลาจาลึกเขียนถึง สุริยะวรมันที่ 1 'กษัตย์แห่งประตูศักสิทธิ์ 4 บาน' และระบุ วันเวลาในการอุทิศถวายปราสาทด้วย Z กลับ Sundial Index กลับ : www.thai-isan-lao.com ภาพ ภาพลายเส้น และ การคำนวณ © โดย Asger Mollerup (ทอง) ธัญญลักษณ์ ไชยสุข มูลเลอรุพ : แปลและเรียบเรียง 2 ธันวาคม 2552 (ที่ปรึกษาอิสระ ด้านโบราณ-ดาราศาสตร์ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ และนักสำรวจโบราณสถานเขมร) |